คนไทยมีนามสกุลครั้งแรกในรัชสมัยใด

เดิมคนไทยไม่ได้มีนามสกุล จะมีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทานจำนวน 6,432 นามสกุล และหลายครอบครัวก็ตั้งนามสกุลตามชื่อของผู้นำของครอบครัวนั้น หรือตามถิ่นที่อยู่อาศัยของครอบครัวนั้น

การตั้งนามสกุล
เมื่อมีพระราชบัญญัติขนามนามสกุลฯ ขึ้น ราษฎรไทยจึงต้องตั้งนามสกุลสำหรับใช้ในครอบครัวหรือตระกูลของตน โดยมีความนิยมหลายอย่างด้วยกัน ดังนี้

-ตั้งตามชื่อของบรรพบุรุษ (ปู่ ย่า ตา หรือยาย)
-ข้าราชการที่มีราชทินนาม มักจะนำราชทินนามมาตั้งเป็นนามสกุลของตน เช่น หลวงพิบูลสงคราม (แปลก) ใช้นามสกุล "พิบูลสงคราม"
-ตั้งตามสถานชื่อตำบลที่อยู่อาศัย
-ชาวไทยเชื้อสายจีนอาจแปลความหมายจาก "แซ่" ของตน หรือ ชื่อแซ่นำหน้านามสกุล

ข้อกำหนดตามกฎหมายในการจดนามสกุลใหม่หรือเปลี่ยนนามสกุล
-ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
-ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบสันดาน
-ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานของพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
-ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
-มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
-ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า "ณ" นำหน้าชื่อสกุล
-ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล

ที่มา : //www.banprak-nfe.com/webboard/index.php/topic,447.0.html
 



เดิมคนไทยไม่ได้มีนามสกุล จะมีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ จึงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทานจำนวน ๖,๔๓๒ นามสกุล และหลายครอบครัวก็ตั้งนามสกุลตามชื่อของผู้นำของครอบครัวนั้น หรือตามถิ่นที่อยู่อาศัยของครอบครัวนั้น

นามสกุลแรกของประเทศไทย คือ “สุขุม” ซึ่งรัชกาลที่ ๖ พระราชทานให้ เจ้าพระยายมราช หรือ ปั้น สุขุม เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๖ จึงนับว่านามสกุล “สุขุม” จึงเป็นนามสกุลหมายเลข ๑ ของประเทศไทย

เดิมทีคนไทยไม่มี “นามสกุล” มีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น นามสกุล เพิ่งมีใช้เมื่อสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้มีการตั้งนามสกุล และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทาน

ส่วนประชาชนทั่วไปที่ตั้งนามสกุลเองมีธรรมเนียมนิยมดังนี้ ตั้งตามชื่อบรรพบุรุษ (ปู่ ย่า ตา หรือยาย), ตั้งตามราชทินนามของตน หรือบรรพบุรุษ, ตั้งตามสถานชื่อตำบลที่อยู่อาศัย เป็นต้น

นามสกุลของชาวโคราช สมัยแรกๆ ก็มีลักษณะดังกล่าว คือบ่งชี้ภูมิประเทศของถิ่นกำเนิดเป็นสำคัญ ดูได้จาก “ส่วนท้าย” ของนามสกุล

ดังต่อไปนี้

1.“กลาง” เดิมคือ มณฑลลาวกลาง เช่น นามสกุล ขอใยกลาง, จงจุลกลาง

พระยากำธรพายัพทิศ ได้พิจารณาว่าสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอทับที่วัดร้างอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสถานที่จึงได้เสนอขอเปลี่ยนจากอำเภอกลาง เป็นอำเภอโนนวัด

ต่อมา พ.ศ. 2487  นายชม วัลลิภากร เป็นนายอำเภอโนนวัด ได้เปลี่ยนชื่ออำเภอโนนวัด เป็นอำเภอโนนสูง สืบถึงปัจจุบัน

  1. “กระโทก” ในอดีตมีฐานะเป็นด่าน คือด่านกระโทก เช่น นามสกุล ข้องกระโทก, โฮกระโทก

ต่อมามีราชการพิจารณาว่า คำว่า “กระโทก” มีสำเนียงและความหมายไม่เหมาะสม เพื่อให้เป็นไปตามความหมายเชิงประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังได้รำลึกถึง “วีรกรรม” ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่ทรงรบได้ชัยชนะ ณ ที่แห่งนี้จึงได้เปลี่ยนนามอำเภอใหม่ว่า “อำเภอโชคชัย”

  1. “ขุนทด” หมายถึง “ด่าน” มีขุนทดเป็นผู้ปกครองดูแล เช่น นามสกุล พาทขุนทด, ผูกขุนทด

สันนิษฐานว่าเป็นช่วงของแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากพระยายมราชให้เป็นผู้ปกครองดูแล “ด่าน” นี้เป็นด่านแรก ยังมีหน้าที่เก็บภาษีอากรส่งให้เมืองนคราชสีมา

  1. “จันทึก” เดิมเป็นเมืองหน้าด่านในดินแดนแถบภาคอีสาน ชื่อว่า “เมืองจันทึก” เช่น เผือกจันทึก, ฝาดจันทึก

ต่อมาเมื่อได้ตั้งเมืองนครราชสีมาขึ้นดูแลหัวเมืองต่างๆ ทางที่ราบสูง จึงเปลี่ยนเป็นเมืองหน้าด่านเรียกว่า “ด่านจันทึก” เมื่อยกเลิกด่านแล้ว ได้เปลี่ยนเป็นอำเภอ เรียกว่า “อำเภอจันทึก” เนื่องจากบ้านจันทึกและบ้านหนองบัวตั้งอยู่ในเขตดงพญาเย็น (พญาไฟ) มีไข้ป่า (มาลาเรีย) ชุกชุม เป็นที่เกรงกลัวของข้าราชการยิ่งนัก จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บ้านสีคิ้ว แล้วเปลี่ยนชื่ออำเภอจันทึกเป็นอำเภอสีคิ้ว จนถึงปัจจุบัน

  1. “ไธสง” มาจากคำว่า “พุทไธสง” เช่น นามสกุล น้อยไธสง, ตลุกไธสง

เมืองพุทไธสง เป็นเมืองเก่า ต่อมาได้ร้างไป ในสมัยการปกครองแบบมณฑณขึ้นต่อเทศาภิบาลเมืองแปะ

ต่อมา พ.ศ. 2342 รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้เพี้ยศรีปาก เป็นพระยาเสนาสงคราม เจ้าเมืองคนแรกของพุทไธสงและได้ยกฐานะเปนอำเภอพุทไธสง ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในเขตการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์

  1. “สันเทียะ” เดิมเรียกว่า “แขวงสันเทียะ” เช่น นามสกุล ถนอมสันเทียะ, ขอสันเทียะ

เล่ากันว่าเดิมเป็นที่อยู่ของชาวกัมพูชา ที่มาอาศัยต้มเกลือสินเธาว์ เพื่อนำไปขาย เพราะคำว่า “สันเทียะ” ภาษาเขมร แปลว่า ที่ต้มเกลือสินเธาว์ และมีผู้เพิ่มเติมว่า “สันเทียะ” อาจมาจากสภาพพื้นดินทั่วไปของอำเภอที่เป็นดินเค็ม

หรือมาจากสภาพภูมิศาสตร์ในภาษาลาว คำว่า “สันเทียะ” แปลว่า  บ้านที่ตั้งอยู่ยนสันโนนที่ดินและเนื่องจากพื้นดินเป็นดินปนทราย เมื่อถึงฤดูฝนจะชื้นแฉะไปทั่วทั้งหมู่บ้าน

  1. “สูงเนิน” เดิมเรียกว่า เมืองเสมา เช่น นามสกุล ดีสูงเนิน, ฝากสูงเนิน

เมืองเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลสูงเนิน ครั้นสร้างเมืองนครราชสีมาจึงย้ายมาอยู่เมืองใหม่ เมืองเสมา จึงกลายเป็นเมืองเก่า ต่อมาเปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอได้ตั้งชื่อใหม่ตามชื่อที่ตั้งที่ว่าการอำเภอว่า อำเภอสูงเนิน

ที่กล่าวมานี้เป็นการสังเกตจาก “ส่วนท้าย” ของนามสกุล มีความหมายถึงสภาพทางภูมิศาสตร์ หากยังมี “ส่วนหน้า” และ “ส่วนกลาง” ของนามสกุลชาวโคราชที่บ่งชี้วัฒนธรรมด้านอื่นๆ ด้วย

นามสกุลแรกของไทยคืออะไร

ประเทศไทย คือ “สุขุม” ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานให้เจ้าพระยายมราช หรือ ปั้น สุขุม เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ จึงนับว่านามสกุล “สุขุม” จึงเป็นนามสกุลแรกของประเทศไทย

คนสมัยก่อนตั้งนามสกุลจากอะไร

ส่วนประชาชนทั่วไปที่ตั้งนามสกุลเองมีธรรมเนียมนิยมดังนี้ ตั้งตามชื่อบรรพบุรุษ (ปู่ ย่า ตา หรือยาย), ตั้งตามราชทินนามของตน หรือบรรพบุรุษ, ตั้งตามสถานชื่อตำบลที่อยู่อาศัย เป็นต้น นามสกุลของชาวโคราช สมัยแรกๆ ก็มีลักษณะดังกล่าว คือบ่งชี้ภูมิประเทศของถิ่นกำเนิดเป็นสำคัญ ดูได้จาก “ส่วนท้าย” ของนามสกุล

ข้อใด คือนามสกุลแรกในประเทศไทยและตรงกับรัชกาลใด

นามสกุลแรกของประเทศไทย คือ “สุขุม” ซึ่งรัชกาลที่ ๖ พระราชทานให้ เจ้าพระยายมราช หรือ ปั้น สุขุม เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๖ จึงนับว่านามสกุล “สุขุม” จึงเป็นนามสกุลหมายเลข ๑ ของประเทศไทย

การใช้นามสกุลครั้งแรกนั้นเกิดขึ้นตรงกับกรุงรัตนโกสินทร์ในยุคใด และนามสกุลแรกของไทยคือนามสกุลใด

นามสกุลหมายเลข ๑ ที่ทรงพระราชทาน คือ นามสกุล “สุขุม” พระราชทานเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๖ ต้นสกุลคือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) แสดงเพิ่มเติม

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้