ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียนในด้านใดบ้าง

       12. อุตสาหกรรมอาหาร เป็นอุตสาหกรรมที่ไทยมีความเข็มแข็งมาก สิ่งที่ต้องระวังคือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงานเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูงและมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่จูงใจ ดังนั้น รัฐบาลควรมีนโยบายชัดเจนในเรื่องการเอื้อประโยชน์ต่อนักลงทุน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ การลดต้นทุนการผลิต การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อลดการพึ่งพาแรงงาน

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งและโลจิสติกส์ของอาเซียนที่สำคัญในอินโดจีนหรือจีนแผ่นดินใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 30 จังหวัดมีพรมแดนติดกับพม่าลาวกัมพูชาและมาเลเซีย เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นในประเทศจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีการพัฒนามากขึ้น จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 30 จังหวัดมีพรมแดนติดกับพม่าลาวกัมพูชาและมาเลเซีย เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นในประเทศจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีการพัฒนามากขึ้นผู้ผลิตต่างประเทศจึงต้องการตั้งฐานในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตลดลงในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวียดนามและพม่า การค้นหาฐานการผลิตทางเลือกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้ช่วยลดบทบาทของไทยในการเป็นโรงไฟฟ้าแห่งการผลิตในภูมิภาคในขณะที่ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญสำหรับอินโดจีน

การส่งออกมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจีดีพีของไทยในขณะที่ภาคการผลิตคิดเป็นกว่า 80% ของการส่งออกทั้งหมดของประเทศ นอกเหนือจากการเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในอาเซียนแล้วประเทศไทยยังเป็นผู้จัดจำหน่ายชิ้นส่วนและส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนหรือเอเชียอีกด้วย นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ อิเล็กทรอนิกส์เป็นหมวดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยโดยมีส่วนประกอบหลักคือชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์แผงวงจรและชิ้นส่วนและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง

ในฐานะผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่อันดับสองของอาเซียนประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคที่มีความซับซ้อนมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการตอบสนองความต้องการด้านบริการโลจิสติกข้ามพรมแดนที่เพิ่มสูงขึ้น บริการเหล่านี้รวมถึงการขนส่งเครื่องจักรและชิ้นส่วนและส่วนประกอบตลอดจนการจัดการหน้าที่ของซัพพลายเชนจากการจัดหาผ่านไปจนถึงการจัดจำหน่าย การส่งออกของไทยไปยังประเทศอาเซียนอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12% ในช่วงปี พ.ศ. 2552-2557 โดยการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านของ GMS (พม่ากัมพูชาและลาว) ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ต่อปีในช่วงเดียวกัน

การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ด้วยการเชื่อมต่อระดับภูมิภาค

ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งอย่างต่อเนื่องและการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านศุลกากรค่าใช้จ่ายในการขนส่งในประเทศไทยลดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายลดลงจากประมาณ 16% -18% ของ GDP ในช่วงปี 2544-2551 ถึง 14% -15% ในช่วงปี 2552-2555 ในดัชนีสมรรถนะด้านการขนส่ง (LPI) ของ World Bank ในปี 2014 ธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 35 จาก 160 ประเทศและเป็นประเทศที่สามในกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งมีผลการดำเนินงานดีเด่นกว่ากลุ่มประเทศอาเซียนโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านกัมพูชาลาวและพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยมีการปรับตัวบ่งชี้ย่อยของโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าและการขนส่งที่มีนัยสำคัญมากกว่า LPI 2012 ที่ผ่านมา

โอกาสที่เกิดจากการรวมภูมิภาคเพิ่มเติม

เนื่องจากความใกล้ชิดกับฐานการผลิตที่เกิดขึ้นใหม่ในอาเซียนประเทศไทยจึงเป็นศูนย์กลางการจัดหาชิ้นส่วนและส่วนประกอบสำหรับโรงงานประกอบชิ้นส่วนที่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาค ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ที่สุดของอาเซียนโดยมีผู้จำหน่ายชิ้นส่วนรถยนต์กว่า 2,300 รายในประเทศ ครึ่งหนึ่งของผลผลิตของซัพพลายเออร์เหล่านี้จะถูกส่งออกไปยังฐานการผลิตอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

  

การค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน  

การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการผลิตและการเติบโตของตลาดผู้บริโภคในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกำลังส่งเสริมการค้าระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านของ GMS การค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศมีจำนวนประมาณ 900 พันล้านเหรียญสหรัฐ (27.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในปี 2557 มาเลเซียเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศโดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของการค้าชายแดนทั้งหมดของไทยรองลงมาคือพม่า  (15%) และกัมพูชา (11%) การค้าขายข้ามพรมแดนได้กลายเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมลอจิสติกส์ของไทย บริษัท ลอจิสติกส์ชั้นนำในประเทศและต่างประเทศให้บริการโลจิสติกส์ข้ามพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศที่มีพรมแดนติดกัน Well Transportation Myanmar Ltd ซึ่งเป็น บริษัท ย่อยของ Sinotrans (HK) Logistics ก่อตั้งขึ้นในปี 2553 เพื่อให้บริการขนส่งสินค้าทางบกและรถพ่วงข้ามพรมแดนของประเทศไทย – พม่า ด้วยการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของพม่าและลาวการค้าชายแดนไทยกับสองประเทศนี้คาดว่าจะรุ่งเรือง ในมุมมองของการจัดตั้ง AEC ผู้ค้าปลีกและผู้จัดจำหน่ายหลายรายกำลังขยายเขตการค้าชายแดนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างพม่ากับลาวมากขึ้นซึ่งจะเป็นการกระตุ้นความต้องการข้ามพรมแดน บริการโลจิสติกส์

ตลอดช่วงระยะเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนได้มีพัฒนาการมาเป็นลำดับ และไทยก็มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือของอาเซียนให้มีความคืบหน้ามาโดยตลอด โดยเมื่อเริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2510 สภาพแวดล้อมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความตึงเครียด อันเป็นผลมาจากสงครามเย็น ซึ่งมีความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ระหว่างประเทศที่สนับสนุนอุดมการณ์เสรีนิยมประชาธิปไตยกับประเทศที่ยึดมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์

ในขณะเดียวกัน ความขัดแย้งด้านดินแดนระหว่างประเทศในภูมิภาค เช่น ความขัดแย้งระหว่าง มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนซาบาห์และซาราวัก รวมทั้งการที่สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซีย ทำให้หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นในการร่วมมือกันระหว่างประเทศในภูมิภาค

ดร. ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในขณะนั้นได้มีบทบาทสำคัญในการเดินทางไปเจรจาไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้ และได้เชิญให้รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีก 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ มาหารือร่วมกันที่แหลมแท่น จ. ชลบุรี อันนำมาสู่การลงนามในปฏิญญากรุงเทพ เพื่อก่อตั้งอาเซียน ที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ไทยจึงถือเป็นทั้งประเทศผู้ร่วมก่อตั้งและเป็น ‘บ้านเกิด’ ของอาเซียน

อาเซียนได้ขยายสมาชิกภาพขึ้นมาเป็นลำดับ โดยบรูไนดารุสซาลามได้เข้าเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่ 6 เมื่อปี 2527 และภายหลังเมื่อประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เหลืออีก 4 ประเทศ คือ เวียดนาม สปป. ลาว เมียนมา และกัมพูชา ได้ทะยอยกันเข้าเป็นสมาชิกจนครบ 10 ประเทศ เมื่อปี 2542 นับเป็นก้าวสำคัญที่ไทยได้มีบทบาทเชื่อมโยงประเทศที่ตั้งอยู่บนภาคพื้นทวีปและประเทศที่เป็นหมู่เกาะทั้งหมดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง

ถึงแม้ว่า ปฏิญญากรุงเทพ จะมิได้ระบุถึงความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง โดยกล่าวถึงเพียงความร่วมมือกันด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา การเกษตร อุตสาหกรรม การส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค แต่อาเซียนได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความไว้เนื่อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาค ลดความหวาดระแวง และช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และที่สำคัญ ไทยได้เป็นแกนนำร่วมกับอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียนดั้งเดิมในการแก้ไขปัญหากัมพูชา รวมทั้งความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยอินโดจีนจนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และช่วยเสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไทยซึ่งเป็นประเทศด่านหน้า

นอกจากนี้ ประเทศไทย โดยท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ก็ได้มีบทบาทสำคัญในการผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้มีความคืบหน้า โดยการริเริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ ASEAN Free Trade Area (AFTA) ขึ้นเมื่อปี 2535 โดยตกลงที่จะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันให้เหลือร้อยละ 0-5 ในเวลา 15 ปี ซึ่งต่อมาได้ลดเวลาลงเหลือ 10 ปี โดยประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศ ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2546 ในขณะที่ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม ดำเนินการเสร็จสิ้นในปี 2551

ในปัจจุบัน บริบททางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศในภูมิภาคใกล้เคียง คือ จีนและอินเดีย รวมทั้งแนวโน้มการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ ตลอดจนปัญหาท้าทายความมั่นคงในรูปแบบใหม่ เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย ยาเสพติด การค้ามนุษย์ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทำให้อาเซียนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ รวมทั้งเพื่อจัดการกับปัญหาท้าทายเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ปฏิญญากรุงเทพ ที่ก่อตั้งอาเซียน เมื่อปี 2510 ได้ระบุวิสัยทัศน์และวางรากฐานสำหรับการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนตั้งแต่แรกเริ่ม แต่โดยที่สถานการณ์ทางการเมืองในภูมิภาคในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวย เนื่องจากอยู่ในยุคของสงครามเย็น แนวคิดเรื่องบูรณาการในภูมิภาคจึงไม่ได้รับการพิจารณาอย่างจริงจัง แต่ต่อมาเมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง ประเทศในภูมิภาคจึงสามารถหันหน้าเข้าหากันและร่วมมือกันมากขึ้น ส่งผลให้แนวคิดที่จะมีการรวมตัวการอย่างเหนียวแน่นได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยอาจกล่าวได้ว่า ข้อริเริ่มของท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนโดยเริ่มจากเสาเศรษฐกิจ

ต่อมา ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่บาหลี เมื่อปี 2546 ได้แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะสร้าง ประชาคมอาเซียน โดยมีการจัดทำแผนงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว นำมาสู่การจัดทำกฎบัตรอาเซียน เพื่อวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของอาเซียน ทำให้อาซียนเป็นองค์กรที่มีกฎกติกาในการทำงาน มีประสิทธิภาพ และเป็นองค์กรเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามกฎบัตรอาเซียนระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 และกฎบัตรฯ ได้มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นช่วงวลาเดียวกับที่ประเทศไทยได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน

ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ได้รับรองปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในทั้ง 3 เสาหลัก คือ ประชาคมการเมืองความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการวางรากฐานสำคัญและนำไปสู่การจัดตั้งประชาคมอาเซียนเมื่อปี 2558

2. อาเซียน : วิสัยทัศน์ในอนาคต

ถึงแม้ว่าอาเซียนจะประสบความสำเร็จในด้านการเสริมสร้างความมั่นคงและความร่วมมือในภูมิภาคจนเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ แต่ก็ยังมีปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขให้ลุล่วงเพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อความร่วมมือและพัฒนาการในอนาคต ที่สำคัญ คือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกต่าง ๆ ของอาเซียน การนำข้อตกลงต่าง ๆ ของอาเซียนไปดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ การเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในด้านเส้นทางคมนาคม การสร้างความสอดคล้องระหว่างกฎระเบียบต่าง ๆ และการส่งเสริมการติดต่อระหว่างประชาชนต่อประชาชน รวมทั้งประเทศสมาชิกอาเซียนยังต้องสร้างความเป็นเอกภาพและรักษาบทบาทนำในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกภูมิภาค

นอกจากนี้ อาเซียนจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับประชาชนทั้งในเรื่องการให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ บทเรียนจากสหภาพยุโรปชี้ให้เห็นว่า ประชาคมจะไม่สามารถบรรลุผลได้หากประชาชนไม่ให้การสนับสนุน ดังนั้น ไทยจะพยายามผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง (People-centred Community) โดยเร่งรัดการดำเนินการตามข้อตกลงต่าง ๆ ของอาเซียนให้เกิดผลในทางปฏิบัติ รวมทั้งจะต้องพัฒนากรอบความร่วมมือของอาเซียนให้สามารถแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนได้อย่างทันท่วงที เช่น ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการรับมือกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ

สำหรับการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงในภูมิภาคนั้น จะต้องดำเนินการทั้งในด้านกายภาพ คือ การพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดจนเครื่อข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการติดต่อค้าขาย การท่องเที่ยว และการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชน นอกจากนั้น ยังต้องให้ความสำคัญต่อการทำให้ประชาชนในภูมิภาคมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและตระหนักถึงการเป็นประชากรของอาเซียนร่วมกัน ถึงแม้ว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายในด้านเชื้อชาติ และศาสนา แต่ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ก็มีรากฐานทางประวัติศาสตร์และอารยธรรมร่วมกัน เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่เป็นจุดบรรจบของอารยธรรมจีนและอินเดีย ดังนั้น ประเด็นที่ท้าทายสำหรับอาเซียนในอนาคต ก็คือ การเสริมสร้างอัตลักษณ์ หรือ คุณลักษณะร่วมกันของประชาชนในอาเซียน โดยผ่านการศึกษา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สื่อสารมวลชน และการส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจระหว่างประชาชนให้ยอมรับถึงความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

3. ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ

ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมาไทยได้ประโยชน์หลายประการจากอาเซียน ทั้งในแง่การเสริมสร้างความมั่นคงซึ่งช่วยเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยในปัจจุบันอาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันกว่า 101,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 22 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย ในจำนวนนี้ เป็นการส่งออกจากไทยไปอาเซียนร้อยละ 25.2 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลมาตลอด

การรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ ยังช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย โดยขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 69 ล้านคนเป็นประชาชนอาเซียนกว่า 655 ล้านคน และเป็นแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย รวมทั้งเป็นตลาดท่องเที่ยวที่สำคัญของไทย โดยในปัจจุบันนักท่องเที่ยวจากอาเซียนคิดเป็นร้อยละ 25 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางมาประเทศไทย

ในอนาคต คนไทยจะได้รับประโยชน์จากการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียนมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อมของเรา ดังนั้น การสร้างความตื่นตัวและให้ความรู้กับประชาชน จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ตระหนักถึงโอกาสและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันซึ่งจะช่วยให้คนไทยได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบในทางลบแก่ภาคส่วนต่าง ๆ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้