กล้องโทรทรรศน์ในช่วงคลื่นใดบ้างที่สามารถศึกษาวัตถุท้องฟ้าได้จากบนพื้นโลก

        สาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด คือ ดาราศาสตร์ มนุษย์เราศึกษาวัตถุท้องฟ้าและเก็บรวบรวมข้อมูลมานานนับตั้งแต่ยุคก่อนคริสตกาล แต่เพิ่งมารู้ว่าแสงเป็นเพียงแถบเล็กๆของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งหมด ราว 200 ปีก่อนเท่านั้น
        ศาสตร์แห่งการออกแบบและสร้างอุปกรณ์เพื่อศึกษาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากวัตถุท้องฟ้า จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะภาพและข้อมูลต่างๆที่นักดาราศาสตร์ได้จากอุปกรณ์เหล่านี้เปลี่ยนแปลงมุมมองที่มนุษย์เรามีต่อเอกภพอย่างมาก

        อุปกรณ์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักที่สุด คือ กล้องโทรทรรศน์  เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้นักดาราศาสตร์มองเห็นวัตถุที่สว่างน้อยจนตาเปล่ามองไม่เห็น หรือทำให้นักดาราศาสตร์มองเห็นรังสีในช่วงคลื่นอื่นๆที่ไม่ใช่แสงได้ 
        โลกของเรามีชั้นบรรยากาศซึ่งดูดกลืนรังสีหลายอย่างไว้ไม่ให้เดินทางมาถึงพื้นโลกได้ อีกทั้งยังทำให้แสงวัตถุท้องฟ้าหักเหไปมาซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของภาพที่ได้ นักดาราศาสตร์จึงส่งกล้องโทรทรรศน์จำนวนหนึ่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศเพื่อตัดการรบกวนจากชั้นบรรยากาศโลก แต่การส่งกล้องโทรทรรศน์ขึ้นสู่อวกาศนั้นนอกจากจะยากมากแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว
        ศาสตร์แห่งการออกแบบกล้องโทรทรรศน์ในปัจจุบันส่วนหนึ่งจึงมุ่งเน้นการสร้างกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน แต่ใช้เทคนิคต่างๆลดการรบกวนจากชั้นบรรยากาศโลกให้ได้มากที่สุด

        หลายคนอาจคุ้นชินกับภาพกล้องโทรทรรศน์ที่มีลักษณะเป็นท่อยาวๆ มีนักดาราศาสตร์นั่งส่องดวงดาวจากปลายด้านหนึ่ง แต่กล้องโทรทรรศน์สมัยใหม่ทุกวันนี้ไม่ได้เป็นแบบนั้น

        นักดาราศาสตร์ทุกวันนี้อยู่ในที่ทำงานซึ่งอาจจะห่างจากกล้องโทรทรรศน์หลายกิโลเมตร สั่งงานมัน แล้วก็เก็บข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนักดาราศาสตร์จะใช้การเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งการกล้องโทรทรรศน์ให้เก็บข้อมูลตามที่ต้องการ 

        ในการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ วัตถุหลายอย่างบนท้องฟ้า เช่น กาแล็กซีที่อยู่ไกลๆนั้นอ่อนแสงมาก จนกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ยังต้องใช้เวลาถ่ายภาพนานหลายชั่วโมงเพื่อจะเก็บรวบรวมแสงเหล่านั้นให้ได้มากที่สุด ดังนั้นหากจะถ่ายภาพวัตถุท้องฟ้าให้ครบด้วยความละเอียดสูง อาจต้องใช้เวลานานมากจนไม่คุ้ม นักดาราศาสตร์จึงทำการเลือกเฟ้นวัตถุที่ควรค่าแก่การเก็บข้อมูล  เช่น เพื่อช่วยยืนยันสมมติฐานบางอย่าง , เพื่อหาข้อผิดพลาดของทฤษฎี  ฯลฯ

        เนื่องจากเทคโนโลยีในการสร้างกล้องโทรทรรศน์นั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาสูง กล้องโทรทรรศน์ใหญ่ๆส่วนมากจึงต้องเป็นของรัฐบาลหรือเกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศ

หลักการทำงานของกล้องโทรทรรศน์นั้นสรุปสั้นๆได้ว่า

        “ รวบรวมแสงจากวัตถุที่สนใจให้ได้มากที่สุด จากนั้นโฟกัสให้แสงมารวมกันที่ฉาก(หรือส่วนตรวจจับ) จากนั้นขยายภาพที่ได้เพื่อให้เราเห็นรายละเอียด”

1. ศาสตร์แห่งการรวบรวมแสง

        กล้องโทรทรรศน์นั้นแท้จริงแล้วก็คือ ถังรวมแสง 

        เหตุที่นักดาราศาสตร์ต้องสร้างกล้องโทรทรรศน์ให้มีขนาดใหญ่ก็เพื่อการรวมแสงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  เปรียบได้กับการนำภาชนะไปรองน้ำฝน ยิ่งปากภาชนะกว้างก็ยิ่งรวบรวมน้ำฝนได้มาก

        กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้ว่าพื้นที่ของหน้ากล้องยิ่งมากก็ยิ่งรวมแสงได้มาก และยิ่งรวมแสงได้มาก สิ่งที่เคยปรากฏสลัวก็ยิ่งปรากฏสว่างมากขึ้น

        ดังนั้น กล้องโทรทรรศน์ที่มีรัศมีกล้องโตกว่ากล้องโทรทรรศน์อีกตัว 2 เท่า จะมีพื้นที่รับแสงมากกว่าอีกถึง 4 เท่า 

        เนื่องจากพื้นที่รับแสงนั้นสำคัญมาก นักดาราศาสตร์จึงมักเรียกกล้องโทรทรรศน์ด้วย เส้นผ่านศูนย์กลางหน้ากล้อง(aperture) 

        กล้องโทรทรรศน์ Keck ในฮาวายนั้นเป็นกล้องโทรทรรศน์แฝด แต่ละตัวมีหน้ากล้องเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร ส่วนรูรับแสงของดวงตามนุษย์โดยเฉลี่ยแล้วมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 8มม. 

        ดังนั้นกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลจึงมีพื้นที่รับแสงมากกว่าดวงตามนุษย์มากถึง 90,000 เท่า พูดง่ายๆว่าในช่วงเวลาเท่ากัน กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลจะมีแสงตกกระทบมากกว่าเข้าสู่ดวงตามนุษย์เรา 90,000 เท่านั่นเอง ส่วนกล้อง Keck นั้นมีพื้นที่รับแสงมากกว่าดวงตามนุษย์ราว 1.5 ล้านเท่า และมากกว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล17 เท่า 

        อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลก็มีข้อได้เปรียบกล้อง Keck ตรงที่ไม่ถูกชั้นบรรยากาศโลกรบกวน

        ฟิลเตอร์ อุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่นักดาราศาสตร์ใช้ในการถ่ายภาพและศึกษาวัตถุท้องฟ้า โดยนักดาราศาสตร์จะใช้ฟิลเตอร์ในการกรองเอาความยาวคลื่นที่ไม่สนใจออกไป ให้เหลือไว้เพียงความยาวคลื่นที่ต้องการศึกษา

         ฟิลเตอร์จะมีลักษณะเป็นแก้วสีสันต่างๆกัน  หากแบ่งในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นสามารถแบ่งได้เป็น 

          - ฟิลเตอร์ B (มาจาก Blue คือสีน้ำเงิน) ยอมให้แสงความยาวคลื่น 390-480 นาโนเมตรผ่าน

          - ฟิลเตอร์ V (มาจาก Visual หมายถึงสีเขียว) ยอมให้แสงความยาวคลื่น500-590 นาโนเมตรผ่าน

          - ฟิลเตอร์ R (มาจาก Redคือสีแดง) ยอมให้แสงความยาวคลื่น570-710 นาโนเมตรผ่าน

        บางฟิลเตอร์ก็ยอมให้ความยาวคลื่นบางค่าจากเส้นสเปกตรัมเล็กๆผ่าน , บางฟิลเตอร์เลือกให้รังสียูวี หรือ อินฟราเรดผ่านได้

        การศึกษาวัตถุท้องฟ้าผ่านฟิลเตอร์ต่างๆทำให้นักดาราศาสตร์หาได้ว่าอุณหภูมิของวัตถุนั้นเป็นเท่าใดและศึกษาพฤติกรรม รวมทั้งคุณสมบัติสำคัญของวัตถุนั้นๆได้

ในภาพนี้เป็นการถ่ายภาพด้วยฟิลเตอร์ 7 ช่วงความยาวคลื่น ตั้งแต่รังสียูวี แสงที่ตามองเห็นจนถึงอินฟราเรด แล้วนำภาพที่ได้มาซ้อนกันตรงกลาง

        * อย่าลืมว่าฟิลเตอร์ไม่ได้เปลี่ยนสีของแสงที่เดินทางผ่าน  ถ้าเราใช้ฟิลเตอร์สีน้ำเงินกรองแสง นั่นหมายความว่าสีเพียงแสงสีน้ำเงินเท่านั้นที่ฟิลเตอร์ยอมให้ผ่านได้

2. การโฟกัสแสง

        การโฟกัสเป็นการทำให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าวิ่งไปรวมกันที่จุดๆเดียว 

        ความยาวคลื่นที่เราต้องการโฟกัสจะเป็นตัวกำหนดลักษณะอุปกรณ์ที่ใช้ในการโฟกัสมัน ซึ่งจะอธิบายให้ฟังในลำดับถัดไป

        วัสดุที่ใช้ในการโฟกัสแสงหลักๆแล้วมีสองชนิดคือ เลนส์ และ กระจก ซึ่งทั้งสองมีข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกัน

        1.กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง (refracting telescopes) เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้เลนส์ในการโฟกัสแสง ซึ่งเลนส์คืออุปกรณ์ที่ทำจากแก้ว เมื่อแสงเดินทางจากอากาศมายังแก้วจะเกิดการหักเหขึ้น

Yerkes telescope  ค.ศ. 1897

Yerkes telescope  ค.ศ. 2006

        Yerkes telescope แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก เป็นกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ถูกสร้างมาใช้งานจริง โดยหน้ากล้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร (40 นิ้ว)  สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1897  เฉพาะเลนส์ก็มีน้ำหนัก 200 กิโลกรัมแล้ว  น้ำหนักมากมายขนาดนี้สามารถส่งผลให้เลนส์มีการเปลี่ยนรูปทรงได้  แถมการยึดตัวเลนส์ที่หนักขนาดนี้เข้ากับกระบอกกล้องโทรทรรศน์ก็เป็นเรื่องยากมาก ตัวกระบอกกล้องโทรทรรศน์หนัก 6 ตัน ส่วนเกียร์และกลไกที่ใช้ในการหมุนกล้องโทรทรรศน์มีน้ำหนัก 20 ตัน โครงสร้างหอดูดาวที่ใช้ในการรับน้ำหนักทั้งหมดก็ยิ่งต้องถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อรองรับน้ำหนักทั้งหมด  

        จริงๆแล้วมีกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงที่ใหญ่กว่านั่นคือ Great Paris Exhibition Telescope of 1900 ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.25 เมตร แต่มันถูกสร้างมาใช้ในงานนิทรรศการ Exposition Universelle ในกรุงปารีส พอครบกำหนดจัดแสดงก็รื้อถอนไป

        เนื่องจากเลนส์เป็นวัสดุที่มีน้ำหนักมากจนสูญเสียรูปทรงได้ง่าย

        ทุกวันนี้ในการสร้างกล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่ขึ้น นักดาราศาสตร์จึงหันมาสร้างกล้องโทรทรรศน์อีกประเภท นั่นคือ กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง

        2. กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสง (reflacting telescopes) เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้กระจกในการโฟกัสแสง นักดาราศาสตร์รู้มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วว่ากระจกสามารถใช้ในการรวมแสงได้เช่นเดียวกับเลนส์ แต่การออกแบบกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงให้ใช้งานได้จริงได้ในสมัยนั้นเป็นเรื่องยาก 

 ผู้ที่ออกแบบและสร้างกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงได้สำเร็จเป็นคนแรก คือ เซอร์ ไอแซคนิวตัน (Sir Isaac Newton) 

        เซอร์ไอแซค นิวตัน ออกแบบให้กระจกทุติยภูมิ (secondary mirror) สะท้อนแสงออกด้านข้างตัวกล้องซึ่งทุกวันนี้เรายังคงใช้การออกแบบของนิวตันกับกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก

        ส่วนกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงสำหรับการวิจัยสมัยใหม่จะใช้กระจกทุติยภูมิสะท้อนแสงออกไปยังช่องที่เจาะไว้ตรงกลางกระจกปฐมภูมิ กล้องในลักษณะนี้มีชื่อว่า Cassegrain telescope ซึ่งตั้งตามชื่อประติมากรชาวฝรั่งเศส Laurent Cassegrain ผู้ออกแบบมันในปี ค.ศ. 1672 

        จะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะเป็นกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบใดด็ตาม กระจกทุติยภูมิจะไปขวางทางที่แสงเดินทางเข้ามาเสมอทำให้แสงที่เข้ามาถึงกระจกปฐมภูมิ (กระจกหลัก)มีปริมาณลดลง อย่างไรก็ตาม หากกระจกหลักที่ใช้โฟกัสแสงมีขนาดใหญ่มากๆ กระจกทุติยภูมิย่อมบังแสงที่เข้ามาในสัดส่วนน้อย เมื่อเทียบกับแสงที่ผ่านเข้าไปได้

        อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่โฟกัสแสงให้ไปรวมกันที่จุดๆเดียวนั้นต้องมีผิวหน้าที่เรียบพอ เพราะความขรุขระแม้เพียงเล็กน้อยอาจทำให้แสงที่กำลังจะมารวมกันหักล้างกันไปบางส่วน หรือทำให้ภาพเบลอได้ โดยความขรุขระที่เกิดขึ้นต้องน้อยกว่า 1/10 ของ ความยาวคลื่นที่ต้องการวัด ตัวอย่างเช่น ผิวหน้าจานกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ใช้โฟกัสคลื่นวิทยุความยาวคลื่น 10 ซม. นั้นต้องไม่ขรุขระเกินระดับ 1 ซม. ดังนั้นจานรับสัญญาณวิทยุจึงสามารถใช้เหล็กหลายๆแผ่นมาเชื่อมต่อกันเป็นจานได้

        ส่วนผิวจานกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงนั้นต้องเรียบกว่าความยาวคลื่นแสง(ระดับนาโนเมตร)จึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ โดยทั่วๆมักใช้แก้วมาทำให้ผิวหน้าโค้งและเรียบ จากนั้นเคลือบด้วยสารที่มีความมันเงา สะท้อนแสงได้ดีจากนั้นจึงทำการขัด หนึ่งในเทคโนโยลีระดับสูงที่ใช้ในการขัดกล้องโทรทรรศน์คือการขัดให้เรียบด้วยการยิงลำไอออน (Ion Beam Figuring) 

       การโฟกัสคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความยาวคลื่นที่สั้นกว่าแสงมากๆอย่างรังสีเอกซ์นั้นจะใช้อุปกรณ์โฟกัสที่มีลักษณะแตกต่างออกไป 

        รังสีเอกซ์นั้นมีความยาวคลื่นสั้นมากในระดับอะตอม หากใช้กระจกหลักแบบที่ใช้ในกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงมาโฟกัสรังสีเอกซ์จะทำให้รังสีเอกซ์กระเจิงไปคนละทิศทางและถูกกระจกดูดกลืนไปบางส่วน

        วิศวกรจึงใช้ธรรมชาติอย่างหนึ่งของของรังสีเอกซ์ให้เป็นประโยชน์นั่นคือรังสีเอกซ์จะสะท้อนกับกระจกที่มุมค่าน้อยๆ 

        ดังนั้นหากนำกระจกมาเรียงกันโดย ปรับมุมค่อยๆให้มันสะท้อนแคบเข้ามาเรื่อยๆ สุดท้ายรังสีเอกซ์จะถูกโฟกัสได้

         ในภาพข้างบนนี้เป็นรังสีเอกซ์ที่เดินทางเข้ามาเพียงเส้นเดียวเท่านั้น นักฟิสิกส์จึงใช้การนำกระจกคล้ายทรงกระบอกเรียงกันจนมีลักษณะเหมือนวงแหวนหลายๆชั้น เพื่อโฟกัสรังสีเอกซ์ที่เข้ามาทั้งลำ

ความท้าทายในการออกแบบกล้องโทรทรรศน์

        เนื่องจากโลกของเราหมุนรอบตัวเอง วัตถุท้องฟ้าต่างๆที่กล้องโทรทรรศน์ถ่ายจึงเคลื่อนที่ไปบนท้องฟ้าส่งผลให้กล้องโทรทรรศน์ต้องหมุนตาม ความยากประการสำคัญของของการสร้างกล้องโทรทรรศน์คือ การพยายามทำให้กระจกที่เป็นส่วนโฟกัสแสงไม่เปลี่ยนแปลงรูปทรงในขณะที่กำลังมีการใช้งาน อีกทั้งยังต้องให้วัตถุที่สนใจอยู่ในตำแหน่งเดิมในมุมมองของกล้องโทรทรรศน์เสมอ

        ความท้าทายสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การพยายามสร้างกระจกให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

        ในช่วงปี ค.ศ. 1948 กระจกเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตรถูกสร้างขึ้นที่หอดูดาวปาโลมาร์ (Palomar Observatory) แคลิฟอร์เนียร์ กระจกดังกล่าวหนักถึง 15 ตัน ทั้งกล้องโทรทรรศน์หนัก 500 ตัน การสร้างกล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่กว่านี้เป็นเรื่องยากมากเพราะน้ำหนักของกระจกและส่วนที่คอยรองรับน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นมหาศาล

        นักดาราศาสตร์และวิศวกรต้องการสร้างกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงให้มีขนาดใหญ่ แต่กระจกที่ทำหน้าที่โฟกัสแสงนั้นเมื่อมีขนาดใหญ่จนถึงจุดหนึ่ง น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นมหาศาล

คำถามคือ เราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ?

        ทางออกแรกของนักดาราศาสตร์คือ การใช้กระจกหลายๆชิ้นมาต่อกัน แล้วปรับมุมของกระจกแต่ละแผ่นให้ทำงานประสานกันเป็นอย่างดี  กล้องโทรทรรศน์ที่ใช้กระจกหลายๆแผ่นมาต่อกันเรียกว่า Multi mirror telescope

        กล้องโทรทรรศน์แบบใช้กระจกหลายแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน คือ กล้องโทรทรรศน์ Keck อยู่ที่ระดับความสูง 4,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลบนภูเขา Mauna Kea เกาะฮาวาย กระจกหลักมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 เมตร ประกอบด้วยกระจก 36 แผ่น กระจกทั้งหมดนี้มีน้ำหนักไล่เลี่ยกับกระจกแผ่นเดียวที่หอดูดาวปาโลมาร์ แต่มันใหญ่กว่าถึง 2 เท่า

        แน่นอนว่ากระจกทุกแผ่นถูกควบคุมให้หันอย่างแม่นยำด้วยเลเซอร์ ถ้ามีการตรวจจับได้ว่ากระจกแผ่นไหนเอียงผิดเพี้ยนไปเพียงเล็กน้อย มอเตอร์จะทำการปรับมุมให้ถูกต้อง

        ทางออกที่สองคือ การสร้างกระจกให้บางและเบาลงกว่าเก่า กล่าวคือแทนที่จะสร้างส่วนรอบรับกระจกให้หนาๆเพื่อให้กระจกคงรูปร่างได้อย่างสมัยก่อน ก็เปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีประเภทเซนเซอร์และมอเตอร์เพื่อปรับให้กระจกมีรูปทรงตามที่ต้องการแทน 

Very Large Telescope

กล้องโทรทรรศน์ Gemini

        ในช่วงหลังๆนี้กล้องโทรทรรศน์ที่ใช้กระจกแผ่นเดียวแต่บางและมีขนาดใหญ่จึงถูกสร้างขึ้นได้ เช่น กล้องโทรทรรศน์วีแอลที (VLT หรือ Very Large Telescope) ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 8.2 เมตร ที่ประเทศชิลี โดยกล้องโทรทรรศน์วีแอลที มีทั้งหมด 4 ตัว ทำงานแยกเป็นอิสระจากกัน หรือ อาจทำงานประสานกันก็ได้ , กล้องโทรทรรศน์ Gemini  ที่กระจกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8.19 เมตร โดยมีทั้งหมด 2 ตัว ตัวหนึ่งอยู่ที่ฮาวาย ส่วนอีกตัวอยู่ที่ชีลี เป็นต้น

        ทางออกที่สาม ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนงานวิจัยคือ Freeform Optics ซึ่งค่อนข้างซับซ้อน ไว้จะมาเล่าให้ฟังคราวหลังนะครับ

ข้อดีและข้อด้อยของกล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงและหักเหแสงมีดังนี้

        1. กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง ใช้เลนส์มาโฟกัสแสง เมื่อเลนส์มีขนาดใหญ่มากๆจะทำให้มันสูญเสียรูปทรงได้ง่าย จึงต้องสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่มายึดจับส่งผลให้โครงสร้างโดยรวมทั้งหมดยิ่งหนักไปกันใหญ่

        2. กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง มีข้อดีคือ มันง่ายต่อการออกแบบ สร้างตามได้ง่าย เนื่องจากทางเดินของแสงเป็นเส้นตรง

        3.กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงมีปัญหาคือ จะมีบางส่วนมาบังแสงที่เดินทางเข้ามา หากเคยใช้กล้องโทรทรรศน์แบบสะท้อนแสงในการดูดาวจะเห็นดาวมีลักษณะเป็นแฉก ซึ่งเกิดจากการนำกระจกทุติยภูมิมาบังแสงที่เข้ามานั่นเอง

chromatic aberration

        4.ข้อเสียประการสำคัญของกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงคือ เลนส์จะหักเหแสงแต่ละความยาวคลื่นได้ไม่เท่ากัน โดยสีแดงจะหักเหน้อยที่สุด ส่วนสีม่วงจะหักเหมากที่สุด ส่งผลให้สีสันถูกแยกออกขณะเกิดภาพ เรียกว่าเกิดความคลาดสี (chromatic aberration) ในขณะที่กระจกจะสะท้อนแสงทุกความยาวคลื่นด้วยมุมเท่ากันหมด

        อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของเลนส์ที่ใช้นำกล้องโทรทรรศน์กลับกลับกลายมาเป็นจุดแข็งในอุปกรณ์ที่เรียกว่า spectroscopy ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ภายในเป็นปริซึม ใช้ในการแยกความยาวคลื่นช่วงต่างๆออกมาศึกษา

3. กำลังการแยกภาพ ( resolution ) ของกล้องโทรทรรศน์

        คนส่วนมากเวลาเห็นกล้องโทรทรรศน์มักจะตั้งคำถามว่า "กล้องโทรทรรศน์ตัวนี้มีกำลังขยายเท่าไร?"

        คำถามนี้ไม่ใช่คำถามที่มีความหมายเพราะกำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์ไม่ใช่คุณสมบัติสำคัญของกล้องโทรทรรศน์ เราสามารถปรับให้กล้องโทรทรรศน์มีกำลังขยายเท่าไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้ eyepiece (เลนส์ใกล้ตา)ที่มีกำลังขยายแค่ไหนตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่งที่บ่งบอกถึงคุณภาพของกล้องโทรทรรศน์ คือ กำลังการแยกภาพ ต่างหาก 

        กำลังแยกภาพหมายถึงความสามารถในการแยกแยะรายละเอียดสูงสุดดังนั้นกล้องโทรทรรศน์แม้จะมีกำลังขยายมาก แต่ถ้าขยายออกมาแล้วให้ภาพเบลอจนดูไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไรก็ไม่มีประโยชน์

        แม้ว่านักดาราศาสตร์และวิศวกรจะสร้างกระจกหรือเลนส์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่สุดท้ายกำลังแยกภาพเป็นตัวแปรพื้นฐานที่ขึ้นอยู่กับขนาดหน้ากล้องโทรทรรศน์เทียบกับความยาวคลื่นที่ต้องการตรวจจับ  กล่าวคือ ยิ่งกล้องโทรทรรศน์มีหน้ากล้องกว้างมากก็ยิ่งมีกำลังแยกภาพมากตามไปด้วย และในขณะเดียวกัน กำลังแยกภาพคือขีดจำกัดที่เกิดจากธรรมชาติของแสง

        เรามาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่า กำลังแยกภาพคืออะไร?

        หากเราเขียนจุด 2 จุดไว้บนกระดาษ

        แล้วนำกระดาษถอยห่างสายตาออกไปเรื่อยๆ พอห่างจนถึงระยะหนึ่ง เราจะไม่สามามารถแยกออกว่ามันเป็นจุดสองจุดหรือเป็นเพียงจุดๆเดียว นั่นคือขีดจำกัดการแยกภาพของดวงตาเราที่มีต่อระยะเชิงมุมของจุดสองจุด

        ลองนึกถนนตอนกลางคืนก็ได้ครับ

        เราจะมองเห็นไฟหน้าของรถยนต์ที่อยู่เราออกไปมากๆ เป็นเพียงจุดไฟสว่างจุดเดียว จนเมื่อรถยนต์วิ่งเข้ามาใกล้เราจนถึงจุดหนึ่ง เราจึงจะเห็นว่ามันเป็นไฟหน้าสองดวงของรถยนต์

        อีกตัวอย่างบนท้องฟ้าคือ ดาวโพลาริสหรือที่เราเรียกกันว่าดาวเหนือนั้น จริงๆแล้วไม่ใช่ดาวฤกษ์เดี่ยวๆ แต่ดวงตาของเราไม่สามารถแยกแยะรายละเอียดได้ทำให้เราเห็นเป็นเพียงดาวดวงเดียว แต่เมื่อใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังแยกภาพสูงถ่ายภาพจะทำให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นระบบดาวฤกษ์สามดวงโคจรรอบกัน

        ความสามารถในการแยกจุดสองจุดที่อยู่ใกล้กันที่สุดให้ปรากฏแยกกันได้ คือ ความสามารถในการแยกภาพของกล้องโทรทรรรศน์

        ขีดจำกัดของกำลังแยกภาพเกิดจากการเลี้ยวเบน(diffraction)ซึ่งเป็นธรรมชาติพื้นฐานของคลื่นทุกชนิด รวมทั้งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อคลื่นเดินทางผ่านช่องเปิด คลื่นส่วนหนึ่งจะเดินทางผ่านช่องเปิดนั้นไปตรงๆ แต่จะมีคลื่นอีกส่วนหนึ่งที่เปลี่ยนทิศทางบริเวณขอบของช่องเปิด  ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การเลี้ยวเบน

        ดังนั้นเมื่อแสงเดินทางผ่านกล้องโทรทรรศน์เข้ามาจะมีแสงบางส่วนเกิดการเลี้ยวเบนซึ่งจะส่งผลต่อแสงส่วนอื่นๆทำให้ภาพเบลอและสูญเสียรายละเอียดได้

นี่คือ ภาพจากกล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลที่ถูกปรับแต่งเพื่อให้เราเห็นริ้วที่กระจายอยู่รอบๆภาพดาวฤกษ์ชัดเจนขึ้น ซึ่งริ้วดังกล่าวเกิดจากการเลี้ยวเบนของแสง 

        หากเราทำการสังเกตวัตถุท้องฟ้าอยู่ห่างกันด้วยระยะเชิงมุม  α (ในหน่วย arc second) ในช่วงความยาวคลื่น λ  (ในหน่วยนาโนเมตร)  เราจะพบว่ากล้องโทรทรรศน์ที่สามารถแยกวัตถุท้องฟ้าทั้งสองออกจากกันได้ต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลาง D (ในหน่วยเซนติเมตร) ที่มากกว่า 0.02λ/α

        หรือ อาจเขียนให้อยู่ในรูปสมการได้ว่า

        D >(0.02λ/ α)

        จะเห็นได้ว่ายิ่งวัตถุท้องฟ้าอยู่ใกล้กันมาก (มุมα มีค่าน้อย) เส้นผ่านศูนย์กลางขั้นต่ำของกล้องโทรทรรศน์ที่จะใช้แยกมันก็ยิ่งต้องมีค่ามาก

        ยกตัวอย่างเช่น กล้องโทรทรรศน์เส้นผ่านศูนย์กลาง 100 เซนติเมตร (40 นิ้ว) เมื่อใช้สังเกตแสงที่ตามองเห็นที่มีความยาวคลื่น 500 นาโนเมตร  จะแยกดาวฤกษ์สองดวงที่อยู่ห่างกันมากกว่า  0.1arc secondได้ 

กล้องโทรทรรศน์วิทยุอาเรซิโบ

        กล้องโทรทรรศน์วิทยุนั้นมีจานรวมคลื่นวิทยุขนาดมหึมา แต่กำลังแยกภาพแย่กว่ากล้องโทรทรรศน์แบบใช้แสงมาก  จานของกล้องโทรทรรศน์วิทยุอาเรซิโบนั้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 300 เมตร  เมื่อใช้สังเกตคลื่นวิทยุที่ความยาวคลื่น10 เซนติเมตร (ซึ่งนับว่าความยาวคลื่นสั้นมากกว่าเมื่อกับคลื่นวิทยุช่วงอื่นๆ)  สามารถแยกภาพดีที่สุดที่ 70arc second

        หากเปรียบเทียบกำลังแยกภาพของดวงตามนุษย์ รูม่านตามนุษย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 0.8 เซนติเมตร เมื่อสังเกตแสงที่มีความยาวคลื่นเฉลี่ยราวๆ 500นาโนเมตร จะสามารถแยกภาพได้ที่ 13arc second ซึ่งนับว่าละเอียดกว่ากล้องโทรทรรศน์อาเรซิโบเสียอีก

        เทคนิคการเพิ่มกำลังแยกภาพของกล้องโทรทรรศน์วิทยุจึงไม่ใช่การพยายามสร้างจานให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะปัจจุบัน จานรวมสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่กล้อง FAST(Five hundred meter Aperture Spherical Telescope) ของประเทศจีนที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 500 เมตร การจะสร้างกล้องโทรทรรศน์วิทยุใหม่ใหญ่โตเกินกว่า 500 เมตรนั้นใช้พื้นที่และใช้เงินมหาศาล

        วิธีการแก้ปัญหาเรื่องกำลังแยกภาพของกล้องโทรทรรศน์วิทยุคือ ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุหลายๆตัวเก็บข้อมูลสัญญาณวิทยุ แล้วนำสัญญาณเหล่านั้นมาประกอบเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ได้ผลเหมือนกับการมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ตัวเดียว

VLBA

        ปัจจุบันการเชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์วิทยุจนเป็นเครือข่ายที่มีเสถียรภาพที่สุดเครือข่ายหนึ่งคือ VLBA (Very Long Baseline Array) ซึ่งเชื่อมต่อกล้องโทรทรรศน์วิทยุ  10 ตัวในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ทะเลแคริบเบียนจนถึงฮาวาย

        นอกจากนี้หลายโครงการยังมีการกระจายความร่วมมือไปในหลายประเทศทั่วโลก  

ส่วนตรวจจับ

        ก่อนปี ค.ศ. 1980 นักดาราศาสตร์ยังใช้ฟิล์มถ่ายภาพในการเก็บข้อมูลอยู่ แต่หลังจากนั้นมีการนำอุปกรณ์ตรวจจับแสงที่เรียกว่า  ซีซีดี (charge-coupled device)ซึ่งคล้ายกับที่ใช้ในกล้องดิจิตัลในการบันทึกภาพ

        ภายในซีซีดีจะถูกแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ แต่ละช่องเรียกว่า pixel  เมื่อแสงที่มีความถี่เกินค่าหนึ่งตกกระทบจะทำให้อิเล็กตรอนใน pixel หนึ่งๆหลุดออกมา จากนั้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะจะนับจำนวนอิเล็กกตรอนที่หลุดออกมาจากแต่ละ pixel ว่ามีมากแค่ไหน ยิ่งอิเล็กตรอนหลุดออกมาจำนวนมากก็ยิ่งแปลว่าแสงมีความเข้มมาก จากนั้นจึงนำไปประมวลผลเป็นภาพออกมาอีกที แล้วซีซีดีจะกลับเข้าสู่สถานะเริ่มต้นเพื่อรับการถ่ายภาพครั้งใหม่

        หลักการพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลัง ซีซีดีคือ ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ซึ่งอธิบายได้ครั้งแรกโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ส่งผลให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921 ส่วนผู้ประดิษฐ์ ซีซีดีคือ George E. Smith และ Willard S. Boyle ซึ่งทั้งคู่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ.2009

        ซีซีดีเป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาจนมีประสิทธิภาพสูง มันช่วยให้นักดาราศาสตร์บันทึกภาพวัตถุท้องฟ้าได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการถ่ายภาพด้วยฟิล์มซึ่งต้องนำฟิล์มมาล้างก่อนจึงจะเห็นภาพ แต่ภาพจาก ซีซีดีนั้นปรากฏขึ้นในทันที 

อ้างอิง
//www.subarutelescope.org/Introduction/telescope.html
//en.wikipedia.org/wiki/Ultra_low_expansion_glass
//centerfreeformoptics.org/what-is-freeform-optics/
//wp.optics.arizona.edu/ualiangaol/research/freeform-optics/
//astro.uchicago.edu/vtour/inside/stats.html

หนังสือ
pathways to astronomy

กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นใดบ้างที่ใช้ในการศึกษาได้จากบนโลก

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) ตั้งตามชื่อของนักดาราศาสตร์นามว่า เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Hubble) เป็นกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของกระจกปฐมภูมิ 2.4 เมตร ใช้สังเกตการณ์ได้หลายช่วงคลื่น เช่น แสงที่มองเห็น (visible light) อินฟราเรดใกล้ (near infrared) อัลตราไวโอเลต (ultraviolet)

กล้องโทรทรรศน์ชนิดใดใช้สังเกตวัตถุท้องฟ้าในช่วงคลื่นรังสีเอกซ์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา หรือ กล้องรังสีเอกซ์จันทรา (Chandra X-ray Observatory) เป็นดาวเทียมของนาซา ที่มี detector ที่สามารถตรวจจับรังสีเอกซ์ได้ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษารังสี X-ray ในห้วงอวกาศ ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยยาน STS-93 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1999 และพร้อมปฏิบัติภารกิจในปี ค.ศ. 2014 ...

กล้องโทรทรรศน์ช่วงคลื่นวิทยุศึกษาวัตถุอวกาศในเรื่องใด

4. กล้องโทรทรรศน์วิทยุ วัตถุท้องฟ้า สามารถให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงคลื่นอื่นที่ตาเรามองไม่เห็น เช่น คลื่นวิทยุ รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา ดังนั้น จึงมีการสร้างกล้องโทรทรรศน์ขึ้นเพื่อรับสัญญาณดังกล่าว โดยกล้องโทรทรรศน์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดแรกสุด เป็นชนิดรับช่วงคลื่นวิทยุ จึงเรียกรวมๆ กันว่า กล้องโทรทรรศน์วิทยุ

กล้องโทรทรรศน์ฟาสต์รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงคลื่นใด

FUSE เป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศซึ่งทำงานในช่วงความยาวคลื่นของรังสีอัลตราไวโอเล็ตไกลระหว่าง 90.5 - 119.5 นาโนเมตร ซึ่งมีวงโคจรอยู่ที่ระยะสูง 760 กิโลเมตร โคจรรอบโลกใช้เวลาไม่ถึง 100 ชั่วโมง นักดาราศาสตร์ใช้ FUSE ในการศึกษาดิวทีเรียมซึ่งเป็นหลักฐานของทฤษฎีบิกแบง และองค์ประกอบทางเคมีของกาแล็กซี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้