ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานหลักในการเดินหน้าสู่ aec ในสาขาใด

“อาเซียน”
“10 ประเทศรวมเป็นหนึ่ง”


ประเทศสมาชิกอาเซียนปี พ.ศ. ที่เป็นสมาชิกประเทศสมาชิกอาเซียนปี พ.ศ. ที่เป็นสมาชิก
ไทย
2510
บรูไน ดารุสซาลาม
2527
มาเลเซีย
2510
เวียดนาม
2538
สิงคโปร์
2510
เมียนมาร์
2540
ฟิลิปินส์
2510
ลาว
2540
อินโดนีเซีย
2510
กัมพูชา
2542

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) หรือ “อาเซียน” ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ประกองด้วย 5 ประเทศผู้ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย จากนั้นในปี พ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ต่อมาปี พ.ศ. 2538 เวียดนาม จึงเข้ามาเป็นสมาชิก ประเทศสมาชิกถัดมาอีก 2 ประเทศ ได้แก่ พม่าและลาว เข้าเป็นสมาชิกในปี พ.ศ.2540 และกัมพูชา เป็นประเทศสุดท้ายที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อปี พ.ศ. 2542

จากสถิติของปี พ.ศ. 2554 อาเซียนมีประชากรรวมประมาณ 590.5 ล้านคน มีพื้นที่ครอบคลุม 4,435,670 ตารางกิโลเมตร มี ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) รวมกัน มูลค่า 1,850,855 ล้านเหรียญสหรัฐ มีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 3,093 เหรียญ สหรัฐ มีเงินทุนไหลเข้าจากประเทศ นอกอาเซียน มูลค่า 74,661 ล้าน เหรียญสหรัฐ และจากสถิติของปี พ.ศ. 2553 มีการค้ากับต่างประเทศรวม 2,045,731 ล้านเหรียญสหรัฐ มีมูลค่า การส่งออก 1,070,941 ล้านเหรียญ สหรัฐ มูลค่าการนำาเข้า 974,790 ล้าน เหรียญสหรัฐ และเป็นแหล่งผลิตสินค้าที่สำาคัญของโลกหลายชนิด ได้แก่ ข้าว ยางพารา น้ำ ามันปาล์ม ก๊าซ ธรรมชาติ ถ่านหิน

ข้อริเริ่มเพื่อการกระชับการรวมกลุ่มอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) พ.ศ. 2554

การจัดทำข้อริเริ่มเพื่อกระชับการรวมกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและลดความยากจนในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการศึกษาวิจัยเพื่อชี้ให้เห็นถึงจุดแข็งของเศรษฐกิจของแต่ละประเทศและสนับสนุนการรวมกลุ่มอาเซียน ส่งเสริมการพัฒนาของประเทศสมาชิกใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)

1). ความจำาเป็นของการมีกฎบัตรอาเซียน
กฎบัตรอาเซียนถือเป็นเสมือนธรรมนูญของอาเซียน เนื่องจากการรวมตัวของอาเซียนให้เป็นประชาคมอาเซียน จำเป็นต้องมีกรอบหรือพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ เพื่อใช้เป็นกฎเกณฑ์ให้ประเทศสมาชิกถือเป็นพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม (legal binding) หากฝ่าฝืนก็จะมีการลงโทษ

2). สาระโดยสรุปของกฎบัตรอาเซียน
2.1) กำหนดให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล
2.2) กฎเกณฑ์และกระบวนการรับสมาชิก กำหนดให้ต้องเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และจะต้องได้รับรองจากสมาชิกอาเซียนทั้งหมด
2.3) สมาชิกต้องยินยอมที่จะผูกพันตามกฎบัตรและปฏิบัติตามพันธกรณี และมีหน้าที่ตามที่กำาหนดไว้ ในกฎบัตรและความตกลงต่างๆ ของอาเซียน รวมถึงหน้าที่การออกกฎหมายภายในเพื่อรองรับพันธกรณี
2.4) องค์กรของประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย

องค์กรองค์ประกอบอำนาจหน้าที่
1. ที่ประชุมสุดยอด(ASEAN Summit) ผู้นำ กำหนดนโยบายและตัดสินใจในเรื่องสำคัญ รวมถึงกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรอย่างรุนแรง
2. คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ACCs: ASEAN Coordinating Councils) รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน - เตรียมการประชุมผู้นำ- ประสานงานระหว่างสามเสาหลัก
3. คณะมนตรีประชาคมอาเซียน (ASEAN Com-munity Council) ผู้แทนที่ประเทศสมาชิกแต่งตั้งให้เป็นรับผิดชอบในแต่ละเสาหลัก (เศรษฐกิจ การเมือง สังคม/ วัฒนธรรม) ประสานงานและติดตามการทำงานตามนโยบายผู้นำโดยเสนอรายงานและข้อเสนอแนะต่อผู้นำ
4. องค์กรมนตรีอาเซียน เฉพาะสาขา (ASEAN Sec-toral Ministerial Bodies) รัฐมนตรีเฉพาะสาขา - นำความตกลง/มติของผู้นำไปปฏิบัติ- ให้ข้อเสนอแนะต่อคณะมนตรีประชาคมอาเซียน
5. สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) มีเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้บริหาร - เป็น Chief Administrative offiicer ของอาเซียน- ติดตามการปฏิบัติตามคำตัดสินของกลไก- ระงับข้อพิพาท
6. คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (Committee of Permanent Representative: PR) ผู้แทนระดับเอกอัครราชฑูตที่แต่งตั้งจากประเทศสมาชิกให้ประจำที่สำนักงานใหญ่อาเซียน ณ กรุง จาการ์ตา เป็นตัวแทนของประเทศสมาชิก
7. สำนักงานเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ ตั้งอยู่ที่ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ ศูนย์รวมในการประสานงานและสนับสนุนภารกิจของอาเซียนใน ประเทศนั้นๆ
8. องค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน (AHRB: ASEAN Human Rights Body) (คณะทำงานระดับสูงจะยกร่าง TOR ขององค์กรต่อไป) - ส่งเสริม/คุ้มครองสิทธิมนุษยในภูมิภาค ทั้งให้คำปรึกษา ติดตามและประเมินสถานะสิทธิมนุษยชน- ส่งเสริมการศึกษาและความตื่นตัวของหน่วยงานรัฐและประชาชน
9. มูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน และปฏิสัมพันธ์กับประชาชน
10. องค์กรที่มีความสัมพันธ์ กับอาเซียน (Entities Associ¬ated with ASEAN) ได้แก่องค์กรต่างๆ ที่อาเซียนมีปฏิสัมพันธ์มี 5 ประเภท คือ องค์กรรัฐสภา ภาคธุรกิจ ภาค ประชาสังคม กลุ่มปัญญาชน (think-tank) และภาคการศึกษา

2.5) กระบวนการตัดสินใจ
1) ยึดหลักฉันทามติและในกรณีที่ไม่มีฉันทามติ อาจส่งเรื่องให้ผู้นำตกลงกันว่าจะใช้วิธีใดตัดสิน
2) กรณีที่มีข้อตกลงอื่นๆ ของอาเซียน อนุญาตให้ใช้วิธีการอื่นตามที่กำหนดนั้นๆ ในการตัดสินใจ
3) กรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรอย่างร้ายแรง ผู้นำมีอำนาจตัดสินใจด้วยวิธีการ ใดๆ ตามที่ตกลงกันเพื่อกำหนดมาตรการลงโทษ

2.6) มีการให้ความยืดหยุ่นในการผูกพันตามข้อตกลงต่างๆ โดยใช้สูตร ASEAN - X โดยอนุญาตให้ประเทศที่ยังไม่พร้อมยังไม่ต้องเข้าร่วมความตกลงทางเศรษฐกิจได้

2.7) การบริหารงานและกระบวนการ
1) กำหนดให้การมีประธานที่มาจากประเทศเดียว (Single Chairmanship) ครอบคลุม ASEAN Summit, ACCs, Committee of Permanent Representative
2) การเพิ่มบทบาทประธานในการเป็นผู้ส่งเสริมผลประโยชน์อาเซียนและผลักดันการสร้างประชาคมอาเซียน ส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในแง่การนำนโยบายอาเซียนไปผนวกในนโยบายระดับชาติของรัฐสมาชิก ฯลฯ

ภูมิหลัง : ความเป็นมาของอาเซียน

เป็นที่ยอมรับว่าการก่อตั้งอาเซียนเกิดขึ้นจากแรงผลักดันด้านการเมืองภายใต้สถานการณ์ การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิตส์เข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยประเทศในอินโดจีนหลาย ประเทศได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิตส์และเป็นที่คาดหมายว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศต่อไป จึงเป็นที่มาของความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคที่ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง เข้าสู่ระบอบคอมมิวนิตส์และอยู่ในช่วงที่เผชิญกับภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิตส์ โครงการความร่วมมือที่เกิดขึ้นครั้งแรกภายใต้แรงสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาคือ สมาคมอาสา (Association of Southeast Asia: ASA) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 3 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

แต่การดำาเนินงานต้องหยุดชะงักไปภายหลังจากการก่อตั้งเพียง 2 ปี เนื่องจาก ความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย จนกระทั่งได้มีการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และเป็นที่มาของการจัดตั้งอาเซียนขึ้นใน พ.ศ. 2510 ด้วยปัญหาทางการเมืองที่ต้องเผชิญในขณะนั้นทำาให้การดำาเนินงานของอาเซียนในระยะ 10 ปี แรกของการก่อตั้งได้เน้นความร่วมมือด้านการเมืองมากกว่าด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการมีบทบาทร่วม กันของอาเซียนในการต่อต้านการขยายตัวของระบอบคอมมิวนิตส์ในภูมิภาคภายใต้กรอบขององค์การ สหประชาชาติ โดยภายหลังจากการลงนามในปฏิญญาอาเซียนใน พ.ศ. 2510 อาเซียนได้มีการลงนาม ในปฏิญญาอีกฉบับหนึ่งเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2514 คือปฏิญญาว่าด้วยการกำหนดให้ภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Zone of Peace Freedom and Neu-trality Declaration: ZOPFAN) หรือ ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur Declaration) เพื่อใช้ ความพยายามร่วมกันในการสร้างอาเซียนให้เป็นเขตที่มีสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง ปลอดจาก การแทรกแซงจากภายนอกไม่ว่าในรูปแบบใด

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจได้เริ่มมีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมภายหลังการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2519 เป็นต้นมา

การรวมตัวในแนวลึกอาเซียนได้ยกระดับการรวมตัวจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบหลวมๆ จากการทำาความตกลงการให้สิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างอาเซียน (ASEAN Preferential Trading Arrangement: ASEAN PTA) ในปี 2520 เป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ในปี 2535 และกำาลังจะก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558

จากก่อตั้ง...ถึง ASEAN PTA

อาเซียนมีการลงนามก่อตั้งอาเซียนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2510 แต่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระยะ 9 ปีแรกของการก่อตั้งไม่มีผลคืบหน้าเท่าที่ควร มีเหตุผล 2 ประการ

ประการแรก อาเซียนใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับความร่วมมือด้านการเมืองซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะ หน้าในขณะนั้น

ประการที่สอง การดำเนินงานของอาเซียนทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุม ดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 วันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ 2519 ณ นครบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย

จนกระทั่งในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 พ.ศ. 2519 ณ นครบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย อาเซียนได้มีการลงนามในเอกสารสำาคัญ 2 ฉบับ คือ สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in South East Asia) เพื่อมุ่งส่งเสริมสันติภาพ มิตรภาพ และความร่วมมือระหว่างประชาชนในประเทศสมาชิกให้มีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น รวมทั้งได้มีการลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์แห่งอาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) ที่มีสาระครอบคลุมทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และด้านอื่นๆ และได้มีการลงนามในความตกลงสถาปนาสำนักเลขาธิการอาเซียนขึ้นเป็นครั้งแรก

ด้านเศรษฐกิจได้กำหนดแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจไว้อย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก 4 ด้าน คือ

1) การให้ความร่วมมือพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ภายในอาเซียน

2) การจัดทำความตกลงว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษทางการค้าเพื่อส่งเสริมการค้าภายในภูมิภาคอาเซียน

3) การให้ความร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกในการเข้าสู่ตลาดนอกอาเซียน

4) การให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาสินค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ

จาก ASEAN PTA … ถึง … AFTA

จากจุดอ่อนและข้อบกพร่องของ ASEAN PTA ประกอบกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ที่การแข่งขันทางการค้าได้ทวีความรุนแรงขึ้น จากการล่มสลายของระบบสังคมนิยมในยุโรปตะวันออก การที่ประเทศพัฒนาได้ใช้มาตรการกีดกันการค้า ในรูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้น ประกอบกับความไม่มั่นใจในการแก้ไขปัญหาในกรอบเวทีการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบใหม่ (รอบอุรุกวัย) ทำให้ประเทศต่างๆ หันไปให้ความสนใจและเห็นความจำเป็นที่จะมีการรวมกลุ่มในภูมิภาคเพื่อใช้เป็นอำนาจในการต่อรองการค้าระหว่างกันมากขึ้น

ขณะที่ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปได้กระชับความร่วมมือภายในกลุ่มให้แน่นแฟ้นขึ้นโดยยกระดับเป็นตลาดยุโรปเดียว (Single European Market: SEM) สหรัฐอเมริกาได้มีการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) รวมทั้งมีความเคลื่อนไหวในการ รวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคอื่น เช่น อเมริกาใต้ อเมริกากลาง แอฟริกา จึงเป็นความจำเป็นที่อาเซียนต้องแสวงหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อกระชับความร่วมมือที่มีอยู่เดิมให้มีความแน่นแฟ้นขึ้น

ในการเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 พ.ศ. 2535 ณ ประเทศสิงคโปร์ มีประเทศสมาชิกเสนอแนวทางความร่วมมือใหม่ที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น สิงคโปร์เสนอให้จัดตั้งสามเหลี่ยมแห่งการเจริญเติบโต (Growth Triangle) อินโดนีเซียเสนอให้ใช้อัตราภาษีร่วมกัน (Common Effective Tariff) มาเลเซียเสนอให้มีการ รวมกลุ่มเอเซียตะวันออกโดยรวม ญี่ปุ่น จีน และเกาหลี สำหรับประเทศไทยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ทั้งนี้โดยเป็นไปตามแนวคิดของนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ที่ได้เคยเสนอข้อคิดเห็นในนามของภาคเอกชนให้มีการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนโดยการจัดตั้งในรูปของตลาดร่วม (Common Market)1

ในที่สุดที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของประเทศไทยและให้ประเทศไทยไปจัดทำรายละเอียดปรากฏตามเอกสาร “The Anand Initiative for a Break Through in ASEAN Economic Cooperation” และที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้มีการลงนามในปฏิญญา สิงคโปร์ (Singapore Declaration) กรอบความตกลงว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ อาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) เพื่อใช้เป็นกรอบดำเนินการและความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)) เพื่อยึดเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน และทำให้มีการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา

วัตถุประสงค์ของ AFTA

1. เพื่อให้การค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเสรี มีอัตราภาษีต่ำสุดและปราศจากข้อจำกัดที่มิใช่ภาษี
2. เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอาเซียน
3. เพื่อเสริมสร้างสถานะการแข่งขันของอาเซียน
4. เพื่อรับกับสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลกที่จะเสรียิ่งขึ้นจากผลการเจรจารอบอุรุกวัย

เป้าหมายของ AFTA

ลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรม สินค้าทุน และสินค้าเกษตรแปรรูปให้เหลือร้อยละ 0-5 และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรภายในระยะเวลา 15 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 - 2551)

จาก AFTA…ถึง AEC

ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียนที่สำคัญกันหลายครั้ง คือ

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14-16 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 2 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2540 ณ ประเทศมาเลเซีย ผู้นำอาเซียนได้ประกาศวิสัยทัศน์อาเซียน 2563 (ASEAN Vision 2020) เพื่อใช้เป็นเป้าหมายการดำเนินงานด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนและนำอาเซียนไปสู่เขตเศรษฐกิจที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ในทุกๆ ด้าน ในศตวรรษที่ 21

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 15-16 ธันวาคม 2541 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม และครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา

ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2541 ณ กรุงฮานอย ประเทศ เวียดนาม ผู้นำอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Plan of Action) เพื่อใช้เป็นแผนปฏิบัติการเพื่อบรรลุ วิสัยทัศน์ของอาเซียน

อย่างไรก็ตาม ขณะที่อยู่ในช่วงของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฮานอยได้เกิดกระแส การจัดทำการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างประเทศต่างๆ ที่ผลักดันให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีการจัดทำความตกลงกับประเทศนอกกลุ่มทั้งในกรอบทวิภาคีระดับประเทศและในกรอบของอาเซียน โดยเฉพาะการที่อาเซียนเข้าสู่การเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย และสหภาพยุโรป ทำให้อาเซียนต้องหันกลับมาดำเนินการด้านความร่วมมือภายในกลุ่มให้มี ความเข้มแข็งขึ้น

ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่เป้าหมาย ที่ชัดเจน คือการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และมอบให้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนไปศึกษารูปแบบและแนวทางการดำเนินการไปสู่ AEC

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 วันที่ 7-8 ตุลาคม 2546 ณ นครบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย

ในการประชุมสุดยอดครั้งที่ 9 เมื่อ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 ณ นครบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนได้ประกาศ แถลงการณ์บาหลีฉบับที่ 2 (Bali Concord II) แสดงเจตนารมณ์ที่จะยกระดับการรวมกลุ่ม ภายในภูมิภาคเป็นประชาคมอาเซียนภายใน พ.ศ. 2563 (2020) โดยภายใต้ประชาคม อาเซียนประกอบด้วย เสาหลักคือ ประชาคม ความมั่นคงของอาเซียน (ASEAN Security Community: ASC) ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Social-Cultural Community: ASCC)

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 วันที่ 13-14 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์

ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนให้เร็วขึ้นจากกำหนดเดิมภายใน พ.ศ. 2563 (2020) เป็นภายใน พ.ศ. 2558 (2015) (Cebu Declaration on the Acceleration of the Establishment of an ASEAN Community by 2015)

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 18-22 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์

ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่ การเป็นประชาคมอาเซียน

องค์ประกอบหลักของ AEC

AEC (ASEAN Economic Community) เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ ประชาคมความมั่นคงของอาเซียน (ASEAN Security Community: ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASE­AN Economic Community: AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN So­cio-Cultural Community: ASCC)

ทั้งนี้ในการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็น “ประชาคมอาเซียน” ได้ยึดกฎบัตรอาเซียนเป็นกรอบโดยในส่วนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้มีการจัดทำพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) โดยมีองค์ประกอบสำคัญใน 4 เรื่อง คือ

1. การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Single Production Base)

ประกอบด้วย 5 ส่วนประกอบสำคัญคือ

1) มีการเคลื่อนย้ายสินค้าได้โดยเสรี (free flow of goods)

2) มีการเคลื่อนย้ายบริการได้โดยเสรี (free flow of services)

3) มีการเคลื่อนย้ายการลงทุนได้โดยเสรี (free flow of investment)

4) มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้โดยเสรี (free flow of capital)

5) มีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือได้โดยเสรี (free flow of skilled labour)

ในสาขาอุตสาหกรรม การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกันจะประกอบด้วยสาขาความร่วมมือที่นำมาดำเนินการก่อน 12 สาขา คือ สาขาอุตสาหกรรมที่ใช้การเกษตรเป็นพื้นฐาน (agro-based product) การขนส่งทางอากาศยานยนต์ e-ASEAN อุปกรณ์ไฟฟ้า ประมง การรักษาสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ ยาง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์ไม้ และโลจิสติกส์

ในสาขาเกษตร ประกอบด้วย สาขาอาหาร เกษตร และป่าไม้

การดำเนินการเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายเสรีจะดำเนินการโดยการลดเลิกอุปสรรคทั้งหมดด้านกายภาพ (physical barrier) ด้านกฎหมาย (legal barrier) รวมทั้งการปรับประสานกฎระเบียบต่างๆ ให้มีความสอดคล้องกัน (harmonization of rules and regulations) ทั้งในด้านมาตรฐานคุณภาพ ระเบียบวิธีการตรวจสอบและรับรอง

2. การสร้างอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง(Highly Competitive Economic Region) เป็นเป้าหมายหนึ่งของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียนที่ต้องการให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความมั่นคง เจริญรุ่งเรือง และมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในการสร้างภูมิภาคอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงมีองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการ คือ

1) นโยบายการแข่งขัน

2) การคุ้มครองผู้บริโภค

3) สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

4) การพัฒนาโดยสร้างพื้นฐาน

5) การปรับปรุงระบบภาษี

6) e-Commerce

โดยประเทศสมาชิกอาเซียนได้ทำความตกลงที่จะปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรมโดยมีเป้าหมายคือการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในระยะยาว

3. การสร้างอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน (Region of Equitable Economic Development) ภายใต้การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการคือ

1) การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

2) แนวคิดริเริ่มของการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiatives for ASEAN Integration: IAI) ซึ่งจะเป็นการเชื่อมต่อการพัฒนาทั้งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการขยายการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ให้ขับเคลื่อนไปในลักษณะที่กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกัน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาคอาเซียนเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์จากการรวมกลุ่มมากที่สุด

4. การเชื่อมโยงอาเซียนเข้ากับเศรษฐกิจโลก(Fully Integrated Region into the Global Economy) การดำเนินงานของอาเซียนมีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมภายนอกหรือของโลกค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านตลาดสินค้าที่ต้องพึ่งพาตลาดโลกและอุตสาหกรรมที่ต้องมีการพัฒนาไปตามโลกาภิวัตน์ อาเซียนจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่ให้ธุรกิจในอาเซียนสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ และเพื่อเป็นหลักประกันว่าตลาดภายในอาเซียนจะยังสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ อาเซียนจะต้องมองอย่างกว้างไกลเกินกว่าอาณาเขตของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

แนวทางที่จะทำให้อาเซียนสามารถเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกมี 2 แนวทาง คือ

1) การเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับประเทศนอกกลุ่มโดยผ่านช่องทางของการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) และการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิด (Closer Economic Partnerships: CEP)

2) การขยายการมีส่วนร่วมในองค์กรเครือข่ายระดับโลก

โครงสร้างองค์กรดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของอาเซียน

กลไกการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของอาเซียน

1. การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit Meeting) หรือการประชุมผู้นำอาเซียน เป็นกลไกการดำเนินงานระดับสูงสุดของอาเซียน โดยจะมีการประชุมปีละ 1 ครั้ง ในราวเดือนพฤศจิกายนเพื่อให้แนวนโยบายในการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือด้านต่างๆ และริเริ่มกิจกรรมใหม่ๆ ของอาเซียน รวมทั้งการขยายความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

2. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) เป็นกลไกการดำเนินงาน ระดับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจของอาเซียน นับว่าเป็นศูนย์กลางของการดำเนินการทางเศรษฐกิจของอาเซียนเกือบทั้งหมด AEM มีการประชุมอย่างเป็นทางการปีละครั้ง ในช่วงเดือนตุลาคม เพื่อกำกับ ดูแล และพิจารณาขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนตามแนวทางที่ผู้นำอาเซียนกำหนด รวมทั้ง ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจใหม่ๆ และการขยายความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา นอกจากนี้ อาเซียนยังมีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) อีกปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมของทุกปี เพื่อให้แนวทางการดำเนินการ และแก้ไขปัญหาความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เป็นเรื่องจำเป็นหรือเร่งด่วน

3. การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (Senior Officials Economic Meet­ing: SEOM) เป็นกลไกการดำเนินงานระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสหรือระดับอธิบดี มีการประชุมปีละ 4 ครั้งเป็นอย่างน้อย ประมาณ 3 เดือนครั้ง) SEOM จะเป็นศูนย์กลางที่ดูแลรับผิดชอบการดำเนินความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยเฉพาะการยกเลิกมาตรการทางการค้าทั้งที่เป็นภาษีและมิใช่ภาษีของอาเซียนภายใต้ความตกลง AFTA การเร่งรัดการรวมกลุ่ม 11 สาขาสำคัญเพื่อไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC และการขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน นอกจากนี้ SEOM ยังมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียนอีกด้วย

4. การประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงานที่อยู่ภายใต้ SEOM เป็นการประชุมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาความร่วมมือทางเศรษฐกิจแขนงต่างๆ เช่น

- คณะกรรมการประสานงานการดำเนินการภายใต้ความตกลง CEPT (CCCA) มีประชุม

ปีละ 4 ครั้ง เพื่อดำเนินการและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการลดภาษีและยกเลิกข้อกีดกัน

ทางการค้าตามความตกลง CEPT และความตกลง/พิธีสารอื่นที่เกี่ยวข้อง

- คณะทำงานความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (Working Group on Industrial Cooperation: WGIC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการดำเนินการของโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Cooperation: AICO) โดยมีประชุมปีละ 3 ครั้ง

- คณะกรรมการประสานงานด้านการลงทุน (Coordinating Committee on Investment: CCI) มีประชุมปีละ 4 ครั้ง เพื่อพิจารณาดำเนินการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area: AIA) และขยายความร่วมมือด้านการลงทุนระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา

คณะกรรมการประสานงานด้านบริการ (Coordinating Committee on Services: CCS) ประชุมปีละ 4 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาแนวทางการจัดทำข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน และขยายความร่วมมือด้านบริการในสาขาสำคัญ

5. สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) เป็นหน่วยประสานงานและอำนวยความสะดวก ในการดำเนินการตามนโยบายของผู้นำอาเซียนในด้านต่างๆ อำนวยความสะดวกในการประชุมของอาเซียนทุก ระดับ เป็นฝ่ายเลขานุการในการประชุมอาเซียน และเสนอแนะโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของอาเซียน มีที่ตั้ง อยู่ที่กรุงจาการ์ตา

แผนผังโครงสร้างองค์กรการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจอาเซียน

พิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

1. ความเป็นมา

ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2549 ณ ประเทศมาเลเซีย ที่ประชุมได้เห็นชอบที่จะจัดทำพิมพ์เขียวซึ่งเป็นแผนงานในเชิงบูรณาการเพื่อเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยระบุคุณลักษณะและองค์ประกอบสำคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะจัดตั้งขึ้นภายในปี 2558 โดยกำหนดแนวทางที่สอดคล้องกับแถลงการณ์บาหลี ฉบับที่ 2 ระบุเป้าหมายและกรอบระยะเวลาในการดำเนินมาตรการด้านต่างๆ พร้อมทั้งความยืดหยุ่นที่จะตกลงกันล่วงหน้าในการดำเนินงานตามแผนงานสำหรับประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ

2. คุณลักษณะสำคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

เป้าหมายสุดท้ายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจตามที่ระบุไว้ภายใต้วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 คือ การดำเนินการไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนซึ่งจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการประสานผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกโดยการส่งเสริมการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในเชิงลึกและกว้างขวางมากขึ้น ผ่านความร่วมมือที่มีอยู่ในปัจจุบันและแผนดำเนินงานใหม่ภายใต้กรอบระยะเวลาที่ชัดเจน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะทำให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกันเสริมสร้างขีด ความสามารถในการแข่งขัน ด้วยกลไกและมาตรการต่างๆ อาทิ การเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในสาขาสำคัญ การอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายธุรกิจ แรงงานฝีมือ และผู้มีความชำนาญเฉพาะด้าน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านสถาบันของอาเซียน ซึ่งเป็นไปตามข้อเสนอของคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน (HLTF) ในการก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นรูปธรรม

ขณะเดียวกัน การดำเนินงานไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะให้ความสำคัญกับการลดช่องว่างการพัฒนาและส่งเสริมการรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และ เวียดนาม (CLMV) ผ่านความร่วมมือภายใต้โครงการแนวคิดริเริ่มการรวมกลุ่มของอาเซียน (IAI) และแผนงานในกรอบภูมิภาคอื่นๆ รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินงานตามแผนความร่วมมือในด้านอื่นๆ เช่น การพัฒนา บุคลากร การยอมรับคุณสมบัติผู้ประกอบวิชาชีพ การหารือในเรื่องเศรษฐกิจมหภาคและนโยบายทางการเงิน มาตรการการค้าและการเงิน การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงในการติดต่อสื่อสารการพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-ASEAN) การรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมต่างๆ ในภูมิภาคเพื่อส่งเสริมการจัดซื้อ ภายในและส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

3. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ

1) การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน

2) การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

3) การเป็นภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน

4) การเป็นภูมิภาคที่บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์

คุณลักษณะต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีความเกี่ยวข้องและส่งผลเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การรวบรวมแผน งาน/มาตรการภายใต้คุณลักษณะต่างๆ เหล่านี้ไว้ภายใต้พิมพ์เขียวนี้จะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีความเป็นเอกภาพ รวมทั้งช่วยให้การปฏิบัติตามแผนงานและการประสานงาน ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. แผนงานสำคัญเพื่อดำเนินการไปสู่คุณลักษณะสำคัญในแต่ละด้าน

A. การเป็นตลาดเดียวกันและฐานการผลิตร่วมกัน

การเป็นตลาดเดียวกันและฐานการผลิตร่วมกัน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

1) การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี

2) การเคลื่อนย้ายบริการเสรี

3) การเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี

4) การเคลื่อนย้ายเงินทุนเสรี

5) การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรี

...คลิ๊กเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม... (ชื่อไฟล์ที่จะให้ดูเพิ่มเติมคือ แผนงานการเป็นตลาดเดียวกัน )

B. การไปสู่ภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง

การไปสู่ภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงประกอบด้วย 6 ประเด็นสำคัญ ดังนี้

1) นโยบายการแข่งขัน

2) การคุ้มครองผู้บริโภค

3) สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

5) นโยบายภาษี

6) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

B1. นโยบายการแข่งขัน

วัตถุประสงค์หลักของนโยบายการแข่งขันเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ปัจจุบันอาเซียนยังไม่มีกฎหมายการแข่งขันทางการค้าและหน่วยงานทำหน้าที่กำกับดูแลครบทั้ง 10 ประเทศ (ปัจจุบันมี ประเทศสมาชิกอาเซียนเพียง 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ที่มีกฎหมายการแข่งขันทางการค้าและหน่วยงานทำหน้าที่กำกับดูแลกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของมาเลเซียยังไม่ผ่าน แต่ใช้การควบคุมระดับสาขาเพื่อให้เกิดความมั่นใจและกำกับดูแลการแข่งขันในตลาด) และยังไม่มีการจัดตั้งหน่วยงานของอาเซียนเพื่อดูแลด้านนโยบายแข่งขัน รวมทั้งการสร้างเครือข่ายสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลการแข่งขันให้มีการแลกเปลี่ยนด้านประสบการณ์ นโยบาย และบรรทัดฐานด้านนโยบายการแข่งขันระหว่างประเทศสมาชิก

การดำเนินงาน :

1) จัดตั้งเครือข่ายหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องด้านนโยบายการแข่งขันเพื่อเป็นเวทีสำหรับหารือและประสานงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการแข่งขัน

2) สนับสนุนแผนงาน/กิจกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนานโยบายการแข่งขันของแต่ละประเทศ

3) พัฒนาแนวทางนโยบายการแข่งขันของภูมิภาคให้แล้วเสร็จภายในปี 2010 บนพื้นฐานของประสบการณ์ของแต่ละประเทศสมาชิก และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่เป็นสากล เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการแข่งขันที่เป็นธรรม

B2. การคุ้มครองผู้บริโภค:

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคโดยใช้แนวทางให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางจะช่วยส่งเสริมให้เห็นถึงความสำคัญของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียนว่าจะไม่ถูกละเลยในทุกมาตรการที่จะนำไปสู่การรวมกลุ่มของอาเซียน อาเซียนอยู่ระหว่างการพัฒนามาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคให้สอดคล้องกับมาตรการทางด้านเศรษฐกิจ

การดำเนินงาน :

1) เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในอาเซียนโดยการจัดตั้งกลไกที่เหมาะสม

2) จัดตั้งเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่ออำนวยความสะดวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล

3) จัดระบบหลักสูตรการฝึกอบรมในภูมิภาคสำหรับเจ้าหน้าที่ที่กำกับดูแลและผู้นำภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการรวมตลาดของอาเซียน

B3. สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

นโยบายทรัพย์สินทางปัญญาจะช่วยเป็นแรงขับเคลื่อนในด้าน (1) การสร้างสรรค์ทาง วัฒนธรรม ความคิด และศิลปะเชิงพาณิชย์ (2) การรับและปรับเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ (3) การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุผลการปฏิบัติงานตามที่ตั้งไว้

ความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาในภูมิภาคเป็นไปตามแผนปฏิบัติงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียนปี 2004-2010 และแผนการทำงานความร่วมมือด้านลิขสิทธิ์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการสร้างสรรค์วัฒนธรรมการเรียนรู้ และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สนับสนุนต่อวงจรธุรกิจในอาเซียน แผนงานต่างๆ เหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อสร้างความตื่นตัวในการรับรู้ได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งประสานเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ทรัพย์สินทางปัญญา

การดำเนินงาน :

1) การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียนปี 2004-2010 และแผนงานความร่วมมืออาเซียนด้านลิขสิทธิ์อย่างเต็มที่

2) จัดตั้งระบบจัดเก็บข้อมูลของอาเซียนเพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ใช้ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิกอาเซียน

3) การปฏิบัติตามพิธีสารมาดริด

4) หารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศที่มีหน่วยงานกำกับดูแลด้านการป้องกันสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

5) ส่งเสริมความร่วมมือภูมิภาคด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรพันธุกรรม และการแสดงออก วัฒนธรรมดั้งเดิม

B4. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

ความร่วมมือด้านการขนส่ง การขนส่งในระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพมั่นคง และบูรณาการในอาเซียนจะเป็นปัจจัยสำคัญในการไปสู่การใช้ศักยภาพของเขตการค้าเสรีอาเซียนได้อย่างเต็มที่ ส่งเสริมการเป็นภูมิภาคที่น่าสนใจในการเป็นฐานการผลิตร่วมกัน การเป็นจุดหมายด้านการลงทุนและการท่องเที่ยวและลดช่องว่างของการพัฒนาการขนส่งของอาเซียนยังเป็นสิ่งจำเป็นที่จะเชื่อมโยงอาเซียนกับประเทศอื่นๆ ใน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือและเอเชียใต้

อาเซียนได้ส่งเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและบริการโลจิสติกส์ สนับสนุนการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ อำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและการรวมกลุ่มด้านการท่องเที่ยวและส่งเสริมการเปิดเสรีสาขาการขนส่งทางอากาศและทางน้ำ

การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและการอำนวยความสะดวกการขนส่ง แผนปฏิบัติการด้านการขนส่งของอาเซียน (ATAP) 2005-2010 ครอบคลุมการขนส่งทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ และการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง

การดำเนินงาน :

1) ดำเนินการตามกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกสินค้าผ่านแดนของอาเซียน และกรอบความตกลงว่าด้วยการขนส่งหลายรูปแบบของอาเซียนภายในปี 2008

2) สรุปผลกรอบความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามแดนของอาเซียนภายในปี 2008 และเริ่มดำเนินการภายในปี 2010

การขนส่งทางบก จะให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟระหว่าง สิงคโปร์ - คุนหมิง (SKRL) และโครงการเครือข่ายทางหลวงอาเซียน (AHN) ให้เสร็จสมบูรณ์

การดำเนินงาน :

1) พัฒนาจุดเชื่อมโยงที่ยังขาดอยู่ภายใต้โครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟระหว่างสิงคโปร์–คุนหมิง และโครงการเครือข่ายทางหลวงอาเซียนให้เสร็จสมบูรณ์

2) ปรับปรุงความปลอดภัยทางถนนในอาเซียน

การขนส่งทางน้ำและทางอากาศ จัดทำและดำเนินงานตามนโยบายร่วมด้านการขนส่งทางน้ำในภูมิภาคและพัฒนาการเป็นตลาดเดียวกันในด้านการบินของอาเซียน

การดำเนินงาน :

1) ปฏิบัติตามสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องขององค์กรขนส่งทางน้ำระหว่างประเทศ (MO)

2) ดำเนินนโยบายการเปิดน่านฟ้าเสรีของอาเซียน (แผนงานการรวมกลุ่มสาขาการบิน)

3) การพัฒนาตลาดการบินเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Aviation Market)

โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล (information infrastructure) การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลที่มีการป้องกันและเชื่อมต่อกันมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาและการแข่งขันทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ความพยายามในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ การเชื่อมโยงเครือข่ายต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับระบบในภูมิภาค การเชื่อมต่อการใช้อินเทอร์เน็ตและความปลอดภัยของระบบการแลกเปลี่ยน/การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเท่าเทียมกัน จะต้องปรับปรุงในเรื่องของความไว้วางใจและความเชื่อมั่น

นอกจากนี้ จะต้องมีการพัฒนาการเชื่อมโยงความเร็วสูง (high-speed connection) ระหว่างโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลแห่งชาติ (National Information Infrastructures : NII) ของทุกประเทศสมาชิกอาเซียน

การดำเนินงาน :

1) อำนวยความสะดวกให้เกิดการเชื่อมโยงความเร็วสูง (high-speed connection) ระหว่างโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลแห่งชาติ (National Information Infrastructures: NII) ของทุกประเทศสมาชิกอาเซียนภายในปี 2010 และดำเนินมาตรการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตาม แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ (Vientiane Action Plan)

2) จัดทำโปรแกรมการฝึกอบรมสำหรับองค์กรสร้างความปลอดภัยระบบสารสนเทศแห่งชาติ (National Computer Emergency Response Teams : CERTs) และเพิ่มศักยภาพความปลอดภัยให้กับเครือข่ายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (cyber-security network) ของอาเซียน โดยการขยายองค์กรการเตือนภัยสารสนเทศของอาเซียน (ASEAN CERT Incident Drills) ให้ครอบคลุมประเทศคู่เจรจาของอาเซียนภายในปี 2007

3) สนับสนุนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วม (ประชาชน ธุรกิจ และหน่วยภาครัฐ) นำเทคโนโลยี

สารสนเทศและบริการมาใช้

4) นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย (สาขาสำคัญ เช่น ศุลกากร โลจิสติกส์ ขนส่ง ธุรกิจเกี่ยวกับข้อมูลในรูปแบบต่างๆ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ความร่วมมือด้านพลังงาน ความมั่นคงด้านพลังงานจะก่อให้เกิดการสนับสนุนเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ความร่วมมือในภูมิภาคด้านโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติของอาเซียน และโครงการเครือข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน ก่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานของภูมิภาคมากขึ้น โครงการเหล่านี้ทำให้เอกชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในด้านการลงทุน การเงิน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี นอกจากนี้ การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างประเทศทั้งด้านเครือข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติยังก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านความมั่นคง ความยืดหยุ่น และคุณภาพของพลังงาน

เร่งการพัฒนาโครงการเครือข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน และโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติของอาเซียน โครงการเครือข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าของมี 14 โครงการ และโครงการเชี่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติของอาเซียนมี 7 โครงการ

การดำเนินงาน :

1) เร่งการดำเนินการโครงการเครือข่ายระบบสายไฟฟ้าของอาเซียน และโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติของอาเซียน

2) ส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคเอกชนเกี่ยวกับโครงการเครือข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน และโครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติของอาเซียนให้มากขึ้น

การสนับสนุนด้านการเงินเพื่อการพัฒนาโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเงิน การมีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่อาเซียนต้องการเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ จึงมีความจำเป็นที่ต้องการลงทุนมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาค การจัดทำโครงการให้การสนับสนุนด้านการเงินมีความสำคัญมากต่อการสร้างแรงดึงดูดให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

การดำเนินงาน :

1) ส่งเสริมให้ภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาค อาทิ โครงการเชื่อมโยงท่อก๊าซธรรมชาติของอาเซียน โครงการเครือข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน โครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสิงคโปร์- คุนหมิง และโครงการทางหลวงอาเซียน

2) ยกเลิก/ลดอุปสรรคต่อการลงทุนข้ามพรมแดน/สนับสนุนเงินทุนพัฒนาโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาค

B5 นโยบายภาษี

การดำเนินงาน :

1) จัดทำเครือข่ายของความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนภายในปี 2010

B6. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การปฏิบัติตามกรอบความตกลง e-ASEAN และกรอบความตกลงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะช่วยวางนโยบายและโครงสร้างทางกฎหมายสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และช่วยให้เกิดการค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในอาเซียนมากขึ้น

การดำเนินงาน :

1) ขยายขอบเขตของการจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกัน (ASEAN MRA) ให้ครอบคลุมการค้า

เครื่องมืออุปกรณ์โทรคมนาคมให้มากขึ้น

2) นำแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (best practices) ด้านนโยบายการแข่งขันด้านโทรคมนาคมมาใช้ และสนับสนุนการออกกฎหมายภายในด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

3) ปรับประสานโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายสำหรับการทำสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ และการยุติข้อขัดแย้งให้เป็นแนวเดียวกัน

4) จัดทำและปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศสำหรับการทำสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ หลักการสำหรับการยุติข้อขัดแย้ง และกรอบการยอมรับร่วมกันสำหรับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน

5) เสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อสนับสนุนการยอมรับร่วมกันสำหรับลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน

6) ศึกษาและยอมรับการนำแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ และแนวทางกฎหมายหรือมาตรฐานพื้นฐานของกฎระเบียบต่างๆ ร่วมกัน

7) จัดตั้งเครือข่ายระหว่างภาคธุรกิจในอาเซียนกับคู่ค้า เพื่อให้เป็นเวทีการส่งเสริมการค้าและการลงทุน

C. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน

C1. การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

พิมพ์เขียวนโยบายด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาเซียน 2001-2014 กำหนดกรอบแนวทางสำหรับการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาคอาเซียนซึ่งประกอบด้วยแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงาน มาตรการนโยบายต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1) เร่งพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใช้ประโยชน์จากความแตกต่างของประเทศสมาชิกอาเซียนได้อย่างเหมาะสม

2) พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอาเซียน โดยอำนวยความสะดวกการเข้าถึงข้อมูล ตลาด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความเชี่ยวชาญ การเงินรวมทั้งเทคโนโลยี

3) เสริมสร้างความยืดหยุ่นให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอาเซียนสามารถรับมือกับความผันผวนทางการเงินและเศรษฐกิจมหภาค เช่นเดียวกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมทางการค้าที่เสรีมากขึ้น

4) เพิ่มการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาภูมิภาคอาเซียน

การดำเนินงาน :

1) ดำเนินการตามพิมพ์เขียวนโยบายด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของอาเซียนตามกำหนดเวลา

2) ส่งเสริมเครือข่ายวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและการมีส่วนร่วมในการสร้างเครือข่ายผลผลิตและการกระจายสินค้าของภูมิภาค

3) ส่งเสริมแนวทางการปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมทั้งแหล่ง

เงินกู้ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

C2. ความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน

เนื่องจากประเทศอาเซียนมีระดับการพัฒนาที่แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเน้นการรวมกลุ่มของอาเซียนทั้งในแนวลึกและแนวกว้าง โดยให้มีความร่วมมือด้านเทคนิคและการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่เท่าเทียมกันและเป็นไปอย่างทั่วถึงและส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มของอาเซียนเป็นรูปธรรมโดยเร็วและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (AIA) เริ่มมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2000 เพื่อกำหนดทิศทางและความพยายามในการลดระดับช่องว่างของการพัฒนาทั้งภายในอาเซียนและอาเซียนกับประเทศอื่นๆ ด้วยปัจจุบันความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนครอบคลุมด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การเสริมสร้างขีดความสามารถในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค พลังงาน บรรยากาศการลงทุน การท่องเที่ยว การลดระดับความยากจน และการปรับปรุงคุณภาพชีวิต

การเร่งรัดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนต้องมีการปฏิรูปการบังคับใช้กฎระเบียบ ซึ่งการปฏิบัติต้องมาจากทั้งสองทางคือ จากงานพื้นฐานจนถึงการสร้างนโยบายใหม่ เพื่อปรับให้เข้ากับกฎ ระเบียบใหม่ อนึ่ง ความท้าทายจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนทำให้ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนต้องพัฒนานโยบายที่จะเพิ่มการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มการลงทุนทั้งในประเทศและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ขยายธุรกิจภาคเอกชนในขณะเดียวกันก็บรรลุเป้าหมายเชิงสาธารณะ

การดำเนินงาน :

1 ส่งเสริมให้ความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนเป็นเวที (platform) ในการระบุและดำเนินการตามโครงการความช่วยเหลือด้านวิชาการและการเสริมสร้างชีดความสามารถสำหรับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในอาเซียนโดยเฉพาะประเทศสมาชิกใหม่และในความตกลงภายใต้ กรอบอนุภูมิภาคอื่นๆ เช่น IMT-GT และ BIMP-EAGA เพื่อยกระดับการพัฒนาโครงข่ายด้านการผลิตและการจัดจำหน่ายในภูมิภาคให้เท่าเทียมกัน

2) ประเทศสมาชิกเดิมต้องให้การสนับสนุนโครงการความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียนอย่างต่อเนื่อง

3) รวบรวมการสนับสนุนจากคู่เจรจาและองค์กรนานาชาติ เช่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย และธนาคารโลก เพื่อให้การดำเนินการโครงการภายใต้กรอบ IAI เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

4) สร้าง/พัฒนาขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่รัฐในการพัฒนา/ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและสังคมที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

5) จัดทำการศึกษาเศรษฐศาสตร์สังคมเป็นครั้งคราว เพื่อตรวจสอบและประเมินผลของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

D. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

อาเซียนดำเนินงานในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกมากขึ้น ด้วยการพึ่งพาตลาดและอุตสาหกรรมในระดับโลก เพื่อส่งเสริมนักธุรกิจของอาเซียนให้แข่งขันในระดับสากล และสร้างอาเซียนให้มีพลวัตและเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานของโลกที่แข็งแกร่งมากขึ้น ดังนั้น ในการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงต้องดำเนินงานบริบทภายนอกประกอบด้วย

D1. แนวทางการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน ต่อปฏิสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับภายนอก

อาเซียนจะต้องดำเนินงานเพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยเฉพาะในด้านความสัมพันธ์กับประเทศภายนอก ซึ่งรวมถึงการเจรจาทำเขตการค้าเสรี (FTAs) ความตกลงว่าด้วยหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (CEPs) ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยการหารือกันอย่างใกล้ชิด และการวิเคราะห์ต้นทุน/ผลประโยชน์ในท่าทีของอาเซียนที่มีต่อการจัดทำเขตการค้าเสรีกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ

การหารืออย่างใกล้ชิดและศึกษาวิเคราะห์ผลดี/ผลเสียในการกำหนดท่าทีการเจรจาเขตการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา หรือในกรอบพหุภาคี เช่น องค์การการค้าโลก (WTO)

การดำเนินงาน :

1) สร้างกลไกระดับภูมิภาคในการปรึกษาหารือและประสานงาน รวมถึงกลไกในการหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อกำหนดท่าทีการเจรจาในภูมิภาคร่วมกันสำหรับการเจรจา FTAs/CEPs กับประเทศคู่เจรจาต่างๆ ในปี 2008

2) พัฒนากรอบการเจรจา FTAs/CEPs ของอาเซียน เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้เจรจาของอาเซียนภายใน 2008

3) พัฒนาแนวทางหลักที่ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้ในการเจรจา FTAs/CEPs กับประเทศคู่เจรจาต่างๆ ภายในปี 2008

D2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในเครือข่ายอุปทานของโลก

อาเซียนจะต้องส่งเสริมการเข้าไปมีส่วนร่วมในเครือข่ายอุปทานของโลก

การดำเนินงาน :

1) รับหลักปฏิบัติสากลที่ดีและมาตรฐานในการผลิตและจำหน่ายมาใช้ในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

2) พัฒนาความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อยกระดับขีดความสามารถและประสิทธิภาพด้านอุตสาหกรรมและส่งเสริมการเข้ามามีส่วนร่วมของประเทศสมาชิกที่พัฒนาน้อยของอาเซียนในการรวมกลุ่มระดับภูมิภาคและระดับโลก

แนวทางดำเนินงานตามแผนงานที่กำหนด

แผนงานยุทธศาสตร์ ซึ่งแนบท้ายพิมพ์เขียว AEC นี้ จะเป็นเอกสารการรวมกลุ่มของอาเซียนในรายละเอียดให้มีการหารือกับหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อร่วมกันพิจารณาทบทวนการดำเนินตามแผน/โครงการให้สอดคล้องกับพิมพ์เขียวนี้

คณะกรรมการ/คณะทำงานต่างๆ ของอาเซียน จะเป็นผู้ประสานงานการดำเนินโครงการ/มาตรการ และหน่วยงานภาครัฐจะดูแลการดำเนินงานในภาพรวม และจัดทำแผนปฏิบัติงานในระดับชาติ ภาคเอกชน/สมาคมอุตสาหกรรมต่างๆ จะต้องมีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างแข็งขัน

ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการตามโครงการ /มาตรการต่างๆ ในพิมพ์เขียวบรรลุผลสำเร็จ กระบวนการจัดตั้งประชาคมจำเป็นต้องมีกลไกหรือองค์กร ทรัพยากร ขีดความสามารถ และเจตนารมณ์ทางการเมือง

A. กลไกการดำเนินงาน รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ในฐานะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนภายใต้คณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Council of AEC) จะดูแล รับผิดชอบการดำเนินงานตามแผนงานในพิมพ์เขียวนี้

โดยทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงานในพิมพ์เขียวนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ดำเนินงานตามมาตรการต่างๆ ดังนี้

1) คณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนจะเป็นผู้ให้ความเห็น ในเชิงกลยุทธ์ต่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนในประเด็นที่ส่งผลต่อการปฏิบัติตามแผนงานในพิมพ์เขียวนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกำหนดเวลา

2) ให้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับทราบข้อคิดเห็นต่อการดำเนินงานตามแผนงานในพิมพ์เขียว

3) สามารถให้มีความยืดหยุ่นในการดำเนินงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะต้องมีการตกลงกันก่อนล่วงหน้า และไม่ก่อให้เกิดความล่าช้าต่อการดำเนินงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

4) สามารถนำหลักการ ASEAN - X มาใช้ในการเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนงานในด้านเศรษฐกิจ

5) เลขาธิการอาเซียนจะเป็นผู้รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้รัฐมนตรีในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและผู้นำอาเซียนรับทราบ

6) การให้สัตยาบันต่อพันธกรณีทางกฎหมายของอาเซียนจะต้องดำเนินการภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่มีการลงนาม

7) ให้ใช้กลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน (DSM) เพื่อส่งเสริมการสร้างสังคมกฎระเบียบ (rules-based community)

ประเทศสมาชิกจำเป็นจะต้องมีการติดตาม ทบทวน และเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบความคืบหน้าของการดำเนินงานตามแผนงานและมาตรการต่างๆ เพื่อไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเลขาธิการอาเซียนจะต้องทบทวนและติดตามการปฏิบัติตามแผนงานภายใต้พิมพ์เขียวด้วย

การดำเนินงาน :

1) จัดทำตัวชี้วัดในเชิงสถิติ ซึ่งรวมถึงอัตราภาษี และระบบฐานข้อมูลด้านการค้าและ AEC scorecards เพื่อติดตามและประเมินความคืบหน้าการดำเนินตามองค์ประกอบต่างๆ ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

B. ทรัพยากร การวิจัยและการสนับสนุนด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถจะดำเนินการผ่านสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

การดำเนินงาน :

1) กองทุนเพื่อพัฒนาอาเซียนโดยการสมทบจากประเทศสมาชิกจะเป็นตัวขับเคลื่อนในการใช้ทรัพยากรจากแหล่งอื่นๆ ของอาเซียนและแหล่งที่มิใช่อาเซียน

2) ระบุและดำเนินงานการศึกษาด้านเทคนิคหรือจัดทำแผนงานการอบรมในประเด็นหรือหัวข้อที่การวิเคราะห์และการสนับสนุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถมีความจำเป็นเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานตามพิมพ์เขียวเพื่อเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

3) แปลงเป้าหมายและเป้าประสงค์ของพิมพ์เขียวเพื่อเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไปสู่เป้าหมายและเป้าประสงค์ในระดับชาติ และระบุไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาของแต่ละประเทศ

4) สนับสนุนการเข้ามามีส่วนร่วมของธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย ธนาคารโลก ประเทศคู่เจรจา และภาคเอกชนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในระดับภูมิภาค

5) สร้างความแข็งแกร่งในด้านการวิจัยและความสามารถในการวางแผนของสำนักงานเลขาธิการอาเซียนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

6) สร้างความแข็งแกร่งในด้านความสามารถในการวิจัยและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ

C. การสื่อสาร ความสำเร็จของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายในขั้นตอนของการรวมกลุ่ม นอกจากการสร้างการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำพิมพ์เขียวนี้

แผนงานการสื่อสารที่ดียังมีความจำเป็นที่จะสร้างการรับรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในทุกประเทศสมาชิกและรักษาให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดรวมทั้งประชาสังคมธุรกิจ และประชาชนในอาเซียนได้รับทราบถึงความคืบหน้าของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน

การดำเนินงาน :

1) ดำเนินการเผยแพร่แผนงานการสื่อสารต่างๆ เพื่ออธิบายให้หน่วยราชการผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และสาธารณชนได้ทราบวัตถุประสงค์และประโยชน์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

2) พัฒนาเวทีระดับภูมิภาคเพื่อใช้ในการหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลในการดำเนินงานจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

3) ประเทศสมาชิกจะต้องจัดตั้งกลไกระดับชาติเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างสม่ำเสมอ

D. การทบทวน พิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะต้องมีการทบทวนเป็นระยะๆ โดยคำนึงถึงความเคลื่อนไหวของพัฒนาการในระดับภูมิภาคและโลก

ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

โครงสร้างองค์กรดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของอาเซียน

AEC: ผลต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม

บทสรุป

การกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือทาง เศรษฐกิจการค้าระหว่างกันของอาเซียนในรูปแบบประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจภายในอาเซียนอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศมีเป้าหมายและพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม AEC Blueprint ที่มุ่งการเปิดเสรีมากขึ้นในด้าน สินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และทุน รวมถึงให้ความ สำคัญกับการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการพัฒนาในด้านต่างๆ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ตลอดจนการเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่นับวันยิ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านภาคการส่งออกซึ่งมีมูลค่าและแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้นทุกปีและกลายเป็นตลาดส่งออกหลักสำคัญของไทย ขณะที่การลดอัตราภาษีนำเข้าระหว่างกันก็ทำให้เกิดความได้เปรียบทางด้านต้นทุนของผู้ประกอบการที่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตภายในภูมิภาคที่ทำให้เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของไทยมากยิ่งขึ้นจากความได้เปรียบในด้านทำเลที่ตั้ง ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงทางด้านการขนส่งระหว่างภูมิภาค การมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และมีระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึง


ผลต่อภาคเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ

การเปิดเสรีสินค้าเกษตร เป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาเปิดเสรีในอาเซียน โดยบางประเทศได้มีการปกป้องภาคเกษตรของตนเป็นอย่างมาก ซึ่งได้มีการนำสินค้าเกษตรบางรายการเป็นสินค้าใน Sensitive List ทั้งนี้ การลดภาษีสินค้าระหว่างกันเหลือ 0% จะเป็นโอกาสสำคัญของสินค้าเกษตรไทยที่จะสามารถส่งออกได้มากขึ้น อาทิ ข้าว น้ำตาล ไก่แปรรูป อาหารแปรรูป เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนา และสร้างนวัตกรรมในสินค้าที่หลากหลายเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ขณะเดียวกันก็อาจได้รับผลกระทบจากสินค้าเกษตรของประเทศอื่นเข้ามาในไทยมากขึ้นในราคาหรือคุณภาพที่ต่ำกว่า ดังนั้นแนวทางในการพัฒนาภาคเกษตรของไทยจึงควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของ สินค้าเกษตร ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มรวมทั้งจัดทำมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อควบคุมคุณภาพการนำเข้าสินค้าเกษตร

ภาคอุตสาหกรรม ของไทยในอาเซียนถือว่ามีศักยภาพในการแข่งขัน ประกอบกับไทยมีข้อได้เปรียบทั้งด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แรงงานมีทักษะ และมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับการเป็นตลาดและฐานการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงถือเป็นโอกาสสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจากการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ สิ่งทอและเครื่อง นุ่งห่ม และอาหาร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมต่างๆ ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ตลอดจนอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของไทยมีการใช้แรงงานที่เข้มข้น และขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะสูง รวมถึงมีต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและการเติบโตของอุตสาหกรรมไทยในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าให้มากขึ้น อีกทั้งให้ความสำคัญกับการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสร้างตราสินค้าที่เป็นของตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของสินค้าของไทยในตลาดโลก

ภาคการบริการ มีความสำคัญและแนวโน้มการเติบโตสูงทั้งในตลาดอาเซียนและ ตลาดโลก ซึ่งไทยได้มีแนวคิดจะพัฒนาภาคธุรกิจบริการให้เป็นศูนย์กลางในหลายๆ ด้าน เช่น การท่องเที่ยว ซึ่งไทยมีจุดแข็งในความหลากหลายทางชีวภาพและมีการให้บริการที่เป็นมิตร รวมทั้งบริการด้านการแพทย์ทื่ไทยได้รับการยอมรับมาตรฐานระดับสากลซึ่งสาขาดังกล่าวเป็นสาขาบริการที่ไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีภาคบริการใน AEC อย่างไรก็ตาม ไทยมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาสาธารณสุขโดยเฉพาะแพทย์เป็นจำนวนน้อยมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดการไหลทะลักเข้ามาของบุคลากรทางการแพทย์จากประเทศ อาเซียนอื่นๆ ที่มีมาตรฐานเพียงพอ ขณะเดียวกันบุคลากรของไทยก็อาจเกิดการไหลออกไปสู่ประเทศที่มีค่าตอบแทนสูงกว่า อย่างไรก็ตาม แนวทางสำคัญที่จะช่วยผลักดันการเป็นศูนย์กลางในธุรกิจที่มีศักยภาพ รวมทั้งธุรกิจบริการอื่นในเวทีอาเซียน นั่นคือการผลักดันให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จาก AEC เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของตน ทั้งการศึกษาลู่ทางและโอกาสทางการตลาด และการลงทุนในต่างประเทศ ปรับปรุงการบริการให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล หลากหลาย รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมทั้งในด้านทักษะฝีมือและทักษะภาษา ซึ่งเป็นสิ่งสำาคัญในการสร้างจุดแข็งของตนเองเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนย่อมจะส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและลบต่อทุกภาคส่วนของสังคมในมิติที่แตกต่างกัน ดังนั้นประเด็นสำคัญที่ไทยควรเตรียมการรับมือเพื่อปรับตัวและเตรียมความพร้อมในอันดับแรกคือการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและทั่วถึงให้กับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร ผู้ประกอบการ ข้าราชการประชาชนทั่วไป รวมทั้งเด็กและเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปรวมทั้งการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมภายในประเทศให้เอื้อต่อการใช้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างเต็มที่ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน กฎหมาย/กฎระเบียบ ข้อมูล และบุคลากร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในเชิงรุก คือการใช้โอกาสจากการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว เพื่อสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุนและปัจจัยการผลิตจากการย้ายฐานการผลิตและการออกไปลงทุนในประเทศอื่นในอาเซียน รวมถึงการเข้าไปทำงานในประเทศอาเซียนอื่นของบุคลากรวิชาชีพ ซึ่งควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะฝีมือและภาษาไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 จะเป็นอุปสรรคหรือโอกาสสำาหรับประเทศไทย สิ่งสำาคัญที่สุดคือการขวนขวายและใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีอย่างเต็มที่ อันจะเป็นก้าวสำาคัญทางเศรษฐกิจของไทยในเวทีอาเซียนและเวทีโลกต่อไปในอนาคต

1. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

อาเซียนมีกำหนดรวมตัวทางเศรษฐกิจเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน ดังนี้

1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Single Production Base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินลงทุน อย่างเสรีมากขึ้น (Free flows of goods, services, investment, and skilled labors, and free flow of capital) ซึ่งจะนำาไปสู่การใช้กฎระเบียบการค้าในประเทศสมาชิกทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกันทั้งในด้านมาตรฐาน คุณภาพ ราคา อัตราภาษี รวมถึงกฎระเบียบในการซื้อขาย การขจัดมาตรการและข้อกีดกันต่างๆ และการมีมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า เงื่อนไขการเคลื่อนย้ายบุคคลสัญชาติอาเซียน ประเภทบริการและการลงทุนที่เสรี

การเคลื่อนย้ายสินค้าโดยเสรี

ยกเลิกภาษีสินค้านำเข้า ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ดังตาราง

• กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (ROO) อาเซียนได้มีการทบทวนและปรับปรุง กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าของอาเซียนให้ง่ายขึ้น นอกจากเกณฑ์สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของสินค้า (Local Content ร้อยละ 40) อาเซียนยังได้นำเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงพิกัด (Change in Tariff Classification: CTC) หรือเกณฑ์การแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Process Rule) มาใช้ในกฎทั่วไป (General Rule) และกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า (Product Specific Criteria) เพื่อให้สามารถได้แหล่งกำเนิดสินค้าเมื่อมีการผลิตสินค้าในประเทศสมาชิกอาเซียน

• มาตรการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี สมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ (บรูไนฯ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย) ได้ยกเลิกมาตรการที่เป็นการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี ในปี 2553 ส่วนฟิลิปปินส์ยกเลิกในปี 2555 และ CLMV จะยกเลิกภายใน ปี 2558 รวมทั้งได้จัดทำ ASEAN Trade Facilitation Framework ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า รวมถึงแผนงานเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ได้แก่ พิธี การศุลกากร กระบวนการทางการค้า มาตรฐานและการรับรองมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ASEAN Single Window และ ASEAN Trade Repository เป็นต้น

• ASEAN Single Window (ASW) อาเซียนอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้ง ASW เพื่อร่นระยะเวลาในการตรวจปล่อยสินค้าให้เร็วขึ้น โดยประเทศสมาชิกจะต้องเริ่มดำเนินการใช้ National Single Window (NSW) ภายในประเทศก่อน


การเคลื่อนย้ายบริการเสรี

ภายใต้ความตกลงด้านการลงทุนแบบเต็มรูปแบบ (ASEAN Comprehensive Investment Agreement: ACIA) มีเนื้อหาครอบคลุมการลงทุนในธุรกิจ 5 สาขา ได้แก่ เกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงบริการที่เกี่ยวเนื่องกับ 5 สาขา โดยมีสาระสำคัญ 4 ด้าน ดังนี้

1) การให้ความคุ้มครองการลงทุน (Investment Protection) เพิ่มความคุ้มครองให้นักลงทุนอาเซียนในหลายๆ ด้าน เช่น สิทธิในการฟ้องร้องรัฐหากทำผิดพันธกรณี การชดเชยค่าเสียหายในกรณีถูกยึดทรัพย์ เวนคืน เป็นต้น

2) การอำนวยความสะดวกและความร่วมมือด้านการลงทุน (Facilitation and Cooperation) ทั้งในด้านนโยบายด้านการลงทุนที่โปร่งใส ชัดเจน และ สอดคล้องกัน และการเผยแพร่และจัดทำฐานข้อมูลด้านการลงทุนในอาเซียน

3) การส่งเสริมการลงทุน (Promotion and Awareness) โดยการสร้างโครงการส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน กระตุ้นให้เกิดการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV การพัฒนาวิสาหกิจเอกชนทั้งขนาดใหญ่และเล็ก

4) การเปิดเสรีการลงทุน (Liberalization) ภายใต้หลัก National Treatment

การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี

ได้มีการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัติของบริการวิชาชีพ ต่างๆ (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ให้บริการวิชาชีพของอาเซียนในการเข้ามาทำงานและพำนักอาศัย โดยปัจจุบันมีการลงนามใน 7 สาขา ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ นักบัญชี วิศวกร พยาบาล สถาปนิก และนักสำรวจ และอยู่ระหว่างการยกร่างข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัติของสาขาท่องเที่ยว


การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างเสรีมากขึ้น

โดยได้ดำเนินงานตามแผนงานการรวมกลุ่มทางการเงินและการคลังของอาเซียน ซึ่งมีสาระสำคัญ 3 ด้าน ดังนี้

1) การเปิดเสรีบริการทางการเงิน (Financial Liberalization) ซึ่งดำเนินการตามความพร้อมและให้สอดคล้องกับแผนของแต่ละประเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการเงินและความสามารถในการเข้าถึงบริการทางการเงินของผู้บริโภคและภาคธุรกิจ

2) การเปิดเสรีบัญชีทุน (Capital Account Liberalization) มีการผ่อนปรนข้อจำกัดในการเคลื่อนย้ายเงินทุน รวมถึงบัญชีเดินสะพัด และการลงทุนในหลักทรัพย์ตามความพร้อมของประเทศ

3) การพัฒนาตลาดทุน (Capital Market Development) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมโยงตลาดทุนในอาเซียน โดยจะมีการเชื่อมโยงตลาดทุน ASEAN ให้เป็นตลาดเดียวกัน ซึ่งมีมาตรฐานและกฎระเบียบที่สอดคล้องกัน

2) การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (Highly Competitive Economic Region) ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษี และการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)

3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค โดยพัฒนา SMEs และเสริมสร้างขีด ความสามารถผ่านโครงการความร่วมมือต่างๆ เช่น โครงการริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) ในการลดช่องว่างการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสมาชิก

4) การเชื่อมโยงของอาเซียนเข้ากับเศรษฐกิจโลก ด้วยการเน้นและปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาคให้มีท่าทีร่วมกัน โดยการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ เพื่อให้เครือข่ายการผลิต/จำหน่ายภายในอาเซียนเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจส่วนอื่นของโลก

นอกจากนี้ ภายใต้การดำเนินงานสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ยังได้มีการตกลงที่จะรวมกลุ่มสินค้าและบริการใน 12 สาขาสำคัญของอาเซียน (Priority Integration Sectors) เป็นโครงการนำร่องบนพื้นฐานของการส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า และบริการในสาขาดังกล่าวได้อย่างเสรี และให้มีการรวมกลุ่มในด้านการผลิตและการจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อส่งเสริมการเป็นฐานการผลิตร่วมและให้มีการใช้ทรัพยากรอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ได้กำหนดประเทศผู้ประสานงานหลัก (Country Coordinators) ในแต่ละสาขาไว้ ดังนี้

ประเทศ

สาขากลุ่มสินค้าและบริการ

อินโดนีเซีย

ยานยนต์ ไม้

มาเลเซีย

ยาง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

เมียนมาร์

เกษตร ผลิตภัณฑ์ประมง

ฟิลิปปินส์

อิเล็กทรอนิกส์

สิงคโปร์

เทคโนโลยีสารสนเทศ สุขภาพ

ไทย

การท่องเที่ยว การบิน

เวียดนาม

โลจิสติกส์

การติดตามวัดผลการดำเนินการตามแผนการดำเนินงานเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Scorecard) นั้น เป็นกลไกในการติดตามความคืบหน้าและประเมินผลการดำเนินงานในด้านต่างๆ ของสมาชิกเป็นรายประเทศ รวมทั้งภาพรวมการดำเนินงานในระดับภูมิภาค ซึ่งจากการวัดผลการดำเนินงานในปี 2553-2554 ประเทศไทยมีผลการดำเนินงานร้อยละ 64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของอาเซียนที่ร้อยละ 53 จึงเป็นการสะท้อนถึงการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างจริงจังของไทย

2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับเศรษฐกิจไทย

การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 จะทำให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวสูงสุดในโลก โดยมีอัตราการเติบโตจาก 1.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2553 เป็น 2.7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2558 เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 7-8% ตลอดจนเสริมสร้างให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความน่าดึงดูดในด้านการค้าการลงทุน จากจำนวนประชากรโดยรวมที่มีเกือบ 600 ล้านคน (ร้อยละ 8.8 ของประชากรโลก) มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ปี 2554 รวมกันถึง 1.85 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ร้อยละ 3 ของ GDP โลก) อีกทั้งเป็นฐานการลงทุนที่สามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนจากความได้เปรียบด้านทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานที่มีราคาถูก โดยในปี 2554 อาเซียนมีการลงทุนโดยตรงจากต่าง ประเทศรวม 74,661 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีรายได้เฉลี่ยต่อคนประมาณ 3,093 เหรียญสหรัฐฯ

ในส่วนของประเทศไทย นับว่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในอาเซียน โดยปี 2554 มี มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 318,709 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงเป็นอั นดับ 2 ของอาเซียน ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีมูลค่า 5,778 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นอันดับ 5 รองจาก เวียดนาม ซึ่งสามารถดึงดูดการลงทุนได้ดีกว่าไทยในช่วงที่ผ่านมาเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศของไทย ในขณะที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 4,735 เหรียญสหรัฐฯ สูงเป็นอันดับ 4 ของ อาเซียน

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนในระยะต่อไป หากมีการขยายการรวมกลุ่ม ในเอเชียตะวันออก ในกรอบอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) จะทำให้มีประชากรรวมกันกว่า 2,100 ล้านคน (ร้อยละ 31 ของประชากรโลก) และมี GDP รวมกันกว่า 13,900 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ร้อยละ 22 ของ GDP โลก) หรือในกรอบอาเซียน+6 ที่มีสมาชิกเพิ่มจากกรอบ+3 อีก 3 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย จะมีจำนวนประชากรเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลก กว่า 3,300 ล้านคน และมี GDP รวมกันมากกว่า 1 ใน 4 ของ GDP ของโลก

นอกจากอัตราการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของไทยที่เพิ่มขึ้น อาเซียนยังมีส่วนขับ เคลื่อนให้อัตราการจ้างงานภายในประเทศเพิ่มขึ้น รวมทั้งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งช่วยให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และกิจกรรมการค้นคว้าและวิจัยในประเทศเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างให้ไทยเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายการผลิตและห่วงโซ่อุปทานของโลก ตลอดจนเพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีระหว่างประเทศอีกด้วย

ในปัจจุบัน อาเซียนได้กลายเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย โดยมีสัดส่วนการส่งออก คิดเป็นร้อยละ 22.5 ของการส่งออกรวมของไทย ซึ่งมากกว่าตลาดเดิมอย่าง เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น อีกทั้งมีแนวโน้มการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในปี 2554 ไทยสามารถส่งออกไปอาเซียนเป็นมูลค่า 54,304 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่มีการนำเข้า 36,918 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับอาเซียน 17,386 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับอาเซียนมาโดยตลอดนับแต่มีการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ใน ปี 2535 โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องเคมีภัณฑ์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ในขณะที่สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ เคมีภัณฑ์ น้ำมันดิบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และสินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

3. โอกาสของไทยจากการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ภาคการเกษตร

“ตลาดขนาดใหญ่ของอาเซียนจะเป็นแหล่งรองรับการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย และเป็นโอกาสในการขยายกิจการ และเชื่อมโยงแหล่งวัตถุดิบจากอาเซียน เช่น การทำเกษตรแบบพันธสัญญา (Contract Farming) เป็นต้น”

การเปิดเสรีการค้าในภาคการเกษตรเริ่มตั้งแต่ปี 2553 ใน 6 ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยมีอัตราภาษีเป็นศูนย์ ดังนั้น จึงเหลืออีก 4 ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน คือ เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา ซึ่งมีกำหนดที่จะปรับภาษีให้เป็นศูนย์ในปี 2558 ซึ่งแต่ละประเทศนั้นจะมีสินค้าเกษตรบางรายการที่มีความอ่อนไหวที่จะตกลงกันโดยภาษีสินค้าอ่อนไหวไม่จำเป็นต้องเป็นศูนย์ แต่ต้องมีภาษีไม่เกินร้อยละ 5

สินค้าเกษตรของไทยภายใต้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีตลาดขนาดใหญ่และประชากรเกือบ 600 ล้านคน รวมถึงการลดภาษีสินค้าระหว่างกันเหลือ 0% จะเป็นโอกาสสำคัญของสินค้าเกษตรไทยที่จะสามารถส่งออกได้มากขึ้น อาทิ ข้าว น้ำตาล นมและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แปรรูป อาหารแปรรูป สิ่งปรุงรส อาหาร เป็นต้น อีกทั้งเป็นการเสริมสร้างโอกาสในการลงทุนในการขยายกิจการ/ย้ายฐานการผลิต และเกิดการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมในสินค้าและบริการที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม สินค้าเกษตรและอาหารมักเกิดปัญหาเรื่องมาตรฐานด้านสุขอนามัย ความปลอดภัยด้านอาหาร และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาการผลิตให้ได้มาตรฐานสากล และส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกด้านการค้าระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานการนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุดิบที่ต้องนำเข้ามาแปรรูป เพื่อการส่งออกให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย

ภาคอุตสาหกรรม

“อาเซียนจะเป็นโอกาสทางการค้าการลงทุน รวมทั้งการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน และเป็นโอกาสในการขยายการลงทุนภาคอุตสาหกรรมที่ต้อง ใช้แรงงานจำนวนมากไปสู่ประเทศที่ยังมีปริมาณแรงงานรองรับ เช่น การย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอไปสู่ประเทศกัมพูชา เป็นต้น”

ในปัจจุบันศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยในเวทีอาเซียนถือว่ามีความเข้มแข็งและได้เปรียบทั้งด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ซึ่งเอื้ออํานวยให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค และเป็นประเทศที่มีแรงงานที่มีทักษะเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ตลอดจนการคมนาคมขนส่งทั้งทางบกและทางอากาศครอบคลุมและรองรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะช่วยขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนของไทย และเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการภายในประเทศจากการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน และการเป็นพันธมิตรในการดําเนินธุรกิจระหว่างประเทศจะช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมในบางกลุ่มสินค้าของอาเซียน นอกจากนี้ จะทำให้มีการปรับปรุงการอํานวยความสะดวกการค้าแก่ผู้ประกอบการไทยให้ดีขึ้น ทั้งในด้านต้นทุนการขนส่ง การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนเพิ่มการจ้างงานของ ประชากรภายในประเทศ

ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมที่ไม่พร้อมในการแข่งขันหรือไม่มีความได้เปรียบในด้านต้นทุนอาจต้องเผชิญกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องจากการลดอุปสรรคในด้านการค้าและการลงทุนต่างๆ ทำให้ผู้ประกอบการจากต่างประเทศสามารถเข้าสู่ตลาดได้สะดวกมากขึ้น และเพิ่มการแข่งขันในตลาดให้สูงขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการที่ไม่มีความพร้อมหรือมีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำอาจต้องออกจากตลาดไป

การใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าและเสริมสร้างขีดความสามารถ ของภาคอุตสาหกรรมของไทย ควรมุ่งเน้นการหาเครือข่ายการผลิต รวมทั้งพันธมิตรทางธุรกิจในภูมิภาคเพื่อหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านและประเทศใกล้เคียงอย่างเช่นกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งแรงงานที่ค่าจ้างไม่สูงมากนักในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์ และชิ้นส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญมากขึ้นในด้านคุณภาพของสินค้าแทนการแข่งขันด้านราคา โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity & Innovation) ผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

ภาคการบริการ

“ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวและความเป็นมิตรของคนไทย เป็นจุดแข็งที่จะเป็นโอกาสในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่ประเทศ การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวอารยธรรมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อขยายเส้นทางการท่องเที่ยว รวมทั้งการขยายบริการทางการแพทย์ ศูนย์กลางการศึกษา เพื่อรองรับการเข้ามาใช้บริการของประชากรชาวอาเซียน”

สาขาบริการเป็นองค์ประกอบสำคัญในเศรษฐกิจของอาเซียนคิดเป็นสัดส่วนระหว่างร้อยละ 40-70 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของการค้าบริการ และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ของการค้าบริการของโลก นอกจากนี้ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในสาขาบริการยังมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในอาเซียน ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีศักยภาพทั้งในด้านภูมิศาสตร์ โครงสร้างพื้นฐาน และทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ จึงเป็นข้อได้เปรียบที่จะสามารถ สนับสนุนให้ธุรกิจบริการของไทยเป็นศูนย์กลางในด้านต่างๆ ได้

ในปัจจุบัน กลุ่มธุรกิจบริการมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดีและเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีประเทศต่างๆ ให้ความสนใจลงทุนซึ่งมีอัตราเติบโตค่อนข้างสูงและมีการเคลื่อนย้ายฐานการบริการจากประเทศที่พัฒนาแล้วมายังภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศกําลัง พัฒนาที่สามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมากกว่าภูมิภาคอื่น เช่น บริการด้านการ ค้นคว้าและวิจัย บริการให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ บริการด้านการขนส่งและกระจายสินค้า แบบครบวงจร และบริการด้านการซ่อมบํารุง เป็นต้น

ธุรกิจบริการไทยที่มีศักยภาพในอาเซียน เช่น การท่องเที่ยวและบริการ สุขภาพ เนื่องมาจากประเทศไทยมีจุดแข็งในหลายด้าน ทั้งทำเลที่ตั้ง ความหลากหลาย ของแหล่งท่องเที่ยว และการให้บริการที่เป็นมิตรของคนไทยที่สร้างความประทับใจแก่ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้เป็นอย่างดี รวมถึงสาขาการแพทย์และบริการด้านสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยได้รับการยอมรับมาตรฐานในระดับสากล ตลอดจนมีบริการทางการแพทย์ที่หลากหลาย ความต้องการบริการรักษาพยาบาลในอาเซียนมีแนวโน้มเติบโตตามสัดส่วนจํานวนประชากรผู้สูงอายุ ซึ่งสาขาเหล่านี้เป็นสาขาบริการที่ไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีภาคบริการในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ สาขาบริการอื่นๆ ของ ไทยอาจได้รับผลกระทบจากการเข้ามาให้บริการของผู้ให้บริการอาเซียนและอาจมีการแข่งขันสูงในอาเซียนเช่นกัน อาทิ สาขาโลจิสติกส์ สาขาโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ ซึ่งประเทศสิงคโปร์มีความพร้อมด้านเงินทุนและเทคโนโลยีที่สูงกว่าไทย

อย่างไรก็ตาม จากโอกาสและความท้าทายในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของธุรกิจบริการ ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญในการปรับปรุงการบริการให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และหาช่องทางเพื่อตอบสนองวิถีชีวิตที่หลากหลาย รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมทั้งในด้านทักษะ ฝีมือ และทักษะภาษา เพื่อเตรียมรับมือกับการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น และ ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางในสาขาบริการที่ไทยมีศักยภาพ

4. ความท้าทายจากการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

“ความท้าทายที่ไทยต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่สำคัญได้แก่ การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นทั้งในภาคการผลิตและบริการอันเป็นผลจากการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีจะเพิ่มขึ้น และมีความหลากหลายขึ้นทั้งมาตรการสุขอนามัย มาตรการสิทธิมนุษยชน แรงงานเด็ก การเคลื่อนย้ายแรงงานทักษะฝีมือซึ่งจะมีการไหลเข้า-ออกใน บางสาขาจะเป็นทั้งโอกาสและความท้าทาย”

ภาคการเกษตร

การเปิดเสรีเคลื่อนย้ายสินค้าโดยเฉพาะในสินค้าเกษตรอาจได้รับผลกระทบจากการที่สินค้าเกษตรของประเทศอาเซียนอื่นอาจเข้ามาในตลาดในประเทศไทยมากขึ้นในราคาที่ต่ำกว่าหรือมีคุณภาพดีกว่า เช่น ข้าว น้ำมันปาล์ม กาแฟ ชา และมะพร้าว เป็นต้น รวมถึงภาคอุตสาหกรรมเกษตรที่มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำจะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้น และอาจไม่สามารถแข่งขันในตลาดต่อไปได้ ตลอดจนประเด็นด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures- SPS) และความปลอดภัยด้านอาหารจะถูกหยิบยกมาเป็นเงื่อนไขทางการค้ามากขึ้น

ภาคอุตสาหกรรม

ปัจจุบั นภาคอุตสาหกรรมหลักของไทยยังต้องพึ่งพาเงินลงทุนจากต่างประเทศสูงหากไทยไม่มีการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมด้านการค้าการลงทุนของประเทศทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงาน และปรับปรุงกฎระเบียบ กฎหมายให้มีความทันสมัย อาจส่งผลให้เกิดการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ ในอาเซียนได้ รวมทั้งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทยซึ่งเร็วกว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสาขาอุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงาน นอกจากนี้ ผู้ ประกอบการภายในประเทศจะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่มากขึ้นจากการเข้ามาลงทุนได้โดยเสรีของนักลงทุนอาเซียน รวมไปถึงประเด็นด้านต้นทุนค่าขนส่งของไทยที่สูงถึงร้อยละ 25 ของ GDP จึงทำให้ต้นทุนของสินค้าไทยสูงขึ้นตามอัตราค่าขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นการลดขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยใน ตลาดอาเซียนและตลาดโลก

ภาคบริการ

การเพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นของนักลงทุนอาเซียนในการเปิดเสรีด้านบริการ อาจเกิดประเด็นปัญหานักลงทุนจากประเทศนอกอาเซียนอาศัยสิทธินักลงทุนสัญชาติอาเซียนเข้ามาลงทุนในไทย รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรี อาจทำให้เกิดการไหลออกของแรงงานที่มีทักษะไปยังประเทศที่มีค่าตอบแทนสูงกว่า เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ส่งผลให้ไทยต้องจ้างแรงงานจากประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่าซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมตามมา นอกจากนี้ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กของไทยในธุรกิจบริการสาขาที่มีความกังวลที่จะได้รับผลกระทบ เช่น โลจิสติกส์ โทรคมนาคม บริษัทสถาปนิกขนาดกลางและเล็ก และสาขาบริการที่ต้องใช้เงินลงทุนและเทคโนโลยีสูง อาจได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีขีดความสามารถในการแข่งขัน ต่ำกว่า

5. แนวทางการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC

ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11

“เตรียมความพร้อมของคนในทุกภาคส่วน สร้างมาตรฐานสินค้าและ บริการ พัฒนาปัจจัยสนับสนุน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค การ กระจายสินค้า การปฏิรูปกฎหมาย การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาของไทย และการพัฒนาความเชื่อมโยงภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาค”

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) มียุทธศาสตร์ที่รองรับการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่ ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน และยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาคซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างความพร้อมและปรับตัวเข้าสู่บริบทโลกและภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับโดยมีประเด็นการพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่

1) การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ของผู้ประกอบการไทย โดยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งศึกษาข้อมูล กฎระเบียบและข้อตกลงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน สนับสนุนการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการจัดการและการตลาด ยกระดับทักษะฝีมือแรงงานและผู้ประกอบการทั้งในด้านการผลิต การบริหาร จัดการ และการตลาดที่เน้นการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความ คิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรม รวมทั้งให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยมีมาตรการทางการเงินที่เหมาะสม

2) การส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการขยายการลงทุนไปสู่ต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและวัตถุดิบในประเทศ รวมถึงการกระจายตลาดสินค้าไปสู่ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ทั้งตลาดเอเชียและตะวันออกกลาง และกลุ่มเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งระดับอนุภูมิภาคและภูมิภาค ตลอดจน พัฒนาสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของตนเองที่เน้นคุณภาพและมาตรฐาน มีการวางระบบการขายและกระจายสินค้าอย่างครบวงจร ด้วยการสนับสนุนการใช้กลไกการ ประสานความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐในต่างประเทศ

3) การยกระดับทักษะฝีมือแรงงานและทักษะด้านภาษาของแรงงานไทย การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเพื่อเตรียมความพร้อมและผลิตแรงงานไทยเข้าสู่ตลาดแรงงานในอาเซียน

4) การพัฒนาปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศและการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยปรับปรุงประสิทธิภาพบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน พัฒนาระบบฐานข้อมูล ส่งเสริมการวิจัย พัฒนา และการถ่ายทอด เทคโนโลยี ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการประกอบธุรกิจ ส่งเสริมธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และผลิตและพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ

5) การกำหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานของคุณภาพสินค้าและบริการ เพื่อป้องกันสินค้าและบริการนำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ ตลอดจนการกำหนดคุณสมบัติของ แรงงานนำเข้าเพื่อให้ได้แรงงานที่มีคุณภาพและตรงกับความต้องการ

6) การปฏิรูปกฎหมายเศรษฐกิจและกฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้อประโยชน์ต่อการประกอบธุรกิจการค้า การลงทุนอย่างเป็นธรรม และผลักดันให้มีการประกาศใช้กฎหมายใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรี เช่น กฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายใหม่ๆ ที่รองรับการเปิดเสรีทางการค้า

7) การส่งเสริมการจดสิทธิบัตร การคุ้มครองและบริหารจัดการ ทรัพย์สินทางปัญญา การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และนักวิจัย รวมถึงสิทธิในการครอบครองลิขสิทธิ์ในผลิตภัณฑ์ที่มีกลไกสนับสนุนการจดสิทธิบัตรในต่างประเทศ

8) การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ GMS ACMECS IMT-GT และ BIMSTEC ซึ่งเป็นส่วนช่วยผลักดันการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน โดยการพัฒนาบริการขนส่งและโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล การปรับปรุงกฎระเบียบการขนส่งคนและสินค้าที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาบุคลากรในธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ และการเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวพื้นที่ชายแดน/เขตเศรษฐกิจชายแดน

สรุป

การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนถือเป็นก้าวสำคัญในการร่วมมือกันของภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะการเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสทางการค้าการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้กับภูมิภาค อีกทั้งเป็นการสร้างอำนาจการต่อรองของอาเซียนในเวทีโลก ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับอาเซียนอย่างใกล้ชิดและมีระดับการเปิดเสรีกับอาเซียนมากที่สุด โดยตั้งแต่มีการจัดทำความตกลงการค้าเสรี AFTA อาเซียนก็เริ่มมีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวและมีแนวโน้มจะทวีบทบาทขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ดังนั้น จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะใช้โอกาสจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในสาขาที่ไทยมีความพร้อมและมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง ในขณะเดียวกันก็ต้องเร่งปรับตัวและเตรียมพร้อมกับสภาวะการแข่งขันที่มีความรุนแรงมากขึ้นจากการเข้ามาของผู้ประกอบการอาเซียนที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน รวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันในการเตรียมความพร้อมและเร่งปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดเสรีอย่างเต็มรูปแบบ

ที่มา: “AEC: ผลต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม” สำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จาก 30 ปี เศรษฐศาสตร์ มสธ. สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2558 (หน้า 56-73)

ภาคอุตสาหกรรมของไทย

ผลต่อภาคอุตสาหกรรมของไทย

อนุวัตร จุลินทร
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม

ในช่วงหนึ่งถึงสองปีที่ผ่านมา กระแสเรื่องประเทศไทยจะรวมตัวกับอาเซียนเป็น “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community) หรือ AEC ในปี 2558 เป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายให้ความสนใจ คำถามสำคัญที่ภาคอุตสาหกรรมได้รับคือ “การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างไร อุตสาหกรรมใดจะได้รับผลกระทบและเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” การที่จะตอบคำถามนี้ได้ต้องทราบก่อนว่า AEC คืออะไร มีการดำเนินการอะไรบ้าง จากนั้นจึงวิเคราะห์ว่าการดำเนินการดังกล่าวมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมของไทยอย่างไร และสุดท้ายต้องตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงในเชิงประจักษ์เพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์ดังกล่าว

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC): ความหมายและแผนงาน

เริ่มต้นจากคำถามที่ว่า “AEC คืออะไร” AEC ความจริงแล้วไม่ใช่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ แต่เป็นกระบวนการต่อเนื่องของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศที่เริ่มต้นจากการตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) ที่เราคุ้นเคยกันในนามของ “AFTA” ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2535 แต่ถูกเร่งรัดโดยกระแสโลกาภิวัตน์และแนวโน้มการทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในทุกภูมิภาค ผู้นำอาเซียนจึงมีวิสัยทัศน์ในการสร้างอาเซียนให้มีความเข้มแข็งและมั่นคงยิ่งขึ้น โดยในปี 2546 ผู้นำของอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ Bali Concord II เห็นชอบให้อาเซียนมีการรวมตัวไปสู่การเป็น AEC ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC) ในระยะแรกเริ่มให้สำเร็จภายในปี 2563 แต่ต่อมาผู้นำเศรษฐกิจอาเซียนได้เร่งรัดการจัดตั้ง AEC ให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี จนมีเป้าหมายเป็นปี 2558 ดังที่เราทราบในปัจจุบัน

ในการเป็น AEC นั้น อาเซียนได้กำหนดเป้าหมายว่า “อาเซียนจะรวมตัว เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558 โดยจะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวร่วมกัน (single market and single production base) มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี” และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว อาเซียนได้กำหนดแผนงานที่เรียกว่า “พิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” หรือ AEC Blueprint โดยในแผนงานดังกล่าวมีการ ดำเนินการสำคัญๆ ดังนี้

1) การเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า โดยยกเลิกภาษีสินค้าระหว่างกันให้เหลือ อัตรา 0% สำหรับประเทศสมาชิกเดิมกลุ่มอาเซียน 6 (ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไนฯ) ภายในปี 2553 และกลุ่ม 4 ประเทศสมาชิกใหม่ที่เรียกว่า CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และ เวียดนาม) ในปี 2558 (ยกเว้นสินค้ากลุ่มอ่อนไหวมากหรือ Highly Sensitive ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตรจำนวนเล็กน้อยที่จะมีอัตราภาษีสุดท้ายที่ 5% และสินค้าข้าวและน้ำตาลที่มีความตกลงพิเศษ)

2) ยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff Measures) ระหว่างกัน (ซึ่งมาตรการส่วนใหญ่ที่มีจะเป็นมาตรการโควตาภาษีในสินค้าเกษตร)

3) เปิดเสรีการลงทุนในสาขาที่ตกลงกันและการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ ซึ่งไทยมีเป้าหมายดำเนินการภายในปี 2553 (สาขายกเว้นของไทยเป็นไปตามบัญชียกเว้นภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว)

4) ยกเลิกข้อจำกัดการประกอบการด้านการค้าบริการโดยให้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับบุคคล/นิติบุคคลสัญชาติอาเซียน โดยทยอยเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในประเภทกิจการบริการต่างๆ จนครบทุกสาขาถึง 70% ในปี 2558 (ยกเว้นสาขาการ บริการด้านการเงิน จะทยอยเปิดเสรีตามลำดับอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงทางการเงิน โดยประเทศที่มีความพร้อมสามารถเริ่มดำเนินการเปิดเสรีภายในปี 2558)

5) การเปิดเสรีด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย จะเปิดให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรียิ่งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปโดยให้ สมาชิกมีมาตรการปกป้องที่เพียงพอเพื่อรองรับผลกระทบจากปัญหาความผันผวนของเศรษฐกิจมหภาคและความเสี่ยงเชิงระบบ รวมถึงการมีสิทธิที่จะใช้มาตรการที่จำเป็นเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาค

6) การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี โดยอำนวยความสะดวกในการตรวจ ลงตราและออกใบอนุญาตทำงานสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพและแรงงานฝีมืออาเซียน ใน 7 สาขา ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกรรม สถาปัตยกรรม นักสำรวจ และนักบัญชี

AEC Blueprint

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมของไทย

จากการดำเนินการข้างต้นพบว่า แผนงานของการเป็น AEC ที่น่าจะกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทยมากที่สุดได้แก่เรื่อง “การเปิดเสรีสินค้า” โดยมีการยกเลิกภาษีสินค้าอุตสาหกรรมเหลือ 0% ซึ่งการลดภาษีนี้จะเป็นการขยายตลาดการส่งออกของไทยจากเดิมที่เป็นตลาดภายในประเทศที่มีประชากรเพียงประมาณ 69.5 ล้านคน เป็นตลาดอาเซียนที่มีประชากรรวมกันเกือบ 600 ล้านคน ในด้านการนำเข้าก็เช่นกัน ไทยจะสามารถนำเข้าสินค้าจากอาเซียนโดยไม่ต้องเสียภาษี ทำให้ราคาสินค้าถูกลง รวมถึงมีสินค้าให้เลือกเพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีทำให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจ (Economic Welfare) ของผู้บริโภคไทยสูงขึ้นแล้ว ผู้ประกอบการไทยยังสามารถได้รับประโยชน์จากนำเข้า วัตถุดิบหรือสินค้าขั้นกลางจากอาเซียนได้ในราคาที่ถูกลง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตของไทยต่ำลง และมีความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามการเปิดเสรีนี้ก็สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยจากสินค้าของอาเซียนประเทศอื่นที่เข้ามาแข่งขันได้มากขึ้น ซึ่งหากผู้ประกอบการไทยไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าของ ประเทศเหล่านี้ได้ก็อาจเกิดปัญหาเลิกการผลิต ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานต่อไปอีกด้วย สำหรับการยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีและการเปิดเสรีด้านตลาดทุนไม่ได้ส่งผลกระทบโดยตรงแต่จะช่วยให้ผลของการเปิดเสรีสินค้ามีมากขึ้น

ต่อมาคือประเด็นด้านการเปิดเสรีการลงทุน จากแผนงาน AEC Blueprint จะพบว่าไม่ได้มีการดำเนินการเปิดเสรีใดๆ เพิ่มขึ้นมากนัก โดยจะเน้นที่การเร่งรัดการดำเนินการตามพันธกรณีที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงไว้แล้ว ทั้งนี้อาจเป็นผลจากการที่อาเซียนรวมถึงประเทศไทยมีนโยบายมุ่งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในประเทศ ทำให้มีการเปิดเสรีการลงทุนในระดับสูงอยู่แล้ว แผน Blueprint จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบด้านการลงทุนต่อประเทศไทยโดยตรงมากนัก อย่างไรก็ตาม จากการเปิดเสรีทางการค้าของอาเซียนจะทำให้ผู้ประกอบการของสมาชิกอาเซียนสามารถย้ายฐานการผลิตได้ง่าย เพราะไม่ว่าจะผลิตสินค้าที่ใดก็สามารถส่งออกไปยังประเทศอาเซียนอื่นๆ ได้โดยไม่มีข้อกีดกันทางการค้า ซึ่งผลทางบวกคือจะเป็นโอกาสให้แก่นักลงทุนไทยสามารถไปลงทุนในประเทศอาเซียนอื่นที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า หรือมีแหล่งวัตถุดิบและแรงงานที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ธุรกิจหรือสินค้าของไทยมีความได้เปรียบและสามารถแข่งขันใน ตลาดโลกได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามในทางลบ หากประเทศไทยไม่มีการพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน (Infrastructure) ไม่พัฒนาประสิทธิภาพแรงงาน ไม่มีการปรับปรุงกฎระเบียบ กฎหมายให้มีความทันสมัยไม่เป็นอุปสรรคต่อนักลงทุน ก็อาจทำให้มีการย้ายฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานที่รุนแรงได้

สำหรับการเปิดเสรีในด้านแรงงานซึ่งเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ มีหลายคนกังวลว่าจะทำให้เกิดปัญหาจากการแรงงานต่างชาติที่จะเข้ามาแข่งขันกับแรงงานไทย แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว AEC ไม่ได้มีความตกลงยินยอมให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานได้อย่างเสรีในทุกประเภทแรงงาน แต่จำกัดในเฉพาะสาขาวิชาชีพที่ใช้ทักษะระดับสูง เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นเท่านั้น ผลกระทบในด้านแรงงานที่สำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมจึงไม่น่าจะมีมากนัก ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคอุตสาหกรรมมีเพียงในประเด็นที่วิศวกรชาวไทยอาจมีการย้ายไปทำงานยังประเทศอาเซียนอื่นที่ให้ค่าตอบแทนสูงกว่า เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไนฯ อันอาจจะเป็นผลให้ไทยขาดแรงงานในกลุ่มนี้ได้บ้างในอนาคตเท่านั้น

ดังนั้นเมื่อวิเคราะห์แผนงาน AEC Blueprint ในเบื้องต้น ผลกระทบต่อภาค อุตสาหกรรมน่าจะเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรีมากกว่าจากแผนงานส่วนอื่นๆ ในการนี้จึงจะทำการศึกษาผลกระทบของการเปิดเสรีสินค้าของ AEC ทั้งในภาพรวมและรายสาขาอุตสาหกรรมของไทยเพื่อหาคำตอบว่าการเป็น AEC ไทยได้หรือเสีย และใครเป็นผู้ได้ผลประโยชน์และใครเป็นผู้ได้รับผลกระทบ

ผลกระทบของ AEC ต่อภาคอุตสาหกรรมไทย

ในการที่จะศึกษาและเข้าใจถึงผลกระทบของการเป็น AEC จะเริ่มจากเป้าหมาย ที่อาเซียนได้กำหนดไว้คือ “อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายใน ปี 2558 โดยจะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว” ซึ่งจะเห็นว่าอาเซียนได้ กำหนดเป้าหมายไว้สองด้านคือ 1) ด้านตลาด ซึ่งหมายถึงการเพิ่มการค้าระหว่างกัน และ 2) การเป็นฐานการผลิตเดียวกัน ซึ่งจะหมายถึงการสร้างความเชื่อมโยง สร้างเครือข่ายการผลิต ดังนั้นในด้านผลกระทบจึงควรมองจากทั้งสองเป้าหมาย ดังนี้

เป้าหมายด้านการเป็นตลาดเดียวกัน

ในด้านการเป็นตลาดเดียวกัน อาเซียนได้เปิดเสรีโดยยกเลิกอุปสรรคทางการค้าเกือบทั้งหมด ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า ผลกระทบของการเปิดเสรีของ AEC ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2558 แต่เป็นผลที่เกิดจากการที่ประเทศอาเซียนได้เริ่มมีการทยอยลดภาษีและอุปสรรคทางการค้าอื่นๆ ในกรอบ AFTA มาตั้งแต่ปี 2535 มาอย่างต่อเนื่อง จนมาดำเนินการเสร็จสิ้นในปี 2553 สำหรับไทย (รวมทั้งกลุ่มอาเซียน 6) ดังนั้นผลกระทบของการเป็น AEC ที่เกิดจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้วและสามารถดูได้จากข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้นจริง และเพื่อความเหมาะสมควรมีการศึกษาย้อนหลังเพื่อให้สามารถเห็นถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มที่จะเกิดต่อไปในอนาคตด้วย

การทำความตกลง FTA นั้น จะเป็นการสร้างกลุ่มการค้า (Trade Bloc) โดย มีเป้าประสงค์หลักในการเพิ่มการค้าระหว่างประเทศสมาชิก ดังนั้นในการวิเคราะห์ ถึงผลกระทบจึงต้องศึกษาใน 2 ด้าน ด้านแรกจะศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงทิศทางการค้าว่าการค้าระหว่างสมาชิกมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นตามที่คาดหมายหรือไม่ทั้งในด้าน มูลค่าการค้าและสัดส่วนตลาด ด้านที่สองคือ ผลกระทบในการทำความตกลง FTA จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการผลิตและการค้าอย่างไร ซึ่งในส่วนนี้จะบอกถึงใครเป็นผู้ได้หรือเสียประโยชน์ โดยในการพิจารณาผลกระทบนั้น จะใช้มุมมองแบบ Classical Economics เช่น ทฤษฎีความได้เปรียบโดยสมบูรณ์ (Absolute Advantage Theory) ของ Adam Smith ทฤษฎีการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage Theory) ของ David Ricardo รวมถึงทฤษฎี Heckscher–Ohlin Theory ของ Eli Heckscher และ Bertil Ohlin ซึ่งแนวคิดของกลุ่มนี้กล่าวโดยรวมว่าหากสองประเทศ มีการทำการค้าโดยมีการแลกเปลี่ยนกันผลิตสินค้าที่ประเทศตนมีความสามารถในการผลิตหรือมีทรัพยากรที่เหมาะสมกว่า และนำสินค้าที่ผลิตได้มาแลกเปลี่ยนกันจะทำให้ สวัสดิการทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศดีขึ้น ดังนั้นเมื่อมีการทำความตกลง FTA ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคือ ประเทศสมาชิกจะมีการเปลี่ยนแปลงไปผลิตในสินค้าที่ตนมีความได้เปรียบและนำมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน ซึ่งการซื้อขายแลกเปลี่ยนนี้ไม่จำเป็นต้องได้ผล ประโยชน์ที่เท่าเทียมกันก็ได้ ดังนั้นในการศึกษาดูผลกระทบของแต่ละสาขาอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่ได้เปรียบจะได้แก่อุตสาหกรรมที่ผลิตและส่งออกมากขึ้น ในขณะที่ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบคืออุตสาหกรรมที่ผลิตหรือส่งออกลดลง ดังนั้นการศึกษาผลกระทบของ AEC จึงจะใช้มุมมองคล้ายกับลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism) ที่มอง ว่าประเทศจะได้เปรียบเมื่อมีการส่งออกมากกว่านำเข้า มาพิจารณาผลกระทบของแต่ละสาขาอุตสาหกรรมเพื่อให้เห็นภาพที่ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น

ภาพที่ 1 การนำเข้าและส่งออกของไทยไปยังอาเซียน (หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ภาพที่ 1 แสดงให้เห็นตัวเลขการค้าระหว่างไทยกับกลุ่มอาเซียนที่เหลือ 9 ประเทศในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าทั้งการส่งออกและการนำเข้าของไทยกับอาเซียน มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในด้านการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 9,846 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ในปี 2541 มาเป็น 53,769 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 ที่ผ่านมา (มีเพียง ปี 2552 ที่ไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจที่ทำให้การส่งออกและนำเข้าลด ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในตลาดอาเซียน แต่จากตลาดทั่วโลกเช่นเดียวกัน) ในด้านการนำเข้าไทยก็มีการเพิ่มการนำเข้าอย่างต่อเนื่องจาก 6,483 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 37,030 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2554 สิ่งที่น่าสนใจก็คือ มูลค่าการส่งออกของไทยสูงกว่าการนำเข้ามาโดยตลอด หรือไทยได้ดุลการค้ากับประเทศอาเซียน และการได้ดุลนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดเวลา ดังนั้น ในภาพรวมแล้วไทยได้ประโยชน์จาก AEC โดยได้รับประโยชน์ในทิศทางที่เพิ่มขึ้น โดยดูจากดุลการค้าจากไทยต่ออาเซียนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ประเด็นต่อมาคือการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนตลาดการส่งออกและนำเข้าของไทยในตลาดอาเซียน จากภาพที่ 2 และภาพที่ 3 แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนตลาดทั้งการนำเข้าและการส่งออกของไทยในตลาดอาเซียนมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามที่ AEC ตั้งเป้าประสงค์ไว้ โดยในการส่งออก (ภาพที่ 2) ไทยมีการเพิ่มสัดส่วนการส่งออกจากร้อยละ 18.12 ในปี 2541 เป็นร้อยละ 23.69 ในปี 2554 ที่ผ่านมา เป็นผลให้ปัจจุบันอาเซียน กลายเป็นตลาดการส่งออกอันดับหนึ่งของไทยแทนสหรัฐอเมริกา โดยการส่งออกที่เคยสำคัญในอดีต ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น มีแนวโน้มลดความสำคัญลง ในขณะที่ตลาดจีน ออสเตรเลีย และอินเดีย (ซึ่งอาเซียนได้มีความตกลงการค้าเสรีด้วยทั้งสิ้น) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในด้านการนำเข้า (ภาพที่ 3) สัดส่วนการนำเข้าสินค้าของไทยจากอาเซียนขณะนี้มีความสำคัญเป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่น โดยสัดส่วนการนำเข้าของไทยจากอาเซียน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 15.08 ในปี 2531 เป็นร้อยละ 16.17 ในปี 2554 ซึ่งจะเห็นได้ว่าการ เติบโตของสัดส่วนการนำเข้าจากอาเซียนของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นช้าๆ สำหรับตลาดการนำเข้าอื่นจะมีลักษณะเดียวกันกับตลาดการส่งออก คือตลาดเดิมเช่นญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป ลดความสำคัญลง ในขณะที่ตลาดจีน ออสเตรเลีย และอินเดีย ทวีความสำคัญ ขึ้น

ภาพที่ 2 สัดส่วนตลาดส่งออกของไทยปี 2541 – 2554 (ค.ศ.1998 - 2011) (หน่วย %)

ภาพที่ 3 สัดส่วนตลาดนำเข้าของไทยปี 2541 ถึง 2554 (หน่วย %)

ในภาพรวมของประเทศจึงสรุปได้ว่าไทยได้ประโยชน์จากการเป็น AEC และมีการขยายการค้ากับอาเซียนทั้งด้านการส่งออกและนำเข้า แต่การได้ประโยชน์นี้ไม่ได้หมายความว่าทุกสินค้าหรือทุกสาขาอุตสาหกรรมจะได้ประโยชน์ บางอุตสาหกรรมจะได้ประโยชน์ ในขณะที่บางอุตสาหกรรมเสียประโยชน์ แต่ในทางมูลค่าการค้าหักลบกันแล้ว ไทยยังได้เปรียบหรือได้รับประโยชน์มากกว่า ประเด็นที่ต้องศึกษาต่อไปคือ อุตสาหกรรมใดได้รับผลกระทบและอุตสาหกรรมใดได้ประโยชน์ ซึ่งโดยปกติเราจะคาดกันว่า อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบคืออุตสาหกรรมที่เรามีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำกว่า (และนำเข้ามากขึ้น) ส่วนอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์คืออุตสาหกรรมที่เรามีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (และส่งออกเพิ่มขึ้น) การวัดขีดความสามารถในการแข่งขันที่แท้จริงวัดได้ยาก นักวิชาการส่วนหนึ่งจึงนิยมใช้ “ดัชนีความได้เปรียบเชิงเปรียบ เทียบ (Revealed Comparative Advantage)” หรือ “RCA” เป็นตัวชี้วัดคร่าวๆ โดย RCA นี้จะเป็นตัวที่บอกว่าสินค้าของไทยมีสัดส่วนมากน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออกสินค้าชนิดนี้ไปยังตลาดอาเซียน โดยหากตัวเลข RCA ที่ได้มากกว่า 1 จะแสดงให้เห็นว่าไทยได้เปรียบในตลาดที่ทำการเปรียบเทียบ ค่า RCA ระหว่างไทยกับอาเซียน แสดงในภาพที่ 4 ซึ่งแปลความได้ว่าอุตสาหกรรมที่ไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน และน่าจะได้รับประโยชน์สูงสุดคืออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน รองลงมาคือเกษตร และเกษตรแปรรูป เหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง พลาสติก และเคมี ตามลำดับ ส่วนอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะแข่งขันไม่ได้ ได้แก่ อัญมณีและเครื่อง ประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ตามลำดับ

ภาพที่ 4 ค่า RCA ของอุตสาหกรรมต่างๆ ของไทยในตลาดอาเซียน

ที่มา: คำนวณโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จากฐานข้อมูล Global Trade Atlas ข้อมูลการค้าปี 2011

อย่างไรก็ตาม RCA เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการอธิบายขีดความสามารถในการแข่งขันคร่าวๆ ซึ่งไม่เพียงพอ ควรทำการพิจารณาควบคู่ไปกับข้อมูลอื่นด้วย ในที่นี้ จะศึกษาถึงมูลค่าการค้าพร้อมกับแนวโน้มการเติบโต ตลอดจนสัดส่วนการนำเข้าส่งออก และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม

ในส่วนแรกคือด้านมูลค่าการค้า ภาพที่ 5 กราฟแท่งและแกนด้านซ้ายแสดงมูลค่าการส่งออกของไทยไปยังอาเซียน และมูลค่าการนำเข้าของไทยจากอาเซียน (หน่วยล้านเหรียญสหรัฐฯ) แยกตามรายสาขาอุตสาหกรรม โดยกราฟแบบจุดในแกนขวาแสดงอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (%) พบว่าส่วนใหญ่ของอุตสาหกรรมไทยมีความได้เปรียบในด้านดุลการค้ากับอาเซียน โดยอุตสาหกรรมที่ได้เปรียบมากโดยได้ดุลการค้าสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ฯ เกษตรฯ และยางฯ อุตสาหกรรมที่ได้เปรียบปานกลางถึงน้อย ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก สิ่งทอฯ และเหล็กฯ ส่วนอุตสาหกรรมที่ไทยเสียเปรียบ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ เคมี และอัญมณีฯ สำหรับในด้านการเปลี่ยนแปลงนั้นพบว่า ส่วนใหญ่การเติบโตของมูลค่าการส่งออกจะสูงกว่าการนำเข้า ซึ่งแสดงให้เห็นแนวโน้มการได้ประโยชน์ที่สูงขึ้นมีเพียง 3 อุตสาหกรรม คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ อัญมณีฯ และสิ่งทอฯ เท่านั้นที่การนำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากกว่าการส่งออกซึ่งแสดงให้เห็นแนวโน้มความได้เปรียบที่ลดลง

ภาพที่ 5 มูลค่าการนำเข้า/ส่งออกของไทยไปยังอาเซียน (2554)

และอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (2541-2554)

Source: Global Trade Atlas คำนวณโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ภาพที่ 6 สัดส่วนตลาดนำเข้าและส่งออกของไทยไปยังอาเซียน (2554)

และอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (2541-2554)

Source: Global Trade Atlas คำนวณโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ด้านสัดส่วนตลาดตามภาพที่ 6 แสดงให้เห็นสัดส่วนตลาดการนำเข้าและส่งออกของไทยไปยังอาเซียนและอัตราการเติบโตของสัดส่วนตลาดทั้งการนำเข้าและส่งออกของไทยไปยังอาเซียน โดยกราฟแท่งและแกนด้านซ้ายแสดงสัดส่วนตลาด (%) และกราฟแบบจุดและแกนด้านขวาแสดงอัตราการเติบโต (%) จะเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วทุกอุตสาหกรรมมีสัดส่วนตลาดทั้งการนำเข้าและการส่งออกระหว่างไทยกับอาเซียนเพิ่มขึ้นตามที่ AEC ตั้งเป้าหมายไว้ มีเพียงบางอุตสาหกรรมที่สัดส่วนตลาดลดลง (ด้านการส่งออกที่ลดลงได้แก่อุตสาหกรรมเกษตรฯ เคมี เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ ด้านการนำเข้าที่ลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็กฯ และยานยนต์ฯ) และเมื่อพิจารณาจากมุมมองของไทยแล้วพบว่า ส่วนใหญ่แล้วอาเซียนเป็นตลาดการส่งออกที่สำคัญมากกว่าเป็นตลาดนำเข้าของไทย มีเพียงอุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ อัญมณีฯ และยางฯ เท่านั้นที่มีสัดส่วนการนำเข้าที่สูงกว่า

จากข้อมูลข้างต้น เพื่อให้เห็นผลของแต่ละอุตสาหกรรมชัดเจนยิ่งขึ้น จึงนำเอาข้อมูลต่างๆ เหล่านี้มาจัดทำเป็นตัวแปรรวมในการชี้ถึงระดับผลกระทบและผลดีของแต่ละอุตสาหกรรม 3 ตัวแปร ได้แก่ 1) ดุลการค้า (มูลค่าการส่งออกลบด้วยมูลค่าการนำเข้า) 2) อัตราการเปลี่ยนแปลงของดุลการค้า 3) อัตราการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนตลาดการค้าไทยกับอาเซียน (มูลค่าการค้าอาเซียนต่อมูลค่าการค้ารวมของไทย) ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น เมื่อนำมาบรรจุลงในภาพโดยให้แกนนอนแสดงถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงของดุลการค้า (%) หากมีทิศทางบวกแสดงว่า การได้เปรียบสูงขึ้น แกนตั้งแสดงอัตราการ เปลี่ยนแปลงของสัดส่วนการค้าไปยังอาเซียนของไทย (%) โดยทางบวกแสดงให้เห็นว่า อาเซียนมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมนั้นมากขึ้น และขนาดของวงกลมแสดงถึงขนาดการได้เปรียบจากขนาดดุลการค้าระหว่างไทยกับอาเซียน (ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยการขาดดุลจะแสดงโดยวงกลมที่ไม่มีสี ทั้งนี้หากวงกลมมีขนาดใหญ่หมายความว่าไทยได้เปรียบ หรือได้ดุลหรือขาดดุลมาก จากข้อมูลดังกล่าวจะทำให้เราแบ่งอุตสาหกรรมตามระดับผลกระทบและผลประโยชน์ได้เป็น 4 กลุ่ม (ตาม 4 Quadrant) ดังแสดงในภาพที่ 7 ได้แก่

ภาพที่ 7 การแบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมตามดุลการค้าระหว่างไทยกับอาเซียน (2553)

อัตราการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยของดุลการค้าและการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการค้าไทยกับอาเซียน

Source: Global Trade Atlas คำนวณโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1) กลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุด เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นและไทยมีการค้าขายกับอาเซียนเพิ่มขึ้น ซึ่งในกลุ่มนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ฯ เป็นผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุด ทั้งมูลค่าการได้ดุล การเพิ่มขึ้นของการได้ดุลและสัดส่วนการค้า รองลงมาได้แก่อุตสาหกรรมยางฯ และพลาสติก (ที่ได้ดุลเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง) และอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ (ที่สัดส่วนตลาดเพิ่มขึ้นมาก)

2) กลุ่มที่ได้ประโยชน์ปานกลาง-น้อย ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรฯ ซึ่ง เป็นอุตสาหกรรมที่ได้ดุลสูงมาก แต่มีการเพิ่มของดุลการค้าขึ้นน้อย รวมทั้งการค้าขายไปยังอาเซียนมีสัดส่วนลดลง และอุตสาหกรรมเหล็กฯ ซึ่งแม้ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของการได้ดุลการค้าที่สูงมาก แต่มูลค่าการค้าของไทยกับอาเซียนค่อนข้างต่ำมากรวมทั้งสัดส่วนการค้ากับอาเซียนมีทิศทางลดลง

3) กลุ่มที่ได้รับผลกระทบปานกลาง-น้อย ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมี แต่เนื่องจากมูลค่าการค้ากับอาเซียนไม่มากนัก การขาดดุลจึงไม่สูงมากเช่นกัน และแม้จะมีทิศทางที่จะติดลบมากขึ้น แต่ในด้านความสำคัญพบว่าสัดส่วนการค้าของไทยกับอาเซียนมีการเติบโตสูงขึ้น อีกอุตสาหกรรมได้แก่อัญมณีฯ อุตสาหกรรมนี้แม้ว่าการขาดดุลจะเพิ่มเร็ว แต่มูลค่าการค้าของเดิมมีน้อย และที่การนำเข้าสูงขึ้นน่าจะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตส่งไปขายยังตลาดอื่นๆ ผลกระทบที่แท้จริงจึงน่าจะมีน้อยมากถึงไม่มีผลกระทบ

4) อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูง มีเพียงอุตสาหกรรมเดียวคือ อุตสาหกรรมไฟฟ้าฯ ที่พบว่ามีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูง การขาดดุลแม้จะไม่มากนักแต่ เป็นอุตสาหกรรมที่ขาดดุลสูงสุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นและมีทิศทางขาดดุลที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่สัดส่วนตลาดการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนก็มีแนวโน้มลดลง

เป้าหมายด้านการเป็นฐานการผลิตเดียวกัน

นอกจากการที่ AEC ต้องการเป็นตลาดเดียวกันแล้ว ยังได้ตั้งเป้าหมายการเป็นฐานการผลิตเดียวกัน ซึ่งไม่สามารถใช้มุมมองแบบ Classical Economics และแบบพาณิชย์นิยมอธิบายได้ จากข้อเท็จจริงในปัจจุบันที่พบว่า เมื่อมีการเปิดเสรีแล้ว แม้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการผลิตจริง แต่ทุกประเทศก็ยังมีการผลิตสินค้าและส่งออกสินค้าเช่นเดิมบางส่วน รวมถึงการที่ประเทศที่มีทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตคล้ายกัน (เช่น ประเทศกลุ่มอาเซียน) ก็ยังสามารถทำFTA ค้าขายกันได้ จึงมีการเสนอแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า “ทฤษฏีการค้าใหม่” (New Trade Theory) โดยนักคิดสำคัญ อาทิ Paul Krugman เพื่ออธิบายถึงปรากฏการณ์ที่มีการค้าขายในกลุ่มประเภทสินค้าเดียวกัน (intra-industry trade) ดังกล่าว (เช่น ประเทศหนึ่งอาจจะมีทั้งการส่งออกรถยนต์และนำเข้ารถยนต์เกิดขึ้นพร้อมกัน) ซึ่งทฤษฎีการค้าใหม่นี้อธิบายว่าการค้าชนิดนี้เกิดได้จาก 1) ผู้บริโภคสินค้าในประเทศต่างๆ มีรสนิยมในการใช้สินค้าที่มีความแตกต่างหลากหลาย แม้ว่าเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน 2) ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมประเภทที่กล่าวถึงนั้นยังได้เปรียบคู่แข่งในเรื่องการประหยัดจากขนาดการผลิต (Economy of Scale) หากสามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมาก ซึ่งมักจะมีแนวโน้มเกิดในตลาดสินค้าที่ไม่มีการแข่งขันสมบูรณ์ รวมถึงอาจมีความได้เปรียบในส่วนอื่น เช่น ด้านการออกแบบ เทคโนโลยี ฯลฯ หรือ อธิบายแบบง่ายๆ ก็คือ แม้ว่าประเทศนั้นจะเสียเปรียบในอุตสาหกรรมใด แต่ผู้ผลิตบางราย บางตราสินค้าก็ยังมีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถผลิตและส่งออกได้ การค้าขายระหว่างกันที่มากในอุตสาหกรรมเดียวกันนี้ สามารถมีนัยบอกถึงการรวมกันทางอุตสาหกรรม (Industrial Integration) หรือการเป็นฐานผลิตเดียวกัน ได้ โดยหากมีการค้าขายระหว่างกันในอุตสาหกรรมเดียวกันสูง ก็มีความเป็นไปได้ที่สองประเทศนั้นเป็นฐานการผลิตเดียวกัน โดยมีการแบ่งกันผลิตทั้งชิ้นส่วนและสินค้าและนำมาแลกเปลี่ยนกัน ตัวชี้วัดระดับการค้าภายในอุตสาหกรรมที่นิยมใช้กันมากได้แก่ “ดัชนี การค้าภายในกลุ่มอุตสาหกรรม (Intra-Industry Index)” ที่เสนอโดย Herb Grubel และ Peter Lloyd เมื่อปี 2514 ที่เรียกว่า Grubel-Lloyd Index (GL)

ค่า GL ที่ได้จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 โดยหากค่าที่คำนวณได้มีค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีการค้าระหว่างสองประเทศภายในอุตสาหกรรมนี้มาก แต่ถ้าเข้าใกล้ 0 จะมีการค้าระหว่างกันในกลุ่มสินค้านี้น้อย ภาพที่ 8 แสดงให้เห็น Intra-Industry Index ระหว่างไทยกับอาเซียนในปี 2554 (กราฟแท่งและแกนด้านซ้าย) พร้อมทั้งแนวโน้มจากอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยต่อปี (กราฟแบบจุดและแกนด้านขวา) ซึ่งพบว่า อุตสาหกรรมที่มีการเชื่อมโยงค้าขายระหว่างกันมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ และเหล็กฯ อุตสาหกรรมที่มีระดับการเชื่อมโยงรองลงมาได้แก่ อัญมณีฯ พลาสติก สิ่งทอฯ อุตสาหกรรมที่มีการเชื่อมโยงระดับต่ำ (น้อยกว่า 0.5) ได้แก่ อุตสาหกรรมยาน ยนต์ฯ เกษตรฯ และยางฯ แต่เมื่อมองในทิศทางแล้วจะเห็นว่าการค้าขายระหว่างกันในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่แล้วจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (จากอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เป็นบวก) มีเพียงสามอุตสาหกรรม ได้แก่ ยานยนต์ฯ พลาสติก และยางฯ ที่มีทิศทางลดลง จึงพอสรุปได้ว่า การสร้างฐานการผลิตของอาเซียนกับประเทศไทยในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดีและมีทิศทางที่ดีขึ้น มีเพียงอุตสาหกรรมยางฯ และเกษตรฯ ที่ยังต่ำมาก ทั้งนี้อาจเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ไทยสามารถผลิตวัตถุดิบได้เองและผลิตสินค้าส่วนมากได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องนำเข้า สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ฯ ที่มีการเชื่อมโยงปานกลางค่อนข้างต่ำรวมทั้งมีทิศทางลดลงนั้น อาจเป็นเพราะไทยมีการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องคือ ชิ้นส่วนยานยนต์ได้อย่างเข้มแข็งกว่าประเทศสมาชิกอื่น รวมทั้งสามารถประกอบรถยนต์ได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้ไทยไม่จำเป็นต้องนำเข้าชิ้นส่วนและสามารถส่งออกไปอาเซียนได้มากทั้งชิ้นส่วนและรถยนต์สำเร็จรูป

ภาพที่ 8 ดัชนีการค้าภายในกลุ่มอุตสาหกรรมระหว่างไทยกับอาเซียนปี 2554

และอัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยต่อปี

Source: Global Trade Atlas คำนวณโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปผลกระทบของประเทศต่อการเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558

โดยสรุปแล้วการที่ไทยจะเข้าร่วมเป็น AEC ในปี 2558 โดยจะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวร่วมกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีนั้น ผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่จะเป็นผลด้านการค้า ซึ่งทำให้มูลค่าการค้าและสัดส่วนการค้าทั้งการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นตามที่ AEC ได้ตั้งเป้าหมายไว้ สำหรับในด้านผลกระทบที่เกิดขึ้นกับภาคอุตสาหกรรมไทยในภาพรวมแล้ว เป็นในทางบวก โดยไทยมีแนวโน้มได้ดุลกับอาเซียนเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด และอาเซียนได้กลายเป็นตลาดการค้าที่สำคัญของไทยทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้า โดยเป็นสัดส่วนตลาดส่งออกไปอาเซียนสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้อาเซียนเป็นตลาดอันดับหนึ่งของไทย ในขณะที่ในด้านสัดส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นช้ากว่าและเป็นตลาดอันดับสองรองจากญี่ปุ่น

ในภาคอุตสาหกรรมรายสาขาพบว่า อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของไทยจะได้รับประโยชน์ เมื่อดูจากมูลค่าดุลการค้าและการเปลี่ยนแปลงแล้ว พบว่า อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์สูงสุดจะได้แก่อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน รองลงมา ได้แก่ ยางและ ผลิตภัณฑ์จากยาง พลาสติก สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เกษตรและเกษตรแปรรูป และอุตสาหกรรมเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็ก อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเคมี และอัญมณีได้รับผลกระทบบ้างแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในด้านทิศทางพบว่า สัดส่วนการค้ากับอาเซียนสูงขึ้นในเกือบทุกอุตสาหกรรมทั้งด้านการนำเข้าและการส่งออก มีเพียงการหดตัวของสัดส่วนตลาดที่ไม่มากในอุตสาหกรรมเกษตรฯ เคมี และเครื่องใช้ไฟฟ้าฯ ในด้านการส่งออกและยานยนต์ฯ และเหล็กในด้านการนำเข้า

ในด้านการสร้างฐานการผลิตร่วมกันนั้น พบว่าการค้าขายหรือการเชื่อมโยงระหว่างไทยกับอาเซียนอยู่ในระดับปานกลางถึงดี มีเพียงอุตสาหกรรมเกษตรฯ ยานยนต์ฯ และยางฯ เท่านั้นที่ค่อนข้างต่ำ ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงสาเหตุ อาจเป็นเพราะต่างเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีวัตถุดิบภายในประเทศที่ได้เปรียบประเทศอื่น จึงทำให้ไม่ จำเป็นต้องนำเข้าจากอาเซียนมากนัก

ดังนั้นในภาพรวมแล้ว หากถามว่าเป้าหมายของ AEC นั้นสามารถบรรลุได้หรือไม่ และมีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างไร จากมุมมองของไทยสามารถ สรุปได้ว่า AEC มีความสำเร็จพอสมควร โดยไทยมีการขยายการค้ากับอาเซียนในเกือบทุกอุตสาหกรรม มีการเชื่อมโยงกันส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางถึงดี และอุตสาหกรรมไทยส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์โดยผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดคือ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน สำหรับผู้ที่รับผลกระทบได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

เอกสารอ้างอิง:

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (2554), AEC Fact Book, กรุงเทพมหานคร

Krugman, Pual R, Obstfeld, Maurice (2005). International Economics: Theory and Policy (7th Edition), Boston, Addison Wesley.

ASEAN Economic Community อ้างอิงจาก www.asean.org (กรกฎาคม 2555)

ผลต่อภาคเกษตรของไทย

สำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

1. บริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อาเซียนมีเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี พ.ศ. 2558 ให้มีลักษณะเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน มีการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี ส่วนการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนจะเป็นอย่างเสรีมากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความมั่งคั่ง เกิดความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน

ภายใต้การดำเนินงานไปสู่การเป็น AEC มีพิมพ์เขียว (AEC Blueprint) ที่เป็นแผนการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

1) เคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานที่เสรี และเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีมากขึ้น 2) การสร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน เช่น การปรับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการค้า การพัฒนาปรับปรุง ระบบโทรคมนาคมสื่อสาร (e-ASEAN) การกำหนดนโยบายด้าน ภาษี เป็นต้น 3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ลดช่องว่าง การพัฒนาระหว่างสมาชิกอาเซียนเก่าและอาเซียนใหม่ และการ พัฒนา SMEs 4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยการเชื่อมโยงกับตลาดนอกภูมิภาคอาเซียน การเจรจา FTA กับคู่เจรจาอื่น เป็นต้น

2. ผลที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นต่อภาคเกษตร

2.1 ผลเชิงบวก

• การเป็น AEC จะทำให้ตลาดการค้าการลงทุนของไทยขยายเพิ่มจาก 62 ล้านคนภายในประเทศไทยเป็น 600 ล้านคนของประชากรอาเซียน การผลิตสินค้าเกษตรและอาหารของไทยซึ่งมีความหลากหลายทั้งชนิดและรูปแบบและมีคุณภาพจะสามารถกระจาย/เคลื่อนย้ายออกไปสู่ตลาดในอาเซียน ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในอาเซียนอื่นได้มากขึ้น เช่น สินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าฮาลาล เป็นต้น • ภาคการผลิตและแปรรูปจะได้ประโยชน์จากการมีแหล่งวัตถุดิบราคาถูกลง ลดต้นทุนต่อหน่วย และมีความคุ้มค่าต่อขนาด (Economies of Scale) เพราะไม่มีการเก็บภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้า • เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตในเชิงพาณิชย์จะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตรและอาหาร ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค เป็นผลให้ขยายการค้าสินค้าได้มากขึ้นทั้งภายในอาเซียนและภูมิภาคนอกอาเซียน• การเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในกิจการที่เกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรมการเกษตร จะช่วยลดต้นทุนในการผลิต เช่น โลจิสติกส์ และการจัดจำหน่าย ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคสินค้าได้อย่างหลากหลายและมีราคาถูกลง รวมถึงทำให้มีการใช้ผลผลิตเกษตรภายในประเทศมากขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตต่อไป• การเปิดเสรีการลงทุนเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรรายใหญ่ที่มีความพร้อมของไทยมีโอกาสในการขยายฐานการผลิตออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน สามารถลดต้นทุนการผลิตลง เช่น การปลูกอ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และการเลี้ยงโคขุน เป็นต้น

2.2 ผลเชิงลบ

• ต้องเผชิญกับภาวะคู่แข่งขันและมีการแข่งขันในตลาดมากขึ้น• สินค้าหลากหลายที่ไม่ได้มาตรฐาน/คุณภาพต่ำเข้ามาขายในตลาดมากขึ้น • นักลงทุนต่างชาติที่ได้สิทธิการเป็นนักลงทุนอาเซียนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น • การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือของไทยไปประเทศที่มีค่าตอบแทนสูงกว่า • เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรบางชนิดอาจได้รับผลกระทบ เนื่องจากผู้ซื้อจะหันไปนำเข้าสินค้าที่ราคาถูกกว่าจากอาเซียนอื่น เนื่องจากบางประเทศมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าและไม่มีภาษีนำเข้า เช่น กาแฟ น้ำมันปาล์ม สำหรับผู้ประกอบการการผลิตที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่า ต้นทุนต่อหน่วยสูง ก็แข่งขันไม่ได้ • การผลิตสินค้าที่ไม่ได้ตามคุณภาพมาตรฐานก็อาจไม่สามารถแข่งขันได้เช่นกัน• การกำหนดมาตรการการค้าที่มิใช่ภาษีจะถูกใช้เป็นข้อจำกัดด้านการค้าเพิ่มมากขึ้น เช่น มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ความปลอดภัยของสินค้าและอาหาร การออกกฎระเบียบการตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยสินค้าอย่างเข้มงวดมากขึ้น การบังคับติดฉลากโดยระบุให้ใช้ภาษาของแต่ละประเทศ การกำหนดให้ใช้

3. การดำเนินมาตรการด้านต่างๆ ในการเตรียมภาคเกษตร

3.1 มาตรการเชิงรับ

1) มาตรการป้องกัน (Border Measure) โดยการจัดระบบการบริหารการนำเข้า เช่น

• การกำหนดให้ผู้นำเข้าต้องจดทะเบียนและขออนุญาตการนำเข้า• กำหนดคุณสมบัติและวัตถุประสงค์ของการนำเข้า • กำหนดชนิดของสินค้าที่นำเข้า ต้องมีใบรับรองปลอดสารพิษตกค้าง ใบรับรองปลอด GMOs ใช้มาตรการ SPS อย่างเข้มงวด ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า• กำหนดด่านนำเข้า (ที่มีบุคลากรและเครื่องมือพร้อม)• กำหนดช่วงเวลาการนำเข้า (ในช่วงที่ผลผลิตของไทยออกมาน้อย) ต้องรายงาน การนำเข้า การใช้ การจำหน่ายและสต๊อก• การเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจสินค้านำเข้า เพื่อเป็นกองทุนพัฒนาการผลิต • การจัดทำระบบข้อมูลติดตามเฝ้าระหว่างการนำเข้า โดยมีคณะกรรมการ/คณะ ทำงาน ดูแลเรื่องการนำเข้าเป็นการเฉพาะ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามเฝ้าระวังการนำเข้าแล้ว พร้อมตั้ง Mobile Unit ระดับจังหวัดที่มีด่านนำเข้าส่งออกชายแดนใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ เป็นต้น

2) มาตรการปราบปราม (Internal Measure)กรณีที่เกิดมีการลักลอบเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมายแล้วต้องมีการปราบปรามหรือบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เพื่อมิให้มีการลักลอบนำเข้ามาอีก

3) การใช้มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard)ซึ่งเป็นการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเมื่อมีการนำเข้าจำนวนมากจนทำให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตในประเทศ

3.2 มาตรการเชิงรุก

สนับสนุนและเร่งรัดให้เกษตรกรและผู้ประกอบการเกิดความตระหนักรู้ เตรียมความพร้อมและปรับปรุงการผลิตของตนเองเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการ แข่งขันใน 3 ประเด็น คือ
1) ประสิทธิภาพการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้แข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ โดยภาครัฐจะต้องพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ต่างๆ และถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร
2) คุณภาพผลผลิต เพื่อให้สินค้ามีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้ซื้อโดยมีการกำหนดมาตรฐานและมีระบบตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้าที่เป็นสากล
3) ภาพลักษณ์ของสินค้า ให้ถูกตาต้องใจของผู้บริโภค เช่น การบรรจุภัณฑ์ การสร้าง ตราสัญลักษณ์ (Brand) ให้ผู้บริโภครู้จักและจดจำสร้างจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์หรือเป็นสินค้าสิ่งชี้บ่งทางภูมิศาสตร์ (GI) สร้างตำนานเล่าขานเชื่อมโยงกับการผลิต รวมทั้งชูประเด็นการใช้กระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (Green Product)

3.3 การสนับสนุนของภาครัฐในการเยียวยาและปรับตัว

• การดำเนินการเพื่อปรับปรุงตนเอง หรือปรับโครงสร้างการผลิตของเกษตรกรสามารถขอรับการสนับสนุนด้านเงินทุนจาก “กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน” หรือกองทุน FTA ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่สนับสนุนทั้งในด้านการวิจัยพัฒนา การปรับโครงสร้างการผลิต การสนับสนุนปัจจัยการผลิต การฝึกอบรมให้ความรู้ • การส่งเสริมให้ทำเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกร โดยมุ่งเน้นให้การสนับสนุนแก่เกษตรกรตามหลักปรัชญาคือ มี ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ที่ตั้งอยู่บนเงื่อนไขความรู้และคุณธรรม ในการดำเนินการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรในเชิงพาณิชย์ให้กับเกษตรกร เพื่อให้มีการวางแผนการผลิตและการลงทุนที่ไม่เกินตัว ทำการพัฒนาธุรกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้มีความเข้มแข็งดีแล้วจึงค่อยขยายกิจการ สำหรับเกษตรกรรายย่อยให้ประยุกต์ใช้แนวปรัชญาเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเอง และสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน• สำหรับเกษตรกรที่ผลิตเชิงพาณิชย์ ควรมุ่งเน้นให้ทำการผลิตตามมาตรฐานความปลอดภัยสากลต่างๆ เช่น GAP (Good Agricultural Practice) เป็นต้น รวมถึงการส่งเสริมการใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อลดต้นทุนในการผลิตให้สามารถแข่งกับสินค้าจากต่างประเทศได้

3.4 การดำเนินการด้านมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหาร

การกำหนดมาตรฐานการผลิต เกณฑ์คุณภาพ การตรวจสอบสารพิษตกค้าง และวัตถุเจือปน และจัดตั้งระบบการแจ้งเตือนความปลอดภัยอาหารและอาหารสัตว์ สำหรับประเทศไทย (Thailand Rapid Alert System for Food and Feed: THRASFF) โดยความร่วมมือระหว่างกรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ และกรม ประมง กับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

4. ผลกระทบด้านการลงทุนต่อภาคการเกษตร

ตามความตกลงการเปิดเสรีการลงทุนอาเซียนที่จะให้สิทธินักลงทุนอาเซียนเข้ามาถือหุ้นได้มากขึ้นและอำนวยความสะดวกในการเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้นใน 5 สาขา คือ การผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ และเหมืองแร่ และบริการที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้างต้น ซึ่งประเทศไทยมีพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 กำหนดไว้ใน บัญชี 1 แนบท้าย ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาทำธุรกิจ ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และประมงในน่านน้ำแต่สำหรับกิจการอื่นที่เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องกับการเกษตร เช่น การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะขยายปรับปรุงพันธุ์พืช จะอยู่ในบัญชี 3 แนบท้าย ซึ่งสามารถอนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนได้โดยผ่านความเห็นชอบจากกรรมการที่เกี่ยวข้อง

4.1 มาตรการเชิงรับ

อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีการลงทุนในกิจการที่ผูกพันไว้ภายใต้ความตกลงเขตเสรีการลงทุนอาเซียน (AIA) ตั้งแต่ปี 2551 จำนวน 3 สาขา ได้แก่ การเพาะขยายและปรับปรุงพันธุ์พืช การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการทำป่าไม้จากป่าปลูก เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นและจัดทำข้อเสนอมาตรการรองรับ รวมทั้งแสวงหาโอกาสที่พึงได้จากความตกลงว่าด้วยการลงทุนอาเซียน (ACIA) ปี 2553 ไทยจึงเปิดให้นักลงทุนอาเซียนถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 51 ในสาขาเพาะเลี้ยงทูน่าในกระชังน้ำลึก การเพาะเลี้ยงกุ้งมังกรสายพันธุ์ในประเทศไทย และการเพาะขยายและปรับปรุงพันธุ์เฉพาะเมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ เนื่องจากสาขาการผลิตเหล่านี้ ไทยยังต้องการเรียนรู้เทคโนโลยีจากต่างชาติ

4.2 มาตรการเชิงรุก

มีการประชุมหารือระหว่างภาครัฐและเอกชนผู้ประกอบการด้านสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อพิจารณาข้อมูลที่จำเป็น โอกาส และข้อจำกัดในการขยายการลงทุนภายใต้ความตกลงด้านการค้าและการลงทุนของอาเซียนภายหลังการเป็น AEC รวมถึงการพิจารณาโอกาสที่สมาชิกอาเซียนจะรวมตัวกันขยายการลงทุนไปสู่ภูมิภาคอื่นในนามของประชาคมอาเซียน

5. ผลกระทบด้านคมนาคมต่อภาคการเกษตร

มีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางหลวงอาเซียน ซึ่งยังมีเส้นทางในพม่าที่ยังเชื่อมต่อไม่สมบูรณ์ และมีถนนที่ต่ำกว่ามาตรฐานใน 6 ประเทศ ได้แก่ ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย รวมถึงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากสิงคโปร์ผ่านไปยังมาเลเซีย ไทย กัมพูชา เวียดนาม และสิ้นสุดที่เมืองคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงการปรับมาตรฐานของเส้นทางคมนาคมทางบกและทางรถไฟให้มีมาตรฐาน เดียวกัน

นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างท่าเรือทวายในเมียนมาร์ และการพัฒนาสมรรถนะท่าเรือต่างๆ ในอาเซียน เพื่อเป็นการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของอาเซียน อำนวยความสะดวกในการขนส่งและกระจายสินค้าต่างๆ ทั้งสินค้าเกษตรและสินค้า อุตสาหกรรมให้มากขึ้นและมีต้นทุนลดลง

6. ผลกระทบด้านแรงงานต่อภาคการเกษตร

ในประเด็นของการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีอาเซียนได้จัดทำความตกลงเฉพาะ “แรงงานฝีมือ” ที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อตกลงยอมรับร่วมกันด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลักเท่านั้น (Mutual Recognition Arrangements: MRAs) ซึ่งปัจจุบันอาเซียนได้จัดทำ MRAs ไว้แล้ว 7 สาขา คือ วิศวกรรม สถาปนิก แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักบัญชี และการสำรวจ ส่วนสาขาอื่นๆ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งแรงงานในภาคเกษตรยังไม่ได้รับผลกระทบจากข้อตกลงดังกล่าว

• แรงงานภาคเกษตรจะได้รับผลกระทบในช่วงแรกจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากการย้ายกลับคืนถิ่นฐานของแรงงานต่างด้าว เช่น เมียนมาร์ ซึ่งแนวโน้มการพัฒนาทางเศรษฐกิจมีการพัฒนาขึ้น รวมถึงการขาดแคลนเกษตรกรรุ่นใหม่ทดแทนเกษตรกรในปัจจุบัน เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่เลือกที่จะอยู่ในภาคธุรกิจหรือภาคอุตสาหกรรมมากกว่าภาคเกษตร • เกษตรกรต้องปรับตัวจากการผลิตแบบใช้แรงงานเข้มข้น เน้นปริมาณมาเป็นการใช้แรงงานทักษะฝีมือ เน้นคุณภาพ เพื่อเป็นจุดแข็งและสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าเกษตรของไทย เน้นการผลิตสินค้าคุณภาพดี ราคาต่อหน่วยสูง • สำหรับภาคเกษตรควรเตรียมความพร้อมกรณีแรงงานต่างด้าวต้องการกลับประเทศ เกษตรกรไทยต้องปรับตัวด้วยการใช้องค์ความรู้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ทันสมัย การใช้เครื่องจักรกลเกษตรเพื่อทดแทนแรงงานคน และการบริหารจัดการไร่นาที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ

7. ผลกระทบด้านบุคลากรภาคการเกษตร

สร้างเสริมความรู้ความเข้าใจและตระหนักรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทุกหน่วยงาน รวมถึงเกษตรกรและผู้ประกอบการ โดยการจัดการประชุม และสัมมนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ให้เกษตรกรเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องปรับตัวเพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ อีกทั้งเป็นการเตรียมพร้อมในการหาโอกาสจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในการขยายการค้าและการลงทุนของผู้ประกอบการภาคเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรและอาหารไปสู่ประเทศอื่น นอาเซียนมากขึ้น

8. แนวทางการปรับปรุงขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตร

ตามแผนพัฒนาการเกษตรแห่งชาติ ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 11 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การจัดการ สินค้าเกษตรและความมั่นคงด้านอาหาร เพื่อสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็ง ทำให้เกิดความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกร พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร และอาหารให้มีความสามารถในการแข่งขัน ประชาชนมีความมั่นคงด้านอาหารและมีผลผลิตเพียงพอกับความต้องการด้านอาหารและพลังงาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีและนำผลงานวิจัยพัฒนาด้านการเกษตรไปใช้ประโยชน์มากขึ้น โดยการพัฒนาการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่ม เน้นลดต้นทุนการผลิต โดยแนวทางการพัฒนาการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อพัฒนาการผลิตและเกษตรกรทั้งระบบ ดังนี้

8.2 พัฒนาสินค้า

• เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุนต่อหน่วย • ผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย • จัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาสินค้าระยะยาวทั้งพืช สัตว์ และประมงเป็นราย สินค้า 21 ยุทธศาสตร์ จำนวน 26 สินค้า ได้แก่ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน ถั่วเหลือง สับปะรด กาแฟ กล้วยไม้ หม่อนไหม สุกร ไก่ เนื้อ ไข่ไก่ โคเนื้อ โคนม กระบือ แพะ กุ้ง ปลานิล และไม้ผล ซึ่งยุทธศาสตร์ไม้ผล มี 6 ชนิดสินค้า คือ ลำไย ลิ้นจี่ ทุเรียน เงาะ มังคุด และลองกอง

8.3 การสนับสนุนปัจจัยและโครงสร้างพื้นฐานการเกษตร

• การเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน • การจัดสรรที่ทำกินให้เกษตรกร • การออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองพื้นที่เกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนาด้านชลประทานที่สมบูรณ์แล้ว • การฟื้นฟูทรัพยากรดิน • การจัดระบบตลาดสินค้า เพื่อการกระจายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

9. บทสรุปของการเตรียมพร้อมภาคเกษตร

9.1 การปรับปรุงรูปแบบการผลิต ให้เหมาะสมกับศักยภาพ ความรู้และความสามารถของตนเอง โดยอาจแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบสำคัญ คือ

1) ผลิตเพื่อยังชีพ ในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่ส่วนใหญ่มีความยากจน เป็นกลุ่มที่ภาครัฐต้องให้การช่วยเหลือและสนับสนุนทั้งในด้านการผลิตและด้านการตลาด เช่น การรับจำนำ แต่ในขณะเดียวกันควรส่งเสริมให้เกษตรกรกลุ่มนี้ทำการเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างความยั่งยืนในการดำรงชีพให้แก่ เกษตรกร 2) ผลิตในเชิงพาณิชย์ เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพในการผลิต เป็นกลุ่มที่ภาครัฐต้องสนับสนุนให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิตเพื่อส่งเสริมให้ผลิตสินค้าที่ได้คุณภาพ มีความปลอดภัย ตรงตามความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ

9.2 การปรับตัวเพื่อให้ได้รับประโยชน์

• ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตจากเน้นปริมาณมาเป็นเน้นคุณภาพ เพื่อยกระดับราคาสินค้า สร้างความแตกต่างของสินค้า และหลีกเลี่ยงปัญหาแรงงานภาคเกษตรที่มีแนวโน้มขาดแคลน • ปรับตัวเข้าสู่ระบบการรับรองมาตรฐานกระบวนการผลิตและมาตรฐานสินค้า และระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้า ในขณะเดียวกันก็เป็นการป้องกันสินค้าที่ด้อยคุณภาพจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันกับสินค้าภายในประเทศ • ผลักดันให้ดำเนินการผลิตและการตลาดในกระบวนการกลุ่มสหกรณ์การเกษตร และสร้างเสริมความสามารถของสหกรณ์ในการบริหารจัดการให้สามารถเข้าสู่ตลาดอาเซียน เพื่อเพิ่มบทบาทของเกษตรกรให้มีพื้นที่ทางการตลาดในอาเซียนมากขึ้น • ปรับตัวให้มีข้อมูลความรู้ทันต่อยุคสมัยการค้าการลงทุนเสรี โดยการติดตาม ข้อมูลทางการตลาด พฤติกรรมของผู้บริโภค ข้อมูลการผลิตของประเทศคู่แข่งเพื่อพิจารณาในการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

AEC: ผลต่อภาคการเงินและการธนาคารของไทย

ฝ่ายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย

บทความนี้สรุปสาระสำคัญของการรวมกลุ่มทางการเงินในอาเซียน (ASEAN Financial Integration) ซึ่งถือเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการก้าวไปสู่ AEC เพื่อให้มี 1) ระบบการเงินที่รวมกลุ่มกันอย่างแข็งแกร่ง มีเสถียรภาพ สามารถตอบสนองความต้องการทางการเงินของนักธุรกิจและผู้บริโภคได้อย่างหลากหลายและทั่วถึง 2) มีตลาดทุนที่พัฒนาเชื่อมโยงกันผ่านการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศสมาชิกที่เสรีขึ้น และ 3) มีการเชื่อมโยงระบบชำระเงินเพื่อรองรับธุรกรรมระหว่างประเทศทั้ง 3 ข้อ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการค้าสินค้าบริการและการลงทุนระหว่างกัน ภายในประเทศสมาชิก

การรวมกลุ่มทางการเงินจะเกิดขึ้นภายในปี 2563 หลังจากการรวมตัวของภาคสินค้า บริการ และการลงทุนภายใต้ AEC 5 ปี เนื่องจากประเทศสมาชิกส่วนใหญ่เห็นพ้องว่าภาคการเงินมีความสำคัญและเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจ จำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมที่ดีก่อนเปิดเสรี

1. การรวมกลุ่มทางการเงินในอาเซียน

1.1 การรวมกลุ่มทางการเงินในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นเสาหลักสำคัญของการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2558 นอกเหนือจาก 2 เสาหลัก คือ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community) และประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community)

AEC มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้วให้ลึกและกว้างขึ้นผ่านการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญอยู่ 4 ประการ คือ

  1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน

  2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

  3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน

  4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับประชาคมโลก

ทั้งนี้ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันนับว่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของการมุ่งไปสู่ AEC เนื่องจากจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมือ และมีการเคลื่อนย้ายเสรีมากยิ่งขึ้นของเงินทุนด้วย ซึ่งโดยรวมแล้วถือว่าเป็นการรวมกลุ่มกันของภาคเศรษฐกิจจริง

นอกเหนือจากการรวมตัวกันของภาคเศรษฐกิจจริงแล้ว การรวมกลุ่มทางการเงิน (Financial Integration) เป็นกลไกที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการก้าวไปสู่ AEC เนื่องจากระบบการเงินที่พัฒนารวมกลุ่มกันอย่างแข็งแกร่งมีเสถียรภาพ ตอบสนองความต้องการทางการเงินของนักธุรกิจและผู้บริโภคได้อย่างหลากหลายและทั่วถึง โดยมีตลาดทุนที่พัฒนาเชื่อมโยงกันผ่านการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศสมาชิกที่เสรีขึ้น และมีการเชื่อมโยงระบบชำระเงินเพื่อรองรับธุรกรรมระหว่างประเทศจะช่วยอำนวยความสะดวกการค้าสินค้าและการลงทุน

1.2 เป้าหมายการรวมกลุ่มทางการเงินภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

เป้าหมายการรวมกลุ่มทางการเงินภายใต้ AEC คือ เพื่อเชื่อมโยงภาคการเงินระดับภูมิภาคอาเซียนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผ่านการพัฒนาตลาดเงิน ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิก อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ สนับสนุนการขยายตัวของอาเซียนในระดับภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงระบบชำระเงินภายในภูมิภาคอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเกิดขึ้นในปี 2558 แต่สำหรับภาคการเงินได้ขยายระยะเวลาในการรวมกลุ่มและเปิดเสรีออกไปจนถึงปี 2563 เนื่องจากเป็นภาคที่มีความสำคัญต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศสมาชิกสูง มีกระบวนการเปิดเสรีที่เป็นไปอย่างระมัดระวังเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ ที่สำคัญ ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และระดับการพัฒนาตลาดการเงินที่แตกต่างกัน จึงทำให้ความพร้อมทางเศรษฐกิจแตกต่างกันมาก เช่น ตลาดหลักทรัพย์ของบางประเทศในอาเซียนยังไม่มีหรือเพิ่งเริ่มเปิดดำเนินการมาได้ไม่นาน ในขณะที่ตลาดบางประเทศได้พัฒนาไปมากแล้ว เช่น สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย เป็นต้น ทำให้กระบวนการรวมกลุ่มนั้นทำได้ยากและต้องใช้เวลายาวนานกว่าภาคอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศต่างเข้าใจและยอมรับในความแตกต่างของแต่ละประเทศสมาชิกจึงเห็นควรให้ยืดระยะเวลาการรวมกลุ่มทางการเงินออกไปเพื่อให้ประเทศสมาชิกบางประเทศที่ยังไม่มีความพร้อมมีระยะเวลาในการปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมรับการเปิดเสรี

การรวมกลุ่มทางการเงินภายใต้ AEC ภายในปี 2563 จะมีลักษณะเป็น Semi-Integrated Market ซึ่งหมายถึง การรวมกลุ่มกันโดยที่ทุกประเทศไม่จำเป็นต้องเปิดเสรีเต็มที่ เนื่องจากภาคการเงินของแต่ละประเทศสมาชิกมีความแตกต่างระหว่างกันเองอยู่มาก ตัวอย่างเช่น ในภาคธนาคาร หากมีการเปิดเสรีเต็มที่ ธนาคารทุกแห่งของทุกประเทศจะต้องสามารถเข้าไปตั้งสาขาสำนักงานหรือทำธุรกรรมในประเทศสมาชิกอื่นได้อย่างเสรี แต่ภายใต้กรอบของการเปิดเสรีภายใต้ AEC นั้น จะมีการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อคัดเลือกธนาคารที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะสามารถเข้าไปให้บริการในประเทศสมาชิกอื่นได้ หรือในด้านการเปิดเสรีบัญชีทุน AEC ไม่ได้มีเป้าหมายให้ทุกประเทศเปิดเสรีเงินทุนเต็มที่ เพียงแต่ให้แต่ละประเทศมีการเปิดเสรีเงินทุนที่มากขึ้น หรือ Freer Flows (แทน Free Flows) เพื่อสนับสนุนการมุ่งไปสู่การรวมกลุ่มทางการเงิน

1.3 กระบวนการดำเนินงานรวมกลุ่มทางการเงินภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

กระบวนการรวมกลุ่มทางการเงินภายใต้ AEC มีหลายขั้นตอน เริ่มจากผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นผู้ให้หลักการและเป้าหมายโดยอ้างอิงจาก AEC Blue­print ที่ผู้นำได้ลงนามในปี 2550 AEC Blueprint ถือว่าเป็นแผนแม่บทของอาเซียน เนื่องจากมีตารางเวลา (Strategic Schedule) เพื่อกำหนดแนวยุทธศาสตร์และระยะเวลาในการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อมุ่งสู่ AEC อย่างชัดเจน

อย่างไรก็ดี มาตรการในส่วนของการรวมกลุ่มทางการเงินตาม Strategic Schedule ของ AEC Blueprint มีขอบเขตที่กว้างและมีความยืดหยุ่นค่อนข้างมาก ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศจึงต้องประเมินกรอบและนโยบายของตนเอง เพื่อจัดทำรายละเอียดแผนการดำเนินงานการรวมตัวทางการเงินทั้งในด้านการเปิดเสรีบริการทางการเงิน การพัฒนาตลาดทุน การเปิดเสรีเงินทุนเคลื่อนย้าย และระบบการชำระเงิน สุดท้าย ประเทศสมาชิกจึงนำแผนดังกล่าวไปปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาและขยายตลาดในกลุ่มอาเซียนที่มีขนาดใหญ่เกิดการค้าและการลงทุนระหว่างกัน รวมถึงการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีทักษะระหว่างกันมากขึ้น

ในส่วนของโครงสร้างคณะทำงานการรวมกลุ่มทางการเงินและลำดับความรับผิดชอบ ในทางปฏิบัติ กระทรวงการคลังและธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักโดยมีหน่วยงานอื่นเกี่ยวข้องด้วย และผ่านกรอบการประชุม 3 ระดับ คือ

  1. ระดับรัฐมนตรี / ผู้ว่าการธนาคารกลาง ซึ่งเป็นระดับสูงสุด จะดำเนินงานผ่านการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน และการประชุมระดับผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน โดยมีการประชุมเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2540

  2. ระดับปลัดกระทรวง / รองผู้ว่าการ ซึ่งดำเนินงานผ่านการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน และการประชุมระดับรองผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ซึ่งประชุมเป็นประจำทุกปีเช่นกัน

  3. ระดับคณะทำงาน มี 4 ด้าน ได้แก่ คณะทำงานด้านการเปิดเสรีภาคบริการทางการเงิน การพัฒนาตลาดทุน การเปิดเสรีบัญชีทุน และการพัฒนาระบบการชำระเงิน ซึ่งจัดประชุมปีละ 2-3 ครั้งต่อคณะทำงาน และมีผู้แทนจากหน่วยงานกำกับ ดูแล (Regulator) ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมด้วย เช่น ก.ล.ต. หรือ คปภ. เป็นต้น

2. กลไกการรวมกลุ่มทางการเงินภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

กลไกการรวมกลุ่มทางการเงินภายใต้ AEC จะทำงานผ่านคณะทำงาน 4 ด้าน ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งในแต่ละคณะทำงานจะมีเป้าหมาย หลักการ วิธีการ และผลกระทบ จากการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

2.1 การเปิดเสรีบริการทางการเงิน (Financial Services Liberalization)

การเปิดเสรีบริการทางการเงินมีเป้าหมายเพื่อให้สถาบันการเงินได้มีโอกาสขยายฐานออกไปให้บริการในด้านที่ตนมีความสามารถเชิงเปรียบเทียบในการบริการลูกค้าธุรกิจและบุคคลในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อกระตุ้นให้สถาบันการเงินเสริมสร้างความแข็งแกร่งและมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อทำให้ผู้บริโภคมีทาง เลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลายมาตอบสนองความต้องการได้ดียิ่งขึ้น การเปิดเสรีบริการทางการเงินในอาเซียนในขั้นนี้มีแผนงานครอบคลุมเฉพาะภาคธนาคารและภาคประกันภัย

2.1.1 ภาคธนาคาร ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ในอาเซียนมีการเปิดดำเนินการระหว่างกันเป็นจำนวนหนึ่งแต่ยังมีบทบาทจำกัดในระบบการเงินของประเทศนั้น เช่น ถูกจำกัดในมิติด้านขอบเขตธุรกิจ ในมิติจำนวนสาขา หรือด้านสถานที่ตั้งสาขา ดังนั้นเมื่อมีการเปิดเสรีธนาคารพาณิชย์ระหว่างกันในอาเซียน จะช่วยให้มีธนาคารพาณิชย์แข่งกันพัฒนา ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์ของธุรกิจและประชาชนได้ดีขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจข้ามพรมแดนซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้น สำหรับธนาคารพาณิชย์ไทยมีโอกาสที่จะเข้าไปทำธุรกิจในอาเซียนได้สะดวกขึ้น สามารถขยายฐานธุรกิจและให้บริการจับคู่ธุรกิจไทยกับธุรกิจต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันเป็นโอกาสสําหรับผู้บริโภคและธุรกิจในประเทศที่จะได้รับประโยชน์เมื่อมีธุรกิจแข่งขันที่เพิ่มขึ้นของสถาบันการเงินของอาเซียนในไทย และกระตุ้นให้สถาบันการเงินไทยปรับตัว ต่อการแข่งขันในการให้บริการทางการเงินที่ตอบสนองความต้องการและคุ้มครองผู้ใช้บริการอย่างเหมาะสม >>> อ่านต่อที่นี่

ผลต่อภาคการศึกษาของไทย

ดุริยา อมตวิวัฒน์
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ประชาคมอาเซียน

กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ส่งผลให้ประชาคมโลกต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและรวดเร็ว ภายใต้สังคมและระบบเศรษฐกิจที่มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้น กิจกรรมด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมือง การศึกษา สิ่งแวดล้อมถูกเชื่อมโยงด้วยข้อมูลข่าวสารที่สื่อถึงกันอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดกระแสสากลเชื่อมโยงกันทั่วโลก โลกถูกหลอมเป็นหนึ่งเดียวไร้ซึ่งพรมแดน ประชาคมโลกจึงต้องเร่งเตรียมความพร้อมในการสร้างระบบกลไกและพัฒนาคนให้มีศักยภาพสูงขึ้นเพื่อสามารถปรับตัวอย่างรู้เท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงและก้าวสู่ระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ใช้ “ฐานความรู้และนวัตกรรม” เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนา ตลอดจนเรียนรู้ที่จะยกระดับการพัฒนาด้านจิตใจและคุณธรรมเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่มีความสมดุลแห่งความเจริญทางวัตถุในอนาคต สามารถกำหนดทิศทางการพัฒนาตนเองได้อย่างเหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา

ขณะเดียวกัน การไหลบ่าของกระแสโลกาภิวัตน์ ได้ผลักดันให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจภายใต้กฎกติกาอันเป็นสากลที่มีเป้าหมายเดียวกัน โดยหันมาเปิดนโยบายทางเศรษฐกิจแบบเสรีเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายใต้การแข่งขันในลักษณะเสรีนิยม (Liberalism) การเปิดการค้าระหว่างประเทศเป็นการค้าที่ไร้พรมแดน มีการเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้าและบริการระหว่างประเทศมีความคล่องตัวมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงระเบียบกฎเกณฑ์การค้าโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ก่อให้เกิดแนวโน้มการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน ทั้งในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี สำหรับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีการรวมประเทศต่างๆ ให้เป็นหนึ่งประชาคม หรือที่เรียกว่า “ประชาคมอาเซียน” โดยกำหนดให้มีความร่วมมือทั้งในเรื่องการเมืองความมั่นคง (ASEAN Political and Security Community) สังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community) และการรวมตัวทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)

เป้าหมายการเป็นประชาคมอาเซียนที่สมบูรณ์นับว่าเป็นสิ่งท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาความร่วมมือที่กำหนดไว้ใน 3 เสาหลักเป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนสังคมในอาเซียนจะต้องร่วมผลักดันให้เกิดผลการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

ในทางการเมือง หรือ เสาประชาคมการเมืองและความมั่นคง จะต้องมี การสร้างกฎเกณฑ์ บรรทัดฐาน และค่านิยมร่วมกัน เพื่อสร้างอาเซียนให้มีความสงบสุข แข็งแกร่ง และร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหาความมั่นคง เพื่อให้อาเซียนยังคงความเป็นศูนย์กลาง

ในทางเศรษฐกิจ หรือ เสาประชาคมเศรษฐกิจ มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนของอาเซียนมีการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น ไปมาหากันได้อย่างสะดวก และมีศักยภาพในการแข่งขันกับโลกภายนอก โดยกำหนดให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมือระหว่างกันอย่างเสรี มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง จึงเน้นการแข่งขัน การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนา ICT และพลังงาน มีพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการขยายตัวของ SMEs ให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์ เน้นการจัดทำเขตเสรีการค้าและพันธมิตรทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่เจรจา

ในทางสังคม หรือเสาสังคมและวัฒนธรรม เพื่อให้อาเซียนเป็นสังคมที่มีเอกภาพ เอื้ออาทรต่อกัน มีความเป็นอยู่ที่ดี พัฒนาทุกด้าน และมีความมั่นคงทางสังคม ด้วยการพัฒนามนุษย์ เน้นการบูรณาการด้านการศึกษา สร้างสังคมความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม ส่งเสริม ICT การเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม เน้นการขจัดความยากจน สร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม ความยุติธรรมและ สิทธิต่างๆ คุ้มครองสิทธิผู้ด้อยโอกาส แรงงานย้ายถิ่นฐาน ส่งเสริมความยั่งยืน ด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมข้ามแดน การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้านวัฒนธรรม ลดช่องว่างการพัฒนา

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(ASEAN Economic Community): ผลกระทบต่อการศึกษา

ในทางการเมือง หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) มีเป้าหมายที่จะให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาค โดยอาเซียนให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง หลังจากมีการดำเนินการไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) เมื่อปี 2546 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ได้ เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่ความเป็นประชาคม และให้อาเซียนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายหลัก 4 ประการ ดังนี้
1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Single Production Base) ของอาเซียน เพื่อให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และ แรงงานฝีมืออย่างเสรี
2) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน โดยจะเน้นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายภาษี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลและฝึกอบรมบุคลากรร่วมกัน เป็นต้น
3) การลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก โดยสนับสนุนการ พัฒนา SMEs และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่แล้วของอาเซียน
4) การบูรณาการเศรษฐกิจของอาเซียนเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยมุ่งเน้นการปรับและประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศอื่นๆ รวมทั้งกลุ่มเศรษฐกิจอื่นนอกภูมิภาค ซึ่งมุ่งให้อาเซียนมีการรวมตัวอย่างเข้มแข็ง

การรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ภายในปี 2558 มีการตั้งเป้าหมายการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการไว้อย่างชัดเจน โดยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) ได้กำหนดแผนงานด้านการค้าบริการไว้ ในหัวข้อ Free Flow of Services ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการก้าวไปสู่ความเป็น Single Market and Production Base ส่งผลให้ภายในปี 2558 อาเซียนต้องมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของเงินทุน การลงทุนสินค้า บริการในด้านต่างๆ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายของแรงงานฝีมีออย่างเสรีในภูมิภาค

การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ

อาเซียนได้มีการจัดทำข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Agree¬ment: MRA) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลักที่จะมีการเคลื่อนย้ายในอาเซียนจำนวน 7 วิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ช่างสำรวจ และนักบัญชี และในอนาคตอันใกล้จะมีการยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติใน 32 ตำแหน่ง งานด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ซึ่งข้อตกลงยอมรับร่วมกำหนดให้ประเทศสมาชิก พิจารณาสมรรถนะของบุคลากรในตำแหน่งต่างๆ โดยใช้คุณสมบัติ การศึกษา การฝึกอบรม และ/หรือประสบการณ์ในการทำงาน เป็นเกณฑ์พื้นฐานในการรับรองมาตรฐานของวิชาชีพร่วมกัน

การเปิดเสรีบริการด้านการศึกษา

การเปิดเสรีการค้าบริการด้านการศึกษา หมายถึงการให้สิทธิคนไทยและคนต่างชาติอย่างเท่าเทียมกันในการเป็นผู้ให้บริการด้านการศึกษา แต่รัฐยังสามารถควบคุม กำกับดูแลคุณภาพและมาตรฐานการเรียนการสอนได้ โดยหากเป็นการจัดการศึกษาในประเทศไทย ต้องไม่ใช้กฎเกณฑ์หรือข้อจำกัดใดๆ ที่เป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างสถาบันการศึกษาไทยกับสถาบันการศึกษาต่างชาติ หรือระหว่างอาจารย์ไทยกับอาจารย์ต่างชาติ หากเป็นการศึกษาข้ามพรมแดนโดยผ่านเครื่องมือสื่อสาร เช่น อินเทอร์เน็ต ดาวเทียม ไปรษณีย์ หรือสื่ออื่นๆ ต้องให้สิทธิ์นักเรียน นักศึกษาไทยในการรับการศึกษาจากต่างประเทศได้ และให้สิทธินักเรียน นักศึกษาไทยเดินทางไปศึกษาในต่างประเทศได้โดยเสรี
การเปิดเสรีบริการด้านการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ (mode) ประกอบด้วย
รูปแบบที่ 1 การให้บริการเสรีข้ามประเทศผ่านระบบ e-learning
รูปแบบที่ 2 การเดินทางไปใช้บริการด้านการศึกษาในประเทศสมาชิกได้อย่างเท่าเทียม
รูปแบบที่ 3 การจัดตั้งสถานศึกษา/ธุรกิจด้านการศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งในปี 2558 จะเปิดโอกาสให้นักลงทุนอาเซียนสามารถถือหุ้นได้ถึงร้อยละ 70
รูปแบบที่ 4 การเคลื่อนย้ายบุคลากรทางการศึกษา ครู อาจารย์ นักเรียน และ นักศึกษาระหว่างประเทศในภูมิภาค

ขอบเขตของการค้าบริการสาขาการศึกษา

• ระดับเตรียมประถมและประถม (Primary education services: 921) เตรียมประถมประถม• ระดับมัธยม (Secondary education services: 922) มัธยมทั่วไป มัธยมระดับสูง เทคนิคและวิชาชีพ เทคนิคและวิชาชีพสำหรับคนพิการ โรงเรียนนานาชาติ• ระดับอุดมศึกษา (Higher education services: 923) เทคนิคและวิชาชีพขั้นสูง (อนุปริญญา) อุดมศึกษาอื่นๆ (ปริญญาหรือเทียบเท่า) เฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี • การศึกษาผู้ใหญ่ (Adult education: 924)• การศึกษาอื่นๆ (Other education services: 929) เช่น โรงเรียนสอนภาษา สอนดนตรี สอนศิลปะ กวดวิชา เป็นต้น

บทบาทด้านการศึกษาสู่การสร้างประชาคมอาเซียนและแนวทางการดำเนินการของ กระทรวงศึกษาธิการเพื่อรองรับผลกระทบจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

การศึกษามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการรวมตัวเป็นประชาคมของอาเซียน ตลอดเวลาที่ผ่านมา อาเซียนมีการดำเนินกิจกรรมในด้านการศึกษาอย่างหลากหลาย เช่น โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน คณาจารย์ บุคลากร การศึกษาดูงาน การประชุมวิชาการ การจัดค่ายเยาวชน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างประชาชน และสร้างเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างวัฒนธรรม รังสรรค์มิตรภาพ และผนึกอาเซียน ให้เป็นดินแดนที่ประชาชนมีความรู้สึกร่วมกันในการเป็นเจ้าของภูมิภาคและมีอัตลักษณ์ร่วมกัน

การรวมตัวเป็นหนึ่งของสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ มีความสำคัญยิ่งต่อการลดช่องว่างและการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียน การประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดด้านการศึกษา ทำให้อาเซียนมีแนวทางในการขจัดความยากจน รักษาสภาพแวดล้อมและพัฒนาสุขอนามัยได้ตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษการศึกษาเพื่อปวงชนและการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน ทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนของประชาชนอาเซียน

ปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ได้กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นประชาคมที่ประชาชนมีอัตลักษณ์ร่วมกัน และอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีบทบาทสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาหลัก ดังนี้

บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตย การเคารพสิทธิมนุษยชน เป็นต้น • บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ การพัฒนากรอบทักษะ ภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไปสู่การจัดทำกรอบการรับรองทักษะในอาเซียน การสนับสนุนการถ่ายโอนและการเคลื่อนย้ายของนักเรียน นักศึกษาให้มากขึ้น การพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียน การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการค้าและบริการในอาเซียน เป็นต้น• บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม การพัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียน ส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชน กำหนดให้ภาษาประจำชาติอาเซียนเป็นภาษาต่างประเทศที่เป็นวิชาเลือกในโรงเรียน การเฉลิมฉลองวันอาเซียน เป็นต้น

นอกจากนี้ การกำหนดให้อาเซียนมีศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก ทำให้อาเซียนให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาคด้วยการกำหนดเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ การส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ แรงงานใน อาเซียน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศสมาชิกและสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียน ในภาพรวม

ในบริบทของภูมิภาค กฎบัตรอาเซียนและแผน 5 ปีด้านการศึกษาของอาเซียนเป็นแนวทางการพัฒนาอาเซียนในระยะยาว ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญชัดเจน สำหรับประเทศไทย แนวทางการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศ สะท้อนความมุ่งมั่นของชาติในการพัฒนาประเทศ โดยมีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญานำทาง และคำนึงถึงบริบทในการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาค เพื่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และร่วมสร้างอาเซียนให้เป็นประชาคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปันภายในปี 2558

การศึกษามีบทบาทสำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียน โดยการศึกษาเป็นกลไกในการปลูกฝังค่านิยม แนวความคิด ความเข้าใจกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของอาเซียนและเศรษฐกิจโลก โดยในแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม อาเซียน (ASCC Blueprint) ได้กำหนดให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นเป้าหมายสำคัญอันดับแรกในการเสริมสร้างวิถีชีวิตที่ดีของประชากรในภูมิภาค ด้วยการให้ความสำคัญกับการศึกษาและการสร้างโอกาสทางการศึกษา การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากร มนุษย์และการเรียนรู้ตลอดชีวิต การส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม การส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์

กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน ดังนี้
1) การให้ความสำคัญกับการศึกษา โดยรณรงค์ให้ประชากรทุกคนอ่าน ออกเขียนได้ ลดอัตราการไม่รู้หนังสือ เปิดโอกาสอย่างเท่าเทียม และส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนทางไกล การศึกษานอกระบบ การเรียนจากศูนย์การเรียนชุมชน (Community Learning Centres - CLCs) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยใช้สื่อเทคโนโลยี สื่อมัลติมีเดีย และสื่อการศึกษาในรูปแบบต่างๆ
นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำหลักสูตรมาตรฐาน อาเซียน (ASEAN Curriculum) สำหรับช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.6) ช่วงชั้นที่ 2 (ม.1-ม.3) และ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.4-ม.6) ซึ่งมีกรอบการเรียนรู้ 5 ประเด็นหลัก คือ ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน (Knowing ASEAN) การเล็งเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์และความหลากหลาย (Valuing Identity and Diversity) การเชื่อมโยงโลกและท้องถิ่น (Connecting Global and Local) การส่งเสริมความเสมอภาคและความยุติธรรม (Promoting Equity and Justice) การทำงานร่วมกันเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน (Working Together for a Sustainable Future) โดยกำหนดใน 7 สาขาวิชา ได้แก่ ประวัติศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ จริยศึกษา ภาษาและวรรณกรรม ศิลปะ พลศึกษา และเทคโนโลยีด้านการศึกษา รวมถึงเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในทุกระดับการศึกษาเพื่อรองรับการถ่าย โอนหน่วยการเรียน การส่งเสริมโครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน นักศึกษา และการให้ทุน การศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน
2) การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยส่งเสริมการสอนภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียน นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษาและประชาชน การพัฒนาครูซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งประเทศไทยมีเครือข่ายความร่วมมือด้านการพัฒนาครูกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน รวมทั้งการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนการสอน
3) การส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม โดยเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอาชีวศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมภายในประเทศ พัฒนากรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อเป็นกลไกและเครื่องมือในการพัฒนากำลังคนให้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน และสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการจัดการศึกษาระหว่างสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และสถาบันเฉพาะทาง
4) การส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยส่งเสริมการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ และสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ในทุกระดับการศึกษา กำหนดสมรรถนะผู้เรียนในด้าน ICT ในแต่ละระดับการศึกษา พัฒนาและยกระดับสถาบันการศึกษาให้มีความสามารถเฉพาะทางด้าน ICT เพื่อผลิตบุคลากรด้าน ICT ให้มีทักษะความเชี่ยวชาญสูง สร้างแรงจูงใจเพื่อเพิ่มศักยภาพแรงงานในการเข้าฝึกอบรมและสอบมาตรฐานวิชาชีพด้าน ICT ที่มีการกำหนดไว้ในระดับสากล พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
5) การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชิงประยุกต์ โดยส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ นัก วิทยาศาสตร์และบุคลากรวิชาชีพทางด้านการวิจัยที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พัฒนาเด็ก เยาวชนและประชาชนให้เข้าถึงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสร้างเครือข่ายการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา

การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาคนเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงาน ของเสาหลักทั้ง 3 เสา ดังนั้น ทิศทางการศึกษาจึงต้องเน้นการเตรียมความพร้อมอย่างเข้มแข็งเพื่อให้เยาวชนและบุคลากรทางการศึกษาสามารถก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างมั่นใจและพร้อมแข่งขันในระดับนานาชาติ ซึ่งนอกจากการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการใน 5 ประเด็นหลักตามข้างต้นที่มีความสอดคล้องกับ ASCC Blue-print แล้ว กระทรวงศึกษาธิการยังได้กำหนดแนวทางและมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย อาทิ การสร้างความตระหนักรู้แก่เยาวชนและประชาชน การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียน การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน สื่อ และหลักสูตรอาเซียน การจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและ ภาษาอาเซียน การจัดกิจกรรมสนับสนุนการศึกษา และการจัดทำสื่อเผยแพร่ รวมทั้งการกำหนดคุณลักษณะเด็กไทยในอาเซียน เป็นต้น

ทั้งนี้ประเด็นสำคัญที่กระทรวงศึกษาธิการได้ผลักดันให้มีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อรองรับผลกระทบจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้แก่
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาความสามารถด้านภาษาอังกฤษ ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (พ.ศ. 2556 – 2565) ได้แก่

• สร้างเสริมและฝึกทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน นักศึกษา ครู ข้าราชการและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ • พัฒนาศักยภาพครู เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ• พัฒนาผลิตและจัดสรรสื่อการสอน สื่อเทคโนโลยีและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแก่สถานศึกษา• สนับสนุนการจัดบรรยากาศกิจกรรมการใช้ภาษาอังกฤษ และแหล่งเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพทั้งในและนอกสถานศึกษา• ส่งเสริมการเรียนการสอน/การอบรมสาขาวิชาต่างๆ ทั้งสายสามัญ และสายอาชีพ ในและนอกระบบเป็นภาษาอังกฤษ• สร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการเรียนการสอนภาษาอังกฤษทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ• กำหนดและประกาศให้ภาษาอังกฤษเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสำเร็จการศึกษาของสถานศึกษา และในการสรรหา บรรจุ แต่งตั้งเลื่อนระดับ ปรับตำแหน่ง รวมถึงการพิจารณาให้รางวัลหรือเงินตอบแทนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ

การส่งเสริมการถ่ายโอนหน่วยการเรียนของเครือข่าย AUN ซึ่งได้ดำเนินโครงการฯ นำร่องในมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกเครือข่ายตั้งแต่ปี 2554 โดยมีหลักสูตรที่เปิดให้นักเรียนเลือกจำนวน 12,270 หลักสูตร ปัจจุบันมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 51 คน จากผู้สมัคร 232 คน และจะขยายจำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเครือข่าย นอกจากนี้มีการส่งเสริมให้นักศึกษาไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์และศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อสร้างโอกาสให้นักศึกษาไทยสามารถไปประกอบอาชีพในประเทศต่างๆ ผ่านโครงการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ ด้านวัฒนธรรม และการฝึกอบรมต่างๆ
การศึกษากฎระเบียบและเงื่อนไขการลงทุนในสาขาการศึกษา เพื่อการลงทุนและการขยายธุรกิจของคนไทยในต่างประเทศ รวมทั้งการศึกษาข้อได้เปรียบเสียเปรียบ และปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับการเปิดเสรีบริการด้านการศึกษา เพื่อรองรับการลงทุนในสาขาการศึกษาในไทยของชาวต่างชาติและการเคลื่อนย้ายครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาของภูมิภาค รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพ นักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรองรับการเปิดเสรีด้านการศึกษา
การยกระดับมาตรฐานการอาชีวศึกษา โดยการพัฒนาหลักสูตรตามมาตรฐานฝีมือแรงงานให้มีขีดความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพอาเซียน ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดทำตำแหน่งงานต่างๆ ใน กลุ่มอุตสาหกรรม 33 สาขางาน รวมทั้งสิ้น 224 ตำแหน่งงาน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ละอาชีพ เพื่อยกระดับฝีมือแรงงาน ให้มีความรู้ความสามารถและทักษะที่สูงขึ้นกว่าเดิม ให้สอดคล้องกับ AEC Blueprint
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (กลุ่มเด็กและเยาวชน) โดยมีการศึกษาวิเคราะห์ความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงานในอาเซียนทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งนอกจากจะใช้เป็นทิศทางในการผลิต นักเรียนนักศึกษาที่มีคุณภาพตามความต้องการของตลาดแรงงานแล้ว ยังเป็นแรงจูงใจให้เยาวชนสนใจศึกษาต่อในสายเทคนิคและอาชีวศึกษามากขึ้น เมื่อจบการศึกษาแล้วมีงานทำได้อย่างเร็วและเป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคอาเซียน

บทสรุป

การเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 จะส่งผลกระทบด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมทั้งเชิงบวกและลบ ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือในเชิงสร้างสรรค์และ การแข่งขันกันเองในระหว่างประเทศสมาชิกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่ประเทศไทยจะต้องเร่งดำเนินการก็คือการเตรียมพร้อมของพลเมืองไทยที่จะก้าวเข้าไปยืนอยู่ใน ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกได้อย่างสง่างาม ซึ่งจะสามารถทำได้ด้วยการตั้งมั่นและพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะทักษะที่มีความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขององค์ ความรู้ต่างๆ ที่จะนำไปสู่การแข่งขัน กลยุทธ์ในการสร้างสรรค์ความร่วมมือ ตลอดจนเรื่องของภาษาต่างๆ ซึ่งไม่เพียงแต่เน้นเรื่องของภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่พลเมืองรุ่นใหม่ ที่ยืนหยัดในประชาคมโลกได้อย่างเข้มแข็งควรจะต้องมีความรู้ในเชิงภาษาไม่ต่ำกว่า 3 ภาษา เพื่อให้พลเมืองของไทยอยู่ในประชาคมอาเซียนได้อย่างมีศักยภาพที่ได้มาตรฐาน พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ และสามารถเป็นพลเมืองอาเซียนที่มีคุณภาพได้อย่างสมบูรณ์แบบ

AEC: ผลต่อภาคเอกชนไทย

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

AFTA: ความสำเร็จครั้งสำคัญของอาเซียน

อาเซียนได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2510 และมีการลงนามในความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (ASEAN PTA) มาตั้งแต่ปี 2520 แต่การลงนามในความตกลงดังกล่าวไม่ได้มีผลต่อการขยายการค้าภายในอาเซียนมากนัก อาเซียนได้พยายามศึกษาหาแนวทาง และมาตรการที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันโดยใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff: CEPT) สำหรับสินค้าของอาเซียน โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2535 ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของไทย โดยท่านอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ได้ผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนให้มีความคืบหน้าโดยริเริ่มให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ขึ้นเมื่อปี 2535 ตามกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)]

ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งได้ร่วมก่อตั้ง AFTA ขึ้นในขณะนั้นมีเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาภายหลังอาเซียนได้ขยายจำนวนสมาชิกเป็น 10 ประเทศ โดยเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เป็นสมาชิกลำดับที่ 8 และ 9 ในปี 2540 และกัมพูชา เป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ในปี 2542 และนับเป็นก้าวสำคัญที่ไทยได้มีบทบาทเชื่อมโยงประเทศที่ตั้งอยู่บนภาคพื้นทวีปและหมู่เกาะทั้งหมด ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลาง และทำให้อาเซียนเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งของโลก ซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 600 ล้านคน

ต่อมา ด้วยสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ทำให้อาเซียนต้องเผชิญความท้าทายใหม่ๆ เช่น ภาวะโลกร้อน โรคระบาด อาชญากรรมข้ามชาติ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่สามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะจีนและอินเดีย เพราะประเทศเหล่านี้มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด ดังนั้นประเทศสมาชิกจึงเห็นตรงกันว่าการมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพในการร่วมมือกับปัญหาและความท้าทาย ตลอดจนเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและอำนาจต่อรองให้กับประเทศสมาชิก ผู้นำอาเซียนได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียนฉบับที่ 2 เพื่อประกาศจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดย สนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมืออย่างรอบด้าน ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้

  • ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community: APSC)
  • ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)
  • ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนมีวัตถุประสงค์หลักที่จะทำให้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนอยู่อย่างสันติสุข มุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมือง และความมั่นคงเพื่อเสริมสร้างและคงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค และสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวจึงได้มีแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนโดยเน้น 3 ประการ คือ

  1. ใช้เอกสารทางการเมืองและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักยภาพ ในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทภายในภูมิภาค รวมทั้งการต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบ ค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่นๆ และการขจัดอาวุธที่มีอานุภาพ ทำลายล้างสูง
  2. ริเริ่มกลไกใหม่ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคง และกำหนดรูปแบบใหม่ สำหรับความร่วมมือในด้านนี้ ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดมาตรฐานการป้องกันการเกิดข้อพิพาท การแก้ไขข้อพิพาท และการส่งเสริมสันติภาพภายหลังจากการเกิดข้อพิพาท
  3. ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล ซึ่งอาเซียนยังไม่มีความ ร่วมมือด้านนี้

ทั้งนี้ความร่วมมือข้างต้นจะไม่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศและความร่วมมือทางทหารของประเทศสมาชิกกับประเทศนอกภูมิภาค นอกจากนี้ย้งเพิ่มเติมเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก กำหนดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น ASEAN+3 ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศและองค์การระหว่างประเทศ

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนมุ่งหวังในการเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทร มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียนและมีความมั่นคงทางสังคม (social security) โดยเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ

1) การพัฒนาสังคม โดยการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่อาศัยในถิ่นทุรกันดาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มต่างๆ ในสังคม

2) การพัฒนาการฝึกอบรม การศึกษาระดับพื้นฐานและสูงกว่าการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างงานและการคุ้มครองทางสังคม

3) การส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่น โรคเอดส์ และโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง

4) การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

5) การส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิด และศิลปินในภูมิภาค

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ภายหลังที่การดำเนินการไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA ได้บรรลุเป้าหมายในปี 2546 อาเซียนยังคงให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้ง ที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ณ ประเทศกัมพูชา ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC) ในระยะแรกเริ่ม เพื่อดำเนินการตามมติดังกล่าวของผู้นำอาเซียน รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ได้เห็นชอบให้มีการจัดจ้างบริษัท McKinsey ศึกษาการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน (ASEAN Competitiveness Study) ซึ่งผลการศึกษาได้เสนอแนะให้อาเซียนเร่งรัดการรวมกลุ่มในสาขาอุตสาหกรรม/บริการที่มีศักยภาพของอาเซียน โดยเฉพาะอุตสาหกรรม ด้านสินค้าอุปโภค/บริโภคซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่อาเซียนมีการค้าระหว่างกันสูงสุด และ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกสูงสุดของอาเซียน ในขณะเดียวกันอาเซียนต้องปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในของอาเซียนให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกำหนดวัตถุประสงค์ตามวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดย

1) มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ การลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี ค.ศ. 2020

2) มุ่งที่จะจัดตั้งให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวและเป็นฐานการผลิต โดยจะริเริ่มกลไกและมาตรการใหม่ๆ ในการปฏิบัติตามข้อริเริ่มทางเศรษฐกิจที่มีอยู่แล้ว

3) ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน (กัมพูชา ลาว พม่า และ เวี ยดนาม หรื อCLMV) เพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนาและช่วยให้ ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

4) ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาค ตลาดเงิน และตลาดทุน การประกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม กรอบความร่วมมือด้านกฎหมาย การพัฒนาความร่วมมือด้านการเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดย การยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือ

แนวทางดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การเป็น AEC

นอกจากการดำเนินการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้าบริการและการลงทุนระหว่างกันตามกรอบความร่วมมือต่างๆ ที่มีอยู่เดิม เช่น การเร่งลดภาษีสินค้าระหว่างกันให้เหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2553 สำหรับสมาชิกเดิม และปี 2558 สำหรับสมาชิกใหม่ภายใต้กรอบอาฟตา การยกเลิกข้อจำกัดการประกอบการด้านการค้าบริการในอาเซียน ภายในปี 2563 ภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าบริการอาเซียน (AFAS) การเปิดให้มีการลงทุนเสรีในอาเซียนและการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติต่อนักลงทุนอาเซียนภายใน ปี 2553 ภายใต้เขตการลงทุนเสรีอาเซียน (AIA) เป็นต้น แล้ว อาเซียนได้ตกลงที่จะการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้าและการค้าบริการให้เร็วขึ้นกว่ากำหนดการเดิมในสาขามีสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา ต่อมาได้เพิ่มสาขาที่ 12 คือสาขาโลจิสติกส์ เพื่อเป็นการนำร่องและส่งเสริมการ outsourcing หรือการผลิตสินค้าโดยใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตภายในอาเซียน ซึ่งเป็นไปตามแผนการดำเนินการเพื่อมุ่งไปสู่การเป็น AEC และได้มอบหมายให้ประเทศต่างๆ ทำหน้าที่รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานหลัก (Country Coordinators) ดังนี้

  • พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร (Agro-based products) และสาขาประมง (Fisheries)
  • มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง (Rubber-based products) และสาขา สิ่งทอ (Textiles and Apparels)
  • อินโดนีเซีย สาขายานยนต์ (Automotives) และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้ (Wood-based products)
  • ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics)
  • สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) และสาขาสุขภาพ (Healthcare)
  • ไทย สาขาการท่องเที่ยว (Tourism) และสาขาการบิน (Air Travel)
  • เวียดนาม สาขาโลจิสติกส์ (Logistic)

ซึ่งการที่ไทยได้รับเป็นประเทศผู้ประสานงานหลักในสาขาการท่องเที่ยวและการบินนั้นสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวและการบินในภูมิภาคนี้

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในตลาดโลก เนื่องจากส่งเสริมให้เกิดการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศ สมาชิกที่ลึกซึ้งและกว้างขวางมากขึ้นทั้งในด้านสินค้า การค้าบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงาน รวมถึงความร่วมมือในด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการ ลงทุนเพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ โดยมี AEC Blueprint หรือพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นแผนงาน ซึ่งเป็นตัวกำหนดทิศทางการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจต่างๆ และเพื่อสร้างพันธสัญญา ระหว่างประเทศสมาชิกที่จะดำเนินการไปสู่เป้าหมายร่วมกัน ซึ่ง AEC ถือว่าเป็นเสาหลัก ที่มีความก้าวหน้าค่อนข้างมาก เพราะมีฐานมาจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างแนบแน่นของประเทศสมาชิกโดยผ่านกรอบว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน กรอบความตกลง ด้านการค้าบริการในอาเซียน และกรอบว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญของการสร้างประชาคมเศรษฐกิจประกอบด้วย 6

1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market and Production Base) จะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการการลงทุนและแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีและการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการ ผลิตสินค้าและบริการที่สามารถขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจเต็มศักยภาพอย่างมีดุลยภาพ และเป็นการเพิ่มพูนขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในเศรษฐกิจโลก

2) การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง (Competitive Economic Region) จะให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายอื่นๆ ที่จะช่วย ส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การขนส่งโครงสร้างพื้นฐาน สารสนเทศพลังงานเหมืองแร่ และการสนับสนุนด้านการเงิน

3) การเป็นภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน (Equitable Economic Development) เพื่อลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิก โดยสนับสนุนการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ เช่น IAI (Initiative for ASEAN Integration) และ ASEAN-help-ASEAN Programs เป็นต้น

4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Integration into the Global Economy) เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (Dialogue Partners) ต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในการผลิต

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในAEC

1) การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี: เพื่อการยกเลิกอุปสรรคทางการค้า ทั้งด้านภาษีและที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับกฎ ระเบียบ และมาตรการทางการค้าต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น ด้านมาตรฐานและการรับรอง กฎระเบียบด้านเทคนิค พิธีการศุลกากร สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phyto-sanitary: SPS) เป็นต้น โดยสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และสิงคโปร์) จะต้องยกเลิกภาษีนำเข้าระหว่างกันให้หมดไปภายใน 1 มกราคม 2553 ในขณะที่สมาชิกอาเซียนใหม่ (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ได้รับความยืดหยุ่นให้เป็น ภายใน 1 มกราคม 2558 ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวและอ่อนไหวสูง ที่แต่ละประเทศกำหนดไว้ ภาษียังไม่เป็น 0% สำหรับอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-tariff Barriers: NTBs) กำหนดให้มีการยกเลิกเป็นระยะๆ โดยสมาชิกอาเซียน 5 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย) จะต้องยกเลิก NTBs ให้หมดไปภายใน 1 มกราคม 2553 ฟิลิปปินส์ ภายใน 1 มกราคม 2555 และ CLMV ภายใน 1 มกราคม 2558

2) การเคลื่อนย้ายบริการเสรี: เพื่อลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดในด้าน ต่างๆ และเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นให้กับบุคคล/นิติบุคคลสัญชาติอาเซียนสาหรับทุกสาขา บริการและทุกรูปแบบ (mode) ของการให้บริการ โดยกำหนดให้สมาชิกอาเซียนทยอยเปิดตลาดบริการให้แก่กันเป็นระยะๆ และเปิดตลาดในระดับที่สูงขึ้นจากการเจรจาจัดทำข้อ ผูกพันการเปิดตลาดเป็นรอบๆ โดยมีเป้าหมายให้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในสาขาบริการสำคัญ (Priority Integration Sectors: PIS) ได้แก่ ICT สุขภาพ ท่องเที่ยว การบิน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ภายในปี 2553 สาขาโลจิสติกส์ภายในปี 2556 และสาขาอื่นๆ ภายในปี 2558

3) การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี: ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านบริการของอาเซียนโดยผ่านการจัดทำข้อตกลงการยอมรับร่วม (Mutual Recognition Arrangements: MRA) อาเซียนได้สรุปผลการจัดทำ MRA และลงนามโดยรัฐมนตรีอาเซียนแล้ว 7 สาขาวิชาชีพ (วิศวกรรม พยาบาล สถาปัตยกรรม การสำรวจ บัญชี แพทย์ และทันตแพทย์) เพื่อให้มีการยอมรับร่วมในการรับรองคุณสมบัติวิชาชีพของแต่ละฝ่ายโดยสอดคล้องกับกฎระเบียบและเงื่อนไขต่างๆ ภายในประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายผู้ให้บริการสาขาวิชาชีพในภูมิภาคในอนาคต อาเซียนอาจพิจารณาเริ่มการเจรจา MRA ในสาขาวิชาชีพอื่นต่อไป

4) การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี: เพื่อให้อาเซียนสามารถเป็นฐานการลงทุน โดยปรับปรุงนโยบายการลงทุนให้เสรีและเปิดกว้างมากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนและเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมในโลกที่มีการแข่งขันเพิ่มขึ้น

5) การเคลื่อนย้ายเงินทุนที่เสรีขึ้น: การรวมตัวของตลาดเงินและตลาด ทุนเพื่ออำนวยความสะดวกการค้าการลงทุนและการเคลื่อนย้ายเงินทุนในภูมิภาคเพิ่มขึ้น

6) ความร่วมมือรายสาขาอื่นๆ ครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านเกษตร อาหาร และป่าไม้ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน (การคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน) ความร่วมมือด้านเหมืองแร่ พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ความร่วมมือด้านการเงิน ความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และการพัฒนาเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (IAI)

7) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก: เป็นศูนย์กลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาค และการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานโลก ผ่านการจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรี/ความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ ใกล้ชิดกับประเทศ/กลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ ซึ่งที่ผ่านมาได้จัดทำไปแล้วกับ 6 ประเทศ ใน 5 กรอบ ได้แก่ อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลี อาเซียน-อินเดีย และ อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

เป็นที่คาดกันว่า AEC อาจเข้ามามีบทบาทในการเพิ่มความร่วมมือของ ประเทศสมาชิกในการขจัดมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Measures : NTMs) หรือมาตรการทางเทคนิคบางอย่างที่เป็นอุปสรรคต่อการค้า และการอำนวยความสะดวกในการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า

ที่ผ่านมาได้มีการประเมินผลการดำเนินการไปสู่ AEC พบว่ามีความคืบหน้ามากในด้านการลดภาษีศุลกากร โดยกลุ่มอาเซียนเดิมมีอัตราภาษีเฉลี่ยร้อยละ 0.5 ส่วน ในกลุ่ม CLMV มีอัตราภาษีเฉลี่ยร้อยละ 2.6 และไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีด้านการค้าบริการมากเป็นอันดับ 2 ในอาเซียนรองจากเวียดนาม นอกจากนี้ อาเซียนจะ ได้ประโยชน์มากขึ้นหากมีการเจรจากับคู่เจรจาทั้งในกรอบ ASEAN+3 และ ASEAN+6 อย่างไรก็ตาม อาเซียนควรจะปรับเปลี่ยนกฎหมายและกฎระเบียบอย่างเหมาะสม เพื่อที่จะได้รับประโยชน์จาก AEC อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในมาตรการที่ภาคเอกชนให้ความสนใจ ได้แก่ กระบวนการด้านศุลกากร การปรับประสานด้านมาตรฐานสินค้า การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกต่อการลงทุน การขนส่งและสร้างความเชื่อมโยงภายในภูมิภาค และกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ซึ่งขณะนี้ประเทศสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศได้เริ่มโครงการนำร่องระบบดังกล่าวแล้ว คือ บรูไนฯ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย ลาว และฟิลิปปินส์

ภาครัฐต้องให้การสนับสนุนเอกชนในการสู้ศึก AEC

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนกล่าวในหัวข้อ “ASEAN as and Engine of Economic Growth” ว่า ความท้าทายของธุรกิจไทยคือการร่วมมือกันในหลายเรื่องเพื่อรักษาความน่าสนใจและการดึงดูดให้เป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างประเทศ เหมือนที่เคยเป็นมา เช่น การเปิดตลาดทางการค้าระหว่างกัน การลงทุนข้ามประเทศ การเคลื่อนย้ายเงินลงทุน...>>> อ่านต่อที่นี่

ข้อมูลเศรษฐกิจของไทยกับอาเซียน

- นโยบายด้านเศรษฐกิจการค้าของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน

1. ประเทศไทย

แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ

มาตรา 83 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำ เนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการดำเนินการและการขับเคลื่อนแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การศึกษา การประกอบอาชีพ และการทำธุรกิจ โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

1. พัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตเกษตรกร2. พัฒนาเด็กวัยเรียนให้มีวิถีชีวิตพอเพียง3. พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน4. สร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับภาคส่วนต่าง ๆ   4.1 สร้างความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ภาคชุมชนท้องถิ่น และภาคประชาชน   4.2 สร้างความร่วมมือกับวุฒิอาสาธนาคารสมองและภาคีการพัฒนาอื่น ๆ เพื่อการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในมิติต่าง ๆ

มาตรา 84 รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจดังต่อไปนี้ >>> อ่านต่อที่นี่


- โอกาสทางการตลาดและการดำเนินธุรกิจของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน

1. ประเทศไทย

จากการวิเคราะห์ถึงศักยภาพของประเทศไทย พบว่ามีจุดแข็งที่สำคัญได้แก่ 1. ประเทศไทยมีแรงงานที่มีทักษะฝีมือเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ 2. มีวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีศักยภาพ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ และมีผลผลิตที่หลากหลาย เช่น ข้าว ยางพารา อ้อย ผักและผลไม้สด เป็นต้น 3. มีที่ตั้งเหมาะสมในด้าน การเป็นศูนย์กลางภูมิภาค ทำให้มีข้อได้เปรียบหลายด้าน โดยเฉพาะการขนส่ง และ 4. การคมนาคมขนส่งทั้งทางบกและทางอากาศครอบคลุมและรองรับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนจุดอ่อนที่สำคัญมี 5 ข้อ ได้แก่ >>>อ่านต่อที่นี่


- การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของแต่ละประเทศในอาเซียน

หลังอาเซียนปรับลดภาษีไทยยังอยู่ในระดับต้นๆ ของการส่งออกสินค้าอุตฯ ในตลาดอาเซียน

สถานการณ์การส่งออกหลังปรับลดภาษีของประเทศในกลุ่มอาเซียน สิงคโปร์เป็นผู้นำส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด รองลงมาเป็นอินโดนีเซีย ส่วนไทยยังอยู่ในระดับแนวหน้าของการขยายตัว

ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การแข่งขันด้านสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดอาเซียนหลังอาเซียนปรับลดภาษี สิงคโปร์ยังคงมีส่วนแบ่งตลาดสินค้าอุตสาหกรรมในอาเซียนมากที่สุด แต่อินโดนีเซียมีอัตราการขยายตัวของส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองลงมา คือ ฟิลิปปินส์และไทย ตามลำดับ และในปี 2556 (ม.ค.-ก.ย.) สิงคโปร์ยังคงมีส่วนแบ่งตลาดสินค้าอุตสาหกรรมมากที่สุดในอาเซียน แต่ไทยเป็นประเทศเดียวที่มีอัตราการขยายตัวของส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 และเมื่อพิจารณาการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของแต่ละประเทศในอาเซียน เป็นดังนี้ >>>อ่านต่อที่นี่

งานวิจัย

ข่าวกิจกรรม

ภาพกิจกรรม

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

ประเทศไทยได้รับหน้าที่ในการเป็นผู้ประสานงานการรวมกลุ่มสาขาทางเศรษฐกิจประเภทใด

ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC. 1. ขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า จาการยกเลิกอุปสรรคภาษีและที่มิใช่ภาษีจะเปิดโอกาสให้สินค้า เคลื่อนย้ายเสรี

ประเทศใดเป็นผู้รับผิดชอบและเป็นผู้ประสานงานหลักในการเปิดเสรีการผลิตภัณฑ์การเกษตรและสาขาการประมง

โดยมีการแบ่งประเทศผู้รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานหลัก (Country Coordinators) ตามความสามารถ และความโดดเด่นแต่ละประเทศ รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลง และพีธีสารที่เกี่ยวข้องระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 10 โดยมีประเทศสมาชิกรับผิดชอบในแต่ละสาขา คือ - ประเทศพม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร และสาขาประมง

ประเทศใดในอาเซียนมีหน้าที่รับผิดชอบประสานงานหลักด้านผลิตภัณฑ์ประมง

มาเลเซีย – ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม เมียนมาร์ – ผลิตภัณฑ์เกษตรและประมง

ประเทศผู้ประสานงานหลักในสาขาโลจิสติกส์คือประเทศใด

- เวียดนาม สาขาโลจิสติกส์ (Logistic) การ ที่ไทยได้รับเป็นประเทศผู้ประสานงานหลักในสาขาการท่องเที่ยวและการบินนั้น สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของการท่อง เที่ยวและการบินในภูมิภาคนี้ ขอบคุณข้อมูลจาก: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ last update 25-jul-12.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้