ลัทธิจักรวรรดินิยม ผลกระทบ

จักรวรรดินิยมคือนโยบาย ปฏิบัติการ หรือการสนับสนุนให้มีการขยายอำนาจและการควบคุมไปสู่ภายนอก ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา นี่คือสิ่งที่รัฐ (ประเทศ) กระทำด้วยการยืดดินแดนโดยตรง หรือด้วยการได้มาซึ่งอำนาจควบคุมทางการเมืองและเศรษฐกิจของพื้นที่อื่น ๆ เพื่อขูดรีดทรัพยากรกลับไปยังศูนย์กลางของจักรวรรดิ ยกตัวอย่างเช่น การที่อังกฤษมีอำนาจควบคุมอาณานิคมอินเดียทำให้อังกฤษสามารถรีดเค้นความมั่งคั่งของอินเดียและส่งกลับไปยังอังกฤษได้ ปฏิบัติการดังกล่าวทำให้พลังอำนาจของระบบทุนนิยมแผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางในศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มาร์กซ์ได้เขียน Das Kapital ขึ้น

จักรวรรดินิยมของทุกวันนี้ได้พัฒนาขึ้นจากปฏิบัติการทางประวัติศาสตร์ที่มีรากฐานมาจากลัทธิล่าอาณานิคม ทุกวันนี้เราจะเห็นตัวอย่างได้จากบริษัทเหมืองแร่ของอังกฤษที่ดำเนินกิจการในอินเดียและส่งผลกำไรกลับไปยังอังกฤษ ซึ่งไม่เหมือนเมื่อ 100 ปีก่อน การจะทำความเข้าใจจักรวรรดินิยม เราจำเป็นต้องใช้กรอบคิดทางการเมืองและเศรษฐกิจที่มองลึกลงไปอย่างถึงรากถึงโคน เช่น กรอบคิดแบบมาร์กซิสต์ (Marxism) ในทำนองเดียวกัน หากเราจะทำความเข้าใจระบบทุนนิยมในศตวรรษที่ 21 เราจำเป็นต้องเข้าใจลัทธิจักรวรรดินิยมด้วย จากมุมมองแบบมาร์กซิสต์ การต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมและการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมได้ก่อตัวขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ที่กว้างขวางยิ่งกว่า นั่นก็คือการต่อสู้ต่อต้านระบบทุนนิยมโลก

ลัทธิล่าอาณานิคม

ยุคที่ลัทธิอาณานิคมเฟื่องฟูอยู่ในประมาณช่วงปี ค.ศ. 1700 – 1950 ลัทธิล่าอาณานิคมขึ้นสู่จุดสูงสุดเมื่อราว ๆ ปี ค.ศ. 1900 ในช่วงเวลาดังกล่าว คาดการณ์กันว่า ประชากรโลกประมาณ 70 % อยู่ภายใต้อำนาจควบคุมของจักรวรรดิอังกฤษ ภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศส 10 % ภายใต้การควบคุมของดัตช์ 9% และภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น 4%

จักรวรรดิถูกบริหารจัดการ (ปกครอง) โดยสั่งการจากสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นแผ่นดินแม่ การปกครองดังกล่าวเป็นไปได้ก็ด้วยพันธมิตรที่แน่นแฟ้นระหว่างรัฐกับทุนนิยม ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลอังกฤษปกครองอาณาเขตทางกายภาพ เช่น อินเดียและกานา พร้อม ๆ กับที่บริษัทอังกฤษประสานงานขูดรีดทรัพยากร (สินค้า) โดยการขูดรีดแรงงานจากอาณาเขตเหล่านั้น รัฐบาลอังกฤษจะหักภาษีจากสินค้าเหล่านั้นเพื่อใช้เป็นทุนในการบริหารจัดการและการขยายจักรวรรดิต่อไป ในระบบอาณานิคมนี้ เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าทุนนิยมและจักรวรรดินิยมเกี่ยวพันกันอย่างไร และทั้งคู่ต่างก็สนับสนุนและให้ความชอบธรรมซึ่งกันและกันอย่างไรบ้าง

เราดูตัวอย่างได้จากพัฒนาการของการล่าอาณานิคมอินเดีย:

ขั้นตอนที่ 1

คนงานชาวนาในอินเดียผลิตผ้าไหมให้เจ้าที่ดินศักดินาของพวกเขา →

พ่อค้าชาวอังกฤษเดินทางไปอินเดียเพื่อซื้อผ้าไหมจากเจ้าที่ดินศักดินาชาวอินเดีย→

พ่อค้าเดินทางกลับไปยังอังกฤษเพื่อขายผ้าไหม

*ใน ขั้นตอนที่ 1 เจ้าที่ดินศักดินาอินเดียก็รีดเค้นผลกำไรจากกระบวนการดังกล่าวเช่นกัน*

ขั้นตอนที่ 2

รัฐอังกฤษทำการขับไล่เจ้าที่ดินศักดินาชาวอินเดีย →

ที่ดินถูกแจกจ่าย ปล่อยเช่า หรือขายให้กับพ่อค้าชาวอังกฤษ →

ตอนนี้ คนงานชาวนาในอินเดียผลิตผ้าไหมให้พ่อค้าชาวอังกฤษ →

พ่อค้าส่งออกผ้าไหมกลับไปขายที่อังกฤษ →

ผลกำไรจากกระบวนการดังกล่าวจะถูกหักภาษีโดยรัฐอังกฤษ →

รัฐเอื้ออำนวยเปิดพรมแดนใหม่ ๆ ให้กับทุนต่อไป

ลัทธิล่าอาณานิคมผู้ตั้งถิ่นฐาน

จักรวรรดิอาณานิคมหลายรายไม่ได้แค่ใช้อำนาจบังคับอาณาบริเวณอื่น ๆ ผ่านการปกครองแบบอาณานิคมทางไกลเท่านั้น แต่ยังส่งคนของพวกเขาไป “ตั้งถิ่นฐาน” (settle the land) และขับไล่ชนพื้นเมืองเดิมออกโดยยึดที่ดินมาเป็นของตัวเองอีกด้วย สิ่งนี้เห็นได้ชัดในสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และแคนาดา บ่อยครั้งก็มีการใช้แรงงานทาสในพื้นที่อาณานิคมแบบตั้งถิ่นฐานดังกล่าวด้วย ประเทศเหล่านี้ในปัจจุบัน ถูกครอบงำโดยกลุ่มคนที่ไม่ใช่ชนพื้นเมือง (ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยุโรป) ในขณะที่ชนพื้นเมือง เช่น ชนพื้นเมืองอเมริกัน ถูกขับไล่ และถูกพรากสิทธิ์พรากเสียงไปจนหมด หรือแม้แต่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยเหล่าผู้ตั้งถิ่นฐาน 

เศรษฐกิจหลังยุคอาณานิคม

นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา ประเทศใต้อาณานิคมหลายแห่งเริ่มจัดตั้งขบวนการปลดแอกเพื่อปลดปล่อยตัวเองจากการกดขี่ของเหล่าจักรวรรดิยุโรป หลังจากแรงกดดันท่วมท้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การปฏิวัติก็ปะทุขึ้นไปทั่วทั้งเอเชีย แอฟริกา แคริบเบียน และลาตินอเมริกา ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 อดีตประเทศใต้อาณานิคมส่วนใหญ่ได้ปลดแอกตัวเองสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ขบวนการปลดแอกได้ล้มล้างโครงสร้างการปกครองของอาณานิคมลง ระบบการขูดรีดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในระดับโลกส่วนมากก็ยังคงดำรงอยู่ นั่นก็ด้วยการผงาดขึ้นมาของสหรัฐฯ ในฐานะ “ผู้นำของโลกตะวันตก” (leader of the western world)

การครอบงำทางเศรษฐกิจที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องนี้เป็นไปได้ก็ด้วยการชักนำขบวนการเรียกร้องเอกราชโดยอดีตมหาอำนาจอาณานิคม โดยปกติแล้ว ขบวนการปลดปล่อยชนพื้นเมืองสุดขั้วจะจัดตั้งและปลุกปั่นเพื่อเรียกร้องอิสรภาพอย่างเต็มรูปแบบ ในขณะเดียวกัน เจ้าอาณานิคมจะต่อรองอิสรภาพดังกล่าวกับกลุ่มที่แข็งข้อน้อยกว่าภายในประเทศนั้น ๆ เพื่อให้มั่นใจว่า สินทรัพย์และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะยังคงอยู่ภายหลังจากการปลดปล่อย สิ่งนี้เห็นได้ชัดตั้งแต่มาเลเซียไปจนถึงแซมเบีย

เหล่าอดีตประเทศใต้อาณานิคมที่ต้องการปลดแอกตัวเอง ต่างพากันจัดตั้งรัฐบาลสังคมนิยมและเข้ากุมบังเหียนเศรษฐกิจของประเทศตัวเอง และไล่บริษัทตะวันตกออกไป ในภายหลังประเทศเหล่านี้ถูกเอาคืนอย่างรุนแรง คาดการณ์กันว่า สหรัฐฯ มีส่วนพัวพันในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองอย่างน้อย 81 ครั้งในต่างประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 ถึง ค.ศ. 2000 อดีตจักรวรรดิอาณานิคมอื่น ๆ เช่น สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ต่างก็มีส่วนเกี่ยวข้องในการกดขี่ทั่วโลกไม่แพ้กัน 

ตัวอย่างล่าสุดเกิดขึ้นในโบลิเวีย ที่ซึ่งพรรคสังคมนิยมได้รับเลือกตั้งและตั้งใจจะทำเหมืองลิเทียมให้กลายมาเป็นกิจการของรัฐ (nationalise) ซึ่งเป็นหนึ่งในทรัพยากรที่ถูกขูดรีดอยู่เรื่อยมา สิ่งนี้จะป้องกันไม่ให้บริษัทต่างชาติเข้ามารีดเค้นผลกำไรจากการขุดเหมืองข้ามทวีปได้ กลับกัน ผลกำไรจะไปตกอยู่ที่รัฐบาลโบลิเวียแทน ซึ่งจะนำมาใช้จ่ายเป็นสวัสดิการและโครงการทางสังคมของพวกเขาเอง ลิเทียมเป็นสินค้าสำคัญในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตแบตเตอรี่ ดังนั้นหากชาวโบลิเวียสามารถควบคุมแหล่งอุปทานลิเทียมได้ พวกเขาก็จะสามารถขึ้นราคาและป้องกันเศรษฐกิจตัวเองจากสหรัฐอเมริกาได้ ในปี ค.ศ. 2019 สหรัฐอเมริกาสนับสนุนการทำรัฐประหารในโบลิเวีย ขับไล่รัฐบาลสังคมนิยมที่มาจากการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตย และแทนที่ด้วยรัฐบาลอนุรักษ์นิยมขวาจัด ซึ่งไม่เป็นที่ชอบพอของประชาชนอย่างมาก

โครงสร้างอาณานิคมในยุคหลังอาณานิคม

แม้ว่าบางครั้งประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาจะใช้ทหารเข้าแทรกแซงโดยบุกรุกประเทศใดประเทศหนึ่งเพื่อขัดขวางการปลดปล่อยทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น เช่นการรุกรานเวียดนาม ทว่าบ่อยครั้งก็มีการจัดวางกลไกทางเศรษฐกิจและทางการทูตที่ซับซ้อนขึ้นมาเพื่อการันตีว่า การถ่ายโอนความมั่งคั่งจากอดีตประเทศใต้อาณานิคมในซีกโลกใต้ไปสู่อดีตจักรวรรดิและรัฐอาณานิคมผู้ตั้งถิ่นฐานในซีกโลกเหนือจะดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง

สถาบันอย่างธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กระทำการต่าง ๆ เพื่อการันตีว่า กฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งจะถูกทุกประเทศนำไปปฏิบัติใช้ ซึ่งเป็นไปในทางบีบบังคับอย่างไม่มีทางเลือก โดยทั่วไปแล้วนี่หมายถึงการเปิดตลาดในประเทศให้บริษัทต่างชาติเข้ามาและปล่อยให้มีการขูดรีด เช่น การตั้งโรงงานนรกและการรีดเค้นทรัพยากรออกไปจำนวนมาก หากแข็งข้อไม่ทำตามสถาบันเหล่านี้ก็อาจโดนคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ เหมือนในคิวบาและเวเนซุเอลาที่ถูกห้ามนำเข้าและส่งออกสินค้าบางประเภท กีดกันพวกเขาออกจากส่วนอื่น ๆ ของโลก และทำให้ประชาชนของสองประเทศนี้ขาดแคลนทรัพยากรอย่างหนัก

ปฏิบัติการฉกฉวยอีกอย่างหนึ่งก็คือหนี้ระหว่างประเทศ โดยในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น ตลาดล่ม สถาบันอย่าง IMF จะเข้ามาปล่อยกู้แก่ประเทศที่กำลังประสบวิกฤต ทว่าเงินกู้เหล่านี้ก็มาพร้อมเงื่อนไขที่เข้มงวด เช่น ต้องแปรรูปกิจการของรัฐให้กลายมาเป็นของเอกชน (privatisation) หรือต้องทำลายรัฐสวัสดิการภายในประเทศ และต้องเปิดเศรษฐกิจในประเทศให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปขูดรีดได้ รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ถูกบีบให้ต้องยอมรับเงินกู้เหล่านี้เนื่องจากพวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางเศรษฐกิจโลกรูปแบบดังกล่าว ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังคงบังคับใช้โดยอดีตมหาอำนาจอาณานิคม

อำนาจอ่อน

จักรวรรดินิยมยังบริหารจัดการตามโมเดลอำนาจอ่อนอีกด้วย นั่นก็คือ เมื่อนโยบายที่ไม่ใช่เชิงรุก (non-aggressive) หรือกระแสสังคมเป็นไปในทางที่สนับสนุนโครงการจักรวรรดินิยมไม่ว่าพวกเขาจะตระหนักรู้หรือไม่ก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น สหราชอาณาจักรยืนกรานให้ผู้บริหารจัดการพื้นถิ่นในเขตใต้อาณานิคมของตนพูดภาษาอังกฤษและประพฤติปฏิบัติเหมือนคนอังกฤษ สิ่งนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม “การทำให้ชนพื้นเมืองมีความเป็นอารยะ” (civilising the natives) นโยบายแนวนี้มีเชื้อไขแยกย่อยออกมาอีกมากมายในปัจจุบัน เช่น การที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง (lingua franca) ของโลกอย่างชัดเจน ซึ่งเอื้ออำนวยให้แก่อำนาจนำของสื่อตะวันตก วงการวิชาการ วิถีชีวิต และปรัชญา ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือไม่ สิ่งนี้ได้ส่งเสริมแนวความคิดที่ว่า ตะวันตกคือ ผู้นำแห่งอารยธรรม กระทั่งเป็นธรรมเนียมของคนไทยที่จะใช้ชื่อฝรั่งเมื่อไปต่างประเทศเพื่อให้ดูมีอารยะมากขึ้น

เมื่อสังเกตจากวัฒนธรรม ในภาพยนตร์อย่าง Top Gun หรือหนังของค่าย Marvel เราจะเห็นค่านิยมแบบทุนนิยมสุดขั้ว แสดงออกมาผ่านมุมมองตะวันตกซึ่งนับวันยิ่งเข้นข้นขึ้นเรื่อย ๆ เช่น แนวคิดปัจเจกนิยม (individualism) ความเป็นลำดับขั้น (hierarchies) ลัทธิทหาร (militarism) ความเป็นผู้ประกอบการ (entrepreneurship) ฯลฯ บ่อยครั้ง ตัวละครจักรวรรดินิยมร่วมสมัยเหล่านี้ เช่น ซูเปอร์ฮีโร่ ฮีโร่บู๊ล้างผลาญ หรือแม้แต่ทหารสหรัฐฯ ที่ปรากฏตัวออกมาโต้ง ๆ ถูกวาดภาพดั่งผู้พิทักษ์โลกที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา แต่เป็นสิ่งที่รับใช้ผลประโยชน์ของระบบทุนนิยมโลกในท้ายที่สุด การใช้อำนาจอ่อนในวิถีทางเช่นนี้แผ่ขยายไปทั่วทั้งวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และภาคประชาสังคม มันคือเหตุผลว่าทำไมค่านิยมของทุนนิยมตะวันตก เช่น เสรีภาพในการพูด จึงถูกทำให้กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ค่านิยมอย่างอิสรภาพจากการเป็นหนี้กลับถูกเพิกเฉย ในที่นี้เราไม่ได้บอกว่า ผู้กำกับฮอลลีวูดเป็นตัวแทนของลัทธิจักรวรรดินิยมที่ตระหนักรู้ในตัวเอง แต่เรากำลังบอกว่า ความสำเร็จของพวกเขาในตลาดวัฒนธรรมโลกเป็นผลโดยตรงจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งก็ทำหน้าที่เสริมความแข็งแกร่งให้แก่จักรวรรดินิยมไปพร้อม ๆ กัน

ลัทธิจักรวรรดินิยมท้องถิ่น

สิ่งสำคัญคือต้องยอมรับว่า จักรวรรดินิยมไม่จำเป็นต้องเป็นโครงสร้างระดับโลกอย่างเดียว ย้อนกลับไปที่คำจำกัดความที่เรากล่าวถึงก่อนหน้านี้ จักรวรรดินิยมคือนโยบาย ปฏิบัติการ หรือการสนับสนุนให้มีการขยายอำนาจและการควบคุมไปสู่ภายนอก สิ่งนี้เกิดขึ้นภายในประเทศเดียวหรืออาณาเขตเดียวก็ได้ เป็นการนำโครงสร้างแบบเดียวกันที่กล่าวถึงข้างต้นมาใช้ เช่น อำนาจควบคุมของกรุงเทพฯ เหนืออีสานหรือปาตานี

กระแสทุนไหลไปยังซีกโลกเหนือ

ในขณะที่มีเศรษฐี มหาเศรษฐี และนายทุนที่ฉ้อฉลมากมายในอดีตประเทศใต้อาณานิคมและซีกโลกใต้ ท้ายที่สุดแล้วหากเราดูที่โครงสร้างทุนโลก จะเห็นได้ชัดเจนว่า สุดท้ายความมั่งคั่งก็ยังคงมุ่งหน้าไปยังอดีตเจ้าอาณานิคมและผู้รับช่วงต่อของประเทศเหล่านั้นในซีกโลกเหนือ ตัวอย่างเช่น ภาคบริการทางการเงินขนาดใหญ่และธนาคารของสหราชอาณาจักรซึ่งคุ้มกันทุนโลกเอาไว้มหาศาล เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นซากเดนของจักรวรรดิที่ยังคงไม่ได้ตายจากไปไหน เป็นสิ่งที่ประกอบขึ้นมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังคงมีอยู่ทั่วโลกทุกวันนี้

ผลของแนวคิดจักรวรรดินิยมมีอะไรบ้าง

ลัทธิจักรวรรดินิยม มีผลกระทบต่อการเมือง การปกครองของประเทศต่างๆ มีดังนี้ 1 ทำให้ชาติมหาอำนาจขัดแย้งในผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ส่งผลให้บรรยากาศทางการเมืองของโลกเข้าสู่ภาวะตึงเครียด และนำไปสู่สงครามในที่สุด

การตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

การเกิดรัฐสมัยใหม่ที่ประกอบด้วยประชากร ดินแดน บุคคลและอำนาจอธิปไตย.
การเกิดสถาบันการเมืองแบบตะวันตก คือรัฐบาลกลาง ทำหน้าที่บริหารราชการตามแบบวิธีการสมัยใหม่แทน วิธีการแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์.
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ... .
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม.

ข้อใดคือหลักการสําคัญของจักรวรรดินิยม

การเข้าไปสร้างความเจริญให้แก่ดินแดนที่ด้อยกว่า การแสดงอำนาจของชาติโดยไปยึดครองดินแดนอื่น การเข้าควบคุมทรัพยากรและแรงงานของดินแดนอื่น

ลัทธิจักรวรรดินิยมมีความหมายว่าอย่างไร

ลัทธิจักรวรรดินิยม (อังกฤษ: Imperialism) คือ นโยบายขยายอำนาจในการเข้าควบคุมหรือมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือดินแดนต่างชาติ อันเป็นวิถีทางเพื่อการได้มาและ/หรือการรักษาจักรวรรดิให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ทั้งจากการขยายอำนาจเข้ายึดครองดินแดน โดยตรง และจากการเข้าคุมอำนาจทางอ้อมในด้านการเมือง และ/หรือทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ บางคนใช้ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้