โรคความดัน หาย ได้ ไม่ ใช้ ยา

ความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนสูงอายุ มักไม่แสดงอาการ แต่สร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดและหัวใจอย่างมาก ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเรื้อรังอื่นๆเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด เป็นต้น

แชร์

ภาวะความดันโลหิตสูง 

ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบบ่อย บางรายอาจมีภาวะดังกล่าวนานหลายปีโดยไม่แสดงอาการ อย่างไรก็ตามแม้จะไม่แสดงอาการ แต่สร้างความเสียหายต่อหลอดเลือดและหัวใจ ซึ่งสามารถตรวจพบความเสียหายเหล่านี้ได้ ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพเรื้อรังอื่น ๆ เช่น หัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้ ภาวะความดันโลหิตสูงมักจะพัฒนาต่อเนื่องในช่วงหลายปีและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย

ลักษณะอาการของโรคความดันโลหิตสูง

โดยทั่วไปภาวะความดันโลหิตสูงมักไม่มีสัญญาณหรืออาการใด  แม้ว่าค่าความดันโลหิตจะอยู่ในระดับที่สูงเกินปกติ บางรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอาจมีอาการปวดศีรษะ หายใจถี่ หรือมีเลือดกำเดาไหล อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักไม่แสดงจนกว่าภาวะความดันโลหิตจะอยู่ในขั้นรุนแรง

เมื่อไหร่จึงควรพบแพทย์ 

ผู้ป่วยจะได้รับการวัดความดันโลหิต ซึ่งเป็นขั้นตอนตามปกติของการนัดพบแพทย์ทุกครั้ง ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงหรือมีปัจจัยเสี่ยงบางประการในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมักได้รับคำแนะนำให้วัดค่าความดันโลหิตเป็นประจำ อย่างสม่ำเมสมอ สำหรับเด็กที่มีอายุ ปีขึ้นไป จะได้รับการวัดความดันโลหิตในการตรวจสุขภาพประจำปี

สาเหตุโรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • ความดันโลหิตสูงชนิด Primary Hypertension ความดันโลหิตสูงประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพัฒนาขึ้นในช่วงหลายปี 
  • ความดันโลหิตสูงชนิด Secondary Hypertension ความดันโลหิตสูงประเภทนี้เกิดจากสภาวะสุขภาพพื้นฐานโดยจะปรากฏขึ้นอย่างกะทันหัน 

อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง อาจประกอบไปด้วยเงื่อนไขทางสุขภาพและยาดังต่อไปนี้ 

  • ปัญหาภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น 
  • โรคไต 
  • เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต 
  • โรคต่อมไทรอยด์ 
  • ความผิดปกติของหลอดเลือด 
  • ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคไข้หวัด ยาลดความอ้วน ยาแก้ปวด และยาอื่นๆ 
  • การใช้สิ่งเสพติดที่ผิดกฎหมาย ตัวอย่างเช่น โคเคนและยาบ้า 

ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

  • อายุ ยิ่งอายุมากขึ้นความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจะสูงมากขึ้น ความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูงในเพศชายมักเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุ 64 ปีขึ้นไป และ 65 ปี ในเพศหญิ
  • เชื้อชาติ ชาวแอฟริกัน – อเมริกัน มักจะมีความดันโลหิตสูงเมื่ออายุมากขึ้นเมื่อเทียบกับคนผิวขาว ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวายหรือไตวา
  • ประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว อีกหนึ่งสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูงมักเกิดการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นผ่านทางพันธุกรรม
  • โรคอ้วน ความดันโลหิตสูงมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เนื่องจากการมีน้ำหนักมากร่างกายก็ยิ่งต้องการเลือดไปเลี้ยงออกซิเจนและสารอาหารมากขึ้น
  • การใช้ชีวิตอยู่ประจำ ผู้ที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมักจะมีอัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าหัวใจทำงานหนักมากขึ้นในการหดตัวแต่ละครั้ง
  • การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่เพิ่มความดันโลหิตชั่วคราวในทันที แต่สารเคมีที่พบในยาสูบสามารถทำให้เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสียหายได้ ซึ่งจะส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบ แคบและมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจ ควันบุหรี่มือสองจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจมากยิ่งขึ้น
  • อาหารที่มีเกลือสูง อาหารที่มีโซเดียมสูงอาจส่งผลให้เกิดการคั่งของของเหลวทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง
  • อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำทำให้ร่างกายเก็บโซเดียมไว้ในเลือดมากเกินไป เนื่องจากโพแทสเซียมทำงานเพื่อปรับสมดุลของปริมาณโซเดียมในร่างกาย
  • การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปสามารถทำลายหัวใจได้เมื่อเวลาผ่านไปและอายุเพิ่มมากขึ้นการที่ผู้หญิงดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าหนึ่งแก้วและผู้ชายดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าสองแก้วต่อวันอาจเป็นอีกสาเหตุหลักของโรคความดันโลหิตสูง
  • ความเครียด ระดับความเครียดสูงอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นชั่วคราว
  • โรคเรื้อรังบางชนิด โรคต่าง ๆ เช่น โรคไตเบาหวาน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับอาจเพิ่มความดันโลหิตสูง
  • การตั้งครรภ์ บางครั้งการตั้งครรภ์อาจเป็นอีกสาเหตุโรคความดันโลหิตสูงได้
ความดันโลหิตสูงมักพบในผู้ใหญ่ แต่ก็สามารถเกิดในเด็กได้เช่นกัน สำหรับเด็กสาเหตุของความดันโลหิตสูงอาจก่อให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับไตหรือหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ การรับประทานอาหารที่ไม่ดี โรคอ้วนและการออกกำลังกายน้อยลง

ภาวะแทรกซ้อน 

ระดับความดันโลหิตสูงและอาการความดันสูงเฉียบพลันขึ้นมักก่อให้เกิดความเสียหายที่มากขึ้นตามไปด้วย ภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างเกิดจากความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีดังต่อไปนี้

  • หัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง 
  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง 
  • หัวใจล้มเหลว 
  • หลอดเลือดในไตแคบลง 
  • หลอดเลือดในดวงตาหนาหรือแคบ 
  • โรคเมตาบอลิก หรือภาวะที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญพลังงาน 
  • ปัญหาเกี่ยวกับความจำหรือความเข้าใจ 
  • โรคสมองเสื่อม

การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง

แพทย์จะวัดความดันโลหิตโดยใช้เครื่องวัดความดัน ความดันโลหิตสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ดังต่อไปนี้ 

  • ความดันปกติ ระดับความดันที่ต่ำกว่า 120/80 มมถือว่าอยู่ในระดับปกติ
  • ความดันสูงเล็กน้อย ความดันโลหิตระหว่าง 120/80 – 129/80 มม.
  • ความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 หากความดันโลหิตอยู่ระหว่าง 130-139/80-89 มมปรอทถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงระยะที่ 1
  • ความดันโลหิตสูงระยะที่หากความดันโลหิตมีค่าเกินกว่า 140/90 ขึ้นไปถือเป็นความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงและถือว่าเป็นความดันโลหิตสูงระยะที่ 2

ทั้งตัวเลขบนและตัวเลขล่างในการอ่านค่าความดันโลหิตมีความสำคัญเท่าเทียมกัน อย่างไรก็ตามหลังจากอายุครบ 50 ปี การอ่านค่าซิสโตลิกระดับบนจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น ภาวะที่เรียกว่าความดันโลหิตสูงแบบแยกตัวเกิดขึ้นเมื่อความดันไดแอสโตลิกเป็นปกติ (เมื่อน้อยกว่า 80 มมปรอทแต่ความดันซิสโตลิกสูง (นี่คือเมื่อตัวเลขเท่ากับ 130 มมปรอทขึ้นไปภาวะนี้พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี 

ในระหว่างการนัดหมายแต่ละครั้ง แพทย์จะอ่านค่าความดันโลหิตสองถึงสามครั้งก่อนที่แพทย์จะเริ่มกระบวนการวินิจฉัย เนื่องจากความดันโลหิตโดยทั่วไปจะแตกต่างกันไปตลอดทั้งวัน แพทย์อาจให้ผู้ป่วยบันทึกความดันโลหิตที่บ้านเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูง 

หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์จะซักประวัติทางการแพทย์ของครอบครัวก่อนตรวจสอบผู้ป่วยโดยการตรวจร่างกาย แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับการทดสอบ ได้แก่ การตรวจปัสสาวะ การตรวจเลือด และการตรวจคอเลสเตอรอล บางครั้งแพทย์จะสั่งให้ทำ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจหาสัญญาณของโรคหัวใจ 

วัดความดันโลหิตที่บ้าน 

ผู้ป่วยควรติดตามระดับความดันโลหิตของตนเองที่บ้าน เนื่องจากจะช่วยตรวจสอบว่าการรักษาได้ผลหรือไม่ อีกทั้งยังเป็นการตรวจสอบว่าอาการของความดันโลหิตสูงแย่ลงหรือไม่ 

หากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตรวมถึงการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการออกกำลังกาย ไม่สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ แพทย์จะสั่งจ่ายยาเพื่อลดความดันโลหิตต่อไป ทั้งนี้เป้าหมายของการรักษามุ่งเน้นที่การรักษาระดับความดันโลหิตให้น้อยกว่า 130/80 มม. สำหรับผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่แข็งแรงและมีอายุ 65 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี แต่มีความเสี่ยงสูงกว่าร้อยละ 10 ที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดภายในสิบปี รวมถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต เบาหวาน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ

กลุ่มยาใช้สำหรับรักษาความดันโลหิตสูง 

  • ยาขับปัสสาวะกลุ่มไธอะไซด์ไดยูเรติก 
  • ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE inhibitors  
  • ยากลุ่ม angiotensin-II receptor antagonists 
  • ยาต้านแคลเซียม 

ยาเพิ่มเติมที่แพทย์สามารถสั่งเพื่อรักษาความดันโลหิตสูง 

  • กลุ่มยาต้านอัลฟา 
  • กลุ่มยาต้านอัลฟ่าเบต้า 
  • กลุ่มยาต้านเบต้า 
  • แอลโดสเตอร์โรน  
  • กลุ่มยาต้านเรนิน 
  • ยาขยายหลอดเลือด 
  • ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง

สภาวะที่ไม่สามารถควบคุมให้ระดับความดันโลหิตลงมาตํ่าได้ 

ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมให้ลดต่ำได้เกิดขึ้นเมื่อความดันโลหิตยังคงสูงมากแม้จะใช้ยา 3 ชนิดที่แตกต่างกันเพื่อรักษาความดันโลหิตสูง เช่น ยาขับปัสสาวะ 

ผู้ที่ควบคุมความดันโลหิตสูงซึ่งต้องใช้ยา 4 ชนิดในการรักษาหมายความว่ามีภาวะความดันโลหิตสูงที่ดื้อยา ดังนั้นแพทย์จะตรวจสอบอีกครั้งถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงอื่นๆ ทั้งนี้ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ดื้อยาไม่ได้หมายความว่าจะมีภาวะความดันโลหิตสูงเสมอไป แพทย์จะตรวจหาสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง และหาวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้