ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

หากจะนิยามคำว่า “เด็ก” ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ปี พ.ศ.2546 มาตรา 4 เด็กหมายถึงบุคคลซึ่งอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงบรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Right of Child) 

สิทธิเด็กเป็นสิทธิสากล (Universal Rights) ที่ต้องได้การรับรองและคุ้มครอง ด้วยจุดมุ่งหมายมิใช่เพื่อเรียกร้องสิทธิเด็ก แต่เพื่อการพัฒนาเด็กทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ให้เจริญเติบโตรอบด้านอย่างเต็มศักยภาพและไม่เลือกปฏิบัติ ด้วยการร่วมมือกันในทุกสถาบันทั่วโลก

ปัจจุบันการละเมิดสิทธิเด็กมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งในสังคมไทย ซึ่งนับวันยิ่งรุนแรงขึ้นและมีการละเมิดในรูปแบบใหม่มากขึ้น จนเป็นภาพที่ชินตาในสังคม ส่งผลให้เด็กใช้ชีวิตอยู่บนความหวาดระแวง แม้แต่คนรอบข้างก็ “ไว้ใจไม่ได้”  จึงทำให้เรารู้ว่าโลกนี้มีความโหดร้ายและทารุณต่อเด็กเต็มไปหมดซึ่งขัดต่อสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กควรจะได้รับ

ปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กเป็นปัญหาใหญ่ที่เรื้อรังมาอย่างยาวนาน แต่สังคมไทยแทบไม่ให้ความสนใจกับปัญหาเหล่านี้ เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิเด็กว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนและได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ อีกทั้งยังได้รับการปกป้อง คุ้มครองภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ได้รับการยอมรับจากภาคีสมาชิกถึง 195 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่เป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับนี้ด้วย

 

มาดูกันว่าลักษณะในการละเมิดสิทธิเด็กที่เห็นกันบ่อยเป็นอย่างไรและอะไรคือสิ่งที่เด็กควรจะได้รับตามสิทธิขั้นพื้นฐานตามที่กล่าวมาข้างต้น

 

ลักษณะในการละเมิดสิทธิเด็กที่เห็นกันบ่อย

การละเมิดทางด้านร่างกายและจิตใจ

 

จากรายงานประจำปี Ending Violence in Childhood ที่จัดทำขึ้นโดย Know Violence in Childhood ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่เคลื่อนไหวเรื่องการใช้ความรุนแรงต่อเด็ก  รายงานนี้ระบุว่า เด็กและเยาวชน 1,700 ล้านคน จากจำนวนเด็กและเยาวชนทั่วโลก ตกเป็นเหยื่อหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงทุก ๆ ปี รวมถึงการรังแก กลั่นแกล้ง การต่อสู้ การทารุณกรรม และความรุนแรงทางเพศ รวมทั้งการลงโทษทางร่างกายทั้งในบ้านและในสถานศึกษา

สำหรับประเทศไทย พบว่าเด็ก 56% หรือนับเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งของประชากรเด็กอายุระหว่าง 1-18 ปี ถูกทำโทษด้วยการทำร้ายร่างกายและการล่วงละเมิดทางเพศ มีข้อมูลจากศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน เปิดเผยว่าในปี พ.ศ.2556-2562 มีทั้งหมด 1,186 กรณี มี 482 กรณีที่บุคคลอื่นกระทำทารุณกับเด็ก ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมากที่สุด บุคคลอื่นในที่นี้ยังรวมไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้ความรุนแรงต่อเด็ก รองลงมาเป็นกรณีเด็กกระทำกับเด็กด้วยกัน 464 กรณี  คนในครอบครัวทำกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ของเด็กหรือแม้แต่ญาติผู้ใหญ่ที่ฝากเลี้ยง 135 กรณี สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เด็กถูกทารุณกรรม สาเหตุแรก ตัวพ่อแม่เด็ก เช่น พ่อแม่ที่มีอายุน้อยไม่พร้อมมีลูกทำให้มีปัญหาในครอบครัว สภาพจิตใจไม่ปกติ ทำให้ไม่รักและใส่ใจลูกเท่าที่ควร และสุดท้ายเมื่อมีปัญหาก็หันไปใช้กำลังกับลูก สาเหตุต่อมาคือเกิดจากตัวเด็กเองเช่น เด็กเลี้ยงยากหรือซนก็จะทำให้ผู้ปกครองไม่พอใจลงมือทำร้ายร่างกายเด็กและสาเหตุสุดท้าย เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่บีบบังคับ เช่น ครอบครัวยากจน ขาดเสาหลักค้ำจุนครอบครัว ทำให้เกิดความเครียดและหันไประบายกับลูก และมี 105 กรณีที่ครูหรือบุคลากรการศึกษากระทำกับเด็ก 

การใช้ความรุนแรงกับเด็กทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในการเจริญเติบโตของเด็ก ทำให้มีพัฒนาการที่ผิดปกติ ขาดสารอาหารและทำให้เด็กรู้สึกขาดความมั่นคงทางด้านจิตใจ หวาดระแวง ซึมเศร้า และไม่กล้าเข้าสังคม อาจนำไปสู่การใช้สารเสพติด คิดทำร้ายผู้อื่นและท้ายที่สุดเด็กอาจจะคิดฆ่าตัวตายได้ 

 

การละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก

 

เสรีภาพในการแสดงออก เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นในการที่จะส่งเสริมความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์และถือเป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในสังคมประชาธิปไตย เพราะเสรีภาพดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญในการแลกเปลี่ยนซึ่งความคิดเห็นอันนำไปสู่การพัฒนาสังคมการเมือง และนำมาซึ่งการปกป้องสิทธิและเสรีภาพของประชาชนและสังคมโดยรวม อีกทั้ง ยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมที่ดี เสรีภาพในการพูด (Freedom of Speech) หรือเสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Expression) ถือเป็นสิทธิมนุษยชนตามกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศทั้งนี้เสรีภาพในการแสดงออกยังครอบคลุมไปถึงการแสดงออกของเด็กที่ระบุไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Right of the Child) ข้อที่ 13 ที่ให้รับรองเสรีภาพในการแสดงออกของเด็ก ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยให้ความมั่นใจว่าจะดำเนินการเพื่อให้เด็กๆได้เข้าถึงสิทธิที่พวกเขาพึงมี ซึ่งรวมถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมและการแสดงความคิดเห็นโดยได้รับการรับฟัง 

แต่ในปัจจุบันการแสดงออกของเด็กได้ถูกปิดกั้นประหนึ่งกับการเอากุญแจล็อคปิดปาก กุญแจที่ว่านี้มี 2 ประเภทด้วยกัน คือ 

ค่านิยม : กุญแจประเภทนี้มักเป็นประเภทที่ผู้ใหญ่ใช้อ้างในการที่เด็กแสดงออกทางความคิดเห็นหรือแสดงท่าทางที่ไม่ถูกใจผู้ใหญ่ ด้วยค่านิยมที่ว่า “เป็นเด็กควรเคารพผู้ใหญ่” หรือ “ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน” ซึ่งผู้เขียนไม่ได้หมายความว่าค่านิยมนี้ผิด ทว่าบริบทการใช้ค่านิยมผิดๆ ต่างหากที่ทำให้ใครบางคนได้ทำการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของเด็กโดยไม่รู้ตัว อันเป็นการปลูกฝังที่ทำให้เด็กไม่มีความกล้าแสดงออก

อำนาจนิยม : กระแสอำนาจนิยมมีมานานและกดทับสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกของเด็ก เป็นปัญหาที่ถูกทำให้เป็นความเคยชินที่เด็กต้องเผชิญ ในปัจจุบันท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความคิดและการตื่นตัวในการแสดงออกเพื่อการเรียกร้องสิทธิของเด็กและเยาวชนทำให้เด็กเริ่มมีพื้นที่ให้แสดงออกและสะท้อนอำนาจที่กดทับในสถาบันต่างๆ ทางสังคมมากขึ้น ส่งผลให้เห็นปัญหาของอำนาจนิยมที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของเด็ก ดังนี้ 

  • อำนาจนิยมในสถาบันครอบครัว: ซึ่งมักจะแสดงให้เห็นในรูปแบบของบุญคุณที่ต้องทดแทน ในที่นี้ผู้เขียนไม่ได้หมายความว่าการตอบแทนบุญคุณเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่ทว่าการใช้ค่านิยมที่ผิดๆ ต่างหาก ที่ไปจำกัดสิทธิ เสรีภาพและโอกาสที่เด็กควรจะได้รับ เช่น สิทธิที่จะเลือกศึกษาวิชาชีพ ซึ่งในบางกรณีพ่อแม่มักจะใช้อำนาจในการที่จะบังคับลูกให้ศึกษาวิชาชีพตามที่ตนคิดว่าดีและอยากให้ลูกประกอบวิชาชีพนั้นๆ โดยไม่คำนึงถึงความถนัด พัฒนาการ และความสบายใจในการศึกษาของลูกซึ่งเป็นการนำไปสู่ภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นต่อเด็ก และอาจนำไปสู่การหลุดออกจากระบบการศึกษาได้ 

  • อำนาจนิยมในสถานศึกษา : ระบบการศึกษาไทยในปัจจุบันทำหน้าที่อย่างน้อยสองอย่าง คือ ให้ความรู้และการขัดเกลาทางสังคม (socialization) ซึ่งอำนาจนิยมในสถานศึกษามักจะเจอในรูปแบบของการการขัดเกลาทางสังคมเพราะระบบการศึกษาไทยให้น้ำหนักต่อการขัดเกลาทางสังคมมากกว่าความรู้ ซึ่งการขัดเกลาทางสังคมรูปแบบที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการปลูกฝังให้เชื่อฟังผู้มีอำนาจโดยปราศจากการตั้งคำถาม ทำให้เด็กไม่สามารถใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น ได้อย่างอย่างเต็มที่

  • อำนาจนิยมในสังคม : ปัจจุบัน อำนาจนิยมในสังคมไทยที่เห็นได้ชัดเจน คือ อำนาจนิยมทางชนชั้น ไม่ว่าจะเป็นนายจ้างหรือตัวรัฐเอง ทั้งนี้ อำนาจนิยมที่เป็นปัญหาในการจำกัดสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกทางสังคมของเด็ก โดยเฉพาะการแสดงออกทางการเมือง มักจะเกิดจากรัฐ โดยที่รัฐใช้กฎหมายเพื่อปิดกั้นการแสดงออกทางการเมือง จากการเก็บข้อมูลของผู้เขียนที่ได้จากการสังเกตการณ์การชุมนุมผ่านการเป็นอาสาสมัครของเว็บไซต์ม็อบดาต้าไทยแลนด์ (Mob Data Thailand) ที่พัฒนาขึ้นโดย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย และโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ต่อการจัดการชุมนุมหรือเข้าร่วมการชุมนุมของนักเรียนนักศึกษาในช่วงปลายปีพ.ศ.2563 ถึงต้นปี พ.ศ.2564 ซึ่งหลายครั้งการสลายการชุมนุมที่เกิดขึ้นมีเด็กอยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมากและมีเด็กได้รับบาดเจ็บจากการสลายการชุมนุม เช่นได้รับบาดเจ็บจากกระสุนยาง แก๊สน้ำตา และการใช้กำลังในการจับกุม อีกทั้งยังมีการใช้คดีที่มีโทษสูงต่อเด็กที่แสดงออกทางการเมืองไม่ต่ำกว่า 33 คน 34 คดี ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคดีอาญาเช่น คดีมาตรา 112 โดยมีเด็กที่ถูกกล่าวหาด้วยคดีนี้ไม่ต่ำกว่า 5 คน 6 คดี มาตรา 116 จำนวน 1 คน คดีความผิดฐานฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินและคดีอื่นๆอีกหลายคดี  

 

จากที่ผู้เขียนได้นำเสนอให้เห็นรูปแบบของการใช้ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิของเด็กดังที่กล่าวมาข้างต้น แล้วอะไรกันคือสิทธิขั้นพื้นฐานที่เด็กควรจะได้รับ

อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กมุ่งคุ้มครองสิทธิ 4 ประการ ดังนี้


สิทธิที่จะมีชีวิตรอด

 

เริ่มตั้งแต่เมื่อแรกเกิด เด็กๆ มีสิทธิที่จะมีชีวิตรอด ได้รับการจดทะเบียนเกิด มีสิทธิที่จะมีชื่อ ได้สัญชาติ และได้รับการเลี้ยงดูจากบิดามารดาของตน ไม่ถูกแยกจากครอบครัว เว้นแต่ในกรณีที่หน่วยงานที่มีอำนาจ ซึ่งอาจถูกทบทวนโดยทางศาลจะกำหนดตามกฎหมายและวิธีพิจารณาที่ใช้บังคับอยู่ว่า การแยกเช่นว่านี้จำเป็นเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของเด็ก การกำหนดเช่นว่านี้อาจจำเป็นในกรณีเฉพาะ เช่น ในกรณีที่เด็กถูกกระทำโดยมิชอบ หรือถูกทอดทิ้งละเลยโดยบิดามารดา หรือในกรณีที่บิดามารดาอยู่แยกกันและต้องมีการตัดสินว่าเด็กจะอาศัยอยู่ที่ใด รวมทั้งได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสม โดยรัฐมีหน้าที่ต้องประกันสิทธิต่างๆ เหล่านี้ ทั้งทางด้านสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน อาหารที่ถูกสุขลักษณะตามหลักโภชนาการ มีน้ำดื่มที่สะอาด สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อที่จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไป


สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง

 

เมื่อเด็กมีชีวิตรอดแล้ว สิทธิที่ควรจะได้รับต่อไปคือสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากความรุนแรงทุกรูปแบบทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ รัฐต้องประกันการคุ้มครองจากการแสวงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และจากการทำงานใดที่จะเป็นการเสี่ยงอันตราย หรือที่ขัดขวางการศึกษาของเด็ก เป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือการพัฒนาทางร่างกาย สมอง จิตใจ ศีลธรรมและสังคมของเด็กรวมถึงการคุ้มครองเด็กจากการใช้ยาเสพติดหรือสารที่มีพิษต่อจิตประสาทอื่นๆ  ป้องกันการใช้แรงงานเด็กและการค้ามนุษย์และการลวงละเมิดทางเพศของเด็กโดยถือเอาศักดิ์ศรีและประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสิ่งสำคัญ

ในแง่ของกระบวนการยุติธรรมจะต้องไม่มีเด็กคนใดได้รับการทรมาน หรือถูกปฏิบัติ หรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี จะต้องไม่มีการลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต จะต้องไม่มีเด็กที่ถูกลิดดรอนเสรีภาพโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือโดยพลการ การจับกุม กักขังหรือจำคุกเด็กจะต้องเป็นไปตามกฎหมาย และจะใช้เป็นมาตรการสุดท้ายเท่านั้น และให้มีระยะเวลาที่สั้นที่สุด เด็กทุกคนที่ถูกลิดรอนเสรีภาพจะได้รับการปฏิบัติตามหลักสากลที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของเด็กเป็นลำดับแรกด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และในลักษณะที่คำนึงถึงความต้องการของบุคคลในวัยนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กทุกคนที่ถูกลิดรอนเสรีภาพจะต้องถูกแยกต่างหากจากผู้ใหญ่และมีสิทธิที่จะขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย หรือทางอื่นที่เหมาะสมโดยทันที และจะต้องถือประโยชน์ของเด็กเป็นสิ่งสำคัญ  รัฐต้องประกันการคุ้มครองดูแลอย่างเหมาะสม โดยไม่เลือกปฏิบัติตามภูมิหลังทางชาติพันธุ์ ภาษา ศาสนาและวัฒนธรรมของเด็ก  ในภาวะสงคราม เด็กๆ ต้องได้รับการคุ้มครองจากภัยสงคราม ไม่ถูกเกณฑ์เป็นทหาร หรือมีส่วนร่วมในการสู้รบ ในกรณีที่เด็กเป็นผู้ลี้ภัย จะต้องได้รับการช่วยเหลือ และได้รับการปกป้องคุ้มครองเป็นกรณีพิเศษ

 

สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา

 

การศึกษาและพัฒนาการเป็นอีกเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ เริ่มตั้งแต่ที่เด็กๆ จะต้องได้รับบริการพัฒนาปฐมวัย และได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ รัฐต้องประกันสิทธิของเด็กที่จะได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน  ต้องมีจัดการศึกษาระดับประถมเป็นภาคบังคับที่เด็กทุกคนสามารถเรียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สนับสนุนการพัฒนาของการศึกษาระดับมัธยมในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการศึกษาสายสามัญและสายอาชีพ จัดการศึกษาให้แพร่หลายและเปิดกว้างแก่เด็กทุกคน และดำเนินมาตรการที่เหมาะสม ทั้งการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการแนะแนวทางการศึกษาและอาชีพ ซึ่งรัฐต้องดำเนินมาตรการที่เหมาะสมที่จะประกันว่า ระเบียบวินัยของโรงเรียนได้กำหนดขึ้นในลักษณะที่สอดคล้องกับศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของเด็ก  

 

สิทธิที่จะมีส่วนร่วม

 

เด็กทุกคนก็คือมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกับผู้ใหญ่ ถึงแม้จะตัวเล็กไปหน่อย อายุน้อยกว่าผู้ใหญ่แต่เด็กทุกคนก็มีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีในสังคม โดยเฉพาะเรื่องที่ส่งผลกระทบและประโยชน์ต่อตัวเด็กเอง ซึ่งรัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครอง ประกันสิทธิและเอื้ออำนวยต่อการแสดงออกของเด็ก รวมไปถึงการชุมนุมอย่างสงบ รัฐไม่มีอำนาจที่จะจำกัดสิทธิในการแสดงออกของเด็กโดยไม่ชอบด้วยเหตุผลและข้อละเว้นของกฎหมายตามความเหมาะสม

มาถึงจุดนี้แล้วคุณเข้าใจสิทธิเด็กดีแค่ไหน หากเข้าใจหรือยังเข้าใจไม่แจ่มแจ้งให้ระลึกไว้เสมอว่า เด็กทุกคนกว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ต้องการการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป ร่างกายเติบโตได้เพราะอาหารฉันใด จิตใจที่จะเจริญงอกงามได้ ย่อมต้องการความรักความเข้าใจจากคนรอบข้างฉันนั้น ไม่มีเด็กคนใดที่ไม่อยากเป็นที่รักของคนอื่น เด็กๆ จะทำทุกอย่างเพื่อให้คนรอบข้างรักเขา การปฏิบัติของคนรอบข้างต่อเขาทั้งด้านบวกและลบต่างหากที่จะค่อยๆ หล่อหลอมให้เขาเป็นบุคคลอย่างที่เขาเป็นอยู่และไม่มีเด็กคนใดที่ไม่อยากมีอนาคตที่ดีและสดใส ทุกคนล้วนอยากประสบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นการเคารพสิทธิเด็กถือเป็นการช่วยกันสร้างอนาคตที่ดี และเหมาะสมอย่างที่ควรจะเป็นให้กับเด็ก

ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยมีอะไรบ้าง

ปัญหาสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ ได้แก่ มีรายงานการสังหารที่ผิดกฎหมายหรือตามอำเภอใจโดยรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล, การทรมานและเหตุการณ์การปฏิบัติหรือลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือทำลายศักดิ์ศรีโดยเจ้าหน้าที่ของทางการ, การจับกุมและคุมขังโดยพลการโดยเจ้าหน้าที่รัฐ, นักโทษการเมือง, การแก้แค้นโดยมีเหตุจูงใจทาง ...

สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย มีอะไรบ้าง

สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย.
3.1 การค้ามนุษย์.
3.2 สิทธิทางการเมือง.
3.3 เสรีภาพสื่อ.
3.4 การใช้กำลังเกินกว่าเหตุของกำลังความมั่นคง.
3.5 สิทธิของผู้ต้องหา.
3.6 สิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ.
3.7 การปฏิบัติต่อทหารเกณฑ์.

สิทธิมนุษยชน มีเรื่องอะไรบ้าง

สิทธิเด่น ๆ ที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สิทธิต่อชีวิต เสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล การศึกษา เสรีภาพทาง ความคิด มโนธรรมและศาสนา เสรีภาพแห่งความคิดเห็น การแสดงออก การมีงานท า การ แสวงหาและได้รับการลี้ภัย ในประเทศอื่น (เป็นต้น) วันแห่งสิทธิมนุษยชนโลกตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม

ข้อใดเป็นสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลของคนไทย

เสรีภาพในการนับถือศาสนา ประชาชนจะเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง เสรีภาพทางการเมือง ประชาชนมีเสรีภาพในการรวมตัวการตั้งพรรคการเมืองตามระบบประชาธิปไตย เสรีภาพของสื่อมวลชน สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสนอข่าวสาร ได้อย่างอิสระ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้