การพัฒนา มนุษย์ ตามหลักเศรษฐกิจ พอ เพียง

รายงานการพัฒนาคนระดับโลก ถูกจัดทำและเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี 2533 ด้วยแนวความคิดที่ต้องการสื่อให้คนทั่วโลกได้ตะหนักว่า การพัฒนาคนมีความสำคัญมากกว่าการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของรายได้ประชาชาติ เนื่องจาก คนคือความมั่งคั่งที่แท้จริงของชาติ การพัฒนาจึงหมายถึงการขยายทางเลือกให้คนได้มีชีวิตในแบบที่ตนให้คุณค่า ซึ่งมีความหมายมากกว่าการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ แม้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจจะเป็นวิธีการที่สำคัญประการหนึ่งในการขยายโอกาสให้คนได้มีทางเลือกมากขึ้นก็ตาม

จนถึงขณะนี้ ได้มีการจัดทำรายงานการพัฒนาคนระดับประเทศมาแล้วมากกว่า 400 ฉบับใน 135 ประเทศทั่วโลก รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทยฉบับใหม่นี้ เป็นการมองปัญหาและแนวทางการจัดการที่มีความโดดเด่นต่างจากแนวทางที่เคยมีมาในอดีต โดยได้นำเสนอแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งนับเป็นความพยายามครั้งแรกที่ได้มีการนำเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตลอดจนแนวทางการประยุกต์ใช้เผยแพร่ต่อผู้คนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ในทัศนะของ UNDP ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อโลกในยุคปัจจุบัน ที่มีความผันผวนทางเศรษฐกิจสูง มีปัญหาเกี่ยวกับความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและภาวะโลกร้อนซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเสนอแนวทางสำหรับการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่โลกกำลังมองหาเพื่อทดแทนแนวทางการพัฒนาแบบไม่ยั่งยืนอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้

เศรษฐกิจพอเพียงให้ความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและมั่นคงมากกว่าการเติบโตแบบรวดเร็วที่ปราศจากการควบคุม สิ่งสำคัญคือการบริหารเศรษฐกิจด้วยความรอบคอบและการเข้าสู่การค้าแบบตลาดเสรีอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะเดียวกัน ต้องสร้างความเข้มแข็งในสังคมเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบด้านลบจากโลกาภิวัตน์

ในรายงานการพัฒนาคนของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติฉบับนี้ ระบุว่า ทั้งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาคน ต่างให้ความสำคัญต่อความเป็นมนุษย์ เน้นความอยู่ดีมีสุขมากกว่าความร่ำรวย โดยมีเรื่องความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญ และเห็นตรงกันว่าต้องให้ความสำคัญต่อเรื่องความมั่นคงของมนุษย์และการส่งเสริมให้ทุกคนในสังคมสามารถที่จะพัฒนาได้เต็มที่ตามศักยภาพของตน แต่ที่โดดเด่นมากไปกว่านั้น ก็คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังเพิ่มมิติการพัฒนาด้านพื้นฐานจิตใจและคุณธรรมของคน เพิ่มเติมจากดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index - HAI) ที่ประกอบไปด้วย 22 องค์ประกอบ และ 40 ตัวชี้วัด โดยแบ่งการพิจารณาออกเป็น 8 ด้านตามขั้นการเจริญเติบโตของคน เริ่มจากสุขภาพ ตามด้วยกิจกรรมที่สำคัญที่สุดในวัยเด็กคือ การศึกษา จนเข้าสู่วัยทำงานเพื่อการสร้างรายได้อย่างเพียงพอสำหรับการเลี้ยงชีพและมีบ้านอยู่อาศัย เข้าสู่การมีชีวิตครอบครัวและชุมชน มีการคมนาคมและการสื่อสาร ตลอดจนการมีส่วนร่วมในสังคม

เมื่อพิจารณาโครงสร้างดัชนีความก้าวหน้าของคนทั้ง 8 ด้านมาแสดงในเชิงเหตุและผลภายใต้มุมมองคุณลักษณะและเงื่อนไขในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีผลลัพธ์เป็นความสมดุล ความยั่งยืน และการพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง จะปรากฏเป็นผังความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในดัชนีความก้าวหน้าของคนตามแผนภาพ

แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในดัชนีความก้าวหน้าของคน


จากแผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในดัชนีความก้าวหน้าของคน จะเห็นว่าองค์ประกอบในดัชนีความก้าวหน้าของคนเกือบทั้งหมดเน้นที่การพัฒนาภายนอกตัวคน เป็นการพัฒนาทางพฤติกรรมที่ปรากฏอยู่ในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในด้านการทำงาน ด้านรายได้ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม และบางส่วนในด้านสุขภาพทางกาย ซึ่งจัดว่าเป็นการพัฒนาในทางกายภาพ ในขณะที่ด้านชีวิตครอบครัวและชุมชน ด้านคมนาคมและการสื่อสาร และด้านการมีส่วนร่วม จัดว่าเป็นการพัฒนาในทางสังคมของคน

สำหรับการพัฒนาในทางปัญญา ปรากฏอยู่ในองค์ประกอบดัชนีความก้าวหน้าของคนภายใต้ด้านการศึกษาเพียงครึ่งเดียว คือ ความรู้เพื่อใช้ในการทำงานหารายได้หรือเป็นความรู้ในวิชาชีพ แต่ความรู้ในวิชาชีวิตหรือความรู้เพื่อใช้ในการทำงานทางจิตใจ ยังไม่เป็นที่ปรากฏในองค์ประกอบดัชนีความก้าวหน้าของคน ในขณะที่การพัฒนาในทางจิตใจ องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องเพียงส่วนเสี้ยว คือด้านสุขภาพ โดยมีตัวชี้วัดหนึ่งที่กล่าวถึงจำนวนผู้ป่วยโรคเครียด โรคจิต ประสาท ซึ่งกล่าวกันตามจริงแล้ว ก็จัดว่ายังไม่อยู่ในข่ายของการบ่งชี้ถึงการพัฒนาทางจิตใจที่แท้ได้

เมื่อเปรียบเทียบกับเงื่อนไขในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อันได้แก่ เงื่อนไขด้านความรู้ ซึ่งประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ การใช้สติและปัญญาในการดำเนินชีวิต กับเงื่อนไขด้านคุณธรรม ซึ่งประกอบด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน มีความเพียร ความรอบคอบระมัดระวังที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน จะเห็นว่าดัชนีความก้าวหน้าของคนยังสามารถที่จะพัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยการเพิ่มเติมส่วนประกอบที่ขาดหายไป ซึ่งจากแผนภาพจะปรากฏอย่างชัดเจนว่า องค์ประกอบด้านสติและปัญญา ควรจะถูกเพิ่มเข้าไว้ในดัชนีความก้าวหน้าของคน ในส่วนที่เป็นการแสวงหาความรู้ในวิชาชีวิตหรือความรู้เพื่อใช้ในการทำงานทางจิตใจ นอกเหนือจากความรู้เพื่อใช้ในการทำงานหารายได้หรือเป็นความรู้ในวิชาชีพ เช่นเดียวกับเงื่อนไขด้านคุณธรรมที่เป็นการพัฒนาในทางจิตใจ ทั้งนี้ เพื่อเป็นฐานของการพัฒนาภายในตัวคน นอกเหนือจากองค์ประกอบที่มีอยู่ในดัชนีความก้าวหน้าของคนที่เน้นการพัฒนาภายนอกตัวคนเป็นส่วนใหญ่

ด้วยการปรับวางระดับการพัฒนาคนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จะทำให้การพัฒนาภายนอกตัวคนตามองค์ประกอบในดัชนีความก้าวหน้าของคน ทั้งในด้านสุขภาพ ด้านการทำงาน ด้านรายได้ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม ซึ่งจัดว่าเป็นการพัฒนาทางกายภาพ และในด้านชีวิตครอบครัวและชุมชน ด้านคมนาคมและการสื่อสาร ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการศึกษา ซึ่งจัดว่าเป็นการพัฒนาทางสังคม มีความสมดุลกับการพัฒนาทางปัญญา (ความรู้) และการพัฒนาทางจิตใจ (คุณธรรม) ซึ่งเป็นการพัฒนาภายในตัวคน อีกทั้งเป็นการเตรียมคนให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านและเป็นหนทางของการพัฒนาคนให้เต็มคนอย่างยั่งยืน

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร

การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การพัฒนาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงควรเป็นอย่างไร

การนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้นั้น ขั้นแรก ต้องยึดหลัก "พึ่งตนเอง" คือ พยายามพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในแต่ละครอบครัวมีการบริหารจัดการอย่างพอดี ประหยัดไม่ฟุ่มเฟือย สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต้องรู้จักตนเอง เช่น ข้อมูล รายรับ-รายจ่าย ในครอบครัวของตนเอง สามารถรักษาระดับการใช้จ่ายของตน ไม่ให้เป็นหนี้ และรู้จักดึงศักยภาพในตัวเองใน ...

เศรษฐกิจพอเพียง ระดับบุคคล หมายถึงข้อใด

ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว มุ่งเน้นให้บุคคลและครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข ทั้งทางกายและทางใจ พึ่งพาตนเองอย่างเต็มความสามารถ ไม่ท าอะไรเกินตัว ด าเนินชีวิตโดยไม่ เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมทั้งใฝ่รู้และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อความมั่นคงในอนาคต และ เป็นที่พึ่งให้ผู้อื่นได้ในที่สุด เช่น หาปัจจัย ...

คุณลักษณะสําคัญของเศรษฐกิจพอเพียงมีอะไรบ้าง

ลักษณะทั้ง 3 ประการ ได้แก่ ความพอประมาณ ความมี เหตุผล และภูมิคุ้มกันที่ดี มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบกล่าวคือ ความมีเหตุผล เป็นกระบวนการเสริมสร้างให้ความพอใจเป็นไปอย่าง พอประมาณ และระดับความพอประมาณ จ าเป็นต้อง พอเพียงในเชิงการ สร้างภูมิคุ้มกันตัว

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้