ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด มีวาระกี่ปี

การเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียม หรือที่เรียกว่าเจ้าของร่วมห้องชุดนั้น ไม่เพียงแต่จะใส่ใจแต่เรื่องภายในห้องของตัวเอง แต่ควรจะทราบเรื่องสำคัญขั้นพื้นฐาน หลังจากได้รับโอนห้องชุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระเบียบข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดฯ ระเบียบการพักอาศัย และความเข้าใจในรูปแบบการบริหารงานของนิติบุคคลอาคารชุดฯ

ปัจจุบันรูปแบบการพักอาศัยของคนเมืองเริ่มหันไปลงทุนในการซื้อหาห้องชุดมากขึ้น จากเดิมที่ผู้คน เลือกเช่าหอพัก อพาร์ตเมนต์กัน ก็เริ่มหันมาเลือกลงทุนในการซื้อห้องชุด ซึ่งมีขนาด ราคา และทำเลที่มีความสะดวกสบายมากขึ้น สาเหตุที่ผู้คนเลือกลงทุนข้างต้น เนื่องจากต้นทุนค่าใช้จ่ายรายเดือนใกล้เคียงกับต้นทุนในการผ่อนดอกเบี้ยกับธนาคารในการซื้อห้องชุด อีกทั้งคอนโดมิเนียมในปัจจุบันมีหลากหลายราคา ให้ได้เลือกตามความเหมาะสม และเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น

แต่การเป็นเจ้าของคอนโดมิเนียม หรือที่เรียกว่าเจ้าของร่วมห้องชุดนั้น ไม่เพียงแต่จะใส่ใจแต่เรื่องภายในห้องของตัวเอง แต่ควรจะทราบเรื่องสำคัญขั้นพื้นฐาน หลังจากได้รับโอนห้องชุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระเบียบข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุดฯ ระเบียบการพักอาศัย และความเข้าใจในรูปแบบการบริหารงานของนิติบุคคลอาคารชุดฯ หนึ่งในเรื่องสำคัญเบื้องต้น หลังจากที่เราได้รับทราบถึงข้อบังคับระเบียบและการบริหารงานของนิติบุคคลฯ แล้ว เราอาจจะมีคำถามหรือข้อสงสัยหลายเรื่อง หรือข้อสงสัยในระเบียบข้อบังคับต่างๆ ทั้งนี้ คำถามหรือข้อสงสัยเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับส่วนรวม หากเรานำมาสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมฯ ซึ่งตามกฎหมาย กำหนดให้นิติบุคคลอาคารชุดฯ จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมครั้งแรก ภายใน 180 วัน หลังจากทำการโอนเสร็จสิ้น

การประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมครั้งแรก จะมีวาระสำคัญต่างๆ ในการพิจารณา และลงมติร่วมกันระหว่างท่านเจ้าของร่วม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์กับเจ้าของร่วมทุกคน ในการอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งในการประชุมจะให้เจ้าของร่วมทุกคนลงเสียงเพื่อรับรองวาระต่างๆ ดังนี้

1. รายงานผลการดำเนินการฝ่ายจัดการฯ

ในรอบปีที่ผ่านมา ฝ่ายจัดการได้มีการดำเนินการทางด้านต่างๆ ทั้งงานบริหารจัดการ งานช่าง งานดูแลความสะอาด รักษาความปลอดภัย การกำจัดแมลง และการปรับปรุงกายภาพต่างๆ ในบริเวณโดยรอบโครงการ โดยวาระนี้ได้รายงานให้ทราบถึงผลการดำเนินงานในช่วงรอบปีที่ผ่านมา

2. การรับรอง/แต่งตั้งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดฯ (ทุก 2 ปี) *สำหรับอาคารชุดเท่านั้น

ซึ่งได้รับการจดทะเบียนขึ้นมาพร้อมกับนิติบุคคลฯ ซึ่งโดยทั่วไปผู้จัดการนิติบุคคลฯ รายแรก จะเป็นตัวแทนของทางเจ้าของโครงการ ท่านเจ้าของร่วมควรจะศึกษา การบริหารงานของผู้จัดการนิติบุคคลฯ (ซี่งอาจเป็นตัวแทนของโครงการ, บริษัทบริหาร, เจ้าของร่วม หรือบุคคลอื่นๆ) ว่ามีความโปร่งใส มีความใส่ใจในความเป็นอยู่ของผู้พักอาศัยอย่างเต็มที่หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารงาน, การบริหารค่าใช้จ่าย, การควบคุมงานของคู่สัญญาต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าผู้จัดการนิติบุคคลฯ จะต้องทำงานภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการฯ ซึ่งจะถูกแต่งตั้งขึ้นในที่ประชุมใหญ่นี้เช่นนี้ แต่หากเจ้าของร่วมพบว่าการบริหารงานของผู้จัดการนิติบุคคลฯที่ผ่านมานั้น ไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือไม่โปร่งใส ก็อาจนำเสนอที่ประชุมใหญ่ฯพิจารณาร่วมกัน ในการถอดถอน และแต่งตั้งผู้จัดการนิติฯใหม่ ก็สามารถทำได้ โดยจะต้องใช้เสียงในการลงมติในการถอดถอน และแต่งตั้งผู้จัดการฯ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ทั้งหมดของเจ้าของร่วม

3. รับรองรายงานสถานะการเงิน , งบประมาณประจำปี และการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีประจำปี

การศึกษาสถานะการใช้จ่ายของนิติบุคคลฯ จะสามารถทำให้เราเข้าใจการบริหารงานของนิติบุคคลได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้เราสามารถแสดงความคิดเห็น/เสนอแนะแนวทางในการควบคุม หรือเพิ่มเติมค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของคู่สัญญา เช่น จำนวนพนักงานรปภ/ อัตราค่าใช้จ่ายต่อหัว อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมรึไม่ , ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคต่างๆ ของส่วนกลาง เช่น ค่าไฟฟ้า สามารถปรับลด หรือบริหารเวลาการเปิดปิดไฟส่วนต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้หรือไม่ เป็นต้น

สำหรับวาระการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบบัญชีประจำปี เป็นไปตามข้อกำหนดของกฏหมาย เพื่อให้มีความโปร่งใสของนิติบุคคลฯในการบริหารบัญชีการเงิน (ซึ่งพรบ.อาคารชุดได้กำหนดเบื้องต้นให้นิติบุคคลฯจะต้องแสดงงบรับจ่ายรายเดือนของนิติบุคคลฯให้เจ้าของร่วมได้รับทราบ ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน) การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีนี้ จุดประสงค์หลักก็เพื่อให้มาทวนสอบการสรุปรายงานงบการเงินตลอดปีของนิติบุคคลฯที่ได้รายงานไปตลอดรอบบัญชี ว่ามีความถูกต้องหรือไม่ การพิจารณาเลือกผู้สอบบัญชี นั้น นอกจากเรื่องของราคาแล้ว เราอาจจะดูจากผลงานที่ผ่านๆ มาเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาได้

4. การแต่งตั้งคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด (ทุก 2 ปี)

เป็นการคัดเลือกตัวแทนของเจ้าของร่วมทั้งหมดภายในอาคารชุด มาเป็นตัวแทนในการควบคุม/บริหารจัดการนิติบุคคลฯ โดยสามารถแต่งตั้งได้จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่าน และไม่เกิน 9 ท่าน โดยมีรอบการดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี เจ้าของร่วม ควรศึกษาข้อมูลคร่าวๆ ของผู้สมัคร ว่ามีคุณสมบัติเหมาะสม ที่เราจะไว้วางใจให้บริหารงานของคอนโดที่เราพักอาศัยอยู่หรือไม่ เพราะเจ้าของร่วมจะต้องฝากความหวังส่วนใหญ่กับกรรมการที่ท่านเลือกตั้งขึ้นมาอย่างน้อย 2 ปี โดยทั่วไปฝ่ายจัดการฯ จะเชิญผู้สมัครเป็นคณะกรรมการฯ แนะนำข้อมูลของตนเอง คร่าวๆ กับที่ประชุมฯ ซึ่งหากท่านเจ้าของร่วมมีข้อซักถาม หรืออยากทราบข้อมูลใดๆ เพิ่มเติมจากผู้สมัคร ก็สามารถซักถามเพิ่มเติมได้ ก่อนลงมติเลือกตั้ง

5. การพิจารณาเรื่องอื่น ๆ

โดยในส่วนนี้เป็นหัวข้อ หรือวาระที่ผันแปรไปตามความเหมาะสมของแต่ละนิติบุคคลฯ เจ้าของร่วมอาจนำข้อเสนอแนะ หรือหัวข้อน่าสนใจอื่น ๆ มาร่วมหารือกันในที่ประชุมฯ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการบริหารงานทั้งในปัจจุบัน หรืออนาคตต่อไปได้

นอกจาก 5 วาระข้างต้นแล้ว สำหรับการประชุมใหญ่ครั้งแรก ยังมีอีก 2 วาระที่สำคัญไม่แพ้กันดังนี้

การรับรองข้อบังคับของนิติบุคคลฯ

สาระสำคัญส่วนมากจะเป็นไปตามเนื้อหาของมาตราต่างๆ ในพระราชบัญญัติอาคารชุดฯ แต่ก็มีบางส่วนที่ผันแปรไปตามความเหมาะสม หรือเป็นไปตามแนวทางและเจตนารมของทางเจ้าของโครงการที่วางไว้ เช่น อัตราค่าใช้จ่ายส่วนกลาง, รอบการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนกลาง, อัตราเงินกองทุนครั้งแรก รวมทั้งเงื่อนไขการชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลาง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของเจ้าของร่วม

ถึงแม้ว่าข้อบังคับฯ นั้น จะได้รับการตรวจสอบ และรับรองจดทะเบียนจากทางสำนักงานที่ดินแล้ว แต่เจ้าของร่วมก็ควรจะศึกษา ทำความเข้าใจในข้อบังคับทุกหมวด หากพบข้อสงสัย หรือข้อความใดๆ ที่ผิดปกติ ก็ควรนำมาซักถาม หรือนำเสนอ หารือร่วมกัน ก่อนที่จะพิจารณาลงมติรับรองในข้อบังคับนั้นๆ

การรับรองระเบียบพักอาศัย ของนิติบุคคลฯ

ระเบียบการพักอาศัยนี้จะถูกกำหนดให้สอดคล้องกับรูปแบบความเป็นอยู่ของคอนโดมิเนียมนั้นซึ่งถือเป็นกรอบกฏเกณฑ์ภายใน ที่ออกแบบขึ้นเพื่อควบคุมให้ผู้พักอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเป็นระเบียบ ทั้งนี้ หากท่านเจ้าของร่วม ศึกษาและเห็นว่าเนื้อหาของระเบียบนั้นๆ ไม่เหมาะสมกับลักษณะความเป็นอยู่ของคอนโดนั้น ๆ ก็อาจนำเสนอปรับเปลี่ยนแก้ไขได้ เช่น เวลาการเปิดปิดห้องออกกำลังกาย, สระว่ายน้ำ, การกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้บริหารสันทนาการส่วนกลางต่างๆ เช่น จำนวนผู้ที่สามารถใช้บริการของแต่ละประเภทห้องชุด, การกำหนดอัตราค่าปรับสำหรับผู้กระทำผิดระเบียบ เป็นต้น

สำหรับการประชุมในปีต่อๆ ไป พระราชบัญญัติอาคาร ชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 มาตรา 42/1 ระบุว่า ให้คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญปีละหนึ่งครั้งภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีทางบัญชีของนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อกิจการดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาอนุมัติ งบดุล (2) พิจารณารายงานประจำปี (3) แต่งตั้งผู้สอบบัญชี (4) พิจารณาเรื่องอื่นๆ

จากตัวอย่างหัวข้อการประชุมที่ยกมา จะเห็นได้ว่าการประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมนั้นมีความสำคัญมาก เพราะเป็นเหมือนเวที ในการแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น รวมถึงข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะต่างๆ จากเจ้าของร่วมทั้งหมด ดังนั้นเจ้าของร่วม ควรจะให้ความสนใจ ศึกษาข้อมูลต่างๆ ของคอนโดที่ตนถือครองอยู่ เพื่อนำมาช่วยกันหารือ แสดงความเห็น เพื่อปรับปรุงคุณภาพความเป็นอยู่ของอาคารให้มีคุณภาพสูงสุด

ผู้จัดการนิติบุคคล วาระกี่ปี

เท่าที่อ่านจะมีอายุวาระ 2ปี แต่ไม่เกิน4ปีหรือไม่ แต่ถ้าหากเคยเป็นกรรมการมาแล้ว 2ปีแล้วมาเป็นผู้จัดการต่อเนื่องอีก2ปี

กรรมการคอนโด อยู่ได้กี่ปี

คณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 9 คน มีวาระการดํารงตําแหน่งคราวละ 2 ปี สามารถดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ และให้ผู้จัดการนำไปจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ภายใน 30 วัน นับจากวันประชุมใหญ่

ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด เป็นใคร

ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ กรณีนิติบุคคลเป็นผู้จัดการต้องแต่งตั้งบุคคลธรรมดาคนหนึ่งเป็นผู้ดำเนินการแทนในฐานะผู้จัดการ การแต่งตั้งผู้จัดการต้องได้รับมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า หนึ่งในสี่ของเจ้าของร่วมทั้งหมดโดยผู้จัดการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ และต้องไม่มีลักษณะต้อง ...

กรรมการนิติบุคคลมีวาระกี่ปี

กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีกรรมการพ้นจากตำแหน่ง ก่อนวาระหรือมีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระ อยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่ง -๘- เท่ากับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้