การใช้งาน css ในภาษา html มีกี่รูปแบบ

CSS ย่อมาจาก Cascading Style Sheets ใช้สำหรับกำหนดว่าอีลิเมนต์ของ HTML แต่ละอีลิเมนต์ จะแสดงผลอย่างไรบนหน้าจอหรือสื่ออื่น ๆ อีกทั้งยังช่วยย่นระยะเวลาในการตกแต่งอีลิเมนต์ต่าง ๆ ได้อย่างมาก เพราะเราสามมรถใช้ CSS ตกแต่งอีลิเมนต์ในหลาย ๆ เว็บเพจได้จากที่เดียว หรือการเขียนโค้ดเพียงครั้งเดียว

เราสามารถใช้งาน CSS ใน HTML ได้ 3 ทาง ดังนี้

  • Inline คือ การใช้งานแอททริบิวต์ CSS ภายในอีลิเมนต์ HTML แต่ละอีลิเมนต์ได้เลย
  • Internal คือ การใช้งาน CSS ในหน้าเว็บหนึ่ง ๆ โดยการเขียน CSS ไว้ในส่วนหัวของเว็บเพจ ภายในอีลิเมนต์ <style></style>
  • External คือ การเขียน CSS ไว้ในไฟล์อื่น แล้วเรียกเข้ามาใช้งานภายในเว็บเพจอีกที

โดยวิธีที่นิยมที่สุดคือวิธีที่ 3 คือแบบ External เขียน CSS ไว้ในไฟล์อื่นแยกต่างหาก แล้วค่อยนำเข้ามาใช้ในหน้าเว็บเพจแต่ละหน้า จะทำให้เกิดความสะดวกสบาย เพราะเราสามารถเขียนโค้ด CSS เพียงครั้งเดียว แต่สามารถนำไปใช้งานได้หลายที่

Inline CSS

Inline CSS ใช้สำหรับกำหนดสไตล์ให้กับอีลิเมนต์แต่ละตัว โดยไม่มีผลกับอีลิเมนต์ตัวอื่น ๆ เช่น

<h1 style="color:red;">This is a Red Heading</h1>

Internal CSS

Internal CSS ใช้สำหรับเขียน CSS เพื่อใช้งานในหน้าเว็บเพจหนึ่ง ๆ โดยจะเขียนไว้ในส่วน <head></head> ของหน้าเว็บเพจนั้น ๆ โดยโค้ด CSS จะต้องอยู่ภายในแท็ก <style></style> อีกที เช่น

<!DOCTYPE html> <html> <head> <style> body {background-color: powderblue;} h1 {color: blue;} p {color: red;} </style> </head> <body> <h1>นี่คือส่วนหัว</h1> <p>นี่คือพารากราฟ</p> </body> </html>

บรรทัดที่ 4-8 เป็นการเขียน CSS ไว้ในเว็บเพจ

CSS ที่เขียนไว้ในหน้าเว็บเพจลักษณะนี้ จะมีผลต่ออีลิเมนต์ในหน้าเว็บเพจนั้นเท่านั้น

External CSS

External CSS คือการสร้างไฟล์ CSS ไว้นอกเว็บเพจ แล้วค่อยเรียกใช้ไฟล์ CSS ที่เขียนไว้นั้นในเว็บเพจอีกที่ ข้อดีคือ สามารถเรียกใช้ไฟล์ดังกล่าวได้จากทุกเว็บเพจในเว็บไซต์ ทำให้ประหยัดเวลาในการพัฒนาและการแก้ไข

โดยการใช้งาน External CSS นั้น เราต้องเพิ่มแท็ก <link> เข้าไปยังส่วน <head></head> ของเว็บเพจ แล้วอ้างอิงไปยังไฟล์ CSS ที่ต้องการใช้งาน ดังตัวอย่าง

<!DOCTYPE html> <html> <head> <link rel="stylesheet" href="styles.css"> </head> <body> <h1>This is a heading</h1> <p>This is a paragraph.</p> </body> </html>

บรรทัดที่ 4 เป็นการอ้างอิงไฟล์ CSS จากภายนอก

ไฟล์ CSS ที่สร้างขึ้น สามารถเขียนด้วยโค้ด CSS ได้เลย โดยไม่ต้องมีโค้ด HTML ใด ๆ ทั้งสิ้น และต้องบันทึกเป็นรูปแบบไฟล์ CSS คือไฟล์จะมีนามสกุลเป็น .css ซึ่งลักษณะของโค้ด CSS จะเป็นดังนี้

body { background-color: powderblue; } h1 { color: blue; } p { color: red; }

CSS Fonts

เมื่อต้องการกำหนดรูปแบบอักษร Fonts ให้กับอีลิเมนต์ใด ๆ เราสามารถใช้พร็อพเพอร์ตี้ ดังนี้

  • color ใช้กำหนดสีฟ้อนต์
  • font-family ใช้กำหนดรูปแบบฟอนต์
  • font-size ใช้กำหนดขนาดฟอนต์

ตัวอย่างการใช้ CSS กำหนดฟอนต์

<!DOCTYPE html> <html> <head> <style> h1 { color: blue; font-family: verdana; font-size: 300%; } p { color: red; font-family: courier; font-size: 160%; } </style> </head> <body> <h1>นี่คือส่วนหัวเรื่อง</h1> <p>นี่คือส่วนย่อหน้าหรือพารากราฟ</p> </body> </html>

CSS Border

เราสามารถกำหนดลักษณะของเส้นขอบให้อีลิเมนต์ได้ โดยใช้พร็อพเพอร์ตี้ border ดังนี้

p { border: 1px solid powderblue; }

CSS Padding

พร็อพเพอร์ตี้ padding ใช้สำหรับกำหนดระยะห่างระหว่างตัวอักษรกับเส้นขอบด้านใน โดยต้องกำหนดเป็นพิกเซล โดยมีการใช้งานดังนี้

p { border: 1px solid powderblue; padding: 30px; }

CSS Margin

พร็อพเพอร์ตี้ margin ใช้สำหรับกำหนดระยะห่างระหว่างขอบอีลิเมนต์ด้านนอกกับขอบของอีลิเมนต์อื่น ๆ ดังนี้

p { border: 1px solid powderblue; margin: 50px; }

แอททริบิวต์ id

แอททริบิวต์ id ใช้สำหรับระบุรหัสที่เฉพาะเจาะจงสำหรับอีลิเมนต์หนึ่ง ๆ ใน HTML เหมือนเลขประจำตัวประชาชน เช่น

<p id="paragraph1">I am different</p>

จากโค้ด เราได้ระบุ id ให้กับแท็ก p เป็น paragraph1 เมื่อใดก็ตามที่มีการอ้างอิงถึงไอดี paragraph1 ย่อมจะหมายถึงอีลิเมนต์นี้เพียงตัวเดียวเท่านั้น

เมื่อต้องการระบุ CSS ให้กับอีลิเมนต์ที่มีการตั้งค่า id ไว้ สามารถทำได้โดยใช้เครื่องหมาย # ตามด้วย id ของอีลิเมนต์นั้น ๆ เช่น #paragraph1 ดังนี้

#paragraph1 { color: blue; }

จากโค้ดด้านบน จะมีผลกับอีลิเมนต์ที่มี id เป็น paragraph1 เท่านั้น จะไม่มีผลกับอีลิเมนต์อื่น

แอททริบิวต์ class

ใน HTML เราสามารถระบุแอททริบิวต์ class ให้กับอีลิเมนต์ใด ๆ ก็ได้ เพื่อความสะดวกในการตกแต่งด้วย CSS ในภายหลัง และชื่อ class เดียวกัน สามารถกำหนดให้กับอีลิเมนต์มากกว่าหนึ่ง ดังนี้

<!DOCTYPE html> <html> <head> <style> body {background-color: powderblue;} h1 {color: blue;} p {color: red;} </style> </head> <body> <h1>นี่คือส่วนหัว</h1> <p>นี่คือพารากราฟ</p> </body> </html> 0

เมื่อต้องการกำหนด CSS ให้กับอีลิเมนต์ที่มีการระบุคลาดไว้ สามารถทำได้โดยการใช้เครื่องหมาย . ตามด้วยชื่อคลาส ดังนี้

<!DOCTYPE html> <html> <head> <style> body {background-color: powderblue;} h1 {color: blue;} p {color: red;} </style> </head> <body> <h1>นี่คือส่วนหัว</h1> <p>นี่คือพารากราฟ</p> </body> </html> 1

โค้ดด้านบน จะมีผลกับอีลิเมนต์ที่มีชื่อคลาสเป็น redtext เท่านั้น

การอ้างอิง CSS จากภายนอก

เราสามารถอ้างอิงไปยังไฟล์ CSS จากภายนอกได้ ไม่ว่าจะเป็น CSS ที่อยู่ในเว็บไซต์อื่น หรือเว็บไซต์เดียวกัน โดยใช้แท็ก ดังนี้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้