การทดสอบสามารถทำได้กี่วิธี

แบบทดสอบแบ่งตามลักษณะการเขียนตอบ ได้หลายประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติในการวัดแตกต่งกัน ดังนี้

  1. แบบทดสอบแบบถูก-ผิด (True-false test) เป็นแบบทดสอบที่กำหนดข้อความให้นักเรียนพิจารณาว่า ถูก หรือ ผิด จริง หรือ เท็จ ใช่ หรือ ไม่ใช่ อาจให้เขียนเครื่องหมาย / หรือ X หรืออาจให้ตอบ โดยใช้อักษรย่อ ถ - ผ หรือ T - F ก็ได้ มีข้อดี คือ สร้างง่ายและรวดเร็ว เขียนคำถามได้คลอบคลุมเนื้อหา ใช้วัดความจำได้ดี ตรวจง่ายและรวดเร็ว มีความเป็นปรนัยในการตรวจ แต่มีข้อเสีย คือ วัดพฤติกรรมพุทธิพิสัยขั้นนสูงไม่ได้ เดาถูกได้มากกว่าข้อสอบแบบอื่นๆ ไม่สามารถใช้วินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนได้
  2. แบบทดสอบแบบจับคู่ (Matching test) เป็นแบบทดสอบที่ประกอบด้วย 2 คอลัมน์ ในแต่ละคอลัมน์จะประกอบด้วย คำ ข้อความ ประโยค หรือวลีที่มีความสัมพันธ์กัน วิธีการตอบจะให้ผู้สอบจับคู่ระหว่าง 2 คอลัมน์ให้สัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง มีข้อดี คือ ใช้วัดความจำเกี่ยวกับข้อเท็จจริงระหว่างสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันได้ดี สร้างง่าย ตรวจง่ายและรวดเร็ว เดาคำตอบได้น้อยกว่าข้อสอบแบบถูกผิด การให้คะแนนเป็นปรนัย ส่วนข้อเสีย คือ วัดพฤติกรรมสูงกว่าความจำได้ยาก นักเรียนอาจเดาข้อหลังได้เนื่องจากเหลือตัวเลือกให้เลือกน้อยลง ถ้าคำชี้แจงไม่ชัดเจนอาจทำให้นักเรียนไม่เข้าใจวิธีการตอบ
  3. แบบทดสอบแบบ เติมคำ (Completion test) เป็นแบบทดสอบที่มีลักษณะเป็นโจทย์ข้อความที่ถามให้นักเรียนเขียนคำตอบตอบโดยใช้คำ หรือประโยคสั้น ๆ เติมลงในช่องว่าง มีข้อดี คือ สร้างง่ายและรวดเร็ว เขียนคำถามให้คลอบคลุมเนื้อหาได้ ใช้วัดความจำได้ดี เดาคำตอบได้ถูกยากกว่าข้อสอบปรนัยอื่นๆ แต่มีข้อเสีย คือ วัดพฤติกรรมสูงกว่าความจำไม่ได้ ตรวจยาก
  4. แบบสอบแบบปรนัยเลือกตอบ (Multiple Choices test) เป็นแบบทดสอบที่ประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนคำถามและ ส่วนของตัวเลือก ซึ่งประกอบด้วยตัวเลือกถูก กับตัวลวง ปกติจะมีประมาณ 3 – 5 ตัวเลือก มีข้อดี คือ วัดพฤติกรรมพุทธิพิสัยได้ครบทั้ง 6 ขั้น ตรวจง่าย เขียนข้อสอบได้คลุมเนื้อหา แต่มีข้อเสีย คือ สร้างยากโดยเฉพาะคำถามที่วัดพฤติกรรมขั้นสูง ใช้เวลาในการเขียนข้อสอบนาน วัดการแสดงวิธีทำ ทักษะการเขียน การวิพากษ์วิจารณ์ การอภิปรายแสดงความคิดเห็นไม่ได้
  5. แบบทดสอบแบบเขียนตอบ (Essay Test) เป็นแบบทดสอบที่ให้นักเรียนเขียนบรรยายคำตอบลงในกระดาษคำตอบ มีข้อดี คือ เดาไม่ได้ วัดการแสดงวิธีทำ ทักษะการเขียน การวิพากษ์วิจารณ์ การอภิปรายแสดงความคิดเห็น การแสดงเหตุผล การวิพากษ์วิจารณ์ ได้ดี แต่ข้อเสีย คือ ตรวจยากมาก ใช้เวลาในการตรวจนาน ไม่สามารถออกข้อสอบหลายข้อได้

    แบบทดสอบในข้อ 1 - 4 คือแบบถูกผิด จับคู่ เติมคำ เลือกตอบ มีลักษณะคำถามที่มุ่งให้นักเรียนเขียนตอบสั้น ๆ หรือตอบโดยใช้สัญลักษณ์ เช่น กากบาท โยงเส้น หรือวงกลม เรียกว่าแบบทดสอบปรนัย (objective test) ส่วนแบบทดสอบในข้อ 5 เป็นแบบทดสอบที่มุงให้นักเรียนเขียนตอบหลาย ๆ บรรทัด บางครั้งเรียกว่าแบบทดสอบอัตนัย (subjective test)

การทดสอบเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวัดคุณลักษณะที่มีอยู่ภายในตัวบุคคล ที่ไม่สามารถวัดได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือเข้ามาเป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงความสามารถทางสมองว่ามีความรู้มากน้อยเพียงใด รวมถึงด้านทักษะและด้านเจตคติ โดยเครื่องมือที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ แบบทดสอบ (Test) ซึ่งแบบทดสอบเป็นชุดของข้อคำถามที่สร้างขึ้นมาอย่างเป็นระบบ ทั้งในด้านเนื้อหา การดำเนินการทดสอบ ตลอดจนการให้คะแนน

          แบบทดสอบสามารถจำแนกได้หลายประเภท อาทิ แบบทดสอบอิงเกณฑ์ แบบทดสอบมาตรฐานแบบทดสอบย่อย เป็นต้น ดังนั้นควรพิจารณาเลือกใช้แบบทดสอบให้เหมาะสมตามจุดมุ่งหมายของการวัด โดยส่วนใหญ่บุคคลทั่วไปคุ้นเคยกับข้อสอบที่แบ่งตามลักษณะการสร้าง สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1) ข้อสอบปลายปิด ประกอบด้วยข้อสอบหลายตัวเลือก ข้อสอบแบบถูกผิด ข้อสอบแบบจับคู่ และ 2) ข้อสอบปลายเปิด ประกอบด้วยข้อสอบอัตนัย ข้อสอบตอบสั้นและเติมคำ

          การวัดและประเมินการเรียนรู้ให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการ จะต้องอาศัยแบบทดสอบที่มีคุณภาพ ซึ่งคุณสมบัติของแบบทดสอบที่มีความสำคัญที่สุด คือ ความเที่ยงตรง (Validity) และความเชื่อมั่น (Reliability) และความเป็นปรนัย (Objectivity) เมื่อแบบทดสอบใดก็ตามที่ขาดความเที่ยงตรง ความเชื่อมั่น และความเป็นปรนัย คะแนนที่ได้จากการทดสอบย่อมไม่มีความหมายแต่ประการใด อย่างไรก็ตาม การวัดและประเมินแนวใหม่ยังคงใช้วิธีการทดสอบ เนื่องด้วยสามารถดำเนินการได้ง่าย ประหยัดเวลา ครอบคลุมประเด็นที่ทำการศึกษา มีความเป็นมาตรฐาน เป็นปรนัยสูง ตรวจให้คะแนนได้ง่าย

          ขั้นตอนในการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบ มีดังนี้

          1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการทดสอบ โดยจุดมุ่งหมายจะต้องมีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้

               2. ออกการสร้างแบบทดสอบ การออกแบบและสร้างแบบทดสอบผู้สอนจะต้องวางแผนการทดสอบว่าเป็นการทดสอบประเภทใด กำหนดรูปแบบของแบบทดสอบว่าเป็นองกลุ่มหรืออิงเกณฑ์ เขียนตอบหรือเลือกตอบ จากนั้นสร้างผังการทดสอบ

          3. เขียนข้อสอบ

          4. ทดลองใช้และวิเคราะห์ข้อสอบ หรือนำมาทบทวนด้วยเหตุด้วยผล

          5. นำแบบทดสอบไปใช้ โดยคำนึงถึงปัจจัยรอบด้านต่าง ๆ ทีมีอิทธิพลต่อการแสดงความสามารถในการตอบคำถามของผู้เรียน ตั้งแต่คำสั่ง ระยะเวลาในการตอบ เงื่อนไขการสอบ และการตรวจให้คะแนน

          6. การตรวจให้คะแนน ในการตรวจให้คะแนนจะต้องมีความเป็นปรนัย โดยองค์ประกอบที่จะช่วยให้การตรวจให้คะแนนมีความเป็นปรนัยมากขึ้น คือ มีการบันทึกคำตอบที่ชัดเจนและสมบูรณ์ มีการเตรียมคำตอบถูกไว้สำหรับตรวจให้คะแนน และมีการระบุเกณฑ์การให้คะแนน

          7.การนำผลไปใช้ ผู้สอนจะต้องรายงานผลการทดสอบ นำผลการทดสอบไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและปรับปรุงการสอนของผู้สอน

          8. วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ

          9. ปรับปรุงแบบทดสอบ 

ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาผนวกกับการทดสอบ และได้มีการพัฒนาและนำแอปพลิเคชั่นมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนและทดสอบมากขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกและช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น

1. Kahoot เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้สำหรับการสร้างข้อคำถามที่เป็นรูปแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ ในการทำข้อคำถามแต่ละข้อจะจำกัดเวลาในการตอบ และเมื่อผู้เรียนตอบคำถามเสร็จสิ้นจะแสดงผลการตอบในรูปของคะแนนทันที ซึ่งการใช้แอปพลิเคชันนี้ผู้เรียนจะต้องใช้สมาร์ทโฟนในการเลือกคำตอบ

2. Plickers เป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้ในการสร้างแบบทดสอบ โดยที่ผูเรียนไม่ต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการเข้าถึงแอปพลิเคชันนี้ แต่จะใช้กระดาษที่พิมพ์โค้ดในการหมุนตัวเลือก A B C และ D ในการเลือกคำตอบ ซึ่งผู้สอนสามารถตรวจคำตอบด้วยการสแกนคำตอบผ่านสมาร์ทโฟน

3. Socrative เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้ในการสร้างควิซ (Quiz) หรือแบบทดสอบออนไลน์ ผู้สอนสามารถสร้างข้อคำถามได้หลากหลายรูปแบบทั้งแบบถูกผิดและแบบเติมคำ เพื่อทดสอบความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาที่ได้ทำการเรียนการสอนไปแล้ว ซึ่งเมื่อผู้เรียนเข้ามาทำการทดสอบแอปพลิเคชันจะแสดงผลการตอบทันที โดยการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ที่ทำการติดตั้งแอปพลิเคชันดังกล่าว

4. ZipGrade เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้ในการตรวจข้อสอบแบบปรนัยที่สามารถแสดงผลได้ทันที ซึ่งผู้สอนต้องจัดเตรียมกระดาษคำตอบที่ทางแอปพลิเคชันออกแบบไว้ เมื่อนักเรียนส่งกระดาษคำตอบที่ทำการฝนคำตอบเรียบร้อยแล้ว ผู้สอนสามารถใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตในการสแกนเพื่อตรวจคำตอบและคำนวณผลคะแนนได้ทันที

5. //quizizz.com เป็นเว็บไซต์ที่ใช้ในการสร้างแบบทดสอบออนไลน์ e-Testing โดยผู้เรียนสามารถทำแบบทดสอบผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ก แท็บเล็ต และสมาร์ทโฟน ที่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้เรียนเข้ามาทำการทดสอบก็จะสามารถทราบผลการสอบทันที ส่วนผู้สอนก็จะได้รับรายงานผลการทดสอบ (Report) และสามารถบันทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้