หลอดไฟ กี่ วัตต์ ประหยัดไฟ

          ยิ่งกำลังวัตต์มาก ระดับความสว่างของแสงที่ได้จากหลอดไฟก็จะสว่างมาก จากตารางด้านล่าง เป็นการเปรียบเทียบหลอดไฟประเภทต่าง ๆ ในระดับความสว่างที่เท่ากัน จะเห็นได้ว่าหลอด LED ใช้กำลังวัตต์ไม่มากเท่ากับ หลอดไส้และหลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซนต์ ดังนั้น หากต้องการประหยัดพลังงาน และประหยัดค่าไฟ ควรเลือกใช้หลอดไฟ LED

การคำนวณค่าไฟฟ้าอันดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราต้องการคำนวณกินไฟเท่าไร โดยสังเกตได้จากกำลังไฟฟ้าที่ใช้หรือจำนวนวัตต์ (Watt) ซึ่งจะมีระบุไว้ที่สินค้านั้นๆ  เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ขนาด 36 วัตต์ หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่าหลอดยาว เฉพาะตัวหลอดจะกินไฟ 36 วัตต์ แต่เนื่องจากการทำงานของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ต้องทำงานร่วมกับสตาร์ทเตอร์ และ บัลลาส ทำให้กำลังไฟที่ใช้เมื่อรวมกับของสตาร์ทเตอร์และบัลลาสต์จะกินไฟประมาณ 44 วัตต์ ซึ่งจะเป็นกำลังไฟที่ใช้ต่อชั่วโมง  วันนี้เรามาดูในส่วนของค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายกัน

การคำนวณค่าไฟฟ้าจะประกอบด้วยกัน 2 ส่วน คือ

1.   ปริมาณไฟฟ้าที่เครื่องใช้ไฟฟ้าใช้ เช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 36W

ใช้กำลังไฟฟ้าสุทธิคือ 44 วัตต์ ถ้าเราเปิดวันละ 12 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้าทั้งหมด
44 วัตต์ x 12 ชั่วโมง = 528 วัตต์-ชั่วโมง

 ดังนั้น 1 เดือน เราจะใช้ไฟฟ้า 528  x 30 = 15,840 วัตต์-ชั่วโมง

 2. ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย เมื่อเราอยากจะรู้ว่าเดือนนี้เราใช้ไฟฟ้าไปเท่าไร เรามักจะคุ้นเคยกับคำว่า ใช้ไปกี่หน่วย ซึ่งจริงๆแล้ว “หน่วย” นี้ก็คือ กิโลวัตต์ หรือ 1000 วัตต์ นั้นเอง  ดังนั้น 15,840 วัตต์-ชั่วโมง / 1000 = 15.84 หน่วย

        เมื่อเรารู้แล้วว่าหน่วยของค่าไฟฟ้าคืออะไร ต่อมาคือ แล้วค่าไฟฟ้าหน่วยละเท่าไรซึ่งค่าไฟฟ้า   จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ ค่าไฟฟ้าฐาน ค่า FT และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%โดยยกตัวอย่างค่าไฟ ฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย ค่าไฟฟ้าที่เราจ่ายอยู่ทุกเดือนจะมีลักษณะเป็นขั้นบรรได คือ ยิ่งใช้เยอะค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการง่ายสำหรับการคำนวณ เราจะขอใช้ค่าเฉลี่ยคร่าวๆ คือ 3.80 บาทต่อหน่วย(ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft +ภาษีมูลค่าเพิ่ม)

         ดังนั้นค่าไฟฟ้าที่คำนวณได้สำหรับการเปิดหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 36 วัตต์

        12 ชั่วโมงต่อวันเป็นเวลา 1 เดือน จะเท่ากับ

       15.84 หน่วย x 3.8 บาทต่อหน่วย = 60.192 บาทต่อเดือน

       เมื่อเปรียบเทียบกับหลอดไฟ LED โดยเลือกใช้ หลอดไฟ LED TUBE T8 ขนานด 18W       จะสามารถคำนวณค่าไฟฟ้าได้เท่ากับ     (18 วัตต์ x 12 ชั่วโมง x 30 วัน) / 1,000 = 6.48 หน่วย
       คิดเป็นค่าไฟฟ้าต่อเดือน  6.48 หน่วย x 3.8 บาทต่อหน่วย = 24.624 บาทต่อเดือน        ดังนั้น เราสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้     60.192 – 24.624 = 35.568 บาทต่อเดือน   หรือคิดเป็นเปอร์เซ็นที่ประหยัดได้ คือ 60% ต่อเดือน

ถ้าในบ้านมีหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 20 หลอด ก็จะสามารถประหยัดได้ถึง            35.568 x 20 = 711.36 บาทต่อเดือน

กรณีที่ 1 หากต้องการนำไปเปลี่ยนทดแทนของเดิม สามารถเลือกง่ายๆ โดยการนำกำลังวัตต์ของตัวโคมหลอดไฟตัวเดิม มาหารสอง เช่น ของเดิมใช้หลอดไฟ 40W ก็เปลี่ยนมาเป็น หลอดไฟLED 20W แทนได้เลย หรือของเดิมใช้ขนาด 60W ก็เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟled 30W เป็นต้น

กรณีที่ 2 การเลือกใช้ใหม่ สามารถพิจารณาง่ายๆ คือ ถ้าต้องการความสว่างเทียบเท่าหลอดไส้แบบเดิม 60W ให้เราเลือกใช้หลอดไฟขนาด 25-30W ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าต้องการความสว่างมากกว่าของเดิมก็อาจเลือกใช้ หลอดไฟ led 40W เป็นต้น อย่างไรก็ตามถ้าต้องการความสว่างเฉพาะจุดแบบพิเศษ ก็ควรปรึกษาผู้ขายที่มีความชำนาญเพื่อขอคำแนะนำในการเลือกหลอดไฟ หรือ สามารถให้วิศวกรของเราใช้โปรแกรมออกแบบแสงให้ โดยโปรแกรมจำลองความสว่าง ซึ่งสามารถทำออกมาได้อย่างแม่นยำและใช้เวลาไม่นาน แล้วหลอดไฟที่เลือกซื้อมาก็จะตรงตามความต้องการของท่าน ถ้าเป็นห้องใหญ่ที่ต้องการความสว่างมากๆ ก็แนะนำให้ใช้ หลอดไฟ led แบบยาว เพราะจะให้แสงสว่างที่กว้างกว่าหลอดไฟแบบเกลียว แต่ก็ต้องเลือกวัตต์ที่ตรงตามขนาดของห้องที่เราต้องการติดตั้ง หลอดไฟ LED ด้วย

หมายเหตุ การเลือกหลอดไฟ led ควรเลือกยี่ห้อที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้เท่านั้น เพราะปัจจุบันมีหลายยี่ห้อที่มีกำลังวัตต์จริง ต่ำกว่าที่ระบุไว้หน้ากล่อง ทางเรายินดีให้คำแนะนำด้วยความจริงใจ และรับประกันคุณภาพสินค้าทุกตัวที่จัดจำหน่าย

            การเลือกหลอดไฟในบ้านจากจำนวนวัตต์ให้เหมาะสมนั้น จึงต้องนำทั้งศาสตร์ความรู้เรื่องแสง และเรื่องหลอดไฟ ผสมผสานกับศิลปะในการออกแบบที่มากด้วยจินตนาการเพื่อสร้างสรรค์บรรยากาศของบ้านให้น่าอยู่อาศัยยิ่งขึ้น ซึ่งบ้านเนอวานาได้ดีไซน์ทั้งแสงธรรมชาติ และแสงประดิษฐ์ไว้อย่างกลมกลืน เพื่อให้ทุกคนสัมผัสถึงสุนทรีย์แห่งแสง และเงา พร้อมทั้งยังสามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด เพื่อเติมเต็มความสุขของทุกชีวิตในบ้าน

LED หรือ Light Emitting Diode เป็นเทคโนโลยีของการส่องสว่างแบบใหม่ที่ทนทาน ให้ความสว่างสูง กินไฟน้อย เกิดความร้อนต่ำ ซึ่งระดับความสว่างก็ต่างกันตาม Chip LED โดยสามารถดูค่าความสว่างหรือปริมาณแสง (ลูเมน : lm ) ที่จะบ่งบอกค่าความสว่าง เช่น หลอดไส้ขนาด 100 วัตต์ ให้แสงสว่าง 400 ลูเมน เมื่อเทียบกับ LED จะกินไฟเพียง 5 วัตต์เท่านั้น

  • อ่านความรู้เรื่องหลอดไฟเพิ่มเติมได้ที่ เปลี่ยนหลอดไฟแอลอีดี ไม่ยากอย่างที่คิด
  • อ่านความรู้เรื่องแสงไฟเพิ่มเติมได้ที่ มาทำความรู้จักกับ “แสงไฟ”

หลอดไฟ LED ในบ้านควรใช้กี่วัตต์

การเลือกกำลังวัตต์ของหลอดไฟ LED สำหรับใช้ในบ้านนั้น ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่ายิ่งวัตต์มาก แสงที่ได้ก็สว่างมาก และกินไฟมากด้วยเช่นกัน อีกทั้งแต่ละจุดภายในบ้านมีความต้องการในการใช้งานแสงสว่างแตกต่างกัน การเลือกหลอดไฟและจำนวนวัตต์ให้เหมาะสมจึงต้องคำนึงถึงเรื่องของการใช้งานและความสวยงามด้วย เพื่อที่จะใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและช่วยประหยัดค่าไฟในอนาคตครับ

การเลือกกำลังวัตต์ของหลอด LED ในเบื้องต้นต้องพิจารณาเรื่องแสงไฟที่เหมาะสมที่จะช่วยสร้างสมดุลระหว่างพื้นที่ที่ต้องการให้แสงสว่าง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับพื้นที่และความสูงของห้องด้วย เช่น ห้องทำงานที่ต้องการสมาธิในการทำงาน มีความสูง 2.5 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 15 ตร.ม. จะเหมาะกับหลอด LED 4-5 วัตต์ จำนวน 10 หลอด แต่ถ้าเป็นหลอด LED 7-7.5 วัตต์ ก็สามารถใช้เพียง 6 หลอดก็เพียงพอ เป็นต้น หากเป็นห้องนอนที่ต้องการบรรยากาศผ่อนคลาย ความสูงประมาณ 2.5 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 25 ตร.ม. จะเหมาะกับหลอดไฟ LED 7-7.5 วัตต์จำนวน 4 หลอด ซึ่งจะให้ความสว่างที่เหมาะกับการพักผ่อน ไม่สว่างและไม่มืดจนเกินไปครับ ส่วนห้องนั่งเล่นที่ต้องการใช้ ประโยชน์ของหลอดไฟ LED ในการทำไฟหลืบสร้างลูกเล่นบริเวณเพดานหรือตามเฟอร์นิเจอร์บิลท์อินต่างๆ หากเป็นห้องที่มีเพดานสูง 2.5 เมตร มีพื้นที่ประมาณ 20 ตร.ม. สามารถเลือกใช้หลอดไฟ LED 9-9.5 วัตต์ ประมาณ 4 หลอดก็ได้ครับ

ปัจจัยที่ต้องพิจารณาใน การเลือกซื้อหลอดประหยัดไฟ LED

การเลือกซื้อหลอดประหยัดไฟ LED นั้นมีหลายปัจจัยเป็นองค์ประกอบครับ เพราะในปัจจุบัน ชนิดของหลอดไฟ LED มีให้เลือกซื้อมากมายหลายแบบ การเลือกซื้อและใช้หลอด LED จึงขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานและความพึงพอใจของผู้ใช้งานเป็นหลัก ซึ่งหลัก ๆ แล้วต้องพิจารณาตามแต่ละปัจจัยดังนี้ครับ

1. สีของแสง

ความสว่างของหลอดไฟ LED ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแสงของหลอดไฟ ซึ่งจะมี 2 แสงหลัก คือ แสงนวล Warm White จะให้แสงนวลตา อบอุ่นเหมาะกับการพักผ่อน และแสงขาว Day Light ให้แสงสว่างมาก เหมาะกับพื้นที่ใช้งาน เช่น ห้องทำงาน ห้องครัว ที่ต้องการแสงที่สว่างเคลียร์สบายตา

สีวอร์มไวท์ (Warm white) ให้แสงสีแดงออกโทนส้ม เป็นโทนสีร้อน โทนอบอุ่น ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ ต่ำกว่า 3,000 เคลวิน

สีคูลไวท์ (Cool white) ให้แสงสีในทางสีขาว เป็นโทนสีเย็นสบายตา ค่อนข้างสว่างกว่าเมื่อเทียบกับสีวอร์มไวท์ Warm white ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 3,000-4,500 เคลวิน

สีเดย์ไลท์ (Day light) ให้แสงสีโทนออกขาวอมฟ้า คล้ายแสงธรรมชาติตอนกลางวัน ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 4,500-6,500 เคลวิน ขึ้นไป ให้ค่าสีที่สมจริง

2. ขั้วหลอดต่างขนาด

ขั้วหลอดไฟ LED ที่ใช้กับโคมเป็นแบบไหนต้องไม่ลืมสังเกตให้แน่ใจว่าเป็นขั้วเกลียว ขั้วเกลียวเล็ก ขั้วเข็ม หรือขั้วเสียบ

หลอดขาวขุ่นหรือหลอดใส เราจะสังเกตได้ว่า หลอดไฟมีทั้งแบบหลอดใสและแบบขาวขุ่น ซึ่งผิวเคลือบของหลอดที่ต่างกันก็จะให้แสงที่ต่างกัน หลอดใส เหมาะใช้กับโคมไฟที่ออกแบบตัวโคมให้สร้างลวดลาย ก็จะต้องการการกระจายแสงที่มาก ส่วนหลอดขาวขุ่นจะให้แสงที่สม่ำเสมอเหมาะใช้กับพื้นที่ให้แสงแบบไม่ต้องมีตัวโคม

สวิตช์หรี่ไฟ dimmable การเลือกใช้หลอด LED สำหรับแต่ละที่ต้องดูด้วยว่าต้องการให้หรี่ไฟได้หรือไม่ หลอด LED บางรุ่นหรี่ไฟได้ บางรุ่นหรี่ไฟไม่ได้ สังเกตได้จากสัญลักษณ์ภาพ Dimmable / Not Dimmable

3. รูปทรงหลอดไฟ LED

หลอดจำปา ให้แสงคล้ายแสงเทียน เหมาะสำหรับโคมไฟประดับที่ต้องการเพียงแสงสลัวๆ
หลอดทรงกลม ให้แสงสว่างองศากว้าง เหมาะใช้โคมไฟและโป๊ะโคมที่สร้างลวดลายเวลาเปิดไฟ
หลอดทรงยาว ให้แสงคล้ายหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดนีออน เหมาะสำหรับให้แสงสว่างทั่วไป

  • อ่านความรู้เรื่องแสงไฟเพิ่มเติมได้ที่ “ดิมเมอร์” เปลี่ยนจากสวิตซ์ไฟธรรมดาได้ง่ายๆ
  • อ่านความรู้เรื่องแสงไฟเพิ่มเติมได้ที่ เรียนรู้ Smart Lighting นวัตกรรมไฟฟ้าแสงสว่างอัจฉริยะ

4. มุมกระจายของแสง

การให้แสงของหลอด LED จะเป็นแบบแสงพุ่งตรงเหมือนแสงจากไฟฉาย ดังนั้นในการเลือกหลอด LED จึงต้องดูเรื่องการกระจายแสง จากรีเฟลกเตอร์ของหลอดไฟแต่ละรุ่นประกอบด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนมาใช้หลอด LED จะให้ความประหยัดจริง ต้องดูที่ค่าประหยัดไฟของหลอดไฟ ที่มีตั้งแต่ระดับ A++ คือประหยัดสูงสุด ไปจนถึง E ซึ่งจะลดระดับความประหยัดลงมาครับ

หลอดไฟ LED สว่างสุดกี่วัตต์

เนื่องด้วยเทคโนโลยีของหลอดไฟแอลอีดีมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากการประหยัดค่าไฟ โดยได้ค่าความสว่างที่สูงขึ้นแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดนีออนแบบเก่า ซึ่ง หลอดไฟ LED นั้นก็มีตั้งแต่ 8 วัตต์ สำหรับใช้กันตามบ้านเรือน ไปจนถึง 250 วัตต์ สำหรับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม โรงงาน

หลอดไฟในบ้าน ควรใช้กี่วัตต์

หลอดไฟบ้านกี่วัตต์” เป็นคำถามที่คำตอบ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และลักษณะของพื้นที่นั้นๆ เช่น ห้องทำงานที่ต้องการสมาธิในการทำงาน มีความสูง 2.5 เมตร (ประมาณ 15 ตร.ม.) เหมาะกับหลอดไฟ LED 4-5 วัตต์ จำนวน 10 หลอด แต่หากใช้หลอดไฟ LED 7-7.5 วัตต์ จำนวนเพียง 6 หลอดก็เพียงพอ เป็นต้น

หลอดไฟโคมไฟ ควรใช้กี่วัตต์

โดยปกติเท่าที่เห็นนิยมใช้กันจะเป็นหลอด 3-18 วัตต์

หลอดไฟ 5 วัตต์ สว่างไหม

สุดคุ้มกับหลอดประหยัดไฟ LED 5W ขั้วE27 ให้แสงส่องสว่างสีขาวเดย์ไลท์ มีความสว่าง 320-350ลูเมน ซึ่งเป็นขนาดที่นิยมนำไปใช้งานมาก เน้นเรื่องความประหยัดหลอดไฟLED 5วัตต์ ตัวนี้ถือว่ากินไฟน้อยมากและยังให้แสงสว่างได้ดีเหมาะสำหรับให้แสงสว่างในการใช้งานทั่วๆไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้