ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง พร้อมความหมาย

โครงงานวิทยาศาสตร์
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้น

1. ความหมายของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์
กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ คือ กิจกรรมสำหรับนักเรียนในการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตนเอง โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้คำแนะนำปรึกษาของครูหรือผู้เชี่ยวชาญ กิจกรรมนี้อาจทำเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลก็ได้ และจะกระทำในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้ โดยไม่จำกัดสถานที่ เช่น อาจทำนอกห้องเรียน ในห้องปฏิบัติการ หรือนอกโรงเรียน แม้กระทั่งที่บ้านของนักเรียนก็ได้
กิจกรรมการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นี้เรียกได้ว่า เป็นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เบื้องต้นสำหรับนักเรียน

2. หลักการของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์
2.1 เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยนักเรียนจะเป็นผู้ริเริ่มวางแผน และดำเนินการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทางและให้คำปรึกษา
2.2 เน้นกระบวนการแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มจากการกำหนดปัญหา เลือกหัวข้อที่ตนสนใจจะศึกษา วางแผนการศึกษาค้นคว้า ดำเนินการรวบรวมข้อมูล ทำการทดลอง และสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
2.3 เน้นการคิดเป็น ทำเป็น และการแก้ปัญหาเป็นด้วยตนเอง

3. ความสำคัญและคุณค่าของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จุดมุ่งหมายระหว่างการเรียนวิทยาศาสตร์ทีกำหนดไว้ในหลักสูตรนั้น นอกจากจะต้องการให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของวิชาวิทยาศาสตร์แล้ว ยังต้องการให้นักเรียนมีทักษะในการศึกษาค้นคว้า มีความสนใจวิทยาศาสตร์ มีเจตคติและค่านิยมทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย เช่น มีความใฝ่รู้ ซื่อสัตย์ มีเหตุผล มีใจเป็นกลาง มีความเพียรพยายาม มีความละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจ เป็นต้น
แต่การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพียงในชั้นเรียนตามเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรเท่านั้น ไม่อาจช่วยให้จุดมุ่งหมายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์ได้ ทั้งนี้เพราะครูจำเป็นจะต้องสอนเนื้อหาต่าง ๆ ในหลักสูตรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด นักเรียนจึงไม่ค่อยมีโอกาสมีประสบการณ์ตรงในการใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วนทุกขั้นตอนในกระบวนการเรียนรู้
การให้นักเรียนกระทำกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมให้จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะในการทำโครงงาน นักเรียนจะได้มีโอกาสดำเนินการศึกษา จะศึกษาเอง การวางแผนการศึกษาเพื่อตอบปัญหานั้น ๆ ด้วยตนเอง ออกแบบการทดลองหรือวิธีการศึกษาด้วยตนเอง ลงมือทดลองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน ตลอดจนสรุปผลของการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาและชี้แนะ สรุปได้ว่านักเรียนจะมีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงในกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ทุกขั้นตอน มีโอกาสได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณสมบัติอื่น ๆ ให้แก่นักเรียนด้วย เช่น ความเป็นคนช่างสังเกต มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีวินัยและซื่อสัตย์ในการทำงาน มีความละเอียดรอบคอบ มีความรับผิดชอบ ยอมรังฟังคำติชมและความคิดเห็นของผู้อื่น มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ รู้จักแบ่งเวลาในการทำงานและการกระทำกิจกรรมอื่น ๆ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นต้น

4. ประเภทต่าง ๆ ของโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
4.1 โครงงานประเภทการสำรวจ
4.2 โครงงานประเภทการทดลอง
4.3 โครงการประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์
4.4 โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย

4.1 โครงงานประเภทการสำรวจ เป็นการศึกษารวบรวมปัญหาจากธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษาหาความรู้ที่มีอยู่หรืออยู่ในธรรมชาติ โดยใช้วิธีสำรวจและรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำให้เป็นระบบระเบียบและสื่อความหมาย แล้วนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตาราง กราฟ แผนภูมิ และคำอธิบายประกอบ
การทำโครงงานประเภทนี้ ไม่มีการจัดหรือกำหนดตัวแปรหรือควบคุมตัวแปร อาจกระทำในลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้
1) การเก็บรวบรวมข้อมูลในสนามหรือในธรรมชาติได้ทันทัน โดยไม่ต้องนำวัสดุตัวอย่างมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ ตัวอย่างเช่น “การศึกษาพฤติกรรมของสัตว์บางชนิดในธรรมชาติ” “การศึกษามลพิษในสิ่งแวดล้อม” “การศึกษาการเจริญเติบโตของตัวอ่อนของสัตว์บางชนิด” เป็นต้น
2) การเก็บรวบรวมวัสดุตัวอย่างมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ เช่น โครงงานเรื่อง “การศึกษาปริมาณของอะฟลาทอกซินในถั่งลิสงป่นตามร้านอาหารต่าง ๆ ในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง” “การสำรวจหมู่เลือดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง” เป็นต้น
3) จำลองธรรมชาติขึ้นในห้องปฏิบัติการ แล้วสังเกตและศึกษารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เช่น โครงงานเรื่อง การเลี้ยงผึ้ง ด้วยการนำผึ้งมาเลี้ยงแล้วทำการศึกษารวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของผึ้ง
4.2 โครงงานประเภทการทดลอง เป็นการศึกษาหาคำตอบของปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยการออกแบบการทดลอง และดำเนินการทดลอง ลักษณะสำคัญของโครงการประเภทนี้คือ มีการออกแบบทดลอง เพื่อศึกษาผลของตัวแปรที่มีต่อตัวแปรอีกตัวหนึ่งที่ต้องการศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษาไว้ ตัวอย่างของโครงงานประเภทนี้ ได้แก่
- การศึกษาอิทธิพลของแสงสีต่าง ๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตของพืชบางชนิด
- การศึกษาการเจริญเติบโตของพืชในสนามแม่เหล็ก
- การศึกษาอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชายในสัตว์ตัวเมีย
- การทดลองใช้ผักตบชวาในการกำจัดน้ำเสีย
4.3 โครงงานประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ เป็นการพัฒนาหรือประดิษฐ์ หรือการสร้างอุปกรณ์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อประโยชน์ใช้สอย โดยการประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการพัฒนาหรือการประดิษฐ์ดังกล่าว อาจะเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่ หรือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพขึ้นก็ได้ หรืออาจเป็นการเสนอแบบจำลองทางความคิดเพื่อแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งก็ได้ เช่น
- โครงงานเรื่อง “เครื่องเตือนอัคคีภัยระบบความดัน”
- การประดิษฐ์เครื่องร่อน
- บ้านยุคนิวเคลียร์
- รูปแบบการจัดการจราจรบริเวณทางแยก ฯลฯ
4.4 โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎีหรือ คำอธิบายสิ่งต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ ๆ โดยมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือทฤษฎีอื่น ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ สนับสนุน ทฤษฎีหรือคำอธิบายดังกล่าวอาจใหม่ หรือขัดแย้ง หรือขยายแนวความคิด หรือคำอธิบายเดิมที่มีผู้ให้ไว้ก่อนแล้วก็ได้ อาจเป็นการอธิบายปรากฏการณ์เก่าในแนวใหม่ อาจเสนอในรูปของคำอธิบาย สูตร หรือสมการก็ได้ แต่จะต้องมีข้อมูลหรือทฤษฎีอื่นมาสนับสนุนอ้างอิง
ตัวอย่างโครงงานประเภทนี้ ได้แก่ โครงงานเรื่อง “กำเนิดของทวีปและมหาสมุทร”
เป็นการสร้างแบบจำลองทฤษฎี อธิบายการเกิดของทวีปและมหาสมุทรว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอ้างอิง ซึ่งเป็นแนวความคิดที่แตกต่างไปจากแนวความคิดเดิมที่เคยมีผู้เสนอไว้ก่อนแล้ว
5. วิธีการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีขั้นตอนที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด ตามหลักการแล้วนักเรียนควรจะเป็นผู้คิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษาด้วยตนเอง แต่ครูอาจมีบทบาทหรือมีส่วนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ด้วยตนเอง ดังจะได้กล่าวต่อไป
ขั้นที่ 2 การวางแผนในการทำโครงงาน
ได้แก่ การวางแผนวิธีดำเนินงานในการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด เช่น วัสดุอุปกรณ์ ที่จำเป็นต้องใช้ในการออกแบบการทดลอง และควบคุมตัวแปร วิธีดำเนินการรวบรวมข้อมูล การวางแผนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ ว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้างเป็นขั้นตอน แล้วนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม และขอความเห็นชอบ
ขั้นที่ 3 การลงมือทำโครงงาน
ได้แก่ การลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางไว้ล่วงหน้าแล้วในขั้นที่สองนั่นเอง ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างหรือการประดิษฐ์ การปฏิบัติการทดลอง ซึ่งสุดแล้วแต่จะเป็นโครงงานประเภทใดและการค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ แล้วดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งความหมายของข้อมูล และสรุปผลของการศึกษาค้นคว้า
ขั้นที่ 4 การเขียนรายงาน
เป็นการเสนอผลของการศึกษาค้นคว้าเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเป็นเอกสาร เพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบรายละเอียดทั้งหมดของการทำโครงงาน ซึ่งจะประกอบด้วยปัญหาที่ทำการศึกษาวัตถุประสงค์ของการศึกษา วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ ข้อมูลต่าง ๆ ที่รวบรวมได้ ผลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนประโยชน์และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่ได้จากการทำโครงงานนั้น ๆ
วิธีเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ก็มีลักษณะและแนวทางในการเขียน เช่นเดียวกับการเขียนรายงานผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของนักวิทยาศาสตร์นั่นเอง
ขั้นที่ 5 การแสดงผลงาน
เป็นการเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าสำเร็จลงแล้วให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ ซึ่งอาจกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ การสาธิตแสดงประกอบการรายงานปากเปล่า ฯลฯ
ในการจัดแสดงผลงานของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ครูอาจกระทำได้ในหลายระดับ เช่น - การจัดเสนอผลงานภายในชั้นเรียน
- การจัดแสดงนิทรรศการภายในโรงเรียนเป็นการภายใน
- การจัดแสดงนิทรรศการในงานประจำปีของโรงเรียน
- การส่งโครงงานเข้าร่วมในงานแสดงหรือประกวดภายนอกโรงเรียนในระดับต่าง ๆ เช่น ระดับกลุ่มโรงเรียน ระดับจังหวัด ระดับเขตการศึกษา และระดับชาติ เป็นต้น

6. การเปรียบเทียบบทบาทของครูและนักเรียนในขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำโครงงาน
เพื่อให้เข้าใจกระบวนการเรียนการสอน ให้นักเรียนทำโครงงานงวิทยาศาสตร์ชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอเสนอตารางแสดงการเปรียบเทียบบทบาทของนักเรียนและครูในขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ตาราง บทบาทของนักเรียนและครูในขั้นตอนต่าง ๆ ของการทำโครงงาน
กิจกรรมในขั้นตอนต่าง ๆ บทบาทของนักเรียน บทบาทของครู
1. การคิดและเลือก
หัวข้อเรื่องหรือปัญหา - สัมผัสกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหา
- ตระหนักถึงปัญหา
- สนใจที่จะค้นคว้าหาคำตอบ
- อภิปรายและสนทนากับอาจารย์/
เพื่อน ๆ - กระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะทำ
โครงงาน โดย
* จัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยให้
นักเรียนสัมผัสกับปัญหา เพื่อที่
นักเรียนจะได้มอบเห็นปัญหา
2. การวางแผนในการทำ
โครงงาน - กำหนดขอบเขตของปัญหา
- ตั้งวัตถุประสงค์ - ให้คำปรึกษาแก่นักเรียนในการ
วางแผนทำโครงงาน เช่น
- ศึกษาเอกสาร
- ตั้งสมมุติฐาน * ให้ความคิดเห็นในเรื่องความเป็นไปได้ของโครงงาน
- ออกแบบการทดลองและกำหนด
ตัวแปร * ชี้แนะแหล่งความรู้ต่าง ๆ
* ติชมแผนงานในการทำโครงงาน
ทั้งหมดของนักเรียน
3. การลงมือทำโครงงาน - สร้าง/จัดหาเครื่องมือ
- ทดลอง/รวบรวมข้อมูล - อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้แก่
นักเรียน
- วิเคราะห์ข้อมูลและแปรความหมาย
ข้อมูล - ติดตามการทำงานของนักเรียน
ทุกระยะ
- ให้กำลังใจ
- ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ เมื่อจำเป็น
- ให้ข้อติดชม วิธีวิเคราะห์ และ
แปรผลของการวิเคราะห์
4. การสรุปผลของการ
ศึกษาและเขียนรายงาน - สรุปข้อค้นพบ
- เขียนรายงานโครงงาน - แนะนำและให้ข้อติชมการเขียน
รายงานโครงงานของนักเรียน
5. การแสดงผลงาน - เสนอผลของการศึกษาในรูปแบบ
ต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาสาธารณสุข - จัดกิจกรรมเพื่อให้โอกาสนักเรียน
ได้แสดงผลงาน
- ส่งผลงานของนักเรียนเข้าร่วม
แสดงหรือประกวด
- ประเมินผลการทำโครงงานของ
นักเรียน

สรุปแนวปฏิบัติในการสอนนักเรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์
1. กระตุ้นให้นักเรียนสนใจในการจะทำโครงงาน
2. แนะแนวให้นักเรียนรู้วิธีการทำโครงงาน
3. จัดกิจกรรมเพื่อช่วยให้นักเรียนมองเห็นปัญหา
4. แนะแนวทางนักเรียนในการเลือกหัวข้อหรือปัญหาที่ตนสนใจ
5. ให้คำปรึกษานักเรียนในการวางแผนทำโครงงาน
6. อำนวยความสะดวกแก่นักเรียนในการทำโครงงาน
7. ติดตามการทำโครงงานของนักเรียนทุกระยะ
8. ให้คำปรึกษาในการเขียนรายงาน
9. ให้โอกาสนักเรียนแสดงผลงาน
10. ประเมินผลการทำโครงงานของนักเรียน

โครงงาน 4 ประเภทมีอะไรบ้าง

1. โครงงานที่เป็นการสำรวจ รวบรวมข้อมูล 2. โครงงานที่เป็นการค้นคว้า ทดลอง 3. โครงงานที่เป็นการศึกษาทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดใหม่ๆ 4. โครงงานที่เป็นการประดิษฐ์ คิดค้น

โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลองมีลักษณะสําคัญอย่างไรบ้าง

2. โครงงานประเภททดลอง เป็นการหาคาตอบโดยใช้การทดลอง ที่ผ่านการพิสูจน์อย่างน่าเชื่อถือ เป็นการศึกษาผลของตัวแปรหนึ่ง ที่มีผลต่ออีกตัวแปรหนึ่งโดยควบคุมตัวแปรอื่นๆที่มีผลกระทบ มีตัวแปรที่ สาคัญ 3 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรต้น คือสิ่งที่เป็นสาเหตุ/ตัวแปรตาม คือสิ่งที่ต้องการศึกษาและตัวแปรควบคุม คือ สิ่งที่กาหนดให้คงที่เหมือนกัน ...

โครงงานวิทยาศาสตร์มีความหมายว่าอย่างไร

โครงงานวิทยาศาสตร์หมายถึง กิจกรรมใดๆที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและลงมือปฏิบัติ ศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเองโดยอาศัย ทักษะ และกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ไปช่วยแสวงหาความรู้ หรือแก้ปัญหา ความส าคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์

ข้อใดจัดเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี

โครงงานประเภททฤษฎีเป็นโครงงานที่มีการสร้างทฤษฎีใหม่เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ โครงงานที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวแปร จัดเป็นโครงงานประเภทสำรวจ โครงสร้างที่มีการประดิษฐ์และจัดหมวดหมู่ที่สวยงาม โครงงานที่มีการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ และมีการทดสอบประสิทธิภาพของสิ่งนั้น จัดเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้