ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ได้กี่งบ

ด้วยข้อกฎหมายที่กำหนดว่า เมื่อกิจการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะมีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงิน โดยงบการเงินดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจสอบ และแสดงความคิดเห็นจาก ผู้สอบบัญชี เพื่อยืนยันว่างบการเงินที่กิจการทำถูกต้องหรือไม่ ก่อนนำส่งหรือใช้ยื่นเสียภาษีประจำปีแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

โดยกิจการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ต้องมีผู้สอบบัญชี ตรวจสอบงบการเงินของกิจการ ประกอบด้วย

– บริษัทจำกัด

– ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด

– บริษัทมหาชนจำกัด

– นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่าง ประเทศประกอบธุรกิจในไทย

– กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร

– มูลนิธิ สมาคม

– นิติบุคคลอาคารชุดหรือหมู่บ้านจัดสรร

 

ทั้งนี้ ผู้สอบบัญชี จะต้องเป็นบุคคลภายนอกบริษัท เป็นผู้สอบบัญชีที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของกิจการ และต้องไม่ใช่คนเดียวกับคนทำบัญชี เพื่อให้มั่นใจว่า งบการเงินและข้อมูลทางการเงินของกิจการ ได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นอิสระ และโปร่งใส

 

ผู้บริหารของกิจการมีความรับผิดชอบอย่างไรต่องบการเงิน

ทำไมผู้บริหารของกิจการจึงต้องให้ความสนใจในการสอบบัญชีด้วย คำตอบก็คือ เพราะว่างานสอบบัญชีของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการใช้ข้อมูลของผู้ใช้งบการเงิน อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการทุจริตหรือข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในงบการเงินได้อีกด้วย

โดยผู้บริหารของกิจการจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำงบการเงิน ซึ่งหมายความว่า ผู้บริหารอาจจะไม่ต้องมานั่งทำงบการเงินด้วยตนเอง แต่มอบหมายให้พนักงานบัญชีของกิจการ หรือว่าจ้างสำนักงานทำบัญชีภายนอกกิจการ เป็นผู้รวบรวมข้อมูลทางการเงินเพื่อนำมาจัดทำงบการเงิน แต่อย่างไรก็ดี ผู้บริหารของกิจการเหล่านั้นต้องรับผิดชอบต่อรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในงบการเงิน ผู้บริหารจะไม่สนใจ ละเลยการจัดทำบัญชี หรือปฏิเสธไม่รู้ไม่ทราบรายการที่ปรากฎในงบการเงินที่ตนรับผิดชอบคงมิได้

จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงเป็นเหตุให้ ผู้สอบบัญชี จึงอาจจะถูกตั้งความคาดหวังจากบุคคลต่างๆ ที่ต้องการใช้ประโยชน์จากงบการเงินของกิจการ ว่างบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีแล้วต้องมีคุณภาพ น่าเชื่อถือ ผู้สอบบัญชีจึงต้องรักษาไว้ซึ่งจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเป็นอิสระจากกิจการที่ไปตรวจสอบ ซึ่งหากว่าผู้สอบบัญชีขาดความเป็นอิสระแล้ว เช่น ถูกผู้บริหารกดดันให้แสดงความเห็นต่องบการเงินที่ผิดให้เป็นถูก ก็จะทำให้งบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบนั้นไม่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน งบการเงินไม่มีคุณภาพ ผู้สอบบัญชีก็ขาดความน่าเชื่อถือ

หากผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานทางวิชาชีพแล้ว รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต รวมทั้งข้อมูลในงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงินกลุ่มต่างๆ  ยกตัวอย่างเช่น สถาบันการเงินใช้งบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีแล้ว ในการพิจารณาการให้สินเชื่อแก่กิจการ การอนุมัติวงเงินสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ย รวมทั้งระยะเวลาการให้สินเชื่อ เป็นต้น

สำหรับผู้บริหารของกิจการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในงบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชีในการตัดสินใจลงทุนขยายกิจการ การพิจารณาต้นทุน การควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ การวางแผนกำไร เป็นต้น สำหรับผู้ลงทุนในกิจการจะต้องสนใจข้อมูลในงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีแล้ว เพื่อใช้ในการพิจารณาเพื่อตัดสินใจลงทุนกับกิจการ ในขณะที่กรมสรรพากรก็สนใจข้อมูลในงบการเงินของกิจการเพื่อใช้ในการประเมินการจัดเก็บภาษีประจำปี

 

คุณสมบัติของผู้สอบบัญชี

ผู้สอบบัญชี จะต้องเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็น “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต” โดยมีคุณสมบัติดังนี้

1.ได้รับปริญญาทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ซึ่ง ก.บช. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือเป็นผู้ได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีที่การศึกษาวิชาการบัญชี ซึ่ง ก.บช. เห็นสมควรให้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้

2.ต้องเคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีมาแล้ว โดย ก.บช. เห็นว่าทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้

3.มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว

4.มีสัญชาติไทยหรือสัญชาติต่างประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สอบบัญชีในประเทศนั้นได้

5.ไม่เป็นผู้มีความพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี

6.ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่ ก.บช. เห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

7.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ

8.ไม่ประกอบอาชีพอย่างอื่นที่ไม่เหมาะสม หรือทำให้ขาดความเป็นอิสระในหน้าที่ผู้สอบบัญชี

 

ผู้สอบบัญชีที่กิจการควรเลือกใช้บริการ

การทำงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

กิจการส่วนใหญ่ที่เป็นบริษัทจำกัดหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งในแต่ละปีต้องนำส่งงบการเงินให้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและนำส่งรายงานภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี (ภ.ง.ด.50) ที่มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรอง ดังนั้นจึงขออธิบายถึงแนวทางการทำงานของผู้สอบบัญชีหรือ CPA ดังนี้

1. มีความเป็นอิสระ และมีความซื่อสัตย์สุจริต

ในการปฏิบัติงานผู้สอบบัญชีต้องมีความเป็นอิสระคือไม่มีส่วนได้เสียในกิจการที่เข้าตรวจสอบ มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่ปกปิดข้อเท็จจริงที่พบจากการตรวจสอบ

2. ใช้ความรู้ความสามารถ มีความระมัดระวังรอบคอบในการปฎิบัติงาน

CPA จะใช้ความรู้ความสามารถ ความชำนาญในวิชาชีพ ด้วยความระมัดระวังรอบคอบในการวางแผนและรวบรวมหลักฐานการตรวจสอบที่เพียงพอต่อการแสดงความเห็น นอกจากนี้ ยังต้องพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องหรือที่เรียกว่า CPD (Continuing Professional Development) เพื่อดำรงสถานะของวิชาชีพและเพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆด้านวิชาชีพบัญชีและความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของวิชาชีพ

3. รักษาความลับของกิจการที่ตรวจสอบ

CPA ต้องไม่นำข้อมูลความลับของกิจการที่ตรวจสอบไปเปิดเผย ยกเว้นได้รับความยินยอมจากลูกค้าหรือการให้ถ้อยคำในฐานะพยาน

4. ไม่ละทิ้งงานตรวจสอบโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

5. มีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ

CPA ต้องไม่ปฏิบัติงานตรวจสอบโดยนำความเสื่อมเสียมาสู่วิชาชีพ เช่น ในการแสดงความเห็นต่องบการเงิน โดยมิได้ปฏิบัติงานตรวจสอบ หรือการแนะนำให้ลูกค้าทำบัญชี 2 ชุด หรือการจัดทำหลักฐานเท็จต่อทางราชการ

 

เลือกผู้สอบบัญชีอย่างไร

การสอบบัญชี เป็นเรื่องที่กิจการต้องจัดให้มีขึ้นตามกฎหมาย เพื่อเป็นการตรวจสอบว่างบการเงินของกิจการได้แสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและมาตารฐานการรายงานทางการเงิน  โดย ผู้สอบบัญชี รับอนุญาตจะปฏิบัติงานสอบบัญชีโดยวิธีการทดสอบรายการบัญชี ระบบควบคุมภายในและการเปิดเผย ข้อมูลงบการเงิน ประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้ รวมทั้งประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ

เมื่อการตรวจสอบบัญชีเป็นเรื่องสำคัญ จึงจำเป็นต้องใช้ผู้ที่สอบบัญชีที่มีความรู้ความสามารถ และมีมาตรฐาน วันนี้เรามีข้อแนะนำในการเลือกผู้สอบบัญชีมาฝากกัน

1.เลือกผู้สอบบัญชีที่มีความรู้และประสบการในสายธุรกิจของเรา เพราะผู้สอบที่มีประสบการณ์จะเข้าในรูปแบบของธุรกิจ และจะสามารถรู้จุดอ่อนหรือข้อปกพร่องของระบบ เมื่อผู้สอบบัญชีได้ทราบถึงบัญหาจะสามารถแนะนำให้กิจการแก้ไขได้

2.ผู้สอบบัญชีมีทีมงานที่มีประสอบการณ์และมีคุณภาพ ติดตามข่าวสาร อัพเดทความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และมาตรฐานการสอบบัญชีอย่างสม่ำเสมอ

3.ในกรณีที่ผู้ประกอบการใช้บริการโดยผ่านสำนักงานบัญชี ท่านจะต้องเก็บหลักฐานหนังสือตอบรับงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากร เป็นผู้จัดทำ และท่านลงนามเห็นชอบในข้อตกลงดังกล่าวด้วย

4. ผู้สอบบัญชีที่ดี ควรเป็นผู้สอบบัญชีที่มีการปฏิบัติงานจริง มีหลักฐานในการตรวจสอบ มีความรับผิดชอบต่อลูกค้าที่รับงาน

5.ผู้ประกอบการควรติดต่อกับผู้สอบบัญชีเอง เพื่อลดความเสี่ยงในการที่บุคคลอื่นเอาชื่อของผู้สอบบัญชีมาแอบอ้างในการรับงานของท่าน

6.ผู้สอบบัญชี มีสถานะเป็นผู้สอบบัญชีจริงๆ ไม่อยู่ระหว่างการพักหรือเพิกถอนใบอนุญาตผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

 

โดยวิธีที่ง่ายที่สุดในการเลือกผู้สอบบัญชี กิจการอาจมองหาผู้สอบบัญชีจากสำนักงานบัญชีที่มีบริการรับตรวจสอบบัญชี เพราะจะช่วยเพิ่มความมั่นใจและความน่าเชื่อถือ ในเรื่องของหลักแหล่งการทำงานที่ชัดเจนของผู้สอบบัญชี สามารถช่วยเหลือในเวลาที่กิจการต้องการความช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่ และกระบวนการทำงานที่เป็นระบบยิ่งขึ้น ซึ่งกิจการสามารถศึกษาแนวทางการเลือกสำนักงานบัญชีรับตรวจสอบบัญชีได้จากบทความ “บริษัทตรวจสอบบัญชีแบบไหน ที่กิจการควรเลือกให้บริการ”

 

 

PrevPreviousจุดเปลี่ยน! จากภาพสะท้อน งบแสดงฐานะการเงิน

Nextบริษัทตรวจสอบบัญชี แบบไหนที่กิจการควรเลือกใช้บริการNext

OUR STORY

เรามีชื่อในการช่วยเหลือเจ้าของธุรกิจในเรื่องบัญชีและภาษีเพื่อให้เจ้าของธุรกิจมั่นใจว่าบัญชีและภาษีที่ทำออกมานั้นถูกต้องอีกทั้งเรายังให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจที่กำลังเติบโต ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจต่างๆ

ไม่ว่าจะเรื่องจำนวนคนหรือเวลาที่มีน้อยกว่าบริษัทระดับ Corporate หรือความรู้ในการบริหารจัดการภาษีซึ่งเราก็มีผู้ตรวจสอบบัญชี CPA คอยให้คำแนะนำกับเจ้าของธุรกิจทุกท่าน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้