นิสัยแห่งคุณภาพ มี กี่ ประการ

The 7 Habits of Highly Effective People ประพันธ์โดย Steven Covey เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมอย่างมากต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 15 ปี และถูกจำหน่ายไปแล้วกว่า 15 ล้านเล่ม ผู้แต่งได้กล่าวถึงนิสัย 7 ประการของผู้ที่ประสบความสำเร็จ แผนที่ในการดำเนินชีวิตเพื่อไปสู่ความสำเร็จ และวิธีการยกระดับคุณภาพจิตใจ เป็นต้น มีใจความสำคัญ ดังต่อไปนี้

      ก่อนที่จะกล่าวถึงนิสัยทั้ง 7 ประการ ผู้แต่งได้ให้แง่คิดว่ามนุษย์มีสิ่งที่แตกต่างจากสัตว์เดรัจฉานอยู่  3 อย่างคือ มีสามัญสำนึกรู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีพลังจิต ดังนั้น การเอาใจใส่และหมั่นฝึกฝนคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้จนกลายเป็นนิสัย จะทำให้ประสบความสำเร็จและมีความสุขอย่างแท้จริง นอกจากนั้น ผู้แต่งได้กล่าวว่า กรอบในการมองโลก (paradigm) หรือนิสัยของคนเรานั้นส่วนใหญ่จะถูกปลูกฝังมาจากการสั่งสอนของคนรอบข้าง การใช้ชีวิตในสังคม และจากการเรียนรู้ด้วยตัวเอง และด้วยความเคยชินทำให้คนเรานั้นไม่เคยฉุกคิดว่ามุมมองที่มีอยู่นั้นถูกต้องหรือเหมาะสมหรือไม่ จึงก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งและไม่เข้าใจผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา เพราะเอาความคิดของตนเองเป็นตัวตัดสิน ดังนั้น ผู้แต่งจึงแนะนำให้หยุดทบทวนแนวความคิดมุมมองและคติธรรมในใจที่เคยยึดถือตลอดมาว่า สิ่งเหล่านั้นถูกต้องแล้วจริงหรือ ให้พิจารณาตามความเป็นจริง สิ่งไหนคิดผิดให้คิดใหม่แก้ไขที่ต้นเหตุ เมื่อเข้าใจตนเองจึงจะเข้าใจผู้อื่นได้ นอกจากนั้นผู้แต่งยังเชื่อว่าผู้ที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการมีสมองข้างขวาที่ทรงประสิทธิภาพสามารถควบคุมการทำงานของสมองด้านซ้ายได้ สมองข้างขวามีหน้าที่เตือนให้รู้จักผิดชอบชั่วดี การมีจินตนาการ และการมีอารมณ์และความรู้สึก ดังนั้น การฝึกใช้จินตนาการและมีสติรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นการพัฒนาการทำงานของสมองด้านขวาได้เป็นอย่างดี

     กฎข้อที่ 1. นิสัยรู้และเลือก (Be Proactive)
การรู้และเลือกคือการมีสติตามตัวอยู่ตลอดเวลา รู้ตัวว่าขณะนี้ตนเองกำลังทำอะไรอยู่ และผลที่เกิดจากการกระทำนี้คืออะไร  รู้ว่าขณะนี้ตัวเรากำลังอยู่ในสถานการณ์แบบใด สถานการณ์ปกติหรือมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรานั้น มีผลอะไรต่อตัวเราบ้าง และเรามีการตอบสนองต่อสิ่งที่กำลังเผชิญอย่างไร ตอบสนองด้วยกิริยาใดด้วยอารมณ์แบบไหน ปกติแล้วมนุษย์มีอารมณ์หลักอยู่สามอารมณ์คือ สุข ทุกข์ และเฉย ๆ หากเรารู้เท่าทันอารมณ์เราจึงจะรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ เมื่อรู้แล้วเมื่อเห็นแล้วจึงจะเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องได้ คนเรามีสิทธิ์ที่จะกำหนดชีวิตของตนเองแต่ทุกวันนี้คนส่วนใหญ่มักปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปตามกระแสสังคม ถูกฉุดกระชากไปตามอารมณ์และการกระทำของผู้อื่น เช่นเมื่อได้รับคำชมก็ดีใจ ได้รับคำตำหนิก็เสียใจ หรือคนพูดไม่ได้ดั่งใจก็โกรธ เป็นต้น เราเอาพฤติกรรมของเราไปขึ้นกับการกระทำและความคิดของผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา สรุปแล้วชีวิตนี้เป็นของใครกันแน่ ดังนั้น หากเรารู้จักเลือก รู้จักหยุดคิดก่อนที่จะตอบสนอง เราจึงจะมีชีวิตที่เป็นของเราจริง ๆ และจะเลิกโทษผู้อื่น เลิกโทษโชคชะตาเทวดาฟ้าดิน และจะได้ชื่อว่าเป็นคนที่มีวุฒิภาวะอย่างแท้จริง เมื่อนั้นจิตจึงจะนิ่งสงบไม่กระเพื่อมไปกับสิ่งภายนอกที่เข้ามากระทบ จิตจึงมีพลังสามารถทำการใหญ่ได้ การจะมีสติตามทันอารมณ์ได้นั้นจิตต้องมีความสงบหรือมีสมาธิในระดับหนึ่ง ซึ่งทำได้โดยการ การสวดมนต์ หรือทำสมาธิ เป็นต้น

      กฎข้อที่ 2. สร้างเป้าหมายในชีวิตเป็นภาพจารึกไว้ในจิตใจ (Begin with the End in Mind)
การมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น ตอนนี้ อีก 5 ปี 10 ปี หรือในบั้นปลายชีวิตเราอยากจะมีชีวิตแบบใด  เมื่อมีเป้าหมายเราจะรู้ว่าตอนนี้ควรทำสิ่งใด  ตอนนี้กำลังยืนอยู่ตรงจุดไหน จะต้องไปอีกไกลเท่าไร และไปด้วยวิธีใดบ้างจึงจะบรรลุเป้าหมาย จะทำให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันมีคุณค่าและไม่น่าเบื่อ เป้าหมายจะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมต่าง ๆ ของเรา เป้าหมายที่ดีจะต้องชัดและต้องสร้างเป็นภาพจารึกไว้ในจิตใจตลอดเวลาและการสร้างเป้าหมายต้องมาจากสิ่งที่เราชอบจริง ๆ ไม่ใช่ทำตามกระแสสังคม และที่สำคัญเป้าหมายนั้นต้องพอที่จะเป็นไปได้ นอกจากนั้นเป้าหมายในที่นี้ผู้แต่งยังหมายถึงภาพพจน์ที่เราต้องการให้คนอื่นจดจำเราได้นั้นเป็นแบบใด เช่นหากเราตายไปตอนนี้เราอยากให้ทุกคนจดจำเราได้ในแบบใด เป็นต้น

     กฎข้อที่ 3. ทำสิ่งที่ต้องทำก่อน (Put First Things First)
การทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน จะต้องเลือกทำในสิ่งที่นำพาเราไปสู่เป้าหมายก่อนเป็นอันดับแรก และทำอย่างต่อเนื่อง และต้องมีการประเมินตนเองอยู่ตลอดเวลาว่าขณะนี้เรากำลังอยู่ตรงจุดไหน อีกไกลเท่าไร และเรามาถูกทางหรือไม่ มีเส้นทางใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นหรือเปล่า หรือเรากำลังเสียเวลาไปกับสิ่งที่ไร้สาระ เป็นต้น ในการประเมินแต่ละครั้งจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง จะต้องซื่อสัตย์ ใช้สติ และไม่เข้าข้างตัวเอง นอกจากนั้นควรเลือกทำสิ่งที่ไม่เร่งด่วนแต่สำคัญในชีวิตก่อน คนส่วนใหญ่มักเลือกทำในสิ่งที่เร่งด่วนก่อนเสมอ โดยลืมนึกไปว่าสิ่งเหล่านั้นสอดคล้องกับเป้าหมายในชีวิตหรือไม่ จงอย่าทำตามสิ่งที่สังคมกำหนด แต่ให้เลือกทำในสิ่งที่เรากำหนดเอง และผู้แต่งกล่าวเพิ่มเติมว่า การวางแผนทำสิ่งใดต้องวางแผนในระยะยาวอย่าวางแบบวันต่อวัน เพื่อจะได้งานเป็นกรอบเป็นกำ และต้องหัดมอบหมายงานให้กับคนที่ไว้ใจได้ เพื่อที่เราจะได้มีเวลาไปทำสิ่งที่สำคัญและตรงตามเป้าหมายในชีวิตได้มากขึ้น

กฎข้อที่ 4. การรู้จักแบ่งผลปันประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย (Think Win/Win)
ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น เช่น คนในครอบครัว เจ้านายลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้า เป็นต้น ทุกฝ่ายจะได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน การไม่คิดถึงตัวเองแต่เพียงฝ่ายเดียวหรือเอาความคิดของตนเองเป็นที่ตั้ง นั่นคือการรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน สิ่งเหล่านี้รู้ได้โดยการมองย้อนเข้าหาตัวเองว่าหากเป็นเราเจอแบบนี้จะรู้สึกอย่างไร และนอกจากการเข้าใจผู้อื่นแล้วผู้แต่งได้กล่าวถึงบุคลิกลักษณะที่น่าคบหาสมาคมและน่าเชื่อถือคือต้องปากกับใจตรงกัน รู้จักรักษาคำพูด มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่มั่นคง สงบนิ่ง ใจกว้าง และมองโลกในแง่ดี และที่สำคัญในฐานะผู้บริหารหากต้องการให้คนในองค์กรได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ควรจะจัดระบบขึ้นมารองรับ เช่นคนที่ตั้งใจทำงานก็ควรจะมีรางวัลหรือโบนัส เป็นต้น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและทุกฝ่ายในองค์กรได้รับประโยชน์เท่ากันอย่างแท้จริง

      กฎข้อที่ 5. การพยายามเข้าใจผู้อื่นมากกว่าให้ผู้อื่นมาเข้าใจเรา (Seek First to Understand, Then to Be Understood)
ส่วนใหญ่แล้วมนุษย์มักชอบพูดให้ผู้อื่นฟังมากกว่าฟังที่คนอื่นพูด ดังนั้น เมื่อไม่มีใครยอมฟังใครปัญหาจึงเกิดขึ้น การฟังอย่างตั้งใจและพยายามที่จะเข้าใจผู้อื่นแทนที่จะให้ผู้อื่นมาเข้าใจเรา อีกฝ่ายจะรับรู้ถึงความรู้สึกเห็นอกเห็นใจจากเรา และเกิดความผ่อนคลายลงในระดับหนึ่งและจะยอมรับฟังความคิดเห็นจากเราด้วยในที่สุด การเป็นผู้ฟังที่ดีและพยายามที่จะเข้าใจอีกฝ่าย เช่น ขณะนั้นเขารู้สึกอย่างไร และเขาพูดไปเพื่ออะไร เป็นต้น จะทำให้มองเห็นประเด็นของปัญหาได้อย่างชัดเจนและสามารถแก้ไขได้อย่างตรงจุด แต่ผู้แต่งได้ให้ข้อคิดไว้ว่า การฟังนั้นต้องฟังอย่างมีสติ อย่าฟังจนเคลิ้มและต้องมีจุดยืนในตัวเองด้วย ผู้แต่งได้กล่าวเพิ่มเติมว่าการฟังด้วยความเห็นอกเห็นใจจะช่วยลดอคติที่มีต่ออีกฝ่ายได้และจะไม่เกิดการตัดสินคนจากคำพูดเพราะขณะนั้นจิตใจจะมีความเมตตาไม่ปรุงแต่งเป็นอารมณ์ นอกจากนั้นหากต้องการพูดแสดงความเห็นอกเห็นใจ ก่อนพูดควรถามความรู้สึกของตนเองก่อนว่าในเวลานี้ควรพูดหรือไม่ ควรพูดแค่ไหน และควรพูดอย่างไรจึงจะเป็นการแสดงความเห็นอกเห็นใจอีกฝ่ายอย่างแท้จริง

      กฎข้อที่ 6. การสร้างทีมเวิร์ค (Synergize)
การสร้างทีมเวิร์คให้เกิดขึ้นภายในองค์กรเป็นหน้าที่ของผู้บริหารคือการดึงเอาศักยภาพของลูกน้องแต่ละคนมาผสมผสานกันอย่างลงตัว และสามารถเปลี่ยนความขัดแย้งให้กลายเป็นสิ่งที่สร้างสรรค์ได้ ในฐานะผู้บริหารต้องมองปัญหาและการทะเลาะเบาะแว้งให้เป็นเรื่องปกติ แต่ให้คิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะสามารถเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ให้กลายเป็นผลงานได้ นอกจากนั้น การบริหารลูกน้องจำนวนมาก ๆ จะใช้วิธีเดียวกันหมดไม่ได้เพราะแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ในฐานะเจ้านายจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะรู้ได้ว่าคนไหนต้องใช้วิธีใดก็ต้องเริ่มจากการรู้จักตนเองก่อนเมื่อรู้จักตนเองจึงจะรู้จักผู้อื่น และต้องพยายามเข้าใจว่าอีกฝ่ายกำลังรู้สึกอย่างไรด้วย จึงจะสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการได้อย่างทันท่วงที ผู้แต่งได้ให้ข้อคิดในการทำงานเป็นทีมคือ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือความถ่อมตน จงคิดว่าทุกคนย่อมมีข้อดีในแต่ละด้าน ไม่มีใครดีกว่าใคร หากคิดเช่นนี้อัตตาตัวตนก็ไม่เกิด การทำงานเป็นทีมจึงจะสมบูรณ์

กฎข้อที่ 7. การเพิ่มพลังชีวิต (Sharpen the Saw)
ว่าด้วยวิธีการพักจิต และเพิ่มพลังเพื่อพร้อมที่จะต่อสู้กับชีวิตต่อไป มีวิธีการ ดังนี้
 1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์     
 2. หัดสร้างมโนภาพอยู่ตลอดเวลา ต้องอ่านหนังสือเพิ่มพูนความรู้
3. มีความเมตตาและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
 4. เข้าใจและรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ และสร้างความสงบภายใน

จากนิสัยแห่งความสำเร็จทั้ง 7 ประการ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถสรุปเป็นใจความสั้น ๆ ได้ว่า Steven Covey ให้ความสำคัญในเรื่องการใช้สมองข้างขวา การใช้จินตนาการ การมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การมีหลักคุณธรรมในการดำรงชีวิต และการสร้างแผนที่ชีวิต

ที่มา : //www.drboonchai.com/

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้