ระดับการวิเคราะห์ข้อมูลมีกี่แบบ

บทความนี้จะพูดถึงเรื่อง 4 Types of Data Analytics หรือ 4 ประเภทหรือ 4 ขั้นตอนการทำ Data Analytics ด้วยภาษานักการตลาดตามแบบฉบับการตลาดวันละตอนที่อยากให้เพื่อนๆ นักการตลาด ผู้บริหาร หรือเจ้าของธุรกิจได้พอเข้าใจแนวทางและวิธีการเพื่อจะได้เอาไปคุยกับทีมที่ทำด้าน Data ได้อย่างเข้าใจว่าสรุปแล้วที่ตัวเองต้องการคืออะไร หรือสิ่งที่ทีม Data กำลังทำอยู่คือแบบไหน เพราะสิ่งสำคัญในการทำงานกับ Data คือความเข้าใจกันระหว่างทีม Business & Marketing กับทีม Data ครับ

Data Analytics คืออะไร?

การทำ Data Analytics คือการเอาข้อมูลต่างๆ ที่ไม่ได้มีแค่การวิเคราะห์หรือสรุปออกมาเป็นรายงานที่พร้อมอ่าน เพราะนั่นเป็นแค่ขั้นตอนสุดท้ายของการทำ Data Analytics แล้วเท่านั้น ก็เหมือนกับการที่คุณเข้าไปร้านอาหารแล้วสั่งข้าวผัดกะเพรามาหนึ่งจานแล้วสรุปคิดเอาเองว่าการทำอาหารคือแค่สั่งออกไปก็ได้มากินแล้ว แต่ในความเป็นจริงการทำ Data Analytics ยังมีขั้นตอนอีกมากมายที่เริ่มตั้งแต่การจัดการกับ Data ที่มีให้พร้อมใช้งาน การเอา Data จากช่องทางต่างๆ ที่ได้มารวมไว้พร้อมกันในที่เดียว แล้วยังมีการทำ Model ต่างๆ การทำ Data Visualization หรือทำ Data ออกมาให้เป็นภาพ ก่อนจะค่อยออกมาเป็นข้อสรุปในตอนท้ายว่าตกลงแล้วเรารู้อะไรใหม่จากการทำ Data Analytics บ้าง

และขั้นตอนการทำ Data Analytics ก็แบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนหรือ 4 ประเภทที่ผมเรียนรู้ด้วยตัวเองจากการประยุกต์ใช้แผนภาพนี้ ซึ่งในวันนี้อยากจะขอเอามาแชร์จากประสบการณ์ตรงด้วยการครูลักพักจำคลำๆ ด้วยตัวเองมาพักนึงให้เพื่อนๆ นักการตลาด นักธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการได้พอเข้าใจวิธีการ แนวทาง แล้วเอาไปต่อยอดในแบบของตัวเองกันครับ

4 Types of Data Analytics เข้าใจอดีตจาก Data เพื่อนำไปสู่การทำนายอนาคต

4 Types of Data Analytics ประกอบด้วย 4 หัวข้อขั้นตอนหลักดังนี้

  1. Descriptive Analytics วิเคราะห์ให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น
  2. Diagnostic Analytics วิเคราะห์ต่อให้รู้ว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้นเพราะอะไร
  3. Predictive Analytics แล้วอีกหน่อยจะเกิดอะไรขึ้นได้อีกบ้าง
  4. Prescriptive Analytics ถ้าเราทำแบบนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง

โดยข้อ 1 กับ 2 จะเป็นการวิเคราะห์ Data เพื่อให้เข้าใจปัจจุบันหรือรู้อดีต ส่วนข้อ 3 กับ 4 จะเป็นการทำเพื่อให้คาดการณ์อนาคตโดยอาจจะเอาผลลัพธ์จากข้อ 1 กับ 2 มาต่อยอดก็ได้ครับ เรามาลองดูตัวอย่างการทำ Data Analytics ทั้ง 4 ขั้นตอนในแบบฉบับนักการตลาดกัน

1. Descriptive Analytics > What happened?

ในขั้นตอนนี้คือการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เข้าใจว่าบริษัทหรือตลาดกำลังเกิดอะไรขึ้นบ้าง ถ้าพูดในแง่ของการตลาดก็คือการเอาข้อมูลหรือรายงานมากางดูซิว่ายอดขายสินค้าในเดือนนี้เป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ถ้าเดือนนี้ยอดขายตกลงกว่าทุกเดือนเราก็จะได้รู้ว่าต้องรีบแก้ไขก่อนจะจบเดือน แต่ถ้าเราพบว่าอยู่ดีๆ ยอดขายก็เพิ่มขึ้นผิดปกติเราก็จะได้รีบเข้ามาศึกษาเรียนรู้ว่าที่มันผิดปกติเพราะอะไร

ขั้นตอนนี้โดยหลักๆ แล้วคือการวิเคราะห์เพื่อหา Signal บางอย่างที่ผิดปกติจากช่วงก่อนหน้า หรืออาจจะเทียบกับช่วงปีก่อนหน้า หรืออาจจะเทียบจากลูกค้ากลุ่มต่างๆ หรือสาขาต่างๆ ช่องทางต่างๆ ที่แบรนด์มีก็ได้ เช่น ร้านฟาสต์ฟู้ดแบรนด์หนึ่งพบว่าสินค้าประเภทนี้ขายดีมากบนช่องทางนี้ช่องทางเดียว ทั้งที่ปกติไม่เคยขายดีเลย ทำให้ทีมการตลาดรู้ว่าพวกเขาควรจะทำอะไรต่อไม่ใช่ก้มหน้าก้มตาทำงานต่อไปโดยไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง

จากประสบการณ์ของผมคือตอนผมทำให้สินค้ายาย้อมผมยี่ห้อหนึ่ง ตอนนั้นผมวิเคราะห์ข้อมูลการค้นหาตลอดระยะเวลา 1 ปีแล้วพบว่ามีช่วงหนึ่งของปีที่ผู้คนให้ความสนใจยาย้อมผมมากเป็นพิเศษ เรียกได้ว่าตลอดทั้งปีมีกราฟ Spike พุ่งสูงเป็น Signal แค่เพียงช่วงเดียวเท่านั้น แถมที่ทำคัญจากกราฟที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นก็กลายเป็นปักหัวดิ่งเหวกลับมาเท่าเดิมตลอดทั้งปี และการวิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในครั้งนั้นก็ทำให้ผมตั้งคำถามเพื่อตามรอย Data ต่อไปว่า “ทำไมคนถึงค้นหายาย้อมผมสูงมากในช่วงเดือนมีนาคมแล้วมาหายวับไปทันทีในช่วงกลางเดือนเมษายนนะ?”

และนั่นก็เลยเข้าสู่ขั้นตอนที่สองของการทำ Data Analytics นั่นก็คือหาคำตอบให้กับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยคำถามว่า “ทำไม?”

2. Diagnostic Analytics > Why did it happen?

ในขั้นนี้คือการหาคำตอบจากสิ่งที่เห็นจากขั้นตอนที่ 1 ว่ามันเกิดขึ้นเพราะอะไร? ทำไมมันถึงเกิดขึ้น? ในขั้นตอนนี้ต้องใช้ความ Creativity นิดนึง ในฐานะที่ผมเคยเป็น Strategy ที่ถนัดในการตั้งคำถามและก็พยายามค้นหาคำตอบให้ได้ จาก Data ที่ได้มาตรงหน้าผมเลยใช้วิธีลงไปสัมภาษณ์ถามผู้คนว่าทำไม เพราะผมไม่รู้ว่าทำไมคนถึงสนใจการย้อมผมในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนมากเป็นพิเศษขนาดนี้ ผมทำทั้งการตั้งคำถามบนออนไลน์เพื่อขอความเห็นที่น่าสนใจ บวกกับการเดินสัมภาษณ์ทุกคนที่เจอในตอนนั้นว่า “ทำไม ทำไม และ ทำไม?”

จนผมได้ค้นพบคำตอบที่เป็น Pattern จนน่าจะเป็นข้อสรุปที่เป็นเหตุเป็นผลที่ดีได้ ผู้ชายไม่ค่อยรู้ว่าทำไม ส่วนผู้หญิงและเพศทางเลือกให้คำตอบที่น่าสนใจว่า “ก็นั่นมันช่วงสงกรานต์ไงพี่ ใครๆ เค้าก็ย้อมผมไปเล่นน้ำกันทั้งนั้นแหละ”

คำตอบนี้ทำให้ผมถึงกับ Enlighten เพราะตัวผมที่เป็นผู้ชายไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าคนอื่นเค้าย้อมผมเพื่อไปเล่นน้ำสงกรานต์กัน จากประสบการณ์ผู้ชายอายุเลข 3 อย่างผมการย้อมผมมี Purpose เดียวคือย้อมกลบผมหงอกนั่นเองครับ พอผมรู้คำตอบแล้วว่าทำไมคนถึงสนใจเรื่องการย้อมผมในช่วงสงกรานต์มากเป็นพิเศษ แล้วเมื่อนำข้อมูลนี้มา Cross check กับลูกค้าก็พบว่ายอดขายในช่วงนี้ก็มากที่สุดของปีด้วย

ตอนนั้นผมนำกราฟข้อมูลลูกค้ามาเปรียบเทียบกับข้อมูลการค้นหาของคนไทย พบว่าเส้นกราฟทั้งสองมีความสัมพันธ์อย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้นผมเลยได้ข้อสรุปจากขั้นตอนที่ 2 นี้ว่า คนนิยมย้อมมช่วงสงกรานต์ครับ

และนั่นก็ทำให้ผมเข้าสู่ขั้นตอนที่ 3 ของการทำ Data Analytics นั่นก็คือผมตั้งคำถามต่อว่า “แล้วสิ่งนี้มันเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีมั้ย? หรือมันเป็นแค่ปีนี้ปีเดียว?”

3. Predictive Analytics > What will happen?

มีคนบอกว่ายิ่งเรารู้อดีตมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งคาดการณ์อนาคตได้มากเท่านั้น และคำพูดนี้ก็สามารถเอามาประยุกต์ใช้กับการทำ Data Analytics ได้เช่นเดียวกันครับ ซึ่งในขั้นนี้จะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์ถึงสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยดูจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นจากอดีต ซึ่งตามเทคนิคแล้วจะต้องมีการใช้โมเดลต่างๆ มาช่วยในการ Predict บวกกับข้อมูลต่างๆ มากมายจากหลายแหล่ง แต่ผมเลือกที่จะเล่าผ่านการใช้เครื่องมือง่ายๆ ลดศัพท์เทคนิคขั้นตอนให้นักการตลาดได้เข้าใจแนวทางการทำงานกับ Data แทนนะครับ

จากข้อ 2 ที่ผมพบแล้วว่าผู้คนย้อมผมกันช่วงสงกรานต์ ทำให้ผมเกิดคำถามว่าแล้วมันเป็นแบบนี้ทุกสงกรานต์ที่ผ่านมามั้ย หรือเป็นแค่ปีนั้นปีเดียว ผมสมมติว่า Model ผมคือกราฟยอดขายสัมพันธ์กับกราฟการค้นหา ดังนั้นถ้าผมสามารถค้นหาย้อนหลังได้สัก 5 ปีเป็นอย่างน้อยแล้วพบว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นประจำ ผมก็สามารถตั้งสมมติฐานได้ว่าทุกช่วงสงกรานต์คนต้องอยากย้อมผมมากเป็นพิเศษแน่นอนครับ

แล้วเมื่อผมเทียบข้อมูลการค้นหาการย้อมผมของคนไทยย้อนหลังปีต่อปีเทียบกัน 5-10 ปีก็พบแนวโน้มแบบเดียวกันมาตลอดไม่มีผิดเพี้ยน ดังนั้นผมเลยได้ข้อสรุปได้เลยว่า ถ้าปีหน้าสงกรานต์ไม่ยกเลิกด้วยเหตุผลใด ผู้คนก็จะแห่กันให้ความสนใจที่จะย้อมผมเพื่อออกเที่ยวสงกรานต์แน่นอน

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วขั้นตอนนี้สำหรับบริษัทใหญ่ๆ จะมีการออกแบบโมเดลเฉพาะขึ้นมาตามโจทย์ทางธุรกิจ อย่างเช่นที่ธนาคารกรุงศรีออกแบบ model เพื่อหาวิธีหรือช่วงเวลาที่จะโทรทวงหนี้ให้ดีที่สุดจนได้โมเดลออกมาเป็น ความยากง่ายในการโทรติด ความยากง่ายในการพูดคุย และความยากง่ายในการจ่ายเงิน โมเดลนั้นทำให้กรุงศรีรู้ว่าบางคนที่ไม่ได้จ่ายเดือนนี้อาจไม่จำเป็นต้องโทรทวงก็ได้ เพราะที่ผ่านมาเค้าจ่ายตรงเวลาตลอด หรืออาจจะควรโทรไปถามว่าลืมหรือเปล่า (เหมือนที่ผมเคยลืมจ่ายค่าบ้านเดือนนึงแล้วธนาคารโทรมาตาม ตกใจมากตอนนั้นเพราะดันใส่เงินเข้าบัญชีไม่ครบจนมันไม่ตัดเงินไป)

และตอนนี้เมื่อเรารู้แล้วว่าปีหน้าจะเกิดเรื่องนี้ขึ้นอีกครั้งด้วยปัจจัยนี้ ตอนนี้ก็ถึงเวลาตั้งคำถามอีกครั้งว่าถ้าเราทำบางอย่างกับเงื่อนไขบางอย่างที่มีความคล้ายคลึงกัน เราจะสามารถทำให้มันเกิดขึ้นได้มั้ย

4. Prescriptive Analytics > How can we make it happen?

ในขั้นตอนสุดท้ายของการทำ Data Analytics นี้คือการพยายามกระตุ้นโอกาสให้เกิดมากที่สุดหลังจากที่เราได้รู้คำตอบของทั้งหมดที่เกิดขึ้นแล้ว ทำเพื่อหาว่าอะไรคือ Next Best Action ที่เราทำน้อยแต่จะได้มาก ไม่ต้องทุ่มงบการตลาดหรือส่วนลดมากแต่ก็สามารถทำให้ลูกค้าซื้อเรามากขึ้นได้

ในความเป็นจริงแล้วขั้นตอนนี้จะต้องใช้ข้อมูลมากมายจากหลากหลายช่องทางเข้ามาหรือที่เรียกว่า Big Data บวกกับการใช้ Machine learning เพราะข้อมูลจะมีความซับซ้อนมากเกินไปจนเกินกว่าที่เราจะเข้าใจมันได้ทัน รวมถึงการใช้ AI เพื่อ Action จาก Insight ที่ได้ให้เร็วที่สุด เพราะถ้ายังมามัวรอมนุษย์ตัดสินใจก็คงไม่ทันกินทันแกงสำหรับองค์กรใหญ่ๆ ทั้งหลาย

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กรด้วเช่นกัน เพราะถ้าคุณเป็นองค์กรใหญ่ที่มีลูกค้าเป็นล้านๆ คุณควรใช้ระบบเหล่านี้ในการบริหารจัดการลูกค้า ใช้ในการทำการตลาด และใช้ในการต่อยอดธุรกิจ แต่ถ้าคุณเป็นธุรกิจขนาดเล็กลงมาหน่อยที่มีลูกค้าไม่เยอะมาก และยอดขายไม่ได้มากมายก็อาจไม่จำเป็นต้องลงทุนขนาดนั้น

ตัวอย่างที่ผมเอาหลักแนวคิดในขั้นตอนที่ 4 ไปประยุกต์ใช้กับงานยาย้อมผมตอนนั้นคือ ผมตั้งคำถามลึกลงไปว่า “สงกรานต์มีปัจจัยอะไรในตัวมันเองที่ทำให้คนอยากย้อมผมได้มากขนาดนั้น?” พอสังเกตดูที่เส้นกราฟก็เห็นว่ามีบางช่วงของปีที่ตัวกราฟมีการ spike เล็กๆ เป็น Signal หน่อยๆ ให้พอสังเกตเห็นได้ว่าในช่วงปลายปีคนก็สนใจเรื่องการย้อมผมเพิ่มขึ้นกว่าปกติเช่นกัน

แล้วนั้นก็ทำให้ผมได้ข้อสรุปว่าสิ่งที่ทำให้คนอยากย้อมผมคือช่วงวันหยุดยาว หยุดยาวที่ทำให้คนได้มีเวลาเตรียมตัวออกไปเที่ยว พอคนได้มีเวลาเตรียมตัวออกไปเที่ยวนั่นก็เลยเป็นเหตุเป็นผลให้เขาหาทางเปลี่ยนลุคของตัวเองให้ดูดีขึ้นกว่าปกติ และการย้อมผมก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกของคนช่วงหยุดยาวนั่นเอง

ดังนั้นสิ่งที่ผมทำต่อคือเสนอให้ทำโปรโมชั่นพิเศษล่วงหน้าก่อนช่วงวันหยุดหยาว ทำการตลาดออกไปเพื่อกระตุ้นให้รู้ว่าหยุดยาวนี้เตรียมผมสีใหม่ก่อนออกไปเที่ยวแล้วหรือยัง ไม่ว่าจะไปภูเขา ไปทะเล หรือแม้แต่ไปตระเวนคาเฟ่ปลายนา การมีสีผมเก๋ๆ ที่ไม่เหมือนใครก็เป็นเสมือนอีกหนึ่งชุดใหม่ที่ทำให้คุณถ่ายรูปลง Instagram ได้สวยเด่นกว่าใครครับ

สรุป 4 Types of Data Analytics ด้วยภาษานักการตลาด

สิ่งสำคัญที่นักการตลาดต้องรู้ต้องเข้าใจไม่ใช่เรื่อง Coding แต่ถ้ารู้ก็จะดี แต่เป็นการเข้าใจแนวคิดและวิธีการเพื่อที่จะได้สื่อสารกับทีม Data ภายในหรือ Supplier ภายนอกให้เข้าใจได้ตรงกัน เพราะในความเป็นจริงแล้วการทำงานกับ Data ไม่ได้ง่ายและสำเร็จรูปแบบมาม่านะครับ เพราะกว่าจะหา Data มาได้แล้วยังต้องใช้เวลามากมายไปกับการเตรียม Data ให้พร้อมวิเคราะห์อีก ดังนั้นการวิเคราะห์หรือการทำ Data Analytics จึงเป็นแค่ขั้นตอนหนึ่งของการทำงานกับ Data ทั้งหมด เพราะกว่าจะออกมาเป็น BI หรือ Dashboard สวยงามให้เราใช้งานง่ายนั้นก็เหมือนกับกว่าจะออกมาเป็นข้าวผัดหนึ่งจานต้องมีการปลูกข้าว สีข้าว บรรจุกระสอบ ส่งเข้ามาขาย ไปซื้อมาหุง แล้วก็ถึงจะคดข้าวออกมาผัดกับอะไรมากมายให้คุณพร้อมกินเป็นข้าวผัดหนึ่งจานครับ

สุดท้ายนี้แม้การทำงานกับ Data ไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด แต่ถ้าคุณไม่ทำงานกับ Data อย่างจริงจังให้ถูกต้องเสียทีรับรองว่าอนาคตคุณจะยากกว่าที่คิดครับ

ปล. บทความนี้ไม่มี Link Source เพราะเขียนมาจากความรู้ความเข้าใจส่วนตัว และก็จากประสบการณ์ที่ลองผิดลองถูก ลองไปเรื่อยของตัวเองครับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้