ครูสอนกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์

กำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำ ของข้าราชการครู กศน.

ก.ค.ศ. ได้กำหนดภาระงานสอนขั้นต่ำของ ขรก.ครู กศน. ไว้เมื่อปี 2553 โดยกำหนดจำนวนชั่วโมง “ภาระงานสอน” ไว้ว่า ไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์


( ผู้ที่ทำผลงานวิชาการขอเลื่อนวิทยฐานะ ถ้าระบุภาระงานสอนต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ จะไม่ผ่าน )

แต่ภาะงานสอนนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็น “การสอน” อย่างเดียว แต่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ


1) ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
2) ภาระงานที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการเรียนการสอน
3) ภาระงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

ข้อ 2) กับ 3) จะเป็นกี่ชั่วโมงก็ได้ แต่เมื่อรวมกับ 1) แล้ว ต้องไม่ต่ำกว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์
.
ท่านหัวหน้าหน่วย ศน. Pong Angkana บอกว่า ที่นิเทศมาพบว่าส่วนใหญ่ ขรก.ครูไม่เคยทราบเรื่องการเทียบเคียงการสอนที่ไม่ใช่การสอนในห้องเรียนนี้ ไม่เข้าใจและกังวล

ซึ่ง แม้แต่

ข้อ 1) ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ก็ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการสอนในห้องเรียนเท่านั้น แต่หมายถึงการสอนทั้งหมดที่มีตารางกำหนดเวลา เช่น การสอน การฝึกอบรม การสาธิต การเป็นวิทยากรในการจัดประชุมสัมมนาที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การจัดนิทรรศการ การจัดรายการวิทยุ-โทรทัศน์ การเผยแพร่ความรู้ การแนะแนว การพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ การส่งเสริมสนับสนุนเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และการนิเทศติดตามผลการปฏิบัติงาน
ทั้งหมดนี้คือชั่วโมงสอนตามตารางสอน ซึ่งต้องรวมไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
ส่วนข้อ 2) กับ 3) คืออะไร
ดูรายละเอียดพร้อมหนังสือแจ้ง ที่
//dl.dropboxusercontent.com/u/1090140…/…/teachwork.pdf

                คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.) ที่มี นายสมชาย   วงศ์สวัสดิ์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เป็นประธาน  ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์ตามกรอบแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการให้  ข้าราชการครูมีและเลื่อนวิทยฐานะ  โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551  ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ความสนใจ แม้บางท่านอาจจะพอทราบแล้ว  แต่คงมีอีกหลายท่านที่ยังไม่ทราบ  เพื่อให้ท่านที่ยังไม่ส่ง วฐ.1 (รุ่นสุดท้ายนี้) ได้ทราบจะได้เปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินที่ผ่านมา (แม้ตอนนี้วิธีการประเมินและเครื่องมือประเมินในรายละเอียดตามแนวทางใหม่ยังไม่ออกมาก็ตาม)โดยมีสาระสำคัญที่ควรทำความเข้าใจดังนี้

                1. ด้านคุณสมบัติผู้ขอรับการประเมิน

                                1.1  ไม่กำหนดคุณสมบัติด้านเงินเดือนขั้นต่ำของผู้ขอรับการประเมิน

                                1.2  กำหนดภาระงานของผู้ขอรับการประเมินสายงานการสอน กำหนด 18 ชั่วโมง/สัปดาห์ สำหรับสายงานบริหารและสายงานนิเทศการศึกษาต้องปฏิบัติงานเต็มเวลา ทั้งนี้ การนับจำนวนชั่วโมงสอน 18 ชั่วโมง/คาบต่อสัปดาห์  เฉพาะในปีการศึกษา 2551 ให้สามารถนับชั่วโมงปฏิบัติการสอนไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง/คาบต่อสัปดาห์  และ  ชั่วโมงปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนตามที่ผู้บริหารสถานศึกษามอบหมายอีก 6 ชั่วโมง/คาบต่อสัปดาห์  รวมเป็น 18 ชั่วโมง/คาบต่อสัปดาห์ ได้

                                1.3  ประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่งสายงานการสอนซึ่งผันแปรตามคุณวุฒิ  กำหนดคงเดิม  และให้สามารถนำประสบการณ์ความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการสอนทั้งในสายงานการศึกษาของรัฐและเอกชนมานับรวมได้  หากประสบการณ์การดำรงตำแหน่งครูไม่ครบตามหลักเกณฑ์  มีการปรับประสบการณ์ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งผู้ที่ขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการเป็น 2 ปีเท่ากันทุกสายงาน  ยกเว้นสายงานการสอนคงเดิมคือ

·       ปริญญาตรี 6 ปี ปริญญาโท 4 ปี และปริญญาเอก 2 ปีให้สอดรับกับผลงานย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกัน ณ วันที่ยื่นคำขอ(เดิมกำหนด 1 ปี)

·       วิทยฐานะชำนาญการเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  กำหนด 2 ปี

·       วิทยฐานะชำนาญการพิเศษเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ กำหนด 3 ปี เพื่อให้สอดรับกับตำแหน่งวิชาการ ในตำแหน่งรองศาตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาและ

·       วิทยฐานะเชี่ยวชาญเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ กำหนด 2 ปี

2.กำหนดการประเมิน 3 ด้าน

                2.1  การประเมินด้านวินัย  คุณธรรม  จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ  ห้ามผู้ที่

ขอรับการประเมินที่มีผลการพิจารณาโทษทางวินัยหรือจรรยาบรรณวิชาชีพถึงที่สุดแล้วถูกลงโทษหนักกว่าโทษภาคทัณฑ์  ขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ  เว้นแต่ได้พ้นจากระยะเวลาที่โทษกำหนดไว้จะประเมินพิจารณาจากการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนประวัติ(ก.พ.7)  ข้อมูลจากฐานข้อมูลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)  หรือส่วนราชการ  สำนักงานก.ค.ศ. และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา(เมื่อผ่านการประเมินด้านที่ 1 แล้วจึงประเมินด้านที่ 2 และด้านที่ 3)

                2.2  การประเมินด้านคุณภาพการปฏิบัติงานแต่ละสายงานจะพิจารณาจากประจักษ์พยานและรายงานการประเมินตนเอง (SAR : Self Assessment Report) ด้านการเรียนการสอน  หรือด้านการบริหารสถานศึกษา  หรือด้านการบริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือด้านการนิเทศการศึกษา โดยผู้ขอรับประเมินทุกวิทยฐานะต้องจัดส่งเอกสารดังกล่าว

                                2.3 การประเมินด้านผลที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่จะเน้นผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนในเชิงพัฒนาการเป็นสำคัญ  รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นต่อคุณภาพการศึกษา  ผลต่อการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ  ผลต่อชุมชนและสังคม โดยพิจารณาจากผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษาผลการประเมินคุณภาพภายนอก  ของสถานศึกษา ผลการทดสอบระดับชาติ O-net, A-net, NT ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนรายบุคคล  กรณีหน่วยงานการศึกษาที่ไม่มีการทดสอบ O-net, A-net, NT  ให้ใช้ผลการทดสอบมาตรฐานวิชาชีพหรือมาตรฐานการศึกษาตามที่ส่วนราชการ  หรือหน่วยงานการศึกษานั้นกำหนด  อาทิ ผลการทดสอบของสถาบันการพลศึกษา  กรมศิลปากร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

                นอกจากนี้ พิจารณาจากเอกสารรายงานการวิจัยปฏิบัติการสำหรับสายผู้สอน  หรือรายงานที่ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ปกติที่ได้นำไปใช้แล้ว โดยกำหนดให้จัดส่งตั้งแต่วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญต้องเสนอรายงานการวิจัยและนวัตกรรม  และรายงานการพัฒนานวัตกรรมที่นำไปใช้แล้วจนเกิดผลดี  เป็นแบบอย่างได้สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ  ต้องเป็นรายงานวิจัยและนวัตกรรม  รายงานการพัฒนานวัตกรรมที่นำไปใช้แล้วจนเกิดผลดียิ่ง  เป็นความรู้ใหม่  และเป็นแบบอย่างได้

                ในกรณีที่มีการโอนหรือย้ายผลที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานเดิม  สามารถนำมาใช้ในการประเมินใหม่ได้  ยกเว้นกรณีการเปลี่ยนสายงาน

                3.วิธีการประเมิน

                    กำหนดเป็น 2 วิธีคือ

·       การประเมินด้วยวิธีปกติ  มีกรรมการประเมิน 3 คน เป็นกรรมการจากบุคคล

ภายใน 1 คน  กรรมการจากบุคคลภายนอก 2 คนและ

·       การประเมินด้วยวิธีพิเศษมีการประเมิน 5 คน เป็นกรรมการจากบุคคลภายนอก

ทั้งหมด

                ในการประเมินด้วยวิธีพิเศษ จะทำให้ผู้มีความรู้  ความสามารถได้มีความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด (Fast Track)กำหนดให้เริ่มขอรับการประเมินได้เมื่อมีวิทยฐานะไม่ต่ำกว่าวิทยฐานะชำนาญการแล้ว

                สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ก.ค.ศ. กำหนด แต่มีผลงานดีเด่นเป็นพิเศษและเป็นที่ยอมรับเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ สำหรับผู้มีความรู้ ความสามารถและมีผลงานดี รวมทั้งดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้าสู่วิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา  ทั้งนี้สามารถจะขอประเมินข้ามวิทยฐานะและหรือไม่ข้ามวิทยฐานะก็ได้  ประเมินโดย ก.ค.ศ. เป็นผู้พิจารณาและตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการประเมินจำนวน 5 คน

                4.เกณฑ์ผ่านการประเมินแต่ละวิทยฐานะต้องเป็นเอกฉันท์ในแต่ละด้าน ดังนี้

ด้านวินัย  คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

·       วิทยฐานะชำนาญการ  และวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ อยู่ในเกณฑ์ผ่าน

·       วิทยฐานะเชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญพิเศษ อยู่ในเกณฑ์ผ่านและเป็นแบบอย่างที่ดี

ด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน

·       วิทยฐานะชำนาญการ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65

·       วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

·       วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

·       วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

ด้านผลที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

·       วิทยฐานะชำนาญการ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65

·       วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

·       วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75

·       วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

5.เงื่อนไขการพัฒนาก่อนการแต่งตั้ง

กำหนดเฉพาะวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  โดยให้ไปเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรที่

ก.ค.ศ.กำหนด เพื่อพัฒนางานในหน้าที่ ไม่น้อยกว่า 20 ชั่วโมง หรือจำนวนหน่วยการพัฒนาที่กำหนดตามหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรง
                                        ***********************************************

ครูต้องสอนกี่คาบต่อสัปดาห์

จำนวนชั่วโมงสอนในวิชาแกนหลักสอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมง/สัปดาห์ ได้หรือไม่ ไม่ได้ ตามเกณฑ์ของมาตรฐานที่คุรุสภากำหนดเทียบกับการศึกษาในวุฒิปริญญาทางการศึกษาต้องสอนไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพื่อที่จะได้เพียงพอต่อการสอน 210 ชั่วโมง/ปี โดยเฉลี่ย

เป็นครูสอนกี่คาบ

จำนวนชั่วโมงสอนในรายวิชาที่กำหนดไว้ตามหลักสูตร การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เรียน ใช้ชั่วโมงตามตารางสอน ไม่น้อยกว่าจำนวน 15 คาบ/ สัปดาห์ (ชั่วโมงสอนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชา เพิ่มเติม, กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการสอนซ่อมเสริม กิจกรรมลูกเสือ, กิจกรรมชุมนุม) งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

การสอนปฐมวัยกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ชั่วโมงการปฏิบัติงานของครู จำแนกเป็น ๓.๑ ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ระดับปฐมวัย ไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ไม่ต่ำกว่า ๑๒ ชั่วโมง/สัปดาห์ ๓.

ผอ สอนกี่คาบ

#ผอ. รอง ผอ. ต้องมีชั่วโมงสอน ว23/2563 เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกำหนดให้ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง/สัปดาห์ และตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ปฏิบัติการสอนไม่ต่ำกว่า 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้