เชื้อราในช่องคลอดเป็นยังไง

          เชื้อราในช่องคลอด ที่ก่อให้เกิดอาการคันในร่มผ้า หรือที่เรียกว่าการติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอด เตือนไว้เลยว่าผู้หญิงทุกคนมีสิทธิ์เป็นได้ โดยเฉพาะหากมีพฤติกรรมเหล่านี้ !


          

เชื้อราในร่มผ้าส่งผลให้เกิดอาการคันในช่องคลอด หรือมีตกขาวมากผิดปกติ แต่กระนั้นบางทีภาวะติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอด หรือการติดเชื้อราในร่มผ้า ก็อาจไม่แสดงอาการรุนแรงให้เราได้เอะใจเลยสักนิด ทว่าหากติดเชื้อราในช่องคลอดแบบไม่รู้ตัว และไม่ได้รับการรักษา อาการคันที่จุดซ่อนเร้นจะยิ่งทวีคูณขึ้น รวมทั้งอาการแสบเวลาปัสสาวะก็อาจจะเจอบ้าง แต่ถ้าใครไม่อยากมีอาการที่ว่า และไม่เคยคิดอยากจะติดเชื้อราในช่องคลอด ก็ขอเตือนไว้ก่อนว่าอย่าทำพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อราในร่มผ้าเลยดีกว่า

เชื้อราในช่องคลอดคืออะไร

          เชื้อราในช่องคลอด คือ เชื้อโรคชนิดหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเชื้อราที่มีชื่อว่า แคนดิดา (Candida) โดยเชื้อราในกลุ่มนี้มีอยู่หลายสายพันธุ์ย่อย แต่เชื้อราในช่องคลอดที่พบได้บ่อยที่สุดคือเชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans)

          เชื้อราในช่องคลอดชนิดนี้เป็นเซลล์รูปร่างกลม หรือที่เรียกว่า เชื้อยีสต์ ซึ่งเชื้อยีสต์ในช่องคลอดจะมีอยู่เป็นปกติโดยไม่ทำให้เกิดโรคหรืออาการผิดปกติใด ๆ แต่เมื่อไรที่ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ เกิดความไม่สมดุลกันของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในช่องคลอด เมื่อนั้นเชื้อยีสต์ช่องคลอดที่ปกติก็อยู่อย่างสงบ จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นจนทำให้ช่องคลอดติดเชื้อราหรือมีอาการอักเสบเกิดขึ้นได้


เชื้อราในร่มผ้า เกิดจากอะไร

          โดยธรรมชาติของเชื้อรา มักจะชอบอยู่ในแหล่งที่มีความร้อนชื้นเป็นพิเศษ และช่องคลอดของสาว ๆ ก็เป็นอวัยวะที่มีความชื้นจากตกขาว ซึ่งเป็นเมือกจากต่อมที่ปากช่องคลอดและปากมดลูกคอยควบคุมสภาพความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอดให้มีความสมดุลกัน และช่วยให้เพิ่มความหล่อลื่นแก่ช่องคลอด ช่วยขับสิ่งแปลกปลอม และฆ่าเชื้อโรคต่างถิ่นในช่องคลอดให้ด้วย แต่ก็อย่างที่บอกค่ะว่า ในภาวะที่ร่างกายเกิดความผิดปกติ เช่น ภูมิต้านทานต่ำ หรือมีเหตุให้เชื้อยีสต์ในช่องคลอดและแบคทีเรียในช่องคลอดเกิดความไม่สมดุลกัน เมื่อนั้นสาว ๆ ก็จะมีเชื้อราในช่องคลอดเพิ่มขึ้นจนกระทั่งก่อโรคได้

          ทั้งนี้สาเหตุของเชื้อราในช่องคลอด เกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยเราได้จำแนกให้เห็นถึงสาเหตุการเกิดเชื้อราในร่มผ้า ตามนี้ค่ะ

1. สภาพอากาศ

          สภาพของบ้านเราที่มีความร้อนชื้น อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เชื้อราในช่องคลอดเจริญเติบโตได้ดี

2. ตั้งครรภ์ 

          เมื่อมีการตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น ส่งผลให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีมากขึ้นด้วย

3. ยา 

          โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะที่กินเป็นเวลานาน ๆ ตัวยาจะเข้าไปทำลายเชื้อโรคและแบคทีเรียในร่างกายจนขาดความสมดุล ก่อให้เกิดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้สาว ๆ ที่กินยาสเตียรอยด์ ยาตัวนี้ก็มีผลให้ภูมิต้านทานโรคของร่างกายต่ำลง เป็นเหตุในเชื้อราในช่องคลอดมีจำนวนเพิ่มขึ้น

4. เป็นเบาหวาน 

          โรคเรื้อรังอย่างเบาหวานที่ผู้ป่วยไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี การที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นปัจจัยที่ทำให้ยีสต์ในช่องคลอดอยู่ดีกินดี เพิ่มจำนวนมากขึ้นโดยอัตโนมัติ

5. ภูมิต้านทานต่ำ

          ในภาวะที่ร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อแบคทีเรียชนิดดีจะอ่อนแอลง ทำให้เชื้อราในช่องคลอดเหิมเกริมจนก่ออาการผิดปกติให้น้องหนูของเราได้

6. วัยทอง

          สาวใหญ่วัยทองมักจะต้องเจอกับภาวะฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ซึ่งก็เป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดเชื้อราในร่มผ้าได้ค่ะ

          และนอกจากปัจจัยที่เราควบคุมค่อนข้างยากดังกล่าวแล้ว พฤติกรรมของสาว ๆ เองก็อาจกระตุ้นให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้เช่นกัน ดังพฤติกรรมเสี่ยงติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดต่อไปนี้

เชื้อราในช่องคลอด ยังไงก็ไม่รอดถ้ามีพฤติกรรมเหล่านี้

1. ใส่เสื้อผ้ารัดแน่นเกินไป

          อากาศที่ร้อนชื้นเป็นแหล่งโปรดของเชื้อราแคนดิดา ดังนั้นหากคุณสาว ๆ ชอบใส่เสื้อผ้าที่รัดแนบตัว ความอับชื้นในจุดซ่อนเร้นจะมีมากกว่าการใส่เสื้อผ้าที่โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก ดังนั้นหากไม่อยากเสี่ยงติดเชื้อราในช่องคลอด ก็พยายามใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป โดยเฉพาะในส่วนกางเกงและกระโปรง

2. ใส่เสื้อผ้าที่อับชื้น

          กรณีนี้อาจเกิดได้บ่อยในช่วงฤดูฝน เพราะอากาศทำให้ผ้าไม่ค่อยแห้งสนิท มีความอับชื้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งเชื้อราได้ แต่นอกจากสภาพอากาศแล้ว เชื่อไหมคะว่าผู้หญิงบางคนก็ชอบใส่ชุดซ้ำ ๆ หรือมีเหตุจำเป็นต้องใส่เสื้อผ้าที่อับชื้นบ้างในบางครั้ง ซึ่งนี่ก็เป็นพฤติกรรมหนึ่งที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อยีสต์ในร่มผ้า

3. ปล่อยให้ตัวเองอ้วน

          ความอ้วนย่อมก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง แต่นอกจากโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงแล้ว ภาวะขาเบียดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดความอับชื้นบริเวณจุดซ่อนเร้นมากกว่าปกติ ส่งผลให้เชื้อยีสต์ (รา) เพิ่มจำนวนขึ้นได้ เสี่ยงต่อการติดเชื้อในช่องคลอดอย่างเห็นได้ชัด

          - 7 คลิปออกกำลังกายลดต้นขาด้านใน บ๊ายบายขาเบียด !

4. พฤติกรรมกินติดหวานและชอบทานอาหารแปรรูป

        สำหรับสาว ๆ สายน้ำหวาน สายแป้ง หรือสายฟาสต์ฟู้ด กลุ่มนี้จะเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อราในร่มผ้าได้เช่นกัน เนื่องจากเชื้อราหรือยีสต์ในช่องคลอดชอบกินน้ำตาล ดังนั้นหากร่างกายเรามีน้ำตาลเยอะ ยีสต์เหล่านี้ก็จะอิ่มหนำสมบูรณ์และเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก่อให้เกิดเชื้อราในช่องคลอดได้

5. เครียด

        เพียงแค่เครียดก็ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเสียสมดุลแล้วล่ะค่ะ นอกจากนั้นความเครียดยังส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนแห่งความหิวออกมามากกว่าปกติ ทำให้เกิดความรู้สึกอยากกินของหวาน อาหารที่มีน้ำตาลสูง หล่อเลี้ยงเชื้อยีสต์ในช่องคลอดโดยไม่รู้ตัว

6. อดนอน

          ร่างกายที่ไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอก็ส่งผลให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้นได้ สังเกตง่าย ๆ จากวันไหนที่เราไม่ค่อยได้นอน วันนั้นเราจะอยากกินน้ำหวาน อยากกินอาหารไขมันสูงมากกว่าปกติ และการที่ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลแบบนี้ ยีสต์ในช่องคลอดก็หวานปากเลย

7. ชุดชั้นในขึ้นรา !

          โดยเฉพาะสาว ๆ ที่ชอบตากกางเกงชั้นในในห้องนอน โดยไม่ได้ตากกางเกงชั้นในในที่ที่มีอากาศถ่ายเท และแสงแดดเข้าถึงได้สะดวก โอกาสในการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราในกางเกงชั้นในก็ย่อมเพิ่มขึ้น และเมื่อไรที่คุณสวมกางเกงชั้นในที่มีเชื้อราฝังตัวอยู่ เชื้อราเหล่านี้ก็จะเคลื่อนตัวเข้าหาเขตอบอุ่นและร้อนชื้นกว่าอย่างช่องคลอดของสาว ๆ ส่งผลให้เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดได้ไม่น้อย

8. สวนล้างช่องคลอด

          การสวนล้างช่องคลอดเป็นการทำร้ายแบคทีเรียชนิดดีในช่องคลอด ส่งผลให้เชื้อราในช่องคลอดเติบโตแย่งพื้นที่อาศัยในจุดซ่อนเร้นเราได้มากขึ้น อีกทั้งการสวนล้างช่องคลอดยังเสี่ยงต่ออาการอักเสบอื่น ๆ อีกด้วยนะคะ

9. ใส่แผ่นอนามัยตลอด

          สาว ๆ บางคนนิยมใส่แผ่นอนามัยตลอด ซึ่งพฤติกรรมนี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อน้องน้อยของเราเลยนะคะ เพราะการใส่แผ่นอนามัยจะยิ่งเพิ่มความอับชื้น ยีสต์ในช่องคลอดก็ฟินกันไป ส่วนเราก็เสี่ยงติอเชื้อราในร่มผ้าไปสิ

10. เปลี่ยนคู่นอน

          เชื้อราในช่องคลอดสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ด้วยนะคะ โดยเฉพาะหากมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่สวมถุงยางอนามัย หรือมีพฤติกรรมชอบเปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย

11. ใส่กางเกงชั้นในคับ ๆ นอน

          ผู้หญิงบางคนไม่มั่นใจที่จะปล่อยให้น้องสาวโล่ง ๆ ขนาดจะเข้านอนในห้องส่วนตัวยังต้องสวมใส่กางเกงในตามปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดความอับชื้นในจุดซ่อนเร้นได้นะคะ ฉะนั้นเปลี่ยนมาใว่กางเกงขาสั้นหลวม ๆ ที่อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวกจะดีกว่า แต่หากต้องนอนนอกสถานที่ ไม่สะดวกจะสวมเพียงกางเกงขาสั้น อาจเลือกใช้กางเกงในชนิดกระดาษที่ใส่ครั้งเดียวแล้วทิ้งได้ค่ะ

12. ใส่ผ้าอนามัยนาน ๆ

          ในระหว่างมีประจำเดือน ใครที่ชอบใส่ผ้าอนามัยแผ่นเดียวเป็นเวลานาน ไม่ค่อยจะเปลี่ยนผ้าอนามัย เตือนไว้ก่อนเลยค่ะว่าเสี่ยงต่อการเพิ่มเชื้อราหรือยีสต์ในช่องคลอดมากขึ้นจนอาจเกิดการติดเชื้อราในช่องคลอดได้ เพราะความอับชื้นที่มาจากผ้าอนามัยจะส่งผลให้เกิดเชื้อรา ซึ่งเชื้อราเหล่านี้อาจจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางช่องคลอด ดังนั้นทางที่ดีควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง หรือสาวที่มีประจำเดือนมามากควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3 ชั่วโมงเพื่อช่วยลดความเสี่ยงภาวะติดเชื้อราในช่องคลอดค่ะ

          สาวคนไหนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อราในร่มผ้าดังที่กล่าวไป รีบกลับตัวกลับใจให้ไวก่อนมีอาการเชื้อราในช่องคลอดนะคะ

เชื้อราในช่องคลอด อาการเป็นอย่างไร

          ในกรณีที่ติดเชื้อราในช่องคลอดไม่มาก อาการอาจไม่แสดงเลย แต่หากไปตรวจภายใน (ด้วยเหตุผลอื่น ๆ เช่น ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก) ก็อาจจะเจอว่ามีการติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดได้ ทว่าในรายที่มีการติดเชื้อราในช่องคลอดค่อนข้างมาก อาการสำคัญที่สังเกตได้หากเป็นเชื้อราในช่องคลอดก็คืออาการแสบ คัน ภายในช่องคลอด มีตกขาวแปลกไปโดยมีสีคล้ายซีส (สีออกเหลือง) หากส่องกล้องดูอาจเห็นก้อนจกขาวคล้าย ๆ ดอกเห็ด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เชื้อราในช่องคลอดจะเจริญต่อไปกลายเป็นสายยาว ๆ (Mycelia) ซึ่งยีสต์เหล่านี้สามารถแทรกเข้าไปในผนังช่องคลอดได้ ซึ่งในเคสนี้ก็จะมีอาการคันในช่องคลอด มีตกขาวสีเหลือง หรือตกขาวขุ่นและจับตัวคล้ายแป้งเปียก

เชื้อราในช่องคลอด รักษาให้หายขาดได้ไหม

          ในกรณีที่เกิดภาวะติดเชื้อยีสต์ในช่องคลอดที่ไม่รุนแรงมาก ไม่แสดงอาการคัน แสบ หรือมีตกขาวที่ผิดปกติ เคสนี้อาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษาก็ได้ค่ะ เพราะตกขาวที่ต่อมจากปากช่องคลอดและปากมดลูกผลิตออกมา จะทำหน้าที่ดันเชื้อราในช่องคลอดออกไป และรักษาสมดุลกรด-ด่างในช่องคลอดให้เป็นปกติ

          แต่สำหรับในรายที่มีอาการคัน แสบ และมีตกขาวอันเกิดจากติดเชื้อราในช่องคลอด สามารถเข้าไปรับการรักษาได้ในหลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

          - รักษาด้วยการกินยาต้านเชื้อรา

          - รักษาด้วยครีมต้านเชื้อรา (ทาในช่องคลอด)

          - รักษาด้วยการเหน็บยา

          ทั้งนี้การรักษาอาการติดเชื้อราในช่องคลอด ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ว่าจะใช้วิธีไหนรักษาเชื้อราในร่มผ้าเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพดีที่สุด ในขณะที่ผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด

เชื้อราในช่องคลอดของหญิงตั้งครรภ์ สามารถติดต่อไปยังทารกในครรภ์ได้หรือไม่

          ในกรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อราในช่องคลอด ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะเชื้อราไม่มีความสามารถมากพอจะก่อให้เกิดการติดเชื้อราในเด็กทารกได้ แต่หากแม่ท้องเป็นเชื้อราในช่องคลอดแล้วไม่ได้รักษาให้หาย และเป็นเชื้อราในช่องคลอดขณะที่คลอดลูกผ่านทางช่องคลอด จะทำให้เด็กอาจมีเชื้อราในลิ้น ในปาก และก้นได้ ซึ่งแพทย์ก็จะรักษาด้วยการให้ยาทาหรือสอด เพื่อจะได้ไม่กระทบกับเด็กในครรภ์

เชื้อราในช่องคลอด อันตรายแค่ไหน

          หากเป็นเชื้อราในช่องคลอด หรือมีอาการคันในร่มผ้า ตกขาวมีสีผิดปกติ สาว ๆ อย่าเพิ่งกังวลว่าจะอันตรายถึงชีวิตนะคะ การติดเชื้อราในช่องคลอดทำอันตรายได้มากสุดก็แค่อาการคันในร่มผ้า ซึ่งอาจส่งผลให้เสียบุคลิกและสร้างความทรมานให้ได้ไม่น้อย และหากใครยิ่งคันยิ่งเก่า บอกเลยว่าจะเสี่ยงต่อการเกิดแผลติดเชื้อตามมาได้ ดังนั้นหากมีความผิดปกติใด ๆ กับจุดซ่อนเร้น รีบไปพบสูตินรีแพทย์จะดีที่สุด

เชื้อราในช่องคลอด ป้องกันอย่างไรดี

          วิธีป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอด จริง ๆ ก็ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อราในร่มผ้าดังที่เราได้ชี้แจงไป โดยหัวใจหลักของการป้องกันเชื้อราในช่อคลอด ก็คือ การพยายามอย่าให้จุดซ่อนเร้นอับชื้น และพยายามรักษารูปร่างตัวเองไม่ให้อ้วน ซึ่งอาจทำให้ขาเบียด เพิ่มโอกาสให้จุดซ่อนเร้นมีความอับชื้นมากขึ้น

ดูแลน้องสาวให้ห่างไกลเชื้อราในช่องคลอด

          สาว ๆ สามารถดูแลน้องสาวให้ห่างไกลจากเชื้อราในช่องคลอด พร้อมทั้งดูแลสุขภาพของจุดช่อนเร้นให้ดีได้ด้วยการรับประทานอาหารที่ดีต่อช่องคลอดตามนี้

          - 5 อาหารเพื่อสุขภาพช่องคลอด กินเท่านี้น้องสาวก็แฮปปี้

          นอกจากอาหารที่ควรกินเพื่อดูแลสุขภาพน้องสาวของเราแล้ว กระปุกดอทคอมก็อยากเตือนให้สาว ๆ รักษาสุขอนามัยของตัวเองให้ดี โดยเฉพาะกับเรื่องใกล้ตัวอย่างผ้าเช็ดตัว ชุดชั้นใน ที่ควรนำมาตากแดดทุกครั้งหลังการใช้งาน หรืออาจเปลี่ยนผ้าเช็ดตัวทุก ๆ 3 วัน และไม่ใส่เสื้อผ้าซ้ำกันโดยที่ยังไม่ได้ซัก เพราะเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราที่อยู่ในผ้าเช็ดตัว ชุดชั้นใน หรือเสื้อผ้าเหล่านี้ อาจพาเชื้อราเข้ามาสู่ช่องคลอด ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อราในช่องคลอดได้

          อ้อ ! และเพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราแข็งแรง มีประสิทธิภาพดีเยี่ยม อย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารมีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอด้วยนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
healthline

เชื้อราในช่องคลอดทำยังไง

โรคเชื้อราในช่องคลอดสามารถรักษาได้โดยการใช้ยาต้านเชื้อรา (Antifungal Drug) เป็นหลัก โดยรูปแบบของยาอาจจะมีทั้งแบบครีม ขี้ผึ้ง ยาเหน็บ หรือยารับประทาน เช่น ยาคลอไตรมาโซล (Clotrimazole) ยาไมโคโนโซล (Miconazole) ยาไทโอโคนาโซล (Tioconazole) ยาบูโตโคนาโซล (Butoconazole) ยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole) หรือยากรดบอริก (Boric acid) ...

เชื้อราในช่องคลอดสามารถหายเองได้ไหม

การติดเชื้อราในช่องคลอดถ้าอยู่ในภาวะที่ไม่รุนแรง อาจหายเองได้โดยไม่ต้องรักษาด้วยยา แต่ควรรักษาความสะอาดของช่องคลอด ดูแลบริเวณอวัยวะเพศให้แห้งอยู่เสมอ ไม่ให้อับชื้น เนื่องจากบริเวณที่ร้อนและอับชื้นเป็นสภาพแวดล้อมที่เชื้อราเจริญเติบโตได้ดี อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตอาการและความผิดปกติบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอดเสมอ หากมี ...

เชื้อราในช่องคลอดรักษายังไงให้หายขาด

การติดเชื้อราในช่องคลอดสามารถรักษาหายได้ด้วยยา แต่ยานั้นมีทั้งกิน เหน็บช่องคลอด และชนิดครีมทาในช่องคลอด ซึ่งทุกชนิดยังแบ่งย่อยออกไปอีก เช่น ยาเหน็บอาจมีชนิดเหน็บครั้งเดียวและเม็ดเดียวเลิก หรือเหน็บวันละเม็ดแต่ต้องเหน็บ 3 - 5 วัน เป็นต้น จึงขอเตือนว่าการจะใช้ยาอย่างไรดี ควรปรึกษาคุณหมอที่รักษาดีกว่า ขืนไปกินหรือเหน็บยา ...

เป็นเชื้อราในช่องคลอด กินอะไร

1. กินโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์เพื่อเพิ่มแลคโตบาซิลลัสในช่องคลอด จะสามารถช่วยลดอัตราการเป็น เชื้อราในช่องคลอดได้ 2. กินอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่มีดัชนีไกลซีมิกต่ำ เพื่อให้น้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นทีละน้อย 3. หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ ภาวะแพ้อาหารทำให้อาการของโรคแย่ลง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้