การ สื่อสาร ที่ ดี เป็น อย่างไร

หลัก 7 C’s of Communication คือรายการตรวจสอบ (checklist) ที่ช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารและเพิ่มโอกาสให้ผู้รับข้อมูลได้เข้าใจข้อมูลตรงตามความตั้งใจของผู้สื่อสาร เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ได้ทั้งกับการสื่อสารด้วยวาจา

องค์ประกอบหรือคุณสมบัติ 7 ประการของการสื่อสารที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย

1. ชัดเจน (Clear)
ในการสื่อสารไม่ว่าจะด้วยการพูดหรือการเขียน ข้อมูลที่สื่อสารต้องมีความชัดเจน เข้าใจง่าย ชัดในเนื้อหาสาระ ใช้คำที่มีความหมายตรงตัว ไม่ต้องตีความจนอาจเกิดความเข้าใจผิด

2. ถูกต้อง (Correct)
ความถูกต้องของข้อมูล หมายถึงเป็นข้อเท็จจริง (fact) ตรวจสอบได้ สร้างความมั่นใจแก่ผู้รับข้อมูลว่าไม่ได้ถูกหลอกให้หลงเชื่อ
ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ถูกต้องทั้งไวยากรณ์และตัวสะกด

3. ครบถ้วน (Complete)
การสื่อสารควรเป็นการส่งข้อมูลซึ่งเป็นข้อเท็จจริงทั้งหมดที่ผู้รับข้อมูลควรทราบ ความครบถ้วนนี้จะต่างกันไปในแต่สถานการณ์ ไม่ตกหล่นเนื้อหาสาระที่สำคัญ เป็นข้อมูลที่สร้างแรงจูงใจ

4. หนักแน่นมีสาระ (Concrete)
ข้อมูลควรมีความจำเพาะเจาะจง หนักแน่น มีสาระ ไม่คลุมเครือหรือกว้างจนเกินไป มีข้อเท็จจริง ไม่ใช้คำที่ลดความน่าเชื่อถือ จำเพาะเจาะจงในประเด็นที่สื่อสาร มีความเป็นรูปธรรมในเรื่องที่สื่อสาร

5. กระชับ (Concise)
ข้อมูลควรกระชับ ตรงประเด็น ไม่เยิ่นเย้อ ชูเนื้อหาสาระหลักได้ชัดเจน ไม่กล่าววนเวียนซ้ำแล้วซ้ำอีก

6. สมเหตุสมผล (Coherent)
ข้อมูลที่สื่อสารควรมีตรรกะ มีความเป็นเหตุเป็นผล เชื่อมโยงและสอดคล้องสัมพันธ์กับประเด็นหลัก อสร้างมุมมองแนวคิดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้รับเพื่อให้ได้รับการตอบสนองที่เป็นบวก มองโลกในแง่ดี เน้นไปในสิ่งที่เป็นไปได้

7. มีมารยาท (Courteous)
ข้อมูลที่สื่อสารควรมีลักษณะที่เป็นมิตร เปิดเผย ตรงไปตรงมา ไม่มีประเด็นซ่อนเร้นหรือเหน็บแนมก้าวร้าว เลือกใช้คำพูดที่สุภาพ ให้เกียรติ ไม่นำอคติใด ๆ มาบิดเบือนข้อมูลให้ผิดไปจากข้อเท็จจริง คำนึงถึงความคิดเห็น มุมมอง ทัศนคติ ของผู้รับข้อมูล ไม่หักหาญหรือฝืนความรู้สึกนึกคิดของผู้รับ ใช้คำในเชิงบวก

ที่มา www.drpiyanan.com

การสื่อสารถือเป็นทักษะที่คุณสามารถฝึกฝนและพัฒนาให้กลายเป็นข้อได้เปรียบในการทำงานได้ โดยมันสามารถสร้างให้เกิดโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์อันดีในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างทีมงาน ความสัมพันธ์ระหว่างการติดต่อกับลูกค้า รวมถึงความสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในบทบาทของการทำงานนั้นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Communication) จะช่วยให้คุณมีโอกาสในความก้าวหน้าไปสู่ตำแหน่งงานหรือหน้าที่ที่ดีกว่าเดิมได้ไม่ยากครับ และผมได้รวมเทคนิคดีๆเพื่อช่วยให้การสื่อสารของคุณนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นมาฝากกันครับ

ข้อดีของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Communication)

ประโยชน์ของการพัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพนั้นมีอยู่หลายอย่างที่นอกเหนือจากโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพการงานครับ ซึ่งมันก็มีหลายๆงานวิจัยหรือการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่สามารถนำมาสรุปได้ดังนี้

  • ช่วยให้แก้ปัญหาต่างๆได้ง่ายขึ้น
  • ช่วยให้เห็นวิถีทางในการแก้ไขเรื่องต่างๆ
  • ปรับความเข้าใจผิดและลดโอกาสการเกิดความขัดแย้ง
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • สร้างปฏิสัมพันธ์เพิ่มขึ้นกับเพื่อร่วมงานและคนอื่นๆ
  • สร้างความมั่นใจให้ตนเองและคนรอบข้าง
  • โอกาสความก้าวหน้าในเรื่องต่างๆของชีวิต

รวมเทคนิคเพื่อการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ

ผมขอจัดหมวดหมู่ให้ดูง่ายๆโดยแบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่

1. การพัฒนาทักษะการสนทนา (Conversation)

เมื่อเป็นเรื่องของการสนทนามันก็คือการสื่อสารแบบสองทาง (Two-ways communication) ที่มีการแบ่งปันความคิดเห็นหรือความรู้ด้านต่างๆ โดยต้องมีทักษะทั้งการถ่ายทอดและการโน้มน้าวใจให้คู่สนทนานั้นเกิดความรู้สึกที่ดีและอยากพูดคุยกับคุณ เรามาดูกันครับว่ามันมีอะไรกันบ้าง

  • แสดงความจริงใจและผ่อนคลาย
    ในทุกๆครั้งของการพูดนั้นคุณต้องแสดงความรู้สึกถึงความจริงใจ และการถ่ายทอดความเชื่อมโยงทางอารมณ์กับคู่สนทนาโดยไม่บีบบังคับหรือพยายามทำแบบฝืนๆ ซึ่งมันคือการเข้าไปแตะในเรื่องของความรู้สึกของอีกฝ่ายด้วยเช่นกัน ดังนั้นคุณควรที่จะเข้าถึงอารมณ์และเรื่องราวที่กำลังพูดคุยกันให้ลึกซึ้งมากที่สุดเพราะมันจะสร้างบรรยากาศดีๆให้เกิดขึ้น
  • พูดอย่างชัดถ้อยชัดคำและไม่เร่งจนเกินไป
    หลายๆครั้งสำหรับการพูดในที่สาธารณะหรือการประชุมนัดสำคัญๆ มันจะทำให้คุณรู้สึกประหม่าและกดดันจนทำให้คุณออกอาการตื่นเต้นพูดเร็วพูดรัวจนเกินไป ซึ่งนั่นมันไม่ดีต่อผู้ฟังและตัวคุณเองเอาซะเลย เพราะนอกผู้ฟังจะฟังไม่รู้เรื่องแล้วความน่าเชื่อถือในตัวคุณอาจลดลงอีก ดังนั้นคุณควรหมั่นฝึกฝน ทำสมาธิก่อนพูดคุยเจรจา และจัดลำดับความคิดก่อนพูดอะไรออกไป
  • เลือกคำพูดให้เหมาะสม
    ทุกๆคำพูดที่คุณสื่อสารออกไปมันมักจะสร้างผลกระทบไม่ทางบวกและทางลบอยู่เสมอ และความที่คุณมีหลายบทบาททั้งการเป็นพนักงาน ความเป็นทางการของเนื้องาน ความเป็นเพื่อนสนิท ความเป็นพี่น้อง หรือคู่ชีวิต การเลือกใช้คำพูดและภาษาก็จะมีความแตกต่างกันออกไป โดยคุณไม่สามารถนำคำพูดในบทบาทหนึ่งมาแทนที่กับอีกบทบาทหนึ่ง เพราะมันอาจทำให้เกิดความไม่เหมาะสมขึ้น ดังนั้นควรพิจารณาว่าผู้ฟังเป็นใครอยู่ในสถานการณ์ใด และเลือกใช้คำพูดและภาษาให้เหมาะสมที่สุดครับ
  • ปฏิเสธอย่างสุภาพ
    การสื่อสารและสนทนาเราต้องเจอกับเรื่องที่แตกต่างด้านความคิดอยู่แล้ว ซึ่งก็ไม่ผิดครับที่คุณจะปฏิเสธหรือไม่เห็นด้วยเพียงแต่การปฏิเสธนั้นต้องมีชั้นเชิงสักหน่อย ไม่ใช่ต่อต้านแบบชักสีหน้าหรือใช้คำพูดที่รุนแรง โดยคุณควรที่จะเปิดใจให้กว้าง พยายามเข้าใจมุมมองของคู่สนทนา เสนอมุมมองของคุณอย่างสุภาพและอย่าพยายามตัดสินอะไรในทันที
  • หัดถามคำถามบ้าง
    อย่าลืมนะครับว่าการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นคือการสื่อสารแบบสองทาง (Two-ways communication) ซึ่งมันก็คือคุณต้องไม่ยพูดอยู่ฝ่ายเดียวโดยต้องมีการหัดตั้งคำถามกลับบ้าง ไม่เช่นนั้นการสื่อสารของคุณจะจบอย่างรวดเร็วซึ่งมันเป็นผลเสียต่อหลายๆเรื่องอย่างแน่นอน

2. ภาษากาย (Body Language)

นอกจากการพูดแล้วสิ่งที่จะช่วยให้คุณถ่ายทอดการสื่อสารที่ดีนั้นก็คือเรื่องของภาษากายครับ โดยมันต้องมาคู่กันแบบอัตโนมัติที่แยกออกจากกันไม่ได้เลยจริงๆ

  • ยิ้มอย่างจริงใจและมีอารมณ์ขัน
    การยิ้มและอารมณ์ขันจะเป็นประตูสู่การสื่อสารที่ดีมากยิ่งขึ้นซึ่งมันช่วยให้ผู้ฟังนั้นรู้สึกสนุกและมีความสุขกับการพูดคุยหรือการฟังได้ตลอด อย่ายิ้มแบบฝืนๆเพราะต้องการสร้างบรรยากาศดีๆ แต่ควรยิ้มแบบจริงใจที่มาจากใจของคุณเอง ส่วนอารมณ์ขันนั้นก็อย่ามีมากจนเกินไปเพราะมันอาจกลายเป็นการเล่นจนเกินไป
  • Eye Contact
    การสบตาคู่สนทนาเป็นระยะๆจะแสดงให้เห็นถึงความสนใจความใส่ใจและความจริงใจ ต่อทั้งสิ่งที่คุณพูดและเป็นการให้เกียรติกับผู้ฟังหรือคู่สนทนาครับ และมันก็หมดยุคของการพูดแบบอ่านหรือท่องหนังสือไปแล้ว
  • ผ่อนคลายอย่าเกร็ง
    ความตื่นเต้นจะทำให้ร่างกายคุณสั่นหรืออาจเกิดอาการหน้าซีดก็ได้ ซึ่งมันคงไม่ดีแน่ๆหากคุณต้องพูดต่อหน้าคนหลายๆคนครับ
  • ระวังภาษากาย
    ไม่ควรนั่งไขว่ห้างหรือกอดอกในระหว่างการประชุมหรือการสนทนาในโอกาสต่างๆครับ เพราะมันแสดงถึงความไม่เคารพคู่สนทนาโดยเฉพาะในบริบทของคนไทย แต่หากเป็นบริบทของชาติตะวันตกบางชาติก็อาจดูเป็นเรื่องปกติครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรจะเก็บแขนขาให้นิ่งๆอยู่กับที่จะดีกว่า นอกจากนั้นการเอนหรือบิดตัวไปมา การเล่นมือถือ หรือการทำอะไรอย่างอื่นในขณะพูดคุย อาจทำให้เสียสมาธิและบรรยากาศนั้นเสียได้ทันที

3. การฟังและการสังเกต (Listening & Observation)

การพูดอย่างเดียวแบบม้วนเดียวจบไม่ใช่การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง โดยจำเป็นต้องใช้การฟังและการสังเกตบริบทต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

  • มีปฏิสัมพันธ์บ้าง
    ทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่าคุณนั้นใส่ใจในสิ่งที่พวกเขากำลังพูด โดยไม่ปล่อยให้การพูดนั้นกลายเป็นการพูดอยู่คนเดียว คุณอาจพยักหน้าหรือพูดว่า เข้าใจ เห็นด้วย ซึ่งบทบาททั้งการเป็นผู้พูดและผู้ฟังนั้นก็สามารถทำในลักษณะเดียวได้เช่นกัน มันจะช่วงสร้างให้การสื่อสารนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ครับ
  • สังเกตบรรยากาศในห้อง
    คุณสามารถปรับโทนหรือน้ำเสียงในการนำเสนอเมื่อคุณสังเกตเห็นอากัปกิริยาของคนในห้อง เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศการฟังที่ดีมากยิ่งขึ้น เช่น ผู้ฟังเริ่มซึมๆหน้าตาเริ่มเบื่อหน่าย ผู้ฟังเริ่มทำอย่างอื่นแทนการใส่ใจกับการฟัง อะไรที่ผู้ฟังสนใจเป็นพิเศษเวลาที่คุณพูด

4. เนื้อหาในการพูด (Information)

ส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งก็คือการเตรียมข้อมูลและเนื้อหาสำหรับการสื่อสารครับ โดยแน่นอนว่าคุณต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของการสื่อสารในเบื้องต้นให้ได้อย่างชัดเจน ซึ่งมันก็มีรูปแบบการสื่อสารในแต่ละสถานการณ์หรือบริบทที่แตกต่างกันออกไป เช่น รูปแบบการประชุม รูปแบบการปราศรัย รูปแบบการนำเสนองาน รูปแบบการขายสินค้าหรือบริการ หลังจากนั้นก็เป็นเรื่องของการเตรียมเนื้อหาโดยยึดหลักต่างๆ ดังนี้

การสื่อสารมีประโยชน์อย่างไร

การสื่อสารเป็นหัวใจของการทำความเข้าใจระหว่างกันของมนุษย์ในสังคม มนุษย์จะทำความเข้าใจกันได้ต้องอาศัยการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูล ถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเห็น และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข อีกทั้งการสื่อสารยังช่วยให้มนุษย์พัฒนาปัญญาและความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ทักษะการสื่อสารที่สำคัญที่สุดคืออะไร

การฟังเป็นทักษะการสื่อสารที่สำคัญเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็นการทำงานร่วมกับลูกค้าหรือเพื่อนร่วมงานคุณก็ควรเป็นผู้ฟังที่ดีอยู่เสมอ เพราะหากคุณไม่ฟังสิ่งที่ลูกค้าต้องการ การให้คำแนะนำหรือช่วยพวกเขาแก้ปัญหาก็แทบจะเป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับการทำโครงการต่างๆ ให้สำเร็จ หากไม่ฟังความคิดเห็นหรือแนวคิดของเพื่อนร่วมงาน การทำงานก็ ...

ตัวอย่างของการสื่อสาร มีอะไรบ้าง

แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. การสื่อสารทางเดียว (One-way Communication) เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์หนังสือพิมพ์ ฯลฯ 2. การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูดคุยกันทางโทรศัพท์ ฯลฯ

ความสามารถในการสื่อสาร มีอะไรบ้าง

เป็นความสามารถในการถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์ รวมทั้งการเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่างๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้