คุย กับ ลูก ใน ท้อง ยัง ไง

สาว ๆ ทั้งหลายที่กำลังเริ่มตั้งครรภ์ หรือเพิ่งได้รับข่าวดีว่าตั้งครรภ์ ก็คงจะมีความรู้สึกดีใจจนบอกไม่ถูกกันนะคะ ซึ่งก็ต้องร่วมดีใจกับคุณแม่ทุก ๆ คน ด้วยค่ะ

ในระยะเดือนที่ 1-3 คุณแม่ก็คงจะต้องรักษาครรภ์เป็นอย่างดี เพราะในช่วงนี้เป็นช่วงของการเริ่มสร้างเซลต่าง ๆ ของลูกในครรภ์ ซึ่งหากคุณแม่ดูแลเรื่องอาหารการกินได้เป็นอย่างดี และบำรุงรักษาร่างกายตามที่แพทย์แนะนำก็จะทำให้ชีวิตของเด็กในครรภ์มีการก่อตัวที่แข็งแรงมากขึ้น ๆ ตามลำดับ

การเข้าสู่เดือนที่ 3 ของลูกในครรภ์เริ่มเป็นช่วงที่ลูกอาจจะมีการตอบสนองได้บ้าง แต่คุณแม่อาจจะไม่ทราบจนกระทั่งเข้าเดือนที่ 4 ค่ะ

ในช่วงเดือนนี้การสร้างเสริมเซลต่าง ๆ ของลูกในครรภ์จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างการรับรู้การได้ยินก็เริ่มพัฒนามากขึ้นด้วยค่ะ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีหากคุณแม่จะเริ่มต้นสื่อสารกับลูกในครรภ์นช่วงเดือนที่ 4 นี้นะคะ และถ้าคุณแม่ยังไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร หรือจะสื่อสารกับลูกในครรภ์อย่างไรดี เราลองมาดู 5 วิธีง่าย ๆ ที่คุณแม่สามารถทำได้ทุกวันและจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคุณแม่กับลูกในครรภ์เลยค่ะ

สารบัญ

  • วิธีที่ 1 ทักทายลูกในยามเช้า
  • วิธีที่ 2 คุยกับลูกในยามสาย
  • วิธีที่ 3 กล่อมลูกนอนในยามบ่าย
  • วิธีที่ 4 ชวนลูกคุยในยามเย็น
  • วิธีที่ 5 ขับกล่อมลูกในยามนอน

วิธีที่ 1 ทักทายลูกในยามเช้า

หลังจากคุณแม่ตื่นนอนและ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เรียบร้อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่ควรเริ่มทำเป็นอันดับแรกของทุก ๆ เช้าก็คือ การเดินสูดอากาศดี ๆ หรือ การเดินเพื่อออกกำลังกายเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรง ซึ่งในระหว่างนี้ก็สามารถทักทายกับลูกน้อยในครรภ์เพื่อเป็นการตั้งต้นความสัมพันธ์กันในทุก ๆ วันนะคะ

คุณแม่ควรใช้วิธีการเริ่มด้วยการสัมผัสเบา ๆ ที่ท้อง และ เริ่มสื่อสารด้วยคำพูดง่าย ๆ กับลูกน้อยในครรภ์ เช่น

“อรุณสวัสดิ์ หรือ สวัสดีนะคะลูกแม่
วันนี้อากาศดี แม่กำลังเดินออกกำลังกาย เพื่อให้ลูกได้แข็งแรง แม่อยากให้ลูกแข็งแรงมาก ๆ นะคะ
เช้าวันนี้แม่มีความสุขมาก ๆ ที่ได้อุ้มลูกมาเดินด้วยกันนะคะ”

คำพูดเหล่านี้ ไม่ได้ปรุงแต่ง แต่เป็นคำพูดที่คุณแม่ทุกคนมีความต้องการมากที่สุดเมื่อวันใดที่ลูกน้อยของคุณคลอดออกมา

คุณแม่ก็สามารถทักทายลูกน้อยในครรภ์เช่นนี้ได้ในทุก ๆ เช้าค่ะ

วิธีที่ 2 คุยกับลูกในยามสาย

หลังจากที่คุณแม่พักผ่อนจากช่วงเวลาเช้าแล้ว ก่อนรับประทานอาหารกลางวัน ก็อาจจะหันมาพูดคุยกับลูกในครรภ์ตอนสาย ๆ กันได้อีกนะคะ เพื่อให้ประสาทสัมผัสได้กระตุ้นการรับรู้ของลูกน้อยในครรภ์ในอีกช่วงเวลาหนึ่งค่ะ ในเวลาแบบนี้คุณแม่สามารถใช้วิธีการพูดคุยเกี่ยวกับบรรยากาศในบ้านให้ลูกได้รับรู้ก็ได้นะคะ ถ้าพูดทุกวันลูกน้อยก็จะค่อย ๆ รับรู้ไปทุกในค่ะ เรื่องใกล้ ๆ ตัวเป็นเรื่องที่สำคัญไม่ควรมองข้ามไปนะคะ ใช้เวลาสัก 5-10 นาทีก็เพียงพอในการพูดคุยช่วงเวลาแบบนี้ค่ะ

วิธีที่ 3 กล่อมลูกนอนในยามบ่าย

หลังอาหารกลางวัน เชื่อว่าทั้งคุณแม่และคุณลูกก็อยากที่จะพักผ่อนบ้าง เพื่อให้ร่างกายได้เติมเต็มจากที่อาจจะรู้สึกอ่อนล้าบ้างตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงค่ะ หากคุณแม่ทำได้ก็ใช้วิธีการร้องเพลงเบา ๆ สบาย ๆ เพื่อกล่อมลูกในครรภ์ก่อนที่คุณแม่จะพักผ่อนนะคะ โดยที่คุณแม่อาจจะหาเพลงเพราะ ๆ ฟังเพลิน ๆ ที่จดจำได้มาร้องกล่อมลูกนะคะ หรืออาจจะเปิดเพลงให้ลูกฟังในยามบ่ายพร้อม ๆ กับคุณแม่ก็ได้ค่ะ สื่อสัมพันธ์ก็จะสานต่อได้เป็นอย่างดี เพราะเพลงเป็นส่วนสร้างอารมณ์ให้แจ่มใสได้ในยามบ่ายเช่นนี้นะคะ

วิธีที่ 4 ชวนลูกคุยในยามเย็น

เวลาอาหารเย็นมาถึง ก็ไม่ยากเลยที่คุณแม่จะชวนลูกคุยในระหว่างรับประทานอาหารนะคะ อาจจะใช้วิธีการชวนคุยโดยบอกเล่าถึงอาหารวันนี้ว่ามีอะไรบ้าง ให้ประโยชน์ต่อลูกน้อยอย่างไร เรื่องอาหารก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าคุณแม่ใส่ใจเสมอในทุก ๆ วันเพื่อลูกในครรภ์นะคะ

วิธีที่ 5 ขับกล่อมลูกในยามนอน

ใกล้เวลานอนก็เป็นอีกช่วงเวลาหนึ่งที่คุณแม่ห้ามลืมที่จะสื่อสารกับลูกในครรภ์นะคะ คุณแม่อาจจะใช้วิธีการเปิดเพลงเบา ๆ และพูดคุยกับลูกในครรภ์ โดยมีคุณพ่ออยู่ด้วยก็จะยิ่งทำให้ลูกน้อยได้สัมผัสเสียงทั้งของคุณพ่อคุณแม่ ซึ่งก็จะเป็นการขับกล่อมให้ลูกในครรภ์สดชื่นก่อนนอนได้นะคะ

ทั้ง 5 วิธีนี้คือการใช้เวลามาเป็นส่วนช่วยให้คุณแม่สื่อสารกับลูกในครรภ์ได้โดยที่ไม่รู้สึกอึดอัดใจ เพียงแต่ต้องทำเป็นประจำทุกวัน เพราะพัฒนาการของลูกสามารถเสริมสร้างได้จากการสื่อสารอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ วันของคุณแม่สู่คุณลูกนะคะ
โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์ของลูกมากขึ้นเป็น 5 เดือน 6 เดือน 7 เดือน 8 เดือน จนกระทั่ง 9 เดือน การรับรู้และพัฒนาการในด้านต่าง ๆ รวมทั้งการสัมผัสความรู้สึกจากคุณแม่สู่ลูกในครรภ์ก็จะยิ่งมีมากขึ้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดผลดีต่อทักษะและพัฒนาการของลูกน้อย อีกทั้ง ยังก่อให้เกิด ความรัก ความผูกพัน ความอิ่มเอมใจ ที่ทั้งคุณแม่และคุณลูกรับรู้ได้ตลอดช่วงเวลาที่สื่อสารซึ่งกันและกันนะคะ

คุณแม่มือใหม่ที่กำลังตั้งครรภ์หลายคนคงอยากจะพูดคุยกับลูกน้อย แต่ไม่รู้ว่าจะคุยแบบไหนถึงจะสื่อสาร ถึงลูกน้อยอย่างถูกวิธี และสามารถกระตุ้นพัฒนาการทางสมองจากการ คุยกับลูกในท้อง และลูบสัมผัสอย่างอ่อนโยนด้วยความรักจากผู้เป็นแม่ ดังนั้นวันนี้เราจึงมี 7 เทคนิคการพูดคุยกับลูกน้อยมาฝากกัน โดยจะสื่อสารกับลูกอย่างไรดีนั้นไปดูกันเลย

7 วิธี คุยกับลูกในท้อง ขณะตั้งครรภ์

การคุยกับลูกในท้องสามารถทำได้หลายวิธี โดยเราได้รวบรวมวิธีที่จะสื่อสารกับลูกน้อยในครรภ์ได้ดีที่สุด มาให้คุณแม่ได้ลองทำตามดังนี้

1.ชวนคุณพ่อมาคุยด้วยกัน

ปกติคุณแม่อาจจะคุยกับลูกในท้องเป็นประจำอยู่แล้ว การชวนให้คุณพ่อมาพูดคุยด้วยกันกับลูกก็จะช่วยให้ลูกน้อยมีความคุ้นเคยกับคุณพ่อมากขึ้น  อีกอย่างการที่คุณพ่อพูดคุยกับลูกบ่อยๆ เมื่อเวลาลูกคลอดออกมาจะทำให้ลูกจำเสียงคุณพ่อได้อีกด้วย

2.พูดซ้ำๆ เรียกชื่อลูกบ่อยๆ

คุณแม่บางคนอาจจะมีชื่อเล่นของลูกไว้ในใจแล้ว อาจจะใช้ชื่อเล่นนั้นเรียกบ่อยๆ ซ้ำๆ เพื่อให้ลูกจดจำชื่อที่แม่เรียก รวมถึงการใช้ประโยคง่ายๆ ในการชวนลูกคุยด้วยการบอกเล่า เมื่อจะทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เดินเล่นก็บอกลูกว่า “เราไปเดินเล่นกันนะลูก” , “วันนี้อากาศดีมากเลยนะลูก ”  , “น้องได้ยินเสียงนกมั้ยคะ”

3.เปิดเพลงพร้อมกับร้องเพลงคลอไปด้วย

การเปิดเพลงให้ลูกฟังบ่อยๆและคุณแม่ก็ร้องเพลงคลอไปด้วยจะทำให้ลูกได้ยินเสียงของแม่พร้อมกันด้วย เสียงเพลงอันไพเราะผสานเสียงดนตรี เมื่อลูกได้ฟังแล้วจะส่งผลดีต่อสมองของลูกทำให้เส้นใยโครงข่ายของเส้นประสาทเชื่อมต่อกันดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้สมองพัฒนาการได้ดีมาก ลูกมีความสุขอารมณ์ดี คุณแม่ก็อารมณ์ดีเช่นกัน

4.กินไปคุยไป

ขณะแม่กินอาหารให้ชวนลูกคุยไปด้วยถึงรายการอาหาร ที่แม่ทำในวันนี้ว่ามีอะไรบ้าง ใช้วัตถุดิบมาจากอะไรบ้าง มีประโยชน์กับลูกอย่างไร บางครั้งขณะแม่กินอาหารลูกน้อยก็มีการตอบโต้ด้วยการดิ้นให้แม่รู้เมื่ออาหารที่แม่กินเผ็ดเกินไป หรือการดื่มน้ำเย็นจัด

5.อัดคลิปVLOG

ยุคนี้คุณแม่หลายๆ คนนิยมอัดคลิปเกือบทุกอริยาบทอยู่แล้ว หากได้อัดคลิปแบบไดอารีประจำวันแล้วมาชวนลูกคุย บอกลูกว่าวันนี้แม่กับลูกไปไหนมาบ้าง ทำอะไรมา ไปเที่ยวที่ไหน มีความสุข สนุกอย่างไร ทำการบันทึกไว้ทุกๆ วัน ทุกช่วง แล้วเก็บไว้ให้ลูกดูหลังคลอดสักระยะหนึ่งแล้ว หรือจะอัปโหลดลงยูทูปเก็บไว้ให้ลูกดูตอนโตก็ได้

6.คุยตอนอาบน้ำ

การอาบน้ำคือช่วงเวลาของการผ่อนคลายร่างกาย ลองให้มือลูบท้องอย่างนุ่มนวลและพูดคุยกับลูกอย่างแผ่วเบา ความเงียบอาจจะช่วยให้คุณแม่กล้าพูดคุยกับลูกได้ง่ายขึ้น

7.ใช้ของเล่นเป็นตัวช่วย

สิ่งหนึ่งที่สามารถชวนลูกคุยได้อย่างสนุกคือการส่องไฟฉายที่หน้าท้อง โดยลากไฟฉายไปมาเบาๆ หรือการนำของเล่นชิ้นเล็กที่มีล้อหรือมีขามาเดินบนท้องก็ได้ เพื่อให้ลูกได้มองตาม เป็นการกระตุ้นการมองเห็นของลูกให้ดีขึ้น

เริ่มคุยกับลูกในท้องได้เมื่อไหร่

ลูกน้อยในครรภ์จะเริ่มได้ยินเสียงของคุณแม่ในช่วง 4-6 เดือนขึ้นไป ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่เหมาะจะเริ่มคุยกับลูกในท้องมากที่สุด โดยคุณแม่สามารถพูดคุยกับลูกได้ทุกวันและทุกเวลากันเลย ส่วนจะคุยกับลูกในท้องยังไง ก็ลองทำตาม 7 วิธีที่แนะนำไปข้างต้นกันดู รับรองว่าเจ้าตัวน้อยจะรับรู้และได้จดจำเสียงของคุณแม่แน่นอน นอกจากนี้ขอแนะนำให้คุณแม่เลือกคุยกับลูกในช่วงหลังมื้ออาหาร และก่อนนอน เพราะลูกน้อยจะมีปฏิกิริยาตอบโต้คุณแม่เป็นอย่างดี และยังสร้างความรู้สึกอุ่นใจให้กับลูกน้อยในครรภ์ได้ดีอีกด้วย

เล่านิทานให้ลูกฟังดีกว่าที่คิด

นอกจากการพูดคุยกับลูกในท้องแล้ว อีกหนึ่งกิจกรรมที่คุณแม่ควรทำ ก็คือการเล่านิทานให้ลูกฟังนั่นเอง ซึ่งแม้ว่าลูกจะยังอยู่ในท้อง แต่เขาก็สามารถรับรู้ได้ และเป็นการเสริมพัฒนาการด้านการได้ยินให้กับลูกน้อยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการได้เล่านิทานก็จะทำให้คุณแม่ได้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีทั้งต่อตัวคุณแม่เองและลูกน้อยในครรภ์เลยทีเดียว

ให้คนอื่นมาคุยกับลูกด้วยได้ไหม

การคุยกับลูกในท้องไม่ใช่แค่คุณแม่หรือคุณพ่อเท่านั้นที่คุยได้ โดยอาจให้ญาติมิตร ปู่ย่าตายาย มาคุยด้วยก็ได้ ซึ่งก็จะช่วยสร้างความคุ้นเคยให้กับลูกน้อยในครรภ์ และกระตุ้นพัฒนาการด้านการได้ยินได้มากขึ้นไปอีก

สรุป

เทคนิคการพูดคุยกับลูก ควรพูดคุยด้วยเสียงโทนต่ำ น้ำเสียงนุ่มนวลน่าฟัง ชัดถ้อยชัดคำรวมถึงการลูบสัมผัสอย่างนุ่มนวลอ่อนโยน จะสร้างความสนใจให้ลูกจดจำลักษณะโทนเสียงและคำพูดได้ดี ซ้ำยังช่วยในการพัฒนาเซลล์สมองให้สร้างเส้นใยประสาทได้มากขึ้น ซึ่งเป็นผลดีในการพัฒนาสติปัญญาให้สมบูรณ์ต่อไป ดังนั้นเรามาคุยกับลูกในท้องบ่อยๆ กันดีกว่า

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
//www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

//www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.แนะนำกิจกรรมคนท้อง เพิ่มความผ่อนคลาย ลดความน่าเบื่อได้ดี

2.ขั้นตอนการเจาะน้ำคร่ำ ในคนท้อง ทำอย่างไรมาดูกัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้