ข้าราชการ เกษียณ เสียภาษี อย่างไร

เลขที่หนังสือ: กค 0811/6197วันที่: 27 กรกฎาคม 2543เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการหักภาษี ณ ที่จ่ายข้อกฎหมาย: มาตรา 42 (17), กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ฯ (ฉบับที่ 70) พ.ศ. 2541ข้อหารือ: นาง ส. เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ได้หารือเกี่ยวกับ
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีที่ได้รับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ จากกองทุนอัน
ได้แก่ เงินประเดิม เงินสมทบเงินชดเชย และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว รวมทั้งผลประโยชน์ของ
เงินสะสมที่สมาชิกได้รับจากกองทุนเมื่อออกจากราชการเพราะเหตุสูงอายุ เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน
จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยไม่ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตาม
ข้อ 2(44) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 208
(พ.ศ. 2540)ฯ แต่ในบทบัญญัติประมวลรัษฎากร มาตรา 48(5) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของเงินได้พึงประเมินที่ได้
รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจะต้องคำนวณและหักภาษี ณ ที่จ่าย จึงหารือว่า
1. เงินที่ได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กรณีใดบ้างถึงจะต้องหัก
ภาษี ณ ที่จ่าย
2. เมื่อต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 1 แล้วจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ประจำปีภาษีที่ได้รับในใบแนบหรือไม่แนววินิจฉัย: 1. เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้รับจากกองทุนฯ
จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เว้นแต่กรณีเข้าหลักเกณฑ์
ตามที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 70)ฯ ลงวันที่ 19 มกราคม
2541 จึงจะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและถูกหักภาษี
ณ ที่จ่าย ผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีแยกต่างหากจากเงินได้อื่นตามมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร
ก็ได้ หากเข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24
กันยายน 2535 โดยกรอกรายการในใบแนบแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91เลขตู้: 63/29607
เลขที่หนังสือ: กค 0702/5745 วันที่: 15 สิงหาคม 2557 เรื่อง: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการขอยกเลิกการหักภาษี ณ ที่จ่าย ข้อกฎหมาย: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ข้อหารือ           นาย ก. ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) รับเงินเดือนโดยตรงจากกรมบัญชีกลาง เดือนละ28,148.55 บาท หักภาษีหัก ณ ที่จ่าย 564.86 บาท คงเหลือรับจริง 27,583.69 บาท แต่เนื่องจากนาย ก.เป็นข้าราชการบำนาญที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ รัฐบาลให้สิทธิยกเว้นเงินได้ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ ได้รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษีซึ่งคำนวณภาษีแล้ว นาย ก.ก็ไม่มีภาษีที่ต้องชำระ แต่กรมสรรพากรก็ยังคงให้กรมบัญชีกลางผู้จ่ายเงินได้จะต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย จากเงินได้ทุกเดือน เดือนละ 564.86 บาท กรณีดังกล่าว ทำให้นาย ก.ต้องขอคืนเงินภาษีที่ได้ถูกหักไว้พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตอนสิ้นปี ทำให้สูญเสียรายได้ที่มีไว้ในยามชราภาพในแต่ละเดือน จึงขอความอนุเคราะห์ เพื่อเป็นสวัสดิการแก่ข้าราชการบำนาญที่จะได้มีเงินไว้ใช้ในยามชราภาพให้กรมสรรพากรยกเลิกการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในแต่ละเดือนดังกล่าว แนววินิจฉัย           1. กรณีนาย ก.เป็นข้าราชการบำนาญที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ ได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้พึงประเมินทุกประเภทที่ได้รับรวมกันไม่เกิน 190,000 บาท ในปีภาษี ตามข้อ 2 (72) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 257 (พ.ศ. 2549)ฯ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 150) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2549 โดยกำหนดให้ผู้ที่ได้รับสิทธิในกรณีดังกล่าวต้องแสดงเงินได้ที่ได้ใช้สิทธิยกเว้นพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพื่อให้ผู้มีเงินได้ได้แสดงเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีว่า จะยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมินประเภทใด เป็นจำนวนเท่าใด โดยมีจำนวนรวมกันแล้วไม่เกิน 190,000 บาท ซึ่งเป็นสิทธิตามกฎหมายฉบับดังกล่าว ทั้งนี้ เงินได้ประเภทใดที่ได้รับจากผู้จ่ายเงินได้ และมีกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น เงินเดือนค่านายหน้า ค่าเบี้ยประชุม ค่าที่ปรึกษา ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ค่าวิชาชีพอิสระ เป็นต้น ผู้จ่ายเงินได้จึงยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามกฎหมายตามปกติ โดยผู้มีเงินได้ที่ได้รับสิทธิในกรณีดังกล่าว และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็ต้องนำรายการเงินได้ที่ได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้นั้น มาแสดงในแบบแสดงรายการภาษี และหากคำนวณภาษีแล้วมีภาษีที่ต้องขอคืน ผู้มีเงินได้ก็มีสิทธิยื่นขอคืนในปีภาษีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้ ตามแนวทางปกติต่อไป กรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้น กรมบัญชีกลางซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้ก็จะคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ได้จ่ายทุกเดือน และผู้มีเงินได้ดังกล่าวก็ต้องนำเงินได้ที่ได้รับในปีภาษีมาแสดงในแบบแสดงรายการ เพื่อคำนวณเสียภาษีตอนสิ้นปีและขอคืนเงินภาษีที่ได้ถูกหักไว้พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีนั้น โดยจะได้รับคืนเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นในปีถัดไป
          2. กรณีที่นาย ก.อ้างว่า การปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว ทำให้สูญเสียรายได้ที่มีไว้ในยามชราภาพในแต่ละเดือน เนื่องจากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ทุกเดือน จึงต้องการให้ได้รับยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาทในกรณีตาม 1. ไว้ในขั้นตอนของการคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเมื่อคำนวณภาษีออกมาแล้ว นาย ก.จะไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่มีภาษีที่ต้องเสีย และไม่ต้องขอคืนภาษี โดยต้องการให้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์ของกฎหมายนั้น กรมสรรพากรไม่อาจดำเนินการได้ทันที เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายให้ผู้มีเงินได้ใช้สิทธิยกเว้นเงินได้เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ จึงไม่อาจกำหนดให้ยกเว้นเงินได้ตั้งแต่ขณะที่มีการจ่ายเงินได้จากผู้จ่ายได้ ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
               (1) หากจะแก้ไขกฎหมายโดยกำหนดให้ข้าราชการบำนาญซึ่งเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้ 190,000 บาท ในขั้นตอนการคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและความไม่เสมอภาคต่อผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นที่มิใช่ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นยังคงต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และต้องแสดงรายการเงินได้และการยกเว้นเงินได้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ค่าเช่า ตามมาตรา 40 (5) แห่งประมวลรัษฎากรค่าวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 40 (8)แห่งประมวลรัษฎากร เป็นต้น กรณีจึงไม่อาจกระทำได้
               (2) หากจะแก้ไขกฎหมาย โดยกำหนดให้สิทธิยกเว้นเงินได้ในกรณีดังกล่าวแก่ผู้มีเงินได้พึงประเมินทุกประเภท (ไม่เฉพาะแต่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเดียว) ให้ได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้นั้นในขั้นตอนการคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย อาจก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เนื่องจากผู้มีเงินได้พึงประเมินแต่ละคนมีเงินได้ที่ได้รับแตกต่างกัน บางคนอาจได้รับเงินได้พึงประเมินหลายประเภทในปีภาษี และอาจได้รับเงินได้พึงประเมินจากผู้จ่ายมากกว่า 1 คน ดังนั้น หากกำหนดให้การได้รับสิทธิยกเว้นเงินได้ในกรณีดังกล่าวนำไปใช้ในขั้นตอนของการคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่าย และผู้จ่ายเงินได้ทุกรายของผู้มีเงินได้พึงประเมิน ได้นำสิทธิการยกเว้นเงินได้ 190,000 บาท มาคำนวณในขั้นตอนการหักภาษี ณ ที่จ่ายของผู้มีเงินได้นั้น อาจมีผลให้ผู้จ่ายเงินได้ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องรับผิด กรณีหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ถูกต้อง ตามมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร และเกิดการใช้สิทธิยกเว้นเงินได้ซ้ำซ้อนไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อรายได้และการจัดเก็บภาษีของรัฐ
          3. กรณีการจะกำหนดให้สิทธิผู้มีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ ได้รับยกเว้นเงินได้จำนวน190,000 บาท ในลักษณะของการหักลดหย่อน (หักลดหย่อนเงินได้ของผู้สูงอายุ) เช่นเดียวกันกับการหักลดหย่อนผู้มีเงินได้ 30,000 บาท ตามมาตรา 47 (1) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อบรรเทาภาระภาษีตามสถานภาพของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร แต่เนื่องจากนโยบายที่เร่งด่วนของรัฐบาลที่ต้องการให้ผู้สูงอายุได้รับสิทธิดังกล่าว โดยไม่ต้องรอการแก้ไขประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับชั้นพระราชบัญญัติที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติ จึงได้ออกกฎหมายในลักษณะของการยกเว้นเงินได้ที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 257 (พ.ศ.2549)ฯ และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การได้รับสิทธิยกเว้นในกรณีดังกล่าว ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 150)ฯ ลงวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2549 ดังนั้น เมื่อมีการออกกฎหมายในลักษณะเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้สภาพบังคับของกฎหมาย จึงมีลักษณะตามที่กลาวแล้วใน 1. และ 2. เลขตู้: 77/39206

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้