จะรู้ได้ไงว่าท้อง 1 อาทิตย์ Pantip

เลือกอ่านตามหัวข้อ

• อาการคนท้องระยะเริ่มต้น
• อาการเตือนคนเริ่มท้อง
• อาการคนท้อง 3 วันแรก
• อาการของคนท้องมารัวๆ ท้องชัวร์ไหมนะ
• ลักษณะหน้าท้องของคนท้อง 1 สัปดาห์ - 1 เดือนแรก
• เตรียมตัวอย่างไรเมื่อร่างกายเริ่มแสดงอาการคนท้อง
• อาการคนท้องระยะแรกจะดีขึ้นเมื่อไหร่
• อาการคนท้องไม่มีสักนิด แต่ตรวจแล้วท้อง
• ไขข้อข้องใจเรื่องอาการคนท้องกับ Enfa Smart Club

อาการคนท้อง เป็นกลุ่มอาการที่จะบอกให้คุณแม่ทราบและสังเกตตัวเองได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่า นี่ฉันอาจจะกำลังตั้งครรภ์รึเปล่านะ? แต่อาการคนท้องที่สามารถสังเกตได้ มีอะไรบ้าง และอาการคนท้องจะเริ่มขึ้นตอนไหน บทความนี้จาก Enfa ได้รวบรวมเอาสารพันอาการคนท้องที่คุณแม่ควรรู้ มาฝากแล้วค่ะ

เมื่อเราตั้งท้อง จะเริ่มมีอาการคนท้องเมื่อไหร่ หรืออาการคนท้องระยะแรกจะเป็นยังไง หลายครั้งที่เราอาจจะมีคำถามกับเรื่องเหล่านี้ สิ่งที่เราสามารถสังเกตได้อย่างแรก สำหรับอาการคนท้องระยะเริ่มต้น ในช่วง 1 สัปดาห์แรก นั่นคือ การขาดประจำเดือน

หากเรามีประจำเดือนที่มาสม่ำเสมอ และตรงเวลา การที่ประจำเดือนขาดหาย ไม่มาตามปกติ หรือมาล่าช้าเกิน 12 – 16 วัน ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า เราอาจจะกำลังตั้งท้อง แต่การขาดประจำเดือนไม่ใช่อาการคนท้องระยะเริ่มต้นอย่างเดียวที่สังเกตได้ ยังมีอาการอื่น ๆ ที่สามารถสังเกตว่าเราตั้งท้องระยะเริ่มต้นได้เช่นกัน

อาการคนท้องระยะเริ่มต้น ในช่วง 1-4 สัปดาห์แรก

  1. เต้านม และหัวนมมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีอาการคัดเต้านม

    อาการคนท้องระยะเริ่มต้น ในช่วง 1 สัปดาห์แรก ที่สังเกตได้คือ เต้านม และหัวนมของเรามีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เต้านมจะมีอาการบวม เปราะบาง อ่อนไหว และอาจจะมีความรู้สึกเสียวแปลบ ๆ การเปลี่ยนแปลงนี้ จะเริ่มหลังจากการขาดประจำเดือนไปประมาณ 1 สัปดาห์

    นอกจากนี้ยังอาจจะมีอาการคัดเต้านม คล้าย ๆ อาการช่วงก่อนมีประจำเดือนอีกด้วย ซึ่งเกิดขึ้นจากฮอร์โมนที่กำลังสร้างใหม่ และปรับให้เข้ากับสภาพร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมในการสร้างน้ำนม

    เต้านม และหัวนมจะเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อเราขาดประจำเดือน เนื่องจากมีการตั้งท้อง หากขาดประจำเดือนเนื่องด้วยสาเหตุอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงของเต้านม และหัวนมก็จะไม่เกิดขึ้น ทั้งนี้ เรายังสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของเต้านมได้อีกเช่นกัน อาทิ บริเวณวง ๆ รอบหัวนมจะคล้ำขึ้นและขยายใหญ่ขึ้น อาจพบหลอดเลือดบริเวณรอบ ๆ เต้านมนูนขึ้นชัดเจนขึ้น รวมทั้งมีตุ่มเล็ก ๆ บริเวณรอบหัวนมเพิ่มจำนวนมาก

  2. ตกขาวมากกว่าปกติ

    ตกขาวเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่เกิดขึ้นในผู้หญิง และเมื่อเริ่มตั้งท้อง การตกขาวก็อาจจะมีปริมาณมากกว่าปกติ หรือในคุณแม่มือใหม่อาจจะพบว่ามีการตกขาวแทนการมีประจำเดือนในระหว่างการตั้งท้อง

    โดยการตกขาวเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ทำให้มีเลือดมาคั่งที่ช่องคลอด และที่คอมดลูก ส่งผลให้ต่อมต่าง ๆ ที่คอมดลูกทำงาน และหลั่งสารคัดหลั่งออกไปที่ช่องคลอดมากขึ้น ส่งผลให้แบคทีเรียที่มีตามปกติในช่องคลอดเจริญเติบโตมากกว่าเดิม จนกลายเป็นตกขาว

    อย่างไรก็ตาม การตกขาวสามารถบอกสัญญาณการตั้งท้องได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างการตั้งท้อง จะส่งผลให้ต่อปริมาณของตกขาว ทำให้มีการตกขาวออกมาในปริมาณมากกว่าปกติ แต่ก็ถือเป็นเรื่องปกติ และไม่เป็นอันตรายใด ๆ

    ลักษณะของตกขาวคนท้องระหว่างการตั้งท้องอ่อน ๆ จะมีลักษณะเป็นมูกใส สีขาวขุ่น คล้ายแป้งเปียก แต่ไม่มีกลิ่น และไม่มีอาการคัน หากมีอาการผิดปกตินอกจากนี้ เช่น มีกลิ่น มีอาการคัน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  3. ปัสสาวะบ่อย

    ปัสสาวะบ่อยเป็นอีกหนึ่งอาการคนท้องที่พบได้ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างการตั้งท้อง ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือด และของเหลวในร่างกาย ทำงาน และเพิ่มระดับจากเดิม ส่งผลให้ไตต้องทำหน้าที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย นอกจากนี้ การที่มดลูกขยายตัวระหว่างการตั้งท้อง และไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ยังส่งผลให้ปัสสาวะบ่อยอีกด้วย

  4. อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง

    ในช่วงตั้งท้องใหม่ ๆ ร่างกายจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายมีการปรับเปลี่ยนระบบต่าง ๆ เพื่อให้พร้อมสำหรับการเติบโตของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเนื้อเยื่อ เพิ่มการสร้างเลือดเพื่อลำเลียงอาหารไปให้ลูกน้อย การขยายและปรับเปลี่ยนเต้านมให้พร้อมสำหรับการสร้างน้ำนม เป็นต้น

    คุณแม่อาจจะรู้สึกเหมือนมีไข้ต่ำ ๆ ในตอนเย็น แต่อาการเหล่านี้ไม่ได้เป็นอันตราย สามารถพบได้ปกติ แนะนำให้ดื่มน้ำให้มาก และพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้

  5. เหนื่อยล้า

    อาการเหนื่อยล้า เป็นอาการแรก ๆ ของการตั้งท้อง สาเหตุเกิดจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีระดับที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความรู้สึกง่วงนอน และเหนื่อยล้าได้ง่าย เคล็ดลับง่าย ๆ ที่จะช่วยแก้อาการเหนื่อยล้าในคนท้องคือ การพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งควรปรับอุณหภูมิห้องให้เย็น เนื่องจากร่างกายของคุณแม่ตั้งท้องจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นในระยะแรกของการตั้งท้อง

  6. อาการคลื่นไส้ หรืออาการแพ้ท้อง

    สำหรับผู้ที่เพิ่งตั้งท้องได้ 1 สัปดาห์มักจะยังไม่ค่อยมีอาการแพ้ท้องมากนัก ในบางรายอาจจะมีอาการปวดหัว หรือเวียนหัวเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคุณแม่แต่ละคน

  7. อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย

    การผันผวนและการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์นั้น อาจมีผลต่อความรู้สึกและอารมณ์ คุณแม่ที่ตั้งท้อง จึงอาจมีอาการหงุดหงิดได้ง่ายในช่วงไตรมาสแรก

  8. ท้องอืด

    การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ในระยะแรก อาจทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง และท้องอืด ซึ่งอาการท้องอืดนี้จะมีลักษณะที่คล้ายกับช่วงเริ่มมีประจำเดือน

  9. เลือดออกกะปริดกะปรอย

    โดยเลือดนี้เราอาจจะรู้จักกันในชื่อของ เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งเกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว จากนั้นจึงเคลื่อนตัวไปฝังในมดลูก กระบวนการฝังตัวในโพรงมดลูกนี้แหละ ที่ทำให้มีเลือดไหลออกมากะปิดกะปรอย อย่างไรก็ตาม ่อาการนี้ไม่ได้เกิดกับคนท้องทุกคน

  10. ปวดหน่วงท้องน้อย

    คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หลายคนมักมีอาการปวดหน่วงที่ท้องน้อย หรือมีอาการคล้ายกับเป็นตะคริวบริเวณท้องน้อย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่มดลูกเริ่มมีการขยายตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน จึงส่งผลให้รู้สึกปวดหน่วง ๆ หรือปวดคล้ายเป็นตะคริวที่บริเวณท้องน้อย

  11. ท้องผูก

    อาการท้องผูกสามารถพบได้บ่อยในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ นั่นเพราะว่าระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มระดับขึ้น ส่งผลให้กระบวนการย่อยอาหารทำได้ช้าลง จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก

  12. พะอืดพะอมจากอาหารการกิน

    คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะมีความไวต่อกลิ่นและรสสัมผัสมากกว่าปกติ อีกทั้งการรับรสอาหารก็เปลี่ยนไปด้วย อาหารที่เคยชอบตอนนี้ก็อาจจะไม่ชอบแล้ว หรืออาจจะไวต่อกลิ่นของอาหารบางอย่างจนทำให้รู้สึกพะอืดพะอม ซึ่งโดยมากแล้วมักเป็นผลพวงมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์

  13. ไวต่อกลิ่น

    คุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คนมีความรู้สึกไวต่อกลิ่นมากขึ้น ไม่เฉพาะแค่เพียงกลิ่นอาหารเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงกลิ่นต่าง ๆ รอบตัวด้วย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นตัวของสามี กลิ่นน้ำหอม หรือกลิ่นสิ่งของต่าง ๆ

  14. อาการคัดจมูก

    การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายระหว่างการตั้งครรภ์ สามารถทำให้เยื่อเมือกในโพรงจมูกมีอาการบวม แห้ง และมีเลือดออกได้ง่าย ทำให้คุณแม่เกิดอาการคัดจมูก และน้ำมูกไหลได้

  15. น้ำลายไหลมากผิดปกติ

    อาการน้ำลายไหลมากผิดปกตินี้ เป็นอาการโดยทั่วไปที่สามารถพบได้ทั้งคนที่ท้องและไม่ท้อง เนื่องจากเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายที่จะขับน้ำลายออกมาเพื่อปกป้องปาก ฟัน และลำคอ จากการกัดกร่อนของกรดในกระเพาะอาหาร แต่ว่าอาการนี้อาจจะพบได้มากหน่อยในคนท้อง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก คุณแม่บางคนอาจจะมีน้ำลายไหลออกมามากกว่าปกติจนสังเกตได้

  16. ปวดหลัง

    คุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คนเริ่มรู้สึกว่ามีอาการปวดหลังตั้งแต่เดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ ทั้งนี้เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย และส่งผลต่อเส้นเอ็น ไขข้อ และกระดูกเชิงกราน ทำให้คุณแม่อาจจะรู้สึกปวดหลังได้

  17. ปวดหัว

    อาการปวดหัวและอาการวิงเวียนศีรษะถือเป็นเรื่องปกติในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงปริมาณการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้นด้วย จึงทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ง่ายในช่วงแรกของการตั้งครรภ์

  18. มีรสโลหะในปาก

    ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่หลายคนสัมผัสได้ว่ามีรสโลหะในปาก ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจน ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้มีผลต่อรสชาติของอาหารที่กินเข้าไป อาจทำให้รู้สึกว่ามีรสโลหะอยู่ในปากเวลาที่กินอาหาร

  19. หายใจถี่

    เมื่อตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่จะต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับทารกในครรภ์ที่กำลังเติบโต บางครั้งอาจทำให้คุณแม่ผู้หญิงบางคนรู้สึกหายใจไม่ออก หรือหายใจถี่ ๆ แต่โดยมากแล้วอาการนี้มักจะพบได้บ่อยในระยะหลังของการตั้งครรภ์ หรือบางครั้งก็อาจเกิดจากการอ่อนเพลียง่าย ทำให้หายใจไม่สะดวก หรือมีอาการหายใจถี่มากขึ้นในเวลาที่รู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย

  20. เป็นสิว

    เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง จึงอาจส่งผลต่อกระบวนการผลิตไขมันในต่อมใต้ผิวหนัง และทำให้เป็นสิว หรือมีสิวเห่อในช่วงตั้งครรภ์ได้

อาการเตือนคนเริ่มท้องมักจะเริ่มเมื่อไหร่

คุณแม่หลายคนอาจจะสงสัยกันว่า “อาการคนท้องเริ่มเมื่อไหร่?” เมื่อไหร่กันนะที่จะเริ่มรู้สึกว่านี่เป็นอาการตั้งครรภ์ ซึ่งจริง ๆ แล้วอาการคนท้องของคุณแม่แต่ละคนนั้นแตกต่างกัน บางคนอาจจะมีอาการตั้งแต่สัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์ ขณะที่บางคนไปเริ่มรู้สึกเมื่อตั้งครรภ์ผ่านไปแล้ว 2 เดือน

ดังนั้น อาการเตือนคนท้องของคุณแม่แต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไป เริ่มช้าหรือเร็วไม่เหมือนกัน

อาการคนท้อง 3 วัน: เป็นไปได้ไหมที่คุณแม่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ภายใน 2-3 วันแรก

อาจเป็นไปได้ แต่...ก็ถือว่าน้อยมากที่คุณแม่จะรู้ตัวตั้งแต่วันแรก ๆ เลย เพราะอย่างน้อย ๆ ก็อาจจะต้องใช้เวลาตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป กว่าที่คุณแม่จะเริ่มสังเกตเห็นอาการผิดปกติบางอย่างที่อาจบอกว่ากำลังตั้งครรภ์

อาการของคนท้อง มารัวๆ ท้องชัวร์ไหมนะ

ระยะเวลาในการตรวจครรภ์นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคำนวณวันตกไข่ไว้ได้อย่างแม่นยำหรือไม่ เพราะถ้าหากคำนวณวันตกไข่เอาไว้แล้ว หลังจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ไปอีก 12-14 วัน ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เร็วที่สุดที่จะสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ เพราะเป็นระยะเวลาที่มีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิเสร็จสมบูรณ์พอดี ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

ดังนั้น การตรวจตั้งครรภ์จึงอาจให้ผลลัพธ์ที่เป็นบวกภายใน 10-12 วันหลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่คุมกำเนิด

แต่เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้น ควรตรวจอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่คุมกำเนิด เพื่อให้มีระดับฮอร์โมนเอชซีจีในปัสสาวะมากเพียงพอที่จะทำให้ตรวจพบการตั้งครรภ์ เพราะการตรวจครรภ์เร็วเกินไป อาจทำให้ผลลัพธ์การตั้งครรภ์คลาดเคลื่อนได้

ลักษณะท้องของคนท้องในช่วง 1 สัปดาห์ ไปจนถึง 1 เดือนแรก ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ต่างไปจากเดิมที่เป็นอยู่ เพราะถึงแม้ในช่วงเดือนแรกนั้นมดลูกจะเริ่มกระบวนการขยายตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน แต่ขนาดมดลูกในระยะนี้ก็ยังเล็กเกินกว่าที่จะทำให้ขนาดท้องยื่นออกมา

เมื่อร่างกายเริ่มแสดงอาการคนท้องแรก ๆ คุณแม่ควรวางแผนอะไรบ้าง

เมื่อมีอาการคนท้องแสดงออกมา สิ่งสำคัญที่ควรทำหลังจากนั้นคือ

ตรวจครรภ์

  • เป็นการตรวจครรภ์เบื้องต้นด้วยตัวเอง โดยใช้ที่ตรวจครรภ์ เพื่อยืนยันว่าอาการดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะการตั้งครรภ์จริง ๆ

ไปพบแพทย์

  • หากผลลัพธ์ออกมาว่าตั้งครรภ์ ขั้นตอนต่อไปคือการไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจยืนยันการตั้งครรภ์อีกครั้ง และทำการฝากครรภ์

  • เมื่อทำการฝากครรภ์ แพทย์จะให้คำแนะนำในการเริ่มดูแลตัวเอง มอบสมุดสำหรับการฝากครรภ์ รวมถึงทำการนัดหมายเพื่อทำการตรวจครรภ์ในครั้งต่อไปด้วย

อาการคนท้องระยะแรกจะดีขึ้นเมื่อไหร่ คุณแม่จะมีอาการไปจนถึงวันคลอดเลยหรือไม่

อาการเริ่มแรก ของคนท้องในคุณแม่แต่ละคนนั้นเริ่มและจบไม่เหมือนกัน คุณแม่บางคนมีอาการตั้งแต่เดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ แต่พอเข้าไตรมาสที่สองก็เริ่มดีขึ้น ขณะที่คุณแม่บางคนไม่มีอาการอะไรเลย กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตั้งครรภ์ไตรมาสสองแล้ว หรือคุณแม่บางคนไม่เคยมีอาการใด ๆ เลยตลอดการตั้งครรภ์

คุณแม่มีอาการท้องไม่รู้ตัวอยู่หรือเปล่า

อาการท้องไม่รู้ตัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการคนท้องตั้งแต่เดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ จึงสังเกตได้ว่าอาจจะกำลังตั้งครรภ์ ขณะที่คุณแม่บางคนไม่มีอาการใด ๆ ที่บ่งบอกว่าตั้งครรภ์เลย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ที่มีปัญหาประจำเดือนมาไม่ค่อยปกติอยู่แล้ว กรณีนี้ยิ่งทำให้การรับรู้้ หรือการสังเกตว่ากำลังตั้งครรภ์เป็นไปได้ยากขึ้นกว่าเดิม เพราะถึงแม้ประจำเดือนขาดจะเป็นหนึ่งในสัญญาณแรก ๆ ที่บอกว่าตั้งครรภ์ แต่สำหรับคนที่ประจำเดือนมาไม่ปกติแล้ว สิ่งนี้อาจจะเป็นเรื่องปกติ

ไขข้อข้องใจเรื่องอาการคนท้องกับ Enfa Smart Club

 อาการคนตั้งครรภ์เหมือนกันทุกคนไหม

อาการตั้งครรภ์ในคุณแม่แต่ละคนนั้นจะมีความคล้ายกัน จะต่างก็เพียงมีอาการมากหรือน้อย คุณแม่บางคนอาจมีอาการชัดเจนมากที่รู้ได้ทันทีว่ามีการตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนก็มีอาการน้อยจนดูไม่ออกว่าอาจจะกำลังตั้งครรภ์ หรือคุณแม่บางคนไม่มีอาการใด ๆ เลย กว่าจะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ก็ผ่านไปหลายเดือนแล้ว

 อาการของคนท้องแรกๆ เช่น ง่วงนอน เหนื่อยล้า จะหายเมื่อไหร่

โดยมากแล้วกลุ่มอาการแพ้ท้องมักจะเริ่มดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตาม อาการเริ่มแรกของคนท้องในคุณแม่แต่ละคนนั้นเริ่มและจบไม่เหมือนกัน คุณแม่บางคนมีอาการตั้งแต่เดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ แต่พอเข้าไตรมาสที่สองก็เริ่มดีขึ้น ขณะที่คุณแม่บางคนไม่มีอาการอะไรเลย กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตั้งครรภ์ไตรมาสสองแล้ว หรือคุณแม่บางคนไม่เคยมีอาการใด ๆ เลยตลอดการตั้งครรภ์

 อาการคนเริ่มท้องจะมาหลังปฏิสนธิกี่วัน

อาการคนท้องอาจเริ่มตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์หลังจากที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่คุมกำเนิด ซึ่งอาจจะเริ่มพบจากอาการขาดประจำเดือนก่อน แล้วจึงมีอาการอื่น ๆ ตามมา

อย่างไรก็ตาม อาการเริ่มแรกของคนท้องในคุณแม่แต่ละคนนั้นเริ่มและจบไม่เหมือนกัน คุณแม่บางคนมีอาการตั้งแต่เดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ แต่พอเข้าไตรมาสที่สองก็เริ่มดีขึ้น ขณะที่คุณแม่บางคนไม่มีอาการอะไรเลย กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตั้งครรภ์ไตรมาสสองแล้ว หรือคุณแม่บางคนไม่เคยมีอาการใด ๆ เลยตลอดการตั้งครรภ์

 วิธีสังเกตคนท้องระยะแรกที่แม่นยำที่สุดคืออะไร

สัญญาณที่ชัดเจนที่สุดที่สามารถสันนิษฐานได้ว่าอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ก็คืออาการขาดประจำเดือน

อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณแม่ที่ประจำเดือนมาไม่ปกติเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ก็อาจจะคิดว่าอาการเช่นนี้เป็นอาการปกติของตัวเอง ไม่ใช่การตั้งครรภ์แต่อย่างใด

 อาการเหมือนคนท้อง แต่มีประจําเดือน เกิดจากอะไร

การมีประจำเดือนกะปริดกะปรอย ก็สามารถเป็นสัญญาณแรกของการตั้งท้องได้เหมือนกัน โดยเกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว เคลื่อนตัวไปฝังในมดลูก ซึ่งเป็นเวลาคาบเกี่ยวระหว่างช่วงที่จะมีประจำเดือน ทำให้มีเลือดไหลออกมากะปิดกะปรอย แต่อาการนี้ไม่ได้เกิดกับผู้หญิงทุกคน แม้จะเกิดได้ แต่ก็ถือว่าน้อย

อย่างไรก็ตาม เลือดที่ออกมานั้น บางครั้งก็อาจจะไม่ใช่เลือดประจำเดือน แต่เป็นเลือดที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

  • การแท้งคุกคาม

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก

  • ท้องลม

  • การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก

  • การแท้ง

ดังนั้น หากมีอาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจยืนยันว่าเป็นประจำเดือน หรือเป็นสัญญาณสุขภาพอื่น ๆ

 อาการที่บอกว่าท้องลูกสาวคืออะไร

ไม่มีผลการวิจัยหรือผลการศึกษาที่มากพอจะรองรับได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าอาการแพ้ท้องหรืออาการตั้งครรภ์สามารถบอกเพศลูกได้

 อาการเหมือนคนท้องแต่ไม่ท้อง เป็นเพราะอะไร

หากมีอาการคล้ายคนท้อง แต่เมื่อตรวจดูแล้วไม่มีการท้องเกิดขึ้น อาจเกิดจากการตั้งท้องลม ซึ่งเป็นหนึ่งในความผิดปกติของการตั้งครรภ์ คือมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจริง แต่จู่ ๆ ตัวอ่อนที่ได้รับการปฏิสนธิและฝังตัวในมดลูกก็ฝ่อไป เหลือไว้แต่ถุงตั้งครรภ์เปล่า ๆ

 อาการคนท้องระยะแรกจะมีปัสสาวะสีอะไร

จริง ๆ แล้วปัสสาวะของคนท้องกับคนที่ไม่ท้องนั้นไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างกันมากถึงขนาดนั้น และการเปลี่ยนแปลงสีของปัสสาวะก็ไม่ได้เป็นตัวกำหนดการตั้งครรภ์ด้วย

การที่ปัสสาวะมีสีเข้ม หรือสีจาง อาจหมายถึงปัญหาสุขภาพมากกว่าจะหมายถึงการตั้งครรภ์ ปัสสาวะที่สีเข้มมากอาจหมายถึงการดื่มน้ำน้อย หรือร่างกายขาดน้ำ หรือถ้าปัสสาวะมีเลือดปนออกมาด้วย ก็อาจหมายถึงการอักเสบหรือติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ อาการเช่นนี้แนะนำให้ไปพบแพทย์

 ปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง

ระยะเวลาในการตรวจครรภ์นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคำนวณวันตกไข่ไว้ได้อย่างแม่นยำหรือไม่ เพราะถ้าหากคำนวณวันตกไข่เอาไว้แล้ว หลังจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ไปอีก 12-14 วัน ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เร็วที่สุดที่จะสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ เพราะเป็นระยะเวลาที่มีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิเสร็จสมบูรณ์พอดี ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

 ตรวจครรภ์หลังมีอะไรกับแฟน 1 อาทิตย์ มีโอกาสตรวจเจอไหม

การตรวจครรภ์ 1 สัปดาห์หลังจากที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่คุมกำเนิดนั้น ถือว่ายังเร็วเกินกว่าที่จะตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ ระยะเวลาเร็วที่สุดในการตรวจพบการตั้งครรภ์คือ 12-14 วัน ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เร็วที่สุดที่จะสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ เพราะเป็นระยะเวลาที่มีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิเสร็จสมบูรณ์พอดี ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

 ท้องกี่สัปดาห์ตรวจเจอ

ระยะเวลาเร็วที่สุดในการตรวจพบการตั้งครรภ์คือ 12-14 วัน ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เร็วที่สุดที่จะสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ เพราะเป็นระยะเวลาที่มีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิเสร็จสมบูรณ์พอดี ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Enfa Smart Club วันนี้ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์แรก รวมทั้งพัฒนาการของทารกในครรภ์ และโภชนาการที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมสิทธิพิเศษมากมาย เฉพาะสมาชิกเท่านั้น คลิกเลย!

บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มาแปลว่าท้องใช่ไหม
  • ที่ตรวจครรภ์ แม่นยำแค่ไหน และใช้อย่างไรให้ถูกวิธี
  • อาการแพ้ท้อง รับมืออย่างไรให้ไม่แพ้
  • อยากมีลูกต้องทำไง? อยากท้องไวๆ ต้องมาดูเคล็ดลับนี้เลย
  • ท้องลม ท้องหลอก คือท้องจริงๆ หรือว่าท้องเทียม
  • รู้เพศตอนกี่เดือน อัลตราซาวนด์เพศลูก เริ่มทำได้ตอนไหน
  • เลือดล้างหน้าเด็ก สัญญาณแรกสู่การตั้งครรภ์ที่คุณแม่ควรรู้
  • อาการเจ็บเต้านม ปวดเต้านมตอนท้องแบบนี้ ปกติหรือควรระวัง?
  • วิธีกำจัดเหา ล้างบางไข่เหา จบปัญหาลูกเป็นเหา เกาหัวยิกๆ
  • ภูมิแพ้ในเด็ก คุณแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยเป็นภูมิแพ้

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว สิ่งที่คุณแม่ควรใส่ใจก็คือการได้รับโภชนาการที่ดี มีคุณภาพ ซึ่งไม่เพียงสำคัญกับพัฒนาการลูกในครรภ์ แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพ และช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้คุณแม่เองด้วย

โภชนาการที่ดีหมายถึง การที่คุณแม่ได้รับสารอาหารอย่างสมดุล คือได้รับทั้งสารอาหารหลัก (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน) และสารอาหารรอง (เกลือแร่ และวิตามิน) ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ของคุณแม่ นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเสริมสารอาหารอย่างกรดโฟลิก และวิตามินบี 12 ที่มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพใจให้ดี เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่ และเจ้าตัวน้อย

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้