สนธิสัญญา เบา ว์ ริ ง สร้าง จุด เปลี่ยน สำคัญ ให้ กับ ประเทศไทย อย่างไร

 โหราศาสตร์ทำให้เห็นภาพใหญ่และเข้าใจถึงกงล้อประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นซ้ำอีกในอนาคต

วัตถุประสงค์สำคัญของการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์และรัฐไทยใหม่ คือการฟื้นฟูอารยธรรมและความรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา ไม่เพียงโครงสร้างการเมือง การปกครอง แต่รวมถึงสถาปัตยกรรมและราชประเพณี เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 1 พ.ศ.2328 ที่ยึดแบบอย่างพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรของอยุธยาเมื่อปี 2301

ต้นรัตนโกสินทร์ บ้านเมืองอยู่ในช่วงฟื้นฟูความมั่นคงของชาติและบูรณภาพของดินแดนยังคงมีการศึกสงครามหลายครั้ง ครั้งใหญ่สุดคือศึก 9 ทัพกับกองทัพพม่าของพระเจ้าปดุงแห่งราชวงศ์คองบองปี 2328 ล่วงจนสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367) พันธกิจฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ของอยุธยาจึงสำเร็จลุล่วง

ภัยคุกคามจากพม่าหมดไป หลังจากพม่าแพ้สงครามกับอังกฤษช่วงปี 2367-2369 จนต้องเสียดินแดนบางส่วนและชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม 1 ล้านปอนด์ เหตุการณ์นี้ทำให้โลกทัศน์ของบรรดาเจ้านายผู้ปกครองต้องเปลี่ยนไป เภทภัยที่ยิ่งใหญ่และน่ากลัวกว่าจากฝรั่งตะวันตกกำลังคืบคลานเข้ามา

ลัทธิจักรวรรดินิยมและการล่าอาณานิคมในเอเชียเริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โปรตุเกสคือชาติแรกที่ครองเส้นทางการค้าทางทะเล บริษัทดัทช์อีสต์อินเดีย คือผู้ท้าทายและเอาชนะโปรตุเกสไปได้ ต่อมาบริษัทบริติชอีสต์อินเดีย ก็ขึ้นครองความยิ่งใหญ่แทน โดยเฉพาะเมื่อเข้าครองอินเดีย ค.ศ.1757 และในปี 1818 อินเดียทั้งหมดก็ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและถูกปกครองโดยบริติชอีสต์อินเดีย

อังกฤษจ้องไปที่พม่าอยู่แล้ว เมื่อขัดแย้งกันเรื่องแคว้นอัสสัมของอินเดีย อังกฤษจึงทำสงครามทันที พม่าพ่ายแพ้และตกเป็นอาณานิคมในที่สุด และด้วยฐานที่มั่นในอินเดีย อังกฤษจึงขยายการค้าไปจีน จุดเปลี่ยนอยู่ที่ปี 1781 เมื่ออังกฤษนำฝิ่นที่ปลูกในอินเดียไปขายจีน เพียง 40 ปียอดขายเพิ่มขึ้น 5 เท่า ปี 1838 เพียงปีเดียว อังกฤษขายฝิ่นมากถึง 1,400 ตัน มันสร้างปัญหาอย่างมากแก่จีน

ความพยายามของจีนที่จะหยุดยั้งการค้าฝิ่น นำไปสู่สงครามฝิ่นครั้งแรกกับอังกฤษเมื่อ 18 มีนาคม 1839 จีนพ่ายแพ้และยอมเซ็นสนธิสัญญานานกิงในวันที่ 29 สิงหาคม 1842 จีนและอินเดียคือมหาอำนาจเอเชีย เมื่อทั้งคู่แพ้แก่อังกฤษ พม่าศัตรูเก่าก็ถูกยึดครอง มหันตภัยมาถึงประตูบ้านแล้ว สยามจะทำเช่นไร?

อันที่จริง อังกฤษรุกสยามตั้งแต่ต้นกรุงแล้ว พ.ศ.2329 อังกฤษยุแหย่และยึดเกาะหมาก (ปีนัง) จากไทรบุรี เพื่อเป็นฐานที่มั่นของอีสต์อินเดียในการยึดครองคาบสมุทรมลายู ปี 2365 จอห์น ครอเฟิร์ด ข้าหลวงในอินเดียเข้ามาเจรจาการค้าและเรื่อง 4 หัวเมืองมลายู แต่ตกลงกันได้แค่เรื่องการค้า

3 ปีต่อมา อังกฤษส่งร้อยเอก เฮนรี เบอร์นีย์ แห่งอิสต์อินเดีย มาเป็นฑูตเจรจาและทำสนธิสัญญาเบอร์นีย์ในรัชกาลที่ 3 โดยลงนามวันที่ 20 มิถุนายน 2369 ถือเป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สยามทำกับชาติตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์

การเปิดประเทศเป็นเรื่องใหญ่ที่มีผลกระทบมากมาย สยามจึงประวิงเวลา แต่อังกฤษก็รุกเร้าตลอด ถ้าไม่ยอมตาม ก็จะถูกนโยบาย เรือปืนบังคับเอาจนได้ (เหมือนจีน) ช่วงเวลานั้น พม่าก็ยอมแพ้ต่ออังกฤษในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2369 สถานการณ์บีบคั้น สยามจำต้องลงนามสนธิสัญญาเบอร์นีย์

แต่อังกฤษยังไม่พอใจ ปี 2393 เซอร์เจมส์ บรุ๊ค เข้ามาเจรจาขอแก้ไขสัญญาสยามปฏิเสธ ทำให้เกิดความหวาดกลัวว่า จะเกิดสงครามสยามกับอังกฤษ เพียง 6 เดือนจากนั้น รัชกาลที่ 3 ก็เสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 4 เมื่อ 2 เมษายน 2394

สถานการณ์เวลานี้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของบ้านเมือง จะยอมรับการค้าเสรีและอิทธิพลชาติตะวันตกหรือไม่? รัชกาลที่ 4 ทรงใช้เวลาระหว่างผนวช 26 พรรษา ศึกษาสภาพความเป็นไปในบ้านเมือง ภาษาอังกฤษ วิทยาการตะวันตก และสถานการณ์โลก พระองค์จึงเหมาะสมที่สุดในการตัดสินปัญหาใหญ่ที่ชี้ชะตาบ้านเมือง

ชาติตะวันตกมีพลังอำนาจเหนือกว่าสยามมากนัก ทั้งมีเจตจำนงค์แน่วแน่ให้เปิดการค้าเสรี สยามจึงไม่มีทางเลือกอื่น เพราะอ่อนแอกว่า คงต้องเป็นฝ่ายเสียเปรียบ แต่เสียเปรียบก็ยังดีกว่าเสียเมือง มีสัญญาผูกมัดยังดีกว่าไม่มีข้อต่อรองใดเลย การเปิดประเทศก็ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวและมีโอกาสเปิดรับวิทยาการใหม่ รัชกาลที่ 4 ทรงตัดสินพระทัยนำสยามสู่การเปลี่ยนแปลง พระองค์ประกาศพร้อมทำสนธิสัญญาใหม่กับอังกฤษ

อังกฤษจึงส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริ่ง ผู้ว่าการเกาะฮ่องกง เข้ามาเจรจาและทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกับสยามโดยลงนามวันที่ 18 เมษายน 2398 ประทับตราและบังคับใช้ 6 เมษายน 2399 นี่คือสนธิสัญญาสำคัญและส่งผลกระทบมากที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทั้งเปลี่ยนประเทศไปสู่ยุคใหม่โดยสิ้นเชิง

สนธิสัญญาเบาว์ริ่งก่อให้เกิดผลกระทบสำคัญ 4 ประการคือ (1) เปิดประตูให้ชาติอื่นๆ ทำสนธิสัญญาลักษณะเดียวกันกับไทย เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส โปรตุเกส เท่ากับไทยถูกเอาเปรียบมากขึ้น (2) ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต (3) ระบบเจ้าภาษีนายอากรถูกเปลี่ยนเป็นการค้าเสรี โครงสร้างการคลังเปลี่ยนไป (4) การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจ จากพึ่งพาตัวเองไปเป็นผลิตสินค้าพื้นฐานบางอย่างเพื่อส่งออก เช่น ข้าว ดีบุก ยางพารา สยามกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Global Supply Chain ของอังกฤษ

ในมุมโหราศาสตร์ สนธิสัญญาเบาว์ริ่งบอกอะไร? ตำแหน่งดาวในวันลงนามน่าสนใจมาก (1) มี Stellium ของอาทิตย์ จันทร์ อังคาร มฤตยู พลูโตในราศีเมษ เมษคือราศีลัคนา บ่งชี้ถึงความสำคัญและผลกระทบอย่างสูงต่อบ้านเมือง (2) เป็นวันพุธขึ้น 2 ค่ำ เดือน 6 เพิ่งพ้นอมาวสีแค่ 2 วัน อมาวสีอยู่ที่ 3 องศาเมษ เป็นสงกรานต์พร้อมอมาวสีชี้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายตามมา

(3) อาทิตย์อุจจ์ อังคารเกษตร์ คงมีการหาฤกษ์วันลงนาม ถ้าเซ็นก่อนเที่ยง จันทร์เข้าภรณีฤกษ์ (มหัทธโน) ทับลัคน์พอดี ทั้งได้ดิถีอำมฤตโชค แต่จันทร์เพิ่งพ้นจันทร์ดับ อังคารก็กุมอาทิตย์สนิท เป็นอังคารดับซ้ำ บั่นทอนความเข้มแข็ง แต่ (ผู้วางฤกษ์) วางพฤหัสกุมภ์โยคหลัง 60 อังคารอาทิตย์สนิท ช่วยฟื้นฟูกำลัง (4) อังคาร-ดาวเจ้าเรือนลัคน์ เสียหายจริงๆ จากเสาร์ที่ทับสนิทและมุม 90 จากเนปจูน บ้านเมืองต้องเผชิญความยากลำบากและสับสนวุ่นวาย

(5) พุธทับพุธเดิมสนิท พุธคือสัญญาชี้ถึงการทำสัญญาสำคัญ พุธนิจจ์แต่เพ็ญและตกภพวินาศ มันให้ผลดีแต่ก็ซ่อนผลร้ายเอาไว้ด้วย (6) ศุกร์เกษตร์โยคหน้า 60 กับศุกร์เดิม เศรษฐกิจดีขึ้น (7) มฤตยูกุมจันทร์ (ดาวเจ้าเรือนภพ 4) และทับลัคน์สนิท มฤตยูคือการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองจะเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง

สนธิสัญญาเบาว์ริงคือจุดเปลี่ยนของสยามเก่ากับใหม่ อารยธรรมอยุธยากับตะวันตก มฤตยูเข้าเมษตั้งแต่ 4 เมษายน 2392 เจมส์ บรุ๊ค ขอแก้ไขสัญญา แต่กว่าสยามจะตกลงกัน (ภายใน) ได้ ก็เป็นรัชกาลใหม่ โชคดีที่รัชกาลที่ 4 ทรงเปิดรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ปิดกั้นเหมือนจีน

มฤตยูทับลัคน์ดวงเมือง จึงเปลี่ยน วิกฤติเป็น โอกาสอย่างแท้จริง

การทำสนธิสัญญาบาวริ่งมีความสำคัญอย่างไร

สรุปสาระสําคัญของสนธิสัญญาเบาว์ริง ได้ดังนี ให้คนในบังคับอังกฤษอยู่ภายใต้การควบคุมของกงสุลอังกฤษ ทําให้คนในบังคับอังกฤษไม่ต้อง ขึนศาลไทย 2. ยกเลิกพระคลังสินค้า ให้คนในบังคับของอังกฤษได้รับสิทธิในการค้าเสรีในทุกเมืองท่า สามารถ ซือขายสินค้าได้โดยตรงกับธุรกิจเอกชนของไทย

สนธิสัญญาเบาว์ริงส่งผลต่อระบบใดของไทย

ความเปลี่ยนแปลงระบบเงินตราที่มีต่อเศรษฐกิจไทยหลังสนธิสัญญา เบาว์ริง ในพ.ศ. 2398 ส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยเริ่มมีการพัฒนาระบบ เงินตราที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลมากขึ้น การค้าขายขยายตัวออกไป อย่างกว้างขวาง โดยใช้เงินตราเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน การขยายตัว ทางการค้าทำให้เงินตราที่ใช้หมุนเวียนภายในประเทศไม่เพียงพอกับ การค้าขาย ...

ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงคืออะไร

สนธิสัญญาดังกล่าวอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำการค้าเสรีในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากในอดีตการค้าของชาวตะวันตกได้รับการจัดเก็บภาษีอย่างหนัก สนธิสัญญาดังกล่าวยังอนุญาตให้จัดตั้งกงสุลอังกฤษในกรุงเทพมหานครและรับประกันสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตลอดจนอนุญาตให้ชาวอังกฤษสามารถถือครองที่ดินในสยามได้

สนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยใด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

สนธิสัญญาเบาว์ริง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 พ.ศ. 2398 อังกฤษได้ส่งเซอร์จอห์น เบาว์ริง เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อทำสนธิสัญญาทางการค้า สนธิสัญญาฉบับนี้มีชื่อเรียกตามนามของทูตที่เข้ามาเจรจาว่า "สนธิสัญญาเบาว์ริง"

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้