การบริหารงานภาครัฐกับภาคเอกชนเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

แนวความคิดเรื่อง ความแตกต่างของการจัดการภาครัฐและเอกชน

การบริหารรัฐกิจกับการบริหารธุรกิจมีทั้งความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันหลายประการ ในส่วนที่มีคล้ายคลึงกันนั้นจะเห็นได้ว่า ทั้งสองฝ่ายมีจุดร่วมที่ต่างฝ่ายก็มุ่งเน้นในเรื่องการบริหารงาน ซึ่งเกี่ยวข้องในเรื่องของการร่วมมือดำเนินการหรือปฏิบัติการของกลุ่มบุคคลที่มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นอย่างไรก็ตาม การบริหารรัฐกิจก็มีเอกลักษณ์ของตนเองแตกต่างจากการบริหารธุรกิจในเรื่องสำคัญหลายประการ ดังที่ Wallace Sayre ได้เคยกล่าวว่า การจัดการภาครัฐและเอกชนมีความเหมือนกันโดยพื้นฐานทั่วไปในส่วนที่ไม่สำคัญ Rainey, Backoff, and Levine (1976, pp. 56-57) ได้ทบทวนบทความต่าง ๆ ที่เปรียบเทียบองค์การของรัฐและเอกชน และได้สรุปประเด็นสำคัญของความแตกต่างระหว่างภาครัฐและเอกชนไว้ดังนี้
1. ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ภาครัฐให้ความสำคัญกับตลาดในระดับที่ต่ำกว่าเอกชน ทำให้มีแรงจูงใจเรื่องลดต้นทุนการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลน้อยกว่าภาคเอกชน มีการกระจายความมีประสิทธิภาพไปให้ปัจจัยต่าง ๆ น้อยกว่าภาคเอกชนรวมถึงการเข้าถึงตัวชี้วัดของเรื่องตลาดและข้อมูลของภาครัฐมีน้อยกว่าภาคเอกชนนอกจากนี้ภาครัฐมีข้อจำกัดในด้านกฎหมายและความเป็นทางการมากกว่าภาคเอกชนทำให้มีข้อจำกัดในการปฏิบัติงานมากกว่าภาคเอกชน เช่น มีความอิสระในการตัดสินใจน้อยกว่า อีกทั้งภาครัฐยังมีแนวโน้มถูกควบคุม และคำนึงในรายละเอียดมากกว่าภาคเอกชน รวมถึงต้องพบกับแหล่งอิทธิพลจากภายนอกมากกว่า นอกจากนี้ ภาครัฐยังได้รับอิทธิพลจากการเมืองมากกว่าภาคเอกชน จะเห็นได้ว่าภาครัฐมักจะได้รับอิทธิพลในการตัดสินใจจากกลุ่มหลากหลายภายนอกมากกว่า เช่น การเจรจาต่อรอง ความเห็นของสาธารณชน และการตอบสนองของกลุ่มผลประโยชน์ การต้องให้การสนับสนุนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่า เช่น กลุ่มลูกค้า และกลุ่มผู้มีอำนาจ
2. การดำเนินงานขององค์การ องค์การของรัฐมีอำนาจในการดำเนินงานมากกว่าภาคเอกชน องค์การของรัฐมีขอบเขตในการดำเนินงานกว้างกว่าภาคเอกชน เช่น ต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ องค์การของรัฐต้องถูกตรวจสอบการกระทำจากสาธารณชนมากกว่าภาคเอกชน องค์การของรัฐถูกคาดหวังว่า เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรมหน้าที่ความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์สุจริตมากกว่าภาคเอกชน โครงสร้างภายในและกระบวนการทำงานองค์การของรัฐ มีวัตถุประสงค์ เกณฑ์การประเมินผล และตัดสินใจยุ่งยากกว่าภาคเอกชน ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดความขัดแย้งมากกว่าภาคเอกชน ภาครัฐมีความอิสระในการตัดสินใจ และมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าภาคเอกชน ภาครัฐมีอำนาจในการควบคุม กำกับ ผู้ใต้บังคับบัญชาที่อ่อนแอกว่าภาคเอกชน เนื่องจากมีศูนย์อำนาจหรือผู้บังคับบัญชาหลายคน ภาครัฐมีระเบียบที่เป็นทางการ มีความไม่เต็มใจที่จะมอบอำนาจและมีระดับในการบังคับบัญชามากกว่าภาคเอกชน ผู้บริหารสูงสุดของภาครัฐจะมีบทบาทในการอิงการเมืองมากกว่าผู้บริหารสูงสุดในภาคเอกชน ภาครัฐมีความระมัดระวัง มีความไม่ยืดหยุ่น มากกว่าภาคเอกชน แต่มีนวัตกรรมน้อยกว่าภาคเอกชนภาครัฐมีการสับเปลี่ยนผู้บริหารสูงสุดบ่อย เนื่องมาจากมีการเปลี่ยนตัวนักการเมืองที่กำกับดูแลองค์การของรัฐนั้น ทำให้เกิดปัญหาในการนำนโยบายไปปฏิบัติที่ไม่ต่อเนื่องทั้งนี้ภาครัฐจะมีความยุ่งยากในการวางแผนในเรื่องสิ่งจูงใจ เพราะไม่สามารถวัดความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างชัดเจน เจ้าหน้าที่ขององค์การของรัฐ จะมีความพึงพอใจในการทำงาน และมีความผูกพันกับภาระขององค์การน้อยกว่าภาคเอกชน

Dunlop (1979) ได้เปรียบเทียบการจัดการภาครัฐและธุรกิจเอกชนไว้ 10 ประการคือ

1. แนวคิดเรื่องเวลา ผู้บริหารภาครัฐมักจะวางแผนในระยะสั้น เนื่องจากเวลาถูกจำกัดโดยนักการเมืองที่มีระยะเวลาสั้นในการดำรงตำแหน่ง ในขณะที่ผู้บริหารภาคเอกชนจะมีแนวความคิดในการวางแผนระยะยาวกว่าในเรื่องการพัฒนาตลาดนวัตกรรมใหม่ทางด้านเทคโนโลยี การลงทุน และการสร้างองค์การ
2. ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารภาครัฐที่ได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายการเมืองมักจะสั้น ซึ่งสอดคล้องกับการดำรงตำแหน่งของนักการเมือง ในขณะที่ผู้บริหารภาคเอกชนจะมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่นานกว่า ภาคเอกชนจะมีการฝึกอบรมผู้ที่จะสืบทอดตำแหน่ง แต่ภาครัฐจะไม่มีการดำเนินการดังกล่าว เพราะถือว่าเป็นเรื่องอันตราย
3. การวัดผลการปฏิบัติงาน ภาครัฐจะไม่ค่อยมีมาตรฐานในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหาร แต่ภาคเอกชนจะมีการประเมินในด้านต่าง ๆ เช่น ผลตอบแทนทางการเงิน ส่วนแบ่งตลาด โดยที่ภาคเอกชนจะใช้ผลการประเมินในการพิจารณาค่าตอบแทนของผู้บริหาร
4. ข้อจำกัดในเรื่องบุคลากร ภาครัฐจะมีความอิสระในเรื่องกำหนดนโยบายและบริหารบุคลากรน้อยกว่าภาคเอกชน เนื่องจากภาครัฐจะได้การกำกับของตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง แต่ภาคเอกชนสามารถกำกับดูแลได้ตามสายบังคับบัญชา
5. ความเป็นธรรมและประสิทธิภาพ ภาครัฐจะเน้นความเป็นธรรมกับประชาชนทุกเขตเลือกตั้ง แต่ภาคเอกชนจะเน้นประสิทธิภาพและการแข่งขัน
6. กระบวนการทำงานของภาครัฐและเอกชน ภาครัฐจะคำนึงถึงผลกระทบต่อสาธารณะและความโปร่งใส แต่ภาคเอกชนจะถือว่าเป็นเรื่องภายในและไม่เปิดเผยกับสาธารณะ
7. บทบาทของหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชน ภาครัฐจะต้องแถลงข่าวกับสื่อมวลชนเป็นประจำ หรือการตัดสินใจในเรื่องใดสื่อจะมีส่วนได้รู้เห็น แต่การตัดสินใจของภาคเอกชนมักจะไม่ต้องคอยแจ้งสื่อ ดังนั้น สื่อจึงมีผลกระทบกับสาระและเวลาในการตัดสินใจน้อยกว่าภาครัฐ
8. ทิศทางผู้บริหารของภาครัฐจะตัดสินใจโดยใช้วิธีประนีประนอม เพื่อตอบสนองกับกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การเพื่อความอยู่รอดในทางตรงข้ามผู้บริหารภาคเอกชนจะตอบสนองเจ้านายเพียงคนเดียว
9. ผลกระทบจากกฎหมายและระเบียบ ภาครัฐจะถูกกำกับโดยกฎหมายและระเบียบหลายฉบับ ทำให้ผู้บริหารภาครัฐไม่มีอิสระในการบริหารจัดการเท่าที่ควร ซึ่งต่างจากภาคเอกชนที่มีความอิสระในการบริหารมากกว่า เพราะมีกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตามน้อยกว่า
10. เป้าหมายผู้บริหารภาครัฐจะไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการบริหารจัดการ แต่ผู้บริหารภาคเอกชนมีเป้าหมายในการทำกำไร ความสามารถในเรื่องส่วนแบ่งตลาดและการอยู่รอด

บรรณานุกรม

ฑิตติมา วิชัยรัตน์. (2551). บทบาทของคณะกรรมการในการเสริมสร้างบรรษัทภิบาล ในองค์การของรัฐในประเทศไทย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Dunlop, J. T. (1979). Public management. (Working paper). Tallahassee, FL: Department of Political Science Florida State University.

Rainey, H. G., Backoff, R. W., & Levine, c. N. (1976). Comparing public and private organizations. Public Administration Review, March-April.

21 พฤศจิกายน 2554
Neustadt (1979) ได้สรุปความแตกต่างหลักระหว่างประธานาธิบดีกับผู้บริหารสูงสุดของบริษัทใหญ่ในสหรัฐอเมริกาไว้ดังนี้ ผู้บริหารสูงสุดของบริษัทมองการณ์ไกลโดยวางแผน 10 ปีข้างหน้าของบริษัท แต่ประธานาธิบดีโดยเฉพาะในสมัยแรกจะวางแผนแค่ 4 ปี โดยในปีที่ 3 จะให้ความสำคัญกับแผนหาเสียงเพื่อที่จะได้เลือกตั้งเข้ามาใหม่ ทั้งนี้ จะเห็นความแตกต่างได้จาก
1. อำนาจ เนื่องจากในบริษัทเอกชนมีคณะกรรมการที่มีอำนาจในการแต่งตั้งและปลดผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหารสูงสุดจึงกำหนดเป้าหมายขององค์การ เปลี่ยนโครงสร้างระเบียบปฏิบัติ และพนักงาน กำกับผลการปฏิบัติงาน ทบทวนการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน ประสานกับบุคคลภายนอก เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการที่มีหน้าที่กำกับดูแล ส่วนประธานาธิบดีจะใช้อำนาจร่วมกับสมาชิกในสภาคองเกรสโดยไม่ต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของสภาคองเกรสหรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เลือกเขาเข้ามา
2. ระบบอาชีพ (career-system) บริษัทมีรูปแบบของระบบอาชีพที่ชัดเจน คือผู้บริหารสูงสุดของภาคเอกชนมักจะถูกสรรหาจากภายในบริษัทหรือนอกบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน เขายังมีความคุ้นเคยกับบทบาทและสภาวะแวดล้อมขององค์การตรงข้ามกับประธานาธิบดีซึ่งแทบจะไม่คุ้นเคยกับบทบาท หรืออาจจะคาดไม่ถึงว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับบทบาทนั้น
3. ความสัมพันธ์กับสื่อ ผู้บริหารภาคเอกชนจะเป็นตัวแทนของบริษัทในการให้ข่าวสารกับสื่อภายนอก ซึ่งอาจจะไม่ต้องพบกับสื่อโดยตรง โดยสามารถที่จะจำกัดการเข้าถึงข้อมูลภายในของบริษัทได้ ตรงกันข้ามประธานาธิบดีกับสื่อจะอาศัยซึ่งกันและกันเช่นเดียวกับประธานาธิบดีกับสมาชิกของสภาคองเกรส ดังนั้น ประธานาธิบดีจึงมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสื่อ โดยต้องตอบคำถามแทบจะทุกคำถามกับสื่ออยู่เป็นประจำ
4. การวัดผลการปฏิบัติงาน ผู้บริหารภาคเอกชนต้องถูกประเมินโดยคณะกรรมการ โดยมีเกณฑ์การประเมินที่แน่นอน เช่น พิจารณาจากความสามารถในการทำกำไร ในขณะเดียวกันผู้บริหารก็สามารถประเมินผู้ใต้บังคับบัญชาตามเกณฑ์ของบริษัท ซึ่งต่างจากประธานาธิบดีจะถูกประเมินจากหลายกลุ่ม เช่น ประชาชนจะประเมินว่า อะไรที่กระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา สมาชิกสภาคองเกรส เจ้าหน้าที่ และกลุ่มผลประโยชน์ จะประเมินโดยการคาดเดาว่า ประธานาธิบดีสามารถทำอะไรให้กับพวกเขาได้ ส่วนสื่อมวลชนจะเปิดเผยทุกเรื่อง และจะวิจารณ์หรือประเมินทุกเรื่องที่ประธานาธิบดีทำ และ
5. การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ผู้บริหารภาคเอกชนจะถูกคาดหวังเพียงแต่การกำหนดกลยุทธ์เพื่อปฏิบัติตามนโยบายของคณะกรรมการ โดยการกำกับดูแลให้มีผลตามที่กำหนดในกลยุทธ์นั้น ๆ หรือหน้าที่ในการจัดการทั่วไปของบริษัทจะอยู่ที่คนคนเดียว คือ ผู้บริหารสูงสุด ที่แตกต่างกับประธานาธิบดีซึ่งมีหน้าที่กว้างขวางในการบริหารจัดการประเทศ โดยต้องได้รับความร่วมมือจากองค์การต่าง ๆ ที่แข่งขันกับสมาชิกของสภาคองเกรสและศาล
Pursley and Snortland (1980, p. 16) ได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะพิเศษของการบริหารงานสาธารณะ ในหัวข้อต่อไปนี้ คือ (1) วัตถุประสงค์และความต้องการความชำนาญ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างความอยู่รอดกับผลการปฏิบัติงาน (3) การขาดการวัดผลการปฏิบัติงาน (4) ข้อจำกัดต่าง ๆ ของการบรรลุวัตถุประสงค์ (5) มาตรฐานการปฏิบัติงานและผลประโยชน์ที่ขัดกัน (6) การขาดความรับผิดชอบ (7) ผลกระทบจากการขาดความเป็นมืออาชีพ และ ( 8 ) เรื่องปลีกย่อยอื่น ๆ
Knott (1993, p. 93) ได้เปรียบเทียบการจัดการภาครัฐและเอกชน โดยสรุปว่า การจัดการภาครัฐและเอกชน มีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการจัดการ 3 ประการ คือ ประการแรก การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจหรืออำนาจทางการเมือง (economic exchange versus political authority) ภาคเอกชนจะดำเนินกิจการโดยอาศัยการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจของสินค้าและบริการ แต่ภาครัฐจะดำเนินงานโดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย ระเบียบ และภาษี ประการที่สอง การแข่งขันหรือการผูกขาด(competition versus monopoly) อำนาจทางนิติบัญญัติมักจะจัดตั้งองค์การเพียงองค์การเดียว เพื่อให้บริการหรือขายสินค้า ดังนั้น องค์การของรัฐจึงมีอำนาจในการผูกขาด แต่บริษัทเอกชนจะต้องแข่งขันกับบริษัทอื่นในตลาด ดังนั้น การจัดการภาคเอกชนจึงเกี่ยวข้องกับราคาสินค้าและบริการ และส่วนประกอบของสินค้าและบริการ เพื่อทำให้สินค้าและบริการสามารถขายได้ในตลาด ภาคเอกชนจึงต้องเน้นเรื่องบัญชีเพื่อกำกับต้นทุนต่อหน่วยให้สามารถมีกำไรได้มากที่สุด ทำให้ภาคเอกชนให้ความสำคัญกับเรื่องการเงินและบัญชี ในทางตรงข้ามฝ่ายขายหรือตลาดจะมีอิทธิพลน้อยสำหรับองค์การของรัฐ เนื่องจากไม่ต้องแข่งขันกับบริษัทใด และประการสุดท้าย การปกครองด้วยคนคนเดียวหรือการปกครองตามลำดับชั้น (singular versus embedded hierarchies) การเปรียบเทียบความแตกต่างของภาครัฐและเอกชนในหัวข้อนี้ คือ การที่ดูว่ามีจำนวนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกมากเท่าไรที่สามารถควบคุมเป้าหมายและการดำเนินงานขององค์การ บริษัทภาคเอกชนดำเนินงานโดยขึ้นอยู่กับชั้นการบังคับบัญชาเพียงชั้นเดียว คือ ผู้บริหารสูงสุด แต่องค์การของรัฐถูกฝังอยู่กับลำดับชั้นการบังคับบัญชาที่มากกว่า ทั้งที่เป็นองค์การของรัฐอื่นหรือไม่ใช่องค์การของรัฐ จึงเป็นผลทำให้ผู้บริหารขององค์การของรัฐมีอำนาจน้อยกว่าภาคเอกชนในการควบคุมโครงสร้างทรัพยากร และบุคลากร หรืออาจกล่าวได้ว่า ผู้บริหารภาครัฐอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เข้มแข็งในการนำการดำเนินกิจกรรมขององค์การ (Bower,1977, p. 131; Kenney, 1987, p. 613; Ring & Perry, 1985, p. 276) ผู้บริหารภาครัฐต้องยอมรับบุคลากรและการจัดตั้งองค์การจากหน่วยงานอื่น โดยเฉพาะหน่วยงานด้านนิติบัญญัติ
เมื่อพูดถึงความแตกต่างของการจัดการภาครัฐและเอกชน ที่ภาครัฐต้องขึ้นอยู่กับลำดับชั้นการบังคับบัญชาหลายชั้นนั้น Moe (1988, pp. 1-4) เรียกว่า ลำดับชั้นการบังคับบัญชาสองชั้น (double hierarchy) สมาชิกที่อยู่ในลำดับชั้นการบังคับบัญชาสองชั้นนี้จะเป็นผู้ตัดสินเรื่องโครงสร้างและการมอบอำนาจ รวมทั้งกำหนดทิศทางและกำกับดูแลการดำเนินงานขององค์การของรัฐ และเมื่อมีโอกาสจะพยายามเข้าไปมีบทบาทในการกำหนดเป้าหมายหรือนโยบาย และการนำเป้าหมายหรือนโยบายไปปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามผลประโยชน์ของตน Moe สรุปว่า กลุ่มผลประโยชน์นี้เป็นปัจจัยภายนอกหลักที่ควบคุมการจัดการของผู้บริหารภาครัฐ Gordon and Milakovich (1995, p. 65) ได้อธิบายถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างการบริหารงานภาคสาธารณะกับภาคเอกชนความคล้ายคลึงกัน ได้แก่ การบริหารงานที่มีการออกแบบและกำกับให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร และก่อให้เกิดผลกระทบที่มีประสิทธิผลสำหรับความแตกต่างมีหลายประการ เช่น สภาพแวดล้อมการบริหารที่แตกต่างกัน การวัดผลการปฏิบัติงาน การคำนึงถึงแรงกดดันทางการเมืองและระเบียบราชการ ความรับผิดชอบในผลของการบริหารงาน การตรวจสอบและสอดส่องดูแลจากสาธารณชนในความเห็นของ Gordon and Milakovich ทั้งภาครัฐและเอกชนเริ่มมีความสัมพันธ์เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากการที่ภาครัฐเริ่มที่จะมีการมอบหมายหรือจ้างภาคเอกชนให้ทำหน้าที่ในบางเรื่องแทน เช่น การรักษาความปลอดภัย การรักษาความสะอาด เป็นต้น

บรรณานุกรม

ฑิตติมา วิชัยรัตน์. (2551). บทบาทของคณะกรรมการในการเสริมสร้างบรรษัทภิบาล ในองค์การของรัฐในประเทศไทย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Bower, J. (1977). Effective public management. Harvard Business Review, 55, 131-140.

Gordon, George, J., & Milakovich, Michael, E. (1995). Public administration in America (5th ed.). New York: St. Martin's Press.

Kenney, Graham, Butler, Richard, J., Hickson, David, J., Gray, David, Mallory, Geoffrey, Wilson, & David, E. (1987). Strategic decision making: Influence patterns in public and private sector organizations. Human Relations, 40, 613-32.

Knott, J. H. (1993). Comparing public and private management: Cooperative effort and principal-agent relationships. Journal of Public Administration Research and Theory, 1, 93-119.

Moe, Terry. (1988). The politics of structural choice: Toward a theory of public bureaucracy. In Oliver E. Williamson (Ed.), Organization theory: From Chester Barnard to the present and beyond, London: Oxford University Press.

Neustadt, R. E. (1979). American presidents and corporate executives. A paper prepared for a meeting of the national academy of public administration's panel on presidential management.

Pursley, R. D., & Snortland, N. (1980). Managing government organizations. Belmont, CA: Duxbury Press.

Ring, P. S., & Perry, J. L. (1985). Strategic management in public and private organizations: Implications of distinctive contexts and constraints. Academy of Management Review, 10, 276-86.

21 พฤศจิกายน 2554
ในเรื่องการจัดการภาครัฐและเอกชน โดยทั่วไปแล้วในระบบเศรษฐกิจจะถูกแบ่งเป็น 2 ภาค คือ ภาครัฐและภาคเอกชน ภาครัฐ หมายถึง ภาคที่ให้บริการหรือสินค้าซึ่งขอบเขตและความหลากหลายของการบริการและสินค้าไม่ได้ถูกเลือกโดยผู้รับบริการหรือผู้ซื้อโดยตรง แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล ซึ่งในระบบประชาธิปไตย คือผู้แทนของประชาชน (Hicks, 1958, p. 1) ความหมายนี้ไม่ได้ทำให้เห็นขอบเขตทั้งหมดของกิจกรรมของภาครัฐ แต่ได้ให้ประเด็นที่สำคัญว่า ภาครัฐเป็นผลลัพธ์ของสาธารณชนหรือการตัดสินใจของนักการเมืองมากกว่าการใช้กระบวนการด้านตลาด ส่วนรัฐบาลเป็นฐานของการออกคำสั่ง คือ สามารถบังคับประชาชนให้ปฏิบัติตาม ในขณะที่ตลาดเป็นการใช้ความสมัครใจ Stiglitz (1989, p. 21) ได้ให้ความแตกต่างของการเป็นรัฐบาลหรือรัฐ ดังนี้
รัฐ เป็นองค์การเดียวที่มีสมาชิกได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และรัฐมีอำนาจที่จะบังคับซึ่งองค์การอื่นในระบบเศรษฐกิจไม่มี ปัจเจกบุคคลเลือกที่จะเป็นสมาชิกของสโมสร เลือกที่จะซื้อหุ้นในบริษัท หรือเลือกที่จะทำงานให้กับองค์การใดองค์การหนึ่ง... แต่ปัจเจกบุคคลจะไม่มองประเทศที่ตนเองอาศัยอยู่เป็นทางเลือกและการที่จะเลือกอาศัยอยู่ในประเทศใดประเทศหนึ่ง คนนั้นถือว่าเป็นสมาชิกของรัฐ ความจริงที่ปัจเจกบุคคลถูกบังคับให้เป็นสมาชิกของรัฐโดยปริยายนั้น ทำให้รัฐมีอำนาจในการบังคับ ในขณะที่องค์การอื่นไม่มี หรือสามารถกล่าวโดยทั่วไปว่า กิจกรรมใด ๆ ของปัจเจกบุคคลสามารถกระทำได้โดยสมัครใจยกเว้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับรัฐ การที่ปัจเจกบุคคลสามารถเป็นสมาชิกของรัฐโดยไม่มีที่สิ้นสุด และการที่รัฐมีอำนาจบังคับทำให้รัฐบาลมีความแตกต่างโดยพื้นฐานจากภาคเอกชน แต่ภาคเอกชนก็มีวิธีทำให้ปัจเจกบุคคลปฏิบัติตาม คือการใช้สัญญา อย่างไรก็ตามหากเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับกฎหมายแล้วเอกชนเองก็ต้องถูกบังคับโดยระบบกฎหมายของรัฐอยู่ดี
แม้ว่า ภาครัฐและภาคเอกชนจะถูกมองว่าถูกแยกกันโดยความแตกต่างอย่างชัดเจน แต่ McGraw (as cited in Hughes, 2003, p. 74) ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็นภาครัฐและเอกชน เนื่องจากทั้งสองภาคมีปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลาซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า ระบบทุนนิยมสมัยใหม่ เป็นระบบผสมระหว่างภาครัฐและเอกชนและระบบเศรษฐกิจก็จะไม่เป็นภาครัฐหรือเอกชน แต่เป็นระบบที่ผสมกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน (Musgrave and Musgrave, 1989, p. 4) ภาคเอกชนต้องอาศัยรัฐบาลในการสร้างสาธารณูปโภคและระบบกฎหมาย หากไม่มีทั้งสองอย่างนี้ตลาดไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ รัฐบาลอาศัยภาคเอกชนในเรื่องการผลิตและการจำหน่ายสินค้าและบริการ กับรายได้ในด้านภาษีจากภาคเอกชน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสองภาคมีความซับซ้อนมากกว่าจะด่วนสรุปว่าทั้งสองภาคต้องแยกจากกันหรือเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน
แม้ว่า ภาครัฐและภาคเอกชนจะถูกมองว่าถูกแยกกันโดยความแตกต่างอย่างชัดเจน แต่ McGraw (as cited in Hughes, 2003, p. 74) ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งระบบเศรษฐกิจออกเป็นภาครัฐและเอกชน เนื่องจากทั้งสองภาคมีปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลาซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า ระบบทุนนิยมสมัยใหม่ เป็นระบบผสมระหว่างภาครัฐและเอกชนและระบบเศรษฐกิจก็จะไม่เป็นภาครัฐหรือเอกชน แต่เป็นระบบที่ผสมกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน (Musgrave and Musgrave, 1989, p. 4) ภาคเอกชนต้องอาศัยรัฐบาลในการสร้างสาธารณูปโภคและระบบกฎหมาย หากไม่มีทั้งสองอย่างนี้ตลาดไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ รัฐบาลอาศัยภาคเอกชนในเรื่องการผลิตและการจำหน่ายสินค้าและบริการ กับรายได้ในด้านภาษีจากภาคเอกชน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสองภาคมีความซับซ้อนมากกว่าจะด่วนสรุปว่าทั้งสองภาคต้องแยกจากกันหรือเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน
ประการแรก การตัดสินใจของภาครัฐอาจมีผลบังคับ เช่น พลเมืองสามารถถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม เช่น จ่ายภาษี ถูกเวนคืนที่ดิน แต่ธุรกิจเอกชนจะมีเสรีภาพมากกว่าในการทำตามอำเภอใจ เช่น สามารถตั้งราคาขายสินค้าต่างกันกับผู้ซื้อต่าง ๆ กัน หรือสามารถปฏิเสธที่จะขายก็ได้ ประการที่สอง ภาครัฐมีรูปแบบของความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน (accountability) ต่างจากภาคเอกชน ในขณะที่การจัดการบริษัทโดยทฤษฎีต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น พนักงาน องค์การของรัฐ ต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้นำทางการเมือง สภาผู้แทน สาธารณะชน และระบบตุลาการ ประการที่สาม ผู้บริหารสูงสุดของภาครัฐต้องรับมือกับคำสั่งที่มาจากภายนอกหรือคำสั่งของนักการเมือง (outside agenda) ซึ่งโดยมากจะถูกกำหนดโดยผู้นำทางการเมือง ซึ่งแตกต่างจากองค์การภาคเอกชนที่ทุกระดับขององค์การจะมีความเข้าใจร่วมกันว่า ต้องหารายได้เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด แต่นักการเมืองอาจต้องการการกระทำจากภาครัฐที่อาจจะทำให้หลักการจัดการที่ดีเสียไป หรือสามารถเปลี่ยนใจบ่อย ๆ ซึ่งการที่ต้องปฏิบัติตามความต้องการของนักการเมือง อาจนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างราชการหรือพนักงานของรัฐกับนักการเมืองได้ การปฏิบัติตามคำสั่งทางการเมืองของภาครัฐไม่ได้หมายความว่า จะมีเหตุผลน้อยกว่าการปฏิบัติเพื่อหากำไรของภาคเอกชน แต่คำสั่งทางการเมืองทำให้การจัดการภาครัฐแตกต่างจากภาคเอกชน หากภาครัฐส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่มาจากนักการเมือง จะทำให้ขอบเขตการปฏิบัติงานของผู้บริหารภาครัฐน้อยลง ประการที่สี่การวัดผลผลิตหรือประสิทธิภาพในการผลิตของภาครัฐเป็นสิ่งที่ยาก เนื่องจากภาครัฐไม่มีเกณฑ์วัดซึ่งใช้ผลกำไรเช่นเดียวกับภาคเอกชน ทำให้การวัดผลการปฏิบัติงานในภาครัฐไม่ว่าระดับบุคคล กลุ่ม หรือองค์การ เป็นไปด้วยความยาก ซึ่งอาจจะนำไปสู่การปฏิบัติงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ อาจจะเกิดกับภาคเอกชนได้ แต่โดยทั่วไปแล้วเกิดน้อยกว่าภาครัฐ ประการที่ห้า การที่ภาครัฐมักจะมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลาย ทำให้การควบคุมและการประสานงานเป็นไปด้วยความยาก และหากต้องเป็นการประสานงานด้วยเหตุผลทางเมืองจึงทำให้ยากยิ่งขึ้น โดยสรุป Hughes เห็นว่า ความแตกต่างของภาครัฐและภาคเอกชนมีมากพอที่ภาครัฐควรมีรูปแบบการจัดการเฉพาะเป็นของตนเองไม่ใช่แค่หยิบยืมจากภาคเอกชน ซึ่งมีนักวิชาการเห็นด้วยกับข้อสรุปนี้ เช่น Flynn (1997, p. 12) กล่าวว่า การจัดการภาครัฐแตกต่างจากการจัดการของภาคเอกชน Allison (1982, p. 29) เห็นเช่นเดียวกันว่า “การจัดการภาครัฐและเอกชนอย่างน้อยมีความแตกต่างเช่นเดียวกับมีความเหมือนกัน แต่ความแตกต่างมีความสำคัญมากกว่าความเหมือน” และเห็นว่า “แนวความคิดที่จะสามารถนำเอาหลักปฏิบัติและประสบการณ์ในการจัดการของภาคเอกชนโอนมาใช้กับภาครัฐโดยตรง เพื่อจะเพิ่มประสิทธิภาพอย่างมีนัยสำคัญเป็นความคิดที่ผิด” การปรับใช้แนวปฏิบัติของภาคเอกชนอาจเป็นประโยชน์ แต่ควรคำนึงถึงความแตกต่างพื้นฐานของทั้งสองภาคด้วย

บรรณานุกรม

ฑิตติมา วิชัยรัตน์. (2551). บทบาทของคณะกรรมการในการเสริมสร้างบรรษัทภิบาล ในองค์การของรัฐในประเทศไทย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Allison, Graham (1982). Public and Private Management: Are they fundamentally alike in all unimportant respects?, In S. Frederick (Ed.), Current issues in public administration, New York: St Martin's Press.

Flynn, N. (1997). Public sector management (3rd ed.). London: Prentice-Hall Harvester.

Hicks, U. K. (1958). Public finance. London: Oxford University Press.

Hughes, Owen E. (2003). Public management and administration an introduction (3rd ed.). New York: Palgrave Macmillan.

Musgrave, R. A., & Musgrave, p. B. (1989). Public finance in theory and Practice (5th ed.). New York: McGraw-Hill.

Stiglitz, J. E. (1989). The economic role of the state. Cambridge, MA: Blackwell.

21 พฤศจิกายน 2554

การบริหารงานภาครัฐและเอกชนแตกต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างการบริหารภาครัฐและเอกชน 2. รัฐประศาสนศาสตร์เป็นกระบวนการทางการเมือง ในทางกลับกันการบริหารงานภาคเอกชนเป็นกิจกรรมทางธุรกิจ 3. การบริหารราชการเกิดขึ้นในการจัดตั้งรัฐบาลในขณะที่การบริหารภาคเอกชนดำเนินการในโครงสร้างอื่นที่ไม่ใช่การตั้งค่าของรัฐบาล

ภาครัฐกับภาคเอกชนต่างกันยังไง

งานราชการนั้นคนจะพอใจก็ต่อเมื่อมีตำแหน่งที่สูงขึ้น เพราะจะได้โอกาสในการตัดสินใจในงานที่มีขนาดใหญ่อันสร้างผลกระทบแก่สังคม ในขณะที่คนทำงานภาคเอกชนนั้นจะพอใจในงานก็ต่อเมื่อได้เงินเดือนมากขึ้น ... .

การบริหารงานภาครัฐ มีอะไรบ้าง

การบริหารภาครัฐ คือ การกำหนด และการดำเนินยุทธศาสตร์ และนโยบายสาธารณะ เพื่อประโยชน์สาธารณะ.
ความเป็นสาธารณะ ประสิทธิภาพ และการตอบสนองสาธารณะ.
องค์กรแบบราชการ หรือบิวรอคเครซี่ และระบบข้าราชการที่เป็นอาชีพ.
นโยบายสาธารณะผลประโยชน์สาธารณะ กระบวนการทางการเมือง และสิทธิส่วนบุคคล.
การควบคุมพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ.

ข้อใดคือความแตกต่างที่สำคัญที่สุดของการบริหารรัฐกิจกับการบริหารธุรกิจ

ความแตกต่าง 1. การบริหารรัฐกิจมีกฎหมายรองรับในการทำกิจกรรมต่างๆ ส่วนการบริหารธุรกิจไม่มีกฎหมายรองรับ 2. การบริหารรัฐกิจมีการควบคุมทางงบประมาณการใช้จ่ายต่างๆ ตามที่รัฐสภากำหนด เพราะรายได้ส่วนใหญ่ของรัฐมาจากภาษีของราษฎร 3. การบริหารงานสาธารณะมีขอบเขตกว้างขวางมากกว่า

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้