การเมือง การปกครอง แตก ต่าง กันอย่างไร

ระบอบการปกครองในโลกปัจจุบัน
               ระบบการเมืองการปกครอง เป็นแบบแผนที่ก่อให้เกิดข้อตกลงเพื่อให้มีผลบังคับใช้กับสมาชิกในสังคม เพื่อความสงบและเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั่วโลกมีรูปแบบการปกครองอยู่ 2 แบบ คือ การปกครองระบอบประชาธิปไตย และระบอบเผด็จการ ทั้งสองระบอบนี้จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน สำหรับประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจผ่าน 3 องค์กร อันได้แก่ นิติบัญญัติผ่านรัฐสภา บริหารผ่านรัฐบาล และตุลาการผ่านศาล ซึ่งประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย

รูปแบบการเมืองการปกครอง
               ระบบการเมืองการปกครอง หมายถึง แบบแผนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่ก่อให้เกิดข้อตกลงใจ รวมทั้งมีอำนาจบังคับสมาชิกในสังคมให้ต้องปฏิบัติ ในปัจจุบันรูปแบบของระบบการเมืองการปกครองที่รัฐหรือประเทศต่างๆ ในโลกที่เด่นชัดมี 2 ระบอบ คือ ระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบอบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการ

              1. ระบอบประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติ

ที่มา : //www.vcharkarn.com/vblog/1495

              ระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมากในประเทศให้เป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของประเทศตามนโยบายที่กลุ่มหรือพรรคนั้นได้วางไว้ล่วงหน้า ลักษณะเด่นดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปถ้ากลุ่มหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองการปกครอง
              หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย หลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยยึดหลักการต่อไปนี้ คือ
              1. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน กล่าวคือ ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจในกิจการต่างๆ ร่วมกัน
              2. หลักอำนาจอธิปไตยโดยปวงชน กล่าวคือ ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยการเลือกตัวแทนของตนเข้าไปทำหน้าที่ในรัฐสภา
              3. หลักอำนาจอธิปไตยเพื่อปวงชน กล่าวคือ ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจในการบริหารประเทศต้องปกครอง เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนใหญ่มิใช่เพื่อหมู่คณะของตนเอง
              4. หลักเหตุผล ระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายอย่างกว้างขวาง
              5. หลักเสียงข้างมาก เมื่อมีการอภิปรายแสดงข้อคิดเห็นกันแล้ว การหาข้อยุติต้องเกิดจากการออกเสียงลงคะแนนเสียง มติของที่ประชุมเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับ
              6. หลักความยินยอม เป็นการได้รับฉันทานุมัติจากปวงชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยให้เข้ามาเป็นตัวแทนใช้อำนาจของประชาชนภายในระยะเวลาที่กำหนด
              7. หลักประนีประนอม เมื่อเกิดข้อขัดแย้งไม่มากนัก ก็อาจมีการประนีประนอมโดยยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นเกณฑ์ โดยไม่ต้องมีการลงคะแนนเพื่อหาข้อยุติ
              8. หลักความเสมอภาค ประชาธิปไตยให้ความสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถือว่า มนุษย์ที่เกิดมามีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ทุกคนต้องได้รับการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเสมอภาค
              9. หลักเสรีภาพ ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจะต้องให้เสรีภาพแก่ปวงชนภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน การชุมนุม การศึกษาอบรม การรวมตัวกันเป็นสมาคม
              10. หลักการปกครองตนเอง เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลในชุมชนหรือท้องถิ่นได้มีโอกาสปกครองตนเอง เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมสามารถรู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาของตนเองได้ดีกว่าบุคคลอื่น

           2. การปกครองแบบเผด็จการ ระบอบเผด็จการ เป็นระบบการปกครองที่ตรงข้ามกับระบอบประชาธิปไตย ผู้ปกครองจะมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง โดยไม่สนใจสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การได้มาของการเป็นผู้นำในระบอบเผด็จการ มักจะเกิดจากการปฏิวัติหรือรัฐประหาร

            หลักการสำคัญของการปกครองแบบเผด็จการ
            หลักการสำคัญของระบอบเผด็จการเป็นไปในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
            1. อำนาจรัฐอยู่เหนือประชาชน ไม่ยินยอมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ แต่ต้องปฏิบัติตามที่รัฐกำหนด ไม่มีสิทธิคัดค้านหรือโต้แย้ง
            2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้อำนาจ แก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรง เด็ดขาด ใช้อำนาจทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ที่มีความคิดเห็นขัดแย้งต่อรัฐ
            3. ปกครองประเทศโดยมุ่งเน้นประโยชน์ของภาครัฐมากกว่าสิทธิ เสรีภาพของประชาชน
            4. เน้นการเชื่อผู้นำพาชาติก้าวหน้า เพื่อสร้างศรัทธาและบารมีของผู้นำ
            5. มีการรวมอำนาจปกครองไว้ในที่แห่งเดียว ศูนย์กลางในการสั่งการ คือ ตัวผู้นำซึ่งจะรวมทั้ง 3 สถาบันอยู่ในการปกครองของตนเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว
ที่มา : //www.oknation.net/blog/print.php?id=132995


//krujiraporn.wordpress.com/2011/07/05/ระบอบการปกครองในโลกปัจ/
//writer.dek-d.com/freya1412/story/viewlongc.php?id=733167
//sites.google.com/site/tauw2491/sm43


การเมืองการปกครองมีความหมายว่าอย่างไร

การปกครอง คือการใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารและจัดการประเทศ การปกครองมีหลายรูปแบบ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตย และการปกครองแบบเผด็จการ นอกจากนี้การปกครองยังมีได้หลายระดับ เช่น การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และ การปกครองส่วนท้องถิ่น

การเมืองการปกครองของไทยมีอะไรบ้าง

ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวซึ่งมีการปกครองในกรอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยที่พระมหากษัตริย์ ซึ่งปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นประมุขแห่งรัฐ ส่วนนายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันคือประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐบาลไทยเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติอยู่กับรัฐสภาไทย ...

การเมืองมีความสําคัญอย่างไร

การเมือง (อังกฤษ: politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา

การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบ่งเป็น 4 ระบบมีอะไรบ้าง

รูปแบบ.
ประชาธิปไตยทางตรง.
ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน.
แบบผสมหรือกึ่งทางตรง.
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ.
สาธารณรัฐ.
ประชาธิปไตยเสรีนิยม.
ประชาธิปไตยสังคมนิยม.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้