ครัวเรือน เศรษฐศาสตร์ หมายถึง

ทุกวันนี้ เราใช้ชีวิตอยู่ในระบบเศรษฐกิจซึ่งที่ผ่านมามีทั้งช่วงที่เศรษฐกิจดีและไม่ดี พอเศรษฐกิจดีคนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกว่ามีความสุขมากกว่าเพราะว่ามีเงินใช้คล่องมือ ต่างกับเวลาเศรษฐกิจไม่ดีที่นอกจากจะรู้สึกว่าจับจ่ายใช้สอยได้น้อยแล้ว บางคนอาจจะต้องหยุดหรือเปลี่ยนงานไปเลย 

แล้วเพราะอะไรเศรษฐกิจถึงมีช่วงที่ดีและไม่ดี และรัฐบาลมีบทบาทอย่างไรในการช่วยเหลือประชาชนและแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เรามาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันในบทความชุดนี้กันครับ

ก่อนอื่นเราจะมาทำความรู้จักว่าระบบเศรษฐกิจคืออะไรและมีกลไกในการทำงานอย่างไรนะครับ จากรูปด้านล่างคือ วงจรเศรษฐกิจ (Economic Flow) 

รูปที่ 1 วงจรเศรษฐกิจ (Economic Flow)
Source //study-aids.co.uk/dissertation-blog/circular-flow-model-economics/

จากภาพเราจะเห็นความสัมพันธ์บางอย่าง ระหว่างกลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ 

1 ภาคครัวเรือน (Households) ที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมด้านขวาของภาพ 

2 ภาคธุรกิจ (Business Sector) ที่อยู่ในสี่เหลี่ยมนี้ด้านซ้าย

3 รัฐบาล (Government) อยู่ในสี่เหลี่ยมกลางภาพ

โดยความสัมพันธ์ เริ่มจาก ภาคครัวเรือน ขายปัจจัยการผลิต ซึ่งก็คือ แรงงาน และที่ดินผ่านตลาดทรัพยากร หรือ Resource Market ให้กับ ภาคธุรกิจ เพื่อเป็นปัจจัยการผลิต นั่นคือ ภาคธุรกิจมีเงินทุนแต่ว่าก็ต้องมีพนักงานมาทำงานให้ และต้องมีที่ดินสำหรับสร้างโรงงานผลิตสินค้า สร้างห้างสรรพสินค้า หรือสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่เอาไว้ทำมาหากินครับ

แล้วหลังจากนั้น ภาคธุรกิจก็จะจ่ายค่าตอบแทน เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่าที่ดิน ค่าซื้อที่ดิน เป็นต้น คืนแก่ภาคครัวเรือน ทำให้ภาคครัวเรือนมีรายได้

ภาคครัวเรื่อนนำรายได้ที่มีมาซื้อสินค้าจากภาคธุรกิจอีกทีหนึ่ง ซึ่งถ้าจะถามว่ามันเหมือนอัฐยายซื้อขนมยายไหม ก็ตอบได้ว่าไม่เหมือนเพราะเราซื้อของได้จากหลายผู้ผลิต และแต่ละธุรกิจขายสินค้าให้คนทั่วไปและธุรกิจด้วยกัน หมายความว่ารายได้ที่ครัวเรือนได้จากธุรกิจหนึ่งอาจจะนำไปซื้อสินค้าจากอีกหลาย ๆ ธุรกิจ และธุรกิจก็มีรายได้นำมาจ่ายค่าตอบแทนให้กับพนักงานของตัวเองอีกที  สิ่งนี้ทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบ และทำให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจนั่นเอง 

นอกจากนี้เมื่อคนมีรายได้ ก็ต้องเสียภาษีให้รัฐบาล เพื่อให้รัฐบาลนำรายได้จากภาษีมาพัฒนาส่วนอื่น ๆ ของสังคมที่ภาคธุรกิจและประชาชนอาจจะทำเองไม่ได้หรือไม่ได้อยากทำเพราะไม่คุ้มค่า เช่น การพัฒนาระบบสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า ประปา) สร้างโครงสร้างพื้นฐาน (ถนน ทางรถไฟ ท่าเรือ) สร้างหน่วยงานรัฐและจ้างคนมาทำงาน (สำนักงานเขต สำนักงานที่ดิน เป็นต้น) ใช้เพื่อทำตามนโยบายรัฐต่าง ๆ นอกจากนั้นยังอาจจะใช้เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย (อันนี้จะมีอธิบายในส่วนนโยบายการคลัง ครับ) 

รัฐนอกจะรับรายได้จากประชาชน และภาคธุรกิจแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อทรัพยากรการผลิตจากครัวเรือน (จ้างคนไปทำงานให้รัฐ) และซื้อของจากหน่วยธุรกิจ (ซื้อสินค้าหรือใช้บริการของภาคธุรกิจ)

การจับจ่ายของทั้งภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ และรัฐบาลล้วนมีผลต่อการขยายตัวและหดตัวของเศรษฐกิจทั้งนั้น 

การที่เศรษฐกิจขยายตัวขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศดีขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย เพราะว่าประชาชนมีรายได้มากขึ้น ก็สามารถซื้อสินค้าและบริการที่ทำให้คุณภาพชีวิตตัวเองดีขึ้น 

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เลย คือ เมื่อก่อนตอนเป็นสังคมเกษตร เราต้องปลูกพืช หรือเลี้ยงสัตว์เอง เป็นสังคมเล็ก ๆ ยังไม่ได้มีอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ มากมาย และการเดินทางก็ยังไม่สะดวกสบายอย่างทุกวันนี้ แต่เมื่อเศรษฐกิจมีการพัฒนา ภาคอุตสาหกรรมและบริการได้สร้างมูลค่าเพิ่มมากกว่าและสร้างรูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตที่เจริญก้าวหน้ามากขึ้น คนก็ย้ายตัวเองจากสังคมเกษตรมาใช้ชีวิตในสังคมเมืองมากขึ้น มีรายได้มากขึ้น รูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป 

ส่วนนี้ไม่ได้ต้องการบอกว่าสังคมเมืองดีกว่าสังคมเกษตรแบบเดิมนะครับ เพราะต้องยอมรับว่าภาคการเกษตรเป็นรากฐานดั้งเดิมของสังคมไทยและมีสิ่งดี ๆ หลายอย่างในนั้น เช่น ความเอื้อเฟื้อกันของคน สังคมที่ใกล้ชิด พึ่งพาอาศัยกัน  และการได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ แต่สิ่งต่าง ๆ นั้นเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ก็มีแนวทางการพัฒนาแบบนี้

เอาล่ะ เรามาพูดถึงเรื่องการขยายตัวและหดตัวของระบบเศรษฐกิจกันดีกว่า ก่อนจะพูดถึงเรื่องนี้ ต้องขออธิบายเรื่องกลไกตลาดในระบบตลาดเสรีก่อน คือ กลไกอุปสงค์ (Demand) อุปทาน (Supply) กันก่อนครับ

กลไกนี้อธิบายแบบง่าย ๆ เลยคือ อะไรที่คนต้องการมาก (Demand มาก) จะมีราคาสูงขึ้น อะไรที่คนต้องการน้อยจะมีราคาถูกลง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องเปรียบเทียบ Demand กับ Supply ด้วย 

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เลย ช่วงก่อนหน้านี้ทุกคนจะรู้ว่าราคาน้ำมันถูกลงใช่ไหมครับ จริง ๆ แล้วที่ราคาน้ำมันถูกลงมีสาเหตุมาจากผู้ผลิตหลักหรือกลุ่ม OPEC เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันขึ้น ทำให้ Supply น้ำมันมากขึ้น แต่ Demand การใช้น้ำมันกลับลดลงจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอ แถมมีโรคระบาดอย่าง Covid 19 มาซ้ำเติมทำให้เศรษฐกิจยิ่งชะลอตัวไปใหญ่ 

เมื่อ Demand ลด Supply เพิ่ม ก็เป็นธรรมดาที่ราคาน้ำมันจะลดลงมากแบบนี้ ส่วนนี้สามารถไปติดตามได้จากบทความ  ควรลงทุนอย่างไร? เมื่อสงครามราคาน้ำมันซ้ำเติมตลาด!!! 

ซึ่ง Demand Supply และราคาสินค้าอธิบายได้ง่าย ๆ ตามรูปด้านล่างครับ จุดที่ Demand ตัดกับ Supply คือ จุดดุลยภาพ หรือ Equilibrium จะเป็นจุดที่ผู้ซื้อและผู้ขายพอใจที่จะซื้อสินค้าที่ราคานี้ และที่ปริมาณเท่านี้ 

รูปที่ 2 กราฟอุปสงค์ อุปทาน และจุดดุลยภาพ
ที่มา //www2.york.psu.edu/~dxl31/econ14/printer5.html

สำหรับ ระบบเศรษฐกิจก็มี Demand Supply เหมือนกัน แต่ว่าเป็น Demand Supply (ในบทความนี้ต่อไปขอเรียกย่อ ๆ ว่า D-S นะครับ) ที่เกิดจากการรวม D-S ของทุกคน สินค้าทุกชนิดไว้ เรียกว่า อุปสงค์มวลรวม (Aggregated Demand) กับ อุปทานมวลรวม (Aggregated Supply) ขอย่อว่า AD-AS ครับ ซึ่งเวลาที่ AD มาก AS น้อยก็ส่งผลให้สินค้ามีราคาแพงขึ้นนั่นเอง แต่ถ้าตรงข้าม AD ลด AS เพิ่มราคาสินค้าส่วนใหญ่ก็จะถูกลง 

ที่จะอธิบายต่อไปอาจจะดูซับซ้อนสักหน่อย แต่ว่าไม่ยากเกินกว่าจะเข้าใจแน่นอนครับ 

ระบบเศรษฐกิจที่สามารถเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ นั้นจะสะท้อนจากการเติบโตของ GDP ที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี และขนาดของ GDP ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง แต่ว่าระบบเศรษฐกิจจะสามารถเติบโตได้สูงสุดตามศักยภาพของระบบเศรษฐกิจ (Economic Efficiency) 

จะมีบางช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเติบโตเกินศักยภาพ และบางช่วงน้อยกว่าศักยภาพ ระบบเศรษฐกิจจะเติบโตดีและสม่ำเสมอถ้าเติบโตตามศักยภาพ ถ้าเร่งเกินไปสุดท้ายก็จะชะลอตัวลงเอง แต่ถ้าเติบโตน้อยกว่าศักยภาพก็เหมือนการทำอะไรไม่เต็มที่ ทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาอย่างที่ควรจะเป็น 

ถ้าจะให้เปรียบเทียบก็เหมือนการวิ่งออกกำลังของเรา เราสามารถวิ่งได้เร็วที่ความเร็วระดับหนึ่งโดยที่ความเร็วระดับนี้จะทำให้เราวิ่งแบบนี้ได้ต่อเนื่องยาวนาน แต่ถ้าเราเร่งไปมากกว่านั้นมาก ๆ เราอาจจะสามารถเร่งความเร็วให้มากขึ้นได้แค่ช่วงเวลาหนึ่ง แล้วเราก็ต้องชะลอความเร็วลงเพราะเราเหนื่อย แต่ถ้าวิ่งช้ากว่าศักยภาพก็จะไม่ได้ทำให้เราแข็งแรงขึ้นหรือว่าทำให้เราวิ่งเร็วขึ้นกว่าปัจจุบัน เป็นต้น  

เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้น เราจะมีคำอีก 2 คำที่เราต้องรู้จัก คือ Short-Run Aggregated Supply (SRAS) และ Long-Run Aggregated Supply (LRAS) 

LRAS คือ ศักยภาพเศรษฐกิจที่จะเติบโตได้ในระยะยาว แต่ผมคิดว่า LRAS ก็สามารถเปลี่ยนไปได้ตามปัจจัยต่าง ๆ ของประเทศเช่นกัน แต่น่าจะเป็นปัจจัยที่มีผลในระยะยาว ส่วน SRAS จะเปลี่ยนไปตามปัจจัยระยะสั้นที่มากระทบกับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งในที่สุดสมดุลของเศรษฐกิจก็จะกลับสู่ LRAS อยู่ดี  

บางทีเราอาจจะอยู่ในภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตเกินศักยภาพ เช่น ค่าเงินอ่อนทำให้การส่งออกดีมาก ๆ เมื่อเศรษฐกิจโลกขยายตัวก็จะทำให้ GDP เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อรายได้ของบริษัทส่งออก ทำให้รายได้มากขึ้นและมีการขยายกำลังการผลิต มีการจ้างงานในภาคส่วนนี้มากขึ้น ถ้าประกอบกับเป็นช่วงที่เศรษฐกิจส่วนอื่น ๆ ก็ดีจะทำให้ GDP ตอนนี้เติบโตอย่างร้อนแรง แต่ต่อมาด้วยเศรษฐกิจที่ดีอาจจะส่งผลให้เงินไหลเข้ามากเกินไปเมื่อเทียบกับกระแสเงินไหลออกก็อาจจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้นได้ ซึ่งจะกระทบกับความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออก 

ตรงนี้พูดง่าย ๆ คือ ราคาสินค้าในประเทศเท่าเดิม แต่พอส่งออกราคาจะถูกหรือแพงขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยน ถ้าค่าเงินอ่อน สินค้าของเราเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งจะราคาถูกกว่า ทำให้ลูกค้าอยากซื้อสินค้าประเทศเรามากกว่า แต่ถ้ากลับกัน ค่าเงินแข็งค่าเกิน สินค้าประเทศเราจะแพงขึ้นทันที ทำให้ลูกค้าอาจจะอยากไปซื้อกับประเทศอื่นเป็นต้น

เศรษฐกิจที่เติบโตดี จะทำให้เกิดเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้น ทำให้การบริโภคลดลง และจากการที่ผลิตมากขึ้นก็อาจจะส่งผลให้ปัจจัยการผลิตมีราคาแพงเกินไป เช่น ค่าแรงเริ่มแพง ราคาวัตถุดิบเริ่มแพง เป็นต้น จากปัจจัยการผลิตที่แพงเกินไปนี้และค่าเงินที่เริ่มแข็งนี้เองจะทำการผลิตสินค้าและการส่งออกจะเริ่มชะลอตัวและลดลงส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจปรับสมดุลเข้าสู่ศักยภาพการผลิตในที่สุด ดังรูปที่ 4

รูปที่ 3 ดุลยภาพเศรษฐกิจ
ที่มา //www.reviewecon.com/asad-model1

รูปที่ 4 การปรับตัวของเศรษฐกิจ

4.1 เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วเกินไปทำให้ความต้องการบริโภคเพิ่มจาก AD1 ไปที่ AD2 ส่งผลให้สินค้าราคาแพงขึ้น ราคาสินค้าในตลาดขยับจาก P1 ไป P1′ ส่งผลให้คนอยากผลิตมาขายมากขึ้น เพราะราคาสินค้าเพิ่มขึ้นขายแล้วได้กำไรมากขึ้นจึงผลิตมากขึ้น

4.2 จากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นในข้อ 4.1 จูงใจให้ผู้ผลิตเพิ่มการผลิต ส่งผลให้ AS เพิ่มขึ้นจากเส้น SRAS1 สู่เส้น SRAS2 เกิดสมดุลเศรษฐกิจใหม่ที่จุด E2 (จากสมดุลเดิมอยู่ที่ E1) แต่จุดนี้อยู่ที่ระดับที่เกินศักยภาพเศรษฐกิจจึงทำให้ ราคาปัจจัยการผลิตเริ่มแพง 

ตัวราคาปัจจัยการผลิตจะไม่ได้แสดงในกราฟ แต่ว่าเมื่อการผลิตเกินศักยภาพหมายความว่าผลิตมากกว่าแรงงานและวัตถุดิบที่มีทำให้ราคาปัจจัยการผลิตสูงขึ้นตามกลไกตลาด

4.3 จากราคาสินค้าที่แพงขึ้นทำให้เกิดเงินเฟ้อและการขึ้นดอกเบี้ยตามมา ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลให้การบริโภคลดลงเพราะว่าคนกู้ซื้อสินค้าคงทนลดลง ซึ่งส่วนมากเป็นสินค้าที่มีราคาสูง เช่น บ้าน รถ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องใช้อื่นที่ต้องซื้อโดยการผ่อนชำระ 

รวมถึงการซื้อสินค้าอื่นที่ไม่ใช่สินค้าที่ต้องผ่อนชำระก็ลดลงจากราคาสินค้าที่แพงขึ้น ทำให้การบริโภคในประเทศเริ่มลดลด ส่งผลให้ Demand ลดลงกลับมาอยู่ที่เดิม (AD2 > AD1)

4.4 Supply ลดลงมาตามเพราะสินค้าขายได้ลดลงจาก Demand ที่ลดลงประกอบกับราคาปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้การผลิตเริ่มไม่ค่อยคุ้มค่าเท่าเดิม ผู้ผลิตจึงลดการผลิตลง ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่จุดดุลยภาพในที่สุด (SRAS2 > SRAS1 , P2 > P1 และ E2 > E1)

ในทางกลับกันถ้าเศรษฐกิจเกิดอยู่ต่ำกว่าศักยภาพระยะยาว ที่จุดนี้ราคาสินค้าจะถูก และดอกเบี้ยไม่สูง ทำให้คนอยากซื้อสินค้ามากขึ้น และเนื่องจากปัจจัยการผลิตก็ถูกจากการที่มีคนพร้อมจะทำงานแต่มีงานให้ทำน้อยค่าแรงก็ถูก ราคาวัตถุดิบก็ถูกเพราะคนผลิตน้อยกว่าปัจจัยการผลิตที่มี ส่งผลให้ผู้ผลิตอยากผลิตมากขึ้นจนเศรษฐกิจกลับมาอยู่ที่จุดสมดุลในที่สุด 

ในยุคเริ่มแรกนักเศรษฐศาสตร์สาย Classic จะเชื่อในการปรับสมดุลของเศรษฐกิจแบบอัตโนมัติจากปัจจัยที่กล่าวถึงข้างต้น ถ้าเคยได้ยินคำว่ามือที่มองไม่เห็นหรือ Invisible Hand ก็มาจากทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ Classic นี่ละครับ

แต่หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ คือ The Great Depression ในปี 1929 ก็เกิดโยบายการคลังขึ้นมาจากแนวคิดของ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (บิดาของเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของนโยบายการคลัง) เพราะกลไกปรับสมดุลของตลาดไม่ทำงานอย่างที่คิด ทำให้รัฐบาลเริ่มการดูแลเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังนับจากนั้นเป็นต้นมา 

ปัจจุบันเครื่องมือในการดูแลระบบเศรษฐกิจ คือ นโยบายการเงิน และนโยบายการคลัง ซึ่งเราจะกล่าวถึงนโยบายทั้ง 2 ชนิดนี้ ในบทความต่อไปกันครับ

Investment Reader

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้