จ้างทําเสื้อ หัก ณ ที่จ่าย

เรื่อง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีผลิตสินค้าเพื่อขายและผลิตสินค้าตามคำสั่งลูกค้า

ข้อเท็จจริง

1. นางสาว อ. เป็นผู้รับจ้างทำบัญชีให้แก่บริษัทฯ แห่งหนึ่งประกอบกิจการผลิตเครื่องประดับ

ทำด้วยเงินเพื่อจำหน่ายโดยทั่วไปเป็นปกติธุระ และรับจ้างผลิตโดยลูกค้าจะสั่งให้ทำงานตามแบบ ขนาด

จำนวนตามที่ต้องการ เช่น สั่งทำสร้อยลาย A จำนวน 1,000 กรัม บริษัทฯ นำวัตถุดิบ (เม็ดเงิน

100%) เข้าสู่ขบวนการผลิตตามแบบและจำนวนที่ลูกค้าสั่ง โดยมีขั้นตอนการผลิตเช่นเดียวกับ

เครื่องประดับเงินที่บริษัทฯ ผลิตจำหน่ายเป็นปกติ

(1) กรณีลูกค้าสั่งให้บริษัทฯ ผลิตเครื่องประดับตามแบบ ขนาดและจำนวนที่ต้องการโดย

ลูกค้าจัดหาวัตถุดิบ (เม็ดเงิน 100%) มาเอง จากนั้นบริษัทฯ นำวัตถุดิบดังกล่าวเข้าสู่ขบวนการผลิต

เมื่อบริษัทฯ ผลิตเสร็จ ลูกค้าจะชำระค่าแรงงานรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และหักภาษี ณ ที่จ่าย บริษัทเอาไว้

กรณีนี้ถือเป็นการรับจ้างทำของ ใช่หรือไม่

(2) มีลูกค้าบางรายได้ติดต่อทำธุรกิจกันมานานและรู้จักกันเป็นอย่างดี สั่งให้บริษัทฯ ผลิต

เครื่องประดับตามแบบ ขนาดและจำนวนที่ต้องการ บริษัทฯ ได้นำวัตถุดิบ (เม็ดเงิน 100%) ของบริษัทฯ

มาผลิตก่อน เมื่อบริษัทฯ ผลิตเสร็จ ลูกค้าจะชำระค่าแรงรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และหักภาษี ณ ที่จ่ายใน

อัตราร้อยละ 3.0 พร้อมกับคืนวัตถุดิบ (เนื้อเงิน 100%) ให้แก่บริษัทฯ ตามจำนวนสินค้าที่ผลิต กรณีนี้ถือ

เป็นการรับจ้างทำของ ใช่หรือไม่

(3) เมื่อภาวะการแข่งขันทางธุรกิจรุนแรงขึ้นทุกวัน บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องนำวัตถุดิบ

(เม็ดเงิน 100%) ของบริษัทฯ มาผลิตก่อนและลูกค้าขอเครดิตทั้งค่าแรงงานและวัตถุดิบ โดยให้

credit ลูกค้า 15, 30, 45, 60 วัน เมื่อครบกำหนด ลูกค้าจะชำระค่าแรงงานรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

และหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 พร้อมกับคืนวัตถุดิบ (เนื้อเงิน 100%) ให้แก่บริษัทฯ ตาม

จำนวนสินค้าที่ผลิต กรณีนี้ถือเป็นการรับจ้างทำของ ใช่หรือไม่

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 3 เตรส, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528ฯ

แนววินิจฉัย

1. กรณีบริษัทฯ ผลิตเครื่องประดับที่ทำด้วยเงินเพื่อจำหน่ายโดยทั่วไปเป็นปกติธุระ ต่อมา

บริษัทฯ ได้รับคำสั่งจากลูกค้าซึ่งเป็นนิติบุคคลให้ผลิตเครื่องประดับตามแบบ ขนาดและจำนวน ที่ลูกค้า

กำหนด โดยในการผลิตได้ใช้วัตถุดิบที่ลูกค้าจัดหามาให้ กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ

ตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อลูกค้าจ่ายค่าจ้างให้บริษัทฯ ลูกค้ามีหน้าที่ต้อง

หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 เฉพาะค่าจ้างหรือค่าบริการ ตามข้อ 8 ของ

คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

2. กรณีบริษัทฯ ผลิตเครื่องประดับที่ทำด้วยเงินเพื่อจำหน่ายโดยทั่วไปเป็นปกติธุระ ต่อมา

บริษัทฯ ได้รับคำสั่งจากลูกค้าซึ่งเป็นนิติบุคคลให้ผลิตเครื่องประดับตามแบบ ขนาดและจำนวนที่ลูกค้า

กำหนด โดยในการผลิตบริษัทฯ ได้ใช้วัตถุดิบของบริษัทฯ ผลิตก่อน เมื่อผลิตเสร็จแล้วลูกค้าจะชำระ

ค่าบริการพร้อมคืนวัตถุดิบให้ตามปริมาณที่ใช้ผลิตสินค้า กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ไม่อยู่

ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26

กันยายน พ.ศ. 2528

ที่มา:

หนังสือข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/3854 ลงวันที่ 21 เมษายน 2547

ข้อนี้เป็นปัญหาที่ค้างคาใจทั้งฝ่ายลูกค้าผู้จ้างและร้านตัดชุดมานาน จากเวปของกรมสรรพากร สรุปใจความสำคัญได้ดังนี้

1.หากลูกค้าจ้างร้านตัดชุด ที่ตัดชุดเป็นปกติธุระอยู่แล้ว โดยให้ร้านตัดชุดเป็นผู้จัดหาวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นแบบของทางร้านตัดชุดหรือของลูกค้า ให้ถือว่าเป็นการซื้อสินค้า ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

2.หากลูกค้าจ้างร้านตัดชุด ที่ตัดชุดเป็นปกติธุระอยู่แล้ว โดยจัดหาวัตถุดิบมาให้และจ้างร้านตัดชุดเย็บให้อย่างเดียว ให้ถือว่าเป็นการการจ้างทำของ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

3.หากลูกค้าจ้างร้านที่ไม่ได้ตัดชุดเป็นปกติธุระ เช่นร้านขายผ้า หรือออกาไนซ์ ให้ถือเป็นการจ้างทำของทุกกรณี ไม่ว่าใครจะเป็นฝ่ายหาวัตถุดิบมา ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

แหล่งที่มา กค 0702/5546, กค0706/9054

ข้อมุลเพิ่มเติมจากเวปกรมสรรพากร

  • //www.rd.go.th/36200.html
  • //www.rd.go.th/43187.html

pkpadmin2021-02-13T11:12:24+00:00February 13th, 2021|ชุดยูนิฟอร์ม|

แชร์บทความนี้

FacebookEmail

Related Posts

การผลิตสินค้าขายการรับจ้างผลิตสินค้า1. ผู้ขายผลิตสินค้าขายอยู่แล้วเป็นปกติ
ธุระ1. ไม่ใช่ผู้ผลิตที่ขายเป็นปกติแต่รับจ้าง
ผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้าเท่านั้น2. แม้จะมีผู้ว่าจ้างได้ว่าจ้างให้ผู้ขายผลิต
สินค้าที่มีรูปแบบ ขนาด แตกต่างจากที่
ผู้ขายผลิตขายอยู่แล้วเป็นปกติ2. ถ้าไม่มีคำสั่งจ้างก็ไม่ได้ผลิตขายกรณีก็ยังคงถือว่าเป็นการผลิตสินค้าขาย
ไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528ฯการรับจ้างผลิตสินค้าดังกล่าวถือเป็น
การรับจ้างทำของอยู่ในบังคับต้องหัก
ภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0
ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากร
ท.ป.4/2528ฯ
ผู้ประกอบการขายสินค้าเป็นปกติธุระ ต่อมาลูกค้าสั่งทำตามรูปแบบจุดสังเกตดูที่ "วัตถุดิบ"
• วัตถุดิบเป็นของผู้ขาย ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย
• วัตถุดิบเป็นของลูกค้า หัก ณ ที่จ่าย 3 %
แม้ลูกค้าสั่งให้ทำแบบพิเศษในตัวสินค้า เช่น ใส่ชื่อ โลโก้ บริษัท ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เพราะจุดมุ่งหมายคือ “สินค้า”

ตัวอย่าง 1
บริษัท A เป็นผู้ประกอบการผลิตและส่งออกของเล่นพลาสติกเป็นปกติธุระ ได้รับการว่าจ้างจากลูกค้าให้ผลิต
ของเล่นพลาสติกตามรูปแบบ โดยใช้เครื่องหมายการค้าของลูกค้าและลูกค้าได้จัดหาวัตถุดิบให้เพียงบางส่วน แต่
กระบวนการผลิตทั้งหมดยังเป็นเช่นเดียวกับการผลิตของเล่นพลาสติกที่บริษัทได้ผลิตจำหน่ายเป็นปกติธุระอยู่แล้ว
ถือว่า บริษัทฯ กับลูกค้า มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า มิใช่มุ่งในผลสำเร็จของงาน บริษัทจึงเป็นผู้ผลิตสินค้ามิใช่ผู้รับ
จ้าง กรณีดังกล่าวจึงเป็นการขายสินค้า
ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงิน
ได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528

ตัวอย่าง 2
บริษัท A เป็นผู้จำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยบริษัทฯไม่มีโรงงานในการผลิต จึงได้ว่าจ้างบริษัท B ซึ่งเป็น
ผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปขายเป็นปกติธุระและบริษัท C ผู้รับจ้างทั่วไปซึ่งไม่ได้เป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปขายเป็น
ปกติธุระให้ทำการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยผู้รับจ้างเป็นผู้จัดเตรียมผ้าที่ใช้ในการผลิตเองซึ่งเป็นผ้าที่ขายตามท้อง
ตลาดทั่วไปแต่บริษัทฯ จะเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติของผ้า และจัดส่งป้ายตรายี่ห้อและกระดุมอันเป็นเครื่องหมายทาง
การค้าซึ่งไม่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปเพื่อให้ผู้รับจ้างใช้ประกอบในการผลิต โดยบริษัท A จะเป็นผู้กำหนดรูปแบบ
เสื้อผ้า ซึ่งผู้รับจ้างไม่มีสิทธินำรูปแบบของบริษัทฯไปใช้ในการผลิตขายเป็นการทั่วไป
• กรณีบริษัท B ผู้รับจ้างผลิตสินค้าขายเป็นปกติธุระต่อมาได้รับจ้างผลิตสินค้าตามที่บริษัทฯกำหนด โดยใช้
วัตถุดิบของบริษัทผู้รับจ้าง มีเพียงป้าย ตรายี่ห้อและกระดุมที่บริษัท A ผู้ว่าจ้างส่งไปใช้ประกอบการผลิตเท่านั้น กรณี
ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพกรที่
ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา40แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528
• กรณีบริษัท C ผู้รับจ้างมิได้ผลิตสินค้าขายเป็นปกติธุระแต่รับจ้างผลิตสินค้าตามที่บริษัทฯกำหนด กรณี
ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ ตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อบริษัทฯ จ่าย
ค่าจ้างให้แก่ บริษัทผู้รับจ้างบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8(2) ของ
คำสั่งกรมสรรพากร

ตัวอย่าง 3
บริษัท A ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนพลาสติกเป็นปกติธุระ ได้รับคำสั่งซื้อแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูป
จากบริษัท B ซึ่งบริษัท B จะกำหนดรูปแบบแม่พิมพ์ เพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกตามแบบที่กำหนด แต่เนื่อง
จากบริษัท A มิได้เป็นผู้ผลิตแม่พิมพ์ จึงไปให้ บริษัท C ซึ่งเป็นผู้ผลิตแม่พิมพ์ ผลิตแม่พิมพ์อีกทอดหนึ่ง
การที่บริษัท B จ้างบริษัท A ให้ผลิตแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปพลาสติกตามรูปแบบที่กำหนดดังกล่าวเป็นการมุ่งหวังผล
สำเร็จของงานเป็นสำคัญเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของเมื่อบริษัท B จ่ายค่าจ้างทำของให้บริษัท A จึงมีหน้าที่
หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ประเด็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีลูกค้าสั่งทำสินค้าตามรูปแบบ

จ้างทำของ ต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

ค่าใช้จ่ายสำหรับการติดตั้งป้ายโฆษณาทั้งหมด จึงเข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หัก

ค่าจ้างทำของ หัก ณ ที่จ่ายกี่%

: กรณีการรับจ้างทำของตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้จ่ายเงินที่ เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ของจำนวนเงินค่าจ้างทำของที่จ่ายให้บริษัทฯ ตามข้อ 8 (2) แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.

ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้อง ทํา อย่างไร

1.ต้องหักภาษีตามกฎหมายกำหนด 2.ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ม.50ทวิ) 3.ต้องจัดทำบัญชีพิเศษ 4.ต้องนำส่งภาษีต่อกรมสรรพากร

ค่าสติ๊กเกอร์ต้องหัก ณ ที่จ่ายไหม

2. กรณีบริษัทฯ ผลิตสติกเกอร์ตามคำสั่งของลูกค้า โดยพิมพ์ตรา ยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้า ของลูกค้าเพื่อจำหน่ายแก่ลูกค้า จะถือเป็นการผลิตหรือรับจ้างทำของ และจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้