ประโยชน์ของหุ่นยนต์ด้านสุขภาพ

จากสถานการณ์ในปัจจุบัน เทคโนโลยีหลากหลายแอปพลิเคชันมากมายกำลังถูกนำมาใช้มากกว่ายุคใดๆ ในวันที่คนอยู่บ้านกันมากขึ้น และมีคนไข้ในโรงพยาบาลมากขึ้น เทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ ก็ถูกผลิตออกมาตอบโจทย์การใช้สอยและอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์มากยิ่งขึ้นเช่นกัน แนวโน้มที่คาดการณ์ไว้ในอนาคตเมื่อไม่กี่ปีก่อนทั้งเรื่องของ AI และ หุ่นยนต์ทางการแพทย์กำลังเกิดขึ้นในอัตราเร่งที่ฉับไวกว่าที่เราเคยคาดไว้

อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพและการแพทย์มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากตลาดเครื่องมือแพทย์จากทั่วโลกที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าร้อยละ 6.4 ต่อปี  ทำให้ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพต่อเศรษฐกิจ ไทยจึงได้กำหนดเรื่อง การแพทย์และสาธารณสุขไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยให้เป็นหนึ่งในเป้าหมายอนาคตของไทย ในปี 2579 เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ และส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือที่รู้จักกันในนาม Medical Hub

ปัจจุบันทั่วโลกมีการผลิตเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้นการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบอเมริกา ยุโรปตะวันตก และเอเชียแปซิฟิค ทำให้มูลค่าตลาดโดยเฉลี่ยของเครื่องมือแพทย์จากทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

เป็นที่ทราบกันดีว่าบริษัทผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์รายใหญ่สำคัญๆ จะอยู่ในแถบอเมริกา และยุโรปเป็นส่วนมาก และยังเป็นผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น บริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน บริษัทเจเนอรัลอิเล็กทริก บริษัทเมดโทรนิค บริษัท ซีเมนส์ จeกัด บริษัท เฟรซีเนียส เมดิคอลแคร์ เป็นต้น ซึ่งมีฐานการผลิตกระจายอยู่ตามจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางการค้าในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก

สำหรับเครื่องมือแพทย์ที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดคือ เครื่องวินิจฉัยโรคด้วยไฟฟ้า (Electro-diagnostic devices) คิดเป็นร้อยละ 12.7 ของส่วนแบ่งตลาดโลก อันดับรองลงมาคือ เครื่องมือแพทย์ที่ใช้ในการศัลยกรรมกระดูก (orthopedic and fracture devices) ร้อยละ 7.9 และเครื่องเอ็กซเรย์ (X-ray devices) ร้อยละ 3.8 ในขณะที่เครื่องมือแพทย์ทางด้านทันตกรรมจะมีส่วนแบ่งตลาดน้อยที่สุดคือ ร้อยละ 1.4

แน่นอนว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องของการดูแลรักษาสุขภาพ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ (Healthcare) ก็เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เกิดเครือข่ายการแพทย์ระบบดิจิทัล โดยมีคนไข้เป็นจุดศูนย์กลาง หรือที่เรียกว่า ดิจิทัลเฮลท์แคร์ (Digital Healthcare) ด้วยโซลลูชันครอบคลุมทั้งวงจร เชื่อมต่อระบบการปฏิบัติงานทางการแพทย์ทุกแขนงตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ

ในการประชุมวิชาการ Siriraj International Conference in Medicine and Public Health 2016 ในหัวข้อ “Innovation in Health” ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จะนำไปสู่ทิศทางในอนาคตว่ามีอยู่ 3 ส่วนด้วยกันคือ

การแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) เป็นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีชีวโมเลกุล มีการนำ Big Data มาใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค เลือกวิธีการรักษา และทำนายผลการรักษาได้แม่นยำขึ้น

การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร มาช่วยเพิ่มศักยภาพ การดูแลรักษาได้ในหลายบริบทที่มีข้อจำกัดและเพิ่มความเท่าเทียมให้ผู้ป่วยทุกระดับ

การแพทย์แห่งอนาคต (Future Medicine) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีการแพทย์ใหม่ๆ มาใช้เพื่อ อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน โดยเทคโนโลยีที่คาดว่าจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงหรือมีอิทธิพลต่อเครื่องมือแพทย์ในอนาคต ประกอบด้วย:

– ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) กับวงการแพทย์: AI มีความสามารถในการให้ข้อมูล ต่างๆ ของผู้ป่วยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ได้ทันทีที่ต้องการ อีกทั้งยังช่วยวางแผนการรักษาแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางโดยการนำ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยตรวจวินิจฉัย

– Blockchain Technology นำมาจัดทำระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเก็บข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวมีผลต่อประสิทธิภาพในการวินิจฉัย การรักษาของแพทย์ และการรักษาความ ปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วย

– การรักษาโรคแบบทางไกล (Telemedicine) โดยนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เช่น โทรศัพท์, คลื่นวิทยุ, คลื่นไมโครเวฟ, wi-fi, เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ, 3G, 4G, ดาวเทียม เป็นต้น มาช่วยในการตรวจวินิจฉัย รักษาโรค และดูแลผู้ป่วย เพื่อให้บริการสาธารณสุขเข้าถึงพื้นที่ห่างไกล และ ขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

– เทคโนโลยีการรักษาแบบอัตโนมัติ โดยแพทย์จะใช้เครื่องสแกนที่เป็นระบบ all in one ที่สามารถ สแกน และฉายรังสีได้ทันที ซึ่งแพทย์จะทำการสแกนและส่งข้อมูลต่างๆ ผ่านทางสมาร์ทโฟนได้

– หุ่นยนต์ทางการแพทย์ ทำหน้าที่ในการเข้ามาช่วยให้การดำเนินงานต่างๆ ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้หุ่นยนต์ทางการแพทย์สามารถแบ่ง ออกได้เป็น 3 กลุ่มตามการพัฒนาและประยุกต์ใช้ดังนี้:

หุ่นยนต์เพื่อตรวจคัดกรอง วินิจฉัย รักษา และผ่าตัด เช่น หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัด หุ่นยนต์เสริมการรังสีวินิจฉัย หุ่นยนต์ที่ใช้ระบบเซ็นเซอร์และคัดกรองแบบอัตโนมัติ เป็นต้น

หุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูทางการแพทย์ เช่น หุ่นยนต์เสริมสมรรถนะคนพิการ หุ่นยนต์บำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยทางสมอง แขนขาเทียมอัจฉริยะเป็นต้น

หุ่นยนต์เพื่อการบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข และการติดตามเฝ้าระวัง เช่น หุ่นยนต์ต้อนรับ ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์ช่วยเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หุ่นยนต์นำส่งยา หุ่นยนต์ใช้ในการตรวจสารทางเทคนิคการแพทย์ หุ่นยนต์ในระดับนาโน หุ่นยนต์ที่ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลและระบบการเฝ้าระวังทางไกล (Remote Monitoring System) เป็นต้น

อย่างไรก็ตามหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดได้ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์บ้างแล้ว เฉพาะในเอเชียมีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดอยู่กว่า 100 ตัว และสำหรับประเทศไทยมีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดอยู่ไม่น้อยกว่า 5 ตัว ซึ่งข้อดีของการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดก็คือ ขนาดของแผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็กมากกว่าการผ่าตัดปกติ, ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นบริเวณที่ผ่าตัดได้ชัดเจนในตำแหน่งที่เที่ยงตรง, ศัลยแพทย์สามารถควบคุมเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กซึ่งติดอยู่กับมือหุ่นยนต์จากระยะไกลได้ อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดก็มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถผ่าตัดหรือทำหัตถการในกรณีที่เป็นการผ่าตัดซับซ้อนในอวัยวะสำคัญๆ เช่น การผ่าตัดในทรวงอก หรือเส้นเลือดในสมอง และค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการผ่าตัดแบบธรรมดา

– การพิมพ์ 3 มิติ ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อและอวัยวะ เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ มีคุณสมบัติในการปรับแต่งสิ่งต่างๆ ให้เหมาะสมกับคนๆ นั้น ทำให้มีการคาดการณ์ว่า เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติจะถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์เพื่อช่วยซ่อมแซม หรือเปลี่ยนเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหาย มีการคาดการณ์ว่า ธุรกิจการพิมพ์ 3 มิติเพื่อการแพทย์จะมีมูลค่าสูงถึง 6 พันล้านเหรียญภายในปี 2025 โดยบริษัทที่ เป็นผู้น าในเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตินี้ ได้แก่ Stratasys Ltd., Arcam AB, Organovo Holdings Inc., Johnson & Johnson Services Inc. และ Stryker20

อ้างอิง: ฝ่ายวิจัยนโยบาย สวทช.

Sivadee

“The most technologically efficient machine that man has ever invented is the book” – Northrop Frye

See author's posts

Tags: การแพทย์แห่งอนาคต, ปัญญาประดิษฐ์, หุ่นยนต์ทางการแพทย์, อุตสาหกรรมการแพทย์, เทคโนโลยีทางการแพทย์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้