เกณฑ์มาตรฐานการ เจริญ เติบโต

การบอกว่าเด็กคนหนึ่งเติบโตดีตามปกติหรือไม่นั้นจะต้องวัดจากน้ำหนักส่วนสูงและส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแล้วเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามอายุ ถ้าอยู่ในระหว่างพิสัยปกติ คือ ค่าเฉลี่ย +2SD หรือจาก Percentile ที่ 3 ถึง Percentile ที่ 97 ถือว่าปกติตามอายุนั้น ๆ

ในชุมชนที่มีปัญหาเด็กขาดอาหารมากจึงมีการคำนวนแบ่งชั้นตามความรุนแรง (Modified Gomez's Classification) เพื่อประโยชน์ในการแบ่งคัดเด็กตามความรุนแรงสำหรับ

การดูแลรักษา
ตารางที่ 1 ระดับความรุนแรงของภาวะทุพโภชนาการ ดูกราฟน้ำหนักและส่วนสูงประกอบ

แต่การประเมินการเจริญเติบโตจากการวัดครั้งเดียว (cross sectional) นั้น มักมีข้อเสีย ตรงที่ไม่สามารถบอกการเพิ่มหรือการลดของขนาดตัวเด็กเพียงแต่บอกว่าขณะนั้นน้ำหนัก หรือส่วนสูงของเด็ก ถือเป็นปกติสำหรับวัยของเขาหรือไม่นั่นก็คือบอกภาวะเติบโตได้เฉพาะเมื่อเด็กมีภาวะทุพโภชนาการ ชัดเจนแล้วเท่านั้น การประเมินการเจริญเติบโตที่ดีจึงควรติดตามวัดเด็กเป็นระยะ บันทึกไว้และจุดลงในกราฟ (longitudinal)จะเห็นแนวโน้มของการเพิ่มและลดได้ชัดเจน ช่วยให้วินิจฉัยภาวะ "โตช้ากว่าที่ควร" ได้เร็ว ก่อนที่เด็กจะตกลงสู่ภาวะทุพโภชนาการ เพราะเป็นการเปรียบเทียบกับตัวเด็กเองว่าเปลี่ยนแปลงอย่างไรจึงดีกว่าที่จะเทียบกับค่าเฉลี่ยหรือเกณฑ์ปกติตามวัยอย่างเดียว เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านรูปร่าง ขนาดตัว และอุปนิสัยความเป็นอยู่

ถ้าเด็กเติบโตตามปกติ เส้นน้ำหนักที่จุดต่อกันจะขนานกับเส้น P50 ถ้ามีภาวะชะงักงัน โตช้า เส้นน้ำหนักจะราบ หรือถ้าน้ำหนักลดเส้นก็จะชี้ลงซึ่งแสดงว่าเด็กควรได้รับการตรวจเพื่อหาสาเหตุและ แก้ไขปัญหาก่อนที่จะกลายเป็นภาวะทุพโภชนาการรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้การติดตามความเปลี่ยนแปลงนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อการติดตามผลการรักษาหรือการให้โภชนบำบัดอีกด้วย

ในตลอดช่วงชีวิตมนุษย์ ส่วนสูงมีอัตราเพิ่มเร็วมากอยู่ 2 ช่วง คือระยะตั้งแต่ปฏิสนธิ ถึงอายุ 2 ปี และช่วงวัยรุ่น (รูปที่ 1) การเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ ระยะไตรมาสที่ 2 และ 3 ดูใน Intrauterine growth chart สำหรับส่วนสูงเฉลี่ยของเด็กวัยต่าง ๆ ดูได้จากตารางที่ 2.1

นอกจากความสูงแล้วยังดูความเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนช่วงตัวบนต่อช่วงตัวล่าง (upper : lower ratio) ในตารางที่ 2.2 และยังดูสัดส่วนช่วงแขนต่อความสูงที่เปลี่ยนไปตามวัยด้วย (span : height)

2. การเติบโตของส่วนสูงปกติ
2.1. ส่วนสูงเฉลี่ยของเด็กอายุต่าง ๆ

หมายเหตุ
1. ความสูงโดยประมาณเมื่อเป็นผู้ใหญ่จะเป็น 2 เท่าของความสูงเมื่ออายุ 2 1/2 ปี
2. อายุแรกเกิดถึง 3 ปี วัดส่วนสูงเป็นความยาวโดยวัดในท่านอนหงาย อายุเกิน 3 ปี วัดในท่ายืนตรง

2.2. สัดส่วนของความสูงอัตราส่วนช่วงบนต่อช่วงล่าง upper/lower ratio

หมายเหตุ
upper segment = ศีรษะถึงหัวเหน่า, lower segment = หัวเหน่าถึงส้นเท้า

2.3. สัดส่วนช่วงแขนต่อความสูง Span/Height Ratio
ช่วงกางแขน (Span) คือการวัดความยาวจากปลายนิ้วกลางข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่ง
ในท่ากางแขนเหยียดตรงไปข้าง ๆ ระดับไหล่
- แรกเกิดมีช่วงกางแขนสั้นกว่าความยาวของร่างกาย
- เด็กชายอายุ 7 ปี หรือเด็กหญิงอายุ 9 ปี มีช่วงกางแขนเท่ากับส่วนสูง
- วัยหนุ่มสาวหรือผู้ใหญ่มีช่วงกางแขนยาวกว่าส่วนสูง
- ช่วงกางแขนในเด็กชายจะยาวกว่าส่วนสูงประมาณ 2 ซม.
- ช่วงกางแขนในเด็กหญิงจะยาวกว่าส่วนสูงประมาณ 0.5-0.8 ซม.

ตารางที่ 3 น้ำหนักตัวเฉลี่ยของเด็กวัยต่าง ๆ

ตารางที่ 4 ขนาดรอบศีรษะเฉลี่ยของเด็กวัยต่าง ๆ

หมายเหตุ
1. ในระยะ 6 เดือน ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเดือนละ 1.5 ซม.
ในระยะ 6 เดือนหลัง ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเดือนละ 0.5ซม.
ในขวบปีที่ 2 ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปีละ 2-3 ซม.
ในขวบปีที่ 3 ขนาดรอบศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ปีละ 0.5-2 ซม.
อายุ 3-10 ปี ศีรษะจะมีขนาดใหญ่ขึ้น 1 ซม. ทุก ๆ 3 ปี

2. Anterior fontanelle ปิดเมื่ออายุ 18 เดือน
Posterior fontanelle ปิดเมื่ออายุ 6 สัปดาห์

ตารางที่ 5 Bone Age การปรากฎของศูนย์การเกิดกระดูกจากภาพรังสีของกระดูกมือและข้อมือใน เด็กชาย

หมายเหตุ
- การแปลผลภาพรังสีของศูนย์การเกิดกระดูก ให้ถือว่าเป็นปกติ ถ้าสูงกว่า อายุจริงไม่เกิน 1 ปี และต่ำกว่าอายุจริงไม่เกิน 2 ปี
- เด็กหญิงจะมีศูนย์การเกิดกระดูกเร็วกว่าเด็กชายเล็กน้อย

ตารางที่ 6 การเจริญเติบโตของฟัน (dental growth)
6.1. ฟันน้ำนม (deciduous teeth)

หมายเหตุ
1. มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่ฟันหน้าซี่บนขึ้นก่อนฟันหน้าซี่ล่างอายุที่ฟัน น้ำนมขึ้น ก็แตกต่างกันได้มาก
2. เด็กปกติบางคนฟันอาจจะขึ้นเมื่ออายุ 1 ปี หรือเด็กอาจจะมีฟันตั้งแต่ก่อน 6 เดือนได้ ฟันน้ำนมจะขึ้น ครบเมื่ออายุประมาณ 2 1/2 ปี
3. ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดเมื่ออายุประมาณ 6 ปี โดยมีฟันแท้ (Permanent teeth) 32 ซี่ ขึ้นตามลำดับดังนี้

6.2. ฟันแท้ (permanent teeth) .

ตารางที่ 7 การเจริญเติบโตในวัยรุ่น (pubertal changes : secondary sex characteristics)

7.1. ขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ (pubic hair) มีการเปลี่ยนแปลง แบ่งเป็น 5 ระยะ
ระยะที่ 1 ระยะก่อนวัยรุ่นยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
ระยะที่ 2 จะเริ่มมีขนที่เนินหัวเหน่า (mons pubis) บาง ๆและขนเป็นเส้นตรง มีสีดำเล็กน้อย
ระยะที่ 3 ขนจะดำ เส้นหยาบและขอดปลาย ขอบเขตมีเฉพาะที่ส่วนเนินหัวเหน่าที่อยู่ติดกับอวัยวะสืบพันธุ์
ระยะที่ 4 ขนมีลักษณะเหมือนของผู้ใหญ่ แต่ปกคลุมเฉพาะอยู่ที่เนินหัวเหน่ายังไม่ เป็นบริเวณรูปสามเหลี่ยม
ระยะที่ 5 ลักษณะขนเหมือนของผู้ใหญ่และขยายออกเป็นบริเวณสามเหลี่ยม โดยเกิดขึ้นที่ด้านในของต้นขา

ในเด็กชายและเด็กหญิงมีระยะการเติบโตของ pubic hair เหมือนกัน และการเติบโตของ pubic hair นี้ไม่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์

อะไรเป็นเกณฑ์ในการวัดการเจริญเติบโต

เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตของคนเหล่านั้นจะพิจารณาจากน้ำหนักตัวและส่วนสูงเป็นหลักซึ่งนิยมนำมาใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์ภาวะการเจริญเติบโตของวัยรุ่นในแต่ละคนว่ามีการเจริญเติบโตหรือมีพัฒนาการตามเกณฑ์มาตรฐานที่ควรเป็นหรือไม่หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นก็จะประเมินได้ว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงหรือมีปัญหา ...

เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตมีประโยชน์อย่างไร

การเรียนรู้เรื่องเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโต มีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไร ท าให้ทราบถึงการเจริญเติบโตทางร่างกายของตนเอง เพื่อน าไปสู่ การปรับปรุงหรือเสริมสร้างการเจริญเติบโตให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งทาให้เป็นผู้ที่มีสุขภาพดีและมีการเจริญเติบโตที่สมวัย

เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตล่าสุดของไทยทำขึ้นเมื่อพ.ศ.ใด

เกณฑ์อ้างอิงภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก 6-19 ปี กรมอนามัย (เริ่มพัฒนา 2558 เผยแพร่ 2564) กรมอนามัยได้พัฒนาเกณฑ์อ้างอิงภาวะการเจริญเติบโต ครั้งแรกเมื่อปี 2538 ทำการเผยแพร่เอกสารเมื่อปี 2543 และครั้งล่าสุด เริ่มพัฒนาเมื่อ 2558 ได้ทำการเผยแพร่เอกสารเมื่อ.2564.

เกณฑ์ที่ใช้ดูการเจริญเติบโตของทารกมีอะไรบ้าง

2.วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารกจากความยาว.
ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน เด็กหญิงควรตัวยาวขึ้น >/ 16 cm. เด็กชายควรตัวยาวขึ้น >/ 17 cm..
เด็ก 6-12 เดือนควรยาวเพิ่มขึ้นอีก >/ 8 cm. หรือเมื่ออายุ 1 ปีความยาวควรจะเป็น 1.5 เท่าของแรกเกิด.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้