สินเชื่อ ธอส ข้าราชการ 2565

การคำนวณเงินงวดผ่อนชำระและเงินงวดกำหนดวงเงินให้กู้ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จริง บวกร้อยละ 1.00 ต่อปี

หมายเหตุ

  • กรณีผู้กู้ถึงแก่ความตาย ให้ยกเว้นการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ นับแต่วันที่ธนาคารทราบข้อมูลการตายของผู้กู้จากระบบบำเหน็จค้ำประกัน
  • จนถึงวันที่กรมบัญชีกลางนำส่งเงินบำเหน็จตกทอดชำระหนี้เงินกู้ให้กับธนาคาร (วันที่ตามรอบปฏิทินที่กรมบัญชีกลางกำหนด)

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (EIR)
- กรณีลูกค้าสวัสดิการ    = 3.90%
-  กรณีซื้ออุปกรณ์ฯ    = 3.90%

หมายเหตุ

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ระบุเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย โดยคำนวณจากสมมติฐานวงเงินกู้ 1 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 20 ปี ผ่อนชำระตามเงินงวดของผลิตภัณฑ์

คุณสมบัติ / เอกสารที่ใช้สมัคร

คุณสมบัติ

เป็นผู้รับบำนาญหรือผู้รับบำเหน็จรายเดือนที่กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด ออกหนังสือรับรองสิทธิให้นำบำเหน็จตกทอดมาเป็นหลักประกันเงินกู้

เอกสาร

เอกสารส่วนบุคคล

  • บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการบำนาญ
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • ทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร (ถ้ามี)
  • ใบเปลี่ยนชื่อ / นามสกุล (ถ้ามี)

เอกสารแสดงทางการเงิน

สมุดบัญชีเงินฝากแสดงรายรับเงินบำนาญรายเดือนหรือผู้รับบำเหน็จรายเดือน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)

เอกสารหลักประกัน

  • หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน(ฉบับจริง)
  • กรณีซื้อที่ดินพร้อมอาคาร ซื้อห้องชุด ซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
  • หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญามัดจำ(สำเนา)
  • กรณีสร้าง/ต่อเติม/ขยาย/ซ่อมแซมอาคาร
  • ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร(สำเนา)
  • แบบก่อสร้าง/ต่อเติม/ขยาย/ซ่อมแซมอาคาร
  • กรณีไถ่ถอนจำนอง
  • สัญญากู้
  • สัญญาจำนอง
  • ใบเสร็จการผ่อนชำระย้อนหลัง 12 เดือน
  • กรณีซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสพดวกเพื่อที่อยู่อาศัย
  • ใบเสร็จรับเงิน/หลักฐานแสดงการซื้อหรือรายการอุปกรณ์ที่ประสงค์จะซื้อพร้อมราคาโดยประมาณ

หมายเหตุ

ในกรณีกู้ร่วม ขอให้ผู้กู้ร่วมมายื่นคำขอกู้พร้อมเอกสารของแต่ละท่าน
ในกรณีจำเป็น ธนาคารขอหลักฐานอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา

กรมบัญชีกลางทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคารและทำหน้าที่หักเงินบำนาญรายเดือนหรือผู้รับบำเหน็จรายเดือนของผู้กู้นำส่งชำระหนี้เงินกู้ให้กับธนาคาร

From: ฝ่ายนโยบายสินเชื่อธุรกิจและภาครัฐ [mailto:GovernmentPolicy@ghb.co.th] Sent: Tuesday, December 20, 2022 5:35 PM To: ฉัตรชัย โชติทิฆัมพร Cc: ทอปัด หรรษพงศธร; วราภรณ์ ภูษณรัตน์; พงษ์ศักดิ์ วนานุภัณฑ์; วรพงษ์ นิลวัชราภรณ์; ธิดา จิรไพศาลกุล; เลขาผอ.นส.; เลขาผอ.บสส; ฝ่ายนส-สบป; ฝ่ายนส-สนท Subject: (ตอบกลับ) RE: ขออนุเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่จะหมดระเวลา (สิ้นเดือนธันวาคม 2565) ในเว็บไซต์ธนาคาร เรียน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสำนักงานและกิจการสาขา ฝ่ายนโยบายสินเชื่อธุรกิจและภาครัฐ ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่จะหมดอายุสิ้นเดือน ธันวาคม 2565 ดังนี้ ระยะเวลาดำเนินการ ถึง 31 มกราคม 2566 o โครงการบ้าน ธอส. เพื่อสานรัก ปี 2565 o โครงการบ้าน ธอส เพื่อคุณ ปี 2565 o โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อบุคลากรภาครัฐ ปี 2565 ระยะเวลาดำเนินการ ถึง 29 ธันวาคม 2566

From: ฝ่ายนโยบายสินเชื่อธุรกิจและภาครัฐ [mailto:GovernmentPolicy@ghb.co.th] Sent: Tuesday, December 20, 2022 5:35 PM To: ฉัตรชัย โชติทิฆัมพร Cc: ทอปัด หรรษพงศธร; วราภรณ์ ภูษณรัตน์; พงษ์ศักดิ์ วนานุภัณฑ์; วรพงษ์ นิลวัชราภรณ์; ธิดา จิรไพศาลกุล; เลขาผอ.นส.; เลขาผอ.บสส; ฝ่ายนส-สบป; ฝ่ายนส-สนท Subject: (ตอบกลับ) RE: ขออนุเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่จะหมดระเวลา (สิ้นเดือนธันวาคม 2565) ในเว็บไซต์ธนาคาร เรียน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสำนักงานและกิจการสาขา ฝ่ายนโยบายสินเชื่อธุรกิจและภาครัฐ ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่จะหมดอายุสิ้นเดือน ธันวาคม 2565 ดังนี้ ระยะเวลาดำเนินการ ถึง 31 มกราคม 2566 o โครงการบ้าน ธอส. เพื่อสานรัก ปี 2565 o โครงการบ้าน ธอส เพื่อคุณ ปี 2565 o โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อบุคลากรภาครัฐ ปี 2565 ระยะเวลาดำเนินการ ถึง 29 ธันวาคม 2566

กรณีที่มีปัญหาข้อมูลเครดิตและต้องการขอสินเชื่อกับธนาคารนั้น ปัจจุบันสถานะบัญชีต้องปกติ ไม่อยู่ระหว่างถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรืออยู่ระหว่างประนอมหนี้ แนะนำให้ผู้กู้ไปตรวจสอบเครดิตกับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ก่อน จากนั้นนำเอกสารดังกล่าวพร้อมเอกสารการปิดบัญชีเข้าไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารต่อไป

a

กรณีที่มีอาชีพประจำ แต่ไม่มีสลิบเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือน ต้องทำอย่างไร

กรณีไม่มีหนังสือรับรองเงินเดือน หรือสลิบเงินเดือน ให้ลูกค้าเตรียมเอกสาร ดังนี้
-Statement เงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
-เอกสารการรับเงินเดือน หนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย (50ทวิ)
-เอกสารนำส่งเงินประกันสังคม ย้อนหลัง 12 เดือน

a

จะทราบวงเงินกู้ที่สามารถกู้ได้อย่างไร

แนะนำให้ลูกค้าเตรียมเอกสาร

-สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
-Statement เงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
-หลักฐานอื่น อาทิค่าผ่อนรถ ค่าบัตรเครดิต
เข้ามาติดต่อสาขาที่สะดวก เพื่อขอคำปรึกษาและให้เจ้าหน้าที่ทำการประเมินวงเงินกู้เบื้องต้น จากนั้นจึงมองหาบ้านในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ก่อนยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารอีกครั้ง

a

ในการยื่นกู้สามารถติดต่อได้ที่สาขาใดบ้าง

สามารถติดต่อได้ที่ธอส.ทุกสาขา หรือ www.ghbanksmart.com

a

กรณีหลักประกันไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของตนเอง แต่เป็นของบิดา/มารดา ต้องทำอย่างไร

ผู้กู้ทำการเพิ่มชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดก่อนทำการยื่นขอสินเชื่อหรือให้เจ้าของโฉนดมาเป็นผู้กู้ร่วมด้วย (ก่อนโอนกรรมสิทธิ์หรือเพิ่มชื่อฯ แนะนำให้ลูกค้าเตรียมเอกสารส่วนตัวและเอกสารแสดงรายได้มาติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อทำการประเมินวงเงินกู้เบื้องต้นก่อนเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหากกู้ไม่ได้ ลูกค้าจะได้ไม่เสียเงินฟรี)

a

คุณสมบัติหลักประกันกรณีขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร หรือปลูกสร้างอาคารบนที่ดินของตนเอง

หลักประกันที่จะซื้อหรือปลูกสร้างต้องมีลักษณะเป็น โฉนดที่ดิน(นส.4จ) หรือ นส.3ก หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด(อช.2) ธนาคารไม่รับพิจารณาหลักประกันเป็นที่ดิน สปก. และที่ดินเขตป่าสงวน

กรณีกู้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเองผู้กู้จะต้องมีกรรมสิทธิ์ในหลักประกันของบ้านที่จะทำ ทั้งนี้หลักประกันต้องมีศักยภาพในการใช้เป็นที่อยู่อาศัย คือมีทางสาธารณะตัดผ่าน สาธารณูปโภคครบเช่นไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าถึง

a

เอกสารประกอบการขอสินเชื่อมีอะไรบ้าง

เอกสารส่วนตัว

– บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
– ทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณะบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่ (หากมี)
– สำเนาใบเปลี่ยนแปลงชื่อ – สกุล (หากมี)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส(หากมี)

เอกสารแสดงรายได้

กรณีอาชีพประจำ

– หนังสือรับรองเงินเดือน/หนังสือรับรองสิทธิสวัสดิการ
– สลิบเงินเดือน หรือหลักฐานการรับเงินเดือน ย้อนหลัง 3 เดือน
– Statement เงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
– หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมตัวจริง)

กรณีอาชีพอิสระ

-Statement เงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
-หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมตัวจริง)
-สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนพาณิชย์/ทะเบียนบริษัท/ทะเบียนนิติบุคคล
-หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
-ภาพถ่ายกิจการ 3-4 ใบ
-สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
-สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าสั่งซื้อสินค้า
-หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมตัวจริง)

เอกสารหลักประกัน

– สำเนาหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย/สัญญาวางมัดจำ/สัญญาเช่าซื้อการเคหะแห่งชาติ และหนังสือรับรองยอดคงเหลือ (กรณีกู้ซื้อ)
– สำเนาหนังสือสัญญากู้เงิน และสำเนาสัญญาจำนองกับสถาบันการเงินเดิม (กรณีไถ่ถอนจำนองย้ายฯ)
– ใบเสร็จการผ่อนชำระ หรือบัญชีหมุนเวียน ย้อนหลัง 1 หรือ 2 ปี (กรณีไถ่ถอนจำนองย้ายฯ)
– หลักฐานการเป็นเจ้าของอาคาร
– สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
– สำเนาโฉนดที่ดิน/นส.3ก./หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า (กรณีซื้อทรัพย์มือสองต้องรับรองสำเนาโดยเจ้าพนักงานที่ดิน)
– ใบอนุญาตปลูกสร้าง/ต่อเติม
– แบบแปลน/พิมพ์เขียว
– ใบประมาณการปลูกสร้าง/สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง

a

การขอสินเชื่อมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการยื่นกู้ มีรายละเอียดดังนี้

ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ กู้ใหม่และกู้เพิ่ม
– วงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บาท ไม่เก็บค่าธรรมเนียม
– วงเงินกู้เกิน 500,000 บาท คิดค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.1 ของวงเงินทำนิติกรรม

ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาหลักประกัน
– วงเงินขอกู้ไม่เกิน 500,000.- ค่าธรรมเนียม 1,900.- / แห่ง
– วงเงินขอกู้ 500,001-3,000,000.- ค่าธรรมเนียม 2,800.- / แห่ง
– วงเงินขอกู้เกิน 3,000,000.- ค่าธรรมเนียม 3,100.- / แห่ง

ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (คิดเหมา) ค่าธรรมเนียม 1,000.- / ราย

ค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน ค่าจดจำนอง ร้อยละ 1 ของวงเงินกู้

ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ร้อยละ 2.5 ของราคาประเมิน หรือราคาซื้อขาย โดยใช้ราคาที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ ค่าอากร ร้อยละ 0.5 ตามราคาซื้อขาย แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน

a

ธนาคารพิจารณาวงเงินกู้จากอะไร

ธนาคารจะพิจารณาจากเกณฑ์รายได้ หลักประกัน LTV ภาระหนี้สินที่มี รวมถึงประวัติข้อมูลเครดิตต้องปกติ

a

ระยะเวลาการกู้สูงสุดกี่ปี

40 ปี แต่ระยะเวลาการกู้เมื่อรวมกับอายุผู้กู้ต้องไม่เกิน 70 ปี

a

ธนาคารพิจารณาวงเงินให้กู้อย่างไร (ก่อนมาตรการธปท.)

-กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไปพิจารณาวงเงินให้กู้ไม่เกิน 85% ของราคาประเมิน และราคาซื้อขาย

-กรณีลูกค้าสวัสดิการ พิจารณาวงเงินให้กู้ไม่เกิน 90-100% ของราคาประเมิน และราคาซื้อขาย

a

ผู้กู้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

  • อายุ 20 ปี ขึ้นไป
  • อายุงาน 1 ปี ขึ้นไป
  • มีรายได้แน่นอนเพียงพอต่อการผ่อนชำระเงินกู้
  • เงินงวดผ่อนชำระไม่เกิน 1 ใน 3 ของรายได้สุทธิ
  • มีหลักฐานแสดงรายได้ที่น่าเชื่อถือ
  • ผู้กู้ร่วมได้แก่ บิดา-มารดา คู่สมรส บุตร พี่-น้อง และ/หรือบุคคลอื่นได้ไม่เกิน 1 คน
  • ต้องมีรายได้เพียงพอในการผ่อนชำระ และร่วมพักอาศัยจริง
  • ประวัติข้อมูลเครดิต ต้องเป็นสถานะปกติ

a

ต้องการกู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่า สามารถทำได้หรือไม่

ไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินเปล่าได้ แต่สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคารในคราวเดียวกันได้

a

ธอส.มีวัตถุประสงค์การกู้เพื่ออะไรบ้าง

ธอส. ให้สินเชื่อเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • เพื่อซื้อบ้านพร้อมที่ดิน หรือห้องชุด
  • ซื้อที่ดินเปล่าพร้อมปลูกสร้างอาคาร
  • เพื่อปลูกสร้างอาคารบนที่ดินของตนเอง
  • เพื่อต่อเติม ขยาย ซ่อมแซมอาคาร
  • เพื่อชำระหนี้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
  • เพื่อไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น
  • เพื่อซื้ออุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องในการอยู่อาศัย
  • สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ
  • สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถานะ NPL หรือลูกหนี้ ที่ยังมีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้มาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร (M 21) (8)

a

ธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่านช่องทางใด?

ธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่าน  Application GHB ALL BFRIEND และ Line GHB Buddy

a

ลูกค้าสามารถชำระเงินงวดมากกว่าที่กำหนดไว้ได้หรือไม่?

สามารถชำระเงินงวดมากกว่าที่กำหนดไว้ได้ โดยธนาคารจะนำเงินที่ชำระเกินไว้ไปตัดดอกเบี้ยค้างชำระของลูกค้า (ถ้ามี)

a

หากมีบัญชีเงินกู้หลายบัญชี สามารถเข้าร่วมมาตรการ M21 ได้ทุกบัญชีหรือไม่?

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนร่วมมาตรการได้ทุกบัญชีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของมาตรการนั้นๆ

a

ลูกค้าสถานะปกติ จะขอเข้าร่วมมาตรการ M21 ได้หรือไม่?

มาตรการนี้ธนาคารให้สิทธิเฉพาะลูกค้าที่มีสถานะเป็น NPL

a

ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการเดิมอยู่ สามารถเข้าร่วมมาตรการ M21 ได้หรือไม่ อย่างไร?

ลูกค้าที่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้และยังมีสถานะเป็น NPL สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ M21 ได้ 

a

ลูกค้าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ (M21)?

เอกสารยืนยันรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน ภาพถ่ายกิจการ หรือ Statement เป็นต้น 

a

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนเพื่อขอเข้ามาตรการ (M21) ผ่านช่องทางใดได้บ้าง?

มาตรการ M21 สามารถลงทะเบียนผ่าน  Application GHB ALL BFRIEND ได้ช่องทางเดียว

a

ลูกค้ากลุ่มไหนบ้างที่สามารถเข้ามาตรการ (M21)ได้?

ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPL (DPD มากกว่า 90 วันขึ้นไป) และลูกหนี้ต้องกู้เงินจากธนาคารมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี (นับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาครั้งแรก จนถึงวันที่ยื่นคำร้องเข้าร่วมมาตรการ)

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถานะ NPLหรือลูกหนี้ที่ยังมีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้ มาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร (M17 และ M22) (7)

a

ธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่านช่องทางใด?

ธนาคารจะโทรศัพท์แจ้งผลการอนุมัติ ตามเบอร์โทรศัพท์ที่ลูกค้าลงทะเบียนเข้ามา

a

ลูกค้าสามารถชำระเงินงวดมากกว่าที่กำหนดไว้ได้หรือไม่ ?

สามารถชำระเงินงวดมากกว่าที่กำหนดไว้ได้ โดยธนาคารจะนำเงินที่ชำระเกินไว้ไปตัดดอกเบี้ยค้างชำระของลูกค้า (ถ้ามี)

a

หากมีบัญชีเงินกู้หลายบัญชี สามารถเข้าร่วมมาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารสำหรับลูกหนี้ “ มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน (M17 และ M22) ได้ทุกบัญชีหรือไม่?

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนร่วมมาตรการได้ทุกบัญชีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของมาตรการนั้น ๆ

a

ลูกค้าสถานะปกติจะขอเข้าร่วมมาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารสำหรับลูกหนี้ “ มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน (M17 และ M22) ได้หรือไม่?

มาตรการนี้ธนาคารให้สิทธิเฉพาะลูกค้าที่มีสถานะเป็น NPL และลงทะเบียนผ่านช่องทางที่กำหนดเท่านั้น

a

ลูกค้าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร สำหรับลูกหนี้ “ มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน (M17 และ M22)?

เอกสารยืนยันรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน ภาพถ่ายกิจการ หรือ Statement เป็นต้น 

a

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนเพื่อขอเข้ามาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร สำหรับลูกหนี้ “ มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน (M17 และ M22) ผ่านช่องทางใดได้บ้าง?

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ทาง www.bot.or.th/debtfair ของธปท. หรือลงทะเบียนใน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร” เท่านั้น

a

ลูกค้ากลุ่มไหนบ้างที่สามารถเข้ามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถานะ NPLหรือลูกหนี้ที่ยังมีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้ มาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร สำหรับลูกหนี้ “ มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน (M17 และ M22)ได้?

มาตรการ M17 ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPL (DPD มากกว่า 90 วันขึ้นไป) หรือเป็นลูกหนี้ที่ยังมีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้มาตรการ / หรือปรับโครงสร้างหนื้กับธนาคาร

มาตรการ M22 ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPL (DPD มากกว่า 90 วันขึ้นไป) และลูกหนี้ต้องกู้เงินจากธนาคารมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี (นับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาครั้งแรก จนถึงวันที่ยื่นคำร้องเข้าร่วมมาตรการ)

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถานะNPLหรือลูกหนี้ที่ยังมีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้ มาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร ปี 2565 (M20) (7)

a

ธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่านช่องทางใด?

ธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่าน  Application GHB ALL BFRIEND และ Line GHB Buddy

a

ลูกค้าสามารถชำระเงินงวดมากกว่าที่กำหนดไว้ได้หรือไม่?

สามารถชำระเงินงวดมากกว่าที่กำหนดไว้ได้ โดยธนาคารจะนำเงินที่ชำระเกินไว้ไปตัดดอกเบี้ยค้างชำระของลูกค้า (ถ้ามี)

a

หากมีบัญชีเงินกู้หลายบัญชี สามารถเข้าร่วมมาตรการ (M20) ได้ทุกบัญชีหรือไม่?

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนร่วมมาตรการได้ทุกบัญชีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของมาตรการนั้นๆ

a

ลูกค้าสถานะปกติจะขอเข้าร่วมมาตรการ(M20)ได้หรือไม่?

มาตรการนี้ธนาคารให้สิทธิเฉพาะลูกค้าที่มีสถานะเป็น NPL เท่านั้น

a

ลูกค้าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ (M20)?

เอกสารยืนยันรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน ภาพถ่ายกิจการ หรือ Statement เป็นต้น 

a

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนเพื่อขอเข้ามาตรการ (M20)?

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนผ่าน  Application GHB ALL BFRIEND ได้ช่องทางเดียวเท่านั้น

a

ลูกค้ากลุ่มไหนบ้างที่สามารถเข้ามาตรการ (M20)ได้?

ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPL (DPD มากกว่า 90 วันขึ้นไป) และลูกหนี้ต้องกู้เงินจากธนาคารมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2  ปี (ทำสัญญากู้เงินก่อนปี 2564)

สินเชื่อ (6)

a

ธนาคารมีวิธีการคำนวณดอกเบี้ยอย่างไร

ธนาคารใช้วิธีการคำนวณจากยอดเงินต้นคงเหลือ คูณด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้(%) คูณจำนวนวันในเดือน (30 หรือ 31 วัน) หารด้วยจำนวนวันในหนึ่งปี (365 หรือ 366 วัน)

a

ลูกค้าเดิมต้องการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยต้องทำอย่างไร

ลูกค้ารายย่อยสามารถขอลดอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระได้ หลังจากผ่อนชำระครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี โดยต้องมีประวัติการผ่อนชำระสม่ำเสมออย่างน้อย 24 เดือน และไม่อยู่ระหว่างประนอมหนี้

ลูกค้าสวัสดิการ สามารถขอเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้หลังจากครบกำหนดการใช้ดอกเบี้ยปีที่ 2

แต่ต้องตรวจสอบจากบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินอีกครั้ง เนื่องจากบางโครงการจะกำหนดข้อห้ามเช่น ห้ามปิดบัญชี หรือเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยภายในระยะเวลากี่ปี

a

อัตราดอกเบี้ยระหว่างบ้านใหม่ และบ้านมือสองแตกต่างกันหรือไม่

ไม่แตกต่าง อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับโครงการที่ลูกค้าเลือกใช้

a

การรับเงินงวดค่าปลูกสร้างงวดสุดท้ายต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

กรณีขอเลขที่บ้านใหม่

-ใบคำขอเลขที่บ้าน
-ใบอนุญาตปลูกสร้าง
-เอกสารการขอใช้น้ำ-ไฟฟ้า

กรณีปลูกสร้างอาคารทดแทนหลังเดิมแต่ไม่ต้องการเปลี่ยนเลขที่บ้าน(กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินเป็นของบุคคลอื่นและไม่ได้กู้ร่วม)

-ใบรับรองอนุญาตปลูกสร้าง ทด.13 หรือ ทด.14 (ต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานเขตหรืออบต.ในพื้นที่ ไม่สามารถใช้เฉพาะเอกสารขออนุญาตรื้อถอนได้)

a

หากผู้กู้ไม่มีเงินทุนสำรองในการปลูกสร้างธนาคารจะมีวิธีการช่วยเหลืออย่างไร

ธนาคารจะจ่ายเงินงวดให้แก่ลูกค้าก่อนมีผลงานการก่อสร้าง แต่ธนาคารจะบวกดอกเบี้ยเพิ่มร้อยละ 0.50 ต่อปี จนกว่าจะรับเงินงวดสุดท้ายแล้วเสร็จ

a

การจ่ายเงินงวดค่าผลงานการก่อสร้าง ธนาคารจ่ายเงินอย่างไร

ธนาคารจะจ่ายเงินงวดให้แก่ผู้กู้ โดยต้องมีผลงานการก่อสร้างอย่างน้อย 20%

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข (6)

a

สามารถขอกู้ตามโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตนได้กี่หลักประกัน

ลูกค้าสามารถใช้สิทธิยื่นกู้ตามโครงการนี้ได้เพียง 1 หลักประกันเท่านั้น ยกเว้นกรณีผู้ประกันตนใช้สิทธิกู้ร่วมกัน และมีการถอนชื่อออกจากการกู้ร่วมและกรรมสิทธิ์ร่วม สามารถใช้สิทธิยื่นคำขอกู้เงินตามโครงการนี้ในหลักประกันถัดไปได้ (โดยต้องยื่นกู้ และทำนิติกรรมได้ตามกำหนดระยะเวลาโครงการ)

a

เอกสารประกอบการยื่นกู้ตามโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน

1.รหัสเข้าร่วมโครงการที่ได้รับทาง Line GHB Buddy
2.หนังสือรับรองสถานะความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกจาก www.sso.go.th
3.เอกสารประกอบการยื่นกู้เป็นไปตามเกณฑ์ธนาคารกำหนด เอกสารส่วนตัว / เอกสารรายได้ / เอกสารหลักประกัน

a

ระยะเวลาโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน

สามารถยื่นกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2566 หรือจนกว่าจะเต็มกรอบวงเงิน และสามารถนิติกรรมได้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2567

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้