จาก ประโยค ที่ ว่า put the right man in the right job ตรง ตาม ตัว เลือก ใด

05 ก.พ. 2564 เวลา 8:19 น. 3.3k

การจัดคนให้ถูกกับงาน (Put the right man on the right job) ฟังดูง่าย แต่ทำยากมาก นายอภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา ผู้ก่อตั้ง และกรรมการบริหาร สลิงชอท กรุ๊ปอธิบายว่า

แนวทางเบื้องต้นในการจัดคนกับงาน ให้เหมาะกัน ประกอบไปด้วยสิ่งที่ต้องพิจารณา 3 ประการ

1. คุณลักษณะที่ต้องการ
2. คนที่มี
3. งานที่ต้องการใส่คนลงไป

เริ่มต้นจากคุณลักษณะที่ต้องการ ถ้าคิดง่ายๆ ปัจจัยสำคัญของการทำงาน ต้องการทักษะหลักๆ แค่ 4 ประการคือ ดู - พูด - คิด - ทำ จากนั้นลองพิจารณา “คนที่มี” ว่าใครมีจุดเด่นในด้านใด


คนที่มีจุดเด่นในด้าน ดู (ซึ่งหมายรวมถึงการฟังด้วย) จะเป็นคนละเอียด ช่างสังเกต

คนที่มีจุดเด่นในด้าน พูด จะเป็นคนพูดเก่ง นำเสนอดี

คนที่มีจุดเด่นในด้าน คิด จะเป็นคนช่างคิด ชอบเรียนรู้

คนที่มีจุดเด่นในด้านทำ จะเป็นคนร่างกายแข็งแรง ทำงานตามสั่งได้ดี

หลักบริหารที่นักบริหารหรือคนอยู่ในวงการบริหารคุ้นเคยและมั่นใจว่าเป็นหลักที่ถูกต้องสมควรยึดมั่นเพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพคือ “Put  the right man on the right  job”  หรือถอดเป็นภาษาไทยตรงตัวง่าย ๆ คือ “ใช้คนให้ถูกงาน”  หรือ “ใช้คนให้เหมาะสมกับงาน” ก็ย่อมได้

ความหมายของหลักบริหารที่ยกขี้นมาข้างต้นคือ การที่นักบริหารจะใช้ใครทำอะไรต้องพิจารณาว่า  งานนั้นเหมาะกับผู้ที่เรามอบหมายให้ทำหรือไม่  หรืออย่างน้อยที่สุดก็คือเมื่อเปรียบเทียบกับลูกน้องเราคนอื่น ๆ แล้ว  คนนั้นเหมาะที่สุดในการทำงานนั้น

ปัญหาในการบริหารของคนไทยโดยเฉพาะในอดีตที่ผ่านมาก็คือ  เราเคยชินกับการบริหารในหลักที่ขอเรียกในข้อเขียนนี้คือ “Put  the liked man on any job”  หมายถึงการ “ใช้คนที่พอใจในงานใดก็ได้”  หรืออาจจะให้หมายถึง “ใช้คนที่ไว้ใจในทุก ๆ งาน” ก็ได้

ทั้งนี้เกิดจากการที่ในบ้านเรามีวัฒนธรรมในการทำงานร่วมกันแบบระบบครอบครัวและระบบอุปถัมภ์มานาน   เพราะความเชื่อใจและวางใจในคนที่เป็นญาติพี่น้องและพรรคพวกว่า  จะจงรักภักดีและตั้งใจทำงานให้เรามากกว่าคนนอกวง   เหมือนอย่างคำพังเพยที่ว่า  “เลือดย่อมข้นกว่าน้ำ”

จะเห็นได้จากบริษัทหรือธุรกิจขนาดใหญ่ที่ก่อตั้งมานาน ๆ  มักจะมีคนที่เป็นเครือญาติกัน  นามสกุลเหมือนกันหรือเกี่ยวดองกัน  ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ในบริษัท  คนนอกถึงจะมีบ้างก็ไม่มากนัก  คนที่เป็นวงศาคณาญาติมักจะมีโอกาสสูงกว่าคนอื่นในการทำงาน  สามารถลัดเข้าสู่ตำแหน่งได้บนพื้นฐานของระบบครอบครัวที่ใช้หลักความผูกพันหรือไว้วางใจในการพิจารณา

ยิ่งในทางการเมืองยิ่งเห็นได้ชัด  เช่น ในระบอบประชาธิปไตย  เวลาแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี   คนตั้งต้องพิจารณาจากคนในพรรคการเมืองเดียวกันเป็นหลัก  ใครทุ่มเทให้พรรคมากก็จะมีโอกาสได้เป็นรัฐมนตรีสูง  ทั้ง ๆ ที่บางครั้งอาจจะดูไม่มีความสามารถเท่าที่ควร  พอดำรงตำแหน่งแล้วถูกล้อเลียนว่า  เป็น “รัฐมนตรีที่โลกลืม” ให้ได้ยินกันอยู่ คือไม่มีผลงานออกมาให้คนพูดถึงเลย

ในทางตรงกันข้าม เวลามีการปฏิวัติหรือรัฐประหาร  คณะรัฐมนตรีที่มาจากการยึดอำนาจก็คล้ายกัน  เรามักจะได้เห็นภาพลักษณ์ออกมาแบบยกกองทัพเอามาไว้ที่นี่   เอาคนที่เป็นแม่ทัพนายกองมาเป็นรัฐมนตรีเป็นทิวแถว   คนที่ควรจะได้ออกศึกสงครามอาวุธรบกับข้าศึกก็ต้องมาทำสงครามเศรษฐกิจ   เจอคนเก่งรอบรู้ปรับตัวได้ก็โชคดีไป  เจอคนที่เก่งเฉพาะเรื่องรบพุ่งก็ซวยไป   ทำไงได้ไม่ไว้ใจพวกเดียวกันแล้วจะให้ไว้ใจใครเล่า  จริงไหมครับ

ดังนั้นเฒ่าแก่ใหญ่ในบ้านเราสมัยก่อนจึงมักมีภรรยาหลายคนเพื่อจะได้มีลูกพอใช้   ไม่ใช่ความมักมากทางตัณหา  แต่เป็นไปเพื่อขยายสาขาหรือความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ

เพราะฉะนั้น ระบบ “Put  the liked man…..”จึงกลายเป็นวัฒนธรรมในการทำงานที่ปรากฏอยู่ในทุกสถานที่ทำงาน  บางแห่งอาจไม่มีปัญหาอะไร  แต่บางแห่งก็อาจจะกลายเป็นปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้บริษัทไม่พัฒนาหรือพัฒนาเหมือนกันแต่สู้กับองค์การที่ใช้หลัก “Put  the right  man…..” ไม่ได้

เพราะวันนี้  ธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าขนาดใหญ่ขนาดเล็กหรือขนาดปานกลางต้องตระหนักว่า  อยู่ในบรรยากาศการแข่งขันซึ่งต้องการความมีประสิทธิภาพเพื่อเอาชนะหรืออยู่เหนือคู่แข่งขัน  ต้องแสวงหาคนเก่งที่เหมาะสมกับงานมาเป็นจักรกลของบริษัทขับเคลื่อนให้สู้กับคู่แข่งได้

บางตระกูลแก้จุดอ่อนระบบครอบครัวด้วยการสร้างสายเลือดให้ขึ้นเป็นมืออาชีพ  ด้วยการส่งลูกหลานไปฝึกงานในบริษัทอื่น  จนกระทั่งคิดว่าได้ศักยภาพถึงระดับแล้ว  จึงค่อยดึงกลับมาบริหารกิจการของครอบครัว  บางครั้งไปฝึกงานในต่างประเทศเลยทีเดียว  เพื่อไม่ให้มีบรรยากาศของความเกรงใจ  ต่อเมื่อมีประสบการณ์เพียงพอจึงจะได้รับการมอบหมายให้ทำงานของวงศ์สกุล

จริง ๆ แล้ว  การพยายามหามืออาชีพมาทำงานให้น่าจะง่ายกว่าการสร้างสายเลือดให้เก่งกล้าขึ้นมา  หรือบางครั้งสายเลือดอาจมีไม่พอให้ปลุกปั้น  เพราะมืออาชีพนั้นเราสามารถกราดสายตาออกมองหาอย่างกว้างขวาง  ไม่เหมือนสายเลือดที่ต้องจำกัดเฉพาะสายตรงหรืออย่างมากก็วงศาคณาญาติ

วันนี้เราจึงได้เห็นบริษัทที่เคยมีภาพลักษณ์ของการบริหารแบบครอบครัว  เปลี่ยนโฉมเพื่อให้ทันความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย   บางบริษัทถึงขนาดเปลี่ยนชื่อเดิมจากชื่อเฉพาะตระกูล เช่น เอานามสกุลหรือชื่อเจ้าของเป็นชื่อบริษัท  เป็นชื่อกลาง ๆ  หรือชื่อต่างประเทศไปเลย   เพื่อไม่ให้มองว่าเป็นของใครคนใดคนหนึ่งหรือสกุลใดสกุลหนึ่ง

ตำแหน่งสำคัญ ๆ ของบริษัทก็มีผู้คนนามสกุลหลากหลายเข้าดำรงตำแหน่ง  ไม่ใช่ประธานกรรมการ รองประธาน  ผู้จัดการ นามสกุลเดียวกันหมด  หรือผู้จัดการนามสกุลต่างจากผู้อำนวยการก็จริงแต่เป็นคนที่ใช้นามสกุลเดิมของท่านประธาน  พูดง่าย ๆ คือเป็นเครือญาติเกี่ยวดองกัน  อย่างนี้ก็ถือเป็นระบบครอบครัวชัดเจน

การที่จะได้คนที่มีความรู้ความสามารถระดับมืออาชีพเข้ามาร่วมทำงาน  เรื่องสำคัญที่สุดก็คือผลประโยชน์ที่เขาจะได้จากการทำงานที่ต้องให้เขามีความพอใจจนถึงถึงขั้นถูกใจ  หรือมีส่วนได้เสียแบบหุ้นส่วนจนเขาคิดว่ากำไรของบริษัทส่งผลประโยชน์ให้เขาด้วย  ไม่ได้เป็นแค่ลูกจ้างรับเงินเดือนประจำเท่านั้น  อาจต้องให้เป็นหุ้นส่วนเลยทีเดียว

นอกเหนือผลประโยชน์บรรยากาศการทำงานก็เป็นเรื่องจำเป็น  อย่าให้มืออาชีพรู้สึกว่าตัวเขาต้องทำงานแบบ “ข้ามาคนเดียว”   ต้องให้ความร่วมมือให้ความเคารพในการทำงานของเขา  อย่าให้เกิดความรู้สึกถูกกีดกันถูกบล๊อคงานด้วยคนวงในหรือกลุ่มญาติพี่น้อง  อย่าใช้มติที่ประชุมเป็นการตัดสินใจขององค์กร  เพราะเสียงข้างมากของที่ประชุมมักถูกมองว่าเป็นของวงศ์ตระกูล

ที่เขียนมาข้างต้นนี้  เป็นการชี้ให้เห็นว่า  ที่มาของหลักการ “Put  the liked man on any job” นั้นมีความเป็นมาอย่างไร   สิ่งที่อยากเสนอแนะต่อไปก็คือ  ถ้าเราเป็นนักบริหารจะดำเนินการอย่างไรจึงจะถือว่าเป็นไปตามหลัก “Put  the right man on the right  job”  โปรดติตามตอนต่อไป

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้