จากจดหมายเหตุจีน “เมืองหลอหู” คืออาณาจักรใด

  • อาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทย

    อาณาจักรโบราณในภาคต่างๆในดินแดนประเทศไทย

    อาณาจักรโบราณในภาคกลาง
    1) อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นอาณาจักรสมัยประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานแน่นนอนแห่งแรกบนผืนแผ่นดินไทย เรื่องราวของทวารวดีปรากฏอยู่ในบันทึกการเดินทางของหลวงจีนอี้จิง ที่เรียกชื่อในบันทึกว่า “โถ-โล-โป-ตี้” ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและอาจมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐม เพราะพบเหรียญที่นครปฐมมีจารึกภาษาสันสกฤตว่า “ศรีทวารวตีศวรปุณย” แปลว่า “การบุญของผู้ใหญ่ศรีทวารวดี” ในการขุดค้นทางโบราญคดีที่เมืองนครชัยศรี (นครปฐม) ได้พบหลักฐานสมัยทวารวดีจำนวนมาก เช่น ธรรมจักรศิลา พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรมรวมถึงโบราญสถานขนาดใหญ่
    นอกจากนี้ยังมีการค้นพบจารึกโบราณที่เขียนด้วยภาษามอญได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนแบบแผนในการปกครองจากอินเดีย เกิดการผสมผสานจนเป็นอารยธรรมทวารวดีที่แพร่หลายไปยังภูมิภาคต่างๆของไทย ทางด้านศาสนาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาโดยเฉพาะนิกายเถรวาทจนทำให้ทวารวดีกลายเป็นอาณาจักรของชาวพุทธให้ความสำคัญต่อการทำบุญ ทั้งสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญในสมัยทวารวดีและยังปรากฏให้เห็นจนปัจจุบัน คือ พระปฐมเจดีย์(องค์เก่า) ที่จังหวัดนครปฐม
    2) อาณาจักรละโว้(พุทธศตวรรษที่12-18) ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน ละโว้เป็นเมืองสำคัญหนึ่งในสมัยทวารวดี ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแม่น้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่านคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรีทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ และมีเส้นทางติดต่อกับเมืองในลุ่มแม่น้ำป่าสัก ที่ราบสูงโคราช และเขตติดต่อกับทะเลสาบเขมร เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างชุมชนโดยรอบ ส่งผลให้ละโว้กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเศรษฐกิจดี เมื่อพวกขอมหรือเขมรขยายอิทธิพลเข้ามาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ละโว้ได้กลายเป็นเมืองประเทศราชของขอมและได้รับอารยธรรมของขอมด้วย
    ด้านเศรษฐกิจ อาชีพสำคัญของชาวละโว้คือการเกษตร เพรามีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนต่างถิ่น เช่น จีน อินเดีย หลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อค้าขาย เช่น เครื่องถ้วยจีน และละโว้ยังได้ส่งทูตไปยังเมืองจีน โดยจดหมายเหตุจีนในพุทธศตวรรษที่17-19 เรียกละโว้ว่า “เมืองหลอหู”
    ละว้าภายใต้อิทธิพลขอม พระพุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้เข้ามามีบทบาทในละโว้แทนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1861) มีการสร้างสถาปัตยกรรม และประติมากรรมตามความเชื่อในศาสนาเหล่านี้ เช่น พระปรางค์สามยอด ปรางค์แขก เทวรูปพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร
    ------------------------------


    อาณาจักรโบราณในภาคเหนือ

    1) อาณาจักรโยนกเชียงแสน(พุทธศตวรรษที่ 12-19) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงแสน (อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) เรื่องราวของอาณาจักรโยนกเชียงแสน ปรากฏอยู่ในตำนานสิงหนวัติกุมารและตำนานลวจังกราช กล่าวถึงเจ้าชายสิงหนวัติกุมาร ผู้สืบเชื้อสายเจ้านายไท จากมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน ได้อพยพผู้คนลงมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 มาก่อตั้งเมืองที่เชียงแสน ชื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ต่อมาพวกขอมเข้ายึดครองอาณาจักรโยนกเชียงแสน และขับไล่ผู้ปกครองเดิมออกไป พระเจ้าพรหมกุมารเชื้อสายของกษัตริย์โยนกเชียงแสนสามารถกอบกู้เอกราช และสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เวียงชัยปราการ แต่หลังพระเจ้าพรหม พวกขอมที่เมืองสะเทินในพม่ายกทัพมารุกราน พระเจ้าไชยสิริโอรสของพระเจ้าพรหมจึงพาผู้คนอพยพหนีมาสร้างเมืองใหม่ที่กำแพงเพชร จนกระทั่งในพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรโยนกเชียงแสนจึงถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา
    2) อาณาจักรหริกุญชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-19) ตั้งอยู่ที่เมืองหริกุญชัยหรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน ตำนานจามเทวีวงค์หรือตำนานเมืองหริกุญชัยกล่าวว่า ฤาษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริกุญชัย และขอให้กษัตริย์ละโว้ส่งเชื้อสายพระวงศ์มาปกครอง ละโว้จึงส่งพระนางจามเทวีผู้เป็นพระราชธิดามาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งหริกุญชัย จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 พระอาทิตยราชได้ปกครองหริกุญชัย และได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองโดยเฉพาะการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงสร้างพระธาตุหริกุญชัย สร้างวัดทำให้บ้านเมืองมีความสงบสุข
    3) อาณาจักรล้านนา(พุทธศตวรรษที่ 19-25) มีศูนย์อยู่ที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่(จังหวัดชียงใหม่) ผู้ก่อตังอาณาจักรล้านนา คือ พระยามังรายมหาราช(พ.ศ. 1804-1854) ซึ่งเดิมปกครองเมืองเชียงแสน ขณะนั้นในภาคเหนือมีอาณาจักรน้อยใหญ่หลายแห่ง เช่น หริกุญชัย เขลางค์ (ลำปาง) โยนกเชียงแสน พระยามังรายมหาราชสามารถปราบปรามและรวบรวมแว่นแค้วนต่างๆ ในภาคเหนือเข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรล้านนาและตั้งราชธานีแห่งใหม่ขึ้นที่เวียงกุมกาม แต่ประทับอยู่ไม่นานก็ย้ายเมืองอยู่ที่เชียงใหม่ใน พ.ศ.1839 อาณาจักรล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองหลายด้าน ที่สำคัญดังนี้
    3.1) ด้านภาษา ล้านนามีตัวอักษรใช้สามแบบ คือ อักษรธรรมล้านนาหรืออักษรตัวเมือง อักษรฝักขามที่ดัดแปลงมาจากตัวอักษรของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และอักษรขอมเมืองหรืออักษรไทยนิเทศ
    3.2) ด้านการปกครอง สามารถขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางโดยรวบรวมหัวเมืองต่างๆเข้าเป็นส่วน หนึ่งของอาณาจักรล้านนาซึ่งปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีกฎหมายที่ใช้ปกครองเรียกว่า “มังรายศาสตร์”
    3.3) ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัยและพม่ามีการสังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ.2020 เป็นครั้งที่ 8 มีการสร้างวัดหลายแห่ง เช่น วัดเจดีย์หลวง วัดโพธารามมหาวิหาร(วัดเจดีย์เจ็ดยอด) เป็นต้น
    ----------------------


    อาณาจักรโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    1) อาณาจักรโคตรบูรณ์(พุทธศตวรรษที่ 12-16) มีศูนย์กลางอยู่ที่นครพนมมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวะนออกเฉียงเหนือ ตลอดจนดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง
    เรื่องราวของอาณาจักรโคตรบูรณ์ปรากฏอยู่ใน “ตำนานอุรังคธาตุ”ที่กล่าวถึงความเป็นมาของชุมชนในอาณาจักร และประวัติการสร้างพระธาตุพนม อาณาจักรโคตลบูรณ์ได้รับอิทธิพลจากอินเดียมีการปกครองโดยกษัตริย์นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทตามแบบทวารวดีและมีความเชื่อพื้นเมืองเรื่องการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการบูชาพญานาคศาสนสถานที่สำคัญของอาณาจักร คือ พระธาตุพนม
    2) อาณาจักรอิศานปุระ(พุทธศตวรรษที่ 12-18) หรืออาณาจักรขอมรุ่งเรืองขึ้นในสมัยพระเจ้าอิศานวรมัน เรื่องราวของอาณาจักรอิศานปุระหรือเจนละ ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุจีนราชวงศ์ต่างๆและในยันทึกของราชทูตจีน ชื่อ โจว ต้ากวน เขียนบันทึกเรื่องราวของอาณาจักรเจนละไว้ในชื่อ “บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจนละ” สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นยุคที่อาณาจักรขอมเป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปะวิทยาการสูงสุด มีการสร้าง ศาสนสถานเป็นปราสาทหินขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่ง เช่น ปราสาทนครธม ปราสาทตาพรหม ปราสาทหินพิมายจังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น อาณาขอมได้เผยแพร่อารยธรรมไปยังรัฐที่อยู่ใกล้เคียงหลายด้าน ทั้งด้านการปกครอง ได้แก่ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ความเป็นสมมติเทพของกษัตริย์ ระบบขุนนางการปกครองแบบจตุสดมภ์ และกฎหมายพระธรรมศาสตร์
    ด้านศาสนาและความเชื่อได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนานิกายอาจริยวาทหรือมหายาน ดังจะเห็นได้จากโบราณสถานและโบราณวัตถุ เช่น ปราสาทหิน เทวรูปพระโพธิ์สัตว์ ศิวลึงค์ พระพุทธรูปปางนาคปรก ความเชื่อเรื่องพญานาค เป็นต้น
    -------------------


    อาณาจักรโบราณในภาคใต้

    1) อาณาจักรลังกาสุกะ (พุทธศตวรรษที่ 7-14) มีอาณาเขตควบคลุมพื้นที่ในจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พัฒนาขึ้นมาจากการเป็นเมืองท่าสำคัญที่มีการติดต่อกับต่างชาติโดยเฉพีจนและ อินเดียแต่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีนมากกว่าโดยส่งทูตไปเมืองจีนถึง 6 ครั้ง เป็นศูนย์กลางสำคัญของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่อำเภอยะรังจังหวัดปัตตานี พบประติมากรรมสำริดพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร และสถูปจำลองรูปทรงต่างๆจำนวนมาก
    2) อาณาจักรตามพรลิงค์ (พุทธศตวรรษที่ 13-18) มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช มีหลักฐานที่กล่าวถึงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 โดยเอกสารอินเดียโบราณกล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์ในชื่อ “ตมลิง” “ตัมพลิงค์” เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถัง เรียกว่า “ถ่ามเหร่ง”สมัยราชวงศ์ซ่งเรียกว่า “ต่านหม่าลิ่ง” ต่อมาเรียกว่า “อาณาจักรนครศรีธรรมราช”
    ด้านศาสนา พุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าจันทรภานุศรีธรรมาโศกราชทรงยกทัพไปโจมตีลังกา 2 ครั้ง เพื่อแย่งชิงพระทันตธาตุจากลังกา ทำให้อิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ลัทธิลังวงศ์และศิลปะแบบลังกาเข้ามาเผยแผ่และฝังรากลึกอยู่ในอาณาจักรนครศรีธรรมราช ศาสนวัตถุที่สำคัญ คือ พระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราชพระพุทธรูปประทับยืนสำริดปางประธานธรรม ทำให้นครศรีธรรมราชกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนไทย ซึ่งพระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชได้นำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ไปเผยแผ่ยังกรุงสุโขทัยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
    3) อาณาจักรศรีวิชัย(พุทธศตวรรษที่ 13-19) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่เกาะชวาในอินโดนีเซีย ขึ้นมาถึงอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อนึ่ง มีนักวิชาการบางท่านเชื่อว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่อำเภอไชยา
    ด้านศาสนา ในระยะแรกอาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยานับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนานิการมหายาน ต่อมานับถือพระพุทธศาสนานิการเถรวาทจากทวารวดี และพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชดังปรากฏศาสนสถานและศาสนาวัตถุในศาสนาต่างๆ เช่น พระบรมธาตุไชยา อำเภอไชยา พระพุทธรูปปางนาคปรกสำริด ที่วัดหัวเวียงอำเภอไชยา เทวรูปพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร วัดศาลาทึง อำเภอไชยา


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก: พัฒนาการของอาณาจักรโบราณในภาคต่างๆใŨ

  • Toplist

    โพสต์ล่าสุด

    แท็ก

    ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้