กลุ่ม อาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. หมาย ถึง

อาหารในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสด้วย

 

โดยปัจจุบันนี้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้รวมตัวกันเป็นชมรมหรือสหกรณ์ นำวัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นการช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น เครื่องดื่มทำจากผลไม้ท้องถิ่น เครื่องดื่มจากสมุนไพร กะปิ น้ำปลา ขนมหวาน อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ผู้ผลิตอาจต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป

 

กลุ่มอาหารที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย.

อาหารกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ไม่แปรรูปหรือถ้าแปรรูปก็จะใช้กระบวนการผลิตง่าย ๆ ในชุมชน ผู้บริโภคจะต้องนำมาปรุงหรือผ่านความร้อนก่อนบริโภค อาหารกลุ่มนี้ผู้ผลิตที่มีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่าย โรงงาน ( ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือคนงานน้อยกว่า 7 คน ) สามารถผลิตจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมาขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และ ยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แต่ต้องแสดงฉลากอาหารที่ถูกต้องไว้ด้วย

 

กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย.

อาหารกลุ่มนี้เป็นอาหารที่มีการแปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูป หรืออาหารสำเร็จรูปแล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับต่ำ ปานกลางหรือ สูง แล้วแต่กรณี ได้แก่ อาหารที่ต้องมีฉลาก อาหารกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน หรืออาหารควบคุมเฉพาะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือจดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดของอาหารแต่ละชนิดแล้วแต่กรณี ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

 

เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียมเพื่อขอจัดตั้งโรงงาน / สถานที่ผลิต

  1. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ
  3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
  4. สำเนา ภพ.20 ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือ บริษัท ( กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ )
  6. แผนที่ตั้งของร้าน หรือ บริษัท
  7. แผนผังภายในร้าน หรือ บริษัท ระบุสถานที่ผลิต,บรรจุ,เก็บสินค้า ให้ชัดเจน
  8. สินค้าตัวอย่างพร้อมฉลาก

 

อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตอาหาร

  1. ใช้คนงานตั้งแต่ 7 – 19 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 3,000 บาท
  2. ใช้คนงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 5,000 บาท
  3. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5 – 91 แรงม้า 6,000 บาท
  4. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 10 – 24 แรงม้า 7,000 บาท
  5. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 25 – 49 แรงม้า 8,000 บาท
  6. ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 50 แรงม้า ขึ้นไป 10,000 บาท

สำหรับกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น (ฟรี)

 

หลักฐานสำคัญเพื่อใช้ขอรับเลขสารบนอาหาร (อย.)

  1. ใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียด ( แบบ สบ.5 ) จำนวน 2 ฉบับ
  2. สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต
  3. ใบรับรองสถานที่ผลิตอาหารที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP

 

สรุป 4 ขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.

  1. จัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี ( GMP: GOOD MANUFACTURING PRACTICE )
  2. จัดเตรียมเอกสาร โดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารทุกแห่ง
  3. ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจ สถานที่
  4. ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุม เฉพาะอาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก

 

สถานที่ยื่นคำขออนุญาต

ในกรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ ( One stop service center ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

 

กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัด

ให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้นๆ นี่คือเรื่องพื้นฐานในทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สันทัดในการเดินเอกสารก็มีหลายบริษัทที่เข้าทำหน้าที่รับดำเนินการแทน แต่เราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางที่ดีเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยากทำเองก็จะช่วยลดต้นทุนได้ดีกว่า สำคัญคือสินค้าเรามีคุณภาพสถานที่ผลิตได้มาตรฐานทุกอย่างก็ผ่านอนุมัติง่ายและเร็ว

        คราวนี้ก็ไม่ต้องหลงเชื่อคำโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริงของผลิตภัณฑ์ที่อ้างเครื่องหมาย อย. ที่ไม่ถูกต้องกันแล้ว เพราะเราสามารถดูและพิจารณาได้เองว่าเครื่องหมาย อย. แบบไหนควรอยู่ในผลิตภัณฑ์ใด และเลขในเครื่องหมายนั้นมีความหมายบ่งบอกถึงอะไรบ้าง แบบนี้สิถึงเรียกได้เต็มปากว่าเป็นผู้บริโภคสมัยใหม่…และการเป็นคนสุขภาพดีมีคุณภาพนั้นจะต้องรู้จักคิดและเลือกให้เป็นด้วยนะคะ

หลายคนคงจะเคยได้ยินและคงจะคุ้นชินกันเป็นอย่างดีกับคำว่า อย. ซึ่งเราก็มักจะเคยพบเจอกันอยู่บ่อยครั้งบนฉลากอาหารหรือตามยาต่าง ๆ แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่า เครื่องหมาย อย. คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร

ซึ่งในบทความนี้เองเราก็จะตามมาเจาะลึกถึงหน้าที่ และประโยชน์ของเจ้าเครื่องหมาย อย. นี้กันว่ามันทำหน้าที่อะไรและมีความสำคัญกับการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างไรบ้างและถ้าทุกท่านพร้อมแล้วเราก็ตามมาดูไปพร้อมกันเลย

เครื่องหมาย อย. คือ เครื่องหมายที่ไว้ใช้เพื่อแสดงหรือบ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ได้รับการการันตีว่ามีคุณภาพ และผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้วนั่นเอง ซึ่งเครื่องหมายเหล่านี้ก็จะทำให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า สินค้าที่เราซื้อมานั้นจะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ

ซึ่งเครื่องหมาย อย. นอกจากจะใช้กับอาหารและยา ก็ยังสามารถใช้ได้กับ อาหารควบคุม เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย เป็นต้น ซึ่งประโยชน์ของ เครื่องหมาย อย. ก็มีดังนี้

ประโยชน์ของเครื่องหมาย อย. มีอะไรบ้าง

  • เครื่องหมาย อย. ช่วยให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสถานที่และชื่อบริษัทที่ทำการผลิตหรือจดแจ้งได้
  • เครื่องหมาย อย. ช่วยให้สามารถรับสิทธิคุ้มครองจากคณะกรรมการอาหารและยาได้ หากเกิดอันตรายจากผลิตภัณฑ์ที่มี อย.
  • เครื่องหมาย อย. ช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และรู้เท่าทันภัยที่มาจากสินค้าเหล่านี้ รวมไปถึงการที่มีผู้บริโภคสามารถทราบส่วนผสมที่ทางผู้ผลิตได้จดแจ้งไว้กับ อย. เพื่อความปลอดภัยของตนเองได้อีกด้วย
  • เครื่องหมาย อย. ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้ด้วยการสังเกต สัญลักษณ์ อย. ซึ่งทำให้เป็นการสร้างมาตรฐานในการสังเกตเหล่าสินค้าต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจและสังเกตได้ง่ายขึ้นได้อีกด้วย
  • เครื่องหมาย อย. ทำให้ผู้บริโภครู้สึกปลอดภัย เพราะหน่วยงานของ อย. เองจะมีการตรวจผลิตภัณฑ์ ก่อนการจดแจ้งหรือสุ่มตรวจสินค้าอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าสินค้าที่มีสัญลักษณ์จะมีคุณภาพและปลอดภัยอยู่เสมอ
  • เครื่องหมาย อย. มีส่วนสำคัญสำหรับผู้ประกอบการเอง หากสินค้าของท่านมีเครื่องหมาย อย. ก็จะยิ่งทำให้แบรนด์และผลิตภัณฑ์ของท่านได้รับความน่าเชื่อถื อและความไว้วางใจจากผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้สามารถสร้างฐานลูกค้า และผลกำไรตามมาได้อย่างมากมาย

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวสาระความรู้เกี่ยวกับ เครื่องหมาย อย. ที่เราได้นำมาฝากทุกท่านกันในบทความนี้ แน่นอนว่าในยุคที่การค้าขายก้าวไกลผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ก็มีบทบาทในท้องตลาดมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่จะช่วยเสริมการตัดสินให้เราได้ก็คงต้องมาจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ดังนั้นหากคุณกำลังมองหาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของใช้จำเป็นให้ทุกท่านจำไว้เลยว่า สิ่งหนึ่งที่เราควรสังเกตเลยก็คือเครื่องหมาย อย. เพื่อความมั่นใจ และความปลอดภัยให้ตัวคุณหรือคุณที่คุณรักได้ด้วยนั่นเอง

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที

อยเป็นเครื่องหมายสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทใด

เครื่องหมาย อย. คือ สัญลักษณ์ที่ย่อมาจาก “สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา” หรือ Food and Drug Administration เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์สุขภาพนั้น ๆ ได้ผ่านการพิจารณาด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย ถูกต้อง ตรงตามมาตรฐานเกณฑ์การผลิต หรือการนำเข้า จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

อาหารประเภทใดบ้างที่ต้องมีอย.

1.ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ 2.แป้งข้าวกล้อง3.น้ำเกลือปรุงอาหาร4.ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท5.ขนมปัง 6.หมากฝรั่งและลูกอม7.วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี 8. กำหนดกรรมวิธี การผลิตอาหารซึ่งมี การใช้กรรมวิธีการ ฉายรังสี9.

ทำไมอาหารต้องมี อย

ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ช่วยส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และรู้เท่าทันผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบแหล่งที่มา สถานที่และหน่วยงานที่ทำการผลิตหรือเลขจดแจ้งได้ ผู้บริโภคสามารถรับสิทธิ์คุ้มครองจากคณะกรรมการอาหารและยา หากเกิดอันตรายจากผลิตภัณฑ์ที่มี อย.

ผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. แบ่งออกเป็นกี่กลุ่ม

ตัวอย่าง เครื่องหมาย อย. : เลขสารบบอาหาร โดยกำหนดให้ต้องแสดงเครื่องหมาย อย. : เลขสารบบอาหาร บนฉลากอาหาร 3 กลุ่ม (ตามการแบ่งกลุ่มประเภทอาหาร) ดังต่อไปนี้ 1. อาหารควบคุมเฉพาะ เช่น เครื่องดื่ม อาหารบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท และนมพร้อมดื่ม (ที่ผลิตจากนมโค) ไอศกรีมดัดแปลงสำหรับทารกเป็นต้น

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้