พฤติกรรม Fomo ควรนำไปประยุกต์ใช้กับผู้บริโภคกลุ่มใดมากที่สุด

10 ก.ย. 2022

ทำไมเราถึงรู้สึกว่าสินค้าแทบจะทุกชิ้นที่ออกมาใหม่ของ Apple นั้น “มีคุณภาพ” ?

ทำไมเราถึงรู้สึกว่ายิ่งสินค้าชิ้นไหนขายดี หรือราคาแพง
นั่นหมายถึงคุณภาพของสินค้า จะดีตามไปด้วย ?

แล้วทำไมเรามักรู้สึกว่าแบรนด์ที่ใช้สีเขียวนั้น จะดูมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่าสีอื่น ?

และรู้หรือไม่ว่า ความรู้สึกทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเรื่องของ “จิตวิทยา”
หรือเรื่องที่เล่นกับ “จิตใจคน” โดยในปัจจุบันก็มีหลายแบรนด์ที่นำเรื่องของจิตวิทยา มาปรับใช้กับการตลาด แถมได้ผลดีจนหลายคนไม่รู้ตัวเสียด้วย..

ทั้งนี้การตลาดโดยอาศัยหลักจิตวิทยานั้นมีข้อดีคือ เป็นการตลาดที่แทบจะไม่ต้องสนใจว่า กลุ่มเป้าหมายจะอยู่ Segment ไหน, Gen อะไร, รายได้เยอะเท่าไร
เพราะสุดท้ายแล้ว ทุกคนก็คือมนุษย์ที่ต้องใช้สมอง + อารมณ์ ในการตัดสินเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตอยู่ดี

พูดง่าย ๆ คือ การนำหลักจิตวิทยามารวมกับกลยุทธ์การตลาด สามารถใช้ทำตลาดได้แทบทุกระดับ ตั้งแต่ตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ไปจนถึงตลาดขนาดใหญ่ (Mass Market) เลยทีเดียว

บทความนี้ จึงรวบรวม “อาการทางจิตวิทยา” ที่มักเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว
และแบรนด์สามารถหยิบไปใช้เป็นกลยุทธ์ เพื่อสร้างการรับรู้หรือเพิ่มยอดขายได้ง่าย ๆ มาแนะนำกัน..

อย่างแรกคือ “Halo Effect”
การที่แบรนด์นำ “อคติในใจคน” มาใช้เพิ่มยอดขาย

เพราะสมองของคนเรามีขีดจำกัดของการรับข้อมูลเข้ามาอยู่พอสมควร และเพื่อจัดการกับข้อมูลมหาศาลที่คนเรารับมาโดยไม่รู้ตัว สมองจะมีการทำปฏิกิริยาเพื่อลดขั้นตอนการประมวลผลซ้ำซ้อนอยู่เสมอ

เช่น หากคนเรากำลังมองเห็นผู้ชายหน้าตาดีคนหนึ่ง นั่นหมายความว่า สมองของเรากำลังรับข้อมูล หน้าตาของเขา, เสื้อผ้าที่เขาใส่, สถานที่ที่เขาอยู่ และข้อมูลอื่น ๆ พร้อม ๆ กัน

ดังนั้นเพื่อลดขั้นตอนการประมวลผล สมองของเราจะสั่งการให้เราจดจำแต่ลักษณะที่โดดเด่นของสิ่งนั้น ๆ ก่อน

ซึ่งในกรณีนี้ สมองของเราจะจดจำผู้ชายคนดังกล่าวว่า “เป็นคนหน้าตาดี” และส่งผลให้คนเราเกิดอคติว่า คนคนนั้นต้องใช้ของดี มีฐานะดี และมีการศึกษาที่สูง หรือเป็นคนดี ก่อนที่เราจะรู้จักเขาจริง ๆ ด้วยซ้ำ

จนเป็นที่มาของ “Halo Effect” อาการทางจิตวิทยาที่หลายแบรนด์เลือกหยิบมาใช้นั่นเอง

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพกับธุรกิจการบริการ เช่น โรงแรม
ที่เลือกหยิบ Halo Effect มาใช้ประโยชน์ จากการที่แบรนด์มักจะมีเกณฑ์การคัดเลือกพนักงานจากรูปร่างและหน้าตาของพนักงานด่านหน้าให้ดูดีอยู่เสมอ

เพราะพนักงานในส่วนนี้จะทำหน้าที่เป็น Touchpoint ของลูกค้าเป็นกลุ่มแรก ๆ ดังนั้นถ้าพนักงานต้อนรับมีรูปร่างหน้าตาที่ดี นั่นหมายความว่าลูกค้าจะเกิดอคติว่า สินค้าและบริการของโรงแรมนั้นดีด้วยนั่นเอง

ยกตัวอย่างอีกกรณีกับ Apple หนึ่งในแบรนด์ที่ใช้ประโยชน์จาก Halo Effect ได้ดีมากที่สุดแบรนด์หนึ่ง

เพราะอย่างที่ทราบกันว่า ผลิตภัณฑ์ของ Apple นั้นขึ้นชื่อในเรื่องของ “คุณภาพ” ทั้งนี้ก็เป็นเพราะความสำเร็จของ iPhone ที่เคยทำไว้ดีมาก ๆ มาตลอด

จึงทำให้ไม่ว่า Apple จะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อะไรออกมา ก็มักจะดูมี “คุณภาพ” ในสายตาของผู้บริโภคตั้งแต่วันเปิดตัวอยู่เสมอ..

ยกตัวอย่างเช่น สินค้าอย่าง Apple Pencil หรือของจำพวกเคส, อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่มีคู่แข่งเป็นสินค้าจากกลุ่ม Third-Party ที่สามารถใช้ทดแทนกันได้อยู่เต็มตลาด แถมราคาก็ยังถูกกว่า

แต่ Apple ยังสามารถตั้งราคาสินค้าของตัวเองให้สูงกว่าคู่แข่งได้อยู่เสมอ และก็มีคนซื้อ..
เพราะเป็นผลจาก Halo Effect ของผู้บริโภคที่พร้อมจะเชื่อในแบรนด์ Apple ว่าจะทำสินค้าที่ดีมีคุณภาพมากกว่าคู่แข่งออกมาขายนั่นเอง

อย่างต่อมาคือ อาการ “FOMO” (Fear of Missing Out)
อาการของคนที่กลัวพลาดกระแสสังคม

เพราะมนุษย์นั้นเป็นสัตว์สังคมที่มีแนวโน้มความคิดและการตัดสิน เอนเอียงไปตามคนส่วนใหญ่ในสังคม เพื่อเอาตัวรอดมาตั้งแต่สมัยก่อนแล้ว

ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้คนเรามักจะกลัวการแปลกแยกและแตกต่างอยู่เสมอ ไม่ว่ามนุษย์จะวิวัฒนาการไปไกลแค่ไหนก็ตาม

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็คือ ในตอนเด็กคนเรามักจะกลัวการใส่เครื่องแบบผิดไปโรงเรียนอยู่เสมอ และแน่นอนว่าเหตุผลส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะกฎระเบียบและบทลงโทษ แต่เหตุผลลึก ๆ ที่ทุกคนต้องรู้สึกแน่ ๆ เลยก็คือ ความ “อาย” ที่จะต้องแปลกแยกจากสังคมหมู่มากนั่นเอง

นี่เองที่เป็นพื้นฐานของอาการ FOMO หรืออาการของคนที่กลัวพลาดของดี ๆ และกลัวตกกระแสสังคม ทั้งจากกลุ่มเพื่อนและครอบครัว โดยที่ผ่านมาก็มีหลายแบรนด์ที่หยิบยกอาการ FOMO ของคนมาผสมกับการตลาดกันอยู่บ่อย ๆ

ยกตัวอย่างง่าย ๆ กับการติดป้ายสินค้าด้วยคีย์เวิร์ด ประมาณว่า “สินค้าขายดี” เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าชิ้นนี้ได้รับการยอมรับจากคนในสังคม และนำมาสู่การตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่าเดิม

ซึ่งคล้ายกับธุรกิจโรงหนัง ที่มักจะมีการโปรโมตรายได้ของหนังเรื่องต่าง ๆ อยู่เสมอ เพื่อดึงดูดให้คนเข้าไปดูหนังเรื่องนั้นมากขึ้น เพราะตัวเลขของรายได้นั้นสะท้อนให้เห็นว่าหนังเรื่องนี้ ได้รับการยอมรับจากสังคมหมู่มากนั่นเอง

โดยในปัจจุบันแบรนด์ที่ขึ้นชื่อเรื่องการนำอาการ FOMO มาปรับใช้กับสินค้าและบริการของตัวเอง คงหนีไม่พ้น Netflix ที่จะมีการจัดอันดับคอนเทนต์ที่คนดูมากที่สุดบนแพลตฟอร์มเป็นประจำ

เพื่อดึงดูดให้คนหันมาดูคอนเทนต์มากขึ้น จากความ FOMO กลัวตกกระแส เดี๋ยวไปคุยกับคนรอบตัวไม่รู้เรื่อง
ซึ่งนี่ก็เป็นการช่วยสร้างเอนเกจเมนต์ และดึงดูดให้คนอยู่กับ Netflix ได้นานขึ้นตามไปด้วย

และอย่างสุดท้ายคือ เรื่องของ “สี”
จิตวิทยาง่าย ๆ ที่หลายแบรนด์ไม่ควรมองข้าม

รู้หรือไม่ว่า สมองของคนเรานั้นสามารถประมวลผลด้วยรูปภาพได้เร็วกว่าตัวหนังสือถึง 60,000 เท่า
ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่า คนเรานั้นสามารถจดจำสีได้ดีกว่าข้อความ..

จึงทำให้ “สี” กลายมาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่แบรนด์มักหยิบมาใช้สื่อสาร “อารมณ์” ของแบรนด์ไปสู่ผู้บริโภค

ดังนั้นในแง่ของการสื่อสารการตลาด สีเหลืองนั้นไม่ได้หมายถึง Yellow เพียงอย่างเดียว.. แต่หมายถึง ความรวดเร็ว, ความสนุก และสดใสได้อีกด้วย

โดยส่วนใหญ่แล้ว เรามักจะเห็นแบรนด์หยิบจิตวิทยาของสี มาใช้สื่อสารกับผู้บริโภคผ่านทางโลโกหรืออัตลักษณ์ของแบรนด์ (CI) เสียมากกว่า

เช่น VISA เลือกใช้สีน้ำเงิน ที่หมายถึงความน่าเชื่อถือ มาใช้ในโลโก เพื่อสร้างความมั่นใจและสื่อถึงระบบการชำระเงินที่ไว้วางใจได้

KFC และ สุกี้ตี๋น้อย เลือกใช้สีแดง ที่สามารถกระตุ้นความหิวของมนุษย์ได้ มาเป็นธีมหลักในการตกแต่งร้านทุกสาขา..

หรือ Flash Express ที่ใช้สีเหลือง มาสื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงความเร็วในการจัดส่งพัสดุ

จะเห็นได้ว่าทุกตัวอย่าง ไม่ได้มีการใช้ตัวหนังสือสักตัวมาสื่อถึงความน่าเชื่อถือ, ความหิว และความเร็ว แต่ก็สามารถสื่ออารมณ์ของแบรนด์ไปสู่ผู้บริโภคได้สำเร็จ..

สุดท้ายนี้ การนำหลักจิตวิทยามาปรับใช้กับการตลาดนั้น ก็ยังต้องดูบริบทและความเหมาะสมควบคู่กันไปด้วย

เพราะต่อให้หลักจิตวิทยาจะได้ผลดีแค่ไหน แต่ส่วนใหญ่แล้วมันมักจะใช้ได้ผลแค่ในช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น
ซึ่งในระยะยาว คุณภาพของสินค้าและบริการ รวมถึงประสบการณ์ที่แบรนด์ให้กับลูกค้าต่างหาก ที่จะเป็นตัวตัดสินว่าแบรนด์ไหนจะเป็นผู้ชนะ..
—--------------------------
Sponsored by JCB

JCB แบรนด์ผู้ให้บริการเครือข่ายบัตรเครดิตจากประเทศญี่ปุ่น - พิเศษเฉพาะผู้ถือบัตรเครดิต JCB พบกับโปรโมชั่นในไทยและต่างประเทศมากมาย สิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ทั้ง กิน เที่ยว ช้อป ติดตามความพิเศษที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะคุณได้ที่ www.facebook.com/JCBCardThailandTH และ LINE Official Account : @JCBThailand (//bit.ly/JCBTHLine)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้