ความสามัคคีในครอบครัวข้อดี

BUSINESS EMPOWERMENT7 เม.ย. 65

BUSINESS EMPOWERMENT7 เม.ย. 65

​​​ สำหรับสายแฟชั่นแล้วเมื่อพูดถึงภาพยนตร์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา น่าจะต้องเคยได้ยิน หรือ ได้รับชมกับภาพยนตร์ที่มีชื่อของแบรนด์เนมดังจากอิตาลีอย่าง House of Gucci กันมาบ้าง โดยภาพยนตร์นี้เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวของครอบครัวผู้ก่อตั้งแบรนด์ GUCCI ขึ้นมา อีกทั้งเมื่อยิ่งอ่านยิ่งพบว่า "รูปแบบของครอบครัว" รวมไปถึง "การจัดการธุรกิจครอบครัวอิตาเลียน" มีความคล้ายคลึงการรูปแบบครอบครัวของไทยค่อนข้างมาก ทั้งข้อดี และ ข้อด้อย ทำให้เรื่องราวของธุรกิจครอบครัวนี้สะท้อนภาพปัญหาของธุรกิจครอบครัวของไทยได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว​


    • แบรนด์ GUCCI เริ่มต้นมาจากร้านเครื่องหนังเล็ก ๆ มีรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์จนสามารถกลายเป็นสินค้ายอดนิยมในหมู่ชนชั้นสูง จึงมีการเติบโตอย่างรวดเร็วจนสามารถเข้าไปตั้งร้านในเมืองใหญ่ ก่อนที่จะประสบความสำเร็จจนกลายเป็น Global Brand ในช่วงการบริหารของทายาทรุ่นที่ 2
    • ช่วงทายาทรุ่นที่ 3 ต้องการปรับภาพลักษณ์ของแบรนด์ และเป็น Boutique ของตนเอง ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในครอบครัวเป็นอย่างมาก จนเรียกได้ว่าความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวนั้นอยู่ในสภาพย่ำแย่ นอกจากนั้นยังมีข่าวฉาวต่าง ๆ จนส่งผลต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ในช่วงเวลานั้น
    • เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อหนึ่งในทายาทรุ่นที่ 3 ได้เข้ามารวบรวมกิจการครอบครัว เปลี่ยนบอร์ดบริหาร และ ฟื้นภาพลักษณ์ได้สำเร็จ
    • อย่างไรก็ตามแม้จะได้รับอำนาจการบริหารสูงสุด ภาพลักษณ์แบรนด์ฟื้นฟูกลับมา แต่ด้านธุรกิจนั้นดูจะไปได้ไม่ดีนักทำให้มียอดขายขาดทุนที่มหาศาล จนสุดท้ายต้องมีการขายหุ้นให้กับนักลงทุนภายนอก กลายเป็นบทสุดท้ายของการบริหารแบรนด์ GUCCI (*) ภายใต้ครอบครัวตระกูลแฟชั่นนี้ในที่สุด

​​(*) ปัจจุบัน Gucci อยู่ภายใต้การบริหารของ Pinault-Printemps-Redoute หรือ PPR ที่เป็นเจ้าของแบรนด์หรูมากมายอย่าง Yves Saint Laurent , Boucheron หรือ Bottega Veneta นั่นเอง


คุณพิระพัฒน์ เหรียญประยูร

Managing Director – Wealth Planning and Non-Capital Market Head,

Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย

จากเรื่องราวปัญหาข้างต้นของครอบครัวตระกูลแฟชั่นนี้ คุณพิระพัฒน์ กล่าวไว้ว่ามันเป็น Classic Case ที่แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดในการบริหารจัดการธุรกิจที่มาในรูปแบบครอบครัว ซึ่งมีประเด็นที่เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น 3 ประเด็นใหญ่ ๆ ดังนี้

ไม่มีการวางแผน กำหนดบทบาทที่แน่ชัด

จากเรื่องราวที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่ารูปแบบการสืบทอดการบริหารจะเป็นแบบปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ส่งต่ออำนาจผ่านลูกชายคนโตโดยไม่ได้พิจารณาความเหมาะสม อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดบทบาทของสมาชิกคนอื่น ๆ ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมา คือ

    • สมาชิกคนอื่น ๆ ไม่รู้สิทธิ์ของตน
    • ไม่มีระบบตรวจสอบผู้มีอำนาจในการบริหาร
    • เกิดความรู้สึกไม่ยุติธรรม
    • เกิดความขัดแย้งในครอบครัวได้ง่าย

ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ จึงจำเป็นจะต้องมีการวางแผนในการจัดการทรัพย์สินของครอบครัว สร้างข้อกำหนด และ แบบแผนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนในครอบครัวได้เห็นพ้องต้องกันเพื่อลดความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งการวางแผนต้องมีการใช้เวลากว่าจะสามารถได้ข้อสรุปออกมาได้ ฉะนั้น ยิ่งเริ่มได้ไวเท่าไหร่ก็จะเป็นการลดความขัดแย้งได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น

* นอกเหนือจากนั้นในเรื่องราวของตระกูลแฟชั่นนั้นยังมีเหตุที่เกิดจากการให้สะใภ้เข้ามามีอิทธิพลในการทำงานของสามี และ กลายเป็นอีกปัญหาครอบครัวด้วย

ขาดกติกาของครอบครัว และ ความชัดเจนในการส่งต่อหุ้น

การขาดกติกาสำหรับสมาชิกในหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของการส่งต่อหุ้น ทำให้หุ้นตกไปอยู่ในมือของสมาชิกคนใดคนหนึ่งมากเกินไป ส่งผลให้สิทธิ์ของความเป็นเจ้าของรวมถึงการบริหารมีมากกว่าสมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ นอกจากนี้อาจจะทำให้สมาชิกในครอบครัวบางคนแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตนเองมากกว่าการทำประโยชน์เพื่อธุรกิจครอบครัวได้ ดังเช่น ตัวอย่างของแบรนด์ดังข้างต้นที่หนึ่งในทายาทมีการออกไปเปิดแบรนด์ย่อยของตนเองมาแข่งกับกงสีนั่นเอง

ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน หรือ การมีอำนาจในการบริหารที่ไม่เทียมกันของสมาชิกจึงควรมีการ “กำหนดกรอบกติกา” และ “กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นให้เท่า ๆ กัน” อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้หลายครอบครัวจึงเลือกการจัดการแบบกงสี ที่มีรูปแบบ คือ หากครอบครัวย่อยไหนมีการถือหุ้นมากกว่าก็จะถูกริบส่วนที่สูงเกินไปให้เป็นของกงสี เพื่อจำกัดสิทธิ์ในการบริหารให้อยู่ในสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน (แต่ผลตอบแทนจะยังได้รับเท่ากับหุ้นที่ตนถือเพื่อความยุติธรรม)

มุ่งไปทิศทางเดียวกัน ด้วยการสร้างความผูกพันในครอบครัว

เรียกได้ว่าเมื่อครอบครัวมีขนาดใหญ่ขึ้น ความผูกพันของสมาชิกในครอบครัวก็จะค่อย ๆ จางหายไป ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจครอบครัวอยู่รอด และ เติบโตได้อย่างยั่งยืน จึงจำเป็นจำต้องมี 3 สิ่งเหล่านี้ ได้แก่

    • การรักษาคุณค่าของครอบครัว
    • ความสามัคคี
    • การสร้างเป้าหมาย และ การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ

นอกจากนี้การเตรียมความพร้อมสำหรับคนรุ่นใหม่ และ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ เพื่อให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน 

​การวางกติกาครอบครัว จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกทุกรุ่น ดังนั้นคนกลางที่ทำหน้าที่ประสานทุกคนเข้าด้วยกัน จึงจำเป็นจะต้องมีประสบการณ์ในการวางแผนอย่างเป็นระบบ


เรียกได้ว่าเมื่อรับชมภาพยนตร์จบแล้ว ชวนให้มองย้อนกลับมาที่ตัวเอง โดยเฉพาะ ครอบครัวที่มีธุรกิจเป็นของตัวเอง ว่ามีสิ่งใดที่อาจจะเป็นข้อผิดพลาดเหมือนกับตระกูลแฟชั่นดังหรือไม่ หรือ มีสิ่งใดที่สามารถนำมาปรับใช้ให้ธุรกิจครอบครัวดียิ่งขึ้นได้นั่นเอง

กลับ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้