การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ กรมควบคุมโรค

กรมควบคุมโรค ห่วงใยผู้สูงอายุไทย ซึ่งมีสถิติหกล้มปีละ 3 ล้านราย สาเหตุหลักเกิดจากการลื่น สะดุดล้ม จึงขอแนะนำให้เลือกสวมใส่รองเท้าที่พื้นมีดอกยาง ไม่ลื่น สะดวกต่อการเคลื่อนไหวร่างกายพร้อมทั้งให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายเสริมแรงต้าน และประเมินความเสี่ยงการหกล้มอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

วันที่ 14 มิถุนายน 2565 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น จากสถิติในปี 2564 มีจำนวนสูงกว่า 12 ล้านคน เรื่องที่น่าเป็นห่วงของวัยนี้คือการพลัดตกหกล้ม ในแต่ละปีจะพบอุบัติเหตุผู้สูงอายุหกล้มประมาณ 3 ล้านราย และบาดเจ็บต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลมากกว่า 60,000 รายต่อปี

โดยมีผู้เสียชีวิตจากการหกล้มเฉลี่ย วันละ 4 ราย และยังเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุเกิดความพิการ ส่งผลกระทบต่อจิตใจ หวาดกลัวการหกล้ม และต้องพึ่งพาผู้อื่น ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น กระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัวและสังคม ซึ่งการพลัดตกหกล้มมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว ร้อยละ 80 โดยจุดเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังคือ พื้นเปียก ลื่น รวมทั้งเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม คือรองเท้าที่สวมใส่ควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นมีดอกยาง เพื่อป้องกันการลื่น

แพทย์หญิงศิริรัตน์ สุวรรณฤทธิ์ ผู้อำนวยการกองป้องกันการบาดเจ็บ กล่าวว่า ผู้สูงอายุสามารถลดความเสี่ยงและป้องกันการพลัดตกหกล้มได้ โดยมีคำแนะนำ ดังนี้

1.ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน เช่น การยกน้ำหนัก ยกขวดน้ำ การใช้ยางยืด หรือการดันน้ำหนักกับเก้าอี้หรือผนังที่มั่นคง ครั้งละ 30 นาที และไม่น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ จะทำให้มีมวลกล้ามเนื้อ แข็งแรงขึ้น ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว และการทรงตัวดีขึ้น

2.หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น

3.ควรสวมรองเท้าหุ้มส้น พื้นมีดอกยางกันลื่น สามารถเคลื่อนไหวก้าวเดินได้สะดวก

4.ผู้ที่มีความบกพร่องในการเดินหรือการทรงตัว ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดินช่วยพยุง เช่น โครงเหล็กช่วยเดิน/ไม้เท้า

5.ควรเลี่ยงการเดินขึ้น-ลง บันได

6.หากหกล้ม ขยับไม่ได้ ให้ญาติหรือผู้ดูแลโทร 1669 แจ้งขอความช่วยเหลือจากระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

และประการสำคัญ ผู้สูงอายุควรเข้ารับการตรวจประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มปีละ 1 ครั้ง ได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่ง ซึ่งจะทำการคัดกรองโดยการซักประวัติการหกล้ม การประเมินสมรรถภาพทางกาย พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และจัดการกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ กรมควบคุมโรคได้ร่วมกับเครือข่ายขับเคลื่อนการดำเนินงานและได้จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันการพลัดตกหกล้ม ภายใต้แนวคิด “ดูแลเท้า เดินมั่นคง ห่างไกลล้ม” จึงขอเชิญชวนเครือข่ายและประชาชนผู้สนใจ ออกกำลังกายแบบใช้แรงต้านพร้อมกันทั่วประเทศ พร้อมด้วยสาระน่ารู้ในการดูแลเท้า การเลือกรองเท้า ผ่าน Facebook Live “กองการป้องกันการบาดเจ็บ” ในวันที่ 14 มิถุนายน 2565 เวลา 9.00-11.00 น.

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองป้องกันการบาดเจ็บ โทร 0 2590 3955 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422


ประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพการป้องกันโรคไตในชุมชนระยะขยายผล
----------------------
ผ่านระบบ Zoom Application
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพเขต โรงพยาบบาลในเครือข่ายและคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ระดับอำเภอ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน และขยายผลรูปแบบการป้องกัน
โรคไตเรื้อรังภายใต้การสนับสนุนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและชุมชน


รวมถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบการดำเนินงานโครงการป้องกันโรคไตในชุมชน
โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในการประชุมฯ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2564
ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

ดาวน์โหลด

แสดงความคิดเห็น


กิจกรรมทางกาย กิจกรรมดีดี เพื่อสุขภาพที่ดี

              ปัจจุบันการวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้นทำให้ประชาชนขาดการเคลื่อนไหวออกแรงในชีวิตประจำวันและขาดการออกกำลังกาย ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค    ไม่ติดต่อ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ การป้องกันที่ดีอีกทางเลือกหนึ่งคือการสร้างสุขภาพดี ด้วยการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ ซึ่งต้องเลือกปฏิบัติให้เหมาะสมวัยด้วย
การทำกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำเป็นส่งผลต่อการมีสุขภาพดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง
  • สร้างความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • ช่วยให้มีสุขภาพดี
  • สร้างทักษะการเคลื่อนไหวป้องกันการบาดเจ็บจากการหกล้มในวัยผู้ใหญ่และวัยผู้สูงอายุ

กิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย (Physical activity) คืออะไร?
                 หมายถึง การทำกิจกรรมเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อลาย และทำให้มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจากภาวะปกติขณะพัก การเคลื่อนไหวร่างกายสามารถจัดหมวดหมู่ได้เป็น 4 ประเภท ตามบริบทที่กระทำได้แก่ 


          1. การทำงานประกอบอาชีพ (Occupational activity ) เช่น หาบขนมขาย ขนของขึ้นลง ถีบสามล้อ เกี่ยวข้าว ฯลฯ
          2. การทำงานบ้าน/งานสวน/งานสนาม ในบริเวณบ้าน (Household activity) เช่น ทำงานบ้าน ทำครัว ล้างถ้วยชาม
เช็ดถูกระจก ล้างขัดพื้น ถูบ้าน เก็บเกี่ยวดอกไม้/ผลไม้/ผัก ขุดดิน ตัดแต่งกิ่ง ดายหญ้า ฯลฯ
          3. การเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่เหนึ่ง (Transportation activity) เช่น เดินไปทำงาน ถีบจักรยานไปทำงาน เดินไปทำธุระ เดินขึ้นบันได ฯลฯ
          4. การทำกิจกรรมในเวลาว่าง หรืองานอดิเรก (Leisure time activity) เช่น เดินเล่น เดินทางไกล ถีบจักรยาน ลีลาศ รำมวยจีน เล่นโยคะ วิ่ง/วิ่งเหยาะ เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ และการเล่นกีฬาต่างๆ ฯลฯ ทั้งนี้การทำกิจกรรมในเวลาว่างยังสามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 ประเภทได้แก่
                     4.1 การทำกิจกรรมนันทนาการ (Recreational activity) เช่น เดินเล่น เดินทางไกล ปีนเขา ถีบจักรยาน ว่ายน้ำ
ลีลาศ รำมวยจีน เล่นโยคะ ฯลฯ
                    4.2 การเล่นกีฬา ( Competitive sports)
                    4.3 การออกกำลังกายหรือการฝึกฝนร่างกาย (Exercise training) คือ การเคลื่อนไหวร่างกายที่สร้างขึ้นอย่างเป็นแบบแผน กระทำซ้ำๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด เป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างหนัก เช่น
เดิน จ้ำ วิ่ง/วิ่งเหยาะ ถีบจักรยาน เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ กระโดดเชือก กรรเชียงเรือ เล่นกีฬาประเภทฝึกความอดทน ฯลฯ
              จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะพบว่ารูปแบบกิจกรรมอาจจะซ้ำซ้อนกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และบริบทที่กระทำกิจกรรมนั้นๆ

ข้อแนะนำในการออกกำลังกายในแต่ละช่วงอายุ 

          1. อายุ 5-17 ปี สำหรับเด็กและเยาวชนที่มีอายุอยู่ในกลุ่มวัยนี้ กิจกรรมที่เหมาะสมคือ การเล่นกีฬา กิจกรรมนันทนาการ วิชาพละศึกษา หรือการออกกำลังกายที่มีแบบแผน สำหรับครอบครัว โรงเรียน และชุมชน การทำกิจกรรมดังกล่าวช่วยเสริมสร้างให้ระบบการหายใจและการไหลเวียนเลือด กระดูกและกล้ามเนื้อ การเผาผลาญพลังงานในร่างกายดีขึ้น ลดภาวะความเครียด ควรปฏิบัติตาม
คำแนะนำดังนี้
                      ควรออกกำลังกายแบบสะสมในระดับปานกลางอย่างน้อย 60 นาที/วัน  สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายมากกว่า 60 นาที/วัน
จะส่งผลต่อการมีสุขภาพดี   การออกกำลังกายในแต่ละวันควรเป็นแบบแอโรบิคอย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์  ซึ่งจะช่วยเพิ่มความแข็งแรง
ของกล้ามเนื้อและกระดูก

               2.อายุ 18-64 ปี การออกกำลังกายสำหรับผู้ใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะรวมถึง กิจกรรมสันทนาการ วิ่งเดิน ปั่นจักรยาน ทำงาน
ทำงานบ้าน การเล่นกีฬา ซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบการหายใจและการไหลเวียนเลือด กล้ามเนื้อและกระดูก และลดความเสี่ยงต่อการเกิด
โรคไม่ติดต่อ ลดความเครียด ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำดังนี้
                  - ควรออกกกำลังกายความหนักระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์หรือ 75 นาทีสำหรับระดับความหนักมาก
                  - ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาที
                  - หากต้องการออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพดีควรเพิ่มการออกกำลังกายความหนักระดับปานกลางแบบแอโรบิค ให้ได้
300 นาทีต่อสัปดาห์หรือ ออกกำลังกายความหนักในระดับมาก 150 นาที ต่อสัปดาห์
               3. 65 ปีขึ้นไปการออกกำลังกายสำหรับวัยนี้จะรวมถึงกิจกรรมสันทนาการทั่วไปหรือการทำกิจกรรมในเวลาว่าง การเดิน วิ่ง การทำงานในชีวิตประจำวัน การเล่นกีฬา ซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบการหายใจและการไหลเวียนเลือด กล้ามเนื้อและกระดูก และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ ลดความเครียด ควรปฏิบัติตามข้อแนะนำดังนี้
                    - ควรออกกำลังกายความหนักระดับปานกลางอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์หรืออย่างน้อย 75 นาทีสำหรับระดับ
ความหนักมาก
                    - ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 10 นาที
                    - สำหรับการออกกำลังกายเพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพสำหรับกลุ่มนี้ควรเพิ่มการออกกำลังกายระดับปานกลางให้ได้
300 นาที/สัปดาห์และสำหรับผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว ควรเพิ่มการออกกำลังกายที่สร้างความสมดุลของร่างกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์เพื่อป้องกันการหกล้ม หากไม่สามารถทำตามคำแนะนำข้างต้นได้ควรหากิจกรรมอื่นๆที่เหมาะสมกับตนเองทำ

ที่มา 
1. //dopah.anamai.moph.go.th/menu_detail.php?id=45 สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2555.
2. Global Reccommendations on Physical activity for Health.(WHO)

 

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้