ตัวอย่าง โครงการ การพัฒนาที่ยั่งยืน

ตลอดระยะเวลากว่า 3 ทศวรรษที่เราดำเนินงานด้วยความตั้งใจ ให้ความสำคัญกับทุกก้าวของการ เติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการดูแลพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมผ่าน โครงการและกิจกรรมสังคมต่างๆ ด้วยความใส่ใจ เรามุ่งมั่นในการสร้างทัศนคติและวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้พนักงานซึ่งเสมือนครอบครัวศรีตรังของเรามีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ร่วมกัน ปรับเปลี่ยน กลยุทธ์ให้เข้ากับสถานการณ์และไม่หยุดนิ่งในการพัฒนาธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมยางพาราที่ยั่งยืน

สิ่งแวดล้อม

Environment (การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม) : คือการเน้นใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท

เพิ่มเติม

สังคม

Social (การจัดการด้านสังคม) : คือการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม ดูแลความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของพนักงาน รวมถึงมีสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนรอบด้าน

เพิ่มเติม

ภาพรวมธุรกิจ

Governance (การจัดการด้านธรรมาภิบาล): คือการมีนโยบายกำกับดูแลกิจการที่ดี ต่อต้านการทุจริต ดำเนินงานอย่างโปร่งใส และดูแลผลประโยชน์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เพิ่มเติม

วีดีโอกิจกรรม

  • SRI TRANG GROUP's Chairman Dr. Viyavood Sincharoenkul on CNBC Managing Asia 2022

  • กลุ่มบริษัทศรีตรัง จับมือ โรงพยาบาลพญาไท 2 ลงพื้นที่สอน CPR ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์

  • เนเปียร์ พืชพลังงานเพื่อชุมชนของกลุ่มบริษัทศรีตรัง

  • ถุงมือยาง "ศรีตรังโกลฟส์" ลงพื้นที่เยี่ยมคนชรา ณ ศูนย์คามิลเลียน โซเชียล เซ็นเตอร์

ช่องทางการร้องเรียน

กลุ่มบริษัทศรีตรัง มีความมุ่งมั่นในการดำรงไว้ซึ่งการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม และสามารถตรวจสอบได้ สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยคาดหวังให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มสามารถรายงานถึงเหตุการณ์ที่อาจขัดต่อหลักการดังกล่าว เพื่อให้มีการดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป

โครงการเสริมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำผ่านการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน 

โครงการเสริมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำผ่านการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน(Establish Low Carbon Consumption and Production in Thailand: WWF-SCP) เป็นโครงการที่มีระยะเวลาในการดำเนินการ 3 ปี และได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ การก่อสร้างและความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ (German Federal Ministry for the Environment, Nature Conservation, Building and Nuclear Safety: BMUB) โดยโครงการฯ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ International Climate Initiative (IKI) ของรัฐบาลเยอรมัน และดำเนินงานภายใต้การดูแลของ WWF เยอรมันนี ซึ่งดำเนินการใน 3 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ (SCP-TIP)

WWF ประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้ดำเนินโครงการฯ ที่เน้นการขับเคลื่อนในภาคการเกษตรกรรมและป่าไม้และทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคประชาสังคม กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ภาคเอกชนและผู้บริโภคในการส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืนไปสู่การปฎิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และสนับสนุนภาครัฐในการพัฒนานโยบายหรือมาตรการเพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตรกรรมและป่าไม้ มีความสอดคล้องตามกรอบการดำเนินนโยบายยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการของหน่วยงานภาครัฐในด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการพัฒนาที่ยั่งยืนของชาติ  

นอกจากนี้ โครงการเสริมสร้างสังคมคาร์บอนต่ำผ่านการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืนเป็นโครงการที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงและตอบสนองต่อ แผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี ตามกรอบสิบปี ว่าด้วยการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนที่สอดคล้องกับแผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2560 – 2579 (The 10-year framework of programmes on sustainable consumption and production (10YFP)) โดยโครงการฯ ในประเทศไทยได้เน้นประเด็นการขับเคลื่อนในระบบห่วงโซ่อุปทานข้าวโพดและการผลิตอาหารในภาคเกษตรกรรมและป่าไม้ ประเทศอินโดนีเซียได้เน้นการส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืนในประเด็นน้ำมันปาล์ม และในประเทศฟิลิปปินส์ที่เน้นการส่งเสริมและรณรงค์ด้านอาหารที่ถูกทิ้ง (Food Waste) ในภาคการท่องเที่ยว

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการของเราได้ที่นี่

ความสำคัญและความมุ่งมั่น

ปตท.สผ. ให้คุณค่ากับการพัฒนาสังคม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้แนวทางการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการประชุมกิจกรรมและจัดทำโครงการพัฒนาสังคมต่าง ๆ ในพื้นที่ปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ปตท.สผ. ได้จัดทำแผนกลยุทธ์ระยะยาวสำหรับโครงการพัฒนาสังคมขึ้น โดยมุ่งเน้นสนับสนุนการเติบโตขององค์กร สร้างคุณค่าให้แก่สังคมและชุมชน สร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับจากชุมชนรวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องตามนโยบายบริหารจัดการชุมชนสัมพันธ์และนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น ยอมรับ และสนับสนุนการดำเนินงานอันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรและสังคมโดยรวม

เป้าหมายสำคัญ

ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน ปตท.สผ. มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความสมดุลขององค์ประกอบสำคัญ 3 ประการคือ ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยได้นำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Sustainable Development Goals – UN SDGs) มาเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

ปตท.สผ. ดำเนินโครงการพัฒนาสังคมเพื่อคืนความสมบูรณ์สู่ท้องทะเลไทยภายใต้กลยุทธ์ทะเลเพื่อชีวิต (Ocean for Life) ซึ่งสอดคล้องกับ SDG 14 ผ่านโครงการศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจและการจัดตั้งเครือข่ายอนุรักษ์ เพื่อปลูกจิตสำนึกด้านการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน รวมถึงแผนการจัดตั้งโรงพยาบาลเต่าทะเลในจังหวัดสงขลา อีกทั้งมีแผนสนับสนุนการปลูกและบำรุงป่าชายเลน ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญในการอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน และต่อยอดขยายผลความสำเร็จของโครงการไปยังพื้นที่ปฏิบัติการอื่น ๆ ของบริษัท

ในปี 2563 ปตท.สผ. ได้ริเริ่มโครงการเพื่อสังคมภายใต้กลยุทธ์ทะเลเพื่อชีวิต (Ocean for Life) ที่ครอบคลุมกิจกรรมด้านการปลูกป่าชายเลน การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและขยะในทะเล การรักษาระบบนิเวศน์และเพิ่มทรัพยากรทางทะเล รวมถึงการสร้างเสริมสมรรถนะและศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดให้กับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ปฏิบัติการ เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชน

2. การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

ปตท.สผ. ดูแลสุขภาพและอนามัยของชุมชนด้อยโอกาสที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ เพื่อส่งเสริมให้คนทุกช่วงอายุมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับ SDG 3 บริษัทจึงจัดทำ โครงการแพทย์เคลื่อนที่กับ ปตท.สผ. ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โครงการพัฒนาโรงพยาบาลในประเทศไทย และโครงการพยาบาลชุมชน เพื่อประโยชน์ของชุมชนและสาธารณชนทั่วไป

3. พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้

ปตท.สผ. ร่วมส่งเสริมให้ชุมชนเข้าถึงพลังงานอย่างยั่งยืนและประหยัด โดยสนับสนุนการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก ซึ่งสอดคล้องกับ SDG 7 อาทิ โครงการขยะสู่พลังงาน ซึ่งนำของเสียในครัวเรือนมาผลิตเป็นก๊าซหุงต้ม นอกจากจะเป็นการบริหารจัดการของเสียที่ดี ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน และชุมชนยังได้ปุ๋ยชีวภาพซึ่งเป็นผลพลอยได้มาใช้อีกด้วย จากผลสำเร็จของโครงการดังกล่าวในประเทศไทย บริษัทได้ขยายโครงการนี้ไปยังชุมชนในพื้นที่ปฏิบัติการแหล่งซอติก้า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาด้วย

4) การศึกษาที่เท่าเทียม

ปตท.สผ. สนับสนุนโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ซึ่งสอดคล้องกับ SDG 4 โดยให้ทุนการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงอุดมศึกษาในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ ผ่านโครงการทุนการศึกษาประจำปี และทุนการศึกษาต่อเนื่องในระดับปริญญาตรี แก่นักเรียนในพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัททั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ บริษัทยังสนับสนุนโครงการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยในประเทศไทยนั้น ปตท.สผ. ร่วมกับกลุ่ม ปตท. ก่อตั้งโรงเรียนกำเนิดวิทย์และสถาบันวิทยสิริเมธี เพื่อยกระดับการศึกษาและพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ

ภาพรวม ความคาดหวัง และแนวทางการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน ปตท.สผ. ได้กำหนดกรอบการบริหารจัดการการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับ ปตท.สผ. และบริษัทย่อยในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อประโยชน์ของสังคมและชุมชนอย่างแท้จริง โดยได้กำหนดนโยบายและแนวทางการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม นโยบายบริหารจัดการชุมชนสัมพันธ์ และแนวทางการให้เพื่อสังคม เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานของทุกพื้นที่ปฏิบัติการ นอกจากนี้ บริษัทยังให้ความใส่ใจและสนับสนุนด้านสุขอนามัย ความปลอดภัย ความมั่นคง และสิ่งแวดล้อมของชุมชนในพื้นที่ พร้อมสนับสนุนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานโดยเน้นการมีส่วนร่วมและสร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย ภายใต้นโยบายที่มุ่งเน้นการดำเนินการโครงการเพื่อพัฒนาสังคมในสัดส่วนที่มากกว่าการบริจาค โดย ปตท.สผ. ได้ดำเนินโครงการพัฒนาสังคมในเชิงกลยุทธ์แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

โครงการเพื่อสังคม

ปตท.สผ. ได้ดำเนินโครงการเพื่อสังคมภายใต้ 4 แนวคิดหลัก คือ ความต้องการพื้นฐาน การศึกษา สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม 

ทั้งนี้ บริษัทได้กำหนดกลยุทธ์ในการดำเนินงานเป็น 2 ระดับ คือในระดับมหภาคและในระดับจุลภาค

1. ระดับมหภาค

ปตท.สผ. วางเป้าหมายในการดำเนินงานโครงการเพื่อสังคมภายใต้กลยุทธ์ทะเลเพื่อชีวิต (Ocean for Life) ภายใต้แผนระยะยาว 10 ปี (พ.ศ. 2563 – 2573) เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรในท้องทะเลไทย ควบคู่ไปกับการสร้างงาน เพิ่มรายได้แก่ชุมชน ใน 17 จังหวัดรอบอ่าวไทย ซึ่งสอดคล้องกับ UN SDG 14: การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและมหาสมุทรอย่างยั่งยืน (Life Below Water) โดยกำหนดกรอบการดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ 3P ประกอบด้วย

โครงการเพื่อสังคม ภายใต้กลยุทธ์ทะเลเพื่อชีวิต (Ocean for Life) ตามกลยุทธ์ 3P ครอบคลุมถึงการดูแลรักษาทรัพยากรทางทะเล และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยและพึ่งพาทรัพยากรจากทะเลผ่าน 6 โครงการ ดังนี้ โครงการบริหารจัดการขยะทะเล โครงการปลูกป่าชายเลน โครงการศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจ โครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล โครงการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลและบ้านปลา และโครงการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์อาหารทะเล

ตัวชี้วัดและผลการดำเนินงานของโครงการพัฒนาสังคมในระดับมหภาค แสดงให้เห็นดังโครงการ ตัวอย่างเช่น

โครงการศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจ : โครงการสามารถเพิ่มปริมาณลูกปูคืนสู่ท้องทะเล เป็นแหล่งรายได้ของชุมชนอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับ UN SDGs เป้าหมายที่ 14 ปัจจุบัน ปตท.สผ. ได้สนับสนุนการดำเนินการศูนย์เรียนรู้เพาะฟักสัตว์น้ำเศรษฐกิจรวม 11 แห่ง และมีแผนที่จะต่อยอดขยายการสนับสนุนในพื้นที่ปฏิบัติการอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต ปัจจุบันโครงการมีสมาชิกเครือข่าย 2,443 คน และผลจากการดำเนินงานสามารถทำให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 80,768 บาท/ครัวเรือน/ปี จากการจับสัตว์น้ำได้มากขึ้น การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) ของโครงการนี้เท่ากับ 3.25 : 1

2. ระดับจุลภาค

ปตท.สผ. ดำเนินงานโครงการเพื่อสังคมในพื้นที่ปฏิบัติการภายใต้แนวคิด 4 แนวคิดหลัก คือ ความต้องการพื้นฐาน การศึกษา สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นให้ทุกโครงการและกิจกรรมสร้างประโยชน์โดยตรงแก่ชุมชนในการยกระดับคุณภาพชีวิต สร้างงานและโอกาสการจ้างงานคนในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น ตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การได้รับการสนับสนุนจากชุมชนและสังคมในทุกพื้นที่การดำเนินงานของบริษัท ซึ่งจะสนับสนุนปัจจัยขับเคลื่อนธุรกิจ "Zero Disruption to Operations" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียเชื่อถือไว้วางใจ สนับสนุนการดำเนินงานของ ปตท.สผ. และมีความผูกพันต่อองค์กรในระดับ "การสนับสนุน" และเพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น โดยไม่มีข้อขัดแย้ง หรือการคัดค้านต่อต้านจากชุมชน

การสร้างคุณค่าร่วม

การสร้างคุณค่าร่วมคือ รูปแบบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ที่บริษัทดำเนินการเพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในพื้นที่ที่บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ โดยใช้วิธีการทางธุรกิจในการแก้ปัญหา หรือรับมือกับความท้าทาย

ปตท.สผ. ได้ใช้แนวทางการให้ความช่วยเหลือเชิงกลยุทธ์ในลักษณะสร้างคุณค่าร่วมระหว่างธุรกิจและสังคม จึงได้คัดเลือกโครงการเพื่อสังคมที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันและมีศักยภาพที่จะพัฒนาได้ตามแนวทางการสร้างคุณค่าร่วม โดยเน้นการประยุกต์ความถนัดความเชี่ยวชาญของ ปตท.สผ. และการใช้โครงข่ายธุรกิจ สนับสนุนการทำงานของชุมชนหรือผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ผ่านโครงการพัฒนาศักยภาพแรงงาน ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาเพื่อพัฒนาแรงงานฝีมือด้านเทคนิคเข้าสู่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเมียนมา และโครงการก๊าซธรรมชาติเพื่อเกษตรชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ปตท.สผ. ร่วมกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน และชุมชนตำบลหนองตูม อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โดยการนำก๊าซส่วนเกินที่ได้จากกระบวนการผลิตที่สถานีผลิตย่อยหนองตูมมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรแทนการเผาทิ้งตามกระบวนการจัดการก๊าซส่วนเกิน

วิสาหกิจเพื่อสังคม

วิสาหกิจเพื่อสังคมคือ กิจการที่มีจุดมุ่งหมายหลักในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยการใช้กลไกการบริหารจัดการที่ดีของภาคธุรกิจ เพื่อให้มีความยั่งยืนทางการเงินจากรายได้หลักที่มาจากสินค้าหรือบริการ โดยไม่ต้องพึ่งพาการบริจาค และนำผลกำไรที่เกิดขึ้นไปลงทุนเพื่อขยายผลในชุมชน

ในระดับนโยบาย ปตท.สผ. ร่วมกับกลุ่ม ปตท. จัดตั้ง บริษัท สานพลัง วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (Sarn Palung Social Enterprise Company Limited (SPSE) ซึ่งเป็นบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมในรูปแบบ Social Enterprise (SE) ให้เป็นรูปธรรม เพื่อแก้ไขปัญหา พัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและรายได้ โดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง และโครงการวิสาหกิจเพื่อสังคม ร้านกาแฟอเมซอนเพื่อการสร้างโอกาส

การเป็นพลเมืองดีของสังคมclose | open

การเป็นพลเมืองดีของสังคมและกลยุทธ์การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนของ ปตท.สผ.

ในฐานะพลเมืองที่ดีของสังคม ปตท.สผ. ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน สำหรับพื้นที่ปฏิบัติการต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ ได้พิจารณาถึงความต้องการทางสังคมของแต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ

ปตท.สผ. ให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ปฏิบัติการผ่านการดำเนินโครงการพัฒนาสังคมและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างชุมชนและองค์กรด้วยการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่ถูกต้อง ควบคู่กับการมีส่วนร่วมของพนักงานในการพัฒนาสังคมและชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืน นอกจากนี้ บริษัทได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติการ เพื่อวัดระดับความผูกพันของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อบริษัท และนำผลที่ได้จากการสำรวจฯ มาจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาสังคมและชุมชนสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการยอมรับและสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของ ปตท.สผ. โดยได้จำแนกระดับความผูกพันของผู้มีส่วนได้เสียออกเป็น 4 ระดับคือ 1. ระดับการรับรู้ 2. ระดับความเข้าใจ 3. ระดับการมีส่วนร่วม และ 4. ระดับการสนับสนุน โดยมุ่งหวังที่จะยกระดับความผูกพันของผู้มีส่วนได้เสียหลักในพื้นที่ปฏิบัติการให้อยู่ในระดับ 4 เพื่อช่วยขับเคลื่อนและสนับสนุน ในการยกระดับความผูกพันของผู้มีส่วนได้เสีย ปตท.สผ. จึงดำเนินกิจกรรมที่มุ่งเน้นเพื่อการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคมเป็นสำคัญ

นอกจากนี้ ปตท.สผ. มีกลยุทธ์การดำเนินงานโครงการเพื่อสังคมด้วยการสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Value Creation) โดยบริษัทยังคงมุ่งเน้นโครงการเพื่อสังคมด้านความต้องการพื้นฐานอีกทั้งยกระดับโครงการเพื่อสังคม (CSR) ที่มีศักยภาพไปสู่การสร้างคุณค่าร่วม (CSV) และยังคงดำเนินการโครงการวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ

ด้วยความมุ่งหวังที่จะดำเนินการโครงการพัฒนาสังคมของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินโครงการเพื่อสังคมของ ปตท.สผ. จะเกิดประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง ปตท.สผ. วิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment - SROI) ของโครงการเพื่อสังคมต่าง ๆ โดยปัจจุบันได้วิเคราะห์ไปแล้วจำนวน 28 โครงการ โดย โครงการใดที่มีผลตอบแทนน้อยกว่า 2 เท่าของต้นทุนการดำเนินโครงการ บริษัทจะหาแนวทางปรับปรุงเพื่อให้มีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนให้มากขึ้น

กิจกรรมเพื่อสาธารณกุศลclose | open

ปตท.สผ. ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การบริจาคจนถึงการดำเนินโครงการเพื่อสังคมระยะยาว นับตั้งแต่ปี 2563 ที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งถือเป็นวิกฤติด้านสาธารณสุขของประเทศและของโลก ปตท.สผ. ได้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมให้สอดคล้องกับนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศที่บริษัทมีพื้นที่ปฏิบัติการ ภายใต้แนวคิด ปตท.สผ. ร่วมสู้วิกฤตไวรัสโควิด-19 โดย ปตท.สผ. ได้ผสานองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการค้นหาพลังงานมาประยุกต์ใช้ในการสร้างนวัตกรรม ในปี 2564 ปตท.สผ. ยังคงร่วมเป็นพลังช่วยเหลือสังคมอย่างต่อเนื่องในการต่อสู้กับวิกฤตเคียงข้างคนไทยและบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา โดยได้สนับสนุนทั้งนวัตกรรมและงบประมาณ รวมมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 150 ล้านบาท ให้แก่ โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้ ปตท.สผ. โดย บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด ร่วมกับพันธมิตร พัฒนานวัตกรรมเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ และกล่องทำหัตถการแรงดันลบ มอบให้กับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เพื่อนำไปส่งต่อให้กับโรงพยาบาล 87 แห่งทั่วประเทศ พัฒนาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรค "เอ็กซ์เตอร์ไลเซอร์" มอบแก่กรมควบคุมโรค และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลปิยะเวทและโรงพยาบาลบางปะกอก พัฒนาชุดอุปกรณ์ระบบตรวจวัดอุณหภูมิตู้เก็บวัคซีนโควิด-19 และควบคุมห่วงโซ่ความเย็น มอบให้แก่กระทรวงสาธารณสุข พัฒนา หุ่นยนต์ "CARA" ผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในการรับส่งเวชภัณฑ์ และอาหารในโรงพยาบาล เพื่อลดโอกาสสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อของบุคคลากรทางการแพทย์ สนับสนุนเครื่องให้อากาศผสมออกซิเจนอัตราการไหลสูง จำนวน 139 เครื่อง ให้แก่ โรงพยาบาลสนามบุษราคัม และโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ส่งมอบ Home Isolation Kit "กล่องความห่วงใย" จำนวน 36,000 กล่อง ให้แก่ผู้ป่วยในการรักษาตัวที่บ้าน อีกทั้ง ได้ร่วมกับกลุ่ม ปตท. ภายใต้ "โครงการลมหายใจเดียวกัน" จับมือกับภาครัฐและพันธมิตรทางการแพทย์จัดตั้งหน่วยคัดกรองและโรงพยาบาลสนามสำหรับดูแลผู้ป่วยโควิดทุกระดับความรุนแรงแบบครบวงจร และยังสนับสนุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น สนับสนุนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในการจัดซื้อรถพยาบาลและเครื่องช่วยหายใจ สนับสนุนจัดซื้อเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและสัญญาณชีพ เครื่องให้ความอบอุ่นพร้อมระบบทำหัตถการสำหรับทารกแรกเกิดในภาวะวิกฤติ ให้แก่คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล จัดกิจกรรมพนักงานจิตอาสาร่วมกันบริจาคโลหิต มอบชุด PPE และหน้ากากอนามัยให้กับโรงพยาบาลและประชาชนทั่วไป เป็นต้น

ในด้านการศึกษาวิจัย ปตท.สผ. ให้การสนับสนุนโครงการพัฒนานวัตกรรมสเปรย์พ่นหน้ากากผ้าเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันฝุ่นและไวรัส แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนการผลิตชุดตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เบื้องต้น สนับสนุนสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ในการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ประสิทธิภาพสูง สนับสนุน งบประมาณ องค์ความรู้และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย ทดลอง โครงการพัฒนาวัคซีน จุฬาฯ-ใบยา ชนิดโปรตีนซับยูนิตจากใบยาสูบ ร่วมกับ บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด และมูลนิธิซียูเอนเทอร์ไพร์ส เพื่อให้ประเทศไทยและคนไทยมีวัคซีนต้านโควิดที่มีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ สร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งในการป้องกันเชื้อโรค รวมทั้ง ยังเป็นการสะท้อนถึงความสำเร็จและความสามารถของประเทศไทยในการพึ่งพาตนเองได้อย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ปตท.สผ. ยังสนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์ป้องกันต่าง ๆ ให้กับหน่วยงานในต่างประเทศที่ ปตท.สผ. มีการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เช่น ศูนย์กักกันในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา Relief and Recovery Fund ในประเทศมาเลเซีย และสำนักผู้ว่าการกรุงจาการ์ตาของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นต้น

ภายหลังจากที่ภาครัฐผ่อนคลายมาตรการทางสาธารณสุข เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ปตท.สผ. ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อม และการบริจาคตามแผนงาน โดยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด โดยให้การสนับสนุนกิจกรรมด้านต่างๆ ดังนี้

  • ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดกิจกรรมเก็บขยะชายหาดและกิจกรรมบริหารจัดการขยะทะเล การบริจาคเครื่องเลเซอร์เพื่อรักษาเต่าทะเล การสนับสนุนกิจกรรมวันทะเลโลก

  • ด้านการส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ เช่น โครงการการฝึกอาชีพ การฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงาน และการส่งเสริมศักยภาพวิสาหกิจขนาดเล็ก เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด


  • ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น สนับสนุนงบประมาณในการจัดสร้างอาคารผู้ป่วยในโรงพยาบาลลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร สนับสนุนรถรักษ์สุขภาพแก่โรงพยาบาลในพื้นที่ปฏิบัติการ จัดกิจกรรมตรวจสุขภาพให้ประชาชน นอกจากนี้ ยังได้ให้ความช่วยเหลือและมอบถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือผ่านกองทัพภาคที่ 3 และยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการบริจาคโลหิตให้แก่พนักงานและบริษัทคู่ค้าที่สำนักงานใหญ่และพื้นที่ปฏิบัติการ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้