ตัวอย่างการทํางานผิดพลาดของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พัดลม

>> การแก้ไขปัญหาและข้อขัดข้องที่พบบ่อยในเครื่องปรับอากาศ...

29 ส.ค. 57

การแก้ไขปัญหาและข้อขัดข้อง

ที่พบบ่อยในเครื่องปรับอากาศ

ขนาดเล็กและชนิดต่างๆ

 

ชนิดติดผนัง (Wall Type)

ปัญหาที่พบ : เสียงดังจากพลาสติกลั่น

การแก้ไข : ใช้แผ่นยางเทาที่มีกาวหน้าเดียว ความหนาประมาณ 0.5-1 มม. ติดตามส่วนโค้งของฝารีเทิร์นด้านใน เพื่อไม่ให้พลาสติกสัมผัสกันโดยตรงในขณะที่อุณหภูมิเปลี่ยน

ปัญหาที่พบ  :เสียงดังจากใบปรับสวิงขณะทำงาน (หมุน)

การแก้ไข : หาจารบีตามบู๊ธหรือแนวแกนพลาสติกของใบปรับสวิง

 

ชนิดตั้ง/แขวนใต้ฝ้าเพดาน (Universal Type)

ปัญหาที่พบ : เสียงดังมาจาก Orifice

การแก้ไข : Vacuum ให้ดีและเติมน้ำยาใหม่

 
    

ชนิดฝังเพดาน (Ceiling Cassette Type)

ปัญหาที่พบ :  Compressor ไม่ทำงานและมีไฟกระพริบ

การแก้ไข : - ตรวจเช็คระบบลูกลอยอาจเบียดกับถังน้ำทิ้ง ทำให้ลูกลอยค้างข้างอยู่ด้านบน ทำให้ระบบ control สั่งให้ Compressor หยุดทำงาน

- ตรวจเช็คสายไฟลูกลอยมีจุดรอยต่อสายต่างๆ อาจจะหลวม

- ขยับแกนลูกลอยใหม่ (สามารถขยับซ้าย-ขวาได้) ให้อยู่ในตำแหน่งขึ้น-ลงได้สะดวก

 
 

ปัญหาที่พบ :  น้ำหยด

การแก้ไข : - ตรวจเช็คท่อน้ำทิ้งว่าการรัดแค็ปท่อน้ำทิ้งที่ติดตั้งเข้ากับท่อน้ำทิ้งที่ออกจากตัวเครื่องว่าดีหรือไม่ ท่อน้ำทิ้งที่ออกจากตัวเครื่องว่าดีหรือไม่ (ต้องรัดให้แน่นและท่อที่สวมต้องพอดี)

- การเดินท่อน้ำทิ้งต้องให้มีความลาดเอียงที่เหมาะสม จากตัวเครื่องไปจนถึงทางออกของน้ำทิ้ง เพื่อไม่ให้น้ำไหลย้อนกลับขณะที่เครื่องหยุดทำงาน

ปัญหาขัดข้อง สาเหตุที่อาจเป็นไปได้

วิธีการแก้ไข

1. เครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน

1.ฟิวส์ขาด หรือไม่มีฟิวส์

2. สายไฟขาดหรือหลวม

3. แรงเคลื่อนที่ไฟฟ้าต่ำหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก

4. สวิตซ์ควบคุมขัดข้องหรือชำรุด

1. เปลี่ยนหรือใส่ฟิวส์ใหม่

2. ตรวจหาตำแหน่งที่ไฟฟ้าเกิดการลัดวงจร

3. ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่สายไฟก่อนเข้าสวิตซ์ถ้าวัดแล้วมีแรงเคลื่อนถูกต้องแต่แรงเคลื่อนที่ผ่านออกจากตัวสวิตซ์มีค่าน้อยกว่าหรือไม่ถูกต้องให้เปลี่ยนสวิตซ์ใหม่

2. พัดลมเครื่องเป่าลมเย็นทำงาน แต่คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน

1. สวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิ (Thermostat) ไม่ทำงาน

2. สายไฟขาดหรือหลวม

3.แคปสตาร์ท (Starting Capacitor) ชำรุด

4.แคปรัน (Running Capacitor) ชำรุด

5. รีเลย์ (ถ้ามี) ผิดปกติ

6. โอเวอร์โหลดตัดการทำงานหรือชำรุด

7. แรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก

1. ถ้าปรับสวิตซ์ควบคุมอุณภูมิให้อยู่ในตำแหน่งที่เย็นกว่าอุณหภูมิห้อง แต่เครื่องก็ยังไม่ทำงาน ให้เปลี่ยนเทอร์โมสตัทใหม่

2. ตรวจสอบสายไฟหรือขั้วต่อสายไฟต่างๆ

3. ตรวจเช็คแคปสตาร์ท ถ้าชำรุดให้เปลี่ยนใหม่

4. ตรวจเช็คแคปรัน ถ้าชำรุดให้เปลี่ยนใหม่

5. ตรวจซ่อมแก้ไข หรือเปลี่ยนรีเลย์ใหม่

6. ตรวจดูว่าความร้อนที่คอมเพรสเซอร์สูงเกินไปหรือโอเวอร์โหลดผิดปกติหรือไม่

7. ตรวจวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าและทำการแก้ไข
3. พัดลมทำงานมีเสียงดัง

1. พัดลมมีสิ่งแปลกปลอมหรือกระทบสิ่งอื่น

2. พัดลมหรือมอเตอร์พัดลมหลวมหรือชำรุด

3. ใบพัดบิดเบี้ยวไม่สมดุล

1. ตรวจสอบตำแหน่งและช่องว่างของพัดลม

2. ตรวจและขันพัดลมให้แน่นกับเพลา

3. ตรวจสอบการบิดเบี้ยวของใบพัด ถ้าชำรุดให้เปลี่ยนไป
4. ห้องปรับอากาศมีอุณหภูมิสูง

1. ตั้งอุณหภูมิเทอร์โมตัสไว้สูง

2. การกระจายลมเย็นไม่เพียงพอ

1. ปรับตั้งเทอร์โมตัสให้อุณหภูมิต่ำลง

2. ปรุบปรุงการจ่ายลมเย็น

5. น้ำหยดจากเครื่องเป่าลมเย็น

1. ติดตั้งเครื่องเป่าลมเย็นไม่ได้ระดับ

2. ปลายท่อที่ต่อกับถาดน้ำทิ้งมีสิ่งสกปรกอุดตัน

3. ถาดน้ำทิ้งมีรอยรั่ว หรือมีน้ำรั่วจากแหล่งอื่นที่ไม่ได้มาจากเครื่องปรับอากาศ

1. ติดตั้งเครื่องให้ได้ระดับและทำให้ถาดน้ำเอียงลาดลงไปตามทิศทางการไหล

2. ทำความสะอาดถาดน้ำทิ้งและท่อน้ำทิ้ง

3. ใช้วัสดุอุดรอยรั่ว
6. ตัวเครื่องสั่นและมีเสียงลมดังผิดปกติ

1. ท่อน้ำยาด้านดูดและด้านส่งสัมผัสกัน

2. น๊อตหรือสกรูยึดคอมเพรสเซอร์ฝาครอบเครื่องหรือแคปรันหลวม

3. ใบพัดลมบิดงอหรือหลวม

4. พัดลมมอเตอร์เคลื่อนออกจากตำแหน่งติดตั้ง เนื่องจากจุดที่จับยึดหลวม

1. ตัดท่อให้เกิดช่องว่างระหว่างท่อทางด้านดูดและท่อทางด้านส่ง

2. ขันน๊อตหรือสกรูให้แน่น

3. เปลี่ยนพัดลม

4. ตรวจตำแหน่งให้ถูกต้อง และขันน๊อตที่ล็อคให้แน่น

7. คอมเพรสเซอร์สตาร์ไม่ออก (ถ้าปล่อยไว้นาน คอมเพรสเซอร์จะไหม้)

1. ต่อวงจรไฟฟ้าไม่ถูกต้อง

2. ไฟที่จ่ายไปยังเครื่องมีแรงเคลื่อนต่ำ (หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก)

3. แคปรัน (Run Capacitor) เสียหายหรือขัดข้อง

4. มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไหม้

5. กลไกภายในคอมเพรสเซอร์ขัดข้อง

1. ตรวจเช็คและต่อวงจรไฟฟ้าใหม่

2. ค้นหาสาเหตุและหาแนวทางป้องกันแก้ไขให้ถูกต้อง

3. ค้นหาสาเหตุและแก้ไขแล้วเปลี่ยนแคปรันใหม่

4. เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์

8. คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน (คอมเพรสเซอร์ไม่มีเสียงฮัม)

1. สวิตซ์ของเครื่องปรับอากาศยังไม่ได้เปิดหรือเปิดไม่ครบถ้วน (บางตัวอยู่ในตำแหน่ง OFF)

2. ไม่มีฟิวส์หรือฟิวส์ขาด

3. โอเวอร์โหลดตัดวงจร (Trips)

4. ระบบควบคุมการทำงานของเครื่อง เช่น รีโมทคอนโทรลมีปัญหาขัดข้อง

5. ปรับเทอร์โมสตัทที่อุณหภูมิสูงเกินไป ทำให้เทอร์โมสตัทตัด

6. ติดตั้งเทอร์โมสตัทหรือชุดควบคุมอุณหภูมิในตำแหน่งที่โดนลมเย็นจากเครื่องเป่าลมเย็นโดยตรง

7. วงจรไฟฟ้าไม่ถูกต้องหรือเกิดการลัดวงจร

1. ปิดสวิตซ์ที่จ่ายไฟให้เครื่องปรับอากาศให้ครบทุกตัว (สับสวิตซ์ให้อยู่ในตำแหน่ง ON)

2. ใส่หรือเปลี่ยนฟิวส์

3. ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าเพื่อหาสาเหตุของการตัดวงจรแล้วแก้ไขให้เรียบร้อย

4. เปลี่ยนหรือซ่อมแก้ไขระบบควบคุมการทำงานของเครื่อง

5. ปรับตั้งเทอร์โมสตัทให้อุณหภูมิทำความเย็นต่ำลง

6. เปลี่ยนตำแหน่งติดตั้งเทอร์โมสตัทหรือชุดควบคุมอุณหภูมิใหม่ให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่โดนลมเย็น

7. ตรวจเช็คและต่อวงจรไฟฟ้าใหม่
9. คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน และโอเวอร์โหลดตัดวงจร

1. ตัดวงจรไฟฟ้าไม่ถูกต้อง

2. ไฟที่จ่ายไปยังเครื่องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำ (หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าตก)

3. มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไหม้

1. ตรวจเช็ควงจรไฟฟ้าใหม่และแก้ไขให้ถูกต้อง

2. ค้นหาสาเหตุและหาแนวทางป้องกันแก้ไขให้ถูกต้อง

3. เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์
10. โอเวอร์โหลดตัดวงจรและคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานหลังจากที่เริ่มสตาร์ทใหม่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ

1. มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านโอเวอร์โหลดมากเกินไป

2. มีแรงเคลื่อนไฟฟ้ามาก

3. โอเวอร์โหลดขัดข้อง

4. แคปรัน (Run Capacitor) เสียหายขัดข้อง

5. คอมเพรสเซอร์ร้อนจัด

6. คอมเพรสเซอร์ไหม้

1. ตรวจเช็ควงจรไฟฟ้า มอเตอร์พัดลม การต่อสายไฟและขนาดของโอเวอร์โหลดให้ถูกต้อง

2. ค้นหาสาเหตุ และทำการแก้ไข

3. ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้าและเปลี่ยนโอเวอร์โหลด

4. ค้นหาสาเหตุและเปลี่ยนแคปรันใหม่

5. ตรวจวัดสารทำความเย็น (มีการรั่วหรือไม่) ถ้าจำเป็นให้เพิ่มเติมแล้วตรวจสอบซุปเปอร์ฮีท

6. เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์

11. แคปรัน (Run Capacitor) ขาดลัดวงจร

1. ใช้ขนาดความจุไม่ถูกต้อง

2. แรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงผิดปกติ (มากกว่า 110% ของแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูงสุด)

1. เปลี่ยนแคปรันให้มีขนาดความจุที่ถูกต้อง

2. หาสาเหตุและแก้ไขให้ถูกต้อง
12. ท่อน้ำยาด้านดูดมีน้ำหรือเกร็ดน้ำแข็งเกาะ

1. พัดลมของแฟนคอยล์ ยูนิตไม่ทำงาน

2. มีสารทำความเย็นในระบบมากเกินไป

1. หาสาเหตุและซ่อมแก้ไข

2. ปล่อยสารทำความเย็นออกจากระบบ แล้วตรวจสอบซุปเปอร์ฮีท
13. ท่อน้ำยาด้านส่งมีน้ำหรือน้ำแข็งเกาะ (เฉพาะเครื่องรุ่นที่ฉีดน้ำยาที่แฟนคอยล์ ยูนิต)

1. อุปกรณืกำจัดความชื้นและไส้กรองตัน

2. เซอร์วิสวาล์วด้านส่งเปิดไม่สุด

1. เปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่

2. เปิดวาล์วให้สุด
14. ความดันท่อน้ำยาทางด้านดูด และทางด้านส่งต่ำกว่าปกติ

1. สารทำความเย็นในระบบมีน้อย

2. วาล์วคอมเพรสเซอร์รั่วหรือชำรุด

1. ตรวจหารอยรั่วของระบบ ทำการแก้ไขและเติมสารทำความเย็นเข้าไปใหม่ให้ได้ปริมาณที่ถูกต้อง แล้วทำการตรวจสอบซุปเปอร์ฮีท

2. เปลี่ยนวาล์วคอมเพรสเซอร์

บริษัท นิวกี่ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

Newkee Engineering Co.,Ltd.

(นิวกี่ ครบทุกเรื่อง เครื่องทำความเย็น)

582/1 ถ.เพชรเกษม ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

  E-mail :

  +6674 345 607-9
         +6674 345 885
         +6690 526 9898

FAX : +6674 345 610 

  Line ID : newkeehy

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้