ตัวอย่างกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

            5.ช่วยแก้ปัญหา  โดยการทำให้  เวลาที่นักเรียนวาดอะไรไม่ได้  บางทีคุณครูก็จะช่วยด้วยการทำให้   ซึ่งวิธีนั้นทำให้นักเรียนไม่รู้จักอดทนต่อการแก้ปัญหา และไม่พยายามเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเอง  ถ้านักเรียนวาดรูปไม่ได้  ครูควรพูดแนะนำเพื่อทำให้ขั้นตอนการวาดง่ายขึ้น  และใช้คำถามกระตุ้นเพื่อเด็กคิด  เช่น “หน้าของหมามีรูปทรงอย่างไง เป็นสี่เหลี่ยม หรือวงกลม และตัวหมาเป็นรูปทรงอะไร  ” หรือ ให้แนะนำให้เด็กรู้จักการค้นคว้าและหาข้อมูลรอบตัวในการแก้ปัญหา เช่น  “เราลองไปหารูปหมาในหนังสือเป็นตัวอย่างดีไหม  บางทีการที่เราได้เห็นรูป ”

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สามารถเชื่อมโยงการทำงานของสมองหลายด้าน  และอวัยวะบางส่วนและพัฒนาจินตนาการโดยเชื่อมโยงประสบการณ์เป็นภาพ/รูปทรง  เด็กได้ฝึกปฏิบัติจริง  มีประสบการณ์ตรง  เรียนรู้ผ่านการสังเกตและฝึกกิจกรรมอย่างหลากหลาย  เพื่อพัฒนาจุดเชื่อมต่อของใยประสาท  ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ผ่อนคลาย  มีอิสระทางความคิด  ผลงานศิลปสร้างสรรค์เกิดขึ้นจากการคิดและการตัดสินใจของเด็กปฐมวัย

กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อเล็กได้เป็นอย่างดี และยังเชื่อมโยงพัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน ทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อของใยประสาทที่สามารถพัฒนาไปสู่แบบแผนการเรียนรู้ของสมอง ในการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์ตรงและฝึกปฏิบัติอย่างหลากหลาย เมื่อเด็กมีทักษะมากพอจะเกิดความมั่นใจในความสามารถของตนเด็กจะใช้จินตนาการของตนอย่างเต็มที่

การจัดกิจกรรมศิลปะ คือการจัดกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะที่เชื่อมโยงไปสู่พัฒนาการทางร่างกาย สมองและสติปัญญา ด้วยกิจกรรมที่สัมผัสโดยตรงกับผู้เรียน ซึ่งใช้ทักษะในการสร้างผลงานศิลปะเป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรม โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงด้วยตนเอง กิจกรรมศิลปะเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาต่างๆ ให้กับผู้เรียน โดยอาศัยประสบการณ์การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธี ได้แก่ การวาดภาพ การสร้างผลงานจากสี การปั้น การพิมพ์ การประดิษฐ์ได้แก่ ฉีก ปะ ตัด พับ สร้างสิ่งประดิษฐ์ ต่อเติม และการประดับตกแต่ง การจัดดอกไม้ จัดห้อง จัดสวน จัดโต๊ะ ฯลฯ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะทั้งที่เป็นงาน 2 มิติและ 3 มิติ

กุลยา ตันติผลาชีวะ (2553) กล่าวว่า การจัดกิจกรรมศิลปะเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้สำรวจ ค้นพบและได้ทดลองกับสื่ออุปกรณ์ทางศิลปะ ซึ่งช่วยให้เกิดการพัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จากการสังเกตและประเมินภาพ ครูจึงมีบทบาทในการวางแผนเตรียมกิจกรรมต่างๆให้พร้อม ควรให้คำแนะนำเพียงเล็กน้อย ให้เด็กค้นพบกระบวนการทางศิลปะด้วยตนเอง โดยการทดลองใช้อุปกรณ์ที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้เด็กทำงานด้วยความพึงพอใจและเป็นอิสระ เสริมสร้างการเรียนรู้ทางศิลปะ และบูรณาการความรู้ที่เกี่ยวข้อง ครูควรกระตุ้นจินตนาการของเด็กพร้อมสนับสนุนให้เด็กแสดงออกทางความคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยหลีกเลี่ยงให้เด็กลอกเลียน หรือวาดภาพระบายสีจากสมุดภาพ

อัญชลี ไสยวรรณ (2553) กล่าวว่า กิจกรรมศิลปะเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กได้เป็นอย่างดี และยังเชื่อมโยงพัฒนาการของอวัยวะหลายส่วน ทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อของใยประสาท ที่สามารถพัฒนาไปสู่แบบแผนการเรียนรู้ของสมอง ในการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์ตรงและฝึกปฏิบัติอย่างหลากหลาย เมื่อเด็กมีทักษะมากพอจะเกิดความมั่นใจในความสามารถของตนเด็กจะใช้จินตนาการของตนอย่างเต็มที่

การจัดกิจกรรมศิลปะ ควรมีเป้าหมาย หรือความเชื่อเกี่ยวกับผลงานศิลปะ 5 ประการคือ

1. เด็กจะต้องเป็นผู้ริเริ่ม

2. เด็กจะเป็นผู้นำทางความคิด

3. เด็กต้องเป็นผู้มีจินตนาการกว้างขวาง

4. เด็กจะต้องมีอิสรภาพ

5. เด็กจะต้องเป็นผู้กระตือรือร้นในการรับรู้

การจัดกิจกรรมศิลปะจะช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีสำหรับชีวิตในสังคม และลักษณะนิสัยที่มุ่งหวังจะกลับมาผลักดันให้การสร้างสรรค์ศิลปะประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้น ซึ่งกิจกรรมศิลปะที่แสดงออก สามารถพิจารณาสรุปได้ 3 ลักษณะดังนี้

1. กิจกรรมแสดงประสบการณ์

เป็นกิจกรรมศิลปะที่เน้นการแสดงออกเป็นภาพ รูปทรง หรือเรื่องราวที่มาจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น เด็กที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตภายในบ้าน ชีวิตในโรงเรียน การจราจรบนถนน ภาพยนตร์ การได้ท่องเที่ยว รวมทั้งการได้พบเห็นวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ประสบการณ์เฉพาะตัวจะมีแรงกระตุ้นความรู้สึกนึกคิดได้เป็นอย่างดี และจะแสดงออกทางศิลปะเกี่ยวกับประสบการณ์เหล่านี้ ตามสภาพการรับรู้ ความคิดหรือความเข้าใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับศักยภาพในการแสดงออกตามวุฒิภาวะ และพัฒนาการด้านการทำงานของแต่ละคนด้วย ซึ่งกิจรรมที่แสดงประสบการณ์ มิได้หมายความว่าเป็นการแสดงประสบการณ์เพียงอย่างเดียว แต่จะเสนอจินตนาการหรือความคิดสร้างสรรค์ในแง่มุมอื่นๆ ไว้ด้วย

2. กิจกรรมเสนอจินตนาการ

ผลงานศิลปะทุกชิ้นย่อมแสดงจินตนาการไว้ด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็นท่าที่ของเรื่องราว รูปทรง เส้น สี ฯลฯ นอกจากเด็กจะสร้างสรรค์ศิลปะในแง่ของการแสดงออกซึ่งประสบการณ์ตรงอย่างเด่นชัดแล้ว บ่อยครั้งที่จะเสนอจินตนาการส่วนตัวเป็นจุดเด่นที่สุด แม้จินตนาการนั้นจะมาจากพื้นฐานประสบการณ์ก็ตาม “จินตนาการ” ทั้งจินตนาการเกี่ยวกับเรื่องราว รูปทรง หรือบรรยากาศบนพื้นภาพ ซึ่งจินตนาการอาจจะเป็นเรื่องความเพ้อฝัน การคาดหวังอนาคต หรือการรวมพลังความคิดไปสู่ดินแดน หรือสิ่งของต่างๆ ที่มองไม่เห็น เช่น เรื่องราวใต้ดิน ในท้องทะเล บนท้องฟ้า บนดวงจันทร์ ซึ่งจินตนาการนี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างดี เพราะเป็นความคิดที่ไม่มีกรอบ หรือข้อแม้ใดตามกฏระเบียบที่ตั้งไว้

3. กิจกรรมสร้างสรรค์รูปแบบ

ในที่นี้เจาะจงเฉพาะผลงานศิลปะ ที่เน้นการริเริ่มสร้างสรรค์รูปแบบโดยตรง ซึ่งการสร้างสรรค์รูปแบบคือ การริเริ่มสร้างสรรค์รูปทรง วัสดุที่ใช้การผสมผสาน 2 และ 3 มิติ โครงสร้างและพื้นที่ว่าง โครงสร้างและการเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเราอาจจะพบได้ทั้งงานภาพเขียน ภาพปะติด ประติมากรรม และงานสื่อประสม ซึ่งจะต้องอาศัยการแนะนำจากครูผู้สอน อาจยกตัวอย่างด้วยผลงานตัวอย่างในรูปแบบต่างๆ พยายามชี้ชวนให้คิดสิ่งใหม่ท่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นสิ่งที่จินตนาการขึ้นจากประสบการณ์ที่ผ่านมา

นอกเหนือจากการออกแบบกระบวนการ กิจกรรม และเตรียมความพร้อมต่างๆ แล้วสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นสำคัญคือ พัฒนาทางการทางศิลปะของแต่ละช่วงวัย ความปลอดภัย และความสนุกสนานที่จะเกิดขึ้นจากกิจกรรม เพื่อการสร้างประสบกรณ์ทางสนุทรียะที่ดีให้กับผู้ร่วมกิจกรรม และควรหลีกเลี่ยงการวิจารณ์ผลงานศิลปะของเด็ก

เพราะจะมีผลกระทบต่อจิตใจเกินกว่าจะคาดคิด คำพูดที่ไม่เหมาะสม จะทำให้เกิดการยับยั้งความสามารถของเด็ก และอาจทำให้เกิดการสร้างงานซ้ำซาก เพราะคิดว่าครูชอบ การให้เด็กอธิบายผลงานเมื่อยังไม่พร้อม เด็กอาจบอกไปเพื่อให้ครูพอใจ แต่อาจไม่สอดคล้องกับผลงานที่ทำ จึงควรจัดสถานที่ให้เด็กแสดงผลงาน เป็นการเปิดโอกาสและพื้นที่ให้เด็กทุกคนได้รับอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อสร้างความมั่นใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะ

          อย่างไรก็ตามการจัดกิจกรรมศิลปะ ต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้ออกแบบและจัดกิจกรรม ซึ่งสามารถทำได้ทั้งใน และนอกระบบการศึกษา โดยการบูรณาการกิจกรรมศิลปะในศาสตร์ หรือองค์ความรู้ต่างๆได้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสดงศักยภาพ และค้นพบความสามารถในด้านต่างๆ ของตนเอง ซึ่งจะทำให้การจัดกิจกรรมศิลปะเกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์ จินตนาการ และประสบการณ์สุนทรียะที่จะได้รับจากกิจกรรมมากกว่าผลงานศิลปะที่มีความสมบูรณ์

เอกสารอ้างอิง

ขนิษฐา บุนนาค. (2562). การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย. สืบค้น 18 สิงหาคม 2563 .

เข้าถึงได้จาก //www.youngciety.com

วิสูตร โพธิ์เงิน. (2556). กิจกรรมศิลปะสำหรับเด็ก. เอกสารคำสอนรายวิชา 471205 ศิลปะสหรับเด็ก (Art for Children) สาขาวิชาการประถมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

George Szekely ,Julie Alsip Bucknam. (2012). Art Teaching: Elementary through Middle School. New York, United States of America. : Edwards Brother, Inc.

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้