ตัวอย่าง งานวิจัย R&D ภาษาอังกฤษ

         การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต
ข้อสังเกตของการวิจัย R&D 
1.ปัญหาการวิจัย R&D
    ปัญหาการวิจัยของ R&D ต้องตอบสนองความต้องการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  มี    2   ลักษณะ คือ ต้องการแก้ปัญหา  ต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ 

ตัวอย่างการเขียนปัญหาวิจัย
   1. สิ่งใดจะช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น
   2.  รูปแบบใดที่สามารถพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนได้ดี
   3.  เครื่องมือใดทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บน้อยลง
   4 . อะไรทำให้องค์กรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   5.  รูปแบบใดที่เหมาะสมกับสภาพการจัดการศึกษาในปัจจุบัน
   6.  รูปแบบการบริหารใดที่ทำให้โรงเรียนขนาดเล็กมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 รู้ไว้ใช่ว่า..  ปรัชญาของ R&D  คือ Need  หมายถึงความต้องการ
                 สิ่งที่ได้จาก R&D คือ นวัตกรรม

2.การตั้งชื่อเรื่องวิจัย R&D
      หลักการตั้งชื่อสำหรับวิจัยและพัฒนาจะความแตกต่างจากวิจัยประเภทอื่น ๆ และมีหลักในการตั้งชื่อ ดังนี้
1.นิยมตั้งเป็นประโยคบอกเล่า
2.มีคำว่า "พัฒนา"อยู่ช่วงต้นของประโยค
3.อาจมี หรือไม่มีคำว่า "วิจัย" อยู่ที่ชื่อเรื่องก็ได้
4.ปัญหาที่ต้องการวิจัยอยู่ช่วงต้นของประโยค
5.กลุ่มเป้าหมายอยู่ช่วงกลางของประโยค
6. ถ้าส่วนท้ายของประโยคบ่งบอกสถานที่  งานวิจัยนั้นจะใช้ได้เฉพาะพื้นที่ที่กำหนดเท่านั้น  แต่ถ้าไม่ได้ระบุสถานที่ จะใช้ได้ทุกที่ เป็นการเปิดกว้าง

ตัวอย่างชื่อวิจัย R&D
    - การวิจัยและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในภาคกลาง
    - การพัฒนาระบบการสร้างสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
    - การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะชีวิตนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

รู้ไว้ใช่ว่า...
         ข้อสังเกตชื่อเรื่องของวิจัย R&D แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

         ส่วนแรก จะบ่งบอกถึงความต้องการของผู้วิจัย ส่วนที่สองจะบ่งบอก  
 ถึงนวัตกรรมของวิจัย และส่วนสุดท้ายบ่งบอกถึงเป้าหมายว่าทำวิจัยกับใคร มีกระบวนการอย่างไร

                                   

3.การเขียนวัตถุประสงค์ของ R&D
    การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยและพัฒนามีหลักในการเขียนดังนี้
    1.นิยมเขียนเป็นข้อ ๆ  (มากกว่า 1 ข้อ)
    2.ขึ้นต้นด้วยคำว่า  "เพื่อ"
    3.เขียนเรียงลำดับข้อให้เป็นไปตามวิธีวิจัยที่ใช้
    4.ส่วนแรกของประโยคควรเป็นการวิจัย แล้วตามด้วยการพัฒนา  การประเมินสิ่งที่ได้จากการวิจัยหรือประเมินผลการใช้นวัตกรรม   และมีการขยายผลสิ่งที่ได้

   ตัวอย่างการเขียนวัตถุประสงค์ของ R&D
   1.เพื่อศึกษาระบบการสร้างสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
   2.เพื่อพัฒนาระบบการสร้างสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
   3.เพื่อประเมินการใช้ระบบการสร้างสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
   4.เพื่อศึกษาและขยายผลการใช้ระบบการสร้างสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

4.ตัวแปร R&D

  

วิธีแบ่งตัวแปรที่นิยมกันมากที่สุดคือแบ่งเป็นตามลักษณะการใช้ ดังนี้
     1 ตัวแปรต้น (Independent Variable) หมายถึงคุณลักษณะที่เกิดก่อน หรือเป็นสาเหตุของตัวแปรตาม หรืออาจจะเรียกว่า ตัวแปรอิสระ สามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบ คือ ตัวแปรอิสระที่สามารถจัดกระทำได้ (Active Variable) และตัวแปรอิสระที่ไม่สามารถจัดกระทำได้(Attribute Variable) โดย ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ชนิดเป็น ตัวแปรสาเหตุเช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกัน คือตัวแปรอิสระที่ไม่สามารถจัดกระทำได้ ผู้วิจัยเป็นเพียงผู้เลือกว่ากลุ่มใดมีลักษณะอย่างไร แต่ไม่สามารถสร้างลักษณะนั้นขึ้นมา ในขณะที่ตัวแปรอิสระที่สามารถจัดกระทำได้ ผู้วิจัยสามารถสร้างลักษณะนั้นขึ้นมาได้
     2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) หมายถึง คุณลักษณะที่คาดว่าจะได้รับ หรือเป็นผลที่ได้รับจากตัวแปรอิสระ ตัวอย่างเช่น การวิจัยที่ศึกษาอายุของผู้สอนและสภาพของห้องเรียนว่ามีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือไม่ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ตัวแปรตามได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
     3 ตัวแปรที่มีผลกระทบต่อข้อสรุปของการวิจัย (Confounding Variable) หมายถึง ตัวแปรที่มีผลกระทบต่อการสรุปความเป็นสาเหตุของตัวแปรต้นที่มีต่อตัวแปรตาม จำแนกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ
          1) ตัวแปรแทรกซ้อน (Extraneous Variable) เป็นตัวแปรที่มีผลต่อตัวแปรตามเช่นเดียวกับตัวแปรอิสระ แต่เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยไม่ได้สนใจที่จะศึกษา ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุม ไม่เช่นนั้นตัวแปรแทรกซ้อนอาจทำให้ผลที่ศึกษาไม่ได้ข้อสรุปอย่างที่สรุปไว้ก็ได้ ทำให้ผลที่ได้คาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
         2) ตัวแปรสอดแทรก (Intervening Variable) เป็นตัวแปรที่สอดแทรกอยู่ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม

รู้ไว้ใช่ว่า...

    โดยทั่วไปแล้ว การแยกตัวแปรอิสระออกจากตัวแปรตาม มีหลักง่าย ๆ ดังนี้           1. ถ้าตัวแปรใดเกิดก่อน ให้ถือว่าตัวแปรนั้นเป็นตัวแปรอิสระ ส่วนตัวแปรที่เกิดภายหลังเรียกตัวแปรตาม เช่น เพศ กับ ระดับการศึกษาจะต้องถือว่า เพศ เป็นตัวแปรอิสระ (เพราะเกิดก่อน) ระดับการศึกษาเป็นตัวแปรตาม
          2. ถ้าตัวแปรใดเป็นสาเหตุของอีกตัวแปรหนึ่ง ตัวแปรนั้นถือว่าเป็นตัวแปรอิสระ ส่วนตัวแปรที่เป็นผลนั้นถือว่าเป็นตัวแปรตาม

       ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ในงานวิจัยและพัฒนา
       ในงานวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา ตัวแปรต้น (Independent Variable) คือ ตัวนวัตกรรมหรือปฏิบัติการ (Treatment) ที่นักวิจัยให้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งอาจหมายถึง สื่อ/ ชุดสื่อ หรือวิธีการใหม่ๆ ในการจัดการศึกษา ส่วนตัวแปรตาม คือ ตัวแปรที่เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการใส่ปฏิบัติการ เช่น ความรู้ ความพอใจ เจตคติ ทักษะ หรือสภาพการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เป็นต้น
     สรุปตัวแปรใน R&D  
   -ในงานวิจัย R&D ไม่นิยมเขียนตัวแปรแยก ตัวแปรต้น กับตัวแปรตาม 
   -จะเขียนตัวแปรไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
   -ไม่ระบุว่ามีตัวแปรกี่ตัว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรีวิวในบทที่ 2 

                                     

5.กรอบแนวความคิดในการวิจัย  (Conceptual  Framework)

          การนำเสนอภาพรวมๆ  ของงานวิจัยที่ผู้วิจัยจะทำโดยกำหนดออกมาให้เห็นรูปธรรมชัดเจน  จากการศึกษาวิเคราะห์เอกสารตำรา  ทฤษฎี  ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างครอบคลุม  แล้วนำเสนอหรือสรุปเป็นภาพรวมให้ชัดเจนให้ง่ายต่อความเข้าใจในปัญหาและวิธีการวิจัยเป็นกรอบของการวิจัย  ด้านเนื้อหาสาระ  ประกอบด้วย  ตัวแปร  และการระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

   การเสนอกรอบแนวความคิด  สามารถทำได้ 3 รูปแบบ คือ 
            1.  แบบพรรณนาหรือบรรยาย  เป็นการเขียนบรรยายเพื่อให้เห็นว่า                 - ในการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้างที่สำคัญเกี่ยวข้องกับปัญหาหรือประเด็นของการวิจัย  
             -ตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างไร
             -มีเหตุผลหรือทฤษฎีอะไรมาสนับสนุน        
            2. แบบแผนภาพ
                                                        
             -แผนภาพที่แตกต่างกันช่วยให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นว่าผู้วิจัยมีความคิดอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร                                              
             - ผู้วิจัยที่มีตัวแปรเดียวกันจำนวนเท่ากันอาจมีแนวความคิดแตกต่างกัน              3. การบรรยายและนำเสนอสรุปเป็นแผนภาพ           

   หลักการในการเลือกกรอบแนวความคิดในการวิจัย    
        
1.ความตรงประเด็น  พิจารณาได้จากเนื้อหาสาระของตัวแปรและระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา    
         2.ความง่ายและไม่สลับซับซ้อน ควรเลือกทฤษฎีที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาได้  จำนวนตัวแปรและรูป แบบของความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีอยู่ในทฤษฎีไม่ซับซ้อน
         3.ความสอดคล้องกับความสนใจ เนื้อหาสาระเกี่ยวกับตัวแปรหรือความ สัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสอดคล้องกับความสนใจของผู้วิจัย                      
         4.ความมีประโยชน์เชิงนโยบาย คำนึงถึงประโยชน์ทางด้านนโยบายหรือการพัฒนาสังคม การศึกษา ผู้วิจัยจึงควรเลือกตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

                                          

 6.การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง
     เป็นการสืบค้นข้อมูลในรูปแบบต่างๆ มีการวางกรอบทบทวนเอกสารไว้ก่อน จะทำให้ไม่หลงทิศทาง และสามารถรวบรวมเอกสารได้ครบถ้วนและตรงกับงานวิจัยที่ทำ
     เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย  หมายถึง ตำรา หนังสือ เอกสารอ้างอิง   รายงานการวิจัย  บทคัดย่อ   การวิจัย  วารสาร   นิตยสาร  ฯลฯ  ที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือสอดคล้องกับเรื่องที่วิจัย 

หลักเกณฑ์ในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1.แสวงหาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยให้มากที่สุด ศึกษาเนื้อหาสาระของทฤษฎี  แนวคิด  หลักการที่เกี่ยวข้องให้มาก
2.พิจารณาว่าเอกสารนั้นมีความทันสมัย  หรือเหมาะที่จะใช้อ้างอิงหรือไม่
3.พิจารณาว่าเอกสารนั้นเป็นเครื่องชี้นำในการศึกษาข้อมูลในเรื่องนั้น ๆ ได้หรือไม่ 4.พิจารณาว่าเอกสารนั้นมีหนังสืออ้างอิงพอที่จะแนะแนวทางในการศึกษาข้อมูลในเรื่องนั้น ๆ ได้หรือไม่
5.พิจารณาคัดเอาส่วนที่มีประโยชน์ของการวิจัยของตน
6.ทำการศึกษาแบบวิเคราะห์ เช่น ดูความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องที่จะศึกษา ระหว่างส่วนต่าง ๆ ข้อความต่าง ๆ สมเหตุสมผลหรือไม่ ผู้เขียนแย้งตนเองหรือไม่  ข้อมูลได้มาอย่างไร  เพียงพอหรือไม่  น่าเชื่อถือหรือไม่  ข้อสรุปมีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่  เป็นต้น

หลักการเขียน เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. เสนอแนวคิดตามทฤษฎี  แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยลงไป (ไม่ควรนำเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการวิจัยมาเขียนไว้)
2. อธิบายปัญหาหรือสถานการณ์ที่ยังมีข้อสงสัย  และความรู้ที่เป็นปัจจุบันในหัวข้อที่วิจัย
3. ต้องเขียนอ้างอิง ( ชื่อคน/ชื่อหนังสือ . ปี  : หน้า)

ข้อเสนอแนะเรื่อง เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. การเลือกเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้ดูจาก   - ชื่อเรื่อง   - จุดมุ่งหมาย
   - ขอบเขต(ตัวแปร)   - เครื่องมือ,นวัตกรรม,เทคโนโลยีที่เราใช้
2. เลือกเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง
3. คำพูดที่ไม่สามารถนำมาสรุปแล้วสละสลวยเหมือนของเดิมให้ใส่เครื่องหมาย   “...ข้อความ...”และบอกอ้างอิงด้วย
4. เรียงลำดับความสำคัญ  เช่น 1) หลักสูตร  2) สื่อ
5.  การพูดถึงหลักสูตร ต้องมี- โครงสร้าง-สาระ-มาตรฐาน-ประเมินผลอย่างไร
6.  การพูดถึงสื่อ  ต้องมี
- ความหมาย - ประโยชน์ - ประเภท - การออกแบบ
                  - การใช้    - การประเมิน
7. การประเมินผลสื่อ   - คุณภาพสื่อ - ดัชนีประสิทธิภาพ
                 - ดัชนีประสิทธิผล   - ความเชื่อมั่น
8. ถ้าเป็นงานวิจัยประเภทพัฒนาต้องมี เครื่องมือ (แบบวัดต่างๆ)
      - คิดวิเคราะห์   - คิดวิจารณญาณ

  7. การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

          เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่   ผลการวิจัยสื่อที่นำมาศึกษาวิจัยและพัฒนาหรือนำมาเปรียบเทียบ หรือประเมินผล ที่ได้จากการผลิตสื่อ สถาบันที่เข้าไปใช้ในการวิจัย  เนื้อหาในหลักสูตร ความหมาย ประเภทและรูปแบบ ประโยชน์และคุณค่าของการวิจัย
         งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง   เป็นส่วนของงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ประโยชน์ของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.ช่วยให้เข้าใจทฤษฎี  แนวความคิด  ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่วิจัย
2.ช่วยป้องกันการทำวิจัยซ้ำซ้อนกับคนอื่นที่วิจัยไปแล้ว
3.ช่วยให้เราทราบผลงานวิจัยที่ผ่านมาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่วิจัยว่ามีการศึกษากว้างขวางมากน้อยแค่ไหน  ในแง่มุมใด  ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่จะนำมาประกอบเหตุผล ในการตั้งสมมติฐานของผู้วิจัยและนำมาประกอบเหตุผลในการอภิปรายผลการวิจัย
4.เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัย เลือกตัวแปรที่จะศึกษา ออกแบบการวิจัย  สร้างเครื่องมือ  วิเคราะห์ข้อมูล  แปลผล  สรุปผล  และเขียนรายงานการวิจัย
5.เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพของเรื่องที่จะทำวิจัย  เพราะในการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยอย่างกว้างขวางจริงจัง  จะช่วยให้เข้าใจในเรื่องที่จะศึกษาอย่างลุ่มลึก  ในการศึกษาผลงานวิจัยต่าง ๆ ทำการพิจารณาถึงจุดอ่อนและจุดดีของแต่ละเรื่อง แล้วหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดจุดอ่อนและเสริมสร้างจุดดีเหล่านั้นให้เกิดขึ้นในการวิจัยของตน

ขั้นตอนการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ขั้นแรก อ่านราบละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ ให้รู้เรื่องทั้งหมด
ขั้นที่สอง วิเคราะห์เรื่องที่อ่าน โดยจับประเด็นใหญ่ๆมาสรุปเป็นตาราง ดังนี้
ก. ปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ สมมติฐาน
ข. รูปแบบการวิจัย ขนาดตัวอย่าง ตัวแปรที่สำคัญ
ค. เครื่องมือวัดวิธีเก็บข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูล
ง. ผลการวิจัย
ขั้นที่สาม เขียนเรียบเรียงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเรียบเรียงเรื่องที่อ่านในขั้นที่สองให้ต่อเนื่องกัน ลักษณะของความต่อเนื่องอาจพิจารณาได้หลายลักษณะ ลักษณะที่สำคัญและพบมากในการเขียนรายงานวิจัยลงในวารสารวิชาการ ก็คือ ลักษณะการต่อเนื่องของผลการวิจัยและตัวแปรสำคัญๆที่มีบทบาทต่อผลการวิจัย สำหรับหัวข้ออื่นๆที่จะนำมาเขียนขึ้นอยู่กับว่า ผู้วิจัยต้องการนำประเด็นนั้นมาเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่จะทำมากน้อยแค่ไหน เช่น ขนาดของตัวอย่าง หรือวิธีสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวัด หรือแบบการทดลอง เป็นต้น

หลักในการเขียนเรียบเรียงงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. การเขียนเรียบเรียงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ให้เลือกเอาเฉพาะงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่จะศึกษาจริงๆ เท่านั้นมาเขียน
2. การเขียนเรียบเรียงต้องเน้นในลักษณะของการเชื่อมโยง และความต่อเนื่องของเนื้อหาในประเด็นที่เป็นปัญหาการวิจัย ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญมากกว่าที่จะเขียนในลักษณะเรียงต่อเนื่องกันตามระยะ เวลาก่อนหลังของผู้ที่ศึกษาวิจัย และจุดอ่อนข้อนี้มักจะพบบ่อยๆในรายงานวิจัยทั่วๆไป คือ จะเอางานวิจัยของแต่ละคนมาเรียงต่อกันตามระยะเวลาก่อนหลังที่ทำการวิจัยใน แต่ละย่อหน้าไปเลย โดยไม่ได้มีการเชื่อมโยงในเนื้อหาที่สำคัญๆแต่อย่างใด
3. ต้องมีการเขียนสรุปในตอนท้ายด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้ข้อความขาดตอนทิ้งค้างไว้เฉยๆ ข้อความที่สรุปจะเป็นส่วนเชื่อมโยงระหว่างการวิจัยที่ศึกษามาแล้วกับงาน วิจัยที่จะศึกษานี้นั้นมันเกี่ยวข้องกันอย่างไร ถ้าไม่สามารถสรุป เพื่อชี้จุดตรงนี้ให้เห็นได้ การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่ทำมาแล้ว ก็แทบจะไม่มีความหมายอะไรเลย แนวทางของการเขียนสรุปสามารถเขียนได้ในหลายลักษณะขึ้นอยู่กับประเด็นสำคัญ ๆ ที่ได้จากการอ่านเอกสารและรายงานนั่นเอง

                                        

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้