ความเร็วหลุดพ้นที่ผิวโลก

ตัวเลขเกิดจากกฎทรงพลังงานของวัตถุเคลื่อนที่ ซึ่งในที่คืออวกาศยานที่มีมวล m โโดยมีระยะการเคลื่อนที่ r จากจุดศูนย์กลางของโลกที่มีมวล M โดยมีความเริ่มต้นคคือความเร็วหลุดพ้น (Ves) โดยจุดปลาย (Final State) ระยะทางของวัตถุไกลจากโลกมาก และความเร็วเมื่อเทียบกับระยะห่างจากโลกน้อยมากๆ จนสมมติให้มีค่าเท่ากับ 0 (ศูนย์) เพราะฉะนั้น พลังงานจลน์ (K) และ พลังงานศักย์โน้มถ่วง (Ug) ที่จะนำมาคำนวณ
          โดยเมื่อเราแทนค่าดูจะพบว่า บนดวงจันทร์มีความเร็วหลุดพ้นที่ 2.38 กิโลเมตรต่อวินาที บนโลกวัตถุต้องมีความเร็วหลุดพ้น 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที สำหรับบนดวงอาทิตย์ของเรานั้นต้องใช้ความเร็วหลุดพ้นมากกว่าบนโลกมากคือมากถึง 618 กิโลเมตรต่อวินาที ส่วนคำถามที่สำคัญที่เราอยากรู้คือในกรณีของซีรีส เราทราบว่าซีรีสมีมวลประมาณ \(1.17*10^2\) กิโลกรัม มีรัศมี \(3.8*10^5\) เมตร เมื่อแทนค่าลงในสมการความเร็วหลุดพ้นจะพบว่าซีรีสมีความเร็วหลุดพ้น 0.64 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับความเร็วหลุดพ้นของโลกนั่นเป็นเพราะว่าซีรีสมีมวลที่น้อยมาก น้อยกว่าดวงจันทร์ของโลกเราเสียอีก เมื่อเราสมมติให้ในอนาคตมีนักบินอวกาศไปสำรวจซีรีส เมื่อสำรวจเสร็จนักบินอวกาศสามารถออกจากซีรีสได้โดยยานไม่ต้องใช้ความเร็วต้นมากเท่าไหร่นักและสามารถกลับถึงโลกได้อย่างปลอดภัย

อยากไปอวกาศ เชิญอ่านทางนี้ครับ #Basicsofspaceflight Ep. 3 ปราการด่านแรกของการไปอวกาศ:...

Posted by NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ on Tuesday, March 30, 2021

การส่งดาวเทียมและยานอวกาศจากพื้น โลกขึ้นสู่อวกาศ  ต้องต่อสู้กับแรงดึงดูดของโลก  ยานอวกาศต้องเอาชนะแรงดึงดูดนี้โดยอาศัยจรวดที่มีแรงขันดับและความเร็วสูง  ความเร็วของจรวดต้องมากกว่า  7.91  กิโลเมตรต่อวินาที  ยานอวกาศจึงจะสามารถข้นไปสู่อวกาศ  และโคจรรอบโลกในระดับต่ำที่สุด  ( 0  กิโลเมตร  )  ได้  ถ้าความเร็วมากกว่านี้  ยานจะขึ้นไปโคจรอยู่ในระดับที่สูงกว่า  เช่น  ถ้าความเร็งจรวดเป็น  8.26  กิโลเมตรต่อวินาที  ยานจะขึ้นไปได้สูง  644  กิโลเมต  หากจะให้ยานหนีออกไปโคจรรอบดวงอาทิตย์  จรวดที่พายานออกไปต้องมีความเร็วที่ผิวโลกมากกว่า  11.2  กิโลเมตรต่อวินาที  ซึ้งเรียกว่า  ความเร็วหลุดพ้น  (  escape  velocity)

ความเร็วหลุดพ้นจากโลกจะต่ำลงเมื่อห่างจากโลกมากขึ้น

      จรวดต้องมีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 40,320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (25,039 ไมล์ต่อชั่วโมง) เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก และทะยานขึ้นสู่อวกาศ ความเร็วนี้เรียกว่า ความเร็วหลุดพ้น (Escape velocity) ความเร็วหลุดพ้นที่บินอยู่ในโลกต้องใช้มากในการส่งดาวเทียมปล่อยเข้าสู่วงโคจร

วิดีโอแอนิเมชัน ปล่อยจรวดพุ่งขึ้นสู่อวกาศ

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

วิดีโอแสดงภาพสไลด์ ความเร็วหลุดพ้นพร้อมเพลงประกอบสไลด์

รูปดาวเทียมลอยในอวกาศ

      เมื่อจรวดบรรทุกดาวเทียมทะยานไปถึงจุดวงโคจรที่เตรียมปล่อยดาวเทียม ณ จุดปล่อยนี้จะต้องมีความสมดุลระหว่างแรงดึงดูดของโลกที่จะคอยดึงดาวเทียมให้ตกลงสู่พื้นโลก และความเฉื่อย (Inertia) ในการเคลื่อนที่ของดาวเทียมในอวกาศ ความเร็วในการเคลื่อนที่ของดาวเทียมในวงโคจรมีค่าความเร็วประมาณ 27,359 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (17,000 ไมล์ต่อชั่วโมง) เราเรียกความเร็วในการเคลื่อนที่ของดาวเทียมโดยไม่ตกสู่พื้นโลก และไม่ล่องลอยออกไปในอวกาศ เรียกว่า ความเร็ววงโคจร (Orbital velocity) ความสูงจากพื้นโลกของดาวเทียมในอวกาศมีค่าประมาณ 242 กิโลเมตร (150 ไมล์)

รูปวงโคจรดาวเทียม 1

รูปวงโคจรดาวเทียม 2

      ความสำคัญของแรง และความเร็วที่กระทำกับดาวเทียม

      - ถ้าโลกไม่มีแรงโน้มถ่วงช่วยดึงดาวเทียม มันจะเคลื่อนที่ลอยออกไปในอวกาศ

      - ถ้าดาวเทียมเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เร็วเกินไป มันจะหลุดออกไปจากเส้นทางวงโคจร ในทางกลับกัน

      - ถ้าดาวเทียมเคลื่อนที่ช้าเกินไป แรงโน้มถ่วงของโลกจะดึงดาวเทียมตกลงสู่พื้นผิวโลก


      ดาวเทียมที่เคลื่อนที่ในวงโคจรจะมีแรงจากที่กล่าวข้างต้นมาฉุด จนเกิดเป็น แรงฉุด(Drag) เพื่อให้ดาวเทียมอยู่ในวงโคจรได้นาน ๆ โดยไม่ตกผ่านชั้นบรรยากาศ และถูกเผาไหม้ไปจนหมด และเพื่อไม่ให้ดาวเทียมออกไปจากเส้นทางวงโคจร จะต้องรักษาสมดุลของแรงไว้ให้ดี ในการโคจรรอบโลก

       สถานีควบคุมภาคพื้นดินจะคอยควบคุมดาวเทียมให้อยู่ในวงโคจรตลอดเวลา โดยที่ดาวเทียมจะมีระบบไอพ่นขับดัน จะจุดเครื่องยนต์จรวดไอพ่น ก็ต่อเมื่อเห็นว่าดาวเทียมเริ่มห่างไกลจากโลก (Apogee) ของวงโคจรของมัน (จุดจากระยะทางที่มากที่สุดจากโลก) และจุดเครื่องยนต์เมื่อเห็นว่าดาวเทียมเริ่มเข้าใกล้โลก (Perigee) เกินไป คอยบังคับทิศทางให้ดาวเทียมรักษาระดับและทิศทางไปตามวงโคจร เพื่อให้เป็นวงโคจรที่กลมมากตามโลกที่สุด

รูป Apogee & Perigee

      ความเร็ววงโคจรของดาวเทียมจะขึ้นอยู่กับระดับความสูงจากพื้นโลก กล่าวคือ เมื่อดาวเทียมยิ่งใกล้โลกมากเท่าไหร่ ความเร็ววงโคจรก็จะเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ดาวเทียมที่อยู่ในความสูง 200 กิโลเมตร (124 ไมล์) ความเร็ววงโคจรจะประมาณ 27,400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (17,000ไมล์ต่อชั่วโมง

วิดีโอการปล่อยดาวเทียม Omid ของอิหร่าน

      ในทางทฤษฏีเส้นทางในการโคจรของดาวเทียมรอบโลกใช้เวลาเดินทาง 24 ชั่วโมง โลกก็หมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง ถ้าเราส่องกล่องโทรทัศน์ มองเห็นดาวเทียมดวงนี้ มันจะอยู่กับที่ ดูเหมือนไม่เคลื่อนที่ (ความจริงดาวเทียมจะเคลื่อนที่ไปพร้อมกับเรา) เราเรียกวงโคจรชนิดนี้ว่า วงโคจรประจำที่ (Geostationary orbits) ดาวเทียมที่โคจรเช่นนี้ เช่น ดาวเทียมตรวจสภาพอากาศ (Weather satellites) และดาวเทียมสื่อสาร (Communications satellites)

วิดีโอแสดงวงโคจรประจำที่

      เพิ่มเติมความรู้: ดวงจันทร์มีระยะห่างจากโลกประมาณ 384,400 กิโลเมตร (240,000 ไมล์) มีความเร็วประมาณ 3,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (2,300 ไมล์ต่อชั่วโมง) และใช้เวลาโคจรเดินทางรอบโลก 27.322 วัน (ข้อน่าสังเกต ความเร็ววงโคจรดวงจันทร์ช้ามากเพราะว่า มันอยู่ห่างจากโลกมากกว่าดาวเทียม)  

วงโคจรของดวงจันทร์

จบหัวข้อที่ 5

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้