องค์ประกอบ ของการ สื่อสาร ดิจิทัล

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network ) คือระบบที่มี คอมพิวเตอร์อย่างน้อยสองเครื่องเชื่อมต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและได้และใช้ทรัพยากรที่อยู่ในเครือข่ายร่วมกันได้ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

1. ผู้ส่ง (Sender)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น

2. ผู้รับ (Receiver)

เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

3. สื่อกลาง (Medium)

หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม

4. ข้อมูลข่าวสาร (Message)

คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้

  • 4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
  • 4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
  • 4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
  • 4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
  • 4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป

5. โปรโตคอล (Protocol)

คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

คุณสมบัติพื้นฐาน 3 ประการของการสื่อสารข้อมูล

เมื่อการสื่อสารข้อมูลได้เกิดขึ้น อุปกรณ์การสื่อสารจะต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการสื่อสาร ด้วยการรวมส่วน ของฮาร์แวร์และซอฟต์แวร์เข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้สามารถทำการสื่อสารได้ ผลของระบบการสื่อสารข้อมูลจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติพื้นฐาน 3 ประการด้วยกัน คือ

1. การส่งมอบ (Delivery)

ระบบจะต้องสามารถส่งมอบข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างถูกต้อง ข้อมูลที่ส่งไปจะต้องไปยังอุปกรณ์ตามจุดหมายที่ ต้องการ ซึ่งอาจเป็นยูสเซอร์หรืออุปกรณ์ก็ได้

2. ความถูกต้องแน่นอน (Accuracy)

ระบบจะต้องส่งมอบข้อมูลได้ถูกต้องและแน่นอน อีกทั้งยังต้องสามารถส่งสัญญาณเตือนให้รับทราบในกรณีที่การส่งข้อมูลใ นขณะนั้นไม่ถูกต้อง สูญหาย หรือไม่สามารถใช้งานได้

3. ระยะเวลา (Timeliness)

ระบบจะต้องส่งหมอบข้อมูลในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ในบางระบบ เวลาอาจไม่ใช่สาระสำคัญมากนัก หากเกิดความล่าช้า ในข้อมูลที่ส่งก็อาจยอมรับได้ โดยขอให้ข้อมูลไปถึงปลายทางก็ถือว่าเพียงพอ แต่ในขณะที่บางระบบโดยเฉพาะระบบเรียลไทม์ (Real-Time Transmission) ซึ่งระบบดัง กล่าวจำเป็นต้องใช้เวลาที่ตอบสนองแบบทันทีทันใด จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์และสื่อส่งข้อมูลที่มีความเร็วสูง เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางได้ทันที หากเกิด การหน่วงเวลาเวลาหรือความล่าช้าในระยะเวลาที่จัดส่ง ก็ส่งผลกระทบต่อการใช้งาน ดังนั้นความหมายของระยะเวลาที่เหมาะสม จึงหมายถึงข้อมูลที่ส่งไปยังจุดหมายปลาย ทางในระยะเวลาหนึ่ง ๆ ที่สามารถนำไปใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ โดยปราศจากนัยสำคัญว่าเกิดการหน่วงเวลา

การสื่อสารโทรคมนาคม

คำว่า "การสื่อสารข้อมูล" และ "การสื่อสารโทรคมนาคม " มักนำมาใช้ร่วมกันเสมอ โดยคำว่า Tele มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า far ที่หมายความว่าไกล ส่วนคำว่า Communication หมายถึงการสื่อสาร

ดังนั้น Telecommunication ซึ่งตรงกับภาษาไทยว่า การสื่อสารโทรคมนาคมนั้นจึงหมายถึงการสื่อสารระยะไกล โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศ

โทรสาร ( Facsimile )

เครื่องโทรสารมักเรียกสั้น ๆ ว่า แฟกซ์ ใช้เทคนิคของแสงสแกนลงบนเอกสาร ต้นฉบับที่สามารถเป็นได้ทั้งข้อความและภาพ จากนั้น ก็จะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งต่อไปตามสายโทรศัพท์ เมื่อเครื่องฝ่ายผู้รับได้รับข้อมูลที่ส่งมา ก็จะนำข้อมูลที่เป็นสัญญาณไฟฟ้านั้นมาเปลี่ยนเป็นข้อมูลที่เหมือนกับต้นฉบับ

โทรศัพท์ ( Telephone )

เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้เป็นอย่างสูง ซึ่งมักมีใช้งานตามบ้านเรือนเกือบทุกครัวเรือน ในปัจจุบัน ชุมสายโทรศัพท์นั้นได้มี การพัฒนาและเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบของสัญญาณดิจิตอลในบางพื้นที่ เพื่อรองรับการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูง การใช้ชุมสายโทรศัพท์ในการสื่อสารนั้นราคาถูกและเป็นที่นิยม ตัวอย่างเช่น การใช้งานอินเทอร์เน็ตตามบ้านต่าง ๆ ด้วยการใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับโมเด็ม ซึ่งผุ้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็ยังคงรูปแบบการบริการแบบอนาล็อก กับแบบดิจิตอลความเร็วสูง โดยระบบดิจิตอลจะมีช่องสัญญาณหรือแบนด์วิดธ์ที่กว้างกว่า ทำให้มีการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็ว โดยเฉพาะข้อมูลในรูปแบบของสื่อประสมหรือมัลติมีเดีย อีกทั้งในขณะที่ใช้งานก็ยังสามารถใช้งานโทรศัพท์ได้อีกด้วย เนื่องจากใช้ช่องความถี่ที่ต่างกันในการสื่อสาร ในขณะที่รูปแบบเดิมหรือแบบแอนะล็อกนั้น เมื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่ ก็จะไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้

โทรทัศน์ ( Television )

เป็นระบบที่ใช้ในการแพร่ภาพกระจายในย่านความถี่สูง เช่น ที่ย่านความถี่สูง หรือย่านความถี่สูงมาก ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ใช้สำหรับ กิจการทางโทรทัศน์ ในอดีตการแพร่ภาพทางโทรทัศน์มักจะประสบกับปัญหากับพื้นที่รับสัญญาณ เช่น ตามจังหวัดที่ห่างไกล แต่ในปัจจุบันได้มีการตั้งสถานีทวนสัญญาณโทรทัศน์ ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนตามจังหวัดต่าง ๆ สามารถรับชมการแพร่ภาพโทรทัศน์ได้ ปัจจุบันการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทยมีอยู่ 2 ระบบด้วยกัน คือ ระบบออกอาการทั่วไป และอีกระบบอีกหนึ่ง คือ ระบบเคเบิลทีวี ซึ่งระบบนี้จำเป็นต้องสมัครสมาชิกและต้องเสียค่าบริการรายเดือน โดยจะมีเสารับสัญญาณที่แตกต่างกันกับเสาอากาศ ของโทรทัศน์ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีหนึ่งเรียกว่า Video on Demand ซึ่งเป็นระบบโทรทัศน์ที่ผู้ชมสามารถเป็นผู้เลือกชมรายการได้ด้วยตนเอง

วิทยุกระจายเสียง (Radio)

เป็นการสื่อสารที่อาศัยคลื่นวิทยุด้วยการส่งคลื่นไปยังอากาศเพื่อเข้าไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยใช้เทคนิคการกล้ำสัญญาน หรือเรียกว่า การมอดูเลต (Modulate) การด้วยการรวมกับคลื่นเสียงที่เป็นไฟฟ้าความถี่เสียงรวมกัน ทำให้การสื่อสารด้วยวิทยุกระจายเสียงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สาย อีกทั้งยังสามารถส่งคลื่นได้ ในระยะทางที่ไกลออกไปได้ตามประเภทของคลื่นนั้น ๆ

ไมโครเวฟ (Microwave)

ไมโครเวฟเป็นคลื่นวิทยุชนิดหนึ่งที่มีความถี่ระดับกิกะเฮิรตซ์ (GHz) และเนื่องจากความยาวของคลื่นมีหน่วยวัดเป็นไมโครเมตร จึงเรียกว่าไมโครเวฟนั่นเอง คลื่นไมโครเวฟเป็นคลื่นเส้นตรงในระดับสายตา ซึ่งหากลักษณะภูมิประเทศมีภูเขาหรือตึกสูงบดบังคลื่นแล้ว จะทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังที่หมายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการติดตั้งจานรับส่งบนยอดตึกหรือยอดเขา เพื่อให้สัญญานส่งทอดต่อไปอีกได้

ดาวเทียม (Satellite)

เนื่องจากคลื่นไมโครเวฟมีข้อจำกัดในเรื่องของลักษณะภูมิประเทศที่มีผลต่อการบดบังคลื่น ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาดาวเทียม โดยความเป็นจริงแล้ว ดาวเทียมก็คือสถานีไมโครเวฟนั่งเอง แต่เป็นสถานีไมโครเวฟที่ลอยอยู่บนเหนือพื้นผิวโลก มีลักษณะเป็นจานขนาดใหญ่โคจรห่างจากพื้นโลกประมาณ 22,300 ไมล์ ทำให้สามารถติดต่อสถานีภาคพื้นดินที่อยู่บนพื้นโลกได้ เราสามารถส่งดาวเทียมที่เรียกว่า Grostationary ซึ่งเป็นดาวเทียมหมุนโคจรด้วยความเร็วเท่ากับโลก ทำให้ดูเหมือนกับไม่ มีเคลื่อนไหว และด้วยการนำดาวเทียมดังกล่าวขึ้นไปโคจรเหนือพื้นผิวโลกเพียง 3 ดวง ก็สามารถครอบคลุมการสื่อสารได้ทุกหมุนโลก โดยดาวเทียมดวงหนึ่งส่งสัญญาณในบริเวณกว้าง เท่ากับ 1 ใน 3 ของโลก (120 องศา) ดังนั้นดาวเทียม 3 ดวงก็ครอบคลุมบริเวณพื้นโลกได้ทั้งหมด (360 องศา) ส่วนการสื่อสารสามารถส่งสัญญาณแบบขาขึ้น (Uplink) ซึ่งเป็นการ ส่งสัญญาณจากสถานีพื้นดินไปยังดาวเทียม และการส่งสัญญาณแบบขาลง(Downlink) ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณจากดาวเทียมมายังสถานีภาคพื้นดิน และด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม ในอนาคตก็จะสามารถสื่อสารได้ทั้งสองทาง ไม่ว่าจะเป็นแบบขาขึ้นหรือขาลงในขณะเดียวกัน

ประโยชน์ของระบบเครือข่าย


  • ใช้ทรัพยากรร่วมกัน
  • ช่วยลดต้นทุน
  • เพิ่มความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร
  • ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัย

ระบบเครือข่ายในชีวิตประจำวัน

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ได้นำเข้าไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ ดังนี้

งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ

ช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่นโรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย

งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข

สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของ การส่งจรวดไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น

งานคมนาคมและสื่อสาร

ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อ ผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน

งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกร

สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน

งานราชการ

เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่าย Internet เพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น

การศึกษา

การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้