ยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ e-kyc คือ

Why Digital Onboarding ?

ทำไม Digital Onboarding ถึงสำคัญ

ความต้องการใช้เทคโนโลยีการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ตัวยออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น สถานการณ์ที่ต้องเว้นระยะห่าง รวมถึงธุรกิจต่าง ๆ ที่ต้องการจะลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า ทำให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตน จำเป็นต้องถูกพัฒนาเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนที่ โดยใช้ข้อมูลทางชีวภาพของแต่ละคนที่มีอยู่เฉพาะตัว เพื่อยืนยันการทำธุรกรรมต่าง ๆ  ไม่ว่าจะเป็น ใบหน้า ลายนิ้วมือ ฝ่ามือ หรือรหัสพันธุกรรม

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อเข้าถึงบริการออนไลน์มากขึ้น ทั้งเรื่องงาน การซื้อขายสินค้า การทำธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงขอรับบริการต่าง ๆ  ทำให้ธุรกิจเป็นต้องสร้างช่องทางออนไลน์ที่มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนอย่างถูกต้อง เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้ง่าย ปลอดภัย ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจในอนาคต

Digital Onboarding ช่วยเพิ่มความสะดวกและปลอดภัย เพราะเป็นรูปแบบที่เข้ามาช่วยพิสูจน์และยืนยันตัวตนของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการ และผู้ขอรับบริการ จะได้ประโยชน์ร่วมกัน  สถาบันการเงินหรือธุรกิจอื่น ๆ ก็สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ป้องกันการกระทำความผิด เช่น การใช้ตัวตนปลอม หรือใช้ข้อมูลบุคคลอื่นในการเปิดบัญชี ลักลอบใช้บัญชีซื้อขายแทนกัน รวมถึงการยักยอกเงินโดยที่เจ้าของบัญชีไม่ทราบ

ส่วนผู้ขอรับบริการจะได้รับความสะดวก ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่สาขา ก็สามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตน ได้อย่างรวดเร็วผ่านเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือช่องทางออนไลน์อื่น รวมทั้งมีความปลอดภัยเพราะใช้ข้อมูลทางชีวภาพในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ซึ่งรองรับ NDID (National Digital ID)  ที่เป็นมาตรฐานการยืนยันตัวตนของภาครัฐ  ยกตัวอย่างเช่น การเปิดบัญชีธนาคารที่ปัจจุบันสามารถเปิดได้ผ่าน Smart Phone ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปสาขา ลดการสัมผัส แถมได้ประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่มากกว่าเดิม

Electronic Know your Customer (E-KYC) ?

มาตรฐานยืนยันตัวตน คืออะไร ทำงานอย่างไร

ประเทศไทย มีมาตรฐานในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน ที่เรียกว่า e-KYC (Electronic know your customer) ซึ่งเป็นหนึ่งในรูปแบบของการทำ Digital Onboarding เพื่อทำธุรกรรมออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย มาตรฐานนี้ถูกกำหนดโดยสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้นำข้อกำหนด Special Publication 800-6 3 A – Digital Identity Guidelines – Enrollment and Identity Proofing ของหน่วยงาน National Institute of Standards and Technology (NIST)  มาประยุกต์เป็นแนวทางการใช้งานของประเทศไทยเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

e-KYC แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือระดับความน่าเชื่อถือของการยืนยันตัวตน(Identity Assurance Level) หรือ IAL และระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (Authenticator Assurance Level) หรือ AAL

Contents

  • 1 เทคโนโลยี e-KYC กับประโยชน์ในการยืนยัน และปกป้องตัวเองจากการถูกโจรกรรมทางการเงิน
  • 2 e-KYC คืออะไร!? มีความสำคัญอย่างไร!?
  • 3 กระบวนการจัดการความเสี่ยงของ e-KYC มีอะไรกันบ้าง!?
  • 4 ทำไม e-KYC คือสิ่งที่มีความสำคัญในประเทศไทย!?
  • 5 ประโยชน์ที่น่าสนใจของระบบ e-KYC
  • 6 3.e-KYC เหมาะกับประเทศที่ผู้คนมาเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวก
  • 7 2.e-KYC เป็นการทำธุรกรรมการเงินแบบไร้สัมผัส
  • 8 3.e-KYC ช่วยป้องกันการฟอกเงิน และการโจรกรรมทางการเงิน
  • 9 4.e-KYC ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี
  • 10 5.e-KYC ช่วยให้การทำธุรกรรมการเงินสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
  • 11 6.e-KYC ช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบบุคคลให้น้อยลง
  • 12 ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี e-KYC
  • 13 เทคโนโลยี e-KYC ที่น่าสนใจในประเทศไทย
  • 14 เทคโนโลยีจดจำและเปรียบเทียบใบหน้าของ e-KYC คืออะไร!?
  • 15 บทสรุปส่งท้าย : e-KYC เทคโนโลยียืนยันตัวตนแห่งอนาคต

เทคโนโลยี e-KYC กับประโยชน์ในการยืนยัน และปกป้องตัวเองจากการถูกโจรกรรมทางการเงิน

ในยุคที่การโจรกรรม...

หลอกลวงและฟอกเงินอย่างผิดกฎหมายกลายเป็นประเด็นร้อนไปทั่วโลก ทำให้กลายมาเป็นประเด็นความท้าทายอย่างมากของสถาบันทางการเงินและธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านการเงินว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้!?

สำหรับหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหาที่ได้รับความนิยมกันเป็นอย่างมาก ณ ปัจจุบัน ก็คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกเสียจากเทคโนโลยี e-KYC นั่นเอง

ส่วน e-KYC จะมีความน่าสนใจอย่างไร และมีประโยชน์มากแค่ไหน!? มาฟังข้อมูลเจาะลึกจากบทความชิ้นนี้กันได้เลย

e-KYC คืออะไร!? มีความสำคัญอย่างไร!?

e-KYC คือ การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic Know-Your-Customer) หรือ การทำความรู้จักกับลูกค้าผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการระบุตัวตนและยืนยันตัวตนที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้นกว่าเดิม แทนการทำ KYC แบบเดิม ที่มีความยุ่งยากเสียเวลา เพราะจะต้องให้ผู้ทำการยืนยันตัวตนต้องทำการกรอกข้อมูล ส่งเอกสาร รวมไปถึงการเดินทางไป “แสดงตัวตน” ต่อหน้าของเจ้าหน้าที่สถาบันทางการเงิน

กระบวนการจัดการความเสี่ยงของ e-KYC มีอะไรกันบ้าง!?

ธนาคารและสถาบันทงการเงินมีเงื่อนไขที่จะต้องมีกระบวนการในการบริหารและจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นผ่านกระบวนการ e-KYC โดยมีหลักการที่ควรทราบ ดังต่อไปนี้

1.การเก็บและตรวจสอบข้อมูลการแสดงตนของลูค้า ผู้ใช้บริการให้มีความถูกต้อง

2.ความถูกต้องของเอกสารแสดงตน ตามที่ได้กำหนดเอาไว้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเเทศไทย

3.การตรวจสอบความถูกต้องว่า ลลูกค้าเป็นบุคคลเดียวกับในเอกสารแสดงตนหรือไม่

4.การให้ลูกค้าผู้ใช้บริการมีการยืนยันตัวตนระหว่างการเก็บข้อมูล

5.การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าที่ถูกต้อง รัดกุมเพียงพอและเป็นไปตามมาตราฐานที่หน่วยงานกำกับดูแลได้กำหนดเอาไว้

ทำไม e-KYC คือสิ่งที่มีความสำคัญในประเทศไทย!?

e-KYC เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในประเทศไทย เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เนื่อจงกสถาบันการเงินและธนาคารเป็นแหล่งของการฟอกเงินที่เหล่าอาชญากรใช้กันบ่อยครั้ง รวมไปถึงการโจรกรรมข้อมูลของผู้ใช้บริการสถาบันการเงินจากเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยมากขึ้นอีกด้วยเช่นกัน

ประโยชน์ที่น่าสนใจของระบบ e-KYC

ระบบ e-KYC มีประโยชน์อย่างมากในปัจจุบัน โดยสามารถทำการสรุปประโยชน์ที่ควรทราบออกเป็นประเด็นได้ดังต่อไปนี้

3.e-KYC เหมาะกับประเทศที่ผู้คนมาเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวก

หลายประเทศได้มีการนำเอาระบบ e-KYC มาใช้ในการช่วยยืนยันตัวเองได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่มีประชากรจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจนเกิดความยากลำบากในการเข้าถึงบริการทางการเงิน

2.e-KYC เป็นการทำธุรกรรมการเงินแบบไร้สัมผัส

การทำธุรกรรมการเงินแบบไร้สัมผัส นอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมแล้ว ยังถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในยุคที่ผู้คนจำเป็นต้องปรับตัวให้กับ New Normal ที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางไปทำธุรกรรมทางการเงินกลายเป็นเรื่องยาก และการทำ e-KYC ยังเป็นการช่วยลดการสัมผัสที่นำไปสู่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

3.e-KYC ช่วยป้องกันการฟอกเงิน และการโจรกรรมทางการเงิน

e-KYC ยังช่วยในการยืนยันตัวตนของผู้ทำธุรกรรม ที่นอกจากจะช่วยป้องกันการโจรกรรมทางการเงินที่เพิ่มสูงมากขึ้นทุกปีแล้ว ยังเป็นการช่วยป้องกันปัญหาการฟอกเงิน และเป็นการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินให้กับผู้ก่อการร้าย เป็นต้น เพราะเป็นการระบุไอดีที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ทำให้เกิดการปลอมแปลงลอกเลียนแบบได้ยาก

4.e-KYC ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี

กระบวนการทำงานของ e-KYC เป็นสิ่งที่เรียบง่าย ทำให้ผู้ที่ใช้งานไม่จำเป็นที่จะต้องมีทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยี และมีประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่ไม่รู้หนังสือ

5.e-KYC ช่วยให้การทำธุรกรรมการเงินสะดวกรวดเร็วมากขึ้น

e-KYC ยังช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบบุคคล ลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการได้ นอกจากนี้การจัดสรรทรัพยากรให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ยังเป็นการช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้อีกด้วย

6.e-KYC ช่วยลดขั้นตอนการตรวจสอบบุคคลให้น้อยลง

การทำ e-KYC นอกจากจะช่วยลดขั้นตอนในการตรวจสอบความถูกต้องของบุคคลให้น้อยลงกว่าเดิม ยังเป็นการช่วยลดความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากระหว่างขั้นตอนการดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการให้มากขึ้นกว่าเดิมด้วยนั่นเอง

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี e-KYC

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยี e-KYC จะเต็มไปด้วยข้อดีมากมาย แต่ถ้าหากสถาบันทางการเงินจะนำมาใช้ก็จำเป็นที่จะต้องป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้มีความรัดกุมมากที่สุด โดยความเสี่ยงดังกล่าว อาทิเช่น

  • การเก็บและตรวจสอบข้อมูลการแสดงตน
  • ความถูกต้องของเอกสารแสดงตนที่กำหนด
  • การตรวจสอบเปรียบเทียบว่าผู้ยืนยันตน เป็นบุคคลเดียวกับในเอกสารแสดงตนหรือไม่
  • ขั้นตอนการให้ทำการยืนยันตัวตนที่สะดวก ง่ายดายและไม่ยุ่งยาก
  • การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่รัดกุม และเป็นไปตามที่หน่วยงานกำกับดูแลได้กำหนดเอาไว้

เทคโนโลยี e-KYC ที่น่าสนใจในประเทศไทย

ณ ปัจจุบัน ในประเทศไทยได้มีการอนุญาตให้ใช้เทคโนโลยี “จดจำและเรียนรู้ใบหน้า” (Biometric facial recognition) มาใช้ในการยืนยันตัวตนในการ “เปิดบัญชีเงินฝากระยะไกล” (Remote account opening) โดยมี 6 ธนาคารที่ได้รับการอนุญาต ดังต่อไปนี้

  • ธนาคารกสิกรไทย
  • ธนาคารกรุงเทพ
  • ธนาคารไทยพาณิชย์
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
  • ธนาคารทหารไทย
  • ธนาคาร CIMB ไทย จำกัด

นอกจากนี้ทั้ง 6 ธนาคารในข้างต้น ยังใช้เทคโนโลยี e-KYC มาช่วยทำการพิสูจน์ตัวตนลูกค้าจาก แพลตฟอร์มบริการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID – NDID) จากบันทึกประวัติการทำธุรกรรมทางการเงินของประชาชน ช่วยลดจำนวนคนที่เข้าใช้บริการกับทางธนาคารให้น้อยลงในช่วงเวลาที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

เทคโนโลยีจดจำและเปรียบเทียบใบหน้าของ e-KYC คืออะไร!?

ใช้เทคโนโลยี จดจำและเรียนรู้ใบหน้า (Biometric facial recognition) ของระบบ e-KYC ที่หลายสถาบันการเงินและธนาคารนำมาใช้ในปัจจุบัน เป็นตัวช่วยในการระบุตัวตนของบุคคลด้วยการเปรียบเทียบใบหน้า ณ ขณะหนึ่งกับภาพของงใบหน้าที่ได้รับการเก็บเอาไว้ในฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

เทคโนโลยีในการเปรียบเทียบใบหน้านี้ ถือว่าเป็นเทคโนโ,ยีที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ และช่วยป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพทำการสวมรอยเป็นเจ้าของบัญชีการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

บทสรุปส่งท้าย : e-KYC เทคโนโลยียืนยันตัวตนแห่งอนาคต

e-KYC...

เป็นเทคโนโลยีที่สำคัญอย่างมากในการทำธุรกรรมด้านการเงินที่สถาบันการเงินทุกแห่ง และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเงินควรให้ความใส่ใจในการพัฒนาเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

เพราะเป็นการช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับการทำธุรกรรมทางการเงินให้มากยิ่งขึ้น ท่ามกลางโลกแห่งการโจกรรมข้อมูลที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี ณ ปัจจุบัน...

การยืนยันตัวตนคืออะไร

การพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Authentication) คืออะไร การพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Authentication) เป็นกระบวนการที่ใช้ในการตรวจสอบผู้มีสิทธิ์เข้าใช้บริการ ทำ ธุรกรรม หรือใช้ทรัพยากรที่บุคคลนั้นเป็นเจ้าของจริง ซึ่งโดยทั่วไปมักพบกระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนในบริการ

KYC ใช้อะไรบ้าง

KYC โดยทั่วไปต้องครอบคลุมถึง การเก็บ และตรวจสอบความแท้จริงของหลักฐานเอกสารประกอบการยืนยันตัวตน เช่น บัตรประชาชน หรือ เอกสารที่ได้รับการรับรองสำหรับการยืนยันอัตลักษณ์ การตรวจสอบว่าลูกค้าเป็นบุคคลคนเดียวกันกับในเอกสารนั้นหรือไม่ การเก็บข้อมูลการยืนยันตัวตนไว้อย่างปลอดภัย และสามารถนำมาใช้ได้เมื่อลูกค้ากลับมาทำธุรกรรมใหม่

ทำไมต้องทำ E

e-KYC ยังช่วยในการยืนยันตัวตนของผู้ทำธุรกรรม ที่นอกจากจะช่วยป้องกันการโจรกรรมทางการเงินที่เพิ่มสูงมากขึ้นทุกปีแล้ว ยังเป็นการช่วยป้องกันปัญหาการฟอกเงิน และเป็นการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินให้กับผู้ก่อการร้าย เป็นต้น เพราะเป็นการระบุไอดีที่เป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ทำให้เกิดการปลอมแปลงลอกเลียนแบบได้ยาก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้