รถไฟฟ้า ที่เข้า ร่วมโครงการ

ตอบ : ราชกิจจานุเบกษา คลอดประกาศกรมสรรพสามิต ค่ายรถยนต์ที่เซ็น MOU เข้าร่วมโครงการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า100% (ผลิตในประเทศชดเชยที่นำเข้า) จะได้ลดภาษีนำเข้าจาก 40% เหลือ 0% หรือมากสุด 40% พร้อมเงินอุดหนุน รถยนต์ไฟฟ้าสูงสุด 150,000 บาท ต่อคัน (สำหรับรถที่มีขนาดความจุแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 30 kWh ขึ้นไป) และลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้า จาก 8% เหลือ 2%

ANYMIND BETWEEN CONTENT

ปัจจุบันมีเพียง 3 ค่ายรถยนต์ในไทยที่เซ็น MOU ดังกล่าว คือ

1.GWM

2.MG

3.Toyota

ที่มา : ข่าวช่องวัน

Related

ANYMIND BELOW CONTENT

featured GWM MG Toyota กรมสรรพสามิต ค่ายรถยนต์ เซ็น MOU เข้าร่วมโครงการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า 100% ค่ายรถยนต์ที่เซ็น MOU เข้าร่วมโครงการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า100% ค่ายรถยนต์เซ็น MOU ร่วมโครงการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า ลดภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฟฟ้า โครงการสนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้า 100%

กระแสความนิยมยานยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% หรือ เรียกสั้นๆ ว่า รถ EV (Electric Vehicle) ในช่วงหลายปีมานี้ ถือว่ามีมากขึ้นเป็นลำดับ เพราะรถEV เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างช่วยลดการเกิดฝุ่นpm 2.5 ช่วยลดการใช้พลังงานน้ำมัน และประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่รถยนต์ได้มากกว่าหากเทียบกับการใช้รถน้ำมัน

เช่นกันกับในไทยที่รถ EV ได้รับความสนใจมากขึ้น ดังที่สะท้อนมาจากงานบางกอก อินเตอร์ เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2022 หรือมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 วันที่ 23 มีนาคม – 3 เมษายน 2565 ซึ่งผ่านมากว่า 1 สัปดาห์ของการจัดงาน ปรากฏว่า เฉพาะ 5 วันแรกมีผู้สนใจสั่งจองรถEV ไปแล้วราว 1,000 คัน หรือคิดเป็น 10% ของยอดจองรถทั้งหมดในช่วง5วันแรกของมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 43 โดยเหตุที่มีความสนใจรถEV อย่างมากนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากมาตรการของรัฐบาลที่อุดหนุนส่วนลด 18,000 - 150, 000 บาท/คัน

มาตรการรัฐบาล หนุนใช้-ผลิต รถEV

สำหรับมาตรการจากรัฐบาลที่สนับสนุนเงินให้ผู้ประกอบรถEV ทั้งนำเข้าจากต่างประเทศและผลิตในประเทศ นำไปเป็นส่วนลดให้ประชาชนที่สนใจซื้อรถ EV ทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์ 18,000 - 150,000 บาท/คัน เป็นส่วนหนึ่งของหลายมาตรการที่รัฐบาลสนับสนุนให้มีการใช้และผลิตรถEV ในประเทศให้มากขึ้น โดยเมื่อวันที่14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรี หรือ ครม.มีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ตามที่คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือ บอร์ด EV กระทรวงพลังงานเสนอ โดยสรุปได้แก่

1. เงินอุดหนุนรถยนต์ และรถกระบะคันละ 70,000-150,000 บาท/คัน และรถจักรยานยนต์ 18,000 บาท/คัน

2. ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8 % เป็น 2 % และรถกระบะเป็น 0 %

3. ลดอากรขาเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ และนำเข้าทั้งคัน (CBU) สูงสุด 40 % สำหรับรถยนต์ ถึงปี 2566

4. ยกเว้นอากรขาเข้าส่วนประกอบรถยนต์EV จำนวน 9 รายการ เพื่อนำมาผลิตหรือประกอบรถEV ในประเทศ (CKD) จำนวน 9 รายการ

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการหรือค่ายรถที่เข้าร่วมต้องรับเงื่อนไข ได้แก่ ผลิตรถEV ในประเทศชดเชยให้เท่ากับจำนวนที่นำเข้าช่วงปี 2565 - 2566 ภายในปี 2567 แต่ขยายเวลาได้ถึงปี 2568 โดยจะต้องผลิตในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 คือ นำเข้า 1 คัน จะต้องผลิตในประเทศ 1 คัน โดยผู้ใช้สิทธิ์จะผลิต BEV หรือรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ รุ่นใดก็ได้เพื่อชดเชย ยกเว้นรถที่มีราคาขายปลีก 2-7 ล้านบาท ต้องผลิตรุ่นเดียวกับที่นำเข้ามา เป็นต้น ซึ่งขณะนี้มีค่ายรถจากจีน 3 ค่าย ลงนามร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสากิจเพื่อรับสิทธิประโยชน์จากการนำเข้าและผลิตรถยนต์ รวมทั้งจะได้รับเงินอุดหนุนส่วนลดจากภาครัฐไปเป็นส่วนลดให้ประชาชนที่สนใจซื้อรถEV ซึ่งในส่วนของเงินอุดหนุนส่วนลดปีนี้รัฐบาลอนุมัติให้ 3,000 ล้านบาท ขณะที่ค่ายรถจากญี่ปุ่นหลายค่ายอยู่ระหว่างพิจารณาเข้าร่วมโครงการ เช่นกับค่ายจากยุโรปหลายค่ายก็อยู่ระหว่างการพิจารณา แต่ทางกรมสรรพสามิต เห็นว่า หากรถEV จากค่ายยุโรป ทำราคาขายได้ต่ำกว่า 2 ล้านบาท ก็จะมีส่วนลดต่อคันสูงถึง 6-7 แสนบาท ดังนั้นเชื่อว่าค่ายรถทั้งหมดทั้งจากจีน ญี่ปุ่น ยุโรป กว่า 80% จะลงนามกับกรมสรรพสามิตได้หมดภายในปีนี้

นโยบาย 30@30 หนุนรถยนต์ไฟฟ้า มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

กลางปีที่ผ่านมา คณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือ บอร์ด EV ได้ออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย 30@30 คือการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ.2573 นโยบาย30@30 นี้จึงถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะนำไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำในอนาคต ที่ขณะนี้หลาย ๆ ประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และในทวีปยุโรป ได้กำหนดเป้าหมายนี้ไว้ บอร์ดEV ของบ้านเราจึงกำหนดแนวทางและมาตรการตามนโยบาย 30@30 ออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 (ระยะเร่งด่วน) : ปี 2564 – 2565

นำร่องส่งเสริมการใช้รถEv ซึ่งมาตรการของภาครัฐที่ออกมา ทั้งอุดหนุนส่วนลดซื้อรถEV 18,000 -150,000บาท/คัน และการลดภาษีนำเข้ารถและส่วนประกอบต่างๆ อยู่ในระยะนี้

ระยะที่ 2 : ปี 2566 – 2568

พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายการผลิตรถ EV ประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะ 225,000 คัน รถจักรยานยนต์ 360,000 คัน และรถบัส/รถบรรทุก 18,000 คัน ภายในปี 2568 รวมถึงการผลิตแบตเตอรี่ เพื่อตอบสนองการผลิตในประเทศ ซึ่งมาตรการที่ออกมาแล้วโดยรัฐบาล ทั้งลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนรถ EV และกำหนดอัตราการนำเข้ารถทั้งคันต่อการผลิตในประเทศ 1.5 คัน ของผู้ประกอบการ ก็อยู่ในระยะนี้

ระยะที่ 3 : ปี 2569 – 2573

ขับเคลื่อนแผนและมาตรการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเพื่อให้บรรลุตามนโยบาย 30/30 ซึ่งมีเป้าหมายการผลิตรถ EV ประเภทรถยนต์นั่งและรถกระบะทั้งสิ้น 725,000 คัน ประเภทรถจักรยานยนต์ 675,000 คัน คิดเป็น 30% ของการผลิตภายในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573

ประโยชน์ที่คนไทยได้รับจากมาตรการหนุนใช้รถ EV

ประโยชน์จากการใช้รถ EV และผลดีจากมาตรการส่งเสริมการใช้-การผลิต จากภาครัฐแล้ว เรียกได้ว่าได้ประโยชน์แก่คนทั่วไป ไม่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือเอื้อธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง ซึ่งพอจะจำแนกออกเป็นข้อๆได้ ดังนี้

1.ประชาชนที่พอมีกำลังซื้อ จะได้ใช้รถ EV ในราคาที่ถูกลงทั้งในขณะนี้และถูกลงอีกในอนาคต

2.ช่วยลดค่าเดินทาง เพราะรถ EV มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่ถูกกว่ารถที่ใช้น้ำมัน หากเทียบการใช้รถในระยะทางเท่ากัน

3. ลดการใช้น้ำมันที่นับวันจะแพงขึ้นและมีน้อยลง ข้อนี้เป็นผลดีต่อประชาชนโดยรวมทุกภาคส่วน เพราะหากใช้รถ EV พลังงานไฟฟ้ามาบรรทุกขนส่งสินค้าแทนรถน้ำมันได้มากขึ้นแล้ว ต้นทุนด้านการขนส่งสินค้าก็จะลดลง ส่งผลให้ประชาชนและผู้บริโภคทั่วไปได้ใช้สินค้าในราคาที่ถูกลงตามไปด้วย

4. รถEV เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนช่วยลดมลภาวะทางอากาศ จะช่วยทำให้คนไทยทุกคนได้อยู่ในสังคมที่มีสภาวะแวดล้อมดีขึ้น สะอาดขึ้น

5. เมื่อมีการตั้งฐานผลิตรถ EV ในไทยมากขึ้น ก็จะเกิดการจ้างงานคนไทยมากขึ้นด้วย ส่วนผู้ประกอบการหรือค่ายรถยนต์ ก็จะได้ผลิตรถ EV หรือดำเนินธุรกิจของตนเองภายใต้กฎกติกาและมาตรการที่อำนวยความสะดวกและเป็นธรรม ขณะที่ภาครัฐก็จะเก็บภาษีจากผู้ประกอบการได้มากขึ้นด้วย

สถานีชาร์จ ปัจจัยสำคัญตัดสินใจใช้รถ EV

แม้ขณะนี้ชาวไทยให้ความสนใจใช้รถEV มากขึ้น ทั้งจากสาเหตุการกระตุ้นการใช้จากภาครัฐ หรือเล็งเห็นผลประโยชน์ด้วยตนเองก็ตาม แต่อีกปัจจัยสำคัญหนึ่งที่หลายต่อหลายคนใช้ตัดสินใจว่าจะหันมาใช้รถ EV หรือไม่ คือ สถานที่และสถานีชาร์จไฟฟ้าที่เพียงพอ เพราะแม้รถ EV สามารถชาร์จไฟฟ้าที่บ้านได้ตามอุปกรณ์การชาร์จที่มีมากับรถ แต่พวกที่อาศัยในที่อยู่แนวดิ่ง เช่นคอนโดฯ แฟลต อพาร์ทเมนต์ ส่วนใหญ่ไม่มีการติดตั้งแท่นชาร์จในพื้นที่จอดรถ หรือไม่สะดวกต่อการลากสายชาร์จไปเชื่อมต่อระหว่างเต้าปลั๊กไฟฟ้ากับรถยนต์ ขณะที่สถานที่ทำงานทั้งภาครัฐและเอกชนยังมีการติดตั้งแท่นชาร์จน้อยแห่ง หากแก้ปัญหาในส่วนที่อยู่อาศัยแนวดิ่งและสถานที่ทำงานได้ ก็น่าจะเป็นสิ่งจูงใจให้คนหันมาใช้รถ EV มากขึ้น

ด้านพื้นที่สาธารณะและพื้นที่เอกชนทั่วไป นอกเหนือจากส่วนที่อยู่อาศัยและสถานที่ทำงาน ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ก็ยังมีสถานีชาร์จไฟฟ้าไม่มาก ดังนั้นทางหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจึงเร่งติดตั้งสถานีชาร์จ อย่าง

- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ร่วมมือภาคเอกชน ติดตั้งสถานีชาร์จตามปั้มน้ำมันและพื้นที่เอกชนทั่วไปให้ได้อย่างน้อย 140 แห่งทั่วประเทศภายในปีนี้ จากเดิมมีอยู่แล้ว 45 แห่ง

- การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. ติดตั้งหัวจ่ายชาร์จไฟในพื้นที่ส่วนราชการและเอกชน ในกรุงเทพฯ ไปแล้ว 22 หัวจ่าย ภายในปีนี้จะติดตั้งให้ครบ 100 หัวจ่าย

- บริษัทบางจากฯ ร่วมมือค่ายรถ เร่งติดตั้งสถานีชาร์จให้ได้ 500 แห่งทั่วประเทศภายในปีนี้ จากเดิมมีอยู่แล้ว 45แห่ง

- กลุ่ม ปตท.เร่งขยายสถานีชาร์จให้ได้ 1,000 แห่งทั่วประเทศภายในปีนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ของโรงแรม ศูนย์การค้า และอาคารสำนักงาน

- ค่ายรถ EV ก็เร่งติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าแบบชาร์จเร็ว และแบบปกติ รองรับรถEV ที่ทยอยออกสู่ท้องถนนอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้วางเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2030 หรือ 8 ปีข้างหน้า จะต้องมีสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เพิ่มอีก 567 แห่ง จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 827แห่ง เป็น 1,304 แห่ง ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้ประชาชนหันมาใช้รถEV มากขึ้นอย่างแน่นอน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้