วัยสูงอายุ ด้านจิตใจและอารมณ์

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจและอารมณ์ในผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ แม้จะเป็นวัยที่ได้รับการเคารพยกย่องจากลูกหลาน และเป็นวัยที่มีเวลาอยู่กับครอบครัวอย่างเต็มที่ แต่ก็เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงอารมณ์ด้วย จึงทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีความสุขเท่าที่ควรจะเป็น

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ประกอบไปด้วย ความเปลี่ยนแปลงภายนอก และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย

1. การเปลี่ยนแปลงภายนอก
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพภายนอกที่เกิดขึ้น เกิดจากความเสื่อมโทรมของร่างกาย ที่เห็นได้ชัดเจนด้วยสายตา และรู้สึกได้ เช่น
- ฟันเริ่มหลุดร่วง ไม่แข็งแรง เคี้ยวอาหารแข็งไม่ได้ เหงือกอักเสบบ่อย กลืนอาหารลำบาก
- ผมเปลี่ยนเป็นสีดอกเลา หรือสีขาว เริ่มหลุดร่วง บางลง
- ผิวหนังตามส่วนต่างๆ ในร่างกายเหี่ยวย่น เริ่มมีกระ หรือจุดด่างดำบนผิว
- เคลื่อนไหวได้ช้าลง ไม่แข็งแรง

2. การเปลี่ยนแปลงภายใน เช่น
- ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย ทำให้ท้องผูก หรือท้องอืดเป็นประจำ
- หน้ามืด วิงเวียนศีรษะบ่อย
- สมองเสื่อมสภาพลง ทำให้หลงๆ ลืมๆ

การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและอารมณ์
เกิดจากการมีเวลาว่างมาก และไม่ได้ประกอบอาชีพ จึงรู้สึกว่าตัวเองถูกลดคุณค่าลง ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวเริ่มมีน้อยลง ซึ่งอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว และเศร้าซึมเศร้า

นอกจากนั้นยังอาจเป็นผลมาจากความเจ็บป่วย และการเสื่อมของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุมีอารมณ์ที่แปรปรวนง่าย ขี้หงุดหงิด ใจน้อย โกรธง่าย เป็นต้นปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุจากความเสื่อมทางด้านร่างกาย จิตใจ รวมถึงการดูแลสุขภาพที่อาจไม่เหมาะสม ทำให้ผู้สูงอายุมักเกิดปัญหาทางสุขภาพหลายๆ โรคพร้อมกัน

แม้ความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายในช่วงสูงวัยเหล่านี้ จะไม่อาจควบคุมได้ แต่จิตใจเราสามารถควบคุมได้ และหากสุขภาพจิตดีแล้ว สุขภาพกายย่อมดีตามไปด้วย ดังนั้น ควรทำอารมณ์ให้แจ่มใส และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีความสุข ก็จะช่วยให้มีอายุยืนยาว และพบกับความสุขในช่วงบั้นปลายได้

ดูแลผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ

การเปลี่ยนแปลงผู้สูงอายุ

        ตั้งแต่เกิดร่างกาย ของทุกคนมีการพัฒนาและเติบโตขึ้นตลอดเวลา แต่เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุแล้วการทำงานทุกอย่างกลับเริ่มเสื่อมลงและจะไม่มีพัฒนาการเกิดขึ้น ลักษณะ การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ทั้งด้านจิตใจ สังคม โดยจะขึ้นอยู่กับบุคคลและปัจจัยหลายอย่างโดยเฉพาะโรคประจำตัว ความเครียด ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัวเป็นต้น ดังนั้นเรามาเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุกันดีกว่าครับ

สารบัญเนื้อหา

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุทางด้านร่างกาย

    • ลักษณะภายนอก
    • ระบบภายใน

การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์

การเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม

สรุป

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุทางด้านร่างกาย

        ทั้งอวัยวะภายนอกและภายในระบบต่างๆเริ่มเสื่อมถอยลง มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุที่เห็นได้ชัดที่สุดโดยเฉพาะ ทางด้านร่างกาย ความแตกต่างจะขึ้นอยู่กับบุคคล

จะรู้ได้อย่างไร? เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ สังเกตุได้ง่ายดังนี้

  • เส้นผม ขนแขน-ขา เปลี่ยนเป็นสีขาว
  • ผิวหนังเหี่ยวย่น
  • สายตาไม่ดี
  • หูตึง
  • ฟักโยก หรือผุง่าย
  • พูดเสียงเบา เหมือนไม่มีแรง
  • กระดูกเปราะบาง
  • กล้ามเนือไม่มีแรง

ลักษณะ ภายนอก

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุลักษณะ ภายนอก มีดังนี้

  • เส้นผมและขนแขนจะบางและกลายเป็นสีขาวหรือเทา หรือเรียกว่า ผมหงอก
  • ผิวหนังเหี่ยวย่น บาง แตก แห้ง มีจุดด่างสีขาว ดำ น้ำตาล เนื่องจากน้ำและไขมันลดลงจึงทำให้เกิดแผลได้ง่าย รวมถึงการรับรู้ความรู้สึกต่อสภาพอากาศน้อยลง รู้สึกร้อนๆหนาวๆ ต่อมเหงื่อมีขนาดแลจำนวนน้อยลงทำให้การขับเหงื่อไม่ดี มักเป็นลมแดด
  • การมองเห็นไม่ดี ลูกตามีขนาดเล็กลง ตาลึก หนังตาตก สายตายาวขึ้น มองภาพใกล้ไม่ชัด ความสามารถในการแยกสีลดลงทำให้มองในที่มืดหรือเวลากลางคืนได้ไม่ดี ต่อมผลิตน้ำตาลดลงทำให้ตามแห้งหรือระคายเคืองได้
  • หู การได้ยินลดลงตั้งแต่อายุ 40 ปี แต่อาการหูตึงจะพบมากอายุ 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากความเสื่อมสภาพของหูชั้นใน กระดูกหูชั้นกลางแข็งขึ้นทำให้ได้ยินไม่ค่อยชัด
  • ฟัน เป็นปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้สูงอายุต้องเจอ ฟันโยก ผุ แตกหักง่ายไม่แข็งแรง จำเป็นต้องใส่ฟันปลอมเพื่อช่วยในการเคี้ยวอาหาร หรือเลือกอาหารที่เคี้ยวง่ายทำให้ขาดสารอาหารบางประเภทที่จำเป็น
  • การพูด พูดเบา ไม่มีแรง
  • กระดูก เปราะบาง พรุน แตกหักง่าย น้ำหนักกระดูกลดลงเกิดจากการขาดวิตามินดีและแคลเซียม หลังค่อม หมอนรองกระดูกบางลง กร่อน อาการเจ็บปวดกระดูกบ่อย อาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้
  • กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง เหี่ยว เล็ก ลีบ ไม่มีแรง ถ้าทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากจะรู้สึกล้า อ่อนเพลีย เหนื่อยหอบง่าย

กลับสู่สารบัญ

ระบบภายในร่างกาย

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุระบบภายใน มีดังนี้

  • ระบบประสาท เกิดจากเซลล์ประสาทตายแล้วไม่มีการเกิดขึ้นใหม่อีก ทำให้ความจำแย่ ความสามารถการเรียนรู้ลดลง ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆลดลง ความรู้สึกและการเคลื่อนไหวช้าไปด้วย
  • ระบบการไหลเวียนเลือด หลอดเลือดฝอยเปราะส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะลดลงและทำให้อวัยวะตาย ประสิทธิภาพการทำงาน อัตราการเต้นของหัวใจลดลง มีโอกาสเสี่ยงหัวใจวายได้ง่าย ไขมันเกาะอยู่ตามผนังเส้นเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจมีพังผืดขึ้น มีโอกาสความดันสูงมากกว่าคนปกติ
  • ระบบทางเดินหายใจ หายใจลำบาก รู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ ถ้าทำกิจกรรมที่ใช้กำลังมากจะรู้สึกหายไม่ทันเกิดจากความแข็งแรงกล้ามเนื้อช่วยหายใจลดลง การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ความจุและจำนวนถุงลมมีขนาดใหญ่ขึ้นมีโอกาสที่ถุงลมแตกง่าย เยื้อหุ้มปอดแห้งปอดไม่ขยายทำให้เกิดน้ำคั่งในปอด
  • ระบบทางเดินอาหาร ฟันของผู้สูงอายุไม่ค่อยดีจึงเคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียดส่งผลให้กระเพราะทำงานหนัก น้ำย่อยในกระเพาะอาหารน้อยลงทำให้อาหารต้องอยู่ในกระเพาะนานขึ้นและทำให้ท้องอืดง่าย
  • ระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะมีขนาดเล็กลง ทำให้ต้องปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะผู้ชายมีปัญหาต่อมลูกหมากโตทำให้ช่วงกลางคืนต้องลุกมาปัสสาวะบ่อยและต้องเบ่งปัสสาวะนาน
  • ระบบต่อมไร้ท่อ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนต่าง แต่การทำงานของต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์น้อยลง ทำให้ผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง ตับอ่อนก็ผลิตอินซูลินน้อยลงทำให้น้ำตาลในเลือดสูง มีโอกาสเป็นเบาหวานมากขึ้น

กลับสู่สารบัญ

มาออกกำลังกายเพื่อเตรียมความพร้อมร่างกาย สำหรับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุกันดีกว่าครับ

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุทางด้านจิตใจและอารมณ์

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ไม่เพียงแต่ทางร่างกาย เท่านั้น แต่ความรู้สึก การรับรู้ จิตใจ อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ลักษณะ การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ยึดติดกับความคิดของตัวเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆได้ยากเพราะขาดความมั่นใจและการเรียนรู้เริ่มเสื่อมลง
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ซึมเศร้า หงุดหงิด โกรธง่าย ใจร้อน ฉุนเฉียว เบื่อหน่าย คิดว่าตนเองเป็นภาระต่อผู้อื่น
  • ชอบอยู่คนเดียว เก็บตัวไม่เข้าสังคม
  • มกมุ่น อาลัยอาวรณ์คิดถึงเรื่องในอดีต
  • กลัวความตาย กลัวการสูญเสียอวัยวะ สูญเสียบุคคลในครอบครัว
  • ไม่ยอมรับความสามารถของตนเอง กลัวไม่เป็นที่ยอมรับ
  • รู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่ เพราะลูกหลานต่างแยกย้ายไปมีครอบครัวหรือทำงาน
  • จำเหตุการณ์ปัจจุบันไม่ได้ หลงๆลืมๆ ชอบย้ำคิดย้ำทำ
  • สนใจเฉพาะเรื่องตนเองมากกว่าเรื่องผู้อื่น

กลับสู่สารบัญ

อ่านวิธีดูแลสภาพจิตใจ ของผู้สูงอายุเพิ่มเติมที่บทความนี้เลยครับ

การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุทางด้านสังคม

        วัยผู้สูงอายุเป็นเวลาของการเกษียณที่ไม่จำเป็นต้องทำงานแล้ว รู้สึกไม่ได้รับการยกย่อง ไม่มีคนเคารพเหมือนที่ผ่านมา ทำให้ขาดความมั่นใจในตนเอง

        แต่มีผลดีทำให้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้นหลังจากที่ทำงานมานาน เปิดโอกาสได้ลองทำสิ่งต่างๆที่อยากลองและยังไม่ได้ลอง เช่น ท่องเที่ยว ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ ถักไหมพรม ปฏิบัติธรรมเป็นต้น นอกจากใช้เวลาว่างให้มีประโยชน์แล้วยังมีโอกาสได้พูดคุยพบปะผู้อื่นเพื่อสร้างความสัมพันธ์และไม่รู้สึกโดดเดี่ยว

        สำหรับบางคนอยากอยู่คนเดียว เบื่อกับสังคม วุ่นวายที่มีคนเยอะและรถพลุกพล่าน อยากย้ายที่อยู่ไปอยู่ที่ไกลๆ สงบตามชนบทกับลูก หรือย้ายไปอยู่สถานสงเคราะห์คนชราเพราะคิดว่าตนเองไม่ใช่หัวหน้าครอบครัวอีกแล้ว กลายเป็นแค่สมาชิกในครอบครัวที่ไม่มีภาระอะไร

กลับสู่สารบัญ

เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ผ่อนคลายความเครียด พบปะและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสถานที่ใหม่ๆ แนะนำ 10 สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
ที่สำหรับผู้สูงอายุ

ฟังคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อเตรียมพร้อมรับมื่อเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ สามารถได้ดังนี้

สรุปการลักษณะการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ

        สูงอายุเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นควรยอมรับและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในทุกๆด้าน ควรหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย ทางด้านจิตใจ ก็สำคัญเช่นกัน หางานหรือกิจกรรมให้ทำเพื่อเกิดความเพลิดเพลิน คลายเครียดและที่สำคัญไม่ควรปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่คนเดียว

กลับสู่สารบัญ

เข้าสู่ระบบ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้