การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลใด สมัยรัชกาลใดที่เข้าสู่ระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างแท้จริง การสิ้นสุดการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เกิดขึ้นเมื่อใดและมีผลอย่างไร คณะราษฎรได้ประกาศอุดมการณ์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้อย่างไร การปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย เริ่มต้นขึ้นในรัชสมัยใด การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไร เพราะเหตุใดรัชกาลที่ 7 จึงทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร 2475 รัชกาลที่ สรุปสาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 สรุปการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 กระบวนการเปลี่ยนแปลงการปกครองสําเร็จได้ เพราะปัจจัยใดบ้าง

ในสมัยรัชกาลที่ 7 ประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ: Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด

ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น

กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ

ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน สวาซิแลนด์ กาตาร์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้วย
ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทย
ประเทศไทยเคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์เด็ดขาดในการปกครองแผ่นดิน ดังคำกล่าวที่ว่า "พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดิน กรุงสยามนี้ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้"
ในทัศนะของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของไทยนั้น ไม่ได้เป็นระบอบที่มีมาแต่สมัยโบราณ แต่เพิ่งมีมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากในรัชกาลนี้ พระองค์ทรงรวบอำนาจจากเหล่าขุนนาง ข้าราชการ ที่เคยมีอำนาจและบทบาทมากก่อนหน้านั้น มาไว้ที่ศูนย์กลางการปกครอง คือ ตัวพระองค์ และพระประยูรญาติ ทำให้พระมหากษัตริย์ทรงดำรงสถานะเป็นทั้งประมุขของรัฐและประมุขของฝ่ายบริหารอย่างแท้จริง เท่ากับว่าระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของไทยมีเพียง 3 รัชกาลเท่านั้น คือ รัชกาลที่ 5, รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7
การสิ้นสุดระบอบ
เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7 และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 แล้ว ในทางนิตินัย พระราชอำนาจที่เคยมีมาอย่างล้นพ้นมิได้ถูกจำกัดลงให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ เรียกขานกันต่อมาว่า " ราชาธิปไตย " ผู้ให้คำๆ จำกัดความโดย พลตำรวจเอก วิศิษฐ์ เดชกุญชร


//th.wikipedia.org/wiki/สมบูรณาญาสิทธิราชย์

ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นและจบลงของสงครามโลกครั้งที่ 1 การปฏิวัติรูปแบบการปกครองในหลาย ๆ ประเทศ จนไปถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองส่วนกลาง และการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของประเทศจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยของบ้านเรา การเปลี่ยนแปลงที่มากมายเหล่านี้ทำให้พัฒนาการด้านการเมืองการปกครองของรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 6 - 7 เป็นอีกช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทยที่น่าสนใจมาก แต่รายละเอียดจะเป็นอย่างไร บทเรียนออนไลน์จาก StartDee ในวันนี้มีคำตอบ !

เพื่อน ๆ จะอ่านกันต่อที่นี่ หรือไปเรียนในรูปแบบวิดีโอได้ที่แอปพลิเคชัน StartDee ได้เลยนะ

การเปลี่ยนแปลงและความต่อเนื่องของการเมืองการปกครองไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 - 7

เมื่อการแสวงหาอาณานิคมในเอเชียเริ่มเบาบางลง ทำให้ประเทศไทยปลอดภัยจากการรุกรานดินแดนของมหาอำนาจตะวันตก สถานการณ์เช่นนี้ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถดำเนินนโยบายการต่างประเทศและการเมืองการปกครองได้อย่างอิสระ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) จึงเป็นช่วงที่ประเทศไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่ของการเมืองการปกครอง “อย่างรวดเร็ว” ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วงนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองส่วนกลาง ซึ่งเหตุการณ์ในช่วงเปลี่ยนผ่านเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยของรัชกาลที่ 6 จนมาถึงรัชกาลที่ 7 นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมการเมืองการปกครองไทยในสมัยรัชกาลที่ 6 - 7 จึงน่าสนใจ และทำไมเราต้องพิจารณาเหตุการณ์ในสองรัชสมัยนี้ต่อเนื่องกัน 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ค.ศ. 1910 - 1925)

ก่อนจะไปดูเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคของรัชกาลที่ 6 สิ่งแรกที่เราควรทำความเข้าใจคือผู้นำของประเทศในยุคนั้น ซึ่งก็คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) นั่นเอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวถือเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ไปศึกษายังต่างประเทศ ทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ สหราชอาณาจักรตั้งแต่พระชนมายุ 12 พรรษาเศษ และทรงศึกษาอยู่ที่อังกฤษเป็นระยะเวลานานกว่า 9 ปี ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ซึ่งในขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร) ก็สำเร็จการศึกษาหลากหลายแขนง เช่น วิชาการทหารจากแซนเฮิสต์ ประวัติศาสตร์และกฎหมายจากวิทยาลัยไครสต์เซิร์ซ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

ในแง่ความสนใจอื่น ๆ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความสนพระทัยในงานด้านอักษรศาสตร์ วรรณกรรม รวมถึงศิลปะและการละครเป็นอย่างมาก ทรงมีบทพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงมากมาย เช่น มัทนะพาธา เวนิสวาณิช และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยใช้พระนามแฝง เช่น พระขรรค์เพชร (Phra Khan Bejra) ศรีอยุธยา (Sri Ayudhya, Sri Ayoothya) รามจิตติ และอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีพระนามแฝงสำหรับงานเขียนประเภทการเมืองโดยเฉพาะ ชื่อว่า “อัศวพาหุ (Asvabhahu)” ทรงใช้นามปากกานี้แสดงแนวคิดและโต้ตอบกับนักเขียนที่วิจารณ์การเมืองและการปกครองของไทยในยุคนั้น* ผ่านบทพระราชนิพนธ์หลายบท เช่น เมืองไทยจงตื่นเถิด (Wake up Siam) ลัทธิเอาอย่าง (The Cults of Imitation) โคลนติดล้อ (Clogs on Our Wheels) และเมื่อมีผู้เขียนบทความแย้งตอบ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ก็ไม่โกรธแต่อย่างใดเพราะเห็นว่าเป็นการเสนอแนวทางในการบริหารประเทศ จึงนับว่าความสนใจในงานวรรณกรรมของพระองค์นั้นมีบทบาทด้านการเมืองอย่างมาก

*นักคิดนักเขียนที่มีบทบาทสำคัญตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ลงมา เช่น ก.ศ.ร. กุหลาบ (กุหลาบ ตฤษณานันท์) และเทียนวรรณ (ต.ว.ศ. วัณณาโภ) ทั้งสองมักเสนอบทความวิพากษ์วิจารณ์สังคมลงในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นเจ้าของและเป็นบรรณาธิการ โดย ก.ศ.ร. กุหลาบมักเสนอบทความลงในหนังสือพิมพ์สยามประเภท ส่วน ต.ว.ศ. วัณณาโภมักเสนอบทความลงในหนังสือพิมพ์ตุลวิภาคพจนกิจและหนังสือพิมพ์ศิริพจนภาค ซึ่ง ก.ศ.ร. กุหลาบและเทียนวรรณถือว่าเป็นสมาชิกของ “กลุ่มหัวก้าวหน้า” ที่จะมีบทบาททางการเมืองที่สำคัญที่เรากำลังจะกล่าวถึงต่อไปด้วย

เหตุการณ์ทางการเมืองการปกครองที่สำคัญในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6

ความขัดแย้งของจักรวรรดิในยุโรปก่อตัวเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งในช่วงแรกสยามยังคงวางตัวเป็นกลางในสงครามนี้ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จะประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตรในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ถือเป็นการประกาศสงครามกับจักรวรรดิเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการีอย่างเป็นทางการ สงครามโลกครั้งที่ 1 จบลงโดยฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้ชนะ สยามจึงอยู่ในกลุ่มประเทศผู้ชนะสงครามและมีโอกาสแก้ไขสนธิสัญญาที่เสียเปรียบหลายฉบับ เช่น ยกเลิกการสิทธิสภาพนอกอาณาเขตกับสหรัฐอเมริกา ยกเลิกสนธิสัญญาเบาว์ริง นอกจากนี้ไทยยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสันนิบาตชาติ และได้รับการยอมรับมากขึ้นในระดับนานาชาติ

การส่งทหารไทยเข้าร่วมรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ขอบคุณรูปภาพจาก bangkokpost.com

ความกระด้างกระเดื่องในหมู่ทหาร กลุ่มหัวก้าวหน้า และเหตุกบฏ ร.ศ. 130

กลุ่มหัวก้าวหน้าคือกลุ่มนายทหารและชนชั้นกลางที่ได้รับการศึกษาสูง มีแนวคิดอย่างตะวันตก และสนใจการเมือง หลังจบสงครามโลกครั้งที่ 1 จบลง ได้เกิดการเรียกร้องให้ปฏิรูประบอบการปกครองในหลาย ๆ ประเทศ เช่น รัสเซีย จีน และตุรกี กลุ่มหัวก้าวหน้าจึงเริ่มเปรียบเทียบพัฒนาการของสยามกับประเทศอื่น ๆ ที่ปฏิรูปแล้ว โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเพียงไม่นาน นอกจากนี้การจัดตั้ง “กองเสือป่า” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทำให้นายทหารหลายคนรู้สึกว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงไม่สนับสนุนกิจการทหารบก เมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่หลังจากเปลี่ยนรูปแบบการปกครองแล้วทำให้อำนาจทางทหารปรากฏอย่างเด่นชัด

คณะพรรค ร.ศ. 130 ขอบคุณภาพจาก blockdit.com

ด้วยเหตุเหล่านี้เหล่าทหารหนุ่มในกลุ่มคณะพรรค ร.ศ. 130 (หรือที่เรียกอีกชื่อว่ากลุ่มยังเติร์ก: Young Turks เนื่องจากได้แนวทางการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาจากตุรกี) จึงเริ่มเคลื่อนไหวและวางแผนที่จะเปลี่ยนรูปแบบการปกครองประเทศ โดยใช้อุดมการณ์ชาตินิยม ส่งเสริมความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์กบฏ ร.ศ. 130 โดยคณะพรรค ร.ศ. 130 กลุ่มนายทหารบกและปัญญาชนที่มีจุดมุ่งหมายในการปฏิวัติการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แผนของคณะคือให้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยอมอยู่ใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุด แต่แผนการได้รั่วไหลและทำให้การปฏิวัติล้มเหลว คณะพรรค ร.ศ. 130 ถูกจับกุมทั้งหมดและต้องโทษสูงสุดคือประหารชีวิต แต่ก็ได้รับการลดหย่อนและพระราชทานอภัยโทษให้เหลือเพียงจำคุกในภายหลัง

*ถึงจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่เหตุการณ์ ร.ศ. 130 ก็ถือว่าเป็นการปูทางการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองให้กับคณะราษฎร ทั้งนี้เหตุการณ์ ร.ศ. 130 เป็นแรงผลักดันให้คณะราษฎร ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยภายหลังการยึดอำนาจแล้ว พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เชิญผู้นำการกบฏ ร.ศ. 130 ไปพบและกล่าวกับ ขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ว่า "ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม" 

การดำเนินการเพื่อลดการต่อต้าน

เพื่อลดการต่อต้านและการปฏิรูปประเทศในหมู่ทหาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินการปฏิรูปการเมืองการปกครองในไทยหลาย ๆ ด้าน เช่น 

  1. ทรงจัดตั้งจิตรลดาสโมสร (หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่าสโมสรสามเหลี่ยม) สโมสรกึ่งการเมืองที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างผู้ที่มีการศึกษาสูง คาดว่าได้แบบอย่างมาจาก Athenaeum Club ในอังกฤษ
  2. ทรงจัดตั้งดุสิตธานี เมืองจำลองประชาธิปไตยขึ้นที่พระราชวังดุสิต โดยมีพระประสงค์เพื่อฝึกให้ขุนนางและข้าราชการได้ทดลองปกครองการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการปกครองท้องถิ่น
  3. ทรงปรับปรุงการปกครองส่วนกลาง เช่น ปรับปรุงระบบกระทรวงด้วยการจัดตั้งกระทรวงใหม่ เช่น กระทรวงทหารเรือ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมุรธาธรกลับมามีบทบาทอีกครั้งหลังจากถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการรวมกระทรวงนครบาลเข้ากับกระทรวงมหาดไทย รวมถึงเปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการเป็นกระทรวงคมนาคมเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย
  4. ทรงปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาค เช่น รวมมณฑลที่อยู่ติดกันเป็นภาค และเปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัด
Did you know ?: รู้หรือไม่ จริง ๆ แล้วดุสิตธานี “ตะเร้กกก” กว่าที่เราคิด

ขอบคุณรูปภาพจาก becommon.co

ถึงเมือง 'ดุสิตธานี' ณ พระราชวังดุสิตจะมีองค์ประกอบสำคัญแบบที่เมืองเมืองหนึ่งควรจะมีอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นพระราชวังไปจนถึงร้านซักรีด มีประชากรและคณะบริหารบ้านเมืองอย่างจริงจัง (ซึ่งก็คือข้าราชบริพารและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เอง) มีการแบ่งเขตการปกครองแบบตำบล ไปจนถึงการมี ‘พรรคการเมืองสมมติ’ อันเป็นองค์ประกอบที่ส่งเสริมให้ดุสิตธานีเป็นเมืองจำลองประชาธิปไตยที่สมจริงอย่างที่สุด แต่สิ่งที่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ก็คือ ‘จริง ๆ แล้วอาคารต่าง ๆ ในเมืองดุสิตธานีมีอัตราส่วน 1:20 เท่านั้นเมื่อเทียบกับของจริง’ ถึงจะมีสถาปัตยกรรมที่สวยงามสมส่วนเหมือนสถานที่จริง แต่ด้วยขนาดที่เล็กมาก มนุษย์เลยไม่สามารถเข้าไปอยู่อาศัยได้

ทว่าด้วยความที่มีอาคารบ้านเรือนกว่า 1,000 หลังคาเรือน ดุสิตธานีจึงมีพื้นที่รวมกว่า 2 ไร่ (แถมยังได้รับการขยับขยายเพิ่มเป็น 4 ไร่ในภายหลัง) ปัจจุบันมีการบูรณะอาคารบางส่วนของดุสิตธานีและจัดเก็บไว้ที่หอวชิราวุธานุสรณ์ในหอสมุดแห่งชาติ

การเมืองการปกครองของไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) (ค.ศ. 1925 - 1935)

ในช่วงต้นรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศไทยยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ยังคงมีอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ และเนื่องจากเป็นช่วงหลังสิ้นสุดสงครามโลก ทำให้รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องเผชิญปัญหาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเมืองที่รุนแรง รวมถึงปัญหาด้านเศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่สั่งสมมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจัยเหล่านี้จึงมีส่วนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรในเวลาต่อมา

เหตุการณ์ทางการเมืองการปกครองที่สำคัญในรัชสมัยของรัชกาลที่ 7คณะราษฎรและการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

หลังจากปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาอย่างยาวนาน จุดเปลี่ยนของการปกครองไทยก็มาถึง เมื่อคณะราษฎรทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในเช้าวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 สาเหตุที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองมีอยู่หลายประการด้วยกัน เช่น

  1. ความบกพร่องของการปกครองในระบอบเก่า รวมถึงระบอบอุปภัมภ์ในหมู่ขุนนางราชสำนัก ที่ส่งผลให้ผู้ที่มีความสามารถอย่างแท้จริงไม่มีโอกาสได้เข้าไปบริหารและพัฒนาบ้านเมือง
  2. ผลจากการเปิดประเทศมากขึ้นและชาวไทยที่มีโอกาสไปศึกษาในต่างประเทศ ทำให้แนวคิดเกี่ยวกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยจากโลกตะวันตกเติบโตในไทยมากขึ้น 
  3. อิทธิพลจากสื่ออิสระจากสมัยรัชกาลที่ 6 ที่วิพากษ์ปัญหาบ้านเมืองอย่างตรงไปตรงมา ทำให้การเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยของนักคิดนักเขียนต่าง ๆ เป็นไปอย่างเสรี และเข้าถึงประชาชนมากขึ้น
  4. เศรษฐกิจยุโรปเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้การค้าการส่งออกของไทยเป็นไปอย่างยากลำบาก เมื่อรวมกับปัญหาภัยแล้ง และน้ำท่วมใหญ่ที่ส่งผลเสียต่อภาคการเกษตร ประเทศไทยจึงเผชิญหน้ากับวิกฤติเศรษฐกิจที่คณะบริหารก็ไม่สามารถแก้ไขได้

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 จึงเริ่มขึ้นโดยคณะราษฎร ประกอบด้วยกลุ่มทหารและพลเรือน ฝ่ายทหารนำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ฝ่ายพลเรือนนำโดยนายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) คณะราษฎรดำเนินการยึดกรมไปรษณีย์โทรเลขเพื่อตัดขาดช่องทางการสื่อสารระหว่างพระบรมวงศานุวงศ์และสมาชิกฝ่ายบริหารอาวุโส และมีการจับกุมพระบรมวงศานุวงศ์ไว้เป็นองค์ประกัน 


คณะนายทหารผู้เริ่มการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ขอบคุณรูปภาพจาก blockdit.com

เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเสียเลือดเนื้อ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงยินยอมปฏิบัติตามข้อเสนอของคณะราษฎร เมื่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จ คณะราษฎรจึงประกาศหลัก 6 ประการ อันประกอบไปด้วย

  1. หลักเอกราช: จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
  2. หลักความปลอดภัย: จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
  3. หลักเศรษฐกิจ: จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
  4. หลักเสมอภาค: จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
  5. หลักเสรีภาพ: จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
  6. หลักการศึกษา: จะต้องให้การศึกษาแก่ราษฎร (ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง)
ธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราวและรัฐธรรมนูญฉบับแรก

ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย โดยมีการแบ่งอำนาจการปกครองเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 

  1. ฝ่ายนิติบัญญัติ: ประกอบด้วย ผู้แทนราษฎร 70 คนที่มาจากการแต่งตั้งของคณะราษฎร
  2. ฝ่ายตุลาการ: ตุลาการและผู้พิพากษา มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินคดีความ
  3. ฝ่ายบริหาร: คณะกรรมการราษฎรที่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศ (เทียบเท่ากับคณะรัฐมนตรีในปัจจุบัน) ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการราษฎร 1 คน และกรรมการราษฎร 14 คน ซึ่งมาจากสมาชิกสภาโดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร จึงถือว่าพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย

โดยอำนาจทั้ง 3 ส่วนนี้จะแยกกันเป็นอิสระและมีการตรวจสอบเพื่อคานอำนาจกันอยู่เสมอ จากนั้นในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 จึงมีการประกาศใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475” ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศไทย และในทุกวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีจึงถือเป็นวันรัฐธรรมนูญ ซึ่งในอดีตจะมีการจัดเทศกาลฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วประเทศ


บรรยากาศการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญที่สวนลุมพินี ขอบคุณรูปภาพจากเฟสบุ๊ก weloveoldphoto

รัฐประหารครั้งแรก

หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง การเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจหรือ “สมุดปกเหลือง” ของศาสตราจารย์ปรีดี พนมยงค์ทำให้รัฐบาลกับคณะราษฎรขัดแย้งกัน เพราะรัฐบาลเห็นว่าเค้าโครงเศรษฐกิจนี้ “มีความเป็นคอมมิวนิสต์” ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่เป็นดั่งขั้วตรงข้ามของประชาธิปไตย (ตามความเข้าใจของคนส่วนใหญ่ในสมัยนั้น) รัฐบาลของพระยามโนปกรณ์ฯ ได้ทำการปิดสภา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา และมีการกระทำที่เข้าข่ายความเป็นเผด็จการ เช่น ออก พรบ. ว่าด้วยคอมมิวนิสต์ สั่งปิดหนังสือพิมพ์ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ฯลฯ ซึ่งการกระทำเหล่านี้ขัดกับเจตนารมณ์ของคณะราษฎร พระยาพหลพลพยุหเสนาจึงต้องทำการรัฐประหารเพื่อให้อำนาจกลับมาอยู่ที่กลุ่มแกนนำคณะราษฎรในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476

กบฏบวรเดช

นอกจากความขัดแย้งเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจ ยังมีความขัดแย้งเรื่องของพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบการปกครองใหม่นี้ด้วย ด้วยเหตุนี้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชจึงนำกำลังทหารเข้าล้มล้างรัฐบาลในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อคืนพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์ แต่รัฐบาลก็ปราบปรามคณะกบฏลงได้ เราเรียกเหตุการณ์นี้ว่า “กบฏบวรเดช”

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ

การเกิดกบฏบวรเดชทำให้เกิดความบาดหมางระหว่างรัฐบาลและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากรัฐบาลเข้าใจว่าฝ่ายราชานิยมมีส่วนในการสนับสนุนกบฏบวรเดช เมื่อประกอบกับการทำงานของรัฐบาลที่มักทำการโดยไม่ปรึกษาพระองค์ทำให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสียพระทัย และประกาศสละราชสมบัติในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (หากนับตามปฏิทินปัจจุบันจะเป็นวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478) ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดรัชสมัยของพระองค์

สรุปการเมืองการปกครองสมัยรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 6 - 7สมัยรัชกาลที่ 6
  • สถานการณ์การเมืองในหลายประเทศมีการเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เช่น ตุรกี จีน และรัสเซีย 
  • เกิดเหตุการณ์กบฏ ร.ศ.130 โดยกลุ่มนายทหารบกที่มีจุดมุ่งหมายในการปฏิวัติการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
  • พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงการดำเนินการเพื่อลดการต่อต้านด้วยการปรับปรุงการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีการปรับเปลี่ยนระบบกระทรวงให้ทันสมัย รวมมลฑลเป็นภาค และเปลี่ยนเมืองเป็นจังหวัด
สมัยรัชกาลที่ 7
  • เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร
  • พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทาน “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ประเทศไทยจึงมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกใช้ในวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 มีการประกาศใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475” ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกของประเทศไทย
  • 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 เกิดการรัฐประหารครั้งแรกโดยคณะนายทหาร นำโดยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
  • 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 เกิดกบฏบวรเดช นำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
  • 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ (หากนับตามปฏิทินปัจจุบันจะเป็นวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2478)

จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาถึงยุคการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประเทศของเราใช้เวลาเพียง 25 ปีเท่านั้น เพื่อน ๆ จะเห็นว่าในยุคสมัยของรัชกาลที่ 6 - 7 ประเทศของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมาก รายละเอียดของเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็เยอะมากเช่นกัน แต่ถึงรายละเอียดจะเยอะแค่ไหนก็จำได้ด้วย เทคนิคการอ่านหนังสือสอบให้เข้าสมอง หรือถ้าอยากเรียนสบาย ๆ เข้าใจง่ายแบบไม่ต้องท่อง ต้องโหลดแอปพลิเคชัน StartDee มาลองเรียนดูแล้วล่ะ !

นอกจากนั้น เพื่อน ๆ ยังสามารถไปเรียนรู้กันต่อได้ที่บทเรียนออนไลน์วิชาภาษาไทยเรื่องบทพากย์เอราวัณ ที่แปลเนื้อหากันมาอย่างละเอียดยิบ หรือจะเรียนภาษาอังกฤษกับบทความรากศัพท์กรีกและละติน ส่วนวิชาวิทยาศาสตร์ก็ไม่น้อยหน้า คลิกอ่าน การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของเมนเดล ได้เลย

ขอบคุณข้อมูลจาก: 

  1. โยฮันนา (ครูโย)
  2. สุรรังสรรค์ ผาสุขวงษ์ (ครูกอล์ฟ)

Reference:

Batson, B. A., ละอองศรี กาญจนี, & ชุมจันทร์ ยุพา. (2547). บทที่ 1 สยาม, ราชาธิปไตยกับมหาอำนาจตะวันตก. In เง่าธรรมสาร พรรณงาม, ขันติวรพงศ์ สดใส, & ณ อยุธยา ศศิธร รัชนี (Trans.), อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม: The End of the Absolute Monarchy in Siam (2nd ed., pp. 1–26). essay, มูลนิธิตำราสังคมศาสตร์และสมนุษยศาสตร์. 

นักรบ มูลมานัส. “ดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตยจิ๋ว แบบทดลองระบอบการปกครองใหม่ของ ร.6 เมื่อร้อยกว่าปีก่อน.” The Cloud, 2 Mar. 2020, readthecloud.co/dusit-thani-miniature-city-king-rama-vi/.

บทที่ 5 บทความ. In TH 399 (pp. 169–176). essay. Retrieved from: //old-book.ru.ac.th/e-book/t/TH339/th339-5.pdf 

สิทธิโสภณ วิลาสินี. เหตุการณ์ ร.ศ. 130 เนื้อหาอภิปรายดูประวัติ. ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า. //wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_%E0%B8%A3.%E0%B8%A8._130.

การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลใด

24 มิถุนายน – การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475: คณะราษฎรดำเนินการปฏิวัติยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว​ และเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะราษฎร

สมัยรัชกาลใดที่เข้าสู่ระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อย่างแท้จริง

ในทัศนะของ นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ของไทยนั้น ไม่ได้เป็นระบอบที่มีมาแต่สมัยโบราณ แต่เพิ่งมีมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากในรัชกาลนี้ พระองค์ทรงรวบอำนาจจากเหล่าขุนนาง ข้าราชการ ที่เคยมีอำนาจและบทบาทมาก่อนหน้านั้น มาไว้ที่ศูนย์กลางการปกครอง คือ ตัว ...

การสิ้นสุดการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เกิดขึ้นเมื่อใดและมีผลอย่างไร

เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงตกลงจะนำรัฐธรรมนูญมาใช้ ซึ่งพระองค์จะทรงแบ่งพระราชอำนาจกับนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับกลุ่มหัวรุนแรงในกองทัพ วันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน ขณะที่พระมหากษัตริย์แปรพระราชฐาน ณ ชายทะเล กองทหารกรุงเทพมหานครก่อการกำเริบและยึดอำนาจ นำโดยผู้ก่อการ 49 คน และเป็นการสิ้นสุด ...

คณะราษฎรได้ประกาศอุดมการณ์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้อย่างไร

จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้