ดร. เอก รัตน์ ไว ย นิตย์ ผ อ. ศูนย์วิจัย เทคโนโลยีระบบรางและการขนส่ง สมัยใหม่ สว ท ช

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช. และดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในธุรกิจอุตสาหกรรมระหว่าง สวทช.และ บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด นำโดย นายพนัส วัฒนชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด คุณธันยพร อ้อพงษ์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ดร.วิมล แสนอุ้ม ผู้อำนวยการหน่วยธุรกิจนวัตกรรม บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด เข้าร่วมงานและเป็นสักขีพยานในการลงนาม ณ ห้องโถงชั้นที่ 1 อาคาร สวทช. ถนนพระรามที่ 6

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการรดำเนินการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีที่มีความพร้อมไปใช้งานในเชิงพาณิชย์และสาธารณะประโยชน์ ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และภาคสังคม จึงได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเฉพาะทาง (Focus Center) ซึ่งปัจจุบันมี 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ และศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่

นอกจากนี้ สวทช. ยังผลักดันการนำผลงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ ผ่านระบบบัญชีนวัตกรรมไทย ซึ่งทำให้ผลงานวิจัยมีช่องทางถูกนำไปใประโยชน์ในหน่วยงานภาครัฐที่เป็นตลาดใหญ่สุดในปัจจุบัน และทำงานร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. ทำมาตรฐานอุตสาหกรรมนวัตกรรม กำหนดมาตรฐานสำหรับนวัตกรรม ที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นทำให้นวัตกรรมได้รับการรับรองต่อไป

โดย สวทช. และ บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ได้มีความร่วมมือในหลายด้าน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ Logistics และแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน เป็นต้น การลงนามความร่วมมือระหว่าง บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด และ สวทช. ในวันนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งในกลไกที่จะช่วยส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความยั่งยืนให้กับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ ผ่านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรมเชิงเทคโนโลยีที่มีจุดแข็งและนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในธุรกิจอุตสาหกรรมในอนาคต

นายพนัส วัฒนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทฯ มีความร่วมมือกับทาง สวทช. ในหลายหลายภาคส่วน ทั้งการร่วมใช้ทรัพยากรเกี่ยวกับ Finite Element กับ DECC มากกว่า 15 ปี ความร่วมมือกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี จัดการประกวดผลงานความคิดสร้างสรรค์เชิงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้าน Logistics ในโครงการ Panus Thailand LogTech Award ที่มีการร่วมจัดมาแล้วกว่า 5 ปี นอกจากนี้มีการพัฒนาเทคโนโลยีขับขี่อัตโนมัติที่เหมาะกับการใช้งานภายใต้สภาพเงื่อนไขประเทศไทย การพัฒนาแผ่นเกราะกันกระสุนสำหรับการใช้งานในหัวรถจักรเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงานและผู้โดยสารในพื้นที่ภาคใต้ และอีกหลายโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่และกำลังที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช. กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์ในธุรกิจอุตสาหกรรม ได้แก่ 1.ร่วมบริหารโครงการวิจัย พร้อมทั้งพัฒนาเครือข่ายการทำงานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคอุตสาหกรรม 2. สร้างนวัตกรรมรูปแบบใหม่ เช่น การพัฒนา Platform ให้บริการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ 3. บูรณาการเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในแต่ละหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มสูงขึ้น ทั้งบุคลากรในสายวิจัยและวิชาการ โครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์เครื่องมือในการวิจัยและพัฒนา 4. การสร้างกลไกเพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ ในผลงานวิจัยและพัฒนาการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรม และ 5.พัฒนางานวิจัยเชิงประยุกต์ พร้อมทั้งส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี ผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น โครงการรับจ้างวิจัย โครงการร่วมวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนการอนุญาตให้ใช้สิทธิ เพื่อสร้างธุรกิจที่มีความแตกต่างด้วยนวัตกรรม ให้คำปรึกษาเทคโนโลยีและนวัตกรรม แก้ไขปัญหาทางวิศวกรรม การบริการวิเคราะห์และทดสอบ รวมถึงจะร่วมกันพัฒนากลไกเชิงธุรกิจ ผ่านมาตรการส่งเสริมการเงิน ภาษี และบัญชีนวัตกรรมไทย ของสวทช.

ด้าน ดร.ศิวรักษ์ ศิวโมกษธรรม ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ หรือ National Security and Dual-Use Technology Center: NSD กล่าวเสริมว่า ในส่วนของศูนย์เทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศฯ ได้วางแผนงานวิจัยที่จะร่วมมือกับ บ. พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด ใน 2 โครงการ ได้แก่ 1.การพัฒนาชุดกรองไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลด้วยการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต เพื่อกรองไอเสียจากเครื่องยนต์ดีเซลของรถขนาดใหญ่ โดยใช้เทคโนโลยีการตกตะกอนเชิงไฟฟ้าสถิต ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกรองไอเสียดีเซลที่ประกอบด้วยฝุ่นละอองขนาดเล็กมากได้ สามารถฉีดล้างทำความสะอาดชุดกรองได้ง่าย สำหรับติดตั้งในรถบรรทุก รถโดยสารสาธารณะ เพื่อลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ และ 2.การร่วมลงทุนวิจัยระหว่าง พนัส และ สวทช. ในโรงงานต้นแบบผลิตแบตเตอรี่ทางเลือก ในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ในอำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

สวทช. ร่วมกับสถาบันวิจัยเทคนิครถไฟประเทศญี่ปุ่น ผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมอุตสาหกรรมด้านระบบรางของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพของระบบขนส่งทางราง และเพิ่มขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย

สวทช. ร่วมกับสถาบันวิจัยเทคนิครถไฟประเทศญี่ปุ่น ผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมอุตสาหกรรมด้านระบบรางของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพของระบบขนส่งทางราง และเพิ่มขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย

นายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และนายอิคุโอะ วาตานาเบะ ประธานสถาบันวิจัยเทคนิครถไฟประเทศญี่ปุ่น / นายเอกรัตน์ ไวยนิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ สวทช. / นายเทตสุโอะ อุซุกะ ผู้อำนวยการทั่วไปฝ่ายต่างประเทศ สถาบันวิจัยเทคนิครถไฟประเทศญี่ปุ่น ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือด้านเทคนิค ระหว่างสถาบันวิจัยเทคนิครถไฟ ประเทศญี่ปุ่นประเทศญี่ปุ่น และ สวทช. ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีนายโฮโซโนะ เคสุเกะ เลขานุการเอกด้านดิจิทัล สารสนเทศ เทคโนโลยีการสื่อสาร วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ร่วมกล่าวคำแสดงความยินดี ทั้งนี้ เพื่อร่วมกันผลักดันการร่วมมือวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร และการเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพของระบบขนส่งทางราง เพิ่มขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2567 พร้อมกล่าวว่า ความร่วมมือด้านเทคนิคครั้งนี้ จะช่วยเสริมสร้างและขยายความร่วมมือโดยเฉพาะอย่างด้านการวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาบุคลากรวิจัย เป็นกลไกสำคัญต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศตามนโยบายภาครัฐ ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของอาเซียน สร้างความยั่งยืนให้ภาคอุตสาหกรรมในประเทศ พร้อมกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ สวทช. ได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมรองรับความต้องการใช้งานในระบบขนส่งทางมาโดยตลอด จึงจัดตั้ง ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ (RMT) ซึ่งเป็นหน่วยงานในรูปแบบศูนย์วิจัยและพัฒนาเฉพาะทาง ในปี 2563 เพื่อรับผิดชอบดำเนินการวิจัยและพัฒนาที่มีเป้าหมายในการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความพร้อมสำหรับใช้งานในภาคอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางและการขนส่งสมัยใหม่ เพื่อรองรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของระบบขนส่งทางรางของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : ขนิษฐา ลือสัตย์

ผู้เรียบเรียง : กัลยา คงยั่งยืน / สวท.

แหล่งที่มา : สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้