เอกสาร ที่ใช้ในการจัด นำเที่ยว ภายใน ประเทศ

ก่อนอธิบายรายละเอียดและขั้นตอนการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ขอเล่าถึงที่มาที่ไป ทำไมถึงต้องมีใบอนุญาตนำเที่ยว ประเทศไทยถือเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เนื่องจากประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม น่าสนใจ และดึงดูด นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์ได้แก่ วัดวา อาราม เมืองเก่า พิพิธภัณฑ์ และอุทยานต่างๆ รวมถึงมาตราการส่งเสริมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวจากรัฐบาล ในการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมากที่สุด ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวมีมูลค่ามหาศาล และเติบโตมากขึ้นทุกปี ดังนั้นจึงมีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากมีความสนใจที่จะประกอบธุรกิจทางด้านนำเที่ยว ซึ่งการประกอบกิจการทางด้านนำเที่ยวนั้น กฎหมายกำหนดไว้ว่า ผู้ประกอบการต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากกรมการท่องเที่ยวเสียก่อน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความคุ้มครองจากการซื้อรายการนำเที่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ซึ่งถ้าผู้ประกอบกิจการธุรกิจนำเที่ยวใด ฝ่าฝืนประกอบธุรกิจโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ทั้งนี้การประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่มีใบอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และ/หรือ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท

การประกอบธุรกิจที่ถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 คือการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีบริการหรือการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์ หรือบริการอย่างอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งทั้งนี้ ปัจจุบัน ยังไม่มีกฎกระทรวงเฉพาะสำหรับเรื่องนี้

การยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวในนามบุคคลธรรม หรือนิติบุคคลก็ได้

คุณสมบัติในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวกรณีบุคคลธรรมดา

  1. มีสัญชาติไทย และอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
  2. มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย 
  3. ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์
  4. ต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ 
  5. ต้องไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ และไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวกรณีนิติบุคคล

  1. ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการด้านการนำเที่ยว โดยถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องมีสัญชาติไทย กรณีเป็นบริษัทจำกัด ทุนของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ต้องเป็นของบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย และกรรมการของบริษัทเกินกึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย
  2. มีสำนักงานอยู่ในราชอาณาจักรไทย
  3. กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
    3.1 มีสัญชาติไทย และอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
    3.2 มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
    3.3 ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์
    3.4 ต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
    3.5 ต้องไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ และไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

ในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องจัดให้มีการประกันภัยสำหรับอุบัติเหตุ ให้แก่นักท่องเที่ยว มัคคุเทศน์ และผู้นำเที่ยวในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว  โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทต่อคน และกรณีบาดเจ็บไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทต่อคน และต้องมีอายุกรมธรรม์ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

ประเภทการวางเงินประกันธุรกิจนำเที่ยว

โดยกฎกระทรวง ออก ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดจำนวนเงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยวไว้ดังนี้ผู้ประกอบการนำเที่ยว ต้องมีการจดทะเบียนและวางเงินประกันกับสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ โดยแยกเป็น 4 ประเภทดังนี้

  1. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกัน จำนวน 3,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวได้เฉพาะในจังหวัดที่จดทะเบียนและจังหวัดข้างเคียงที่ระบุไว้ แต่ไม่สามารถขายนำเที่ยวออนไลน์ได้
  2. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ (Domestic) ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 15,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ทุกจังหวัด แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเที่ยวไปยังต่างประเทศ  โดยสามารถให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ แต่ไม่สามารถขายนำเที่ยวออนไลน์ได้
  3. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากต่างประเทศ (Inbound) ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 30,000 บาท โดยการนำนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศไทย สามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ทุกจังหวัด โดยไม่ได้รับอนุญาตให้นำเที่ยวไปยังต่างประเทศ โดยสามารถให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและชาวต่างชาติ และสามารถขายนำเที่ยวออนไลน์ได้
  4. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ (Outbound) ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 60,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ  ให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ สามารถขายนำเที่ยวออนไลน์ได้

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

  1. ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องแสดงใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ระบุไว้ในใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
  2. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีอายุ 2 ปี โดยผู้ประกอบการต้องชำระค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 2,000 บาท ทั้งแบบบุคคลธรรมดาและแบบบริษัท ค่าธรรมเนียมรักษาสถานภาพใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 1,000 บาท ทุกๆ 2 ปี
  3. ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องยื่นเอกสารหลักฐานการเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กลาง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรายการประกอบธุรกิจนำเที่ยวต่างๆ เช่นเปลี่ยนชื่อบุคคลหรือนิติบุคคล เปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงาน เปลี่ยนชื่อสถานประกอบการ เพิ่มหรือยกเลิกสำนักงานสาขา เปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานสาขา เปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทน

การเริ่มต้นประกอบธุรกิจนำเที่ยว

  1. จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หากท่านต้องการประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคลต้องเริ่มจากจดทะเบียนบริษัท หรือ บริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัทว่า ให้บริการการนำเที่ยว และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถนำธุรกิจไปจดทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจท่องเที่ยวได้
  2. จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันการประกอบธุรกิจมักมีการเปิดเว็บไซต์ หรือการทำสื่อบนอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ เพื่อเป็นการโปรโมทโพสต์ธุรกิจของตน ดังนั้นหากผู้ประกอบการมีการจำหน่ายโปรแกรมท่องเที่ยวผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต เช่น มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง จะต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม
  3. การทำกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจทำประกันอุบัติเหตุในระหว่างนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยวของตน โดยสามารถติดต่อทำกรมธรรม์ดังกล่าวได้กับบริษัทรับทำประกันภัยได้โดยมีเงื่อนไขกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทต่อคน และกรณีบาดเจ็บไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทต่อคน และต้องมีอายุกรมธรรม์ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
  4. การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เมื่อดำเนินการจดทะเบียนบริษัทโดยระบุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้บริการนำเที่ยวแล้ว จดทะเบียนพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (กรณีมีเว็บไซต์) และทำกรรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยวเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการต้องยื่นขอใขอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวกับกรมการท่องเที่ยว

ถ้าท่านสนใจในการประกอบธุรกิจนำเที่ยว และต้องการขอใบอนุญาตนำเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ติดต่อเรา กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง เรามีผู้ชำนาญในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ช่วยเหลือคุณในการขอใบอนุญาตให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

เอกสารที่ใช้ในการจัดนำเที่ยวภายในประเทศมีอะไรบ้าง

(๑) บุคคลธรรมดา (ก) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน (ข) สําเนาทะเบียนบ้าน (ค) รูปถ่ายด้านหน้าสํานักงาน ขนาด ๗.๖๐ x ๑๒.๗๐ เซนติเมตร จํานวน ๒ รูป และแผนที่ โดยสังเขปแสดงที่ตั้งของสํานักงาน (ง) หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองสถานที่ที่ใช้เป็นสํานักงาน (จ) สําเนากรมธรรม์ประกันภัย ประกันอุบัติเหตุให้กับนักท่องเที่ยว ...

สิ่งที่ต้องคำนึงในการทำแผนการนำเที่ยวมีอะไรบ้าง

การวางแผนจัดนำเที่ยวแต่ละครั้ง จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ.
การกำหนดวัน.
ลูกค้าเป้าหมาย.
ระยะทางเป็นสิ่งสำคัญ.
ความบันเทิง.
การซื้อของ.
ทำเลที่ตั้งของโรงแรม.
จุดแวะพัก.

เอกสารใดบ้างที่ใช้ในการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

ใบอนุญาตธุรกิจนำเที่ยว (นิติบุคคล).
แบบคำขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวประเภทนิติบุคคล (สธก.2).
บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5).
หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2).
รายการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด (หส.2).
ข้อบังคับของบริษัท.

การจัดทำรายการนำเที่ยวมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

1. เที่ยวในเมือง(City Tour) 2. เที่ยวชมสถานที่(Excursion Tour หรือ Sightseeing Tour) 3. เที่ยวยามราตรี(Night Tour) 4. เที่ยวซื้อของ(Shopping Tour)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้