ซื้อหุ้นเสียค่าธรรมเนียมไหม

ค่าธรรมเนียมหุ้น หรือที่เราพูดกันให้เข้าใจเต็มๆว่า ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหุ้น เป็นสิ่งที่แฝงมากับการซื้อขายหุ้นแต่ละครั้งซึ่งมีตัวเลขที่ยิบย้อนจิปาทะเต็มไปหมด หลายๆคนอาจจะพอทราบว่ามีค่าอะไรบ้าง แต่หลายๆคนก็ไม่เคยทราบเพรามองแค่ว่า ได้กำไรก็จบแล้ว อิอิ ค่าธรรมเนียมเหล่านี้หลายๆคนมองว่าควรจะต้องประหยัดไม่เช่นนั้น หากเรามีการซื้อขายหลายๆครั้ง เมื่อไปคำนวณกันแบบจริงๆจังๆก็ทำให้รู้สึกว่า "โห เราจ่ายไปเยอะเหมือนกันนะเนี่ย" แต่ก่อนที่เราจะไปดูวิธีการว่าเราจะซื้อหุ้นอย่างไรให้จ่าย "ค่าธรรมเนียมหุ้น" ได้แสนถูก เรามารู้กันก่อนนะครับว่า ในการซื้อหุ้นแต่ละครั้งเรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ค่าใช้จ่ายเรื่องที่ 1 มูลค่าหุ้นที่เราซื้อ

เรื่องนี้มันแน่นอนอยู่แล้วเหมือนเวลาเราซื้อของต่างๆ เราก็จะต้องจ่ายค่าซื้อสินค้า หุ้นก็เหมือนกันเราต้องจ่ายค่าซื้อ แต่อย่างว่านะครับแต่ละคนที่ซื้อหุ้นไปย่อมจ่ายในราคาที่ไม่เท่ากัน ผมขอยกตัวอย่างเช่นบางคนอาจจะซื้อหุ้น ABC ที่ 100 บาท บางคนซื้อที่ 150 บาท 200 บาทบ้าง มันก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการซื้อแต่ละคนซึ่งมีจังหวะและโอกาสทั้งในเชิงของอารมณ์ทางตลาด และ พื้นฐานที่เปลี่ยนไปของหุ้น ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน เมื่อคุณอ่านบทความของผมอาจจะบอกในใจกับผมว่า งั้นการซื้อตอนถูกก็คงดีสิ แต่ที่เห็นๆกันบ่อยๆทำไมหลายๆคนมาบ่นให้ผมฟังบ่อยๆนะว่า ซื้อแพงซะงั้น - -" ก็อย่างที่ทราบกันนะครับว่า คุยกันในทฤษฎีย่อมไม่เหมือนเงื่อนไขในการปฎิบัติจริง

ค่าใช้จ่ายเรื่องที่ 2 ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์

พูดกันอย่างทั่วไป ค่านายหน้าหลักทรัพย์ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่เรามองกันว่าเป็น ค่าธรรมเนียมหุ้น อย่างเวลาเราจะเปิดบัญชีจะซื้อขายก็ย่อมถามกันว่า "ค่าธรรมเนียมเท่าไหร่" ทั้งนี้ก็อยู่ที่ในเรื่องของ "ช่องทางในการซื้อขาย"และ "ประเภทบัญชีที่เราซื้อขาย"

ช่องทางที่เราซื้อขายนั้นก็มีอยู่ 2 ช่องทางหลักๆในปัจจุบันคือ

1. โทรศัพท์แจ้งให้เจ้าหน้าที่การตลาดซื้อให้ ค่าธรรมเนียมด้วยการโทรหามาร์เก็ตติ้ง โดยทั่วไปจะเริ่มที่ประมาณ 0.25% และลดลงตามจำนวนเงินที่เราซื้อขายต่อวัน ยิ่งเราซื้อขายเยอะมากๆ เรายิ่งได้ส่วนลด ข้อดีของการให้มาร์เป็นคนคีย์ให้ผมว่าจะเป็นเรื่องของความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะถ้าเราซื้อขายเองแล้วเกิดสั่งคำสั่งผิดพลาดเราอาจจะต้องรับความเจ็บปวดก็เป็นได้ แต่ถ้ามาร์เก็ตติ้งซื้อขายให้แต่ผิดพลาด ทางบริษัทหลักทรัพย์ก็จะช่วยเราแก้ปัญหาให้เป็นไปตามที่เราได้ส่งคำสั่งแต่แรก

2. ใช้ระบบซื้อขายทางอินเตอร์เน็ท ถ้าเป็นการซื้อขายผ่านช่องทางนี้ก็อยู่ที่ว่าเราใช้ประเภทบัญชีอะไร หากเราใช้บัญชีเงินสด (ชื่อเล่นผมตั้งว่า : บัญชี 3 วันทำการ T+3) จะมีค่าธรรมเนียมเริ่มต้นที่ 0.20% ลดหลั่นลงไปเรื่อยๆตามจำนวนเงินที่ลงทุนในแต่ละวัน ซึ่งแพงกว่าบัญชีบัญชีแคชบาลานซ์ (ชื่อเล่นผมตั้งว่า : บัญชีเติมเงิน) และเครดิตบาลานซ์ (ชื่อเล่นผมตั้งว่า : บัญชีกู้เงิน) ที่เริ่มต้นค่าธรรมเนียมที่ 0.15% และลดลงไปตามจำนวนเงินที่ลงทุนในแต่ละวัน

ทั้งนี้บาง บล. อาจจะมีการกำหนดค่าธรรมเนียมขั้นต่ำไว้ด้วย เช่น 30 บาท 50 บาท ซึ่งเป็นอะไรที่มาตรฐาน ส่วนบางแห่งก็ค่าธรรมเนียมตามจริง แต่ถ้าหากคุณซื้อขายหุ้นเยอะๆนะ คุณก็อาจจะลองถาม บล. ดูก็ได้ว่ามีสิทธิพิเศษหรือส่วนลดค่าธรรมอะไรเพิ่มเติมให้อีกได้บ้างไหม

 ค่าใช้จ่ายเรื่องที่ 3 ค่าธรรมเนียมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้น

ค่าธรรมเนียมในส่วนนี้จะเป็นสิ่งที่ทางตลาดหลักทรัพย์เก็บเงินจากเรา แต่เป็นจำนวนเปอร์เซ็นที่ไม่มาก ได้แก่

  • ค่าธรรมเนียมตลาดหลักทรัพย์ SET Trading Fee : 0.005%
  • ค่าธรรมเนียมการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ TSD Clearing Fee : 0.001%
  • ค่าธรรมเนียมในการกำกับดูแล Regulatory Fee : 0.0018%

ซึ่งรวม 3 อย่างนี้คือ 0.0078% ใช่ไหมครับ?

 ค่าใช้จ่ายเรื่องที่ 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม

อันที่จริงแล้วผมเคยคิดเล่นๆนะว่าภาษีมูลค่าเพิ่มเขาคงต้องคิดแบบเวลาไปกินข้าวแน่เลย เช่น กิน 100 บาท จ่าย 7 บาท ถ้ากิน 1,000 บาท จ่าย 70 บาท แต่สำหรับหุ้นไม่ใช่ ไม่งั้นถ้าหุ้นราคา 200 บาท ซื้อมา 1,000 หุ้น เราคงจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 14,000 บาทแล้ว แพงเกิ๊น!! แต่ในความเป็นจริงแล้วภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อขายหุ้นจะคิดที่ ค่าธรรมเนียมหุ้นที่เกิดจากนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์กับค่าธรรมเนียมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นโดยที่ตลาดหลักทรัพย์เรียกเก็บ

ยกตัวอย่างเช่น หากเราซื้อขายผ่านโทรศัพท์ เราจะเสียค่านายหน้า 0.25% รวมกับ ค่าธรรมเนียมที่ตลาดเรียกเก็บ (ประเภทที่ 3) 0.0078% รวมแล้วเป็น 0.2578% เอาจำนวนนี้มาคิดภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% จะกลายเป็น 0.2578 x 7% = 0.275846% ซึ่งก็คงทำให้ทุกคนพอจะได้เห็นที่มาของวิธีคิดค่าธรรมเนียมแล้วว่าทำไมมันยึกยือแบบนี้

ซื้อขายหุ้นอย่างไรให้ค่าธรรมเนียมถูก?

กลับมาสู่คำถามที่เราคิดกันแล้ว คงจะได้คำตอบกันในใจบ้างใช่ไหมครับ?

1. เราควรซื้อหุ้นในช่วงที่ราคาหุ้นถูกลง : ยิ่งราคาหุ้นถูกเรายิ่งจ่ายค่าธรรมเนียมน้อยลงเมื่อเทียบกับการซื้อในจำนวนเท่าเดิม

2. เลือกวิธีการซื้อขายหุ้นในประเภทบัญชีที่เก็บค่าธรรมเนียมน้อย : การใช้บัญชีแคชบาลานซ์ทางอินเตอร์เน็ท นอกจากจะได้ซื้อขายในค่าธรรมเนียมที่ถูกลงแล้วเรายังสามารถได้รับดอกเบี้ยจากการฝากเงินไว้ในบริษัทหลักทรัพย์ด้วย

3. ซื้อขายหุ้นในจำนวนที่เหมาะสม : จริงๆแล้วยิ่งคุณซื้อขายหุ้นมากก็ยิ่งได้รับส่วนลดของค่าธรรมเนียมที่น้อยลง แต่ผมมองว่าสิ่งที่เราต้องคิดดีๆก็คือเรื่องของความเสี่ยงในการลงทุน การลงทุนด้วยเงินจำนวนที่เหมาะสมต่อตัวเองจึงเป็นประเด็นที่ผมเห็นว่าควรพิจารณามากกว่าการลงทุนด้วยเงินที่มากที่สุดเพื่อเอาค่าธรรมเนียมที่ต่ำสุด ในกรณีที่คุณลงทุนด้วยจำนวนเงินน้อยๆ อาจจะใช้บริก

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้