สร้างบ้านจำเป็นต้องมีสถาปนิกไหม

เป็นปัญหาที่ถกเถียงกันบ่อยครั้งเกี่ยวกับการขออนุญาตก่อสร้างบ้านในเขตพื้นที่ที่มีการควบคุม ทั้ง อบต. เทศบาล หรือเขตการปกครองอื่น ๆ โดยบ้านที่สามารถขออนุญาตก่อสร้างได้ จะต้องเป็นไปตาม พรบ.ควบคุมอาคารกำหนดไว้ ซึ่งจะกำหนดขอบเขตต่าง ๆ ไว้ครอบคลุมทั้งหลัง ไม่ว่าจะเป็น ระยะร่น, รั้วกำแพง, ทางเดินภายในบ้าน, ขนาดห้องน้ำ, บันไดบ้าน รวมทั้งส่วนโครงสร้างต่าง ๆ และอาคารแต่ละประเภทมีกฎในการควบคุมที่แตกต่างกัน แต่ปัญหาที่ถูกถามเข้ามาบ่อยครั้งที่สุด คือการขออนุญาตก่อสร้าง แบบไหนจำเป็นต้องมีแล้วแบบไหนที่ พรบ.ควบคุมอาคารไม่ได้บังคับให้มี เนื้อหาชุดนี้มีคำตอบให้ครับ

ก่อนอื่นต้องแจ้งให้ผู้อ่านทราบก่อนว่า เนื้อหาชุดนี้ไม่ได้เป็นข้อมูลที่เป็นมาตรฐานกลาง เนื่องจากเขตการปกครองบางแห่งจะมีกฎหมายเฉพาะที่ใช้เฉพาะพื้นที่นั้น ๆ รวมทั้งเทศบาลบางแห่งอาจแตกต่างไปจากเทศบาลอื่น ๆ เนื้อหาชุดนี้จึงเป็นข้อมูลจาก พรบ.ควบคุมอาคาร เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติไว้ รวมทั้งข้อมูลจากประสบการณ์ผู้ที่เคยขออนุญาตก่อสร้าง รวมทั้งข้อมูลจากการสำรวจเทศบาลส่วนหนึ่งเท่านั้น โดยบ้านที่สามารถขออนุญาตได้โดยไม่ต้องมีวิศวกรและสถาปนิกเซ็นแบบรับรองในเทศบาลส่วนใหญ่ มีรายละเอียดดังนี้

เนื้อหา : อภิสิทธิ์ สุธาประดิษฐ์

ตัวอย่างบ้านหลังนี้ พื้นที่ใช้สอย 145 ตร.ม.

แบบบ้านขออนุญาตก่อสร้างได้ ไม่ต้องมีวิศวกร สถาปนิกเซ็นแบบ

1. บ้าน 1-2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 150 ตร.ม. ขออนุญาตก่อสร้างได้

อ้างอิง : กฎกระทรวงฉบับที่ 56 (พ.ศ.2543)ฯ ที่กำหนดไว้ดังนี้

“การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคารที่อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด เฉพาะในเขตสภาตำบลหรือเขตองค์การบริหารส่วนตำบล แต่มิได้อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่มีกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น กำหนดการตาม มาตรา 8 (10) หรือประกาศกระทรวงมหาดไทยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกตาม มาตรา 13 ใช้บังคับ ถ้าเป็นอาคารดังต่อไปนี้ ให้แนบเฉพาะแผนผังบริเวณแสดงที่ตั้งอาคารโดยสังเขปและสำเนาเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินพร้อมกับคำขอ”

  • อาคารอยู่อาศัยไม่เกินสองชั้นและมีพื้นที่ทุกชั้นในหลังเดียวกันรวมกันไม่เกิน 150 ตารางเมตร

นั่นหมายถึงบ้านพักอาศัย มีพื้นที่ไม่เกิน 2 ชั้น และพื้นที่ใช้สอยรวมกันไม่เกิน 150 ตารางเมตร เป็นลักษณะที่ทางกฎหมายอนุญาต ไม่จำเป็นต้องมีสถาปนิกและวิศวกรเซ็นรับรองครับ ส่วนการคุมงานก่อสร้างนั้น เจ้าของบ้านสามารถเซ็นควบคุมงานเองได้ แต่หากพื้นที่ใช้สอยเกิน 150 ตร.ม. แต่ไม่เกิน 2 ชั้น ให้มีสถาปนิกเซ็นรับรองก็เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องมีวิศวกรเซ็นรับรอง

นอกจากพื้นที่ใช้สอยแล้วการออกแบบโครงสร้างทางวิศวกรรมมีผลต่อการขออนุญาตเช่นกัน โดยกฎหมายได้ระบุไว้ว่า บ้านหรืออาคารดังกล่าวนี้ ต้องเข้าข่ายให้มีวิศวกรรออกแบบและควบคุมงาน

  • อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป หรือโครงสร้างของอาคาร ชั้นใดชั้นหนึ่งสูงตั้งแต่ 4 เมตร หรือมีช่วงคานตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไป

ผู้เขียนขอแยกอธิบายรายละเอียดตามข้อ 2 และ 3 ดังนี้

2. ช่วงคานต้องไม่ถึง 5 เมตร วิศวกรไม่ต้องเซ็นก็ขออนุญาตก่อสร้างได้

โดยปกติหากเป็นบ้านเรือนทั่วไปนิยมออกแบบช่วงคานประมาณ 4 เมตร ซึ่งเป็นขนาดมาตรฐานที่ช่างส่วนใหญ่เข้าใจกระบวนการก่อสร้างดี กฎข้อดังกล่าวจึงตั้งมาเพื่อป้องกันความปลอดภัยด้านโครงสร้าง เพราะหากช่วงคานยาวมากกว่านี้หากผู้ก่อสร้างไม่มีความรู้ด้านวิศวกรรมอาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ โดยกฎหมายได้ระบุไว้ว่า หากช่วงคานยาว 5 เมตรขึ้นไปต้องมีวิศวกรออกแบบและคุมงาน

3. ช่วงความสูงชั้นใดชั้นหนึ่งไม่ถึง 4 เมตร ขออนุญาตก่อสร้างได้

สำหรับบ้านเรือนทั่วไป นิยมออกแบบให้พื้นจรดฝ้าเพดานมีความสูงประมาณ 2.6-3 เมตร แต่อาจมีบ้านลักษณะพิเศษ เช่น บ้านชั้นครึ่ง, บ้านที่มีความสูงโปร่ง หากพื้นที่ใด ๆ ที่มีความสูงตั้งแต่ 4 เมตรไปต้นไป จะต้องมีลายเซ็นรับรองจากวิศวกรออกแบบและควบคุมงาน

ตัวอย่างแบบบ้าน : Punplan

ทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมานี้ หากบ้านของผู้อ่านเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งจะต้องมีวิศวกรเซ็นรับรองเสมอ แต่หากไม่ตรงกับข้อใด ๆ เช่น บ้านชั้นเดียวมีพื้นที่ใช้สอย 145 ตร.ม. ช่วงคาน 4 เมตร สูง 3.5 เมตร ลักษณะนี้ไม่จำเป็นต้องมีวิศวกรและสถาปนิกเซ็นรับรอง นอกจากนี้ทีมงานบ้านไอเดียได้ออกสำรวจเทศบาลตัวอย่างทั้งหมด 15 แห่ง ใน 5 จังหวัด เทศบาล 14 แห่งในหลักการเดียวกับบทความชุดนี้ มีเพียงแห่งเดียวที่ยืนยันว่าต้องมีลายเซ็นสถาปนิกและวิศวกรเซ็นรับรองเท่านั้น โดยเจ้าหน้าที่ให้คำตอบว่ามาตรฐานที่นี่แตกต่างจากที่อื่น ๆ ทางทีมงานจึงถามต่อไปว่าเพราะเหตุใด เจ้าหน้าที่ไม่มีคำตอบให้ ได้แต่บอกว่าที่นี่ต้องการลายเซ็น

ในมุมมองของผู้เขียนเอง พรบ.ควบคุมอาคารและกฎหมายต่าง ๆ ล้วนออกมาเพื่อช่วยป้องกันด้านความปลอดภัยทั้งการก่อสร้างและการอยู่อาศัย ซึ่งโดยปกติกระบวนการออกแบบจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสถาปนิกรวมทั้งวิศวกรคำนวณโครงสร้าง แต่สำหรับบ้านหลังเล็กซึ่งมีความเสี่ยงน้อย กฎหมายมีความยืดหยุ่นและมีข้อยกเว้นให้ โดยบ้านในลักษณะดังกล่าวเป็นบ้านที่ช่างทั่วไปสามารถเรียนรู้ได้ตามประสบการณ์และภูมิปัญญา ส่วนนี้เองเป็นการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านที่ต้องการสร้างบ้านหลังเล็กและต้องการประหยัดงบด้านการออกแบบ สามารถสร้างบ้านเพื่อการอยู่อาศัยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นับเป็นสิ่งที่เหมาะสมดีแล้วครับ

สรุป ตัวอย่างการขออนุญาตแบบบ้านแต่ละประเภท

  1. กรณีบ้าน 1-2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 150 ตร.ม.​ คานทุกจุดยาวไม่เกิน 5 เมตร ไม่มีชั้นไหนสูงเกิน 4 เมตร ไม่จำเป็นต้องมีวิศวกรและสถาปนิกเซ็นแบบรับรอง
  2. กรณีบ้าน 1-2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยเกิน 150 ตร.ม. คานทุกจุดยาวไม่เกิน 5 เมตร ไม่มีชั้นไหนสูงเกิน 4 เมตร จำเป็นต้องมีสถาปนิกเซ็นแบบ ส่วนวิศวกรไม่จำเป็น
  3. กรณีบ้าน 1-2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยไม่เกิน 150 ตร.ม หากมีคานจุดใดจุดหนึ่งยาวเกิน 5 เมตร หรือมีชั้นใด ชั้นหนึ่งสูงเกิน 4 เมตร จะต้องมีวิศวกรเซ็นแบบ ส่วนสถาปนิกไม่จำเป็น
  4. กรณีบ้าน 1-2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยเกิน 150 ตร.ม หากมีคานจุดใดจุดหนึ่งยาวเกิน 5 เมตร หรือมีชั้นใด ชั้นหนึ่งสูงเกิน 4 เมตร หรือสูง 3 ชั้นขึ้นไป จะต้องมีวิศวกรและสถาปนิกเซ็นแบบ

อ้างอิง

  1. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
  2. กฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2549 ออกตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543
  3. กฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพวิศวกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2550 ออกตามพระราช บัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542

บริการออกแบบบ้านใหม่ตามโจทย์งานของลูกค้า ดำเนินการออกแบบโดยสถาปนิก ออกแบบให้เหมาะสมลงตัวกับทิศทางลม แสงแดด เพื่อให้ภายในบ้านเกิดสภาวะอยู่สบาย ทุกฟังก์ชันตรงกับความต้องการของลูกค้า ผังบ้านถูกหลักสถาปัตยกรรมและฮวงจุ้ย โครงสร้างคำนวณโดยวิศวกร มีหนังสือรับรองออกโดยสถาปนิกและวิศวกรพร้อมเซ็นรับรองให้

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ไทยแปลอังกฤษ ประโยค แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan พจนานุกรมศัพท์ทหาร หยน แปลภาษา มาเลเซีย ไทย Bahasa Thailand ข้อสอบภาษาอังกฤษ พร้อมเฉลย pdf บบบย tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ชขภใ ยศทหารบก เรียงลําดับ ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง เขียน อาหรับ แปลไทย แปลภาษาอิสลามเป็นไทย Google map กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย ค้นหา ประวัติ นามสกุล อาจารย์ ตจต แจ้ง ประกาศ น้ำประปาไม่ไหล แปลบาลีเป็นไทย แปลภาษา ถ่ายรูป แปลภาษาจีน แปลภาษามลายู ยาวี โรงพยาบาลภมูพลอดุยเดช ที่อยู่ Google Drive Info TOR คือ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างไฟฟ้า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 กลยุทธ์ทางการตลาด มีอะไรบ้าง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอะไรบ้าง การประปาส่วนภูมิภาค การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ขขขขบบบยข ่ส ข่าว น้ำประปา วันนี้ ข้อสอบโอเน็ต ม.6 มีกี่ตอน ตารางธาตุ ประปาไม่ไหล วันนี้